ตามรอยพระศาสดานั้นรู้ทันธรรมกาย (ตาสว่าง)

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย คมสันต์usa, 23 กรกฎาคม 2013.

  1. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    เครดิต จาก เฟสต์บุคเพื่อนธรรมพระไตรปิฎก พร้อมหัวข้อธรรม
    พระลิขิตสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช
    สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ได้มีพระลิขิตเกี่ยวกับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ดังต่อไปนี้ ฉบับที่ ๑ "ความบิดเบือนพระพุทธธรรมคำสอน โดยกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำให้สงฆ์ที่หลงเชื่อคำบิดเบือน แตกแยกออกไปกลายเป็นสอง มีความเข้าใจความเชื่อถือพระพุทธศาสนาตรงกันข้ามเป็นการทำลายพระพุทธศาสนา ทำสงฆ์ให้แตกแยกเป็นอนันตริยกรรม มีโทษทั้งปัจจุบันและอนาคตที่หนัก ส่วนที่มิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการกระทำที่ถูกต้อง คือ ต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดทันที
    หลังจากที่สมเด็จพระสังฆราช ได้มีพระลิขิต

    ฉบับที่ ๑ ออกมาแล้วนั้น อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายก็ยังมิได้คืนทรัพย์ทั้งหมดแก่วัด สมเด็จพระสังฆราชจึงมีพระลิขิตฉบับอื่นๆ ตามมาดังต่อไปนี้

    ฉบับที่ ๒ การไม่ยอมคืนสมบัติให้วัด ในขั้นต้นอาจมิใช่มีเจตนาถือเอาเป็นของตน แต่เมื่อถึงอย่างไร ก็ยังไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดก็แสดงชัดแจ้งว่าต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะ โดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอมเป็นพระ ด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสีย ให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา

    ฉบับที่ ๓ การโกงสมบัติผู้อื่นตั้งแต่ 5 มาสกขึ้นไปคือประมาณไม่ถึง 300 บาทในปัจจุบัน ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาราชิกฐานผิดพระธรรมวินัยพ้นจากความเป็นพระทันที ในกรณีนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้รู้เห็นหรือไม่ ไม่ว่าจะมีการสั่งให้สึก ไม่ว่าจะมีการจับสึกหรือไม่ก็ตาม ภิกษุผู้ละเมิดพระธรรมวินัยข้อนี้ต้องอาบัติปาราชิก พ้นจากความเป็นพระโดยอัตโนมัติ ที่ประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรก็เพื่อเตือนให้รู้ทั่วกันว่า ผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้นไม่ใช่พระในพุทธศาสนา เป็นเพียงผู้นำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง เป็นพระปลอม ต่อจากนั้นย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้รักษากฎหมาย หรือของผู้มีหน้าที่ในการพุทธศาสนา จะต้องรักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้มีพระปลอมมาทำลาย ทำให้เสื่อมเสีย เช่นที่ผู้รักษากฎหมายเคยทำมาแล้ว เคยบังคับให้เป็นผู้ปลอมเป็นพระ ถอดผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากตัว การปฏิบัติต่อพระปลอมต้องไม่มีแตกต่างกัน ต้องไม่มียกเว้นว่า คนนั้นปลอมได้คนนี้ปลอมไม่ได้ เป็นพระปลอมมีอยู่ในพุทธศาสนาไม่ได้ทั้งนั้น ประกาศนั้นเป็นคำบอกเล่าเป็นคำเตือนให้รู้ เป็นเรื่องส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับมหาเถรฯไม่บังคับให้เชื่อ ไม่บังคับใครให้ทำอะไร แสดงความถูกผิดให้ปรากฏอยู่เท่านั้น ในฐานะที่เป็นประมุขแห่งสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงต้องทำหน้าที่ส่วนตนให้เรียบร้อยถูกต้อง บอกความจริงด้วยความหวังดีมิได้บังคับ จงเข้าใจทั่วกัน

    ฉบับที่ ๔ ในกรณีเกี่ยวกับเรื่องวัดพระธรรมกาย เราได้ทำหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราชสมบูรณ์ตามอำนาจแล้ว จึงไม่มีอะไรจะพูดอีกขณะนี้ ขออนุโมทนาทุกท่านที่สนใจห่วงใยพระพุทธศาสนา แสดงความเป็นคนดี ด้วยมีกตัญญูกตเวทิตาธรรม

    ฉบับที่ ๕ ได้แจ้งให้เป็นที่เข้าชัดเจนดีทั่วกันแล้วก่อนหน้านี้ ว่าในตำแหน่งผู้เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายก ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เพื่อเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนาให้พ้นถูกทำลาย สมบูรณ์ดีที่สุดแล้วตามอำนาจ ท่านกรรมการมหาเถรสมาคมทั้งหลายจะทำอะไรต่อไปตามความต้องการ จะไม่มานั่งฟัง รับรู้ในที่ประชุมวันนี้ ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2013
  2. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733
    วันสถาปนาโรงเรียนที่จะถึงนี้
    จะมีการทำบุญตักบาตรตามรูปแบบของวัดพระธรรมกายค่ะ
    ท่านผู้บริหารท่านให้วางแผนงานว่าจะทำอย่างไร
    ก็คิดว่าอะไรที่ดี แล้วนำมาใช้ไม่น่าเสียหายนะคะ
     
  3. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    ข้อความเครดิตจากคุณ Ohmy บุดด้าห์

    กำลังอยู่ระหว่างการรณรงค์ มหาเถรสมาคม :
    คัดค้านแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นนอมินีวัดพระธรรมกาย

    Ohmy บุดด้าห์
    แคมเปญรณรงค์โดย
    Ohmy บุดด้าห์
    จดหมายเปิดผนึก ถึง มส.

    เรื่อง คัดค้านภิกษุผู้ฝักใฝ่และสนับสนุนลัทธิสัทธรรมปฏิรูป ขึ้นดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ พระสังฆราช
    นมัสการ พระเดชพระคุณ พระคุณเจ้า ผู้เคารพยำเกรงต่อพระธัมมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในมหาเถรสมาคม ทุกรูป

    เนื่องด้วยหลายสิบปีที่ผ่านมา ได้มีสำนักและมูลนิธิที่ก่อตั้งขึ้นในนามของวัดเพื่อสั่งสอนสาวกให้ปฏิบัติทางจิตภาวนาในแนวทางมิจฉาสมาธิ นอกพระธัมมวินัย และมีการพัฒนาขยายฐานทุน ที่ดิน และมวลชนจนกลายเป็นสำนักลัทธิสัทธรรมปฏิรูปสำนักใหญ่ และมีสาขาไปทั่วโลก ดังที่ชาวบ้านเรียกลัทธิสัทธรรมปฏิรูปกันเป็นภาษาปากว่าลัทธิ "ธรรมกลาย" ขึ้นมา เป็นที่ทราบกันในสังคมทั่วไปแล้วนั้น

    แนวคิดและการปฏิบัติในลัทธิธรรมกลายนั้น เป็นการนำความเชื่อที่คิดค้นขึ้นมาใหม่มาแทรกและปลอมปนกับคำสอนทางพุทธศาสนาเดิมและเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ตลอดจนบิดเบือนทำลายพระธัมมวินัยอันบริสุทธิ์บริบูรณ์ให้ผิดเพี้ยนไป ก่อเกิดเป็นวิกฤติภัยภายในพระพุทธศาสนา รุนแรงจนเป็นข่าวครึกโครมและมีคดีความเกิดขึ้นมากมายกว่า 50 คดี แต่แล้วก็มีการล็อบบี้ทางการเมืองเพื่อให้อัยการถอนคดีออกมา และตัดตอนหรือล้มกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ทำให้ศาลไม่ได้พิจารณาตัดสินคดีความจากข้อเท็จจริงใดๆ เลย แต่ใช้เทคนิคทางกฎหมายให้อัยการถอนคดีออกมาเสีย สังคมจึงยังไม่มีโอกาสรับรู้ข้อมูลความเลวร้ายที่เกิดขึ้นแล้วเป็นคดีความต่างๆ มากมายถึงกว่า 50 คดี

    แต่แม้คดีความทางโลกจะถูกตัดตอนล้มไปด้วยเทคนิคทางกฎหมายก็ตาม แต่อธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในคดีทางสงฆ์ กลับถูกบิดเบือนหรือเพิกเฉยเพื่อให้เงียบและเลือนหายไปจากความสนใจของคนในสังคม โดยที่ยังไม่มีการสอบสวนข้อเท็จจริงใดๆ ให้ปรากฎ อันนับว่าเป็นบาปอกุศลอันหนักอีกประการหนึ่ง
    ที่ผู้รับหน้าที่แทนสงฆ์ได้ปล่อยปละละเลยมายาวนาน มิได้ระงับอธิกรณ์หรือคดีความทางสงฆ์ให้ถูกต้องตามหลักพระธัมมวินัยสักที

    เพื่อป้องกันภัยมาถึงตัว สำนักลัทธิธรรมกลาย จึงใช้ยุทธศาสตร์ประจบประแจงและให้ผลประโยชน์ทั้งเงินทอง ชื่อเสียง บริวาร มากมายมาปนเปรอเอาใจพระภิกษุในสายปกครองที่มีอำนาจหน้าที่ให้คุณให้โทษได้นั้น ไม่ให้มีการสอบสวนและจัดการอธิกรณ์ในคดีทางสงฆ์ที่เกิดขึ้น ปรนเปรอกันหนักจนถึงขั้นเกิดเป็นเทศกาล "เรียกพระไปรับเงินประจำปี" ปีละหลายครั้ง มาตลอดหลายปี เพื่อก่อให้เกิดความเกรงใจยอมโอนอ่อนผ่อนตาม ตลอดจนได้มาเป็นแนวร่วมสนับสนุนการขยายอาณาจักรของลัทธิธรรมกลายนี้ออกไปเรื่อยๆ โดยทางลัทธิธรรมกลายก็จะใช้เครือข่ายผลประโยชน์ของตนส่งเสริมสนับสนุนให้พระภิกษุที่เห็นแก่ลาภสักการะเหล่านี้ได้ก้าวหน้าในยศฐาบรรดาศักดิ์ในทางปกครองมากขึ้นๆ จนบัดนี้ ภิกษุที่มีผลประโยชน์แลกเปลี่ยนและมีความเกี่ยวข้องกับลัทธิธรรมกลายอย่างแนบชิด ได้ขึ้นมาสู่ตำแหน่งสูงสุดทางการบริหารปกครองคณะสงฆ์แล้ว คือ ได้ดำรงสมณศักดิ์ขั้นสมเด็จฯ และเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม

