เรื่องเด่น ชาวพุทธใฝ่ธรรมหมั่นควรรู้ 4 หลักการอ่าน ภาษาบาลี ให้คล่อง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 16 สิงหาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b898e0b983e0b89de0b988e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8abe0b8a1e0b8b1e0b988e0b899e0b884e0b8a7e0b8a3.jpg


    ภาษาบาลี หรือ Pali เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่งในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) โดยนักปราชญ์ทางภาษาและนักการศาสนาให้ความเห็นว่า คือ ภาษาท้องถิ่นของชาวมคธ ในชมพูทวีป


    คำว่า “บาลี” มีความหมายว่า “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์” เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์มาแต่ดั้งเดิม โดยใช้บันทึกเป็นคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท จึงนับว่ามีความสำคัญมาก แม้แต่เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ยังเคยประทานพระโอวาทเมื่อครั้งเสด็จไปวัดอาวุธวิกสิตาราม เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในการที่คณะธรรมยุต แสดงมุทิตาต่อพระภิกษุสามเณรผู้สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ประจำพุทธศักราช ๒๕๖๑ ความว่า

    e0b898e0b983e0b89de0b988e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8abe0b8a1e0b8b1e0b988e0b899e0b884e0b8a7e0b8a3.gif


    ความเข้าใจกระจ่างใน ‘พระไตรปิฎก’ ที่โบราณาจารย์เรียกว่า ‘พระบาลี’ นั้นคือการรักษาพระบวรพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่คู่โลก

    “สาเหตุที่บูรพาจารย์ท่านใช้คำว่าพระบาลี เสมอแทนด้วยคำว่าพระไตรปิฎก ก็เพราะภาษาบาลีคือภาษาที่รักษาอรรถธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ได้อย่างไม่แปรผันบิดเบือน ความรู้พระไตรปิฎกฉบับภาษาอื่นย่อมมีประโยชน์ก็จริงอยู่ แต่ก็เสมือนเรียนรู้เพียงข้อมูลระดับทุติยภูมิ ซึ่งถูกแปลผ่านบริบทถ้อยคำและวัฒนธรรมทางภาษาออกมาแล้วชั้นหนึ่ง จึงเป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรที่ตั้งใจบวชเรียนทุกรูป ที่จะต้องทำความเข้าใจพระไตรปิฎกภาษาบาลี อันเป็นข้อมูลระดับปฐมภูมิด้วยตนเองให้ได้ การเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จึงอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีความสำคัญคู่สังคมไทยมานับแต่โบราณกาลตราบจนปัจจุบัน”
    จริงอยู่ว่าทุกวันนี้ยังไม่มีบทบัญญัติว่าพุทธศานิกชนทั้งหลายต้องลุกขึ้นมาศึกษาภาษาบาลีเหมือนพระสงฆ์ ทว่าสำหรับผู้ที่ต้องการลึกซึ้งใน ‘ธรรม’ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    การรู้หลักการอ่าน ภาษาบาลี ให้คล่อง ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย

    b898e0b983e0b89de0b988e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8abe0b8a1e0b8b1e0b988e0b899e0b884e0b8a7e0b8a3-1.png

    แต่ก่อนจะอ่านให้คล่อง ต้องรู้ก่อนว่าภาษาบาลีมีตัวอักษรทั้งสิ้น 41 ตัว โดยแบ่งเป็น
    1.สระ 8 ตัว ได้แก่ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
    ให้สังเกตว่าเฉพาะสระ ‘อะ’ จะไม่ปรากฏรูปร่าง ส่วนอีก 7 ตัว รูปสระจะยังคงตัว และสระทุกตัว นิยมอ่านออกเสียงเหมือนในภาษาไทย

    b898e0b983e0b89de0b988e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8abe0b8a1e0b8b1e0b988e0b899e0b884e0b8a7e0b8a3-2.jpg

    2. พยัญชนะ ซึ่งในภาษาบาลีมีทั้งสิ้น 33 ตัว ได้แก่
    ก ข ค ฆ ง เรียกว่า วรรค ก
    จ ฉ ช ฌ ญ เรียกว่า วรรค จ
    ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เรียกว่า วรรค ฏ
    ต ถ ท ธ น เรียกว่า วรรค ต
    ป ผ พ ภ ม เรียกว่า วรรค ป
    พยัญชนะเศษวรรค เรียก ‘อวรรค’ มี 8 ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ (เพราะมีเสียงเกิดจากฐานต่างกันไป )
    ทั้งนี้เมื่อนำมาเขียนถ่ายทอดเป็นภาษาไทยแล้ว จะมีลักษณะที่ควรสังเกตประกอบการอ่าน ดังนี้

    b898e0b983e0b89de0b988e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8abe0b8a1e0b8b1e0b988e0b899e0b884e0b8a7e0b8a3-3.jpg

