จะทราบได้ยังไงว่ารอยไหนเป็นรอยพระบาท พระพุทธบาท หรือมนุษย์ทำขึ้น

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 16 กุมภาพันธ์ 2016.

  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,116
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,004
    ค่าพลัง:
    +69,977
    [​IMG]


    หลักฐานหรือพยานทางวัตถุเพียงหนึ่งเดียว ที่เป็นเครื่องแสดงและยืนยันถึงการเสด็จขึ้นมาแล้วแห่งพระพุทธเจ้าถึง 4-5 พระองค์ ของช่วงเวลาแห่ง “มหาภัทรกัป”ที่ชัดเจนและชัดแจ้งที่สุดเท่าที่โลกทั้งสิ้นอาจสามารถพึงพบพึงเห็นและเข้าพิสูจน์ได้ด้วยตาด้วยใจแห่งตนอย่างสิ้นสงสัยสิ้นเชิงนั้น โดยแท้แล้วก็คือ “พระพุทธบาทสี่รอย” อันเป็นรอยพระพุทธบาทแห่งองค์สมเด็จพระโลกนาถ สัมมาสัมพุทธเจ้าถึง 4 พระองค์ ซึ่งปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่นี่เอง....
    สำหรับพระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้ นับเป็นมหาปูชนียสถานพิเศษที่ทรงไว้ซึ่งความสำคัญและความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งยวด ด้วยเป็น “บริโภคเจดีย์”ที่เนื่องโดยตรงในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้เสด็จอุบัติขึ้นมาแล้วถึง 4 พระองค์คือ
        1. พระกกุสันธพุทธเจ้า 
        2. พระโกนาคมนพุทธเจ้า
        3. พระกัสสปพุทธเจ้า
        4. พระโคตมพุทธเจ้า(พระองค์ปัจจุบัน)

    โดยรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์นี้ ได้ปรากฏเป็นรอยลึกลดหลั่นลงไปในแท่งหินใหญ่บนยอดเขาสูงในเขตป่าดงดิบอันลึกล้ำมาแต่บูรพกาล แม้พระไตรปิฎก ก็ยังได้จดจารึกบันทึกพระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้ไว้ในฐานะ 1 ใน 5 รอยพระพุทธบาทที่สำคัญที่สุดมาเนิ่นนานกว่า 20 ศตวรรษ ในนามรอยพระพุทธบาทแห่ง “โยนกปุระ”
    หมายเหตุ , รอยพระพุทธบาท 5 แห่งที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ประกอบด้วย 
       1. สุวัณณมาลิก (ลังกา)
       2. เขาสัจจพันธ์คีรี (สระบุรี ประเทศไทย) 
       3. เขาสุมนกูฏ (ลังกา)
       4. แม่น้ำนัมมทานที (อินเดียหรือพม่า) 
       5. โยนกปุระ (ดินแดนทางภาคเหนือของไทย)ที่เคยเป็นอาณาจักรล้านนา ที่นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีทั่วโลกต่าง

    สืบเสาะแสวงหากันมาเนิ่นนานก็ได้ปรากฏหลักฐานทั้งทางฝ่ายวัตถุและบุคคล ดังเช่น คำบอกเล่าของพระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี ก็ได้เคยเล่าให้ผู้เขียน(เนาว์ นรญาณ) ฟังโดยตรงเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2538-2539 ว่า “พระพุทธบาทสี่รอยนี้ เราเคยได้ธุดงค์ไปกราบมาแล้ว...”

