1 อปัณณกชาดก
ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ ในพระเชตวันมหาวิหาร ตรัสอปันณกธรรมเทศนานี้ก่อน ถามว่า ก็เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะปรารภใคร ? ตอบว่า เพราะปรารภสาวกของเดียรถีย์สหาย ของท่านเศรษฐี.
ความพิสดารมีว่า วันหนึ่ง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ชักพาพวกสาวกของอัญญเดียรถีย์ ๕๐๐ คน ผู้เป็นสหายของตน ให้ถือดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้เป็นอันมาก และนํ้ามัน นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย และผ้าเครื่องปกปิด ไปยังพระเชตวัน ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า บูชาด้วยของหอม และดอกไม้เป็นต้น สละเภสัชและผ้าถวายแก่ภิกษุสงฆ์ แล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง
สาวกของอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ถวายบังคมพระตถาคตแล้ว แลดูพระพักตร์ของพระศาสดาอันงามสง่า ดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ แลดูพระวรกายดุจกายพรหมอันประดับด้วยพระลักษณะและพระอนุพยัญชนะ แวดวงด้วยพระรัศมีด้านละวา
ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถาอันไพเราะ วิจิตรด้วยนัยต่าง ๆ ด้วยพระสุรเสียงประดุจเสียงพรหม น่าสดับฟัง แก่สาวกของอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น สาวกของอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มีจิตเลื่อมใส ลุกขึ้นถวายบังคมพระทศพล ทำลายสรณะของอัญญเดียรถีย์แล้ว ได้ถึงพระ พุทธเจ้าเป็นสรณะ จำเดิมแต่นั้น พวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น มีมือถือของ หอมและดอกไม้เป็นต้น ไปพระวิหาร ฟังธรรม ให้ทาน รักษาศีล กระทำ อุโบสถกรรม พร้อมกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นนิตยกาล
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จจากกรุงสาวัตถีกลับไปกรุงราชคฤห์อีกแล ในเวลาที่พระตถาคตเสด็จไปแล้ว สาวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นก็ได้ทำลายสรณะนั้นเสีย กลับไปถึงอัญญเดียรถีย์เป็นสรณะอีก ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นเค้ามูลเดิมของตนนั่นเอง ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ ๗ - ๘ เดือน ได้เสด็จกลับไปยังพระเชตวันเหมือนเดิมอีก ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็พาสาวกอัญญเดียรถีย์ เหล่านั้นไปเฝ้าพระศาสดาอีก บูชาพระศาสดาด้วยของหอมและดอกไม้เป็น ต้น ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง พวกสาวกอัญญเดียรถีย์แม้เหล่านั้น ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง
ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความที่พวกสาวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อพระตถาคตเสด็จหลีกจาริกไปแล้ว ได้ทำลายสรณะที่รับไว้ กลับไปถืออัญญเดียรถีย์เป็นสรณะ ดำรงอยู่ในฐานะเดิมอีก
พระผู้มีพระ ภาคเจ้าทรงตรัสถามว่า ได้ยินว่า พวกท่านผู้เป็นอุบาสก ทำลายสรณะ ๓ เสียแล้วถึงอัญญเดียรถีย์เป็นสรณะ จริงหรือ ? ลำดับนั้น เมื่อพวกสาวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นไม่อาจปกปิดไว้ได้พากันกราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ในโลกธาตุ เบื้องล่างจดอเวจี มหานรก เบื้องบนจดภวัคคพรหม และตามขวางหาประมาณมิได้ ชื่อว่าบุคคล เช่นกับพระพุทธเจ้าโดยพระคุณทั้งหลาย ย่อมไม่มี บุคคลที่ยิ่งกว่าจักมีมาแต่ไหน
แล้วทรงประกาศคุณของพระรัตนตรัยที่ทรงประกาศไว้ด้วย พระสูตรทั้งหลายแล้วจึงตรัสว่า บุคคลจะเป็นอุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม ผู้ถึงพระรัตนตรัยอัน ประกอบด้วยอุดมคุณอย่างนี้ ชื่อว่าจะเป็นผู้บังเกิดในนรกย่อมไม่มี อนึ่งพ้นจากการบังเกิดในอบายแล้ว ยังจะเกิดขึ้นในเทวโลกได้เสวยมหาสมบัติ เพราะเหตุไร พวกท่านจึงพากันทำลายสรณะเห็นปานนี้ แล้วถึงอัญญเดียรถีย์ เป็นสรณะ กระทำกรรมอันไม่สมควรเลย
พระผู้ มีพระภาคเจ้าครั้นทรงโอวาทอุบาสกทั้งหลาย โดยประการต่าง ๆ อย่างนี้แล้ว ได้ตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน มนุษย์ทั้งหลาย ถือเอา สิ่งที่ไม่ใช่สรณะ ว่าเป็นสรณะ โดยการถือเอาด้วยการคาดคะเน โดยการถือ เอาผิด ได้ตกเป็นภักษาหารของยักษ์ในทางกันดาร ซึ่งอมนุษย์หวงแหนแล้ว ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง ส่วนเหล่ามนุษย์ผู้ถือการยึดถือชอบธรรม ยึด ถือความแน่นอน ยึดถือไม่ผิด ได้ถึงความสวัสดีในทางกันดารนั้นนั่นเอง ครั้นตรัสแล้วได้ทรงนิ่งเสีย
ลำดับนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีลุกขึ้น จากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวชมเชยแล้ว ประคองอัญชลี เหนือเศียรเกล้า กราบทูลอย่างนี้ว่า บัดนี้ การที่พวกอุบาสกเหล่านี้ ทำลายสรณะอันอุดมแล้ว ถือสรณะยึดถือเอาด้วยการคาดคะเน ยึดถือเอาอย่างผิด ๆ ปรากฏแก่พระองค์ก่อน ส่วนในปางก่อนพวกมนุษย์ผู้ยึดถือด้วยการคาดคะเน มีความพินาศ และพวกมนุษย์ผู้ยึดถือโดยชอบธรรม มีความสวัสดีในทางกันดารที่อมนุษย์หวงแหนยังลี้ลับสำหรับข้าพระองค์ ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์เลย ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงกระทำเหตุนี้ ให้ปรากฏ เหมือนยังพระจันทร์เต็มดวงให้เด่นขึ้นในอากาศฉะนั้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี เราแลบำเพ็ญ บารมี ๑๐ ทัศในกาลหาปริมาณมิได้ ได้แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ก็เพื่อ จะตัดความสงสัยของชาวโลกนั่นแล ท่านจงเงี่ยโสตฟังโดยเคารพ แล้วได้ทรงเล่าอดีตนิทานไว้ดังนี้
ในอดีตกาล ได้มีพระราชาพระนามว่าพรหมทัตอยู่ในพระนครพาราณสี แคว้นกาสิกรัฐ ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในตระกูลพ่อค้าเกวียน ครั้นเติบใหญ่ได้เที่ยวกระทำการค้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม ในการเดินทางไปค้าขายของพระ โพธิสัตว์นั้น บางครั้งจากเดินทางจากต้นแดนไปยังปลายแดน บางครั้งจากปลายแดน ไปยังต้นแดน
ในเมืองพาราณสีนั่นเองมีบุตรพ่อค้าเกวียนอีกคนหนึ่ง บุตรพ่อค้าเกวียนคนนั้น เป็นคนเขลา เป็นคนไม่มีปัญญา ไม่ฉลาดในอุบาย ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์มาเอาสินค้ามีค่ามาจากเมืองพาราณสีบันทุกเต็มเกวียน ๕๐๐ เล่ม เตรียมการจะเดินทางแล้วพักอยู่ ฝ่ายบุตรพ่อค้าเกวียน ผู้เขลานั้นก็บันทุกเต็มเกวียน ๕๐๐ เล่ม เตรียมการจะเดินทางแล้วพักอยู่เหมือนกัน พระโพธิสัตว์คิดว่า ถ้าบุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานี้จักไปพร้อมกับเราทีเดียวไซร้ เมื่อเกวียนพันเล่มไปพร้อมกัน แม้ทางก็จักไม่พอเดิน ฟืน และน้ำเป็นต้น ของพวกมนุษย์ก็ดี หญ้าของพวกโคก็ดี จักหาได้ยาก บุตรพ่อ ค้าเกวียนผู้เขลานี้หรือเรา ควรจะไปข้างหน้าจึงจะสมควร
พระโพธิสัตว์นั้นจึงเรียกบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นมาบอกเนื้อความนั้นแล้วกล่าวว่า เราทั้งสองไม่อาจไปรวมกัน ท่านจักไปก่อนหรือจะให้เราไปก่อน บุตรพ่อค้าเกวียนนั้นคิดว่า เมื่อเราไปข้างหน้าจะมี อานิสงส์มาก เราจักไปโดยหนทางยังไม่แตกเลย พวกโคจักได้เคี้ยวกินหญ้าที่ยังไม่มีใครถูกต้อง พวกผู้คนจักมีผักอันเกื้อกูลแก่แกงซึ่งยังไม่ได้จับต้อง น้ำจักใส เราเมื่อไปตามชอบใจ จักตั้งราคาขายสินค้าได้ บุตรพ่อค้าเกวียนนั้นจึงกล่าว ว่า สหาย เราจักไปก่อน
พระโพธิสัตว์ได้เห็นการไปทีหลังว่ามีอานิสงส์มาก โดยทรงคิดอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้เมื่อไปก่อน จักกระทำหนทางขรุขระที่ให้เรียบเตียน เราจักเดินทางไปตามทางที่คนเหล่านี้ไปแล้ว เมื่อโคงานซึ่งเดินทางไปก่อนกินหญ้าแก่และแข็ง โคทั้งหลายของเราจักเคี้ยวกินหญ้าอร่อยซึ่งงอกขึ้นมาใหม่ ผักซึ่งใช้ทำแกงของพวกมนุษย์ ซึ่งงอกขึ้นจากที่ที่ถูกเด็ดเอาไปจักแตกยอดออกมาใหม่ จักเป็นของอร่อย ในที่ที่ไม่มีน้ำ คนเหล่านี้จักขุดบ่อทำให้น้ำเกิดขึ้น เราจักดื่มน้ำในบ่อที่คนเหล่านี้ขุดไว้ การตั้งราคาสินค้า เราไปข้างหลังจักขายสินค้า ตามราคาที่คนเหล่านี้ตั้งไว้ พระโพธิสัตว์นั้นเห็นอานิสงส์มีประมาณเท่านี้จึงกล่าวว่า ดูก่อนสหาย ท่านจงไปก่อนเถิด บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลารับคำ แล้ว จึงเทียมเกวียนทั้งหลายเป็นการใหญ่ ออกไปล่วงพ้นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ ถึงปากทางกันดาร โดยลำดับ.
