มากันเยอะเชียว ทุกวันนี้จากภาวนาขอให้ประเทศไทยสงบสุข
เปลี่ยนเป็นขอให้ประเทศไทยอย่าหนาวมากเลย นู๋จะไม่ไหวแย้ว pity_pig
!!! จับตาพายุลูกใหม่ ที่กำลังก่อตัว ณ ขณะนี้ !!!
ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 25 มกราคม 2007.
หน้า 146 ของ 148
-
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
"พายุฤดูร้อน และคลื่นลมแรง"
ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 13 มีนาคม 2557
ความกดอากาศต่ำจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมทะเลจีนใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันพรุ่งนี้ (14 มี.ค.57) ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ซึ่งจะมีผลกระทบดังนี้
ในช่วงวันที่ 14-15 มีนาคม 2557 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจะได้รับผลกระทบก่อน อาทิ บริเวณจังหวัดหนองคาย นครพนม สกลนคร มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น และ ร้อยเอ็ด หลังจากนั้น ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางด้านตะวันออก และภาคตะวันออกจะมีผลกระทบในช่วงวันที่ 15-16 มีนาคม 2557
ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากสภาวะอากาศดังกล่าวไว้ด้วย
สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 15-17 มีนาคม 2557 ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น และคลื่นลมแรงขึ้นบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ประกาศ ณ วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 11.00 น.
(ลงชื่อ) วรพัฒน์ ทิวถนอม
(นายวรพัฒน์ ทิวถนอม)
อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา
-
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
"อากาศร้อนจัดและพายุฤดูร้อน"
ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 01 เมษายน 2557
ในช่วงวันที่ 3-6 เมษายน 2557 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับในช่วงวันที่ 4-7 เมษายน 2557 จะมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ โดยมีผลกระทบดังต่อไปนี้
1. ในช่วงวันที่ 3-4 เมษายน 2557 บริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร ขอนแก่น อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์และนครราชสีมา
2. ในช่วงวันที่ 4-5 เมษายน 2557 บริเวณจังหวัดชัยภูมิ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และชัยนาท
3. ในช่วงวันที่ 5-6 เมษายน 2557 บริเวณจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์
4. ในช่วงวันที่ 6-7 เมษายน 2557 บริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ หนองบัวลำภู ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย และบึงกาฬ
ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง
อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณช่องแคบมะละกา ทำให้บริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามันมีฝนตกหนาแน่น และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นลมแรง
ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 เวลา 17.00 น.
(ลงชื่อ) วรพัฒน์ ทิวถนอม
(นายวรพัฒน์ ทิวถนอม)
อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา
-
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
"พายุฤดูร้อน (ในช่วงวันที่ 26–30 เมษายน 2557)"
ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 24 เมษายน 2557
บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงได้แผ่ปกคลุมประเทศจีนตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 26 เมษายน 2557 ต่อจากนั้นจะแผ่ปกคลุม ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยจะปกคลุมต่อเนื่องจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2557 ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น เริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุลมแรงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557 เวลา 11.00 น.