    “สมัยก่อน ตอนที่เรายังธุดงค์อยู่ในเขตภาคเหนือนั้น เราเคยได้ยินเขาเล่าลือกันว่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่ที่โยนกนคร(ปุระ) เราก็ธุดงค์ไปหาอยู่ สมัยที่เราไปนั้น เป็นราวพ.ศ. 2490 ถนนหนทางยังไม่มี เราต้องธุดงค์ข้ามเขาไปหลายลูก จึงไปถึง พบเป็น 4 รอยพระบาท...” และที่สำคัญที่สุด ก็คือการที่หลวงพ่ออุตตมะได้กล่าวย้ำอย่างหนักแน่นว่า “พระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้ เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าทรงเหยียบไว้เองจริงๆนะ..!!!!!” และ “พระพุทธบาทสี่รอยนี้ ทางเมืองนอก(พม่า)เขาก็รู้ และเสาะหาอยู่เหมือนกัน คิดกันไปว่าน่าจะอยู่ในเขตพม่า แต่จริงๆแล้ว ก็มาอยู่ที่เมืองไทยเรานี่แหละ....”
    นอกจากนี้ หลักฐานในทางวัตถุที่ยืนยันว่า รอยพระพุทธบาทแห่ง “โยนกปุระ” แท้จริงแล้วก็คือ “พระพุทธบาทสี่รอย” ก็คือ แผ่นศิลาจารึก ที่ติดอยู่บนพื้นผนังกำแพงมุขหลังพระวิหาร พระนาคปรก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กทม. อันสถาปนามาแต่รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยในศิลาจารึกนั้น ได้บรรยายถึงรอยพระพุทธบาททั้ง 5 แห่ง โดยเฉพาะรอยพระพุทธบาทที่โยนกปุระนั้น ในศิลาจารึกแผ่นนี้ ได้ขยายความระบุถึงที่ประดิษฐานไว้อย่างชัดเจนยิ่งว่า

    “รอยพระพุทธบาท อันพระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานไว้บนยอดเขา “รังรุ้ง” แดนโยนกประเทศ คือเมืองเชียงใหม่”
    ยิ่งไปกว่านี้ หลักฐานในทางวัตถุที่สำคัญอย่างยิ่งยวดอีกประการก็คือ “คำให้การของขุนหลวงหาวัด” อันว่าด้วยเรื่องราวต่างๆของกรุงศรีอยุธยา ที่พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่าให้อาลักษณ์บันทึกรับสั่งของเจ้าฟ้าอุทมพร(ขุนหลวงหาวัด) ภายหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 เมื่อปีพ.ศ. 2310 ไว้อย่างละเอียด โดยตอนหนึ่งได้กล่าวถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เสด็จพระราชดำเนินปทรงนมัสการพระพุทธบาทสี่รอย (สมัยโบรารเรียก “พระพุทธบาทรังรุ้ง) ไว้อย่างชัดเจนว่า
    “....สมัยสมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปรบที่เมืองหาง พระองค์ทรงทราบว่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่บนยอดเขา เรียก “เขารังรุ้ง” จึงได้เสด็จขึ้นไปนมัสการ ทรงเปลื้องเครื่องทรง ทั้งสังวาลและภูษา แล้วทรงถวายไว้ในรอยพระบาท และทำสักการบูชาด้วยธง ธูปเทียน ข้าวตอกดอกไม้ มีเครื่องทั้งปวงเป็นอันมาก แล้วจึงทำการพิธีสมโภชอยู่เจ็ดราตรี”
    ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้เอง “พระพุทธบาทสี่รอย” ที่มีหลายชื่อหลายนาม ไม่ว่าจะเป็น “พระพุทธบาทรังรุ้ง” หรือ “พระพุทธบาทแห่งโยนกปุระ” จึงเป็นรอยพระพุทธบาทรอยแรกที่คนไทยได้เคยค้นพบและกราบนมัสการ สมดังที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยได้ทรงรับรองไว้ครั้งหนึ่งว่า

    “พระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้ เป็นรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยด้วยเหตุนี้ แม้พระเดชพระคุณพระญาณสิทธาจารย์ หรือหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร พระอริยเจ้าผู้ทรงคุณธรรมและญาณสมาบัติชั้นสูงสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ แห่งสำนักถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ก็เคยธุดงค์ไปกราบพระพุทธบาทสี่รอย และนำมาเทศนาบอกเล่ารับรอง ภายหลังจากตรวจการทั้งปวงด้วยญาณวิถีแห่งพระอรหันตเจ้าที่ไม่มีกิเลสาสวะใดมากีดกันปิดกั้นได้แก่บรรดาศิษยานุศิษย์เป็นหลายครั้ง จนพระพุทธบาทสี่รอยแห่งนี้ เป็นที่รู้จักมักคุ้นและแพร่หลายกันโดยทั่วไปในเวลาต่อมาว่า