ชื่อว่ากันดารมี ๕ อย่าง คือ กันดารเพราะโจร ๑ กันดารเพราะสัตว์ร้าย ๑ กันดารเพราะขาดน้ำ ๑ กันดารเพราะอมนุษย์ ๑ กันดารเพราะอาหารน้อย ๑ กันดารในที่นี้นั้นหมายเอากันดารเพราะการขาดน้ำและกันดารเพราะมีอมนุษย์สิงอยู่ เพราะฉะนั้น บุตรพ่อค้า เกวียนผู้เขลานั้นจึงตั้งตุ่มใหญ่ ๆ ไว้บนเกวียนทั้งหลาย บรรจุเต็มด้วยน้ำ เดินทางกันดาร ๖๐ โยชน์.
ครั้นในเวลาที่บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้นถึงท่ามกลางทางกันดาร ยักษ์ผู้อาศัยอยู่ในทางกันดารคิดว่า เราจักให้พวกมนุษย์เหล่านี้ ทิ้งน้ำที่บรรทุกมาเสีย ทำให้อ่อนเพลียกระปลกกระเปลี้ยแล้วกินมันทั้งหมด จึงนิรมิตยานน้อย น่ารื่นรมย์ เทียมด้วย โคหนุ่มขาวปลอด ห้อมล้อมด้วยอมนุษย์ ๑๒ คน ชุ่มด้วยน้ำและโคลน ถืออาวุธพร้อมทั้งโล่เป็นต้น ประดับดอกอุบลและโกมุท มีผมเปียกและผ้าเปียกนั่งมาบนยานน้อยนั้น มีล้อยานเปื้อนเปีอกตม เดินสวนทางมา
ธรรมดาว่าพ่อค้าเกวียนทั้งหลาย เมื่อใดที่ลมพัดมาข้างหน้า เมื่อนั้นก็จะนั่งบนยานน้อยคันหน้า ห้อมล้อมด้วยคนอุปัฏฐาก เพื่อหลีกเลี่ยงฝุ่นที่เกิดขึ้น ในกาลใด ลมพัดมาข้างหลัง ในกาลนั้น ก็หลีกยานไปอยู่ทางข้างหลัง ก็ในกาลนั้น ลมพัดได้มาข้างหน้า เพราะฉะนั้น บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้น จึงได้ไปข้างหน้า ยักษ์นั้นเห็นบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นกำลังมาอยู่ จึงให้ยานน้อยของตนหลีกลงจากทาง และได้ทำการปฏิสันถารกับบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นว่า ท่าน ทั้งหลายจะไปไหน
ฝ่ายบุตรพ่อค้าเกวียนนำยานน้อยของตนหลีกลงจากทาง เพื่อให้ให้เกวียนสินค้าทั้งหลายที่ตามหลังอยู่ไปก่อน แล้วยืนกล่าวกะยักษ์ว่า ท่านผู้เจริญ พวกเรามาจากเมืองพาราณสี ส่วนท่านทั้งหลายประดับดอกอุบลและโกมุท ถือดอกปทุมและบุณฑริกเป็นต้น เคี้ยวกินเหง้าบัว เปื้อนด้วยเปือกตม มีหยดน้ำไหล พากันเดินมา ในหนทางที่ท่านทั้งหลายผ่านมา ฝนตกหรือหนอ มีสระน้ำอันดารดาษด้วยดอกอุบลเป็นต้นหรือ
ยักษ์ได้ฟังถ้อยคำของบุตรพ่อค้าเกวียนนั้น แล้วจึงกล่าวว่า สหาย ท่านพูดอะไร ที่นั่น ราวป่าเขียวปรากฏอยู่ ตั้งแต่ที่นั้นไป ป่าทั้งสิ้นมีน้ำอยู่ทั่วไป ฝนตกเป็นประจำ แม้แต่ซอกเขาก็เต็มไปด้วยน้ำ ในที่นั้น ๆ มีสระน้ำดารดาษด้วยดอกปทุม แล้วยักษ์จึงถามว่า ท่านพาเกวียนเหล่านี้มา จะไปไหนกัน? บุตรพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า จะ ไปยังชนบทชื่อโน้น ยักษ์กล่าวว่า ในเกวียนเหล่านี้บรรทุกสินค้าอะไรหรือ ? บุตรพ่อค้าจึงตอบชื่อสินค้าให้ทราบ ยักษ์กล่าวว่า เกวียนที่มากำลังข้างหลังดูเป็นเกวียนที่หนักมาก ในเกวียนนั้นมีสินค้าอะไร บุตรพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า ในเกวียนนั้นมีน้ำ ยักษ์กล่าวว่า ท่านทั้งหลายนำน้ำมาข้างหลังด้วย ได้กระทำความเนิ่นช้าแล้ว ก็ตั้งแต่นี้ไป ความกังวลเรื่องน้ำย่อมไม่มี ข้างหน้ามีน้ำมาก ท่านทั้งหลายจงทุบตุ่ม เทน้ำทิ้งเสีย จงไปด้วยเกวียน เบาเถิด ก็แหละครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงพูดว่า ท่านทั้งหลายจงไปเถอะ ความ ชักช้าจะมีแก่พวกเรา แล้วเดินไปหน่อยหนึ่ง ถึงที่ที่คนเหล่านั้นมองไม่เห็น ก็ได้ไปยังนครยักษ์ของตนนั่นแล.
ฝ่ายพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้น เพราะความที่ตนเป็นคนเขลาจึงเชื่อคำของยักษ์นั้น จึงให้ทุบตุ่มทั้งหลายทิ้งทั้งหมดไม่เหลือน้ำแม้สักฟายมือเดียว แล้วขับเกวียนไป แต่ว่าในทางข้างหน้าน้ำแม้แต่นิดเดียวก็มิได้มี มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อไม่ได้น้ำดื่ม ก็พากันลำบากแล้ว คนเหล่านั้นพากันไปจนพระอาทิตย์อัสดง จึงปลดเกวียน พักเกวียนให้เป็นวงแล้วผูกโคที่ล้อเกวียน น้ำก็ไม่มีให้แก่พวกโค ข้าวปลาอาหารก็ไม่มีแก่พวกมนุษย์ พวกพ่อค้าเกวียนเหล่านั้นก็มีกำลังเปลี้ยลง ไม่ใส่ใจในการงาน พากันนอนหลับไปในนั้น ๆ
ครั้นถึงเวลากลางคืน ยักษ์ทั้งหลายพากันมาจากที่อยู่ ฆ่าโคและมนุษย์ทั้งหมดนั้นให้ถึงแก่ความตาย แล้วกินเนื้อ ของโคและมนุษย์เหล่านั้น ไม่มีเหลือแม้แต่กระดูก แล้วจึงพากันไป ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมดถึงความพินาศ เพราะอาศัยบุตรพ่อค้าเกวียนผู้โง่เขลาคนเดียว ด้วยประการอย่างนี้ กระดูกทั้งหลายก็ได้กระจัดกระจายไปในทิศน้อยใหญ่ เกวียน ๕๐๐ เล่มได้ตั้งอยู่ตามที่บรรทุกไว้เต็มอย่างเดิมแล.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์แล จำเดิมแต่วันที่บุตรพ่อค้าเกวียนโง่ออกไปแล้ว ก็ยับยั้งอยู่ประมาณกึ่งเดือน จึงพากันออกจากพระนครพร้อมกับเกวียน ๕๐๐ เล่ม ถึงปากทางกันดารโดยลำดับ พระโพธิสัตว์นั้นจึงให้ใส่น้ำให้เต็มตุ่ม ณ ปากทางกันดารนั้น แล้วให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องภายในกองค่าย ประกาศให้พวกชนประชุมกันแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถ้าพวกท่านยังไม่ได้รับอนุญาตจากข้าพเจ้า อย่าได้เทน้ำ แม้สักเท่าฟายมือหนึ่งทีเดียว ชื่อว่าต้นไม้มีพิษ ย่อมมีในทางกันดาร ใบไม้ดอกไม้หรือผลไม้ ท่านทั้งหลายไม่เคยกินมาก่อนมีอยู่ พวกท่านถ้ายังไม่ได้ไต่ถามข้าพเจ้า ก็จงอย่าได้เคี้ยวกิน ครั้นให้โอวาทแก่คนทั้งหลายอย่างนี้แล้วจึงเดินทางกันดารด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม.
