ตามรอย"พระไสยาสน์ตะแคงซ้าย"วัดพุทธนิมิต (ภูค่าว)

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 16 เมษายน 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    ตามรอย "พระไสยาสน์ตะแคงซ้าย" วัดพุทธนิมิต (ภูค่าว)

    รายงาน

    โดย ชมพิศ ปิ่นเมือง



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>"พระนอน" ที่แปลกที่สุดน่าจะอยู่ที่ "วัดพุทธนิมิต" (ภูค่าว) ตั้งอยู่ บ้านนาสีนวล ต.สหัสขันธ์ อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 7 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนภูเขาขนาดย่อม

    โดยเป็นปูชนียวัตถุโบราณแห่งแรกของ จ.กาฬสินธุ์ ที่กรมศิลปากรรับจดขึ้นทะเบียน หลังจากที่ "สมเด็จพระมหาวีรวงษ์" (อ้วน ติสฺสมหาเถร) อดีตปฐมสังฆนายกแห่งคณะสงฆ์ไทย วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ได้มากราบพระไสยาสน์องค์นี้ เมื่อ พ.ศ.2484 มีบัญชาให้อธิบดีกรมศิลปากร จดทะเบียนไว้

    โดยองค์พระไสยาสน์ มีความยาว 2 เมตร กว้าง 50 เซนติเมตร ตำแหน่งที่ประทับอยู่หน้าปากถ้ำกว้างประมาณ 5 เมตร สูงจากพื้นระดับเพดานถ้ำประมาณ 3 เมตร ลานด้านหน้าองค์พระกว้างประมาณ 10 เมตร และที่แปลกอย่างที่กล่าวไว้คือ พระไสยาสน์องค์นี้ตะแคงซ้าย

    ผู้รู้ได้สันนิษฐานว่า เป็นสัญลักษณ์ของ "พระมหาโมคคัลลานะเถรเจ้า" พระอัครสาวกเบื้องซ้ายขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ด้วยศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในช่วงประเพณีสงกรานต์จะแห่แหนไปสรงน้ำขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลเนื่องเพราะพระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นตำนานเล่าขาน

    "พรชัย ไชยคำมี" (นธ.เอก ปธ.) อดีตผู้ใหญ่บ้านแหนบทองคำ พ.ศ.2523 ได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือประวัติถ้ำพระภูค่าว ว่า นายสากับพรรคพวกชาวขอมเป็นผู้สร้าง โดยแกะสลักองค์พระไสยาสน์ในถ้ำนี้ เมื่อครั้งหลังการสมโภชองค์พระธาตุพนมและบรรจุพระอุรังคธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าราว พ.ศ.8 หากเมื่อนับมาถึง พ.ศ.2552 ก็จะมีอายุนานถึง 2,544 ปี นับว่าเก่าแก่มากที่สุดองค์หนึ่ง

    ตำนานเล่าขานว่า ครั้งเมื่อพระเจ้าศรีโคตรบูรณ์หรือพระยาขอม ประมาณปี พ.ศ.8 มีพระมหากัสสปเถรเจ้าเป็นองค์ประธาน พรั่งพร้อมด้วยพระอรหันต์ขีณาสพ 500 องค์ ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก) ขององค์พระพุทธเจ้า เสด็จมาโดยทางญาณวิถีนภากาศ (เหาะมาทางอากาศ) ลงสู่ "ภูกำพร้า" วัดพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ได้พร้อมใจกันสร้างอุโมงค์ โดยเอาดินดิบมาก่อเรียงกันขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม เสร็จแล้วเอาไฟเผาให้สุก มีประตูปิดเปิดได้ทั้ง 4 ด้าน สูงประมาณ 5 เมตร เมื่อเสร็จและกระทำพิธีฐาปนา (บรรจุ) พระอุรังคธาตุไว้ในอุโมงค์นั้น และให้ชื่อว่า "พระธาตุพนม" จากนั้นพระมหากัสสปเถรเจ้า พร้อมด้วยหมู่พระอรหันต์ขีณาสพ 500 องค์ ก็เสด็จกลับสู่กรุงราชคฤห์ในชมพูทวีป

