ขนาดองค์จะผอมสูงกว่าพิมพ์นิยมครับ น้ำหนักมากกว่าพิมพ์นิยม มีน้ำหนัก หกสลึง ถึง สองบาทครับ
เป็นหลานหลวงพ่อเงินครับที่สร้างพิมพ์นี้ ประวัติหลวงพ่อ พิธ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2435 มรณภาพเมื่อ พ.ศ. 2488 นิยมสุดจะเป็นตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ลงยันต์ อะสิสัตติ ธนูเจวะ ฯลฯ ซึงเป็นยันต์ที่มีมาแต่โบราณกาล หนึ่งในตำราพิชัยสงครามถูกระบุไว้ว่า เป็นยันต์ชั้นสูงหาค่าประมาณมิได้ ตะกรุดหลวงพ่อพิธมีอานุภาพด้านคงกระพันสูงมาก
ส่วนรูปหล่อ พบว่ามีเนื้อทองเหลืองและเนื้อโลหะผสม และยังพบว่ามีเนื้อเทียนน้ำมนต์เอามากดใส่พิมพ์ด้วยครับ ผมเห็นผ่านตาเพียงองค์เดียวเท่านั้น เก่ามากมีกลิ่นหอมบางๆ เมื่อดมใกล้ๆ ช่วงเศียร์ที่เปิด เนื้อเทียนกลายเป็ผงแล้ว
อีอย่างที่น่าสนใจคือศิษย์ของหลวงพ่อ พิธ คือ หลวงพ่อเตียง (วัดเขารูปช้าง) ครับ
แนะนำหาองค์อื่นห้อยแทนครับ
ส่วนรูปด้านคือรูปหล่อที่กดพิมพ์มาจากเทียนน้ำมนต์ครับ ผมสัมผัสของจริงมาแล้ว
ตามรอยหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ (กลุ่มหลวงพ่อเงิน)
ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย เจ๊ตุ้ม, 16 มกราคม 2013.
หน้า 443 ของ 459
-
-
เคารพเจ๊ตุ้มมากนะครับ ที่แนะนำห้อยองค์อื่นดีกว่า องค์ของผมคงอ้วนกว่ามาตรฐาน แต่คงต้องแขวนใช้ไปก่อน -
คุณเจ๊ตุ้มว่าไม่ดีอย่างไรหรือครับ ถ้าว่างพิจารณาให้ทีนะครับ ส่วนตัวผมดูผิวพระเหี่ยวขรุขระดี สีสนิมมีสีส้มๆแฝงยุในเนื้อ (หน้าแข้ง ฯลฯ) ส่วนสีส้มแป๊ดๆที่ริ้วจีวรขวา ในหัวผมยังคิดว่าโคตรสนิม555 เรื่องพิมพ์ดูไม่เป็นข้ามเลยผม
จิบกาแฟ ยกกล้อง ส่องพระเครื่อง เพลิดเพลินแท้ -
จากรูปผมปรับภาพให้ใหม่เอาเท่าที่ความสามารถของบักไอเพดจะทำได้ ถ้าไปเจอพวกโรงลิเกในเฟสบุ๊ค มันด่าตายเลยถ้าเอารูปแบบที่ส่งให้ผมดู แล้วก็จะมีพวกเห็บหมามาผสมโรงกันให้คั่วเลย อิอิอิ
ทีแรกเห็นบอกว่า ดีไม่ดีก็จะห้อยบูชา ผมเลยไม่กล้าลงดาบ
อย่างสองคราบผิวตามซอกที่ไม่โดนสัมผัส สีใกล้เคียงกันทุกที่ พระทำผิวมาไม่ธรรมชาติ
พิมพ์โดยรวมไม่มีชั้นเชิงศิลปะเอาเสียเลย คือขัดตาไปเสียทุกที่ ดูหน้าท่านก็รู้
ส่วนสีส้มแป๊ดๆที่ริ้วจีวรขวา ในหัวผมยังคิดว่าโคตรสนิม?