เมื่อพระโพธิสัตว์ถึงท่ามกลางทางกันดาร ยักษ์นั้นได้แสดงตนใน หนทางสวนกันแก่พระโพธิสัตว์ โดยนัยก่อนนั่นแหละ พระโพธิสัตว์พอเห็นยักษ์นั้นเท่านั้นก็ได้รู้ว่า ในทางกันดารนี้แหละ ไม่มีน้ำ นี้ชื่อว่ากันดารเพราะ ไม่มีน้ำ อนึ่ง ผู้นี้ไม่มีท่าทีเกรงกลัว มีนัยน์ตาแดง แม้เงาของเขาก็ไม่ปรากฏ บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลาพร้อมทั้งบริวารคงถูกยักษ์นี้กินเสียแล้วโดยไม่ต้องสงสัย แต่ยักษ์นี้เห็นจะไม่รู้ความที่เราเป็นบัณฑิต และความที่เราเป็นผู้ฉลาดในอุบาย.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์นั้นกล่าวกะยักษ์นั้นว่า พวกท่านจงไปเถิด พวกเราชื่อว่าเป็นพ่อค้า ยังไม่เห็นน้ำอื่นจะไม่ทิ้งน้ำที่บรรทุกเอามา แต่เราทั้งหลายจะทิ้งในที่ที่ได้เห็นแล้ว ทำเกวียนทั้งหลายให้เบาแล้วจึงไป ฝ่ายยักษ์ ไปได้หน่อยหนึ่ง เข้าถึงที่ที่มองไม่เห็น แล้วไปนครยักษ์ของตนทีเดียว
เมื่อยักษ์ไปแล้ว คนทั้งปวงจึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์แล้วกล่าวว่า ข้าแต่เจ้านาย คนเหล่านี้กล่าวว่า นั่นแนวป่าเขียวปรากฏอยู่ จำเดิมแต่นั้นไป ฝนจักตกเป็นนิตย์ เป็นผู้สวมมาลัยดอกอุบลและโกมุท ถือกำดอกปทุมและบุณฑริก เคี้ยวกินเหง้าบัว มีผ้าเปียก และมีผมเปียก มีหยาดน้ำและโคลนไหลหยดมา พวกเราจักทิ้งน้ำ มีเกวียนเบาจะไปได้เร็ว
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้ฟังคำของคนเหล่านั้นแล้วจึงให้พักเกวียน ให้คนทั้งหมดประชุมกันแล้วถามว่า พวกท่านเคยฟังมาจากใคร ๆ หรือว่า ในที่กันดารนี้ มีสระน้ำหรือสระโบกขรณี คนทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่เจ้าน้อย ไม่เคยได้ยิน พระโพธิสัตว์กล่าวว่า นี้ชื่อว่ากันดารเพราะไม่มีน้ำ บัดนี้ คนพวกหนึ่งพูดว่า เบื้องหน้าแต่แนวป่า เขียวนั่น ฝนตก ธรรมดาว่าลมฝนจะพัดไปถึงที่มีประมาณเท่าไร ? คน ทั้งหลายกล่าวว่า พัดไปได้ประมาณ ๓ โยชน์ ขอรับ เจ้านาย พระโพธิสัตว์ ถามว่า ลมกับฝนกระทบร่างกายของบุคคลแม้คนหนึ่ง บรรดาพวกท่าน มีอยู่หรือ ? คนทั้งหลายกล่าวว่า ไม่มีขอรับ พระโพธิสัตว์ถามว่า ธรรมดา ก้อนเมฆย่อมปรากฏในที่มีประมาณเท่าไร ? คนทั้งหลายกล่าวว่า ในที่ประมาณ ๓ โยชน์ ขอรับ พระโพธิสัตว์ถาม ก็บรรดาท่านทั้งหลาย ใคร ๆ เห็น ก้อนเมฆก้อนหนึ่ง มีอยู่หรือ ? คนทั้งหลายกล่าวว่า ไม่มีขอรับ
พระโพธิสัตว์ ธรรมดาสายฟ้าปรากฏในที่มีประมาณเท่าไร ?
คนทั้งหลาย ในที่ประมาณ ๔ - ๕ โยชน์ ขอรับ.
พระโพธิสัตว์ ก็บรรดาท่านทั้งหลาย ใคร ๆ ที่เห็นแสงสว่างของสายฟ้า มีอยู่หรือ ?
คนทั้งหลาย ไม่มีขอรับ.
พระโพธิสัตว์ ธรรมดาเสียงฟ้าร้องจะได้ยินในที่ประมาณเท่าไร ?
คนทั้งหลาย ในที่ ๑ - ๒ โยชน์ ขอรับ.
พระโพธิสัตว์ ก็บรรดาท่านทั้งหลาย ใคร ๆ ที่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง มีอยู่ หรือ ?
คนทั้งหลาย ไม่มีขอรับ.
พระโพธิสัตว์ ท่านทั้งหลายรู้จักคนเหล่านี้หรือ ?
คนทั้งหลาย ไม่รู้จักขอรับ.
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า คนเหล่านี้ไม่ใช่มนุษย์ คนเหล่านี้เป็นยักษ์ พวกมันจักมาเพื่อยุให้พวกเราทิ้งน้ำ กระทำให้อ่อนกำลังแล้วจะเคี้ยวกิน บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลาซึ่งไปข้างหน้า ไม่ฉลาดในอุบาย เขาคงถูกยักษ์เหล่านี้หลอกให้ทิ้งน้ำ ปล่อยให้ลำบากแล้วเคี้ยวกินเสียเป็นแน่ เกวียน ๕๐๐ เล่ม จักจอดอยู่ตามที่บรรทุกไว้เต็มนั่นแหละ วันนี้ พวกเราจักเห็นเกวียนเหล่านั้น ท่านทั้งหลาย อย่าได้ทิ้งน้ำแม้แต่ฟายมือหนึ่ง จงรีบขับเกวียนไปเร็ว ๆ
เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นมาถึง ก็เห็นเกวียน ๕๐๐ เล่ม ตามที่บรรทุกไว้เต็มนั่น แหละ กระดูกของมนุษย์ทั้งหลายและของเหล่าโคกระจัดกระจาย อยู่ในทิศน้อยใหญ่ จึงให้ปลดเกวียน ให้ตั้งกองค่ายโดยเอาเกวียนวงรอบ ให้คนและโคกินอาหารเย็น ต่อเวลายังวันให้โคทั้งหลายนอนตรงกลางกลุ่มคนทั้งหลาย ตนเองพาเอาคนผู้มีกำลังแข็งแรง มือถือดาบ ตั้งการอารักขาตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม จนอรุณขึ้น วันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์ทำกิจทั้งปวงให้เสร็จแต่เช้าตรู่ ให้โคทั้งหลายกินแล้วให้ทิ้งเกวียนที่ไม่แข็งแรงเสีย ให้เอาแต่เกวียนที่แน่นหนา ให้ทิ้งสิ่งของที่มีราคาน้อยเสีย ให้ขนสิ่งของที่มีค่ามากขึ้น ไปยังที่ตนปรารถนา ๆ ขายสิ่งของด้วยมูลค่า ๒ เท่า ๓ เท่า ได้พาบริษัท ทั้งหมดไปยังนครของตน ๆ นั่นแลอีก.
พระศาสดาครั้นตรัสธรรมกถานี้แล้วตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ในกาล ก่อน คนผู้มีปรกติยึดถือโดยการคาดคะเน ถึงความพินาศใหญ่หลวงด้วย ประการอย่างนี้ ส่วนคนผู้มีปรกติยึดถือตามความจริง พ้นจากเงื้อมือของ พวกอมนุษย์ ไปถึงที่ที่ปรารถนา ๆ โดยสวัสดี แล้วกลับมาเฉพาะยังที่อยู่ของ ตนได้
พระศาสดา ครั้งทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้แล้ว ทรงประมวลชาดกมาแสดงทรงทำพระเทศนาให้จบ ลงว่า บุตรพ่อค้าเกวียนผู้โง่เขลาในสมัยนั้น ได้เป็น พระเทวทัต ในบัดนี้ แม้บริษัทของบุตรพ่อค้าเกวียนโง่นั้นก็ได้เป็นบริษัทของเทวทัต ในบัดนี้ บริษัทของบุตรพ่อค้าเกวียนผู้เป็นบัณฑิต ในครั้งนั้น ได้เป็นพุทธบริษัทใน บัดนี้ ส่วนบุตรของพ่อค้าเกวียนผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
2 วัณณุปถชาดก
ว่าด้วยผู้ไม่เกียจคร้าน
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี ตรัสพระธรรม เทศนานี้ ดังนี้ ถามว่า ทรงปรารภใคร ? ตอบ ว่า ทรงปรารภภิกษุผู้สละความเพียรรูปหนึ่ง.
ดังได้สดับมา เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในนครสาวัตถี มีกุลบุตร ชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง ไปเชตวันวิหาร สดับพระธรรมเทศนาในสำนักของพระศาสดา มีจิตเลื่อมใส เห็นโทษในกามและอานิสงส์ในการออกจากกาม จึงบวช อุปสมบทได้ ๕ พรรษา เรียนได้มาติกา ๒ บท ศึกษาการประพฤติ วิปัสสนา รับพระกรรมฐานที่จิตของตนชอบ ในสำนักของพระศาสดาเข้าไป ยังป่าแห่งหนึ่ง จำพรรษา พยายามอยู่ตลอดไตรมาสไม่อาจทำสักว่าโอภาสหรือ นิมิตให้เกิดขึ้น ลำดับนั้นภิกษุนั้นไดมีความคิดดังนี้ว่า พระศาสดาตรัสบุคคล ๔ จำพวก ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น เราคงจะเป็นปทปรมะ เราเห็นจะไม่มี มรรคหรือผงในอัตภาพนี้ เราจักกระทำอะไรด้วยการอยู่ป่า เราจักไปยังสำนัก ของพระศาสดา และดูพระรูปของพระพุทธเจ้าอันถึงความงามแห่งพระรูปอย่าง ยิ่ง ฟังพระธรรมเทศนาอันไพเราะอยู่ (จะดีกว่า) ครั้นคิดแล้วก็กลับมายัง พระเชตวันวิหารนั่นแลอีก
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเพื่อนเห็นและคบกัน กล่าวกะภิกษุนั้น ว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านเรียนกรรมฐานในสำนักของพระศาสดาแล้วไปด้วยหวัง ใจว่า จักกระทำสมณะธรรม แต่บัดนี้มาเที่ยวรื่นรมย์ด้วยการคลุกคลีอยู่ กิจแห่ง บรรพชิตของท่านถึงที่สุดแล้วหรือหนอ ท่านจะเป็นผู้ไม่มีปฏิธิแลหรือ ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราไม่ได้มรรคหรือผล จึงคิดว่าเราน่า จะเป็นอภัพพบุคคล จึงได้สละความเพียรแล้วมาเสีย ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านบวชในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้มีความมั่นแล้ว ละความเพียรเสีย กระทำสิ่งอันมิใช่เหตุแล้ว มาเถิดท่าน พวกเราจักแสดง ท่านแด่พระตถาคต ครั้นกล่าวแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้พาภิกษุนั้นไปยังสำนัก ของพระศาสดา.
