จิตไม่เที่ยง จิตเกิดดับ ใครว่า จิตเที่ยง จิตดับไม่มี นี่เป็นความเห็นผิด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้, 5 พฤศจิกายน 2014.

  1. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ฤทธิ์ ก็คงไม่ได้หมายถึงอิทธิวิธีอย่างเดียว
    ก็คงประมาณ ฤทธิ์อภิญญา อย่างนี้แหละจ๊ะ

    ทำได้จริงอ่ะ คุณ tjs
    ช่วยดูอดีตให้ได้ไหมจ๊ะ (ขอนอกเรื่องกระทู้หน่อยนะ)
    มีเจโต ทราบหรือเปล่า เราปรารถนาอะไรจ๊ะ
    คือว่า ถ้าให้หวยงวดหน้าได้ ก็ขอด้วยอ่ะจ๊ะ...
     
  2. ธรรมแท้

    ธรรมแท้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    91
    ค่าพลัง:
    +200
    เราอ้างอิงจาก อุปสีวปัญหา (ปัญหาที่ อุปสีวมานพ ถามพระพุทธเจ้า)
    พระพุทธเจ้า ท่านตรัสสอนอุปสีวมานพ ให้ เข้าอรูปฌานขั้น อากิญฯ

    แล้วพิจารณา สิ่งต่างๆลงในไตรลักษณ์

    แม้จะ เป็นอรูปพหรม ก็สามารถถึงความสิ้นกิเลสได้ (เป็นพระอรหันต์ขณะเป็นอรูปพรหม)
    เมื่อสิ้นอายุของอรูปพรหมแล้ว ก็ปรินิพพาน ในอรูปพรหม ไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก อุปมาเหมือนไฟที่ดับ หมดคำพูดที่จะบอกว่าไฟนั้นไปอยู่ที่ไหน

    ส่วนพระอนาคามีนั้น เราเชื่อว่า นอกจากไปชั้นสุทธาวาสแล้ว บางท่านอาจไป อรูปพรหม ชั้นใดชั้นหนึ่งก็ได้เช่นกัน เพราะพระอนาคามี ยังละ อรูปราคะ ไม่ได้

    และพระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนว่า สามารถสิ้นกิเลสในอรูปพรหมได้เช่นกัน (ถ้าเคยฝึกก่อนตาย)

    ลองศึกษาเพิ่มเติมที่

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=11154&Z=11193
     
  3. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    อะระหง อะระหัง อะระหันอะไรกัน ความสำคัญผิดคิดว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่มันก็ไม่ต่างอะไรกับคนสติวิปลาศ หากเป็นจริงจะมานั่นสาธยายไปทำไม ถ้าถูกแล้วพาคนไปถูกทางนั้นได้บุญได้กุศล แต่ถ้าผิดนั้นแล้วแม้บุญที่ควรจะได้รับก็ไม่เหลือเพราะมันกลายเป็นว่าแล้วทำไมเมื่อมีโอกาสจะพิจารณาว่าอะไรถูกผิดทำไมไม่ทำ มัวแต่คิดว่าฉันนั้นเลิศเลอกว่าผู้ใดในสามโลก ฉันเป็นเอกอุหน่อเนื้อ คิดดูดีๆว่าที่มีความคิดแบบนั้นมันดีหรือไม่ดี มันเหมือนเด็กดูหนังการตูนเรื่องอุลตร้าแมน พอดูจบหรืออ่านจบก็บอกว่า เราก็เป็นอุลตร้าแมนเหมือนกัน ปีนขึ้นไปบนหลังคากระโดลงมาคอหัก แล้วแบบนี้มันดีหรือไม่ดีละก็พิจารณากันเอาเองนะ
     
  4. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    คุณ tjs เขาเคยเล่าให้ฟังครับ ว่าเคยนิมิตเห็นเทพองค์หนึ่ง ซึ่งเทพนั้นอ้างว่า เคยเกิดเป็นช้างปาริไลยกะ

    แต่เล่าประวัติว่า ช้างได้อยู่ฟัง ปัจฉิมพุทธโอวาท ด้วย
    แล้วตายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน

