ฐานะของผู้ถือทิฏฐิ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 23 พฤศจิกายน 2012.

  1. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๓๘/๓๘๓

    ฐานะของผู้ถือทิฏฐิ
    [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด
    มีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ ข้อนั้นเป็นความเข้าใจ
    ของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหา
    เท่านั้น.
    [๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
    ไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
    แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็นเป็นความแส่หา
    เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.
    [๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้
    ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ แม้ข้อนั้นเป็นความเข้าใจของ
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรน ของคนมี
    ตัณหาเหมือนกัน.
    [๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว เมื่อถูกถาม
    ปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการ แม้ข้อนั้นก็เป็นความ
    เข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรน
    ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.
    [๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ
    ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของ
    สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรน ของคนมี
    ตัณหาเหมือนกัน.
    [๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็น
    ตามขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๑๘ ประการ
    แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา
    เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.
    [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ แม้ข้อนั้น
    ก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความ
    ดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.
    [๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    ไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ
    แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา
    เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.
    [๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่
    ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญ
    เหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.
    [๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า ขาดสูญ ย่อมบัญญัติความ
    ขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ แม้ข้อนั้น
    ก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา เป็นความ
    ดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.
    [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน ย่อม
    บัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ
    แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา
    เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.
    [๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็น
    ตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔ ประการ
    แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา
    เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหาเหมือนกัน.
    [๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์
    ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีต
    ทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ
    ๖๒ ประการ แม้ข้อนั้นก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็น
    ความแส่หา เป็นความดิ้นรน ของคนมีตัณหา เหมือนกัน.
    [๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิ
    ว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ ข้อนั้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
    [๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
    ไม่เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
    แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
    [๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้
    มิได้ บัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะ
    เป็นปัจจัย.
    [๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิดิ้นได้ ไม่ตายตัว เมื่อถูกถามปัญหา
    ในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๕ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะ
    เป็นปัจจัย.
    [๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ
    บัญญัติอัตตาและโลกว่าเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
    [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีต มีความเห็นตาม
    ขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๑๘ ประการ
    แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
    [๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการ
    ตายมีสัญญา บัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ แม้ข้อนั้น
    ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
    [๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    ไม่มีสัญญา บัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ แม้ข้อนั้น
    ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
    [๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ บัญญัติว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
    สัญญาก็ไม่ใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ แม้ข้อนั้นก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
    [๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า ขาดสูญ บัญญัติความขาดสูญ
    ความพินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะ
    เป็นปัจจัย.
    [๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน บัญญัติว่า
    นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ แม้ข้อนั้นก็เพราะ
    ผัสสะเป็นปัจจัย.
    [๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็น
    ตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔
    ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
    [๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์
    ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีต
    ทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ
    ๖๒ ประการ แม้ข้อนั้น ก็เพราะผัสสะเป็นปัจจัย.
    [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิ
    ว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว
    จะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีมิได้.
    [๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่าง
    ไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ
    เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
    [๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้
    ย่อมบัญญัติว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุ ๔ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว
    จะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
    [๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิดิ้นได้ ไม่ตายตัว เมื่อถูกถาม
    ปัญหาในข้อนั้นๆ ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ ๔ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะ
    แล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
    [๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ
    ย่อมบัญญัติว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ด้วยเหตุ ๒ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว
    จะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
    [๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีตมีความเห็นตาม
    ขันธ์ส่วนอดีต ปรารภขันธ์ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๑๘ ประการ
    เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
    [๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ ๑๖ ประการ เขาเหล่านั้น
    เว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
    [๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    ไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ
    เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
    [๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย
    มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่
    ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ ๘ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะ
    ที่จะมีได้.
    [๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า ขาดสูญ ย่อมบัญญัติความ
    ขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ เขาเหล่านั้น
    เว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
    [๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน ย่อม
    บัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ เขาเหล่านั้น
    เว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
    [๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอนาคต มีความเห็น
    ตามขันธ์ส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ ๔๔
    ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานที่จะมีได้.
    [๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์
    ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีต
    ทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ
    ๖๒ ประการ เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้วจะรู้สึกได้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
    [๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิ
    ว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการพวกที่มีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง
    บางอย่างไม่เที่ยง ... พวกที่มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ... พวกที่มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว ...
    พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ... พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต ... พวกที่มีทิฏฐิว่า
    อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ... พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มี
    สัญญา ... พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ...
    พวกที่มีทิฏฐิว่าขาดสูญ ... พวกที่มีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบัน ... พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต ...
    พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วน
    อนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วน
    อนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๖๒ ประการ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก
    ถูกต้องๆ แล้วด้วยผัสสายตนะทั้ง ๖ ย่อมเสวยเวทนา เพราะเวทนาของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
    เป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ
    โทมนัส อุปายาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ
    คุณและโทษ แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น
    เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือ
    พราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์
    ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์
    ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
    ถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้แหละเป็นดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้
    ติดอยู่ในข่ายนี้ถูกข่ายปกคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ เปรียบเหมือนชาวประมงหรือลูกมือ
    ชาวประมงผู้ฉลาด ใช้แหตาถี่ทอดลงยังหนองน้ำอันเล็ก เขาคิดอย่างนี้ว่า บรรดาสัตว์ตัวใหญ่ๆ
    ในหนองนี้ทั้งหมด ถูกแหครอบไว้ อยู่ในแห เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ติดอยู่ในแห ถูกแหครอบไว้
    เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย. สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้น
    ที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
    ก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
    กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้แหละเป็น
    ดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายปกคลุมไว้
    เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดา
    และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว
    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต เปรียบเหมือนพวงมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้ว
    ผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ
    ขาดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตได้ก็ชั่วเวลา
    ที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต.
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
    น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ว่า อรรถชาละก็ได้
    ว่าธรรมชาละก็ได้ ว่าพรหมชาละก็ได้ ว่าทิฏฐิชาละก็ได้ ว่าพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมก็ได้.
    ครั้นพระผู้มีพระภาค ตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น มีใจชื่นชม
    เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่
    หมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหวแล้วแล.
    จบพรหมชาลสูตรที่ ๑.
     

แชร์หน้านี้