    ชาวพุทธผู้มีพระพุทธศาสนาเป็นที่รัก จึงกราบขอโอกาส ขอความเมตตาจากพระมหาเถระในมหาเถรสมาคม ที่ยังเคารพยำเกรงในพระธัมมวินัยแท้จริง ได้โปรดสืบสวนดูว่า ภิกษุรูปใดในมหาเถรสมาคมมีพฤติกรรมรับและต่างตอบแทนผลประโยชน์กับลัทธิสัทธรรมปฏิรูปดังกล่าวนี้ มีพฤติกรรมเคยให้การสนับสนุนลัทธิมิจฉาทิฏฐินั้นในการเพียรพยายามที่จะบิดเบือนทำลายพระธัมมวินัยให้วิปริตผิดเพี้ยนมาในแนวทางลัทธิของตน ละเลยไม่สอบสวนและระงับอธิกรณ์ที่ยังคั่งค้างไว้ให้ถูกต้องตามพระธัมมวินัย หากภิกษุรูปนั้นจักมีความสำนึกในความไม่เหมาะสมแสดงตนเองให้ปรากฎออกมาเองก็จะเป็นการดี แต่หากไม่มีความสำนึกแสดงตนออกมา ก็สมควรที่จะได้มีการสอบทานพระธัมมวินัยชำระมิจฉาทิฏฐิให้ออกไปเสียจากมหาเถรสมาคม ในการพิสูจน์ว่าภิกษุรูปใดเป็นมิจฉาทิฏฐิ จึงขอให้สอบสวนในชั้นเบื้องต้นนี้ก่อนว่า

    ๑) มีภิกษุรูปใดที่เชื่อเรื่อง "ต้นธาตุต้นธรรม" ที่มีสภาวะเสมือนเป็นพระเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่ง ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่เคยมีอยู่ในพุทธศาสนา มีความเชื่อเรื่อง "อายตนนิพพาน" ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติใหม่และนิยามความหมายใหม่ว่าเป็นประดุสถานที่ ที่มีพระพุทธเจ้าอยู่เป็นจำนวนมากมายมหาศาล ส่งผลให้ลดทอนความสำคัญของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวพุทธเคารพสูงสุดลำดับที่หนึ่ง ให้เหลือความสำคัญเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งในล้านๆ เป็นต้น
    ๒) ภิกษุรูปใด ได้เคยปฏิบัติกรรมฐานแนวมิจฉาสมาธิที่จิตดิ่งไปที่ศูนย์กลางกายจนสติหาย ทำให้ถูกครอบงำให้เห็นนิมิตรและการดลใจต่างๆ ได้ง่ายดาย ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติเป็นเสมือนถูกสะกดจิตหรือถูกครอบงำให้คนหลงและละโมบมากขึ้น ทั้งในเรื่องความร่ำรวยและเรื่องสวรรค์วิมาน เครื่องประดับบนวิมาน ผู้ปฏิบัติแนวนี้แม้จะเป็นพระภิกษุก็ตามจึงมักชอบวัตถุเงินทองความร่ำรวย มีการสั่งสมวัตถุอนามาสมีเงินและทองเป็นต้นเป็นจำนวนมาก หาได้มีการลดละกิเลสให้เบาบาง มีวิถีชีวิตแบบสมณะที่สงบเรียบง่ายตามพระธัมมวินัยไม่
    ๓) ภิกษุรูปใดเคยสนับสนุนให้ลัทธิสัทธรรมปฏิรูปได้ประกอบพิธีกรรมที่ปรับให้บิดเบือนไปจากแก่นแท้ แต่มุ่งดูดทรัพย์หาสาวกอย่างธุรกิจทุนนิยมสามานย์ ฯลฯ อย่างเช่น การบิดเบือนความหมายของธุดงค์ว่าเป็นการเดินกลางเมืองบนดอกไม้ที่ตั้งชื่อกระตุ้นความโลภว่า "ดาวรวย" เป็นต้น

    และเมื่อทางมหาเถรสมาคม ยังไม่สามารถสอบสวนความเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิฝักใฝ่ในลัทธิสัทธรรมปฏิรูปดังกล่าวนี้ได้แน่ชัด ก็ขอให้อย่างน้อยได้ตรวจสอบประวัติว่า พระภิกษุรูปใดได้เคยรับเงินทองหรือผลประโยชน์จากลัทธิธรรมกลายมาก่อน ได้เป็นผู้ต้องสงสัยไว้ก่อน เพื่อจะพิจารณาไม่ให้ภิกษุรูปนั้นดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่าพระสังฆราช

    เมื่อเหตุ คือการได้รับคำสอนและความเชื่อที่ผิดเพี้ยน เมื่อปฏิบัติก็เป็นมิจฉาปฏิบัติ จึงก่อเกิดผลเป็นความหลงผิดคิดไปว่าตนและสาวกบรรลุธรรมขั้นสูง หลงเข้าใจไปว่าการรู้เห็นนิมิตและเรื่องราวนอกพระธัมมวินัยมากมายนั้นเป็นความวิเศษสูงส่ง ลาภสักการะที่ดูดทรัพย์มาได้มากก็ยิ่งทำให้หลงมัวเมามากขึ้นไปอีก แต่หาได้พิจารณาไม่ว่า การปฏิบัติของตนนั้นได้ทำให้กิเลสมีความละโมบและความหลงเป็นต้น ลดลงได้หรือไม่ แต่ซ้ำร้ายยังมีความละโมบโลภมากเพิ่มขึ้นไปอีกไม่สิ้นสุด นอกจากนี้เขายังได้ใช้เล่ห์วางอุบายชวนเชื่อในหมู่สาวกให้หลงเข้าใจว่าเป็นอุดมการณ์ที่ทำเพื่อพุทธศาสนา จึงได้มีความพยายามมากมายในการเผยแพร่คำสอนในลัทธิของตนปะปน แทรกปลอมปนกับคำสอนทางพุทธศาสนามากเท่าทวีคูณ

    หากพระภิกษุผู้ทรงสมณศักดิ์ในมหาเถรสมาคมรูปนั้นไม่ได้เป็นอลัชชีแล้วไซร้ ย่อมจะต้องเกิดความละอายได้เอง แล้วสมควรจะพิจารณาตนเองลาออกเสียจาก กรรมการ มส. แต่หากไม่ลาออกแล้วไซร้ ซ้ำร้ายยังเตรียมพร้อมรับตำแหน่งเทียบเท่า พระสังฆราช โดยหาได้เกรงใจต่อพระธัมมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ ก็จะส่งผลร้ายต่อพระพุทธศาสนาอย่างรุนแรง ให้เหลือเพียงเปลือกนอกที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ทางวัตถุเงินทองที่ต่างตอบแทนกัน แต่แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาตามพระธัมมวินัยได้ถูกบิดเบือนทำลายให้กร่อนผิดเพี้ยนและเลือนหายจนอันตรธานไปในที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องเลวร้ายที่ชาวพุทธผู้มีพุทธศาสนาเป็นที่รักมีสัมมาทิฏฐิรักษาพระธัมมวินัย มิอาจยอมรับได้ จึงขอคัดค้านภิกษุรูปที่รับและต่างตอบแทนผลประโยชน์กับลัทธิธรรมกลายนั้น มิให้ขึ้นสู่การดำรงตำแหน่ง หรือปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่าในตำแหน่ง "พระสังฆราช" เผยแพร่เป็นจดหมายเปิดผนึกสู่สาธารณะมา ณ โอกาสนี้

    จึงกราบขอโอกาสนมัสการมาเพื่อได้โปรดพิจารณามิให้ภิกษุรูปดังกล่าว ได้ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่าพระสังฆราชต่อไป


    นมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูง
    ชาวพุทธผู้รักพระพุทธศาสนามุ่งรักษาพระธัมมวินัย

    ถึง:
    มหาเถรสมาคม :
    คัดค้านแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นนอมินีวัดพระธรรมกาย
    ด้วยความเคารพ
    [ชื่อคุณ]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2013
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    หัวข้อสำรวจตนเอง
    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว



    เป็นเพียง หัวข้อ เบื้องต้น และ เบื้องกลาง คือ คือมหาสติปัฏฐาน 4 ตามแนววิชชาธรรมกายเท่านั้น
    ยังมีข้อมูลสำรวจอีกมาก จะแจกแก่ผู้ไปต่อวิชชาขั้นสูงกับ พระราชพรหมเถระ ( วีระ คณุตตโม ) ผู้สืบทอดวิชชาธรรมกายตรงจากหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ ) และ
    เป็น อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ฯ หรือ ต่อวิชชาฯกับท่านเจ้าอาวาส วัดหลวงพ่อสดฯ ราชบุรี
    หรือ โครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ(ภูเขาทอง) โดยตรง


    เบื้องต้น

    1. ปั่จจุบันนี้ ท่านเห็นธรรมกายใสและชัดเจนเพียงใด?
    ( ) ใสชัดดีมาก ( ) ใสชัดพอประมาณ
    ( ) ใสชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ( ) ไม่ชัดเลย