พระศาสดาพอทรงเห็นภิกษุนั้น จึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้พาภิกษุผู้ไม่ปรารถนารูปนี้มาแล้ว ภิกษุนี้ทำอะไร ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุนี้บวชในพระศาสนาอันเป็น เครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ ไม่อาจกระทำสมณธรรม ละความเพียรเสีย มาแล้ว ลำดับนั้นพระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอละ ความเพียรจริงหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนำ ออกจากทุกข์เห็นปานนี้ ทำไมจึงไม่ให้เขารู้จักตนอย่างนี้ว่า เป็นผู้มักน้อย หรือว่า เป็นผู้สันโดษหรือว่าเป็นผู้สงัด หรือว่าเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง หรือว่าเป็น ผู้ปรารภความเพียร ให้เขารู้จัก เป็นภิกษุผู้ละความเพียร เมื่อครั้งก่อน เธอได้เป็นผู้มีความเพียรมิใช่หรือ เมื่อเกวียน ๕๐๐เล่ม ไปในทางกันดาร เพราะทราย พวกมนุษย์และโคทั้งหลายได้น้ำดื่มมีความสุข เพราะอาศัยความ เพียรซึ่งเธอผู้เดียวกระทำแล้ว เพราะเหตุไร บัดนี้ เธอจึงละความเพียรเสีย ภิกษุนั้นได้กำลังใจด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
ฝ่ายภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสนั้น จึงอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความที่ความเพียรอันภิกษุนี้สละแล้ว ปรากฏแก่ ข้าพระองค์ทั้งหลายในบัดนี้แล้ว ก็ในกาลก่อน ความที่โคและมนุษย์ทั้งหลาย ได้น้ำดื่มมีความสุขในทางกันดารเพราะทราย เหตุอาศัยความเพียรที่ภิกษุนี้ กระทำ ยังลี้ลับสำหรับข้าพระองค์ทั้งหลาย ปรากฏแก่พระองค์ผู้ทรงบรรลุ พระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น ขอพระองค์จงตรัสนี้แม้แก่ข้าพระองค์ ทั้งหลายเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังการเกิดสติให้เกิดแก่ภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้นด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง แล้วได้ทรงกระทำเหตุการณ์อันระหว่างภพปกปิดไว้ให้ปรากฏ.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนคร พาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในตระกูลพ่อค้าเกวียน พระโพธิสัตว์นั้น เจริญวัยแล้ว เที่ยวกระทำการค้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม พระโพธิสัตว์นั้นเดิน ทางกันดารเพราะทรายแห่งหนึ่งมีระยะประมาณ ๖๐ โยชน์ ก็ในทางกันดารนั้น ทรายละเอียดกำมือไว้ยังติดอยู่ในมือ ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นมีความร้อน เหมือนกองถ่านเพลิง ไม่อาจข้ามไปได้ เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์นั้นเมื่อดำเนินทางกันดารนั้นจึงเอาเกวียนบรรทุกฟืน น้ำ น้ำมัน และข้าวสารเป็นต้น ไป เฉพาะกลางคืน
ในเวลาอรุณขึ้นกระทำเกวียนให้เป็นวงแล้ว ให้ทำปะรำไว้เบื้อง บนทำกิจในเรื่องอาหารให้เสร็จแต่เช้าตรู่แล้วนั่งในร่มเงาจนหมดวัน เมื่อพระ อาทิตย์อัสดงแล้ว บริโภคอาหารเย็น เมื่อพื้นดินเกิดความเย็น จึงเทียม เกวียนเดินทางไป การไปเหมือนกับการไปในทะเลนั่นแหละ ธรรมดาผู้บอกทางควรจะมี เพราะเหตุนั้น พระโพธิสัตว์นั้น จึงให้กระทำการไปของหมู่เกวียนไปตามสัญญาของดวงดาว
ในกาลนั้น พ่อค้าเกวียนนั้น เมื่อจะไปยังทางกันดารนั้น ก็ดำเนินการตามทำนองนี้นั่นแล จึงไปได้ ๕๙ โยชน์ คิดว่า บัดนี้ โดยราตรีเดียวเท่านั้น จักออกจากทางกันดาร จึงบริโภคอาหารเย็น ใช้ฟืนและน้ำทั้งปวงให้หมดสิ้นแล้วจึงเทียมเกวียน ๑ คนนำทาง เช่นเดียวกับคนนำร่องในทางน้ำ ไป คนนำทางให้ลาดอาสนะในเกวียนเล่มแรก นอนดูดาวในท้องฟ้าบอกว่า จงขับไปข้างนี้ จงขับไปข้างโน้น คนนำทางนั้นเหน็ดเหนื่อยเพราะไม่ได้หลับ เป็นระยะกาลนาน จึงหลับไป เมื่อโคหวนกลับเข้าเส้นทางที่มาเดิม ก็ไม่รู้สึก โคทั้งหลายได้เดินทางไปตลอดคืนยังรุ่ง คนนำทางตื่นขึ้นในเวลาอรุณขึ้น มองดูดาวนักษัตรแล้วกล่าวว่าจงกลับเกวียน จงกลับเกวียน และเมื่อคนทั้ง หลายพากันกลับเกวียนทำไว้ตามลำดับ ๆ นั่นแล อรุณขึ้นไปแล้ว มนุษย์ทั้งหลายพากันกล่าวว่า นี่เป็นที่ตั้งค่ายที่พวกเราอยู่เมื่อวานนี้ แม้ฟืนและน้ำของ พวกเราก็หมดแล้ว บัดนี้พวกเราฉิบหายแล้ว จึงปลดเกวียนพักไว้โดยเป็นวงกลมแล้วทำปะรำไว้เบื้องบน นอนเศร้าโศกอยู่ภายใต้เกวียนของตน ๆ
พระ โพธิสัตว์คิดว่า เมื่อเราละความเพียรเสีย คนทั้งหมดนั้นจักพากันฉิบหาย พอ เวลาเช้า จึงเที่ยวไปในเวลาที่ยังมีความเย็น เห็นกอหญ้าแพรกกอหนึ่งจึงคิดว่า หญ้าเหล่านี้จักเกิดขึ้น เพราะความเย็นของน้ำข้างล่าง จึงให้คนถือจอบมา ให้ ขุดลงยังที่นั้น คนเหล่านั้นขุดลึกลงไปได้ ๖๐ ศอก เมื่อคนทั้งหลาย ขุดไปถึงที่มีประมาณเท่านี้ จอบได้กระทบหินข้างล่าง พอจอบกระทบหิน คนทั้งปวงก็พากันละความเพียรเสีย ฝ่ายพระโพธิสัตว์คิดว่า ภายใต้หินนี้จะพึงมีน้ำ จึงลงไปยืนที่พื้นหิน ก้มลงเงี่ยหูฟังเสียง ได้ยินเสียงน้ำเบื้องล่าง จึง ขึ้นมาบอกกะคนรับใช้ว่า ดูก่อนพ่อ เมื่อเธอละความเพียรเสีย พวกเราจักฉิบหาย เธออย่าละความเพียร จงถือเอาค้อนเหล็กนี้ลงไปยังหลุม ทุบที่หินนี้ คนรับใช้นั้นรับคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว ไม่ละความเพียรในเมื่อคนทั้งปวง ละความเพียรยืนอยู่ จึงลงไปทุบหิน หินแตก ๒ ซีกตกลงไปข้างล่างได้ตั้งขวาง กระแสน้ำอยู่ เกลียวน้ำประมาณเท่าลำตาลพุ่งขึ้น คนทั้งปวงพากันดื่มกิน แล้วอาบ ผ่าเพลาและแอกเป็นต้นที่เหลือเพื่อหุงข้าวยาคูและภัตบริโภคและให้ โคกิน และเมื่อพระอาทิตย์อัสดง จึงผูกธงใกล้บ่อน้ำ แล้วได้พากันไปยัง ที่ที่ปรารถนาแล้ว ๆ คนเหล่านั้นขายสินค้าในที่นั้นแล้วได้ลาภ ๒ เท่า ๓ เท่า จึงได้พากันไปเฉพาะที่อยู่ของตน ๆ คนเหล่านั้นดำรงอยู่ในอัตภาพนั้นจนชั่ว อายุแล้วไปตามยถากรรม ฝ่ายพระโพธิสัตว์กระทำบุญมีทานเป็นต้น ได้ไป ตามยถากรรมเหมือนกัน.
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้แล้ว ทรงตรัสกับภิกษุผู้ละความเพียรนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ในกาลก่อน เธอนั้นกระทำความเพียรเพื่อต้องการทางน้ำ บัดนี้ เพราะเหตุไร เธอจึงละความเพียรในศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เพื่อประโยชน์แก่ มรรคผลเห็นปานนี้.
พระศาสดาครั้นทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้ อย่างนี้แล้ว จึงทรง ประกาศสัจจะ ๔ ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุละความเพียรดำรงอยู่ในพระอรหัต อันเป็นผลอันเลิศ ทรงประชุม ชาดกแสดงว่า คนรับใช้ผู้ไม่ละความเพียร ต่อยหินให้น้ำแก่มหาชน ในสมัย นั้น ได้เป็นภิกษุผู้ละความเพียรรูปนี้ ในบัดนี้ บริษัทที่เหลือในสมัยนั้น เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนหัวหน้าพ่อค้าเกวียนได้เป็นเรา ดังนี้
จบ วัณณุปถชาดก
3 เสรีววาณิชชาดก
ว่าด้วยเสรีววาณิช
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุ รูปหนึ่งผู้ละความเพียรเหมือนกัน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ดังนี้
ก็พระศาสดาทรงเห็นภิกษุนั้นถูกภิกษุทั้งหลาย นำมาโดยนัยก่อนนั่นแล จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอบวชในศาสนาอันให้ มรรคผลเห็นปานนี้ เมื่อละความเพียรเสีย จักเศร้าโศกตลอดกาลนาน เหมือน เสรีววาณิชเสื่อมจากถาดทองอันมีค่าแสนหนึ่งฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอน พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงเรื่องนั้น ให้เเจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแสดงอดีตนิทานไว้ดังนี้
ในอดีตกาล ในกัปที่ ๕ แต่ภัทรกัปนี้ พระโพธิสัตว์ได้เป็นพ่อค้าเร่ ในแคว้นเสริวรัฐ เสรีววาณิชนั้น เมื่อออกเดินทางไปค้าขายก็ไปกับพ่อค้าเร่ผู้โลเลคนหนึ่ง ชื่อว่า เสรีวะ ก็ข้ามแม่น้ำชื่อว่า นีลพาหะ แล้วเข้าไปยังพระนครชื่อว่า อริฏฐปุระ แบ่งเขตถนนในนครกันแล้ว ต่างก็ไปเที่ยวขายสินค้าในถนนที่เป็นเขตของตน
ก็ในนครนั้น ได้มีตระกูลเศรษฐีตระกูลหนึ่ง เป็นตระกูลเก่าแก่ บุตร พี่น้อง และทรัพย์สินทั้งปวง ได้หมดสิ้นไป ได้มีเด็กหญิง คนหนึ่งเหลืออยู่กับยาย ยายหลานแม้ทั้งสองนั้น กระทำการรับจ้างคนอื่นเลี้ยงชีวิต ก็ในเรือนได้มีถาดทองที่ได้รับตกทอดมาถูกเก็บไว้กับภาชนะอื่น ๆ เมื่อไม่ได้ใช้สอยมานาน เขม่าก็จับ ยายและหลาน เหล่านั้นไม่รู้ว่าถาดนั้นเป็นถาดทองคำ
สมัยนั้น วาณิชโลเลคนนั้น เที่ยวร้องขายของว่า มีเครื่องประดับมาขาย มีเครื่องประดับมาขาย ครั้นได้ไปถึงประตูบ้านนั้น กุมาริกานั้นเห็นวาณิช นั้นจึงกล่าวกะยายว่า ยาย ขอยายจงซื้อเครื่องประดับอย่างหนึ่งให้หนู ยายกล่าว ว่าหนูเอ๋ย เราเป็นคนจน จักเอาอะไรไปซื้อ กุมาริกากล่าวว่า พวกเรามีถาดใบนั้นอยู่ และถาดใบนั้นไม่มีประโยชน์แก่พวกเรา จงให้ถาดใบนี้แล้ว แลกเอาเครื่องประดับมาเถิด ยายจึงให้เรียกนายวาณิชมาแล้วให้นั่งบนอาสนะ ให้ถาดใบนั้นแล้วกล่าวว่า เจ้านาย ท่านจงถือเอาถาดนี้ แล้วให้เครื่องประดับ อะไร ๆ ก็ได้แก่หลานสาวของฉัน นายวาณิชเอามือจับถาดนั้น คิดว่าจักเป็นถาดทอง จึงพลิกเอาเข็มขีดที่หลังถาด รู้ว่าเป็นทอง จึงคิดว่า เราจักไม่ ให้อะไร ๆ แก่คนเหล่านี้ จักนำเอาถาดนี้ไป แล้วกล่าวว่า ถาดใบนี้จะมีราคาอะไร ราคาของถาดใบนี้แม้กึ่งมาสกก็ยังไม่ถึง จึงโยนไปที่พื้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.