    แต่ความจริงแล้ว ช้างเสียใจตายหลังจากที่พระพุทธเจ้าออกจากป่า
    (ตายก่อนพระพุทธเจ้านิพพาน)

    แต่ครั้งนั้น คุณ tjs ยังรับฟังผมอยู่บ้าง
    และได้ปรับแก้เนื้อหาให้ถูกต้องสอดคล้องกับ พุทธประวัติที่อรรถกถาจารย์ อธิบายไว้

    http://palungjit.org/threads/ทำไมหลวงพ่อฤาษีลาพุทธภูมิครับ.473164/page-2#post7623177
     
  5. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    เรื่องที่ว่าปัจจุบันช้างปาลิยกะ มาเกิดเป็นใครในยุคปัจจุบันนี้
    ผมไม่ขอตัดสินว่าถูกหรือผิดนะครับ

    เพราะไม่ปรากฏหลักฐานว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงคติที่ไปของช้างดังกล่าวไว้ว่ายังไงบ้าง มีเพียงอรรถกถาจารย์ที่อธิบายว่า ช้างนั้นเมื่อตายแล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แต่ไม่ได้บอกว่า อยู่ในชั้นดาวดึงส์นานแค่ไหน และปัจจุบันนี้ลงมาเกิดหรือยัง

    ช้างปาริไลยะกะนั้นถ้าถามว่า มาเกิดเป็นใครในยุคปัจจุบัน ก็จะได้คำตอบที่หลากหลายไม่ซ้ำกันเลย ทั้งๆ ที่บุคคลเหล่านั้นมีชีวิตอยู่ร่วมกันในช่วงเวลาปัจจุบันด้วยซ้ำ ซึ่งตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดในช่วงเวลาที่ซ้อนเหลื่อมกัน เท่าที่สรุปมีดังนี้

    1. ครูบาศรีวิชัย , 2421 - 2481 (หนังสือประวัติหลวงปู่จาม ท่านเล่าว่าฟังจากคำหลวงปู่ตื้อ )
    2. หลวงปู่อ่ำ , 2470 - ???? (หลวงพ่อฤาษีลิงดำบอก)
    3. ในหลวงองค์ปัจจุบัน ร.9 , 2470 - ???? (หลวงปู่สิมบอก)
    4. เป็นเทวดาในสวรรค์ ???? - 2556 - ???? (นิมิตจากคุณ tjs เมื่อปี 2556)
    5. ยังมีอีกหลายคนที่อ้างว่าตนเองเคยเกิดเป็นช้างปาริไลยกะ
    6. มีอีกหลายคนที่ถูกพยาการณ์โดยอาจารย์นิรนามว่าเคยเกิดเป็นช้างปาริไลยกะ

    ลองอ่านดูครับ
    http://palungjit.org/threads/โพธิสัตว์องค์ไหนคือ-ช้างปาลิไลย์.225886/

    http://palungjit.org/threads/ทำไมหลวงพ่อฤาษีลาพุทธภูมิครับ.473164/page-2#post7637358
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 พฤศจิกายน 2014
  6. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    -
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2022
  7. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    ผมคิดว่าเราไม่ควรออกนอกลู่นอกทางมากนัก

    เรื่องสติ สมาธิ ปัญญา เป็นเรื่องใหญ่

    เรื่องอภิญญาเป็นเป็นเล็ก เรื่องนิมิตร เป็นเรื่อง หลอน ที่เห็นหรือที่เกิดนะ้นเกิดจริง แต่มันมีทั้งเรื่องจริงและไม่จริง อภิญญาของผมยังเป็นโลกิยะอภิญญา ยังเสื่อมไม่แน่นอนครับ

    คนที่เดินสายธรรม ต้องให้ความสำคัญกับธรรม อันเป็นแก่นหัวใจสำคัญครับ

    ส่วนเรื่องที่สอบถามผมมา ในเรื่องอภิญญา ที่ผมมี มันก็ไม่แน่ไม่นอน ผมรู้ของผมดี ทุกวันนี้ไม่ได้ใส่ใจสนใจอะไรมากนัก เน้นทำสมาธิฌาณและญาณ เท่านั้น อะไรจะเกิดในสมาธิมันก็ต้องเกิดเป็นธรรมดาของมันครับ รู้ทันปล่อยวางเป็นพอครับ สาธุ
     