    2. เคยได้รับการต่อ 18 กาย เมื่อใด

    ( ) วันที่........................ ( ) ไม่เคย

    3. เคยรับการฝึกพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวี แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วทำตามทันได้หมด ( ) เคยแล้ว แต่ทำตามไม่คล่อง

    ( ) ยังไม่เคย หรือเคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    4. เคยฝึก พิสดารกายสุดหยาบสุดละเอียด เป็น เถา ชุด ชั้น
    ตอน ภาค พืด แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้ว ทำตามได้หมด ( ) เคยแล้ว ทำตามได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    5. เคยฝึกพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา

    เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เป็นณ ภายในและภายนอกโดยส่วนรวม โดยน้อมเข้าสู่ " อตีตังสญาณ" ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นในอดีต และ น้อมเข้าสู่ อนาคตังสญาณ ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นไปจนถึงวันตาย เพื่อให้เห็น " อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา "
    และเป็น มรณัสสติ เครื่องเตือนใจหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามทันหมด ( ) เคยแล้วเห็นตามทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ยังตามไม่ทัน


    7. เคยฝึกพิจารณาเห็นธรรมในธรรมต่อไปนี้หรือไม่ ( กาตรงที่เคย)


    ( ) ขันธ์ 5 ( ) อายตนะ 12 ( ) ธาตุ 18 ( ) อินทรีย์ 22

    ( ) อริยสัจจ์ 4 ( ) ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12


    8. เคยฝึก " เจริญฌาณสมาบัติพิจารณาอริยสัจจ์ 4 " แล้วหรือยัง?
    ( ) เคยแล้ว ทำตามทันหมด ( ) เคยแล้วทำตามทันบ้างไม่ทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ทำไม่ได้


    9. ท่านทราบพระประสงค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ให้เจริญภาวนา อบรมมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วหรือยัง ?

    ( ) ทราบ คือ.......................................................

    ( ) พอทราบ คือ.....................................................

    ( ) ไม่ทราบ





    ************จบการสำรวจเบื้องต้น*******
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    เบื้องกลาง



    1 . เคยฝึก เห็นจิตในจิต ( ว่ามีสมาธิหรือไม่มี ) และ
    เห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ 5 แล้วเจริญ
    ภาวนาสมาธิเพื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ วิตก วิจาร ปิติ
    สุข และ เอกกัคคตารมณ์ เพื่อกำจัดนิวรณ์อันเป็นเบื้องต้น
    ของรูปฌาณ หรือยัง?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้หมด
    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคยหรือเคยแต่ยังตามไม่ทัน

    2. เคยฝึกพิจารณาเห็น " ธาตุ " ละเอียดทั้ง 6
    และ " ธรรม " ( กลาง ขาว ดำ ) และ ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด
    ดวง รู้

    และฝึกพิจารณาเห็นกิเลส ( ธรรมภาคขาว และภาคดำ )

    ที่เข้ามาผสมให้สีน้ำเลี้ยงของจิตขุ่นมัวอย่างไรหรือยัง?

    3. เคยฝึกพิจารณา เห็นกายในกาย ในส่วนที่เป็น กายคตาสติ

    เพื่อพิจารณาเห็นส่วนต่างๆของรางกาย (ธาตุหยาบ) ทั้ง ณ ภายใน (ของตนเอง) และภายนอก(คนอื่น) ให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริงว่าเป็นสิ่งที่ไม่งาม ( อสุภะกรรมฐาน ) หรือยัง?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้หมด
    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้บ้างไม่ได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ยังตามไม่ทัน


    4. เคยฝึกพิจารณา เห็นจิตในจิต เป็นทั้ง ณ ภายในและภายนอก กล่าวคือ พิจารณาเห็น " อนุสัยกิเลส" ( ปฏิฆานุสัย ) ในเห็น จำ คิด รู้ ของแต่ละกายโลกียะ
    แล้วพิสดารกายสุดหยาบสุดละเอียด เพื่อดับ(อนุสัยกิเลส) สมุทัยแล้วหรือยัง?
    ( ) เคยแล้วเห็นตามได้หมด
    ( ) เคยแล้วเห็น ตามได้บ้างไม่ได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือเคยแต่ยังตามไม่ทัน


    5. เคยฝึก ตรวจดูภพ ตรวจจักรวาล ( ดูอรูปพรหม รูปพรหม
    เทพยดา และเปรต สัตว์นรก อสุรกาย ถึงสัตว์ในโลกันตร์ ) เพื่อพิจารณาเห็น ................................ ความปรุงแต่งของสังขารชื่อว่า ปุญญาภิสังขาร - อปุญญาภิสังขาร และ อเนญชาภิสังขาร...............

    ของสัตว์โลกทั้งหลายที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ทั้งหลาย

    แ ล้วพิจารณาเข้าสู่ " ไตรลักษณ์ " คือพิจารณาให้เห็นสภาวะของสังขารขันธ์ทั้งหลายในภพสามนี้ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างไร

    หรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วแต่เห็นตามไม่หมด
    ( ) เคยแล้วแต่เห็นตามทันบ้างไม่ทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคยหรือเคยแต่ยังตามไม่ทัน


    ฯล ฯ


    ข้อมูลสำรวจตน ฯ มากกว่านี้จะแจกเพื่อสำรวจสำหรับผู้ไปต่อวิชชาฯ

    ซึ่งยังไม่อาจเปิดเผยมากกว่านี้

    นำมาเปิดเผยบางส่วน เพื่อให้ทราบว่า การเจริญธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย มีเนื้อหาที่เป็นทั้งสมถ-วิปัสสนา
    ..................................เจริญธรรมทุกท่าน..............................
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    จากคำบอกเล่าของหลวงพ่อฤษีฯ พระราชพรหมญาณ วัดท่าซุง




    ..........อาตมาเองก็เป็นคนงมงายมาก่อน ในกาลก่อนใครพูดเรื่องนิพพานไม่เชื่อ นิพพานมีสภาพสูญ เขาว่าอย่างนั้น ต่อมา หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเป็นอาจารย์ ท่านเห็นว่า เรามีสันดานชั่วละมั้ง ก็ส่งให้ไปหา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ไปเรียนกับหลวงพ่อสดประมาณ ๑ เดือน ก็ทำได้ตามสมควร เรียกว่าพื้นฐานมีอยู่แล้ว ต่อมาวันหนึ่งประมาณ เวลา ๖ ทุ่มเศษ หลังจากทำวัตร สวดมนต์ เจริญกรรมฐานกันแล้ว หลวงพ่อสดท่านก็คุยชวนคุย คนอื่นเขากลับหมด ก็อยู่ด้วยกันประมาณ ๑๐ องค์ วันนั้น ท่านก็บอกว่าฉันมีอะไรจะเล่าให้พวกคุณฟัง คือ พระที่ไปถึงนิพพานแล้ว มีรูปร่างเหมือนแก้วหมด ตัวเป็นแก้ว เราก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปมากแล้ว นิพพานเขาบอกว่ามีสภาพสูญ แล้วทำไมจะมีตัวมีตน

    แล้วท่านก็ยังคุยต่อไปว่า นิพพานนี้เป็นเมือง แต่ว่าเป็นทิพย์พิเศษ เป็นทิพย์ที่ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก มีพระอรหันต์มากมาย คนที่ไปนิพพานได้ เขาเรียกว่า พระอรหันต์ จะตายเมื่อเป็นฆราวาสจะตายเมื่อเป็นพระก็ตาม ต้องถึงอรหันต์ก่อน เมื่อถึงอรหันต์ก่อนแล้วก็ตาย ตายแล้วก็ไปอยู่ที่นั่น ร่างกายเป็นแก้วหมด เมืองเป็นแก้ว สถานที่อยู่แพรวพราวเป็นระยับ อาตมาก็นึกในใจว่าหลวงพ่อนี่ไปเยอะ ตอนก่อนก็ดี สอนดี มาตอนนี้ชักจะไปมากเสียแล้ว

    แต่ก็ไม่ค้าน ฟังแล้วก็ยิ้ม ๆ ท่านก็คุยต่อไปว่า เมื่อคืนนั้น ขี่ม้าแก้วไปเมืองนิพพาน (เอาเข้าแล้ว) แล้วต่อมาคุยไปคุยมาท่านก็บอกว่า (ท่านคงจะทราบ ท่านไม่โง่เท่าเด็ก เพราะพระขนาดรู้นิพพานไปแล้ว อย่างอื่นก็ต้องรู้หมด แต่ความจริงคำว่า รู้หมด ในที่นี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท ไม่ใช่รู้เท่าพระพุทธเจ้า แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่ควรจะรู้ ก็สามารถรู้หมด)

    ท่านก็เลยบอกว่า เธอดูดาวงดวงนี้นะ ดาวดวงนี้สุกสว่างมาก ประเดี๋ยวฉันจะทำให้ดาวดวงนี้ริบหรี่ลง จะค่อย ๆ หรี่ลงจนกระทั่งไม่เห็นแสงดาว ท่านชี้ให้ดู แล้วก็มองต่อไป ตอนนี้เริ่มหรี่ ละ ๆ แสงดาวก็หรี่ไปตามเสียงของท่าน ในที่สุด หรี่ที่สุด ไม่เห็นแสงดาว ท่านถามว่า เวลานี้ทุกคนเห็นแสงดาวไหม ก็กราบเรียนท่านว่า ไม่เห็นแสงขอรับ ท่านบอกว่า ต่อนี้ไป ดาวจะเริ่มค่อย ๆ สว่าง ขึ้นทีละน้อย ๆ จนกระทั่งถึงที่สุด แล้วก็เป็นไปตามนั้น