พระโพธิสัตว์คิดว่า คนอื่นย่อมเข้าไปยังถนนที่นายวาณิชเจ้าของเขตนั้น เข้าไปขายของและออกไปแล้วได้ จึงเข้าไปยังถนนนั้นร้องขายของว่า มีเครื่องประดับมาขาย และได้ไปถึงประตูบ้านนั้นแหละ กุมาริกานั้นกล่าวกะยายเหมือนอย่างนั้นแหละอีก ลำดับนั้น ยายได้กล่าวกะกุมาริกานั้นว่า หลานเอ๋ย นายวาณิช ผู้มายังเรือนนี้ โยนถาดนั้นลงบนพื้นไปแล้ว บัดนี้ เราจักให้อะไรแลกกับเครื่องประดับ กุมาริกากล่าวว่า ยาย นายวาณิชคนนั้นพูดจาหยาบคาย ส่วนนายวาณิชคนนี้ น่ารัก พูดจาอ่อนโยน คงจะรับเอา ยายกล่าวว่า ถ้า อย่างนั้นจงเรียกเขามา กุมาริกานั้นจึงเรียกนายวาณิชนั้นมา ลำดับนั้น ยาย และหลานได้ให้ถาดใบนั้นแก่พระโพธิสัตว์นั้น ผู้เข้าไปยังเรือนแล้วนั่ง พระโพธิสัตว์นั้นรู้ว่าถาดนั้นเป็นถาดทอง จึงกล่าวว่า แม่ ถาดใบนี้มีค่าตั้งแสน สินค้าอันมีค่าเท่าถาด ไม่มีในมือของเรา ยายและหลานจึงกล่าวว่า เจ้านาย นายวาณิชผู้มาก่อนพูดว่า ถาดใบนี้มีค่าไม่ถึงแม้กึ่งมาสก แล้วเหวี่ยงถาดลงพื้นไป แต่ถาดใบนี้จักเกิดเป็นถาดทอง เพราะบุญของท่าน พวกเราให้ถาดใบนี้แก่ท่าน ท่านให้อะไร ๆ ก็ได้แก่พวกเรา แล้วถือเอาถาดใบนี้ไปเถิด
ขณะนั้น พระโพธิสัตว์จึงให้กหาปณะ ๕๐๐ ซึ่งมีอยู่ในมือ และสินค้าซึ่งมีราคา ๕๐๐ กหาปณะ ทั้งหมด แล้วขอเอาไว้เพียงเท่านี้ว่า ท่านทั้งหลายจงให้ตาชั่งนี้กับ ถุง และกหาปณะ ๘ กหาปณะแก่ข้าพเจ้า แล้วถือเอาถาดนั้นหลีกไป พระโพธิสัตว์นั้นรีบไปยังฝั่งแม่น้ำ ให้นายเรือ ๘ กหาปณะ แล้วขึ้นเรือไป ฝ่ายนายวาณิชพาล หวนกลับไปเรือนนั้นอีก แล้วกล่าวว่า ท่านจง นำถาดใบนั้นมา เราจักให้อะไร ๆ บางอย่างแก่ท่าน หญิงนั้นบริภาษนายวาณิชพาลคนนั้นแล้วกล่าวว่า ท่านได้กระทำถาดทองอันมีค่าตั้งแสนของพวกเรา ให้มีค่าเพียงกึ่งมาสก แต่นายวาณิชผู้มีธรรมคนหนึ่งเหมือนกับนายท่านนั่นแหละ ให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่พวกเรา แล้วถือเอาถาดทองนั้นไปแล้ว นายวาณิชพาล ได้ฟังดังนั้น คิดว่า เราเป็นผู้เสื่อมจากถาดทองอันมีค่าตั้งแสน วาณิชคนนี้ ทำความเสื่อมอย่างใหญ่หลวงแก่เราหนอ เกิดความโศกมีกำลัง ไม่อาจดำรง สติไว้ได้ จึงสลบไป (พอฟื้น) ได้โปรยกหาปณะที่อยู่ในมือ และสิ่งของไว้ที่ประตูเรือนนั่นแหละ ทิ้งผ้านุ่งผ้าห่ม ถือคันชั่งทำเป็นไม้ค้อน หลีกไปตามรอยเท้าของพระโพธิสัตว์ ไปถึงฝั่งแม่น้ำนั้น เห็นพระโพธิสัตว์กำลังไปอยู่ จึงกล่าวว่า นายเรือผู้เจริญ ท่านจงกลับเรือ พระโพธิสัตว์ห้ามว่า อย่ากลับ.
เมื่อนายวาณิชพาล แม้นอกนี้ เห็นพระโพธิสัตว์ไปอยู่นั่นแล เกิด ความโศกมีกำลัง หทัยร้อน เลือดพุ่งออกจากปาก หทัยแตก เหมือนโคลนในบึงฉะนั้น วาณิชพาลนั้นผูกอาฆาตในพระโพธิสัตว์ของพระเทวทัตเป็นครั้งแรก พระโพธิสัตว์กระทำบุญมีทานเป็นต้น ได้ไปตามยถากรรม.
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นตรัสพระธรรมเทศนาแล้ว ทรงเป็นผู้ ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วแล ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
<TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=568>ถ้าท่านพลาดโสดาปัตติมรรค คือความแน่นอน
แห่งพระสัทธรรมในศาสนานี้ ท่านจะต้องเดือดร้อนใจ
ในภายหลัง สิ้นกาลนาน เหมือนวาณิชชื่อ เสรีวะ
</TD></TR></TBODY></TABLE>ผู้นี้ ฉะนั้น
พระศาสดาทรงถือเอาถาดทองด้วยพระหัตถ์ ทรงแสดงพระธรรม เทศนานี้ แก่ภิกษุนี้อย่างนี้ แล้วทรงประกาศสัจจะทั้ง ๔ ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้ละความเพียรดำรงอยู่ในพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ แม้พระศาสดาก็ทรง ตรัสเรื่อง ๒ เรื่องสืบต่อกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า วาณิชพาลในกาลนั้น ได้เป็นพระเทวทัตในบัดนี้ นายวาณิชผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็นเรา เอง ทรงให้เทศนาจบลงแล้ว.
