ตามรอยเสด็จพระราชสมภพ รัชกาลที่ 9

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 5 ธันวาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>ตามรอยเสด็จพระราชสมภพ รัชกาลที่ 9

    กิตติพงศ์ อันธพันธ์ เรื่อง / ภาพ

    [​IMG]
    </TD><TD vAlign=top align=right>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    พระบรมฉายาลักษณ์บนชั้น 5 (The Birth Place) ของโรงพยาบาลเมาท์ออร์เบิร์น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ซึ่งเป็นมลรัฐในเขตนิวอิงแลนด์ ที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา มีเมืองสำคัญที่หลายคนรู้จักกันดี นั่นก็คือ เมืองบอสตัน อันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐ ที่เมืองแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดเหตุการณ์สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์อเมริกา

    เช่น เหตุการณ์สังหารหมู่ที่บอสตัน การเลี้ยงน้ำชาในเมืองบอสตัน ซึ่งนำไปสู่การประกาศอิสรภาพอเมริกา และสงครามกลางเมือง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเหตุการณ์ที่ชาวอเมริกันต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี

    ที่เมืองบอสตัน นอกจากจะมีประวัติศาสตร์อันน่าภาคภูมิใจของชาวอเมริกันที่เกิดขึ้นที่นี่แล้ว ณ เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งที่ชื่อว่า "เมืองเคมบริดจ์" ซึ่งตั้งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำกับเมืองบอสตัน ก็มีประวัติศาสตร์สำคัญอันน่าภาคภูมิใจของชาติไทยเราอยู่ที่นี่อีกด้วย

    เหตุการณ์สำคัญที่ว่านี้ก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมาท์ออร์เบิร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2470 นั่นเอง

    เหตุที่พระองค์เสด็จพระราชสมภพในเมืองนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล อดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ เสด็จไปทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ภาควิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อปี พ.ศ.2469 และทรงนำครอบครัว ซึ่งก็คือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กับพระธิดาและพระโอรส คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา และเจ้าฟ้าอานันทมหิดล มาประทับอยู่ที่เมืองบอสตัน

    จึงถือได้ว่าทรงเป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวในโลกที่เสด็จพระราชสมภพในดินแดนแห่งเสรีภาพ นาม "สหรัฐอเมริกา..."

    นับตั้งแต่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองเคมบริดจ์ มาจนถึงบัดนี้ เป็นระยะเวลา 79 ปีแล้ว สถานที่หลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับทั้งพระบรมราชชนก พระบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ล้วนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายตามกาลเวลา

    ปัจจุบันเมืองบอสตันเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่นเดียวกับที่เมืองเคมบริดจ์ก็เป็นเมืองที่มีความสำคัญด้านการศึกษาด้วย มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐ ตั้งอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์แห่งนี้

    เช่นเดียวกันกับ โรงพยาบาลเมาท์ออร์เบิร์น ที่ตั้งตระหง่านริมแม่น้ำชาร์ลส์ เป็นโรงพยาบาลประจำเมืองเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพ

    เมื่อ 79 ปีที่แล้ว ดร.ดับเบิลยู. สจ๊วต วิทท์มอร์ (Dr. W. Stewart Whittemore) และคณะนางพยาบาลอีก 4 ท่าน ได้ปฏิบัติภารกิจทางการแพทย์ที่สำคัญยิ่งครั้งหนึ่งของโลก นั่นคือ ถวายพระประสูติกาลแด่หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา หรือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

    และครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2503 คราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นที่แน่นอนว่าที่โรงพยาบาลแห่งนี้อยู่ในหมายกำหนดการเสด็จฯของพระองค์ท่าน และในครั้งนั้นเองที่พระองค์ได้พบกับ ดร.ดับเบิลยู. สจ๊วต วิทท์มอร์ อีกครั้ง รวมทั้งนางพยาบาลทั้ง 4 ท่าน คือ มิสซิส เลสลี่ เลห์ตัน, มิสซิส เจนนีเวฟ เวลตัน, มิสซิส มาร์กาเลต เฟย์ และมิสซิส รูธ อาร์ริงตัน

    ทั้งยังพระราชทานของที่ระลึกแด่ ดร.วิทท์มอร์ ซึ่งมีข้อความว่า "แด่มิตรคนแรกของฉัน ดร.วิทท์มอร์ ด้วยความระลึกถึงและรักใคร่"

    นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ทอดพระเนตรห้องพระประสูติกาลของพระองค์ และทรงปลาบปลื้มยิ่งนักที่ได้มีโอกาสเสด็จฯมาเยือน ณ สถานที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้

    แม้ปัจจุบัน ตึกฟิสค์ ซึ่งเป็นตึกที่ถวายพระประสูติกาลแด่สมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ถูกทุบทิ้งเพื่อปรับปรุงใหม่ แต่ทางโรงพยาบาลก็ยังไม่ลืมเลือนว่า ครั้งหนึ่งพระมหากษัตริย์ไทยประสูติที่นี่

    ดังนั้น บริเวณชั้น 5 (The Birth Place) ของโรงพยาบาล จึงยังมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ประดิษฐานอยู่ด้วย

    "ดิฉันคิดว่า เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดีในการช่วยบอกกล่าวถึงสถานที่ประสูติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในบอสตัน และนั่นเป็นที่มาของจัตุรัสซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่นี่ ซึ่งตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์ เพื่อให้ผู้คนตระหนักว่า นี่คือสถานที่ประสูติ อย่างที่เราทราบ พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่ประสูติในสหรัฐอเมริกา และนั่นไม่ใช่หมายถึงเพียงเมาท์ออร์เบิร์นในเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ที่มีความพิเศษยิ่งกว่า แต่เป็นความพิเศษสำหรับชาวไทยทั่วโลก ไม่ใช่แค่ในสหรัฐอเมริกา"