    “ในเขตเชียงใหม่นี้ ยังมีพระบาทสี่รอย อยู่ในเขตอำเภอแม่ริม แต่ว่าลึกเข้าไปในภูเขาหลวงปู่ผู้เทศน์ไปดูมาแล้ว ไปกราบไปไหว้ มันเป็นก้อนหินก้อนใหญ่ เป็นก้อนสี่เหลี่ยมขึ้นไปอยู่ข้างริมแม่น้ำ.....พระพุทธเจ้ากกุสันโธ ได้มาตรัสรู้ในโลก ท่านก็มาเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้ในยอดก้อนหินนั้น ยาวขนาด 12 ศอก...ขนาดนั้น.... พระพุทธเจ้ากกุสันโธก็โปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลาย นำพระสาวก อุบาสก อุบาสิกาไปสู่นิพพาน

    เมื่อหมดศาสนาพระพุทธเจ้ากกุสันโธแล้ว ศาสนาพระพุทธเจ้าโกนาคมโน ก็มาตรัสมาสอนรื้อขนสัตว์ไปอีก ก่อนนิพพาน ท่านก็มาเหยียบไว้ที่พระบาทแม่ริมนี้ เป็นรอยที่สอง (ขนาด) ลดลงมา คือคนสมัยนั้นก็เรียกว่า มันกำลังทดลง ไม่ได้ใหญ่ขึ้น(ตัวเล็กลง)
    เมื่อพระพุทธเจ้าโกนาคมโนนิพพานไปพร้อมด้วยสาวกแล้วศาสนธรรมคำสอนท่านหมดไป ก็ มาถึงพระสั มมาสัมพุทธเจ้ากัสสโปมาตรัสรู้ ท่านก็มาเหยียบไว้ ได้สามรอยละ....
    เมื่อศาสนาพระพุทธเจ้ากัสสโปหมดไปแล้ว มาถึงศาสนาพระพุทธเจ้าของเราในปัจจุบันนี้ ให้ชื่อว่าพระพุทธเจ้าโคตมโคตร พระพุทธเจ้าโคดมมาตรัสรู้ ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ก็มาเหยียบรอยพระบาทไว้ในก้อนหินก้อนเดียวกัน จึงให้ชื่อว่า “พระพุทธบาทสี่รอย”.......
    คือในโลกนี้แผ่นดินนี้ ยังเหลืออยู่อีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ที่เราทุกคนได้ยินได้ฟังกันมาจนชินหูแล้วก็มี ว่ายังมีพระศรีอาริยเมตไตรโยโพธิสัตว์ จะมาตรัสรู้เป็นองค์สุดท้าย เมื่อตรัสรู้แล้ว โปรดเวไนยสัตว์แล้ว ก็มาเหยียบไว้อีก เหยียบทีนี้น่ะดูเหมือนจะใหญ่ คือว่าเหยียบเต็มเลย ก็คล้ายๆกันกับว่า เหยียบปิดเลย ละลายหินก้อนนั้น เพราะว่าเมื่อหมดศาสนาพระศรีอาริย์แล้ว.....ก็ไม่มีศาสดาใดที่จะมาตรัสรู้อีก เรียกว่า แผ่นดินที่เราเกิดนี้ นับว่าเป็นแผ่นดินที่ร่ำรวยที่สุด ....แผ่นดินนี้เรียกว่า “ภัทรกัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ได้ห้าพระองค์....”

    หรือแม้แต่ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม พระอริยเจ้าผู้ทรงฤทธิ์อย่างยวดยิ่งแห่งวัดป่าอรัญญวิเวก จ.นครพนม เมื่อครั้งยังเที่ยวธุดงค์อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ก็ได้กล่าวรับรองไว้ด้วยเช่นกันว่า “พระพุทธบาทสี่รอยนี้ เป็นสัญลักษณ์แห่งมหาภัทรกัป ที่มีความสำคัญที่สุดในจักรวาล...”