  8. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    -
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2022
  9. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573


    อสัญญีทิฏฐิ ๘
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการ ตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจาก การตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ? สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ตาย
    (๑) อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    (๒) อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    (๓) อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    (๔) อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    (๕) อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    (๖) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    (๗) อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    (๘) อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย ไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญาด้วยเหตุ ๘ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย ไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา สมณพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งหมดย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๘ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้น แล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่ง กว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและ โทษของเวทนาทั้งหลายกับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริงจึงทราบ ความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

    คิดว่า ท่านผู้นี้คงไม่ได้กล่าวผิด อะนะ

    สภาวะ อสัญญี จะเกิดขึ้นเมื่อก้าวล่วง เนวะสัญญานาสัญญาฯ เท่านั้น พอๆกับ สัญญาเวทยิตฯ

    การเข้าไปในฌาน4 แล้วทุกอย่างดับวูบ นั่นเป็นการตกภวังค์ (อาการนี้จะเกิดแวบเดียว แทบเสี้ยววินาที) เสมือน รอยต่อจิต ต่อจิต (ถ้าได้เห็นก๋ถือว่า ได้เห็นจิตเกิดจิตดับ โดยอนุมาน)

    แต่ อสัญญีภูมินั้นต่างกันลิบลับ หล่นเข้าไปในภูมินี้ ทุกอย่างกลับมา อาจผ่านไปหลายชั่วโมง หรือ หลายวัน หรือ หลาย อาทิตย์ หรือ หลายปี ...

    รอยต่อ ระหว่างเนวะสัญญานาสัญญาฯ กับ สัญญาเวทยิทฯ มีจุดเด่น ที่เด่นชัดอยู่ ... (อันนี้ ไม่ขอกล่าว เมื่อล่วงถึง จะรู้เอง) ขณะที่ ขาดสติ หรือ กำลังสติไม่แกร่งกล้าพอ อาจจะหลุดเข้าไปใน อสัญญีสัตวภูมิ ซึ่งเป็นภพที่ยอดเยี่ยม แต่พระพุทธเจ้ามิได้สรรเสริญภพนี้ ฤาษีในอดีตกาลที่เข้าไปที่นี่แล้วจึงสำคัญผิดว่า นี่คือที่สุดแล้ว
    (พระพุทธเจ้า จึงพยายาม แก้ไขทิฏฐิ นี้)

    ที่เขียนเพิ่มมานี้ มิใช่ให้เชื่อตาม หรือ เข้าใจตาม จะชี้ให้เห็นว่า สภาวะดังกล่าวจะต้องเข้าไปสัมผัสเองในระดับความละเอียดสูงสุด จึงจะแยกความแตกต่างนี้ออกได้อย่างแจ่มชัด


    และที่ท่านแย้งมานั้น ยังไม่เป็นไปตาม อสัญญีทิฏฐิ ในทัศนะของพระพุทธเจ้า โดยละเอียดปราณีต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2014
  10. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    กำลังดูว่า อสัญญีภูมิ กับ อสัญญีทิฏฐิ
    ความเป็นไปจริง กับความเป็นไปของทิฏฐิ ทิฏฐิจะเป็นไปจริงด้วยไหม..??
    คนสนใจไปศึกษาก่อนนะ
    ต้องไปข้างนอกแล้ว..

    สัญญีทิฏฐิ ๑๖
    [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการ
    ตายมีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา
    ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ.
    ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ?
    สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ตาย.
    ...
    ..

    อสัญญีทิฏฐิ ๘
    [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการ
    ตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา
    ด้วยเหตุ ๘ ประการ
    ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจาก
    การตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ?
    สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ตาย
    ...
    ...