จบ เสรีววาณิชชาดก
<!-- / message --><!-- sig -->__________________
<HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
4 จุลลกมหาเศรษฐีชาดก
ว่าด้วยคนฉลาดตั้งตนได้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ใน ชีวกัมพวัน ทรงปรารภ พระจุลลปันถกเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้ เบื้องต้น พึงกล่าวการเกิดขึ้น และการบรรพชาของพระจุลลปันถกในอัมพวันนั้นก่อน มีกถาตามลำดับดังต่อ ไปนี้
<TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR style="HEIGHT: 1584pt"><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; HEIGHT: 100%" vAlign=top width=568>กำเนิดจุลปันถก
ได้ยินว่า ธิดาของธนเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ กระทำการลักลอบได้เสียกับทาสของตนเอง แล้วก็กลัวว่าเรื่องจะปิดเอาไว้ไม่อยู่ก็จะเป็นอันตรายแก่ตนและสามี จึงได้คิดที่จะไปยังถิ่นที่ไม่มีคนรู้จัก จึงได้รวบรวมเอาแต่ของที่สำคัญ ๆ แล้วก็หนีออกไปจากเมืองนั้น ต่อมานางก็เกิดตั้งครรภ์ ครั้นเมื่อครรภ์แก่จัด นางจึงปรารถนาจะกลับไปคลอดยังตระกูลของตน แต่เมื่อครั้นนางปรึกษากับสามี สามีก็ผัดผ่อนเรื่อยมา จนกระทั่งครรภ์แก่จัด นางจึงตัดสินใจออกจากเรือนของตนเดินทางไปยังตระกูลของนาง แล้วได้สั่งความไว้กับเพื่อนบ้านว่าให้บอกสามีว่าตนจะไปคลอดยังตระกูลของนาง ครั้นเมื่อสามีของนางเดินทางกลับมาถึงบ้านก็ทราบว่านางเดินทางไปยังตระกูลตนก็ได้ติดตามไป และไปทันกันในระหว่างทาง และนางก็ได้คลอดบุตรในระหว่างทางนั้นเอง ทั้งสองจึงได้ตัดสินใจเดินทางกลับด้วยเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะกลับไปยังตระกูลของนางผู้เป็นภรรยาเนื่องจากนางก็ได้คลอดเสียแล้ว สองสามีภรรยาตั้งชื่อ บุตรว่า ปันถกะ เพราะทารกนั้นเกิดในระหว่างทาง ต่อมาอีกไม่นานนัก นางก็ตั้งครรภ์บุตรอีกคนหนึ่ง เรื่องก็เป็นอย่างเดิมอีก คือบุตรคนที่สองก็ได้เกิดระหว่างทางเช่นเดียวกัน เขาจึงตั้งชื่อบุตรที่เกิดก่อนว่า มหาปันถก บุตรที่เกิด ที่หลังว่า จุลปันถก
มารดาส่งบุตรทั้งสองไปอยู่กับตา
เมื่อชนเหล่านั้นอยู่ในที่นั้น เด็กมหาปันถกะได้ยินเด็กอื่น ๆ เรียก อา ลุง ปู่ ย่า จึงถามว่ามารดาว่า แม่จ๋า เด็กอื่น ๆ เรียกปู่ เรียกย่า ก็ญาติของพวกเราในที่นี้ไม่มีบ้างหรือ นางตอบว่า จริงสิ ลูก ญาติของเราในที่นี้ไม่มีดอก แต่ในกรุงราชคฤห์ ตาของเจ้าชื่อธนเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์นั้นมีญาติของเจ้าเป็นอันมาก เด็กก็ถามว่า เพราะเหตุไรเราจึง ไม่ไปกันในกรุงราชคฤห์นั้นละแม่ นางผู้เป็นแม่ก็มิได้เล่าเรื่องสาเหตุที่ตนต้องออกมาอยู่ที่นี้มาแก่บุตร แต่ครั้นเมื่อบุตรพูดบ่อย ๆ เข้านางจึงบอกสามีว่า เด็ก ๆ เหล่านี้รบเร้าเหลือ เกิน ถ้าเรากลับไปแล้วพ่อแม่ของเราเห็นแล้วจักกินเนื้อเราหรือ มาเถอะ เราจะพาเด็ก ๆ ไปรู้จักสกุลตายาย แต่สามีนางกล่าวว่า ฉันพาเธอและลูก ๆ ไปยังตระกูลเธอได้ แต่ฉันไม่อาจอยู่สู้หน้ากับบิดา มารดาของเธอได้ นางผู้เป็นภรรยาจึงกล่าวว่า ดีละนาย เราควรให้เด็ก ๆ เห็นตระกูลตา ด้วยอุบายอย่างหนึ่งจึงควร ทั้งสองคนจึงพาทารกไปจนถึงกรุงราชคฤห์ เมื่อถึงแล้วได้พักที่ศาลาแห่งหนึ่งใกล้ประตูนคร มารดาเด็กจึงได้ส่งข่าวไปบอกแก่มารดาบิดาว่า ตนได้พาบุตร ๒ คนมา อันว่าสัตว์ที่เวียนว่ายอยู่ ในสงสารวัฎ ชื่อว่าจะไม่เป็นบุตรจะไม่เป็นธิดากันไม่มี มารดาบิดาของนางเมื่อได้ฟังข่าวนั้นแล้วก็ส่งคำตอบไปว่า คนทั้งสองมีความผิดต่อตระกูลมาก ทั้ง ๒ คนไม่อาจอยู่ในตระกูลได้ จงเอาทรัพย์เท่านี้ไปและจงไปอยู่ยังสถานที่ที่เหมาะสมเถิด แต่จงส่งเด็กๆ มาให้เรา ธิดาเศรษฐีรับเอาทรัพย์ที่มารดาบิดาส่งไป แล้วมอบเด็กทั้ง ๒ ไว้ในมือคนที่มาส่งข่าวแล้วนั้น ตั้งแต่นั้นมาเด็กทั้ง ๒ นั้นเติบโตอยู่ในตระกูลของตา
มหาปันถกออกบวช
ในเด็กทั้งสองคนนั้น จุลปันถก ยังเป็นเด็กเล็กนัก ส่วนมหาปันถกไปฟังธรรมกถาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากับคุณตา เมื่อเขาฟังธรรมต่อพระพักตร์พระศาสดาอยู่เป็นประจำ จิตก็น้อมไปในบรรพชา เกิดศรัทธา ฟังธรรมแล้ว เพราะค่าที่ตนสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เป็นผู้มีความประสงค์จะบรรพชา เขาจึงพูดกับตาว่า ถ้าตาอนุญาต หลานจะออกบวช ตากล่าวว่า พูดอะไรพ่อ การบรรพชาของเจ้าเป็นความเจริญทั้งแก่เราแลทั้งแก่ โลกทั้งสิ้น เจ้าจงบวชเถิดพ่อ ดังนี้แล้วก็พากันไปยังสำนักพระศาสดา ท่านตานั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระศาสดาแล้ว พระศาสดาจึงตรัสมอบภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งว่า เธอจงให้ทารกนี้บวชเถิด พระเถระบอกตจปัญจกกัมมัฎฐานแก่ทารกนั้นแล้ว เมื่อเขาบรรพชาแล้ว เล่าเรียนพระพุทธพจน์ได้เป็นจำนวนมาก พอมีอายุครบ๒๐ ปี อุปสมบทแล้ว ทำมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยพิเศษ เป็นผู้ได้อรูปฌาน ๔ ออกจากอรูปฌาน ๔ นั้นแล้ว ก็พยายามยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต
จุลปันถกออกบวช
ท่านพระมหาปันถกเถระยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌาน ความสุขในมรรค ความสุข ในนิพพาน จึงคิดว่า เราอาจให้ความสุขชนิดนี้แก่จุลปันถกะได้ไหม หนอ แต่นั้นจึงไปยังสำนักของเศรษฐีผู้เป็นตา กล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐี ถ้าโยมอนุญาต อาตมาจะให้จุลปันถกะบวช เศรษฐีกล่าวว่า จงให้บวชเถิดท่าน ขณะนั้นจุลปันถกมีอายุได้ ๑๘ ปี พระเถระให้จุลปันถกะบวชแล้วให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ สามเณรจุลปันถกะ ด้วยความเป็นคนเขลา ซึ่งเป็นบุรพกรรมเมื่อครั้งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระจุลลปันถกบวชอยู่ แล้วได้ทำการหัวเราะเยาะภิกษุผู้เขลารูปหนึ่ง ในเวลาที่ภิกษุรูปนั้นเรียนอุเทศ ภิกษุนั้นละอาย เพราะการเย้ยหยันนั้นจึงไม่เรียนอุเทศ ไม่ทำการสาธยาย เมื่อพระเถระผู้พี่ชายให้เรียนคาถาบทหนึ่งบทเดียวว่า.
<TABLE class=MsoTableGrid style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BACKGROUND: #f3f3f3; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; PADDING-LEFT: 5.4pt; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; WIDTH: 100%; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid" vAlign=top width=720 height="100%">เชิญท่านดูพระอังคีรส ผู้รุ่งเรืองอยู่
ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ในอากาศ
เหมือนดอกปทุมวิเศษชื่อโกกนุทะ
มีกลิ่นหอมบานอยู่แต่เช้าไม่ปราศจากกลิ่นฉะนั้น
</TD></TR></TBODY></TABLE>
เป็นเวลา ๔ เดือนก็ไม่สามารถท่องจำได้
จุลปันถกโดนพี่ชายขับไล่
ท่านพยายามเรียนคาถานี้อย่างเดียวเวลาก็ล่วงไปถึง ๔ เดือน คราวนั้น พระมหาปันถกะกล่าวกะท่านว่า ปันถกะเธอเป็นคนอาภัพ ในศาสนานี้ เธอจำคาถาแม้บทเดียวก็ไม่ได้เป็นเวลาถึง ๔ เดือน เธอจะทำกิจของบรรพชิตให้สำเร็จได้อย่างไร เธอจงออกไปจากวิหารนี้เสีย แล้วท่านพระเถระก็ปิดประตู ท่านถูกพระเถระขับไล่จึงไปยืนร้องไห้อยู่ ณ ท้ายพระวิหาร เพราะไม่ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ และเพราะความรักในพระพุทธศาสนา.
ความที่ท่านพระเถระขับไล่สามเณรจุลปันถกนั้น ต่อมาภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า
ชาดก 547 เรื่อง
ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย chingchamp, 19 ตุลาคม 2008.