    1. ตัวอักษรทุกตัวที่ไม่มีเครื่องหมายใดอยู่บนหรือล่าง และไม่มีสระใดๆ กำกับไว้ ให้อ่านอักษรนั้นเป็นเสียง “อะ” ทุกตัว เช่น
    ยถาวาที ตถาการี อ่านว่า ยะ-ถา-วา-ที ตะ-ถา-วา-ที
    อรหโต อ่านว่า อะ-ระ-หะ-โต
    ภควา อ่านว่า ภะ-คะ-วา
    นมามิ อ่านว่า นะ-มา-มิ
    โลกวิทู อ่านว่า โล-กะ-วิ-ทู

    b898e0b983e0b89de0b988e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8abe0b8a1e0b8b1e0b988e0b899e0b884e0b8a7e0b8a3-4.jpg

    2. ตัวอักษรใดมีเครื่องหมายพินทุ ( ฺ ) อยู่ข้างใต้ แสดงว่าอักษรนั้นเป็นตัวสะกดของอักษรที่อยู่ข้างหน้า เมื่อผสมกันแล้วให้อ่านเหมือนเสียง อะ+(ตัวสะกด) นั้น เช่น
    ขนฺติโก (ขะ+น = ขัน) อ่านว่า ขันติโก
    สมฺมา (สะ+ม = สัม) อ่านว่า สัม-มา
    สงฺโฆ (สะ+ง = สัง) อ่านว่า สัง-โฆ
    ยกเว้นในกรณีที่พยัญชนะตัวหน้ามีเครื่องหมายสระกำกับอยู่แล้ว ให้อ่านรวมกันตามตัวสะกดนั้น เช่น
    พุทฺโธ อ่านว่า พุท-โธ
    พุทฺธสฺส อ่านว่า พุท-ธัส-สะ
    สนฺทิฏฺฐิโย อ่านว่า สัน-ทิฏ-ฐิ-โย
    ปาหุเนยฺโย อ่านว่า ปา-หุ-เนย-โย

    b898e0b983e0b89de0b988e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8abe0b8a1e0b8b1e0b988e0b899e0b884e0b8a7e0b8a3-5.jpg

    3. อักษรใดเป็นตัวนำแต่มีเครื่องหมายพินทุ ( ฺ ) อยู่ข้างใต้ด้วย ให้อ่านออกเสียง “อะ” ของอักษรนั้นเพียงครึ่งเสียงควบไปกับอักษรตัวตาม เช่น
    สฺวากฺขาโต อ่านว่า สะหวาก-ขา-โต
    ตสฺมา อ่านว่า ตะ-สมา
    กตฺวา อ่านว่า กะ – ตวา

    b898e0b983e0b89de0b988e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8abe0b8a1e0b8b1e0b988e0b899e0b884e0b8a7e0b8a3-6.jpg

    4. อักษรใดมีเครื่องหมายนฤคหิต ( ํ ) อยู่ข้างบนตัวอักษร ให้อ่านเหมือนอักษรนั้นมีไม้หันอากาศและสะกดด้วยตัว “ง” เช่น
    อรหํ อ่านว่า อะ-ระ-หัง
    สงฺฆํ อ่านว่า สัง-ฆัง
    ธมฺมํ อ่านว่า ธัม-มัง
    สรณํ อ่านว่า สะ-ระ-นัง
    อญฺญํ อ่านว่า อัญ-ญัง
    แต่ถ้าตัวอักษรนั้นมีทั้งเครื่องหมาย ( ํ ) อยู่ข้างบนและมีสระอื่นกำกับอยู่ด้วย ก็ให้อ่านออกเสียงตามสระที่กำกับ + ง (ตัวสะกด) เช่น
    พาหุํํํํ ํ อ่านว่า พา-หุง
    วิสุํ อ่านว่า วิ-สุง
    เสตุํ อ่านว่า เส-ตุง

    b898e0b983e0b89de0b988e0b898e0b8a3e0b8a3e0b8a1e0b8abe0b8a1e0b8b1e0b988e0b899e0b884e0b8a7e0b8a3-7.jpg

    จริงอยู่ว่าทุกวันนี้ หนังสือสวดมนต์ หรือบทสวดมนต์ตามวัดมักถอดคำอ่านออกเสียงแบบเด่นชัด แต่การรู้หลักการอ่านที่ถูกต้องก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น เพราะไม่แน่เราอาจจะไปเจอบทสวดที่ยังไม่ได้รับการถอดคำ ถึงตอนนั้นจะได้ไม่นก หรือเป็นไก่ได้พลอยยังไงละ
    ท้ายนี้หากมีใครสงสัยว่า ทำไมเราต้องสวดมนต์เป็นภาษาบาลีด้วย? พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ได้เคยฝากคำตอบไว้กับ Secret ว่า
    “ที่เราต้องสวดมนต์เป็นภาษาบาลี ก็เพราะมนต์นั้นคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งทรงสั่งสอนด้วยภาษาบาลี เมื่อเรานำเอามนต์ซึ่งจำไว้ด้วยภาษาบาลีนั้นมาสวด ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่เราจะต้องสวดเป็นภาษาบาลีตามรูปแบบเดิม เหมือนเรานำเอาภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทยกับคนไทย เราก็ยังคงต้องพูดภาษาอังกฤษเหมือนกับภาษาแม่ทุกประการ”


    ข้อมูลจาก : dhamma4today

    ที่มา : goodlifeupdate


    ขอขอบคุณที่มา
    http://variety.teenee.com/saladharm/77967.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...