    พรหมชาลสูตร
    �����ûԮ�������� � - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �
     
  11. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573

    มันเป็น ทิฏฐิ ที่เป็นไปเพื่อยึดติด ทั้งหมด

    พระพุทธเจ้า ชี้แนะ ว่า ไม่ยึดติด ทั้งหมด ถึงแม้จะเป็นไป
    จึงจะหลุดออกจาก ทิฏฐิ เหล่านั้น
     
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    น่าสนใจตรงคำว่า และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่ง กว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย

    อสัญญีทิฏฐิ ๘
    [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการ
    ตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ
    ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจาก
    การตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ?
    สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ตาย
    ๓๕. (๑) อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๖. (๒) อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๗. (๓) อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๘. (๔) อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๙. (๕) อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๔๐. (๖) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๔๑. (๗) อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๔๒. (๘) อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    ไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญาด้วยเหตุ ๘ ประการนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    ไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา สมณพราหมณ์เหล่านั้น
    ทั้งหมดย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๘ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้น
    แล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่ง
    กว่านั้น
    ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและ
    โทษของเวทนาทั้งหลายกับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริงจึงทราบ
    ความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
    จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
    แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.

    เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ ๘
    [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจาก
    การตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น อาศัยอะไร
    ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
    ย่อมบัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘
    ประการ? สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ตาย
    ๔๓. (๑) อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
    ๔๔. (๒) อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
    ๔๕. (๓) อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
    ๔๖. (๔) อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญา
    ก็มิใช่.
    ๔๗. (๕) อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
    ๔๘. (๖) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.
    ๔๙. (๗) อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่สัญญาก็มิใช่.
    ๕๐. (๘) อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
    สัญญาก็มิใช่.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่
    ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใด
    พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า
    อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วย
    เหตุ ๘ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้น
    แล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด
    ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น
    ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น
    ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น
    ตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
    จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
    แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
     
  13. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ที่ยกมาพร้อมกัน เพราะเห็นมีอรรถกถาคู่กัน

    อสญฺญีเนวสญฺญีนาสญฺญีวาทวณฺณนา

    อสัญญีวาทะ บัณฑิตพึงทราบด้วยอำนาจจตุกกะทั้ง ๒ ที่กล่าวไว้ข้างต้นในสัญญีวาทะ.
    เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ก็เหมือนกัน.
    ก็เพียงแต่ในสัญญีวาทะนั้น ทิฏฐิเหล่านั้นของพวกที่ถือว่าอัตตามีสัญญา.
    ในอสัญญีวาทะและเนวสัญญีนาสัญญีวาทะนั้น
    ทิฏฐิเหล่านั้น พวกที่ถือว่าอัตตาไม่มีสัญญา
    และว่าอัตตามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.

    ในทิฏฐิเหล่านั้น พึงตรวจสอบเหตุการณ์ ไม่ใช่โดยส่วนเดียว. ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า ความยึดถือแม้ของคนผู้มีทิฏฐิ ก็เช่นเดียวกับกระเช้าของคนบ้า.

    ในอุจเฉทวาทะ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
    บทว่า สโต ได้แก่ ยังมีอยู่.
    บทว่า อุจฺเฉทํ ได้แก่ ความขาดสูญ.
    บทว่า วินาสํ ได้แก่ ความไม่พบปะ.
    บทว่า วิภวํ ได้แก่ ไปปราศจากภพ.
    คำเหล่านี้ทั้งหมด เป็นไวพจน์ของกันและกันทั้งนั้น.
    ในอุจเฉทวาทะนั้น มีคนที่ถืออุจเฉททิฏฐิอยู่ ๒ พวก คือผู้ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๑ ผู้ไม่ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๑. ผู้ที่ได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ เมื่อระลึกตาม มีทิพยจักษุ เห็นจุติไม่เห็นอุบัติ.
    อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดสามารถเห็นเพียงจุติเท่านั้น ไม่เห็นอุบัติ ผู้นั้นชื่อว่ายึดถืออุจเฉททิฏฐิ.
    ผู้ที่ไม่ได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คิดว่า ใครเล่าจะรู้ปรโลก ย่อมยึดถือความขาดสูญ เพราะค่าที่ตนเป็นผู้ต้องการกามสุข หรือเพราะการนึกเอาเองเป็นต้นว่า สัตว์ทั้งหลายก็เหมือนกับใบไม้ที่หล่นจากต้นไม้ไม่งอกต่อไปฉะนั้น.
    ก็ในอธิการนี้ พึงทราบว่า ทิฏฐิ ๗ เหล่านี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ หรือเพราะกำหนดเอาอย่างนั้นและอย่างอื่น.