    พระเจ้าศรีโคตรบูรณ์จึงได้จัดให้มีการสมโภชองค์พระธาตุพนมอย่างยิ่งใหญ่ จึงได้มีสารบอกไปทางหัวเมืองขอมด้านเขมรต่ำที่เป็นเมืองขึ้น ว่าให้รวบรวมทรัพย์สมบัติอันมีค่า ขึ้นมาทำการสมโภชพระธาตุพนมด้วยกัน ซึ่งทางเขมรต่ำก็ได้รับคำทำตามสารบอกนั้น โดยได้แต่งตั้งผู้มีความสามารถคนหนึ่งชื่อ "นายสา" เป็นหัวหน้าคณะ ทำหน้าที่ควบคุมพรรคพวกและทรัพย์สมบัติ เดินทางขึ้นมาทางเมืองร้อยเอ็ด

    การเดินทางของคณะนายสา ได้รอนแรมมาตามระยะทางที่แสนลำบาก ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะมุ่งสู่องค์พระธาตุพนมให้จงได้ ครั้นเดินทางมาถึงบ่อน้ำซับคำม่วง (บ่อคำม่วง) ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของภูค่าวไม่ไกล ขณะที่พักแรมอยู่นี่เอง ก็ได้ทราบข่าวว่าการสมโภชองค์พระธาตุพนมได้เสร็จสิ้นลงแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้นายสากับพรรคพวก จึงได้ปรึกษากันว่า บรรดาทรัพย์สมบัติที่ขนกันมานี้จะทำประการใด ถ้าจะขนกลับไปก็ดูจะไม่สมควร ทั้งการเดินทางก็สุดแสนลำบากยากยิ่งและแสนไกล ในที่สุดก็ได้ลงความเห็นกันว่า น่าจะฝังทรัพย์สมบัติเหล่านี้ไว้ จึงได้ลงมือแกะสลักรูปองค์พระอรหันต์ขีณาสพพระมหาโมคคัลลานเถรเจ้า อัครสาวกเบื้องซ้ายขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยให้มีลักษณะในอิริยาบถไสยาสน์ตะแคงซ้าย หันเศียรไปทางด้านที่พระธาตุพนมตั้งอยู่ คือด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และถือเป็นนิมิตมงคลว่า พระธาตุพนมนั้น เป็นองค์แทนพระพุทธเจ้า ที่เสด็จประทับอยู่ด้านทิศที่เศียรพระไสยาสน์หันไป พร้อมได้ฝากคำปริศนา ให้ผู้คนรุ่นต่อมาเข้าใจว่าเป็นลายแทงแหล่งสมบัติที่ว่า "พระหลงหมู่อยู่ภูถ้ำบก แสงตาตกมีเงิน 7 แสน คำ 7 แสน ไผหาได้กินทานหาแหน่ เหลือจากนั้นกินเลี้ยงบ่หลอ"

    เพราะเชื่อว่าบริเวณที่พระไสยาสน์ประทับอยู่จะมีทรัพย์สมบัติมากมายฝังอยู่ คำบอกเล่าระบุว่ามีคนเข้าไปขุดค้นหาจำนวนมากแต่สุดท้ายกลุ่มคนผู้นั้นก็จะมีอันเป็นไปทุกราย จนทำชาวบ้านทั้งใกล้และไกล ต่างมีความเลื่อมใสศรัทธามาสักการะอธิษฐาน ขอความเป็นสิริมงคลมิได้ขาด

    แรงศรัทธาที่หลั่งไหลมาไม่ขาดสายนี้ นำมาซึ่งการพัฒนาวัดพุทธนิมิต (ภูค่าว) จนมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ได้รับการยกย่องชื่นชมจากสาธุชนทั่วไปว่า เป็นวัดที่มีทัศนียภาพสวยงามยิ่ง วัตถุธรรมและเสนาสนะสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ล้วนวิจิตรอลังการ ประหนึ่งเป็นพุทธสถานแห่งการท่องเที่ยวทั้งทางโลก-ทางธรรม และคงความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในที

    นอกเหนือจากพระไสยาสน์อันศักดิ์สิทธิ์แล้ว ความสวยงามของทัศนียภาพของภูค่าว ความงดงามของพระอุโบสถไม้แบบเปิด แกะสลักลวดลายงดงาม ตามประตู หน้าต่าง เพดาน เป็นภาพพุทธประวัติ ทศชาติชาดก และยังมีวิหารสังฆนิมิตร ซึ่งเป็นที่เก็บพระพุทธรูป และพระเครื่องรุ่นต่างๆ ที่หายากจำนวนมาก

    "วัดพุทธนิมิต" และ "พระไสยาสน์" จึงควรไปกราบสักการะยิ่งนัก

    -----------
    [​IMG]

    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pro40160452&sectionid=0112&day=2009-04-16
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    http://palungjit.org/threads/เธžเธฃ...นˆเธˆเธฐเน„เธ”เน‰.22445/page-1507#post2038611

    วัดพุทธนิมิตร (อุโบสถไม้ วัดภูค่าว)
    โดยคุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->:::เพชร:::<!-- google_ad_section_end -->


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR vAlign=bottom><TD class=font_data width=50 height=20>ชื่อ</TD><TD class=font_data width=350 colSpan=2 height=20>อุโบสถวัดพุทธนิมิตร (อุโบสถไม้ วัดภูค่าว)</TD></TR><TR vAlign=bottom><TD class=font_data width=50 height=20>ภาค</TD><TD class=font_data colSpan=2 height=20>ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ</TD></TR><TR vAlign=bottom><TD class=font_data width=50 height=20>จังหวัด</TD><TD class=font_data colSpan=2 height=20>กาฬสินธุ์</TD></TR></TBODY></TABLE>



    สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่บน ภูค่าว บ้านนาสีนวล ต. นาสีนวล อ. สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ อยู่บนเนินเขาเข้าสู่วัดภูค่าว ระยะทางห่างจากอำเภอสหัสขันธ์ ๘ กิโลเมตร