    ด้วยเหตุดังกล่าวมาทั้งหมดนี้เอง จึงเป็นที่สมมุตยุติสรุปการทั้งปวงได้อย่างสิ้นสงสัยอย่างสิ้นเชิงแล้วว่า อัน “พระพุทธบาทแห่งโยนกปุระ” หรือ “พระพุทธบาทรังรุ้ง” และหรือ “พระพุทธบาทสี่รอย” ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ที่วัดพระพุทธบาทสี่รอย ต.สะลวง อ. แม่ริม จ.เชียงใหม่ดังที่พรรณนามานี้ เป็นรอยพระพุทธบาทที่แท้จริง และมีความสำคัญอย่างที่สุด อย่างที่ไม่เคยปรากฏมีมาก่อนตลอดระยะเวลา 4 อสงไขย 100,000 มหากัปถึงเพียงไหน..???

    เพราะที่สุด พระคุณเจ้า หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่ พระผู้ที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานแห่งยุคก็ยังได้เคยพยากรณ์ไว้ เมื่อครั้งที่หลวงปู่สิมยังเป็นสามเณรอยู่ว่า “เณรสิมนี้ ยังเป็นดอกบัวที่ยังตูมอยู่ ถ้าเบ่งบานเมื่อได้ จะหอมกว่าหมู่” เมื่อได้เล็งญาณพิจารณาการทั้งสิ้นแล้ว จึงได้กล่าวสรุปปิดท้ายไว้ก่อนละสังขารไม่นานว่า
    “พระบาทสี่รอยนี้ เป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาเหยียบรอยพระบาทไว้เองจริงๆ....”
    “รอยพระบาทที่จังหวัดสระบุรี เป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าโคดมเพียงพระองค์เดียว แต่ที่พระบาทสี่รอยนั้น เป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าถึง 4 พระองค์ ไหว้พระบาทสี่รอยครั้งหนึ่ง ก็เท่ากับได้ไหว้พระพุทธเจ้ารวดเดียวถึง 4 พระองค์นั่นแหละ....”

    และที่สำคัญอย่างยิ่งที่สุดก็คือ
    “การที่ได้ไปกราบไปไหว้ไปทำบุญ นั่งสมาธิ สวดมนต์ภาวนาที่พระบาทสี่รอยนี้ จะทำให้ได้บุญเพิ่มมากขึ้นถึง 4 เท่าเลยทีเดียวนะ..!!!!!”
     
    และด้วยอานุภาพแห่ง “อริยวาทะ”แห่งพระอรหันตเจ้าเยี่ยง “หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร” ที่การันตีถึงความ “จริง”และ “แท้”ของ “พระพุทธบาทสี่รอย” ว่า เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าถึง 4 พระองค์ได้เสด็จมาทรงประทับรอยพระบาทไว้ด้วยพระองค์เองอย่างแท้จริงดังว่านี้เอง  จึงทำให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เกิด “อจลศรัทธา” คือความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธบาทสี่รอยอย่างยิ่งยวดและไม่หวั่นไหว  ต่างก็พากันแห่โหมไปกราบไปไหว้ ไปกระทำอภิสักการะบูชาอย่างยิ่งใหญ่และต่อเนื่องมิได้ขาดจนถึงที่  โดยไม่หวั่นต่อความยากลำบากด้วยประการไรๆ จนส่งผลให้วัดพระพุทธบาทสี่รอย จากที่เคยเป็นเพียงวัดโบราณอันรกร้างและชำรุดคร่ำคร่าบนยอดเขาสูงกลางป่าดงดิบอันไกลโพ้น  กลับกลายสภาพเป็นพระอารามที่สวยสดงดงามวิจิตรอลังการอย่างน่าอัศจรรย์เป็นที่สุด ปานประหนึ่งดังได้ชลอเอาเทวพิภพมาทบเทียบลงยังพื้นโลกก็มิปาน ดังที่ทุกๆท่านอาจสามารถแจ้งประจักษ์แก่ตาแก่ใจได้ในในปรัตยุบันวารนี้โดยแท้ 


    ขอบคุณบทความจากคุณเนาว์ นรญาณ



    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/2yMcy5WjaxM?&autoplay=1&rel=0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กุมภาพันธ์ 2016
  2. hydraxis

    hydraxis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2012
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +529
    สาธุลูกช้างจะต้องไปกราบสักการะให้ได้ในชาตินี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...