    ในพระบาลีนั้น บทว่า รูปี ได้แก่ ผู้มีรูป.
    บทว่า จาตุมฺมหาภูติโก ได้แก่ สำเร็จด้วยมหาภูต ๔.
    ที่ชื่อว่า มาตาเปตฺติกํ เพราะมีมารดาและบิดา. นั้นได้แก่อะไร? ได้แก่สุกกะและโลหิต.
    ที่ชื่อว่า มาตาเปตฺติกสมฺภโว เพราะสมภพ คือเกิดในสุกกะและโลหิตอันเป็นของมารดาและบิดา.
    สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีวาทะและทิฏฐิ ย่อมกล่าวอัตตภาพของมนุษย์ว่าอัตตา โดยยกรูปกายขึ้นเป็นประธาน.
    บทว่า อิตฺเถเก ตัดบทเป็น อิตฺถํ เอเก ความเท่ากับ เอวเมเก.
    สมณะหรือพราหมณ์พวกที่ ๒ ปฏิเสธข้อนั้น กล่าวอัตตาภาพอันเป็นทิพย์.
    บทว่า ทิพฺโพ ความว่า เกิดในเทวโลก.
    บทว่า กามาวจโร ได้แก่ นับเนื่องในเทวดาชั้นกามาวจร ๖ ชั้น.
    ที่ชื่อว่า กวฬิงฺการาหารภกฺโข เพราะกินอาหาร คือคำข้าว.
    บทว่า มโนมโย ได้แก่ บังเกิดด้วยฌานจิต.
    บทว่า สพฺพงฺคปจฺจงฺคี ได้แก่ ประกอบด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน.
    บทว่า อหีนินฺทฺริโย ได้แก่ มีอินทรีย์บริบูรณ์.
    คำนี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งอินทรีย์ ที่มีอยู่ในพรหมโลก และด้วยอำนาจทรวดทรงของอินทรีย์นอกนี้.
    เนื้อความของคำว่า สพฺพโส รูปสญฺญานํ สมติกฺกมา ดังนี้เป็นต้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

    ส่วนในคำว่า อากาสานญฺจายตนุปโค เป็นต้น พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เข้าถึงภพชั้นอากาสานัญจายตนะ.
    คำที่เหลือในอุจเฉทวาทะนี้ ง่ายทั้งนั้น ดังนี้แล.

    ��ö��� �զ�ԡ�� ��Ţѹ���ä ��������ٵ� ˹�ҵ�ҧ��� � �� �
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2014
  14. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ส่วนอันนี้ อสัญญีภูมิ เป็นรูปพรหม หรืออรูปพรหม

    คือว่าไม่ใช่คุณเฉลิมศักดิ์ตอบนะ
    คือว่า เธอยกมาจากอภิธรรมมัตถสังคหะ โดยอ.บุญมี เมธางกูร

    ใครมีรายละเอียดอะไร ก็ลองนำมาศึกษากันจ๊ะ

    จากคู่มือการศึกษา พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๕ ตอนที่ ๑ วิถีวิมุตตสังคหวิภาค
    โดย พระอาจารย์บุญมี เมธางกูร

    อสัญญสัตตาภูมิ

    อสัญญสัตตาภูมิ เป็นภูมิที่ปฏิสนธิกรรมชรูปอย่างเดียว คือ เป็นที่อยู่ของรูปพรหมที่มีแต่รูปอย่างเดียว อันเป็นผลของปัญจมฌานกุศลที่เป็นไปพร้อมกับสัญญาวิราคภาวนา หมายถึงปัญจมฌานที่ปฏิเสธนาม มีความต้องการแต่รูปอย่างเดียว ดังวจนัตถะว่า
    นตฺถิ สญฺญา เอเตสนฺติ = อสญฺญา
    แปลความว่า สัญญาเจตสิกไม่มีแก่พรหมเหล่าใด พรหมเหล่านั้นชื่อว่า อสัญญา

