ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ผู้นำคนใหม่ สู่การเปลี่ยนแปลงทิศทาง ปตทจริงหรือ?

ในห้อง 'ลงประกาศ ซื้อ-ขาย หรือทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย daisy31399, 28 พฤษภาคม 2019.

  1. daisy31399

    daisy31399 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2019
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +1
    ชาญศิลป์ ตรีนุชกร กับก้าวที่ท้าทายภายใต้วิสัยทัศน์ที่เขาเป็นผู้กำหนด

    หลังจากเข้าทำงานที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผ่านการทำงานมากว่า 19 ตำแหน่ง โดยเคยเป็นกรรมการและผู้บริหารมา 16 บริษัท รวมถึงเป็นประธานบริษัทในกลุ่ม ปตท. อีก 5 บริษัท รวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 36 ปีเต็ม ก่อนที่เขาจะได้รับการแต่งตั้งเป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่มีภารกิจและหน้าที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ


    The MATTER ได้มีโอกาสนั่งคุยกันถึงเรื่องราวภายหลังการเข้ามารับตำแหน่งอันสำคัญ รวมถึงเป้าหมายและนโยบายที่ตั้งใจไว้ และการทำงานกับคนรุ่นใหม่ที่จะต้องก้าวขึ้นไปเป็นกำลังสำคัญของกลุ่ม ปตท. โดยมีความมุ่งมั่น และทิศทางที่ชัดเจนของ ปตท. ในอีก 20 เดือนข้างหน้าที่เขาจะเป็นผู้กำหนด

    f18ba17ca94d551fb1d78399dd81ffb4.jpg

    คุณเริ่มต้นเข้ามาทำงานที่นี่ได้อย่างไร

    คือ ที่จริงแล้วการที่เข้ามาทำงาน ปตท. เพราะตอนนั้นยังหางานที่อื่นทำไม่ได้ (หัวเราะ) คือผมเป็นคนเรียนหนังสือไม่เก่งด้วย พอได้รับโอกาสก็เลยกลายเป็นว่าเราตั้งใจทำทุกอย่างที่ได้รับมอบหมาย ผมทำหน้าที่ก่อนหน้ามารับตำแหน่งนี้อยู่หลายอย่างเหมือนกัน จนตอนนี้ก็เข้าปีที่ 36 แล้ว


    รู้สึกอย่างไรหลังเข้ามารับตำแหน่งนี้

    ต้องบอกว่ารู้สึกเป็นเกียรติมาก เป็นความภาคภูมิใจที่ได้เป็น CEO ในบริษัทขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งพลังงานถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น จึงถือเป็นหน้าที่สำคัญที่ผม และทุกคนในองค์กรจะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องนี้ให้กับประเทศ


    เรื่องที่คุณให้ความสำคัญเป็นพิเศษหลังเข้ามารับตำแหน่งนี้คืออะไร

    การทำงานที่นี่ เราทำกันเป็นทีม องค์กรมีการทำกลยุทธ์ทุกปี ในระดับ Top-Down และระดับ Bottom-Up จากกรรมการของบริษัท ผู้บริหารระดับสูงและจากพนักงานทุกคน ที่จะมีการทำงานในลักษณะอย่างนี้ทุกปี และจะมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป


    สิ่งสำคัญที่สุดในตอนนี้คือ เรื่องการเกษียณของผู้บริหารระดับสูง รวมถึงพนักงานที่จะออกไปจำนวนมาก ปตท. ต้องรับคนรุ่นใหม่เข้ามาเพิ่มเสริมทัพ และคอยมองหาคนที่พร้อมสำหรับการที่จะก้าวขึ้นมาแทนที่คนก่อนหน้านี้ โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อที่จะทำให้คนทุกรุ่นที่อยู่ในองค์กรทำงานร่วมกันได้


    ส่วนเรื่องของระบบของ Digitalization เป็นอีกสิ่งที่ ปตท. ให้ความสำคัญ เพราะผู้บริโภคสมัยนี้ใช้ดิจิทัล ใช้สมาร์ทโฟนในการทำ Transaction กันหมด ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงิน การจองสิทธิต่างๆ รวมไปถึงการใช้บริการอื่นอีกมากมาย ถ้าองค์กรไม่สามารถปรับตัวได้ ก็จะเกิดปัญหากับธุรกิจขึ้นในท้ายที่สุด