    พอท่านทำถึงตอนนี้ก็เกิดความเข้าใจว่า ความดีหรือวิชาความรู้ที่เรามีอยู่ มันไม่ได้ ๑ ในล้านที่ท่านมีแล้ว ฉะนั้นคำว่านิพพานจะต้องมีแน่ ท่านมีความสามารถอย่างนี้เกินที่เราจะพึงคิด ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ที่ศึกษามาในด้านกรรมฐานก็ดีหรือที่คุยกันมาก็ดี นี่ท่านรู้จริง ท่านก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพาน คำว่านิพพานสูญท่านไม่ยอมพูด ไปถามท่านเข้าว่านิพพานสูญรึ ท่านนิ่ง ในที่สุดก็ไปถาม ๒ องค์ คือ หลวงพ่อปาน กับหลวงพ่อโหน่ง ถามว่านิพพานสูญรึ ท่านตอบว่า ถ้าคนใดสูญจากนิพพาน คนนั้นก็เรียกว่านิพพานสูญ แต่คนไหนไม่สูญจากนิพพาน คนนั้นก็เรียกนิพพานไม่สูญ ก็รวมความว่า นิพพานไม่สูญแน่
    ทีนี้ต่อมา หลวงพ่อสดท่านก็ยืนยันเอาจริงเอาจัง ต่อมาท่านก็สงเคราะห์คืนนั้นเอง ท่านก็สงเคราะห์บอกว่า เรื่องต้องการทราบนิพพาน เขาทำกันอย่างนี้ ท่านก็แนะนำวิธีการของท่าน รู้สึกไม่ยาก เพราะเราเรียนกันมาเดือนหนึ่งแล้ว ตามพื้นฐานต่าง ๆ ท่านบอกว่าใช้กำลังใจอย่างนี้ เวลาผ่านไปประมาณสัก ๑๐ นาที รู้สึกว่านานมากหน่อย ทุกคนก็ไม่ปฏิเสธเรื่องนิพพานมีจริง เห็นนิพพานเป็นแก้ว แพรวพราวเป็นระยับ พระที่นิพพานทั้งหมด เป็นแก้วหมด แต่ไม่ใช่แก้วปั้น เป็นแก้วเดินได้ คือแพรวพราวเหมือนแก้ว สวยงามระยับทุกอย่างที่พูดนี้ยังนึกถึงบุญคุณหลวงพ่อ สดท่านยังไม่หาย ท่านมีบุญคุณมาก

    รวมความว่า เวลานั้นเรายังเป็นคนโง่ อาจจะมีจิตทึมทึก แต่ความจริงขอพูดตามความเป็นจริงเวลานั้นจิตไม่ดำ จิตใสเป็นแก้ว แต่ความแพรวพราวของจิตไม่มีการใสเป็นแก้วนั้น เวลานั้นเป็นฌานโลกีย์ ฌานสูงสุด ใช้กำลังเฉพาะเวลานะ ฌานโลกีย์นี้เอาจริงเอาจังกันไม่ได้ จะเอาตลอดเวลานี้ไม่ได้ เพราะอยู่ต่อหน้าครูบาอาจารย์ แล้วท่านก็สั่งว่า หลังจากนี้ต่อไป ทุก ๆ องค์ จงทำอย่างนี้จิตต่อให้ถึงนิพพานทุกวัน ตามที่จะพึงทำได้ อย่างน้อยที่สุด จงพบนิพพาน ๒ ครั้ง คือ ๑. เช้ามืด และประการที่ ๒. ก่อนหลับ หลังจากนี้ไป เธอกลับไปแล้ว ทีหลังกลับมาหาฉันใหม่ ฉันจะสอบ

    เมื่อได้ลีลามาอย่างนั้นแล้วก็กลับ มาหาครูบาอาจารย์เดิม คือ หลวงพ่อปาน พอขึ้นจากเรือก็ปรากฏว่าพบหลวงพ่อปานอยู่หน้าท่า ท่านเห็นหน้าแล้วท่านก็ยิ้ม ว่าอย่างไรท่านนักปราชญ์........ทั้งหลาย เห็นนิพพานแล้วใช่ไหม ตกใจ ก็ถามว่า หลวงพ่อทราบหรือครับ บอก เออ ข้าไม่ทราบหรอก วะ เทวดาเขามาบอก บอกว่าเมื่อคืนที่แล้วมานี่ หลวงพ่อสดฝึกพวกเอ็งไปนิพพานใช่ไหม ก็กราบเรียนท่านบอกว่า ใช่ขอรับ ท่านบอกว่า นั่นแหละ เป็นของจริง ของจริงมีตามนั้น หลวงพ่อสดท่านมีความสามารถพิเศษในเรื่องนี้
    ก็ถามว่า ถ้าหลวงพ่อสอนเองจะได้ไหม ท่านก็ตอบว่า ฉันสอนเองก็ได้ แต่ปากพวกเธอมันมาก มันพูดมาก ดีไม่ดีพูดไปพูดมา งานของฉันก็มาก งานก่อสร้างก็เยอะ งานรักษาคนเป็นโรคก็เป็นประจำวัน ไม่มีเวลาว่าง ถ้าเธอไปพูดเรื่องนิพพาน ฉันสอนเข้าฉันก็ไม่มีเวลาหยุด เวลาจะรักษาคนก็จะไม่มี เวลาที่จะก่อสร้างวัดต่าง ๆ ก็ไม่มี ฉันหวังจะสงเคราะห์ในด้านนี้ จึงได้ส่งเธอไปหาหลวงพ่อสด


    ก็ถามว่า หลวงพ่อสดกับหลวงพ่อรู้จักกันดีรึ ท่านก็ตอบว่า รู้จักกันดีมาก เคยไปสอบซ้อมกรรมฐานด้วยกัน สอบกันไปสอบกันมาแล้ว ต่างคนต่างต้นเสมอกัน ก็รวมความว่ากำลังไล่เรื่อยกัน บรรดาท่านพุทธบริษัท นี่เป็นจุดหนึ่งที่อาตมาแสดงถึงความโง่กับครูบาอาจารย์์.........




    ขอขอบคุณคุณสอาด(http://konmeungbua.com/webboard/aspb....asp?GID=19058) ,เวบพระรัตนตรัย(http://praruttanatri.com/v1/special/...en/story06.htm) และทุกๆท่านที่ทำให้เราได้อ่านเรื่องดีๆในครั้งนี้ โมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 พฤศจิกายน 2013
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    เด็กที่เล่นมีดโกน แล้วผลออกมาเป็นเช่นไร ก็พิจารณาเปรียบเทียบเอาเอง

    ถ้าโชคดี ไม่มีแผลก็ไม่เป็นไร ถ้าต้องคมมีดด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะโทษใคร

    ธรรมมีความละเอียด ลาด ลุ่ม ลึก

    แต่นักปริยัติ และปฏิบัติได้บางส่วน เมื่อกล้าที่จะวิจารณ์ในส่วนที่ตนเองยังเข้าไม่ถึง
    ไม่ว่าด้วยสภาวะ หรือ ปัญญาแทงตลอด รอบรู้ โดยไม่มีกิเลสเจือปน

    ก็ต้องกล้ารับผลแห่งวิบากกรรมนั้น................


    ในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมเด็จพระสมณโคดม ท่านยังเป็นโพธิสัตว์ แค่คิดปรามาสว่า
    ธรรมเป็นของตรัสรุ้ยาก แต่ชายผู้นี้( พระปัจเจกกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง)กลับได้ธรรมนั้นอย่างง่ายดาย ไม่น่าเป็นไปได้.... ก็ยังส่งผลเป็นวิบากกรรมให้พระองค์ได้ตรัสรู้ช้า วนกับการคลำหาทางฯตั้ง 6 ปี ( นี่แค่เศษกรรม)


    .....เมื่อมั่นใจ และ เตือนแล้ว ไม่ฟัง คล้ายดั่งการใช้วิชาอักษรศาสตร์ มาพิจารณา วิชาแคลคุลัส วนกับการคิด นึก ด้วยจิตที่ยังเจือด้วยนิวรณ์ธรรมขั้นพื้นฐานอยู่มาก

    หากไม่เป็นดั่งที่ผู้วิจารณ์ด้วยอคติ กระทำกรรมด้วย กาย วาจา ใจ ไว้
    ก็ต้องกล้ารับผล ที่ตนได้ทำไว้
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ...จากโพสที่ คมสันต์ ลิ๊งค์มาโพสว่า


    "...๒) ภิกษุรูปใด ได้เคยปฏิบัติกรรมฐานแนวมิจฉาสมาธิที่จิตดิ่งไปที่ศูนย์กลางกายจนสติหาย ทำให้ถูกครอบงำให้เห็นนิมิตรและการดลใจต่างๆ ได้ง่ายดาย ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติเป็นเสมือนถูกสะกดจิตหรือถูกครอบงำให้คนหลงและละโมบมากขึ้น ..."



    .................................................................................................


    "ขอถามว่า ..ทราบได้อย่างไรว่า ดิ่งศูนย์กลางกายแล้วสติจะหาย"



    บางคนไม่ต้องตั้งที่ศุนย์กลางกายหรอกครับ สติสัมปชัญญะก็ขาดหายได้ประจำ


    ...ทีการปฏิบัติสายพม่า ที่นำมาดัดแปลงสอนในไทย ที่สอนให้อธิษฐานดับ

    แล้วช่วงที่ดับไปนั้น ไม่มีสติรู้เลย นั่นเรียกว่าอะไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 พฤศจิกายน 2013
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974



    ------------------------------------------------------------



    วิชชาธรรมกาย มีต้นกำเนิดในยุคนี้ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

    และยังมีผุ้สืบทอดสายตรง และเปิดสอนให้แก่ผุ้ปฏิบัติได้ ให้มาพิสูจน์กันด้วยตนเอง เป็นปัจจัตตัง เป็นโอปนยิโก

    ...แต่โลก ควรจะแยกแยะ ว่าใครผิดใครถูก ไม่ใช่จะกล่าววาจากล่าวหาใคร ก็กล่าวสาดไปหมด
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    การนำเอาลูกแก้วมาให้พิจารณาและเพ่งดู และแนะให้ทำตาม เป็นการสอนคนแบบสะกดจิตหรือไม่ ?