    การยกเอาสัญญาเจตสิก ขึ้นเป็นประธานในการแสดงความหมายของ อสัญญา ว่า ไม่มีสัญญาเจตสิก นี้ ที่จริงสัญญาเจตสิกนั้น เป็นสัญญาขันธ์ ๆ หนึ่ง และย่อมประกอบกับจิตทั่วไปทุกดวง ฉะนั้น เมื่อไม่มีสัญญาเจตสิกแล้ว ก็หมายความว่า จิตและเจตสิกอื่น ๆ ซึ่งเป็นนามขันธ์ด้วยกัน และต้องอาศัยอุปการะซึ่งกันและกันไม่มีนั่นเอง
    อีกนัยหนึ่ง แสดงว่า
    นตฺถิ สญฺญามุเขน จตฺตาโร อรูปกฺขนฺธา เอเตสนฺติ = อสญฺญา
    แปลความว่า “ นามขันธ์ ๔ โดยยกเอาสัญญาเจตสิกเป็นประธาน ไม่มีแก่พรหมเหล่าใด พรหมเหล่านั้น ชื่อว่า อสัญญา”

    อสญฺญา จ เต สตฺตา จาติ = อสญฺญาสตฺตา
    แปลความว่า “ พรหมที่ไม่มีนามขันธ์ ๔ ที่ยกเอาสัญญาเจตสิกเป็นประธาน แต่พรหมนี้ก็ได้ชื่อว่า เป็นสัตว์ เหตุนั้น จึงเรียกว่า อสัญญาสัตตา “

    บรรดาสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลาย ถ้าไม่มีนามขันธ์แล้ว สิ่งนั้นส่วนมากมักไม่เรียกว่า สัตว์ คนส่วนมากยังเข้าใจว่า สัตว์นั้นต้องมีนามธรรมด้วย ความเข้าใจเช่นนี้ นับว่ายังเข้าใจไม่ถูกถ้วน เพราะในกามโลกนั้น ขึ้นชื่อว่าสัตว์แล้วจะต้องมีนามธรรมทั้งสิ้น ถ้าไม่มีนามธรรม ไม่ชื่อว่าสัตว์ แต่สำหรับในพรหมโลกแล้ว แม้มีรูปขันธ์อย่างเดียว ก็ยังคงนับได้ว่าเป็นสัตว์ได้จำพวกหนึ่ง เพราะมีชีวิตรูปปกครองอยู่ ชีวิตรูปเหล่านี้เกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจกรรมปัจจัย จากรูปปัญจมฌานกุศล ที่มีสัญญาวิราคะภาวนาเกิดพร้อมด้วย
    ฉะนั้น พระอนุรุทธาจารย์ จึงได้ยกเอาคำว่า สัตตะ เข้าประกอบกับคำว่า อสัญญะ รวมเรียกว่า อสัญญสัตตะ

    อสญฺญสตฺตานํ นิพฺพตฺตาติ = อสญฺญสตฺตา
    ภูมิที่เกิด ของอสัญญสัตตพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า อสัญญสัตตา
    ในจตุตถฌานภูมิ ทั้ง ๒ นี้ ที่เรียกชื่อว่า เวหัปผลาภูมิ และ อสัญญสัตตาภูมินั้น เป็นการเรียกโดยอ้อม คือเอาชื่อของพรหม ที่อยู่ในสถานที่นั้น มาตั้งเป็นชื่อของภูมินั่นเอง
    เวหัปผลาภูมิ และ อสัญญสัตตาภูมิ ทั้ง ๒ นี้ ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ ในระดับเดียวกัน ห่างจากตติยฌานภูมิ ๕ ล้าน ๕ แสน ๘ พันโยชน์ มีสวนดอกไม้ สระโบกขรธรณี และต้นกัลปพฤกษ์ เช่นเดียวกับตติยฌานภูมิ