    นอกเหนือจากนั้น ยังมีเรื่องอื่นอีกเช่น การแข่งขันในภาคของธุรกิจก๊าซธรรมชาติที่รัฐบาลต้องการให้เกิดการแข่งขัน การเปิดสัมปทานในการประมูลการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย รวมทั้งเรื่องการหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการแสวงหาโอกาสในทางธุรกิจใหม่ๆ หรือพลังงานทดแทนในรูปแบบอื่น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ซึ่งถึงแม้ว่าพลังงานทดแทนต่างๆ เหล่านี้ อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจน้ำมัน แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญเพื่อให้สังคมและคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    wLisEe.jpg

    สำหรับเรื่องการปรับตัวเข้าหาโลกดิจิทัล คุณมีแนวทางจัดการเรื่องนี้อย่างไรบ้าง

    การทำงานจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือ การไปร่วมมือกับคนอื่น เช่น เรื่องของธนาคาร ได้มีการเซ็นสัญญา MOU (เอกสารหรือหนังสือที่เก็บบันทึกข้อตกลง ความเข้าใจที่ตรงกัน หรือ ข้อตกลงที่จะร่วมมือระหว่างสองฝ่าย) ร่วมกับ 9 ธนาคาร เพื่อร่วมกันวางแผนและพัฒนานวัตกรรมด้านการเงิน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำธุรกรรมทางการเงิน


    ส่วนที่สองคือ การสร้างให้ผู้บริโภคเห็นปรากฏการณ์ในการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการ เช่น มีการนำ Data Analytics มาใช้เพื่อที่จะสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างตรงใจเขามากขึ้น


    นอกจากนั้น ยังมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เช่น ความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เพื่อการทำ Predictive Maintenance ตรวจสอบให้รู้ก่อนว่าอุปกรณ์ส่วนใดในระบบกำลังจะเสีย เพื่อสามารถหาทางวางแผนซ่อมแซมก่อนที่มันจะเสีย เริ่มทำเอาหุ่นยนต์มาดูแลระบบต่างๆ ในท่อน้ำมัน เป็นต้น


    สิ่งเหล่านี้ เป็นส่วนที่ ปตท. เปิดโอกาสทำงานร่วมกับทุกบริษัทเพื่อหาทางแก้และปรับปรุงให้ระบบและกระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมีหลายบริษัทที่กำลังคิดค้นพัฒนาสิ่งเหล่านี้อยู่ ขอเพียงแต่เรามีความต้องการที่ชัดเจนเท่านั้น


    นโยบาย CHANGE คืออะไร

    ผมตั้งใจบอกกับทุกคนว่าตลอด 20 เดือนที่ดำรงตำแหน่ง ผมจะให้คำว่า CHANGE ไว้กับทุกคน

    Continuity สานต่อเพื่อความต่อเนื่อง เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดยุทธศาสตร์สำหรับการดำเนินธุรกิจแบบ 3D คือ Design now, Decide now และ Do now

    Honesty ความซื่อสัตย์ ความเที่ยงธรรม ผู้บริหารและพนักงานทุกคน ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ และดำเนินการอย่างมีจริยธรรมนำธุรกิจ คำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียอย่างสมดุล

    Alignment ขยายความร่วมมือ เพิ่มความมั่นคงและยั่งยืน ใช้ความเข้มแข็งจากภายใน ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. สร้างพลังร่วมเพื่อบูรณาการความเชี่ยวชาญ กระจายโอกาสการเติบโตออกสู่สังคมภายนอก

    New Innovation Solution สร้างสรรค์สิ่งดีและสิ่งใหม่ หาธุรกิจที่เป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จใหม่ (New S-Curve) ของ ปตท. โดยนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และแนว ความคิดใหม่ มาสรรค์สร้างให้เกิดการลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพ

    Good Governance กำกับดูแลดี มีประสิทธิภาพ ยึดมั่นการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เน้นความโปร่งใส เที่ยงตรง เป็นธรรม และตรวจสอบได้ โดยปรับปรุงบทบาทในการกำกับดูแลบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมให้มีประสิทธิผลมากขึ้นและคำนึงถึงผลประโยชน์ภาพรวมของกลุ่ม ปตท. ตลอดทั้งสายโซ่ธุรกิจ เพื่อรักษาความมั่นคงและมั่งคั่งทั้งในเรื่องของธุรกิจพลังงานและปิโตรเคมีที่สำคัญกับประเทศต่อไป

    Excellence Team Work สร้างคนรุ่นใหม่ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง มุ่งพัฒนาพนักงานทุกรุ่นให้สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม มีศักยภาพ ความกล้า และพร้อมรับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังต้องเป็นคนกล้าที่จะก้าวข้ามความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ

    wLi2Xl.jpg
    ขอบคุณข้อมูล : http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ชาญศิลป์-ตรีนุชกร/

    : https://www.thaipost.net/main/detail/5153
     

แชร์หน้านี้

Loading...