เรื่องเด่น จากสุลาเวสีถึงชายฝั่งอันดามัน ถอดบทเรียน ‘แผ่นดินไหวในแผ่นดิน’

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 8 ตุลาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8b2e0b980e0b8a7e0b8aae0b8b5e0b896e0b8b6e0b887e0b88ae0b8b2e0b8a2e0b89de0b8b1e0b988e0b887e0b8ad.jpg
    ที่มา หน้าประชาชื่น มติชนรายวัน
    เผยแพร่ วันที่ 8 ตุลาคม 2561

    แผ่นดินไหวที่อินโดนีเซียมีขนาด 7.5 ริกเตอร์ ความลึกอยู่ที่ประมาณ 10 กิโลเมตร ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวในระดับตื้น แต่กลับทำให้เกิดสึนามิที่มีความสูงในระดับถึง 6 เมตร นับว่าอยู่นอกความคาดหมายของนักวิทยาศาสตร์หลายคน เกิดอะไรขึ้น และประเทศไทยควรจะเตรียมตัวรับมืออย่างไร

    ประเด็นดังกล่าว ศ.ดร.อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร วิเคราะห์ถึงสาเหตุว่า ปัจจัยแรกเพราะเป็นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น “บนบก” และยังเกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนมีพลังอีกด้วย

    ปัจจัยที่ทำให้สึนามิครั้งนี้มีความรุนแรงมากกว่าปกติ นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าน่าจะมีปัจจัยเพิ่มเติม 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยแรก อาจเกิดแผ่นดินถล่มใต้ทะเลเนื่องจากบริเวณชายฝั่งของเมืองปาลู มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ลาดชันสูง จึงเป็นไปได้ว่าแผ่นดินไหวนี้ทำให้เกิดแผ่นดินถล่มในทะเล ทำให้เกิดมวลน้ำมหาศาลซัดเข้ามายังตัวเมืองปาลู

    อีกปัจจัยหนึ่งน่าจะมาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของตัวเมืองปาลูเอง ซึ่งมีลักษณะเป็นอ่าวลึกเข้าไปเป็นรูปกรวย จากลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เกิดการรวมศูนย์พลังงานให้เป็นจุดโฟกัสของคลื่นสึนามิที่วิ่งเข้ามา ทำให้เกิดพลังทำลายล้างที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งยังต้องรอการพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อไป

    อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.อมรบอกว่า ปัจจัยที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันคือ เรื่องการแจ้งเตือนภัย ความที่เป็นแผ่นดินไหวในแผ่นดิน ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบสาธารณูปโภค อาจส่งผลกระทบต่อระบบการส่งข้อความ ระบบไซเรนที่ติดตั้งตามแนวชายหาด เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายซ้ำสองครั้ง คือทั้งแผ่นดินไหวที่รุนแรง และเกิดสึนามิตามมาที่รุนแรงด้วย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากมาย

    ปัจจุบันอินโดนีเซียมีทุ่นตรวจจับสึนามิ 22 ทุ่น แต่ทว่าอาจมีหลายทุ่นที่ใช้การไม่ได้ เนื่องจากทุ่นเหล่านี้จะต้องมีการดูแลรักษาและมีค่าใช้จ่ายในการดูแลที่สูง อย่างไรก็ตาม หากทุ่นเหล่านี้ยังทำงานได้ตามปกติ กรณีที่เกิดแผ่นดินไหวที่บนบก การตรวจจับสึนามิที่เกิดขึ้นในทะเลลึกห่างจากชายฝั่งไปหลายร้อยกิโลเมตรอาจทำได้ไม่เต็มที่เช่นกัน