    อสัญญีสัตว์ - ลานธรรมเสวนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2014
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คน มันไม่เคย ภาวนา เวลา รับบัญญัติอะไรไป ก็เอาไปใช้ ทื่อๆ

    แต่ถ้าเป็น นักภาวนา ขันธ์กองใดกองหนึ่ง ไม่ได้มี แต่ บัญญัตกองขันธ์นั้น
    โดยไม่มีอย่างอื่น

    อันนี้ มีสำนวน ที่พระพุทธองค์ตรัสเตือน ภิกษุ อยู่ แต่ ไม่เป็นที่ นิยม มาย้อนแย้ง
    เพราะ ลำพังจะให้เข้าใจ ขันธ์ ก็ยากพอตัวอยู่แล้ว

    แต่ นักภาวนาเก่งๆ ก็จะพูดเสียงเดียวกันว่า มันไม่ได้ มี แต่สิ่งนั้นสิ่งเดียวตามชื่อ
    ขันธ์นะ ในขันธ์กองหนึ่งยังมีอะไรซับซ้อนได้อีกหลายซับ หลายซ้อน

    เพียงแต่ว่า ความพอเพียงในการภาวนา เอาแค่ พอจำแนกได้เป็นกองๆ ก็พอแล้ว

    ถ้าเป็น สำนวนหลวงปู่ดูลย์ ที่หยิบยืมมาจากอีกแหล่ง จะใช้ สิ่งที่ละเอียดกว่า
    "ขันธ์" ว่า สุขุมรูป


    ดังนั้น

    อสัญญีสัตตา ไม่ใช่ ไปเที่ยวระบุว่า สัตว์นั้นเหลือแต่รูปไม่มีสัญญา

    มันจะเข้าทำนอง ทิฏฐิ สัตว์มีสัญญา สัตว์ไม่มีสัญญา สัตวมีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่

    ซึ่ง ทั้งหมด มันเป็น " ทิฏฐิ "

    พอไป ถือ ทิฏฐิ ก็ ผิดทันที

    เหมือน คนภาวนาไม่เป็น รับบัญญัติ อสัญญีสัตตาคือสัตว์เหลือรูปขันธ์ ก็ รับไป
    ทื่อๆ แล้ว งับค้างไว้ในปาก ไปยอมคายปากให้เอา ช้อนที่ป้อนอาหาร กลับออกมา

    !!!
     
  16. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    อุยๆ ผู้กล่าว "มีรูป ไม่มีสัญญา"

    นี่ คือ พระพุทธเจ้า พระสารีบุตร และ อีกหลายท่านเลย นะเนี่ย

    แหะ แหะ แหะ
     
  17. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    ชอบใจคำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้านี้มาก เป็นคำสอนที่ยากต่อการเข้าใจของสัตว์โลกทั้งหลาย ผู้เข้าใจได้ก็เฉพาะผู้เข้าถึงแล้วเท่านั้น

    ผู้ที่ปฏิบัติจนเข้าถึงธรรมนั้น มิได้ยึดมั่นถือมั่นธรรมทั้งปวงที่เข้าถึงเลย
    ต่างจากผู้ที่รู้จากตำรา จากคำสอนของพระอริยะเจ้า ย่อมยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนรู้ แต่ตนเข้าไม่ถึง ซึ่งก็เป็นธรรมดาของสัตว์โลก