(ลงชื่อ) วรพัฒน์ ทิวถนอม
(นายวรพัฒน์ ทิวถนอม)
อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา
-
status บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงได้แผ่ปกคลุมประเทศจีนตอนใต้และเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันนี้(วันที่ 26 เมษายน 2557) ต่อจากนั้นจะแผ่ปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยจะปกคลุมต่อเนื่องจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2557 ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น เริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุลมแรงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
cr. The Weather Love club; FB -
สมาชิกเชียงใหม่ แถวเมือง สันกำแพง แม่ออน ดอยสะเก็ด
เวลานี้ลองแหงนหน้ามองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
จะเห็นภูเขาเมฆกองเบอเริ่ม ฐานเมฆกว้าง ปลายเรียวสอบขี้นสูง
นั่นแหละเมฆฝนฟ้าคะนอง หรือ "เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus)"
ว่ากันว่าเมฆแบบนี้ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ และฟ้าผ่าตามมา
และหากอุณหภูมิบนยอดเมฆต่ำกว่า ลบ 60 ถึง ลบ 80 องศาเซลเซียส
ก็สามารถทําให้เกิดลูกเห็บตกได้
แต่เรดาร์ลำพูน ของกรมอุตุ สแกนกวาดตอนบ่ายสองโมง
เห็นเป็นจุดนิดเดียวเอง
มาลุ้นกันต่อไปว่ามันจะให้น้ำฝนแก้ร้อนหรือเปล่าหนอ
:boo:
เพิ่มเติม เมฆฝนฟ้าคะนอง http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=442 -
แต่พอมาดูภาพถ่ายดาวเทียมของกรมอุตุเหมือนกันเวลาบ่ายโมง
เห็นเมฆฝนปกคลุมไปทั้งภาคเหนือ
และอีกหลายพื้นที่ เออ แบบนี้ค่อยเข้าท่าหน่อยนะ -
แหงนมองทิศทางเดิม
ตัวเมฆลอยสูงขึ้นยอดเมฆบานออก
กลางตัวเมฆสอบเข้าหาฐานเมฆ
ในขณะที่ฐานเมฆสลายกระจายครึ้มสีเทาดำขึ้นเรื่อยๆ
แบบนี้แหละ เมฆคิวมูโลนิมบัส แหงๆ เลย
หรือเพื่อนๆว่าอย่างไร -
ว่าด้วยเรื่องเมฆคิวมูโลนิมบัสที่ท้องฟ้าใกล้บ้านผม
ตกตอนค่ำตลอดไปจนถึงเกือบสี่ทุ่ม สันกำแพง แม่ออน ก็มี
พายุลมค่อนข้างแรงตลอด แต่ไม่ถึงขั้นมีฝนตกหนักหรือลูกเห็บตก
ช่วยคลายร้อนไปได้ตลอดคืนก็ว่าได้
มาวันนี้ก็เช่นเดียวกัน ขณะนี้เวลาประมาณ 14 น.เศษ
มองไปทางทิศเหนือ ตะวันออก และทิศใต้
เห็นมีเมฆคิวมูโลนิมบัสก่อตัวในทิศทางดังกล่าวอีกแล้ว
ก่อตัวเป็นหย่อมตลอดมุมมอง 180 องศา
ก็คาดการณ์ว่าในช่วงค่ำหรือคืนนี้อาจมีพายุลมแรง
หรือฝนฟ้าคะนองอีกก็เป็นได้
ดังนั้นเพื่อนสมาชิกผู้มี QTH อยู่่พิกัดดอยสะเก็ด สันกำแพง แม่ออน
สารภี บ้านธิ คือฝั่งตะวันออกของเมืองเชียงใหม่ทั้งหมด
ควรเตรียมการณ์ไว้หน่อยก็ดี ดูสิ่งของที่อาจถูกพัดปลิวไปตามลมได้ง่ายๆ
ก็ควรเก็บให้เรียบร้อยก่อน จะได้ไม่เสียหาย
ผ้าผ่อนที่ซักแล้วตากทิ้งไว้นี่ก็ต้องเก็บ
ร่มสนามก็ควรหุบเก็บให้เรียบร้อย
หลังคาเตนท์ผ้าใบ ฯลฯ ดูด้วยก็แล้วกันครับ
:boo: -
พายุฝนฟ้าคะนอง
พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm) เกิดจากเมฆที่ก่อตัวขึ้นในแนวดิ่งขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เมมคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น ลมกระโชก ฟ้าแลบ และฟ้าผ่า ฝนตกหนัก อากาศปั่นป่วนรุนแรงทำให้มีลูกเห็บตก และอาจเกิดน้ำแข็งเกาะจับเครื่องบินที่บินอยู่ในระดับสูง การเกิดพายุฝนฟ้าคะนองมีลำดับ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นก่อตัว ขั้นเจริญเต็มที่ และขั้นสลายตัว ดังที่แสดงในภาพที่ 1
ภาพที่ 1 ขั้นตอนการเกดพายุฝนฟ้าคะนอง
ขั้นก่อตัว (Cumulus stage)