    การสะกดจิตคืออะไร ? การสะกดจิตเป็นการใช้อุบายวิธีหรือเวทย์มนต์ประกอบอำนาจจิตของผู้สะกดจิตนั้น กล่อมใจผู้ที่ถูกสะกด ให้เคลิบเคลิ้มขาดสติสัมปชัญญะ คือ ขาดความรู้สึกตัว
    แล้วตกอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้สะกดจิตนั้น เช่น ให้เคลิ้มหลับไป แล้วปฏิบัติตามอำนาจจิต หรือตามคำสั่งของผู้สะกดจิตนั้นโดยไม่รู้สึกตัว หรืออาจจะเคลิบเคลิ้มหลับไปจนไม่ถึงรู้สึกเจ็บปวดแม้ขณะกำลังถูกผ่าตัดอยู่ เป็นต้น
    แต่การแนะนำให้เพ่งพิจารณาดูลูกแก้วให้จำได้ แล้วให้รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายและให้ตรึกนึกถึงดวงที่ใส ให้ใจอยู่ในกลางดวงที่ใส และให้บริกรรมภาวนา นึกท่องในใจ ว่า “สัมมาอรหังๆๆ” เรื่อยไป จนกว่าใจจะหยุดนิ่งเป็นสมาธิแน่วแน่มั่นคงตรงศูนย์กลางกายนั้น เป็นอุบายวิธีสงบใจในขั้นของการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน เพื่ออบรมใจให้สงบระงับจากกิเลสนิวรณ์ โดยให้ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์คือ วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต อันเป็นธรรมเครื่องกำจัดถีนมิทธะ (ความง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่าแห่งจิต) มีปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ธรรมเครื่องกำจัดพยาบาทและอุทธัจจะกุกกุจจะ (คือความหงุดหงิดฟุ้งซ่านแห่งจิต) และกามฉันทะได้เป็นอย่างดี
    องค์แห่งฌานทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ อันเป็นธรรมเครื่องกำจัดกิเลสนิวรณ์ออกจากจิตใจนี้ เป็นการเจริญสมถภาวนาในระดับปฐมฌาน อันเป็นเบื้องต้นของสัมมาสมาธิ (๑ ในอริยมรรคมีองค์ ๘) เพื่อการเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรม และให้พัฒนาต่อไปได้ถึงการเจริญปัญญารู้แจ้งในพระอริยสัจทั้ง ๔ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    และการแนะนำให้เพ่งดูดวงแก้วจนจำติดตา แล้วให้รวมใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย พร้อมด้วยบริกรรมภาวนาเพื่อรวมใจให้หยุดนิ่งได้สนิทนั้น มิใช่อุบายวิธีกล่อมใจให้ผู้ปฏิบัติภาวนาเคลิบเคลิ้มหลับไปโดยขาดสติสัมปชัญญะ ไม่รู้สึกตัว แล้วให้ปฏิบัติอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้สอนแต่อย่างใด วิธีปฏิบัติและผลการปฏิบัติกลับเป็นตรงกันข้าม กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติย่อมรู้สึกตัว มีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา (ถ้าหลับไม่ใช่สมาธิ) ผู้สอนเพียงแต่แนะวิธีให้ผู้ฝึกปฏิบัติภาวนาที่ยังปฏิบัติไม่ได้ถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย ให้รู้และดำเนินไปตามวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม อันเป็นอุบายวิธีสงบใจที่จะให้ได้ผลดี คือให้ใจหยุดนิ่งสนิทอยู่ในอารมณ์เดียวได้โดยง่าย และโดยมีสติสัมปชัญญะคือมีความรู้สึกตัวพร้อม ครูผู้แนะนำเป็นแต่เพียงชี้แนะแนวทางให้เท่านั้น แล้วปล่อยให้ผู้ปฏิบัติฝึกอบรมใจของตัวเองให้สงบเป็นสมาธิเอง
    อนึ่ง แม้เมื่อปฏิบัติได้ถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายแล้ว ครูผู้แนะนำก็ยังจะช่วยชี้แนะวิธีเจริญภาวนาอีกเป็นขั้นๆ ไป เพื่อให้เห็น และเข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมต่อไป จนถึงธรรมกาย เพื่อให้รู้เห็นสภาวะของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งตามธรรมชาติที่เป็นจริง และให้รู้แจ้งในพระสัจจธรรมตามที่เป็นจริงเอง เพื่อละธรรมที่ควรละเจริญธรรมที่ควรเจริญ และเพื่อความรู้เองเห็นเอง เข้าถึงและเป็นธรรมชาติที่ควรเข้าถึงเองตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ต่อไป
    การแนะนำวิธีปฏิบัติภาวนาเป็นขั้นๆ ไปดังที่กล่าวนี้ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติฝึกปฏิบัติภาวนาได้ผลดีขึ้นมาก ถ้าไม่ได้รับคำแนะนำจากครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์มาดีพอสมควรแล้ว น้อยรายนักที่จะปฏิบัติได้ผลดีได้เองโดยที่ไม่ต้องมีใครแนะนำ ดูตัวอย่างง่ายๆ ต่อไปนี้
    1. ให้ลองย้อนไปดูพฤติกรรมของสาธุชนพุทธบริษัท ก่อนแต่จะมีการให้คำแนะนำอย่างนี้ว่า ในสมัยหรือระยะเวลานั้นมีผู้เข้ามาสนใจฝึกปฏิบัติภาวนาธรรมดีกี่มากน้อย เมื่อเทียบส่วนกับสาธุชนเข้ามาฝึกปฏิบัติธรรมกับครูผู้ให้คำแนะนำวิธีปฏิบัติภาวนาเป็นขั้นตอน ตามหลักวิชา และด้วยประสบการณ์ของครูที่เคยประสบมาก่อน
    2. ให้สอบถามดูจากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมตามแนวนี้ ที่เขาปฏิบัติได้ผลดีพอสมควรถึงดีมาก ว่า ถ้าเขาไม่มีครูผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์มาดีแล้ว ให้คำแนะนำวิธีปฏิบัติและวิธีแก้ปัญหาในธรรมปฏิบัติเป็นขั้นๆ ไป เขาจะปฏิบัติภาวนาเจริญมาเพียงนี้หรือไม่ และว่าสำหรับผู้ที่ปฏิบัติภาวนาได้ผลดี โดยไม่อาศัยครูแนะนำมีกี่มากน้อย เพราะว่าการปฏิบัติภาวนาที่จะให้ได้ผลดี ย่อมต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลายประการเข้าช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคล็ดลับวิธีปฏิบัติพระกัมมัฏฐานในแต่ละขั้นตอน ให้ปฏิบัติไปถูกแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม ตลอดทั้งวิธีแก้ปัญหาในธรรมปฏิบัติที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นของการปฏิบัตินั้น ยังเป็นสิ่งจำเป็นแก่ผู้ที่รู้สึกตัวว่า “ยังเป็นผู้ศึกษาอยู่” แม้ผู้ตอบปัญหานี้ ก็ยังต้องอาศัยการชี้แนะจากครูอาจารย์ผู้รู้กว่าอยู่ ถึงอย่างไรก็ตามแม้จะเป็นครูผู้แนะนำผู้อื่น ก็ไม่พึงประมาทในธรรมทั้งหลาย ต้องสอบรู้สอบญาณทัสสนะกับครูผู้ทรงคุณวุฒิสูงกว่า และแม้สอบกับศิษย์ผู้ปฏิบัติธรรมได้ผลดีพอสมควรแล้ว เพื่อพิสูจน์การรู้การเห็นและแนวทางปฏิบัติให้ถูกต้อง และให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไปอยู่เสมอ แต่ส่วนว่าครูอาจารย์ใดจะมีสติปัญญาความสามารถที่จะให้คำแนะนำแก่ศิษย์ ให้ปฏิบัติได้ผลดีมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับบุญ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ ฯลฯ ที่อบรมสั่งสมมา รวมเป็น “อนุสาสนีปาฏิหาริย์” ของแต่ละท่านไม่เท่ากัน
    3. ประการสุดท้าย แม้พระพุทธองค์จะได้ทรงแสดงหลักปฏิบัติไว้ ดังเช่น สมถภูมิ ๔๐ วิปัสสนาภูมิ ๖ ฯลฯ ก็ยังทรงต้องชี้แนะเพิ่มเติมแก่ผู้เข้ามาทูลถามปัญหา และผู้เข้ามาศึกษาอบรมประพฤติพรหมจรรย์ด้วย ตามความเหมาะสมแห่งอัธยาศัยและความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของแต่ละบุคคล แม้ถึงกระนั้น ก็หาได้บรรลุมรรคผลเท่าเทียมกันทั้งหมดไม่ ดังมีความปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ คณกโมคคัลลานสูตร ว่าด้วยการศึกษาและการปฏิบัติเป็นขั้นตอน ข้อ ๑๐๑-๑๐๓ มีความว่า
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ พราหมณ์คณกโมคคัลลานะได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดมผู้เจริญโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ ย่อมยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วนทุกรูปทีเดียวหนอ หรือว่าบางพวกก็ไม่ยินดี ?”
    พระพุทธเจ้า: “พราหมณ์ สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อย ยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี”
    พราหมณ์คณกะ: “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในเมื่อนิพพานก็ยังดำรงอยู่ ทางให้ถึงนิพพานก็ยังดำรงอยู่ พระโคดมผู้เจริญผู้ชักชวนก็ยังดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ อันพระโคดมผู้เจริญ โอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อยจึงยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ?”
    พระพุทธเจ้า: “พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านชอบใจอย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้น พราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านชำนาญทางไปเมืองราชคฤห์มิใช่หรือ ?”
    พราหมณ์คณกะ: “แน่นอน พระเจ้าข้า”
    พระพุทธเจ้า: “พราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? บุรุษผู้ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด' ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า 'พ่อมหาจำเริญ มาเถิดทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้น ชั่วครู่หนึ่งแล้วจักเห็นบ้านชื่อโน้นไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตาม ทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของเมืองราชคฤห์' บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ จำทางผิด กลับเดินไปเสียตรงกันข้าม
    ต่อมาบุรุษคนที่สองปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์พึงมาในสำนักของท่าน เข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด' ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า 'พ่อ มหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นบ้าน ชื่อโน้นไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นนิคมชื่อโน้น ไปตามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของ เมืองราชคฤห์' บุรุษนั้นอันนั้นท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ พึงไปถึงเมืองราชคฤห์โดยสวัสดี พราหมณ์ อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ในเมื่อเมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่ ทางไปเมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่ ท่านผู้ชี้แจงก็ดำรงอยู่ แต่ก็บุรุษอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอย่างนี้คนหนึ่งจำทางผิด กลับเดินไปทางตรงกันข้าม คนหนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี”
    พราหมณ์คณกะ: “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้าเป็นแต่ผู้บอกทาง”
    พระพุทธเจ้า: “พราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพานดำรงอยู่ ทางไปนิพพานก็ดำรงอยู่ เราผู้ชักชวนก็ดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของเราอันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อยยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี พราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกหนทางให้”
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    คำว่า “หยุด” ที่หลวงพ่อสด ท่านกล่าวไว้ว่า จะไปทางนี้ต้อง “หยุด” ถ้าไม่หยุดก็ไปไม่ได้ และหยุดอย่างเดียวเท่านั้น สำเร็จ หรือเป็นตัวสำเร็จ อยากกราบถามหลวงพ่อค่ะว่า ในการ “หยุด” นี้ เอาอะไรเป็นเกณฑ์วัด เป็นเรื่องของกายหรือเรื่องของใจคะ ?
    คำว่า “หยุด” ณ ที่นี้หลวงพ่อ (หลวงพ่อวัดปากน้ำหรือหลวงปู่สด) ท่านหมายถึงหยุดทำชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ หยุดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ด้วยการปฏิบัติไตรสิกขา คือ อธิศีลสิกขา(ศีลยิ่ง) อธิจิตสิกขา(จิตยิ่ง) อธิปัญญาสิกขา(ปัญญายิ่ง)