    สิ่งดึงดูดใจ
    ๑. อุโบสถวัดพุทธนิมิตร เป็นอุโบสถที่ก่อสร้างแบบภาคเหนือและภาคกลางผสมผสานให้กลมกลืนกัน เป็นอุโบสถเปิดโล่งไม่มีฝาผนังปิดกั้น
    ๒. ระเบียงปูด้วยศิลาแลงโดยรอบตัวอุโบสถทั้งหมดก่อสร้างด้วยไม้แกะสลักลวดลายไทยเป็นภาพ ๓ มิติ ที่มีความอ่อนช้อยงดงามวิจิตรด้วยฝีมือคณะช่างที่เชี่ยวชาญชำนาญการในศิลปะการแกะสลักจากตระกูลช่างเมืองเหนือ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย อ.สันป่าตอง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ และจ.ลำปาง
    ๓. ภาพหลักที่ปรากฏให้เห็นจะเป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติประกอบด้วยลายไทยเครือเถา ทิวทัศน์ป่า สรรพสัตว์นานา หน้าบรรณของอุโบสถหน้าหลัง และหลังคาด้านในจะเป็นภาพพระพุทธองค์ในปางต่าง ๆ ด้วยลีลาพระอิริยาบถต่าง ๆสายพระเนตรประดุจเพ่งตรงไปยังชาวโลก ด้วยพระเมตตาห่วงใยให้พ้นทุกข์บางภาพจะเกิดจากแนวคิดของพระอาจารย์ จากการบรรยายพุทธประวัติซึ่งยังไม่เคยปรากฏมีการแกะสลักหรือภาพวาดในที่ใด ๆ มาก่อน อุโบสถด้านหน้าทางทิศตะวันออกจะมีบานไม้แกะสลักหน้าหลังเป็นภาพมหาชาติเวสสันดรชาดก กัณฑ์ต่าง ๆ ๑๖ ภาพ ด้านทิศเหนือ และทิศใต้จะเป็นภาพที่ยิ่งใหญ่ทศชาติชาดก เป็นการบำเพ็ญเพียรบารมีของพระพุทธองค์ทั้ง ๑๐ ชาติ สลับกับแนวไม้แกะสลักเกี่ยวกระหวัดพันเป็นลายดอกไม้โดยรอบอุโบสถ์ด้านหลังมีซุ้มประตู ๑๔ บาน ๑๑ ช่อง แกะสลักภาพต่อเนื่องทั้งบานร่องลึก , เชิงซ้อนหน้าหลัง เสาประตูแกะสลักเป็นลายไทยโบราณต่าง ๆ ส่วนยอดซุ้มประตูทุกบานแกะสลักเป็นพระราหูกับพญานาค ซึ่งมีความสวยงามประดุจชีวิตจริง
    ๔. บันไดทางขึ้นอุโบสถหน้าหลังนอกจากจะปูด้วยศิลาแลงแล้ว ที่หัวบันไดแกะสลักเป็นเทพเจ้า ประจำทิศทั้ง ๘ ทิศ แสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ว่าเป็นแหล่งชุมนุมเทวดาเพื่อปกปักษ์รักษาชาวโลกและฟังธรรมอันวิเศษ
    ๕. พื้นที่รอบอุโบสถเป็นสวนไม้ไทย ๆ ปลูกไม้ยืนต้นไว้เป็นจำนวนมาก เช่น สารภี ไม้กฤษณา โศก ลำดวน บุนนาค พันชาติ ลูกจันทน์ ฯลฯ เพื่อให้ร่มเงาแก่พุทธศาสนิกชนในการถือศีลภาวนาตามวาระโอกาสต่าง ๆ แนวรั้วรอบอุโบสถ จะมีซุ้มเรือนแก้ว ๔ ทิศ และไม้ทั้งต้นวางตามแนวของรั้วโดยตลอด

    สิ่งอำนวยความสะดวก
    อุโบสถ เปิดกว้าง สำหรับทุกคน ที่เข้ามาเยี่ยมชมได้จำนวนมาก ได้ศึกษาทั้งธรรมชาติและความสงบ มีบริเวณกว้างขวาง และสามารถเดินทางไปสักการะพระพุทธไสยาสน์ ถ้ำวัดภูค่าวได้ และเยี่ยมชมโบสถ์พระได้หลายอย่าง

    เส้นทางเข้าสู่อุโบสถไม้วัดภูค่าว
    เส้นทาง ลาดยางสะดวก จากจังหวัดกาฬสินธุ์เดินตามเส้นทางได้ ๒ สาย
    ๑. สายอำเภอเมือง-อำเภอสมเด็จ จากอำเภอสมเด็จ เลี้ยวซ้ายไปตามสายสมเด็จ-อ.สหัสขันธ์
    ๒. สายอำเภอเมือง-อำเภอสหัสขันธ์ เลี้ยวขวาไปตามทางสาย อ.สหัสขันธ์-อ.คำม่วง

