จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก ตอนที่ ๗

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 13 กันยายน 2009.

  1. telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    จิต,เจตสิก,รูป, นิพพาน ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก ตอนที่ ๗
    ท่านทั้งหลาย เมื่อได้อ่านได้ศึกษาได้เรียนรู้ และได้ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับจิต,เจตสิก,รูป ฯ กันมาถึงตอนนี้ คงมีหลายท่านที่อาจมีข้อสงสัยว่า
    รูป ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก เป็นอย่างไรกันแน่ ทำไมจึงมีหลัก ขันธ์ ๕ อันได้แก่ รูป(ขันธ์) สัญญา(ขันธ์) เวทนา(ขันธ์) สังขาร(ขันธ์) และ จิตวิญญาณ (ขันธ์) สอนซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ
    คำว่า "รูป" ตามหลักพระอภิธรรมปิฎกนั้น หมายถึง รูปทุกชนิด รูปทุกอย่าง หรือรูปทั้งหมด ไม่ว่า รูปเหล่านั้น จะมีรูปร่าง ทรวดทรง ตามหลักเรขาคณิต หรือมีรูปร่าง ทรวดทรง ตามธรรมชาติเช่นใดก็ตาม ล้วนเป็น รูป ทั้งสิ้น และได้แบ่งลักษณะของรูป ออกเป็น ๒ ชนิด นั้นก็คือ
    มหาภูตรูป อันได้แก่ ไฟ,ลม,ดิน,น้ำ อย่างหนึ่ง
    และ รูปที่ต้องอาศัยมหาภูตรูป หรือ หรือ รูปที่มีการเกิดสืบเนื่องจาก ไฟ,ลม,ดิน,น้ำ ซึ่งในพระอภิธรรมปิฎกเรียกว่า อุปาทายรูป แบ่งแยกย่อยออกไปเป็นอย่างๆดังนี้ ก) ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา, โสต หู, ฆาน จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย, มโน ใจ, ข) โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป) ค) ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย ง) หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ จ) ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่ ฉ) อาหารรูป ๑ คือกวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา ช) ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง ญ) วิญญัติรูป ๒ คือ กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้ ฎ) วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา, มุทุตา ความอ่อน, กัมมัญญตา ความควรแก่งาน, (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก) ฏ) ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้, สันตติ สืบต่อได้, ชรตา ทรุดโทรมได้, อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน
    อย่างนี้เป็นต้น
    รูปทั้งสองชนิด อันได้แก่รูปแห่ง ไฟ,ลม,ดิน,น้ำ และ รูปที่ต้องอาศัย หรือ รูปที่มีการเกิดสืบเนื่องจาก ไฟ,ลม,ดิน,น้ำ
    ล้วนเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่ก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ได้เช่นกัน รูปทั้งหลายเหล่านั้น จะกล่าวว่า เป็นเจตสิก อย่างหนึ่งก็ว่าได้ รูปทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนเป็นเหตุและปัจจัยก่อให้เกิดความคิดอารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม หรือการกระทำ ในทางที่ดีก็ได้ ในทางที่ไม่ดีก็ได้ หรือในทางที่จะว่าดีก็ไม่ใช่ จะว่าในทางที่ว่าไม่ดีก็ไม่ใช่ หรือเป็นเหตุและปัจจัยก่อให้เกิด อาสวะแห่งกิเลสก็ได้ ทำให้หลุดพ้นจากอาสวะแห่งกิเลสก็ได้เช่นกัน ซึ่ง รูปทั้งหลายเหล่านั้น บุคคลใดใด จะสามารถรับรู้ หรือสัมผัสได้ ก็เนื่องมาจาก "ขันธ์ ๕" ในบุคคลนั้นๆ หมายความว่า ขันธ์ ๕ จะเป็นสิ่งสร้างหรือเป็นแหล่งก่อให้เกิดการสามารถรับรู้ หรือสัมผัส ในรูปทั้งหลายเหล่านั้นได้
    หากท่านทั้งหลายคิด พิจารณา ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จะพบว่า อาสวะแห่งกิเลสทุกชนิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง สิ่งที่ดี หรือสิ่งที่ไม่ดี หรือสิ่งที่จะว่าดีก็ไม่ใช่ จะว่าไม่ดีก็ไม่ใช่ รวมไปถึง การหลุดพ้นจากอาสวะแห่งกิเลสทุกชนิด ความไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง สิ่งที่ดี หรือสิ่งที่ไม่ดี หรือสิ่งที่จะว่าดีก็ไม่ใช่ จะว่าไม่ดีก็ไม่ใช่ หรือจะเรียกตามหลักอริสัจสี่ คือ ทุกข์,สมุทัย,นิโรธ,มรรค ล้วนเกิดจากหรือมีต้นตอมาจาก ขันธ์๕ ทั้งสิ้น

    ขันธ์ ๕ ในมนุษย์(ในการอธิบายนี้ จะหมายเอาเฉพาะมนุษย์ ส่วนขันธ์๕ ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ให้ท่านทั้งหลายได้ไปศึกษาค้นคว้าด้วยตัวท่านเอง) ประกอบด้วย
    รูป (ขันธ์) ,สัญญา (ขันธ์),เวทนา (ขันธ์),สังขาร(ขันธ์) ,จิตวิญญาณ หรือ วิญญาณ (ขันธ์)

    รูป (ขันธ์)(มนุษย์) หมายถึง รูปภายนอก รูปภายใน อันย่อมหมายถึง รูปแห่งอวัยวะต่างๆ ทั้งภายนอกภายใน มีรูปร่างทรวดทรง แตกต่างกันไป ตามลักษณะการใช้งาน หรือตามลักษณะความจำเป็นหรือความคล่องแคล่ว เหมาะสมในการทำงานของอวัยวะนั้นๆ รูป ในมนุษย์นี้หากท่านมีสติสัมปชัญญะ รู้สึกตัวและระลึกได้ ในเรื่องของ "จิต" ท่านทั้งหลายก็จะเกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และเกิดความรู้ ความเข้าใจในความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ของหลักการในพุทธศาสนา หรือเกิดความรู้ ความเข้าใจ ในการศึกษา พระไตรปิฎก ว่าในพระไตรปิฎกนั้น มีวิธีการสอน หรือการอธิบาย หรือการเรียนการสอน เป็นอย่างไร
    อนึ่ง หากท่านทั้งหลายได้อ่าน ได้ศึกษา ได้ทำความเข้าใจหลักการตามพระอภิธรรมปิฎก ในตอนที่๗นี้ อย่างละเอียด อย่างช้าๆตามสมควร ก็จะเกิดรู้ความเข้าใจว่า รูป มีความสำคัญ มีลักษณะ มีความจำเป็น ในการศึกษาเล่าเรียน ไม่ว่าจะในด้านศาสนา หรือในด้านวิชาการด้านอื่นๆ เป็นอย่างยิ่ง

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ๑๒ ก.ย. ๒๕๕๒
     

แชร์หน้านี้