เมื่อกลุ่มอากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่บรรยากาศ พร้อมกับการมีแรงมากระทำหรือผลักดันให้มวลอากาศยกตัวขึ้นไปสู่ความสูงระดับหนึ่ง โดยมวลอากาศจะเย็นลงเมื่อลอยสูงขึ้นและควบแน่นเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ เป็นการก่อตัวของเมมคิวมูลัส ในขณะที่ความร้อนแฝงจากการกลั่นตัว ของไอน้ำจะช่วยให้อัตราการลอยตัว ของกระแสอากาศภายในก้อนเมฆเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้ขนาดของเมฆคิวมูลัสมีขนาดใหญ่ขึ้น และยอดเมฆสูงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนเคลื่อนที่ขึ้นถึงระดับบนสุดแล้ว (จุดอิ่มตัว) จนพัฒนามาเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส เราเรียกกระแสอากาศที่ไหลขึ้นว่า "อัพดราฟต์" (Updraft)
ขั้นเจริญเต็มที่ (Mature stage)
เป็นช่วงที่กระแสอากาศมีทั้งไหลขึ้นและไหลลง ปริมาณความร้อนแฝงที่เกิดขึ้นจากการควบแน่นลดน้อยลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่หยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมามีอุณหภูมิต่ำ ช่วยทำให้อุณหภูมิของกลุ่มอากาศเย็นกว่าอากาศแวดล้อม ดังนั้นอัตราการเคลื่อนที่ลงของกระแสอากาศจะมีค่าเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ กระแสอากาศที่เคลื่อนที่ลงมาซึ่งเรียกว่า "ดาวน์ดราฟต์" (Downdraft) จะแผ่ขยายตัวออกด้านข้าง ก่อให้เกิดลมกระโชกรุนแรง อุณหภูมิจะลดลงและความกดอากาศจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แผ่ออกไปไกลถึง 60 กิโลเมตรได้ โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ด้านหน้าของทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุ นอกจากนั้นกระแสอากาศเคลื่อนที่ขึ้นและลงจะก่อให้เกิดลมเฉือน (Wind shear) ซึ่งจะก่อให้เกิดอ้นตรายต่อเครื่องบินที่กำลังจะขึ้นและร่อนลงสนามบินเป็นอย่างยิ่ง
ขั้นสลายตัว
เป็นระยะที่พายุฝนฟ้าคะนองมีกระแสอากาศเคลื่อนที่ลงเพียงอย่างเดียว หยาดน้ำฟ้าตกลงมาอย่างรวดเร็วและหมดไป พร้อม ๆ กับกระแสอากาศที่ไหลลงก็จะเบาบางลง
การเกิดพายุฝนฟ้าคะนองในแต่ละครั้ง จะกินเวลานานประมาณ 2 - 4 ชั่วโมง ซึ่งพอจะลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้
- อากาศร้อนอบอ้าว เนื่องจากมวลอากาศร้อนยกตัวลอยขึ้น เมื่อปะทะกับอากาศเย็นด้านบนแล้วควบแน่นกลายเป็นละอองน้ำในเมฆ และคลายความร้อนออกมาในรูปของรังสีอินฟราเรด
- ท้องฟ้ามืดมัว อากาศเย็น เนื่องจากการก่อตัวของเมฆคิวมูโลนิมบัสมีขนาดใหญ่มากจนบดบังแสงอาทิตย์ ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวลดต่ำลง
- กระแสลมกรรโชกและมีกลิ่นดิน เกิดขึ้นเนื่องจากดาวน์ดราฟต์ (Downdraft) ภายในเมฆคิวมูโลนิมบัสเป่าลงมากระแทกพื้นดินและกลายเป็นลมเฉือน (Wind shear)
- ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง เนื่องจากกระแสลมพัดขึ้นและลง (Updraft และ Downdraft) ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำของประจุไฟฟ้าในก้อนเมฆและบนพื้นดิน
- ฝนตกหนัก เกิดจากการสลายตัวของก้อนเมฆเปลี่ยนเป็นหยาดน้ำฟ้าตกลงมาฝน และในบางครั้งมีลูกเห็บตกลงมาด้วย
- รุ้งกินน้ำ เกิดจากละอองน้ำซึ่งยังตกค้างอยู่ในอากาศหลังฝนหยุด หักเหแสงอาทิตย์ทำให้เกิดสเปกตรัม
ที่มา พายุฝนฟ้าคะนอง -
บ้านใครจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมแรง ก็ลองดูก็แล้วกันนะครับ
หรือจะดูแหงนดูเมฆคิวมูโลนิมบัสประกอบการเตรียมการด้วยก็ไม่สงวนสิทธิแต่อย่างใด -
พายุตัวนี้ อาจทำให้แผ่นดินทางภาคเหนือถล่มได้ กลวงๆ อยู่จากการเขย่า
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ศูนย์เตือนภัยพิบัติฯประกาศ 7 จว. ระวังน้ำป่าหลาก-ท่วมฉับพลัน-ดินโคลนถล่ม 14-15 มิย.