    ในการ หยุด” ทางใจ นั้นเริ่มด้วยการอบรมใจให้สงบ ให้หยุด ให้นิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่งคง ณ ศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม ด้วยอุบายวิธี ๓ อย่างประกอบกัน คือ
    1. อาโลกกสิณ โดยการเพ่งดวงแก้วกลมใส (นึกให้เห็นด้วยใจ เพื่อรวมใจคือความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ ให้อยู่กับดวงแก้ว และให้รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน)
    2. พุทธานุสสติ ด้วยการให้กำหนดบริกรรมภาวนาว่า สัมมาอะระหังๆๆ” เพื่อประคองใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ตรงกลางและให้น้อมพระพุทธคุณ คือพระปัญญาคุณและพระวิสุทธิคุณจาก คำว่า สัมมาอะระหัง” มาสู่ใจเรา
    3. อานาปานสติ สังเกตลมหายใจเข้าออกที่ผ่านและกระทบดวงแก้ว ตรงศูนย์กลางกาย แต่ไม่ต้องตามลม
    เมื่อใจถือเอาปฏิภาคนิมิตได้และหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมและเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปๆ จนสุดละเอียดนั้นแล้ว จิตดวงเดิมจะละปฏิภาคนิมิตและตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ ๖ ถ่ายทอดกรรมเดิมที่เป็นสมาธิ เป็นจิตดวงใหม่ คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ อันตั้งอยู่ท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ที่ผ่องใสบริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ ลอยเด่นขึ้นมาพร้อมกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ใสสว่างยิ่งนัก เป็นทางให้เข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมที่ละเอียดและบริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งขึ้นไปทุกที จนถึงธรรมกายอันเป็นกายที่พ้นโลก และเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องใส รัศมีสว่าง
    นั่นก็คือ ใจยิ่งหยุดยิ่งนิ่งยิ่งไม่สังขาร คือ ไม่ปรุงแต่ง อีกนัยหนึ่ง คือ “หยุดมโนสังขาร” จิตใจก็ยิ่งถึงและเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องใส นั่นเอง นี่เรียกว่า “ใจหยุดในหยุดกลางของหยุด ดับหยาบไปหาละเอียด จนสุดละเอียด”
    เมื่อถามว่า “มีอะไรเป็นเครื่องวัด ?” ก็ตอบว่า มีการเข้าถึงรู้-เห็นและเป็น กายในกาย(รวมเวทนาในเวทนา จิตในจิต) และธรรมในธรรม เริ่มตั้งแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายที่ใสแจ่มอยู่ ณ ภายใน ละเอียดเข้าไป ๆ จนสุดละเอียด ถึงธรรมกายและเป็นธรรมกาย ที่บริสุทธิ์ผ่องใสยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนสุดละเอียดนั่นเอง เป็นทางให้ถึงมรรค ผล นิพพาน
    เพราะเหตุนั้น หลวงพ่อท่านจึงกล่าวว่า “หยุด นั่นแหละ เป็นตัวสำเร็จ” คือ เป็นทางให้ถึงมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง และที่เป็นบรมสุข
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    จะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่เห็นในขณะปฏิบัติภาวนาธรรมนั้น ไม่ใช่สิ่งที่นึกเอาเอง ?