    http://ecurriculum.mv.ac.th/library2...sp-id=0594.htm

    ทึ่งวิหารอันซีน ติดพระเครื่อง กว่า 2 แสนองค์


    ทึ่งวิหารไทยประดับพระพุทธรูปและพระพิมพ์กว่า 2 แสนองค์ เป็นศูนย์รวมพระดังที่หายากจากทั่วประเทศ อาทิ พระสมเด็จรุ่นที่ 1 พระรอด พระหลวงพ่อโต ซ้ำเจ้าอาวาสยังจำวัดในโลงศพ
    วิหารสังฆนิมิตร วิหารประดับพระพิมพ์และพระพุทธรูป ตั้งอยู่ภายในวัดพุทธนิมิต หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดภูค่าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ เป็นวิหารที่ประดับด้วยพระพุทธรูปและพระพิมพ์ทั้งหลังที่มีมากกว่า 2 แสนองค์ สร้างโดยพระอาจารย์ณรงค์ ชยมงคโล เจ้าอาวาส ที่อดีตเคยธุดงค์ผ่านมายังวัดเมื่อ 16 ปีก่อน พบว่าบริเวณนี้เป็นวัดร้าง จึงได้เข้ามาปรับปรุงบูรณะปฏิสังขรณ์ จนกลายเป็นวัดที่มีความสวยงามร่มรื่น
    นอกจากนั้นยังได้ก่อสร้างวิหารสังฆนิมิตร วิหารที่ประดับประดาด้วยพระพุทธรูปและพระพิมพ์หายาก ผู้สื่อข่าวถามถึงสาเหตุของการสร้างวิหารพระสังฆนิมิตรนี้ พระอาจารย์ณรงค์ ชยมงคโล เล่าให้ฟังว่าไม่ได้ต้องการให้เป็นวัดที่มีชื่อเสียงหรือแปลกแต่อย่างใด แต่พระอาจารย์ณรงค์มีความชอบสะสมพระเครื่องและพระพุทธรูป รวมทั้งมีบุคคลที่ทราบว่าท่านชอบพระจึงนำมาถวาย
    "ถ้าไม่นำมาทำให้เกิดประโยชน์ก็จะสูญเปล่าและสูญหายไปในที่สุด สิ่งที่บรรพบุรุษสร้างไว้ให้ก็ควรค่าแก่การเก็บรักษา ควรเก็บไว้ในที่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ จึงได้นำพระที่เก็บไว้มาประดับวิหารแห่งนี้ ดีกว่าเก็บไว้ในกล่องในลัง เอามาสร้างให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้ลูกหลานรุ่นต่อไปได้ศึกษา
    พระพุทธรูปและพระพิมพ์ที่นำมาประดับประดาภายในวิหารแห่งนี้นั้น มีพระชื่อดังและพระที่หายากมากมาย อาทิ พระสมเด็จรุ่นที่ 1, พระหลวงพ่อโต, พระสมเด็จรัชกาลที่ 5, พระกริ่ง, พระรอด เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของเจ้าอาวาส และการบริจาคของผู้ที่ศรัทธา ส่วนทางด้านงบประมาณในการสร้าง เพียงแค่ด้านนอกของโบสถ์ใช้งบประมาณกว่า 5 แสนบาท แต่ในส่วนของพระพิมพ์และพระพุทธรูปที่นำมาประดับนั้นยากที่จะประเมินค่า สังเกตจากความดังและความหายากของพระที่นำมาประดับ
    ผู้ที่เดินทางมาเยี่ยมชมภายในวิหารแห่งนี้ บางรายก็เป็นนักสะสมพระ โดยจะใช้เวลาทั้งวันเพื่อที่จะดูพระพิมพ์หรือพระพุทธรูปที่อยู่ภายในวิหาร หรือผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องพระเท่าไหร่ ก็จะเดินทางมาชมความประหลาดของวิหารแห่งนี้มากมาย โดยเฉพาะในวันเสาร์-อาทิตย์ มีผู้ที่เดินทางมาชมวิหารแห่งนี้ถึงวันละ 1,000 คน
    ภายในวิหารไม่เพียงมีแค่พระพุทธรูปและพระพิมพ์ ยังมีพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุ และรูปถ่ายของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระอาจารย์ณรงค์ ชยมงคโล บอกว่าได้มาจากผู้ใจบุญในประเทศอินเดียที่มามอบให้พระอาจารย์ประดับไว้ให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมอีกด้วย
    ผู้สื่อข่าวรายงานความน่าอัศจรรย์ของวัดแห่งนี้อีกว่า พระอาจารย์ณรงค์ ชยมงคโล เจ้าอาวาสยังมีวิธีการจำวัดที่แตกต่างไปจากพระรูปอื่นทั่วๆ ไป คือจำวัดในโลงศพ ซึ่งท่านได้ให้เล่าถึงสาเหตุที่จำวัดในโลงศพว่า คนเราเกิดมาทุกคน จะยากดีมีจนมาจากไหน สุดท้ายก็ต้องลงไปนอนในที่แห่งนั้นทุกคน มิหนำซ้ำด้านหน้าของโลงศพ ซึ่งเป็นสถานที่จำวัดยังมีโลงแก้วที่บรรจุโครงกระดูกเอาไว้ เมื่อเวลาเราดูแล้วจะได้เกิดอาการปลงสังขาร ว่าสุดท้ายทุกคนต้องลงไปนอนในที่แห่งนี้ ทั้งนี้ พระอาจารย์ณรงค์ ชยมงคโล ปฏิบัติตนด้วยการจำวัดในโลงศพเช่นนี้มาตลอด 16 พรรษา ที่วัดพุทธนิมิตแห่งนี้.
    http://www.kapook.com/news/07/4837.html
    เมื่อออกจากสกลนครเราแวะไปกาฬสินธุ์ ชมพระพุทธไสยาสน์ตะแคงซ้าย ไม่มีพระเกตุมาลาที่วัด พุทธนิมิต(วัดภูค่าว) บ้านนาสีนวล พระพุทธรูปนี้เป็นพระนอนในท่าตะแคงซ้าย ไม่มีเกตุมาลา ต่างจากพระพุทธรูปอื่นที่จะตะแคงขวา ความยาวของพระพุทธไสยยาสน์ประมาณ 2 เมตร กว้าง 50 เซนติเมตรเป็นที่เคาระสักการะของประชาชนทั่วไป