    b8b2e0b980e0b8a7e0b8aae0b8b5e0b896e0b8b6e0b887e0b88ae0b8b2e0b8a2e0b89de0b8b1e0b988e0b887e0b8ad-1.jpg b8b2e0b980e0b8a7e0b8aae0b8b5e0b896e0b8b6e0b887e0b88ae0b8b2e0b8a2e0b89de0b8b1e0b988e0b887e0b8ad-2.jpg สำหรับทุ่นตรวจจับของประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 2547 ที่เกิดสึนามิครั้งใหญ่แล้ว ในปี 2549 ได้ติดตั้งทุ่นตรวจจับสึนามิ 3 ทุ่นอยู่ในฝั่งทะเลอันดามัน ส่วนทางฝั่งอ่าวไทยยังไม่น่าห่วงเรื่องสึนามิ เพราะว่าอยู่ห่างจากแนวรอยเลื่อนที่ไกลมากถึง 4-5 พันกิโลเมตร


    [​IMG] [​IMG]

    “บริเวณชายฝั่งอันดามันของไทยที่น่าห่วงคือบริเวณ 6 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ สตูล พังงา ระนอง ภูเก็ต ตรัง และหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลอันดามัน เป็นต้น ที่เป็นจุดที่ตั้งอยู่ใกล้กับแนวรอยเลื่อนที่มีพลัง และเคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวและเกิดสึนามิมาแล้วเมื่อปี 2547 ต้องเรียนว่าประเทศไทยยังมีความโชคดี ตรงที่ว่าแนวที่เกิดแผ่นดินไหวแล้วทำให้เกิดสึนามิอยู่ห่างไกลออกไปนอกชายฝั่งทะเลฝั่งอันดามัน นับเป็นพันกิโลเมตร” เลขาธิการสภาวิศวกรกล่าว

    ประเมินถึงโอกาสที่ประเทศไทยอาจจะเผชิญกับการเกิดสึนามิอีกในอนาคต ศ.ดร.อมรบอกว่า มีความเป็นไปได้ เนื่องจากแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลกในทะเลอันดามันเป็นแนวที่ยาวต่อเนื่องจากทั้งในมหาสมุทรอินเดียขึ้นไปถึงแผ่นดิน จึงมีโอกาสที่อาจจะเกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้อีก

    จากสถิติแม้ว่าเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.3 ริกเตอร์ขึ้นแล้วในปี 2547 ก็ยังมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 8 ริกเตอร์เกิดขึ้นตามมา ดังนั้นในอนาคตก็คาดว่าจะมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิน 8 ริกเตอร์เกิดขึ้นได้อีก ซึ่งก็อาจทำให้เกิดสึนามิขึ้นได้

    “แนวรอยเลื่อนที่ห่างออกไปจากชายฝั่งทะเลอันดามัน เป็นแนวชนกันและมุดตัวระหว่างแผ่นเปลือกโลกอินโดออสเตรเลีย และแผ่นเปลือกโลกพม่านั้น ถือว่าเป็นแนวรอยเลื่อนที่มีพลังงานสูงมาก และมีโอกาสที่เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้อีก เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ควรประมาท แม้ว่าไทยจะโชคดีที่ธรรมชาติไม่รุนแรงเท่ากับอินโดนีเซีย แต่ก็ต้องให้ความสำคัญกับระบบการรับมือของเราว่าจะมีวิธีการแจ้งเตือน จะมีการซักซ้อม และมีการตระหนักถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้มากน้อยแค่ไหน” เลขาธิการสภาวิศวกรบอกและย้ำว่า

    เพื่อไม่ประมาทจึงควรมีการเตรียมพร้อมที่จะรับมือต่อเหตุการณ์ภัยธรรมชาติในอนาคต

    b8b2e0b980e0b8a7e0b8aae0b8b5e0b896e0b8b6e0b887e0b88ae0b8b2e0b8a2e0b89de0b8b1e0b988e0b887e0b8ad-3.jpg

    b8b2e0b980e0b8a7e0b8aae0b8b5e0b896e0b8b6e0b887e0b88ae0b8b2e0b8a2e0b89de0b8b1e0b988e0b887e0b8ad-4.jpg

    ขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/prachachuen/prachachuen-scoop/news_1168656
     

แชร์หน้านี้

Loading...