    คุณเจเน็ต คลัฟฟ์ เพรสซิเดนท์คนสำคัญของโรงพยาบาลเมาท์ออร์เบิร์น กล่าวกับเราในขณะที่ได้ไปเยี่ยมเยือนโรงพยาบาลแห่งนี้

    ที่เมืองเคมบริดจ์ นอกจากจะมีโรงพยาบาลเมาท์ออร์เบิร์นอันเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ของปวงชนชาวไทยแล้ว ยังมีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, บ้านเลขที่ 63 ถนนลองวูด และจัตุรัสภูมิพลอดุลยเดช สแควร์ เป็นสถานที่สำคัญที่คนไทยทุกคนที่ได้มีโอกาสมายังเมืองเคมบริดจ์ย่อมไม่พลาดที่จะได้มาชมสถานที่ทั้ง 2 แห่งที่ว่านี้

    มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นสถานที่ที่สมเด็จพระบรมราชชนก เคยเสด็จฯมาศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ที่นี่ และในครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯมาเยี่ยมเยียนเมื่อปี พ.ศ.2503 พระองค์พระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นที่ระลึกแด่มหาวิทยาลัยอีกด้วย

    และในปัจจุบัน พระบรมฉายาลักษณ์ก็ยังคงประดิษฐานอยู่ที่หอพักนักศึกษาแพทย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งเมืองบอสตัน

    ที่ถนนลองวูด (Longwood Ave.) ในเขตเมืองบอสตัน อาคารสามชั้นที่ต่อเรียงไปตลอดตามแนวถนน มีอยู่หลังหนึ่งติดป้ายบอกเลขที่ 63 ปัจจุบันเจ้าของบ้านเป็นหญิงสาวที่ชื่อว่า โจแอน ซุลลิแวน (Joanne Sullivan) ผู้เป็นเจ้าของบ้านในปัจจุบัน เมื่อเธอได้ทราบว่า ในอดีตบ้านที่เธอกำลังพักอาศัยอยู่นี้ เคยเป็นที่ประทับของครอบครัว "มหิดล" และเป็นบ้านที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯเยือนเมื่อครั้งปี พ.ศ.2503 เธอจึงรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมาก

    "เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากที่ฉันได้อาศัยอยู่ที่นี่ อันเป็นสถานที่ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจ...เท่าที่รู้ ตึกสร้างขึ้นในกลางปี 1920 ด้านหน้าของตึกยังค่อนข้างเป็นของเดิมอยู่มาก แต่ประตูอาจจะมีการซ่อมแซมมีรอยเสียหายบ้าง ส่วนตัวตึกก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนักในหลายปีที่ฉันมาอยู่ที่นี่...ตอนนี้คอนโดมิเนียมมีทั้งหมด 6 ยูนิต แต่ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับมีเพียง 3 ยูนิต ต่อมาจึงมีการปรับปรุงเป็น 6 ยูนิต" เธอเปิดเผยกับเราด้วยความตื่นเต้น

    ส่วน จัตุรัสภูมิพลอดุลยเดช สแควร์ (King Bhumibol Square) เป็นสถานที่ที่ ทางมูลนิธิ King of Thailand Birthplace Foundation (KTBF) ซึ่งนำโดย ชลธณี แก้วโรจน์ ร่วมกับทางเทศบาลเมืองเคมบริดจ์ จัดสร้างจัตุรัสขึ้นเพื่อระลึกถึงพระมหากษัตริย์หนึ่งเดียวในโลกที่ประสูติ ณ เมืองแห่งนี้ อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทุกคนที่ได้มาอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา

    "ในฐานะที่เราเป็นคนที่อยู่ที่นี่ ซึ่งเป็นรัฐที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพ อีกทั้งเรามีความจงรักภักดีต่อในหลวงของเรา เราจึงมีความรู้สึกว่า เราควรจะทำอะไรสักอย่างให้ประเทศไทยและเพื่อที่จะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา จัตุรัสแห่งนี้จึงถือกำเนิดขึ้นมาด้วยความร่วมแรงร่วมใจของคนไทยและคนอเมริกันที่รู้จักและนับถือในหลวงของเราเป็นอย่างดี" คุณชลธินี ประธานมูลนิธิกล่าว

    ในปัจจุบัน จัตุรัสภูมิพล อดุลยเดช สแควร์ เป็นสถานที่ศูนย์รวมของคนไทยทุกหมู่เหล่า และในแต่ละวันของจัตุรัสภูมิพล อดุลยเดช สแควร์ ภาพของคนไทยที่ได้มาถ่ายรูปคู่กับจัตุรัสแห่งนี้ เป็นภาพที่ชินตาสำหรับชาวอเมริกันเจ้าของบ้านเกิดเมืองนอน จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าจัตุรัสแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญสำหรับคนไทยจริงๆ

    เรื่องราวของทั้งเมืองเคมบริดจ์และเมืองบอสตัน ในอันที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรานั้นยังมีอีกมากมาย และในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษา 79 พรรษา จึงอยากเชิญชวนคนไทยทุกคนร่วมติดตามสารคดีเฉลิมพระเกียรติชุดประวัติศาสตร์ "ตามรอยนครราชสมภพ" ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิ 5 ธันวามหาราช ร่วมกับบริษัท โกลบอลอินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ได้ในคืนวันที่ 5 ธันวาคม ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เวลา 20.25-21.25 น.

    แล้วเราจะรู้ว่าแม้แต่แผ่นดินอันไกลโพ้น ยังมีพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมคนไทยอยู่ทั่วโลกไม่มีวันเสื่อมคลาย...!!
    -----------------
    ที่มา: มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra01051249&day=2006/12/05
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...