"...บุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่ข้อมือ ที่แขน หรือที่อวัยวะใหญ่น้อย แห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตายเพราะเหตุแห่งงูกัด...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกบุรุษเปล่า (โมฆบุรุษ) บางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น นั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม... ฯลฯ... ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแก่บุรุษเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองด้วยปัญญา
บุรุษเปล่าเหล่านั้นมุ่งหมายแต่การเที่ยวข่มผู้อื่นและต้องคอยปลดเปลื้องเสียซึ่งความนินทาว่าร้ายเป็นอานิสงส์ ...ฯลฯ... บุรุษเปล่าเหล่านั้นย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นอันบุรุษเปล่าเหล่านั้น เรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรมทั้งหลาย อันตนเรียนไม่ดีแล้ว..."
ที่มา : พระไตรปิฎก (ภาษาไทย) ฉบับหลวง. มัชฌิมนิกาย. มูลปัณณาสก์. อลคัททูปมสูตร. ๑๒/๒๗๘/๑๘๕-๑๘๖
หมายเหตุ : ผู้ที่ต้องการทราบเนื้อความทั้งหมด ให้ไปหาเปิดอ่านเอาเอง ตามหลักฐานที่อ้างอิงเอาไว้นะครับ.
จับงูพิษร้ายที่หางไม่ตายก็ต้องเจ็บสาหัส...(อลคัททูปมสูตร)
ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย phodej, 10 มีนาคม 2014.