    รู้ได้ด้วยการพิสูจน์ด้วยตนเอง เช่น
    1. การนึกให้เห็นดวงแก้วหรือพระแก้วขาวใสที่เรียกว่า กำหนดบริกรรมนิมิต ในเบื้องต้นของการฝึกเจริญภาวนาสมาธินั้น จะไม่มีทางนึกให้เห็นได้ชัดเจน ใสแจ๋ว และสว่างไสว เท่าเมื่อใจรวมหยุดเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงดีแล้ว (ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อันเป็นที่ตั้งของ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม) การเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย และการเห็นกายในกายไปจนถึงธรรมกายนั้น สวยงาม ละเอียด ประณีต และมีรัศมีปรากฏ แตกต่างจากการนึกเห็นด้วยใจในเบื้องต้นนั้นมากมายนัก อย่างที่เรียกว่า “ไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน” แล้วจะไปนึกเอาเองได้อย่างไร จึงไม่ใช่สิ่งที่นึกเอาเอง
    2. เมื่อปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ทดลองฝึกน้อมเข้าสู่อนาคตังสญาณ ดูเหตุการณ์ในอนาคตอันใกล้ๆ ดูบ้าง หรือฝึกขยายทิพยจักขุและข่ายของญาณทัสสนะ ดูสิ่งต่างๆ ที่พอจะพิสูจน์ได้ว่าเห็นจริงหรือไม่จริงดูบ้าง ก็ค่อยๆ มีประสบการณ์เองว่า ที่เห็นนั้นถูกต้องตามที่เป็นจริงก็มีมาก ที่ผิดพลาดบ้างก็มี ก็ให้พิจารณาเหตุสังเกตผลดู ว่าเป็นเพราะเหตุใด
    และถ้าได้ทำนิโรธดับสมุทัยปหานอกุศลจิตให้หมดสิ้นไปได้ดีเพียงใด และใจเป็นอุเบกขาเพียงใดในขณะใด ในขณะนั้นการรู้เห็นจะเป็นตามจริง ทั้งจริงโดยสมมติและจริงโดยปรมัตถ์เพียงนั้น แต่ถ้าขณะใด จิตใจยังมัวหมองอยู่ด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน มีอคติ การรู้เห็นในขณะนั้นก็มีโอกาสที่จะผิดพลาดได้ง่ายดาย
    ผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นพระอริยเจ้า หรือผู้ปฏิบัติธรรมที่หมั่นมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันในกองกิเลส และหมั่นชำระจิตใจให้ผ่องใสไว้เสมอ ด้วยการเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ และทำนิโรธ ให้ใจสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอเพียงใด ธรรมชาติเครื่องรู้เห็นมีทิพพจักขุและญาณทัสสนะเป็นต้นย่อมบริสุทธิ์ ให้สามารถรู้เห็นได้ถูกต้อง แม่นยำ กว่าผู้ที่ทรงคุณธรรมที่ต่ำกว่าเพียงนั้น เพราะฉะนั้น เมื่อปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็อย่าได้เหิมเกริมว่าเลิศแล้ว ต้องปฏิบัติภาวนาธรรมเพื่อกำจัดขัดเกลากิเลสให้หมดสิ้นไป ด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบอยู่เสมอ นั่นแหละจึงจะพอแน่ใจได้ว่าพอเอาตัวรอดได้ และเมื่อนั้นเครื่องรู้เห็น ได้แก่ ทิพพจักขุและญาณทัสสนะก็จะบริสุทธิ์ ให้สามารถรู้เห็นได้อย่างถูกต้องแม่นยำเอง
    จึงพึงเข้าใจว่า การสอนให้ตรึกนึกเห็นด้วยใจเป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใส หรือ พระพุทธรูปขาวใส ขึ้น ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นั้น เป็นเพียงอุบายวิธีในการอบรมจิตใจ ให้มารวมหยุดเป็นจุดเดียว (เอกัคคตารมณ์) ตรงศูนย์กลางกายอันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม และเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิตและธรรมในธรรม เพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ อันเป็นการเจริญภาวนานั้นเองทั้งสมาธิและปัญญา ด้วยการที่ให้ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นสภาวธรรมและสัจจธรรมตามธรรมชาติที่เป็นจริง​
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ในบทสังฆคุณของหลวงพ่อสด หน้า ๑๖-๑๗ กล่าวไว้ชัดถึงการอาศัยองค์ฌานตามลำดับตั้งแต่ ๑-๘ ถอยเข้าถอยออกแล้วพิจารณาอริยสัจแล้วเกิดปัญญาเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ เพียงแต่การทำฌานสมาบัติได้ถึง ๔ ชั้นก็เป็นของยากยิ่งกว่าจะได้ (เว้นบางท่าน) แล้วไฉนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และพระเณรบางรูป ดูกิริยาวาจาแล้ว ยังมีจิตหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน ๑๘ กาย ไปได้ง่ายดายนัก ยิ่งเป็นพระแล้วน่ากลัวอาบัติมาก
    ท่านทำของท่านไปเถอะ ท่านอย่าไปคิดประเมินคนอื่นเลย ท่านลืมคำของพระพุทธเจ้าคำหนึ่งที่ตรัสไว้ว่า อย่าไปมัวพิจารณากิจของผู้อื่น แต่ให้พิจารณากิจของตัวเอง เด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กหลุกหลิก แต่ทำได้ทุกคน
    ทั้งๆ ที่บางคนหลับโหงกเหงกๆ ตื่นมาทำได้อีก ทราบไหมเพราะอะไร ? เด็กเพิ่งเกิดมา ใจยังไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกมากนัก กิเลสยังไม่หนาแน่น แต่ผู้ใหญ่กิเลสหนาตั้งแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสิ่งภายนอกมาตลอดทุกนาทีทุกชั่วโมง เว้นแต่หลับ แล้วกิเลสสะสมเข้ามาเท่าไรตั้งแต่เกิดมากว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้เห็นได้ จะต้องกระเทาะกิเลสเหล่านั้นให้หมดเป็นชั้นไป จึงจะถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ได้ ส่วนเด็กซึ่งจิตใจยังไม่ทันไปยึดไปเกาะอะไรมากนัก พอบอกให้แกนึกให้เห็น บางทีเพียงหนึ่งนาทีแกเห็นแล้ว ท่านจะไปคิดประมาณอะไรกับพวกเด็กที่เห็นเร็วเห็นช้า
    สามเณรบางรูปในสมัยพุทธกาล พอปลงผมแกร๊กก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย แค่มีดโกนสัมผัสศีรษะก็บรรลุแล้ว นี้เป็นเรื่องของบุญบารมีที่เขาสร้างสมไว้ดี เอาง่ายๆ คนเราที่เติบโตมากระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้ ตั้งแต่เกิดมา มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่พี่น้องครูบาอาจารย์ชักนำให้มาปฏิบัติกัมมัฏฐานสักกี่ราย แต่เด็กเหล่านี้มีผู้ชักนำมาปฏิบัติกัมมัฏฐานตั้งแต่ยังเด็ก ท่านดูแค่นี้ ใครมีบุญมากกว่ากัน ดูง่ายๆ เท่านี้แหละ
    เด็กมีจิตใจที่ยังไม่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสที่สะสมตกตะกอนนอนเนื่องมากเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อจะให้ใจหยุดจึงหยุดเข้าไปได้ง่าย บางทีหยุดนิดเดียวได้ดวงปฐมมรรคเห็นใสสว่างด้วย ผู้ใหญ่นั่งปฏิบัติภาวนาเกือบตายไม่เห็น เพราะใจมันไม่หยุด เด็กหยุดเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็หยุกหยิก เป็นธรรมชาติของเด็ก จนเขาบอกว่าใครจับเด็กให้นิ่งได้ คนนั้นเก่ง อย่านึกว่าผู้ใหญ่ต้องทำได้ง่ายกว่าเด็ก ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ทำได้ง่ายก็มี ทำได้ยากก็มี แต่ส่วนใหญ่จะยากกว่าเด็ก จะเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธรรมกายได้ช้ากว่าเด็กๆ
    หลวงพ่อสดเองก็ไม่ได้ทำได้ภายในหนึ่งปี ท่านเอาจริงเอาจังเกือบตาย ท่านปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนานกว่าจะได้ดวงปฐมมรรคและถึงธรรมกาย พวกเราเองแม้ได้แล้วหายไปก็มีหลายราย เพราะยังกำจัดกิเลสหรือสัญโญชน์ไม่ได้ ยังไม่เป็นอริยเจ้า เหมือนไปเชียงใหม่ ไปถึงแค่ไปดูไปเห็น กลับมาอีกแล้ว เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ แต่คนที่ทุนทรัพย์พอ ไปถึงก็สามารถฝังรกรากอยู่ได้ อยู่ที่การบำเพ็ญบารมีแก่กล้าถึงเวลาที่ธาตุธรรมแก่กล้าแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เรื่องบุญบารมี ขอกล่าวสักนิดว่า เราจะพูดว่าใครบารมีมากกว่าใคร ก็พูดยาก เพราะอะไร ? เพราะผู้ที่อธิษฐานเป็นปกติสาวกบำเพ็ญบารมีเต็มเร็วกว่าผู้ที่อธิษฐานบารมีสูงกว่านั้น เช่นผู้บำเพ็ญบารมีในระดับอสีติมหาสาวกหรือพุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา หรือขึ้นไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ยังมีการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกัน เช่น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าก็ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน ๘ อสงไขยแสนกัปป์ ๑๖ อสงไขยแสนกัปอย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรยก็มีการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกันไม่เท่ากันอย่างนี้ ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันมากอีกด้วย
    เมื่อเป็นเช่นนั้น บางท่านในอดีตชาติเคยอธิษฐานบารมีมามาก บำเพ็ญบารมียังไม่เต็ม ก็ยังไม่เห็น เห็นช้ากว่าคนที่อธิษฐานบารมีมาน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเต็มเร็ว ก็เห็นเร็ว นี้อันหนึ่ง แต่เห็นแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมแก่กล้าพอแล้วหรือยัง อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เหมือนปลูกข้าวเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ข้าวจะงอกงามขึ้นมาและจะออกรวงเอง จะบังคับให้ข้าวออกรวงในวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ถึงเวลาก็จะออกรวงเอง
    เด็กน่ะที่เห็น เห็นชัดด้วย ที่เห็นชัดแจ้งก็เห็นได้ชัดแจ๋วมากๆ ด้วย ส่วนผู้ใหญ่หลายคนกว่าจะได้เห็นและเข้าถึง ก็ยากกว่า ช้ากว่ากันมาก ผมจึงมีนโยบายว่าให้เด็กปฏิบัติให้ได้ผลดีมากๆ เมื่อเด็กปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็ให้เรียนภาคปริยัติด้วยเต็มที่เลย ได้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เด็กถ้ามาเข้ารับการอบรม ๑๐ คนภายใน ๑๕ วันถ้าเขาตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ก็สามารถปฏิบัติถึงธรรมกายได้ไม่น้อยกว่า ๕-๖ คน นี้เป็นอัตราทั่วไป ถ้าเด็กวัยรุ่นอยู่ปฏิบัติ ๑๕ วัน นี้จะได้ผลดีไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ หรือ ๓๓% แต่ถ้าผู้ใหญ่ถ้าตั้งใจอยู่ปฏิบัติจริงจังจะได้ผลประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๒๕% นี้เป็นอัตราธรรมดา
    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง
    เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง
    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย
    ท่านถามมาก็เป็นประโยชน์อยู่ เพราะมีหลายคนมีข้อสงสัยอย่างนี้ คงจะพอเป็นข้อแนะนำชี้แจงให้เข้าใจได้พอสมควร


    [​IMG]



    [​IMG]
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    หลวงพ่อสดนั้นไม่เคยกล่าวว่าวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบอื่นไม่ถูกต้อง






    ถามว่ามีหลักฐานอะไรที่บ่งชี้ว่าหลวงพ่อสดไม่ได้ว่าวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบอื่นไม่ถูกต้อง ?


    ที่ปรากฏเป็นหลักฐานทางเอกสาร มีดังนี้คือ:


    ๑. ท่านแนะนำให้หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฯ ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อโหน่งวัดคลองมะดัน (ทั้งที่ตอนนั้นหลวงพ่อสดท่านค้นพบวิชชาธรรมกายแล้ว) ซึ่งเป็นพระอาจารย์กรรมฐานองค์แรกของหลวงพ่อ ((( ประชุมพระธรรมเทศนาและหลวงปู่สอนธรรม, ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พิมพ์พระราช ทาน, ในงานพระราชทานเพลิงศพ, พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวรรณณเถร), เจ้าอาวาส วัดประดู่ฉิมพลี, ๒๕๔๒, กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒ หน้า. (หน้า ๑๔และหน้า ๖๑ ))) หลวงพ่อโหน่งนั้นเมื่อท่านมรณภาพปรากฏว่าศพท่านไม่เน่า หลวงพอปานวัดบางนมโคบอกว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นพระอรหันต์


    ๒. หลวงพ่อเขียนรับรองวิชาหนอว่าถูกต้องตรงร่องรอยสติปัฏฐาน ๔ (แต่ท่านละคำว่าต้องปฏิบัติอย่างเข้าใจจริง จึงจะถูกต้อง) ซึ่งได้มีกลุ่มบุคคลนำข้อความที่ท่านเขียนรับรองวิชาหนอในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาไปบิดเบือนเพื่อสนับสนุนวิชาของพวกตน ซึ่งจะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก


    ๓. แม้หลวงพ่อชา จะได้มาพักที่วัดปากน้ำ ๑ อาทิตย์ หลวงพ่อสดก็ไม่ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะหลวงพ่อท่านทราบดีว่า หลวงพ่อชานั้นสร้างบารมีมาทางสายพระอาจารย์มั่น (ซึ่งหาอ่านได้ในประวัติหลวงพ่อชาบางเล่ม) เหมือนๆกับที่หลวงพ่อทราบว่าสมเด็จป๋าจะได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะว่าถ้าพระพิมลธรรมไม่ต้องคดีเสียก่อน สมเด็จป๋าจะไม่มีโอกาสขึ้นเป็นสมเด็จพระสังราชเลย เรียกปิดประตูตายทีเดียว


    ๔. หนังสือกรรมฐานชื่อ “สมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน” ซึ่งประพันธ์ โดยคุณโสภณ ชื่นชุ่ม เป็นศิษย์วิชชาธรรมกายรุ่นแรกๆ ของพระอาจารย์พระราชพรหมเถร วิ (วีระ คณุตฺตโม ) ต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้พระอาจารย์พระราชพรมเถรได้ตรวจทานอย่างละเอียด


    ***ในหนังหนังสือกรรมฐานเล่มดังกล่าวมีคำอธิบายกรรมฐานแบบไตรลักษณ์ กรรมฐานแบบโบราณ และสมถวิปัสสนาแบบธรรมกาย ***



    จากหลักฐานทั้ง ๔ ข้อนี้ สามารถใช้ยืนยันได้ว่า หลวงพ่อสดไม่เคยว่าการปฏิบัติกรรมฐานของไทยสายไหนไม่ดี



     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    วิชชาธรรมกายนี้ เป็นวิปัสสนาหรือไม่ ? อย่างไร ? หรือเป็นเพียงสมาธิ คือ สมถกัมมัฏฐาน ?

    เมื่อไรที่อบรมใจให้สงบหยุดนิ่งเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคง เป็นธรรมเครื่องกำจัดกิเลสนิวรณ์ ชื่อว่า “สมถ-กัมมัฏฐาน”
    และเมื่อไรเข้าไปรู้ไปเห็นกาย-เวทนา-จิต-ธรรม ทั้ง ณ ภายในและภายนอก เห็นอนิจจัง เห็นทุกขัง เพียงสองอย่างนั้น ก็ยังจัดว่าเป็นสมถกัมมัฏฐาน ในระดับสมาธิ คือให้ใจสงบ
    แต่เมื่อไรเห็นแจ้งถึงความเป็นอนัตตา คือ ธรรมชาติที่เป็นสังขาร ทั้งหลายทั้งปวง ว่าลงท้ายล้วนแตกสลายหมดสภาพเดิมของมันไปหมด แล้วเห็นว่าความเข้าไป ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงอย่างนี้เป็นทุกข์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา อุปาทาน ซึ่งเข้าไป ยึดมั่นถือมั่นโดยมีอวิชชา คือ ความไม่รู้สัจธรรมตามที่เป็นจริง ไม่รู้เหตุในเหตุไปถึงต้น ๆ เหตุ แห่งทุกข์ ทำให้บุคคลคิดผิด เห็นผิด รู้ผิด แล้วประพฤติผิด ๆ ด้วยอำนาจของกิเลสและความ เข้าไปยึดมั่น จึงเป็นทุกข์ เมื่อรู้แจ้งอย่างนี้ คือรู้แจ้งในทุกข์ เหตุแห่งทุกข์และได้สัมผัสที่ สภาวะแห่งทุกข์ดับเพราะเหตุดับ และรู้แจ้งในหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ปัญญาแจ้งชัด เหล่านี้ชื่อว่า วิปัสสนาปัญญา และโลกุตตรปัญญา การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายให้ สามารถเข้าถึง และรู้เห็นอย่างนี้ จึงเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  16. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    ถึงแม้นเราจะไม่ได้ฝึกฝนวิชชามาจากสายธรรมกายของหลวงพ่อสดโดยตรง
    เมื่อก่อนจะเข้าพรรษา สามเดือนก่อน เราได้มีโอกาสได้ไปกราบ
    พระครูเกษมศาสนวิเทศ (หลวงตาประทีป ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆัง)
    ผู้ที่เป็นผู้สร้างพระผงสมเด็จ วัดระฆังรุ่น ๑๐๐ ปี ที่โด่งดังมาจนถึงปัจจุบัน
    และท่านเป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐานที่วัดไทยเเอลเอ และที่วัดระฆัง
    และท่านได้มีโอกาสได้ชมวีดีโอถ่ายภาพพลังแสงของเรา ทั้งสองภาพ
    .๓๕  และ  .๓๖ พร้อมกับศิษย์ที่ปฏิบัติสายวัดธรรมกายอีกหลายท่าน
    เมื่อท่านได้ชมจนเสร็จ ท่านได้พิจารณามองลงไปในภาพพลังแสง
    ท่านได้บอกกับทุกคนอยู่ในกุฏีของท่าน ว่าพลังแสงที่เห็นในภาพวีดีโอ
    นี่แหละ  คือวิชชาธรรมกายที่หลวงพ่อสดวัดธรรมกายท่านสอน 
    กายซ้อนกาย ตัวจริงเสียงจริงแหละ ท่านยืนยันอย่างหนักแน่น

    พร้อมกับบอกว่าเป็นบุญที่ได้พบเห็นของจริง จึงมาเล่าสู่กันฟังเป็นวิทยาทาน
    ครับ บุญกุศลที่เกิดขึ้นขอมอบให้แด่เพื่อนธรรมในเว็บพลังจิตทุกท่าน
    ผู้ใฝ่ในพระธรรมจงมีผลใหญ่และอานิสงส์ใหญ่เทอญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC05587.JPG
      DSC05587.JPG
      ขนาดไฟล์:
      474.5 KB
      เปิดดู:
      43
    • PICT1017.JPG
      PICT1017.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1 MB
      เปิดดู:
      33
    • PICT0672.JPG
      PICT0672.JPG
      ขนาดไฟล์:
      992.9 KB
      เปิดดู:
      42
    • DSC05715.JPG
      DSC05715.JPG
      ขนาดไฟล์:
      557 KB
      เปิดดู:
      35
    • kauai hawaii.jpg
      kauai hawaii.jpg
      ขนาดไฟล์:
      63 KB
      เปิดดู:
      36
    • DSC05585.JPG
      DSC05585.JPG
      ขนาดไฟล์:
      539.9 KB
      เปิดดู:
      36
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2013
  17. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=q4usJJitsdo]035 - YouTube[/ame]
     
  18. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=WRLIwrCCn6I]036 - YouTube[/ame]
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙


    ธรรมกายโคตรภู ยังถอยหลังกลับเป็นปุถุชนได้

    แต่สังโยชน์ที่ละได้ขาด เป็นตัววัดอย่างหนึ่งของกายธรรมตั้งแต่
    โสดา ฯ สกิทาคาฯ อนาคาฯ อรหัตต์ฯ

    ผู้สืบทอดสายตรงของแท้ยังมี ถ้ามีวาสนา ย่อมได้เปิดในสิ่งที่ยังไม่ได้เปิด


    การเข้าถึง จนเป็นเนื้อเดียว
    จะชัดเจนว่าคำพูดใดๆ
     
  20. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    เครดิต จากเพื่อนธรรมจากเฟสต์บุค พระไตรปิฎก พร้อมหัวข้อธรรม
    *ผู้ไม่ได้ทำบุญญาธิการไว้ ย่อมเหมาะในการถึงสรณคมน์เท่านั้น. (อ.พหุการสูตร) เล่ม34/หน้า80/บรรทัด9* ผู้บรรลุคุณวิเศษ ต้องเคยสร้างบารมีมา (อ.มหาปทานสูตร) เล่ม13/หน้า145/บรรทัด9 ...ผู้ที่จะเรียนธรรมของพุทธเจ้าให้เข้าใจได้ ต้องมีอุปนิสัยที่สั่งสมมานานแล้ว... ( เล่ม 43 หน้า 44) (เป็นบทสนทนาระหว่างพระอานนท์กับพระพุทธเจ้า) ... ...อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์ย่อมแทรกอวัยวะทั้งหลาย มีผิวเป็นต้น (เข้า) ไปจดเยื่อในกระดูกตั้งอยู่ เพราะเหตุไร อุบาสกเหล่านี้แม้เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ จึงไม่ฟังโดยเคารพ ? พระศาสดา. อานนท์ เธอเห็นจะทำความสำคัญว่า ธรรมของเราอันบุคคลพึงฟังได้โดยง่ายกระมัง ? อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม (ของพระองค์) อันบุคคลพึงฟังได้โดยยากหรือ ? พระศาสดา. ถูกแล้ว อานนท์. อานนท์. เพราะเหตุไร ? พระเจ้าข้า. พระศาสดา. อานนท์ บทว่า พุทฺโธ ก็ดี ธมฺโม ก็ดี สงฺโฆ ก็ดี อันสัตว์เหล่านั้นไม่เคยสดับแล้ว ในแสนกัลป์ แม้เป็นอเนก เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงไม่สามารถฟังธรรมนี้ได้ แต่ในสงสารมีที่สุดอันใครๆ ตามรู้ไม่ได้ สัตว์เหล่านั้นฟังดิรัจฉานกถามีอย่างต่างๆ นั่นแล มาแล้ว เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านี้จึงเที่ยวขับร้องฟ้อนรำอยู่ ในที่ทั้งหลายมีโรงดื่มสุราและสนามเป็นที่เล่นเป็นต้น จึงไม่สามารถจะฟังธรรมได้….
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1 universe.jpg
      1 universe.jpg
      ขนาดไฟล์:
      130.5 KB
      เปิดดู:
      59
    • DSC04720.JPG
      DSC04720.JPG
      ขนาดไฟล์:
      547.5 KB
      เปิดดู:
      26

แชร์หน้านี้

Loading...