จีนสร้างเสาอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก “เปลี่ยนโลกเป็นสถานีวิทยุ”

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 8 ธันวาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    จีนสร้างเสาอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อรับส่งสัญญาณไปมาเท่านั้น


    จีนถือเป็นอีกชาติของโลก ที่โฟกัสไปในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ ล่าสุดพวกเขาก็ได้สร้าง “เสาอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก” ขึ้นมาได้สำเร็จ โดยอ้างว่านำไปใช้สำหรับเพื่อปฏิบัติการด้านเรือดำน้ำเท่านั้น โดยเจ้าเสาอากาศขนาดใหญ่มหึมานี้ถูกออกแบบมาให้สามารถสื่อสารผ่านใต้น้ำได้ลึกมากกว่า 1,900 ไมล์ (3,000 กม.) ซึ่งไกลมากพอที่จะติดต่อไปยัง Guam ฐานทัพทหารสหรัฐฯ ที่ใหญ่ที่สุด ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก


    ขอบคุณภาพจาก : scmp.com

    ปัจจุบันไม่มีใครทราบว่าเสาอากาศนี้อยู่ที่ไหน แต่คาดว่ามันอยู่ที่ไหนสักแห่ง 620 ไมล์ (1,000 กม.) ทางใต้ของปักกิ่ง หรือ 1,242 ไมล์ (2,000 กม.) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุนหวงภายในตะวันตกเฉียงเหนือของจีน หรือ 620 ไมล์ (1,000 กม.) ทางตะวันออกของเหมียนหยางในมณฑลเสฉวนทางตะวันตกเฉียงใต้

    ขอบคุณภาพจาก : i.pinimg.com

    บทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Chinese Journal of Ship Research ให้ข้อมูลว่าตัวเสาร์อากาศถูกฝังอยู่ใต้พื้นผิวของทะเล 700 ฟุต (200 ม.) มันสามารถที่จะรับสัญญาณจากเสาอากาศยักษ์ที่อยู่ห่างออกไปได้ไกลมากถึง 800 ไมล์ (1,300 กม.) เสาอากาศถูกสร้างขึ้นโดยใช้เครือข่ายสายเคเบิลขนาดใหญ่ และเสาที่คล้ายกับเสาไฟฟ้าทั่วไป ทำงานด้วยเครื่องส่งสัญญาณใต้ดินสองเครื่องที่ชาร์จด้วยกระแสไฟฟ้า

    ตามข้อมูล เสาร์อากาศนี้ของจีน ถือเป็นเสาร์อากาศที่ใหญ่ที่สุดเสาร์แรกของโลก สามารถกระจายคลื่นความถี่ต่ำ ELF ออกมาได้ และสามารถสร้างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 0.1 ถึง 300 Hz ซึ่งสามารถเดินทางไปได้ไกลจนถึงใต้น้ำลึก ๆ ได้อย่างสบาย ๆ

    อย่างไรก็ตาม มีความกังวลว่าหากกระแสไฟแรงเกินไป อาจก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กที่ส่งผลต่อค่าการนำไฟฟ้าของสายเคเบิล จนกลายเป็นสัญญาณที่ถูกยิงส่งออกไปนอกโลก นั่นเป็นเหตุผลที่ตัวคลื่นควรที่จะสร้างขึ้นอย่างละเอียด และแม้ว่าตัวสัญญาณนี้จะถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งสัญญาณไปกลับเท่านั้น นักวิจัยมองว่าเสาสัญญาณดังกล่าวยังสามารถนำมาใช้เพื่อตรวจสอบรอยเลื่อนใต้พื้นผิวและช่วยประเมินความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวที่เป็นไปได้สำหรับเมืองต่าง ๆ ในจีนได้อีกด้วย

    แหล่งที่มา hmong.in.th


    ขอบคุณที่มา
    https://www.tnnthailand.com/news/tech/98680/
     

แชร์หน้านี้