สีส้มที่เห็นเกิดจากเหล็กที่เป็นส่วนผสม(เอาไว้ดักพวกที่ชอบเอาแม่เหล็กไปดูดทดลองว่าพระจะขยับไม๊) เป็นสนิมเมื่อโลหะมีความชื้นทำปฏิกริยากับออกซิเจน คายสนิมออกมาที่ผิว แต่ไม่ยักกะมีสนิมของทองเหลือง รอยตะไบยังคมแปล๊บบาดตาบาดใจ เอาแค่นี้แหละขี้เกียจพิมพ์ อิอิอิ ขอตัวไป เอ่เอ้ ก่อนนะครับ -
ขอบคุณมากนะครับ เจ๊ตุ้ม
-
คำกล่าวที่ว่าจะเอาอะไรกับหล่อโบราณ จะจริงหรือไม่จริง แล้วจะเชื่อได้หรือเปล่า เดี๋ยวค่อยมาหาคำตอบกัน
-
หวัดดีครับพี่เจ้ฯ..และพี่น้องพ้องเพื่อน...มั่วไปหลงระเริงเที่ยวท่องเวบสะเพลิน..กอปรกับไปทำกระต๊อบใหม่ไว้ต้อนรับพูดคุยปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันกับนักเดินทางหาพระของหลวงปู่ฯและพระใหม่สายทุ่งน้อย...แต่ยังไม่ลืมที่จะแวะมาเยี่ยมบ้านครับ.(.แต่ออกจะเพลินนานไปหน่อย)..ใช่ป่ะพี่เจ๊ฯ..อิอิ..วันนี้เลยนำภาพพระสวยๆ(ในมุมมองของผม)มาฝาก..ส่วนมากถ้าใครเจอพิมพ์ลักษณะแบบนี้ก็คงตีเข้าเป็นทุ่งน้อยยุคต้น...แต่ผมแอบมีหวังนิดๆอยู่ข้างในใจ..ว่าน่าจะมีลุ้นไปต่อถึงหลวงพ่อฟุ้ง..(จากจีวรและร่องรอยการหล่อ)..แต่ถ้าไปลึกกว่านี้ไม่ได้..ก็อยู่ทุ่งน้อยต่อไป...หรือพี่เจ๊ฯมีความเห็นว่ายังไงครับ..
-
-
ยินดีต้อนรับกลับบ้านครับพี่โพธิทะเล พักนี้สมองผมไม่แล่นเลย ตีสองอีกแล้ว เรื่องอื่นค่อยว่ากันใหม่นะครับ “สุดแต่ใจจะไขว่คว้า” -
ทีแรกจะขยายความของโพสก่อนหน้านี้ว่า จะเอาอะไรกับการหล่อโบราณ เหมือนกับว่าสถานการณ์ยังนิ่งๆ เหมือนยังไม่มีคนสนใจ งั้นก็ขอตัดทิ้ง ยกเลิกข้ามไปเรื่องอื่นดีกว่า -
ลงรูปไว้ก่อน เดี๋ยวว่างค่อยมาขี้จุ๊ให้ฟัง หรือท่านได มองเห็นอย่างไร เกี่ยวกับเนื้อโลหะ รอยตะไบหรืออื่นๆ แสดงความคิดเห็นได้เลยครับ
-
-
สวัสดีครับ พี่เจ้ตุ้มและพี่ๆทุกท่าน ที่มากด้วยความรู้และความสามารถ ขอบอกว่าพี่ๆทุกท่านสุดยอดดด..มากๆๆๆๆ ผมขอฝากเนื้อฝากตัวร่วมเรียนรู้ไปกับพวกพี่ๆ ด้วยคนครับ โปรดช่วยชี้แนะ แนะนำ เพื่อเป็นแนวทางต่อไป
ด้วยจิตคาระวะ... -
รบกวนพี่เจ๊กับพี่ๆพิจารณาให้ด้วยครับ
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ตามไปอีกสององค์ น้อมรับทุกคำวิจารณ์ ขอบคุณพี่ๆทุกท่านด้วยครับ
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
รบกวนพี่เจ๊ด้วยครับ จอบองค์นี้พิมพ์ไปได้มั้ยครับ โลหะใหม่หรือป่าวครับ ขอบข้างซ้ายกับใต้ฐาน ผมเอาผ้าขัดเพื่อดูรอยตะไบกับตะเข็บข้างครับ ขอบคุณครับ
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
สอบถามครับ องค์นี้ดูเป็นยังไงบ้างครับ ฟันธงให้ทีครับ พระผมเองครับ ขอบคุณครับ
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
เห็นท่านมะนาวแป้นยังอยู่ตอบก่อนก็แล้วกันครับ
-
โลหะจริงๆในยุคนั้นสีจะเข้มกว่านี้แยะครับ ทองเหลืองเก่ามักจะเข้มเหลืองอมน้ำตาลผิดจากสมัยนี้ซึ่งเป็นเหลืองซีด องค์นี้เป็นโลหะเดี่ยวไม่มีการผสม องค์นี้ถอดพิมพ์มาได้ใกล้เคียงมากแต่ก็ยังมีจุดที่น่าจะทำให้ไปไม่ถึงดวงดาวก็คือ เม็ดไข่ปลาเล็กกว่าเลยทำให้ระยะห่างของเม็ดไข่ปลากว้างยาวขึ้น เม็ดไข่ปลาของห่วงล่างสุดผิดตำแหน่ง มีการเน้นรอยผ่าในส่วนที่ลงวงไว้ชัดอย่างจงใจไม่ธรรมชาติต้องขยายดูนะครับ จุดที่ควารจะมีตามซอก หายไป ด้านข้างพบว่ามีร่องคล้ายตะเข็บ แต่ในความเป็นจริงจะไม่มี เพราะแม่พิมพ์จะเป็นหลุมลึกเป็นแบบลงไปเมื่อแกะแบบออกจะไม่เป็นร่องตะเข็บแบบในรูป องค์นี้ยังไม่อยู่ในยุคนั้นครับ องค์อื่นเดี๋ยวว่างจะตอบให้ครับ
หน้า 443 ของ 459