-
chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี
-
chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี
ขุททกนิกายภาค ๑ทุกนิบาต
<!----------------------------------------------------------------เมนู1---------------------------------------------------------------> ๑.ทัฬหวรรค
<!----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู1---------------------------------------------------->๑๕๑.ราโชวาทชาดก
๑๕๒.สิคาลชาดก
๑๕๓.สูกรชาดก
๑๕๔.อุรคชาดก
๑๕๕.ภัคคชาดก
๑๕๖.อลีนจิตตชาดก
๑๕๗.คุณชาดก
๑๕๘.สุหนุชาดก
๑๕๙.โมรชาดก
๑๖๐.วินีลกชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู2---------------------------------------------------------------> ๒.สันถวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู2--------------------------------------------------->๑๖๑.อินทสมานโคตตชาดก
๑๖๒.สันถวชาดก
๑๖๓.สุสีมชาดก
๑๖๔.คิชฌชาดก
๑๖๕.นกุลชาดก
๑๖๖.อุปสาฬหกชาดก
๑๖๗.สมิทธิชาดก
๑๖๘.สกุณัคฆิชาดก
๑๖๙.อรกชาดก
๑๗๐.กกัณฏกชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู3---------------------------------------------------------------> ๓.กัลยาณธรรมวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู3--------------------------------------------------->๑๗๑.กัลยาณธรรมชาดก
๑๗๒.ทัททรชาดก
๑๗๓.มักกฏชาดก
๑๗๔.ทุพภิยมักกฏชาดก
๑๗๕.อาทิจจุปัฏฐานชาดก
๑๗๖.กฬายมุฏฐิชาดก
๑๗๗.ตินทุกชาดก
๑๗๘.กัจฉปชาดก
๑๗๙.สตธรรมชาดก
๑๘๐.ทุทททชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู4---------------------------------------------------------------> ๔.อสทิสวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู4--------------------------------------------------->๑๘๑.อสทิสชาดก
๑๘๒.สังคามาวจรชาดก
๑๘๓.วาโลทกชาดก
๑๘๔.คิริทัตตชาดก
๑๘๕.อนภิรติชาดก
๑๘๖.ทธิวาหนชาดก
๑๘๗.จตุมัฏฐชาดก
๑๘๘.สีหโกตถุกชาดก
๑๘๙.สีหจัมมชาดก
๑๙๐.สีลานิสังสชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู5---------------------------------------------------------------> ๕.รุหกวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู5--------------------------------------------------->๑๙๑.รุหกชาดก
๑๙๒.สิริกาฬกัณณิชาดก
๑๙๓.จุลลปทุมชาดก
๑๙๔.มณิโจรชาดก
๑๙๕.ปัพพตูปัตถรชาดก
๑๙๖.วลาหกัสสชาดก
๑๙๗.มิตตามิตตชาดก
๑๙๘.ราธชาดก
๑๙๙.คหปติชาดก
๒๐๐.สาธุสีลชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู6---------------------------------------------------------------> ๖.นตังทัฬหวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู6--------------------------------------------------->๒๐๑.พันธนาคารชาดก
๒๐๒.เกฬิสีลชาดก
๒๐๓.ขันธปริตตชาดก
๒๐๔.วีรกชาดก
๒๐๕.คังเคยยชาดก
๒๐๖.กุรุงคมิคชาดก
๒๐๗.อัสสกชาดก
๒๐๘.สุงสุมารชาดก
๒๐๙.กักกรชาดก
๒๑๐.กันทคลกชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู7---------------------------------------------------------------> ๗.พีรณัตถัมภกวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู7--------------------------------------------------->๒๑๑.โสมทัตตชาดก
๒๑๒.อุจฉิฏฐภัตตชาดก
๒๑๓.ภรุราชชาดก
๒๑๔.ปุณณนทีชาดก
๒๑๕.กัจฉปชาดก
๒๑๖.มัจฉชาดก
๒๑๗.เสคคุชาดก
๒๑๘.กูฏวาณิชชาดก
๒๑๙.ครหิตชาดก
๒๒๐.ธัมมัทธชชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู8---------------------------------------------------------------> ๘.กาสาววรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู8--------------------------------------------------->๒๒๑.กาสาวชาดก
๒๒๒.จุลลนันทิยชาดก
๒๒๓.ปุฏภัตตชาดก
๒๒๔.กุมภีลชาดก
๒๒๕.ขันติวรรณนชาดก
๒๒๖.โกสิยชาดก
๒๒๗.คูถปาณกชาดก
๒๒๘.กามนีตชาดก
๒๒๙.ปลายิชาดก
๒๓๐.ทุติยปลายิชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู9---------------------------------------------------------------> ๙.อุปาหนวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู9--------------------------------------------------->๒๓๑.อุปาหนชาดก
๒๓๒.วีณาถูณชาดก
๒๓๓.วิกัณณกชาดก
๒๓๔.อสิตาภุชาดก
๒๓๕.วัจฉนขชาดก
๒๓๖.พกชาดก
๒๓๗.สาเกตชาดก
๒๓๘.เอกปทชาดก
๒๓๙.หริตมาตชาดก
๒๔๐.มหาปิงคลชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู10---------------------------------------------------------------> ๑๐.สิคาลวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู10--------------------------------------------------->๒๔๑.สัพพทาฐิชาดก
๒๔๒.สุนขชาดก
๒๔๓.คุตติลชาดก
๒๔๔.วิคติจฉชาดก
๒๔๕.มูลปริยายชาดก
๒๔๖.พาโลวาทชาดก
๒๔๗.ปาทัญชลิชาดก
๒๔๘.กิงสุโกปมชาดก
๒๔๙.สาลกชาดก
๒๕๐.กปิชาดก
ขุททกนิกายภาค ๑ติกนิบาต
<!----------------------------------------------------------------เมนู1---------------------------------------------------------------> ๑.สังกัปปวรรค
<!----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู1---------------------------------------------------->๒๕๑.สังกัปปราคชาดก
๒๕๒.ติลมุฏฐิชาดก
๒๕๓.มณิกัณฐชาดก
๒๕๔.กุณฑกกุจฉสินธวชาดก
๒๕๕.สุกชาดก
๒๕๖.ชรูทปานชาดก
๒๕๗.คามณิจันทชาดก
๒๕๘.มันธาตุราชชาดก
๒๕๙.ติรีติวัจฉชาดก
๒๖๐.ทูตชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู2---------------------------------------------------------------> ๒.ปทุมวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู2--------------------------------------------------->๒๖๑.ปทุมชาดก
๒๖๒.มุทุปาณิชาดก
๒๖๓.จุลลปโลภนชาดก
๒๖๔.มหาปนาทชาดก
๒๖๕.ขุรัปปชาดก
๒๖๖.วาตัคคสินธวชาดก
๒๖๗.สุวรรณกักกฏกชาดก
๒๖๘.อารามทูสกชาดก
๒๖๙.สุชาตาชาดก
๒๗๐.อุลูกชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู3---------------------------------------------------------------> ๓.อุทปานทูสกวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู3--------------------------------------------------->๒๗๑.อุทปานทูสกชาดก
๒๗๒.พยัคฆชาดก
๒๗๓.กัจฉปชาดก
๒๗๔.โลลชาดก
๒๗๕.รุจิรชาดก
๒๗๖.กุรุธรรมชาดก
๒๗๗.โรมชาดก
๒๗๘.มหิสชาดก
๒๗๙.สตปัตตชาดก
๒๘๐.ปูฏทูสกชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู4---------------------------------------------------------------> ๔.อัพภันตรวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู4--------------------------------------------------->๒๘๑.อัพภันตรชาดก
๒๘๒.เสยยชาดก
๒๘๓.วัฑฒกีสูกรชาดก
๒๘๔.สิริชาดก
๒๘๕.มณิสูกรชาดก
๒๘๖.สาลุกชาดก
๒๘๗.ลาภครหิกชาดก
๒๘๘.มัจฉทานชาดก
๒๘๙.นานาฉันทชาดก
๒๙๐.สีลวีมังสชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู5---------------------------------------------------------------> ๕.กุมภวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู5--------------------------------------------------->๒๙๑.ภัทรฆฏเภทกชาดก
๒๙๒.สุปัตตชาดก
๒๙๓.กายนิพพินทชาดก
๒๙๔.ชัมพุขาทกชาดก
๒๙๕.อันตชาดก
๒๙๖.สมุททชาดก
๒๙๗.กามวิลาปชาดก
๒๙๘.อุทุมพรชาดก
๒๙๙.โกมาริยปุตตชาดก
๓๐๐.พกชาดก
ขุททกนิกายภาค ๑จตุกกนิบาต
<!----------------------------------------------------------------เมนู1---------------------------------------------------------------> ๑.กาลิงควรรค
<!----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู1---------------------------------------------------->๓๐๑.จุลลกาลิงคชาดก
๓๐๒.มหาอัสสาโรหชาดก
๓๐๓.เอกราชชาดก
๓๐๔.ทัททรชาดก
๓๐๕.สีลวีมังสชาดก
๓๐๖.สุชาตาชาดก
๓๐๗.ปลาสชาดก
๓๐๘.ชวสกุณชาดก
๓๐๙.ฉวชาดก
๓๑๐.สัยหชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู2---------------------------------------------------------------> ๒.ปุจิมันทวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู2--------------------------------------------------->๓๑๑.ปุจิมันทชาดก