วันที่ 14 มิ.ย. ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ แจ้งว่า ใน 14-15 มิ.ย. นี้ อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ในพื้นที่ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ระยอง จ.จันทบุรี จ.ตราด และภาคใต้ฝั่งตะวันตก บริเวณ จ.ระนอง จ.พังงา จ.ภูเก็ต และ จ.กระบี่ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวระมัดระวัง หากมีข้อมูลเพิ่มเติม ศภช. จะแจ้งให้ทราบเป็นระยะต่อไป
-
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
"คลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทย "
ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 07 กรกฎาคม 2557
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 8-10 กรกฎาคม 2557 ทำให้บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 3-5 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
สำหรับบริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะบริเวณด้านรับลมมรสุม บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย
อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “นอกูรี” (NEOGURI) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกมีแนวโน้มการเคลื่อนตัวไปประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 9-10 กรกฎาคม 2557 โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย
ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เวลา 11.00 น.
(ลงชื่อ) สงกรานต์ อักษร
(ดร.สงกรานต์ อักษร)
รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา
รักษาราชการแทนอธิบดีอุตุนิยมวิทยา
-
ภาพจากดาวเทียม MTSAT จะเห็นตาพายุขนาดใหญ่ของไต้ฝุ่นระดับ 4 นอกูรี ซึ่งยังคงมีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเพิ่มขึ้นตลอดเวลา และอาจจะกลายเป็นระดับ 5 ก่อนเที่ยงคืนวันนี้
พัฒนาการของไต้ฝุ่นนอกูริ ช่วง 4 วันที่ผ่านมา
-
รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 11 กรกฎาคม 2557
Posted on 11/07/2014
เหตุการณ์วันนี้
◾09:00 พายุดีเปรสชัน TD09W แถวเกาะกวม ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน เคลื่อนมาทางฟิลิปปินส์ (ต่อไปจะใช้ชื่อ รามสูร)
เว็บภัยพิบัติ Paipibat.com | ให้ความจริง ให้ความรู้ ทางภัยพิบัติ เพื่อสู้ข่าวลือ ลดความตื่นกลัว -
รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 12 กรกฎาคม 2557
◾13:00 พายุดีเปรสชัน 09W แถวเกาะกวม ทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อน ได้ชื่อเรียกว่า รามสูร ทิศทางตรงไปหาประเทศฟิลิปปินส์
http://paipibat.com/ -
รายงานภัยพิบัติประจำวันที่ 13 กรกฎาคม 2557
◾01:00 จากการประเมิณของสำนักอุตุฯ 6 ประเทศ พายุรามสูรมีโอกาสเข้ามาถึงทะเลจีนใต้
เว็บภัยพิบัติ Paipibat.com | ให้ความจริง ให้ความรู้ ทางภัยพิบัติ เพื่อสู้ข่าวลือ ลดความตื่นกลัว
หน้า 146 ของ 148