    ธรรมะของผู้เข้าถึง
    เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต

    ท่านทั้งหลายถ้ายังเข้าไม่ถึงธรรมอย่าไปยึดมั่นถือมั่นความรู้ที่มีมากนัก ถ้าถูกต้องจริงคงทำให้ท่านเข้าถึงธรรมไปแล้ว ก็เป็นเพราะเข้าใจไม่ถูกต้องจริงจึงทำให้เข้าไม่ถึงธรรม และจะทำให้เป็นการปิดกั้นตนเอง ถูกหรือผิดท่านก็รับฟังไปก่อน และท่านจะรู้ว่าธรรมใดถูกต้อง ธรรมใดสมบูรณ์ ธรรมได้คาดเคลื่อน ธรรมใดไม่สามารถเข้าถึงได้จริง เมื่อปฏิบัติจนเข้าถึงแล้วท่านจะเป็นผู้รอบรู้ธรรมอย่างที่สุด ในอดีตเราก็อาศัยการรับฟังธรรมแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นธรรมของใคร ท่านไหนเรารับฟังหมด แต่เราไม่เชื่อท่านใดเลย และไม่ปฏิเสธท่านใดด้วย เมื่อปฏิบัติเข้าถึงจึงรู้ชัดว่าสิ่งใดถูกต้อง อธิบายนี้เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ท่านทั้งหลาย
     
  18. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ทิฏฐิของเรื่องอสัญญีทิฏฐิใช่ไหม..
    คือว่า
    แล้วคุณคิดว่า อสัญญีสัตว์ เป็นรูปพรหม หรืออรูปพรหม
    มีรายละเอียดอะไรอีกเปล่าจ๊ะ..?
    เราแค่อยากอ่านรายละเอียดมากๆหน่อยอ่ะจ๊ะ
    ลองเข้าไปดูหลายที่ก็ว่าเป็นรูปพรหม ไม่มีสัญญา
    แถมไม่มีภวังคจิตคั่นแต่ไม่ใช่นิโรธ เพราะมีรูปอยู่
    ภูมที่11 อสัญญสัตตภูมิ เป็นที่เกิดของ สุคติอเหตุกบุคคล ๑ คือ มีรูป ปฏิสนธิอย่างเดียว
    เป็นที่ปฏิสนธิของปัญจมฌานวิบาก หรือเป็นที่เกิด ที่อยู่ ของพรหมที่ได้ปัญจมฌาน อันเป็นผลของปัญจมฌานกุสล ที่เจริญสัญญาวิราคะ ภาวนา ต่อไปอีกโสดหนึ่งด้วย
    ภูมิที่ ๑๐ และ ๑๑ รวม ๒ ภูมินี้เป็นชั้นเดียวกัน อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่สูง ไม่ต่ำกว่ากัน และ อายุก็เท่ากันด้วย

    http://www.thepathofpurity.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A0-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A0-%E0%B8%98-%E0%B8%A1%E0%B8%A1-%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%AA-%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B0/%E0%B8%9B%E0%B8%A3-%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%97%E0%B8%97-%E0%B9%95/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2014
  19. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    ได้ทั้ง 8 รูปแบบที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึง

    ถูกต้องแล้ว ไม่มีภวังคจิตคั่น เพราะจิตไม่ได้เกิด แต่ไม่ได้ดับ
    มันเลยไม่ใช่ภวังคจิต แต่เหมือน ภวังคจิต มาก

    และไม่ใช่นิโรธ (เพราะมันไม่ได้ดับ)

    เหตุที่เป็นพรหม เพราะ มีกำลังฌานสูงมาก เกินเทวดา(เทวดามันทำสมาธิไม่เป็น เสพแต่บุญเก่าอย่างเดียว)

    เหตุที่มีรูป เพราะ ใช้แทนรูปขันธ์ของจิต ไม่ใช่รูปขันธ์ของกาย
    กายที่ว่า คือ อายตนะ

    ถ้าไม่มีรูปจบเห่ .... ต้องรอกำลังฌานเสื่อมดับลงเอง
    ถ้ามีรูป ... วันนึง ถ้ามีพระพุทธเจ้า องค์ใหม่ มาโปรด ยังพอ สกิด จี้เข้าจิตให้ตื่นออก ได้

    นับจาก อสัญญีทิฏฐิ นี้แล้ว พระพุทธเจ้า ไม่เปรยธรรม นี้อีกเลย
    เพราะ ท่านไม่สรรเสริญ สภาวะเช่นนี้ อย่างมาก
     
  20. wlotuss

    wlotuss เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +184
    ไช่ครับ สภาวะเช่นนี้ มันจะพาไปหาพวกมนุษย์ต่าวดาว แล้วก็หลงตัวเองว่าเป็นพระเจ้าครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...