๓๑๒.กัสสปมันทิยชาดก
๓๑๓.ขันติวาทิชาดก
๓๑๔.โลหกุมภิชาดก
๓๑๕.มังสชาดก
๓๑๖.สสปัณฑิตชาดก
๓๑๗.มตโรทนชาดก
๓๑๘.กณเวรชาดก
๓๑๙.ติตติรชาดก
๓๒๐.สุจจชชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู3---------------------------------------------------------------> ๓.กุฏิทูสกวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู3--------------------------------------------------->๓๒๑.กุฏิทูสกชาดก
๓๒๒.ทุททุภายชาดก
๓๒๓.พรหมทัตตชาดก
๓๒๔.จัมมสาฏกชาดก
๓๒๕.โคธชาดก
๓๒๖.กักการุชาดก
๓๒๗.กากาติชาดก
๓๒๘.อนนุโสจิยชาดก
๓๒๙.กาฬพาหุชาดก
๓๓๐.สีลวิมังสชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู4---------------------------------------------------------------> ๔.โกกิลวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู4--------------------------------------------------->๓๓๑.โกกาลิกชาดก
๓๓๒.รถลัฏฐิชาดก
๓๓๓.โคธชาดก
๓๓๔.ราโชวาทชาดก
๓๓๕.ชัมพุกชาดก
๓๓๖.พรหาฉัตตชาดก
๓๓๗.ปีฐชาดก
๓๓๘.ถุสชาดก
๓๓๙.พาเวรุชาดก
๓๔๐.วิสัยหชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู5---------------------------------------------------------------> ๕.จุลลกุณาลวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู5--------------------------------------------------->๓๔๑.กุณฑลิกชาดก
๓๔๒.วานรชาดก
๓๔๓.กุนตินีชาดก
๓๔๔.อัมพชาดก
๓๔๕.คชกุมภชาดก
๓๔๖.เกสวชาดก
๓๔๗.อยกูฏชาดก
๓๔๘.อรัญญชาดก
๓๔๙.สันธิเภทชาดก
๓๕๐.เทวตาปัญหาชาดก
ขุททกนิกายภาค ๑ปัญจกนิบาต
<!----------------------------------------------------------------เมนู1---------------------------------------------------------------> ๑.มณิกุณฑลวรรค
<!----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู1---------------------------------------------------->๓๕๑.มณิกุณฑลชาดก
๓๕๒.สุชาตชาดก
๓๕๓.เวนสาขชาดก
๓๕๔.อุรคชาดก
๓๕๕.ธังกชาดก
๓๕๖.การันทิยชาดก
๓๕๗.ลฏุกิกชาดก
๓๕๘.จุลลธรรมปาลชาดก
๓๕๙.สุวรรณมิคชาดก
๓๖๐.สุสันธีชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู2---------------------------------------------------------------> ๒.วรรณาโรหวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู2--------------------------------------------------->๓๖๑.วรรณาโรหชาดก
๓๖๒.สีลวีมังสชาดก
๓๖๓.หิริชาดก
๓๖๔.ขัชโชปนกชาดก
๓๖๕.อหิตุณฑิกชาดก
๓๖๖.คุมพิยชาดก
๓๖๗.สาลิยชาดก
๓๖๘.ตจสารชาดก
๓๖๙.มิตตวินทุกชาดก
๓๗๐.ปลาสชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู3---------------------------------------------------------------> ๓.อัฑฒวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู3--------------------------------------------------->๓๗๑.ทีฆีติโกสลชาดก
๓๗๒.มิคโปตกชาดก
๓๗๓.มูสิกชาดก
๓๗๔.จุลลธนุคคหชาดก
๓๗๕.กโปตกชาดก
<!-- / message --><!-- sig -->__________________
ขุททกนิกายภาค ๑ฉักกนิบาต
<!----------------------------------------------------------------เมนู1---------------------------------------------------------------> ๑.อาวาริยวรรค
<!----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู1---------------------------------------------------->๓๗๖.อาวาริยชาดก
๓๗๗.เสตเกตุชาดก
๓๗๘.ทรีมุขชาดก
๓๗๙.เนรุชาดก
๓๘๐.อาสังกชาดก
๓๘๑.มิคาโลปชาดก
๓๘๒.สิริกาฬกัณณิชาดก
๓๘๓.กุกกุฏชาดก
๓๘๔.ธัมมัทธชชาดก
๓๘๕.นันทิยมิคราชชาดก
<!----------------------------------------------------------------เมนู2---------------------------------------------------------------> ๒.ขุรปุตตวรรค
<!-----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู2--------------------------------------------------->๓๘๖.ขุรปุตตชาดก
๓๘๗.สูจิชาดก
๓๘๘.ตุณฑิลชาดก
๓๘๙.สุวรรณกักกฏชาดก
๓๙๐.มัยหกสกุณชาดก
๓๙๑.ปัพพชิตวิเหฐกชาดก
๓๙๒.อุปสิงฆปุปผกชาดก
๓๙๓.วิฆาสาทชาดก
๓๙๔.วัฏฏกชาดก
๓๙๕.มณิชาดก
ขุททกนิกายภาค ๑สัตกนิบาต
<!----------------------------------------------------------------เมนู1---------------------------------------------------------------> ๑.กุกกุวรรค
<!----------------------------------------------------กำหนดเมนูย่อยของเมนู1---------------------------------------------------->๓๙๖.กุกกุชาดก
๓๙๗.มโนชชาดก
๓๙๘.สุตนชาดก
๓๙๙.มาตุโปสกคิชฌชาดก
๔๐๐.ทัพพปุปผกชาดก
๔๐๑.ทสรรณกชาดก
๔๐๒.เสนกชาดก
๔๐๓.อัฏฐิเสนชาดก
๔๐๔.กปิชาดก
๔๐๕.พกพรหมชาดก
<!--เมนู2--> ๒.คันธารวรรค
<!--กำหนดเมนูย่อยของเมนู2-->๔๐๖.คันธารชาดก
๔๐๗.มหากปิชาดก
๔๐๘.กุมภการชาดก
๔๐๙.ทัฬหธรรมชาดก
๔๑๐.โสมทัตตชาดก
๔๑๑.สุสีมชาดก
๔๑๒.โกฏสิมพลิชาดก
๔๑๓.ธูมการีชาดก
๔๑๔.ชาครชาดก
๔๑๕.กุมมาสบิณฑชาดก
๔๑๖.ปรันตปชาดก
<!-- / message --><!-- sig -->__________________
ขุททกนิกายภาค ๑๐๘.อัฏฐกนิบาต
๑.กัจจานิวรรค
๔๑๗. กัจจานิชาดก
๔๑๘. อัฏฐสัททชาดก
๔๑๙. สุลสาชาดก
๔๒๐. สุมังคลชาดก
๔๒๑. คังคมาลชาดก
๔๒๒. เจติยราชชาดก
๔๒๓. อินทริยชาดก
๔๒๔. อาทิตตชาดก
๔๒๕. อัฏฐานชาดก
๔๒๖. ทีปิชาดก
ขุททกนิกายภาค ๑๐๙.นวกนิบาต
๔๒๗. คิชฌชาดก
๔๒๘. โกสัมพิยชาดก
๔๒๙. มหาสุวราชชาดก
๔๓๐. จุลลสุวกราชชาดก
๔๓๑. หริตจชาดก
๔๓๒. ปทกุสลมาณวชาดก
๔๓๓. โลมสกัสสปชาดก
๔๓๔. จักกวากชาดก
๔๓๕. หลิททราคชาดก
๔๓๖. สมุคคชาดก
๔๓๗. ปูติมังสชาดก
๔๓๘. ทัททรชาดก
ขุททกนิกายภาค ๑๑๐.ทสกนิบาต
๔๓๙. จตุทวารชาดก
๔๔๐. กัณหชาดก
๔๔๑. จตุโปสถชาดก
๔๔๒. สังขชาดก
๔๔๓. จุลลโพธิชาดก
๔๔๔. มัณฑัพยชาดก
๔๔๕. นิโครธชาดก
๔๔๖. ตักกลชาดก
๔๔๗. มหาธรรมปาลชาดก
๔๔๘. กุกกุฏชาดก
๔๔๙. มัฏฐกุณฑลิชาดก
๔๕๐. พิลารโกสิยชาดก
๔๕๑. จักกวากชาดก
๔๕๒. ภูริปัญหาชาดก
๔๕๓. มหามังคลชาดก
๔๕๔. ฆตปัณฑิตชาดก
ขุททกนิกายภาค ๑
๑๑.เอกาทสกนิบาต
๔๕๕. มาตุโปสกชาดก
๔๕๖. ชุณหชาดก
๔๕๗. ธรรมเทวปุตตกชาดก
๔๕๘. อุทยชาดก
๔๕๙. ปานียชาดก
๔๖๐. ยุธัญชยชาดก
๔๖๑. ทสรถชาดก
๔๖๒. สังวรชาดก
๔๖๓. สุปปารกชาดก
ขุททกนิกายภาค ๑
๑๒.ทวาทสนิบาต
๔๖๔. จุลลกุณาลชาดก
๔๖๕. ภัททสาลชาดก
๔๖๖. สมุททวาณิชชาดก
๔๖๗. กามชาดก
๔๖๘. ชนสันธชาดก
๔๖๙. มหากัณหชาดก
๔๗๐. โกสิยชาดก
๔๗๑. เมณฑกปัญหาชาดก
๔๗๒. มหาปทุมชาดก
๔๗๓. มิตตามิตตชาดก
ขุททกนิกายภาค ๑
๑๓.เตรสนิบาต
๔๗๔. อัมพชาดก
๔๗๕. ผันทนชาดก
๔๗๖. ชวนหังสชาดก
๔๗๗. จุลลนารทกัสสปชาดก
๔๗๘. ทูตชาดก
๔๗๙. กาลิงคโพธิชาดก
๔๘๐. อกิตติชาดก
๔๘๑. ตักการิยชาดก
๔๘๒. รุรุมิคชาดก
๔๘๓. สรภชาดก
ขุททกนิกายภาค ๑
๑๔.ปกิณณกนิบาต
๔๘๔. สาลิเกทารชาดก
๔๘๕. จันทกินนรชาดก
๔๘๖. มหาอุกกุสชาดก
๔๘๗. อุททาลกชาดก
๔๘๘. ภิสชาดก
๔๘๙. สุรุจิชาดก
๔๙๐. ปัญจุโปสถิกชาดก
๔๙๑. มหาโมรชาดก
๔๙๒. ตัจฉกสูกรชาดก
๔๙๓. มหาวาณิชชาดก
๔๙๔. สาธินราชชาดก
๔๙๕. ทสพราหมณ์ชาดก
๔๙๖. ภิกขาปรัมปรชาดก
ขุททกนิกายภาค ๑
๑๕.วิสตินิบาต
๔๙๗. มาตังคชาดก
๔๙๘. จิตตสัมภูตชาดก
๔๙๙. สีวิราชชาดก
๕๐๐. ศิริมันทชาดก
๕๐๑. โรหนมิคชาดก
๕๐๒. หังสชาดก
๕๐๓. สัตติคุมพชาดก
๕๐๔. ภัลลาติยชาดก
๕๐๕. โสมนัสสชาดก
๕๐๖. จัมเปยยชาดก
๕๐๗. มหาโลภนชาดก
๕๐๘. ปัญจปัณฑิตชาดก
๕๐๙. หัตถิปาลชาดก
๕๑๐. อโยฆรชาดก
ขุททกนิกายภาค ๑
๑๖.ติงสตินิบาต
๕๑๑. กิงฉันทชาดก
๕๑๒. กุมภชาดก
๕๑๓. ชัยทิศชาดก
๕๑๔. ฉัททันตชาดก
๕๑๕. สัมภวชาดก
๕๑๖. มหากปิชาดก
๕๑๗. ทกรักขสชาดก
๕๑๘. ปัณฑรกชาดก
๕๑๙. สัมพุลาชาดก
๕๒๐. ภัณฑุติณฑกชาดก
ขุททกนิกายภาค ๑
๑๗.จัตตาฬีสนิบาต
๕๒๑. เตสกุณชาดก
๕๒๒. สรภังคชาดก
๕๒๓. อลัมพุสาชาดก
๕๒๔. สังขปาลชาดก
๕๒๕. จุลลสุตโสมชาดก
ขุททกนิกายภาค ๒
๑๘.ปัญญาสนิบาต
๕๒๖. นฬินิกาชาดก
๕๒๗. อุมมาทันตีชาดก
๕๒๘. มหาโพธิชาดก
ขุททกนิกายภาค ๒
๑๙.สัฏฐินิบาต
๕๒๙. โสณกชาดก
๕๓๐. สังกิจจชาดก
ขุททกนิกายภาค ๒
๒๐.สัตตตินิบาต
๕๓๑. กุสชาดก
๕๓๒. โสณนันทชาดก
ขุททกนิกายภาค ๒
๒๑.อสีตินิบาต
๕๓๓. จุลลหังสชาดก
๕๓๔. มหาหังสชาดก
๕๓๕. สุธาโภชนชาดก
๕๓๖. กุณาลชาดก
๕๓๗. มหาสุตโสมชาดก
ขอบคุณที่มา........http://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=2261
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->
<!-- / message --><!-- sig -->