    ภายในวัดแห่งนี้มีวิหารสังฆนิมิตร ซึ่งเป็นที่เก็บพระพุทธรูปและพรเครื่องรุ่นต่างๆ ที่หายากจำนวนเรือนแสน มีไม้ที่แกะสลักสวยงาม เปิดให้ประชาชนที่สนใจเข้าชมได้ทุกวัน

    ต่อมาเราไปที่ภูกุ้มข้าว วัดป่าสักกะวัน อ.สหัสขันธ์ ห่างจากวัดภูค่าวไม่มากนัก ได้เห็นการขุดพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ เมื่อปี 2514 โดยพระญาณวิสาลเถร (พระครูวิจิตรสหัสคุณ) เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ภายในมีกระดูกไดโนเสาร์ที่ขุดพบเป็นจำนวนมากในชั้นหินทราย อายุประมาณ 130 ล้านปี ประกอบด้วยไดโนเสาร์ซอโรพอด อย่างน้อย 7 ตัวพร้อมชิ้นส่วนที่สมบูรณ์

    จาก ต.สหัสขันธ์ มายัง ต.ภูปอ เพื่อไปมนัสการพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ซึ่งเป็นฝีมือช่างสมัยทวารวดีที่วัดอินทร์ประทานพร(พุทธสถานภูปอ) จำหลักบนหน้าผา 2 องค์ องค์แรกประดิษฐานอยู่บนเชิงทางขึ้นองค์ที่ 2 ประดิษฐานอยู่บนภูปอ ใช้บันไดเป็นเส้นทางในการเดินขึ้นไปบนภูปอถึง 400 ขั้น

    บนยอดหุบเขาภูปอมีทิวทัศน์ที่สวยงามมากเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ
    http://user.ezyplaces.com/store.php?...roductsid=7681<!-- google_ad_section_end -->


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>[​IMG]
    อุโบสถไม้ วัดพุทธนิมิตร (วัดภูค่าว)
    ......................................................................................


    วัดพุทธนิมิตร (วัดภูค่าว)
    บ้านนาสีนวล ต.สหัสขันธ์
    อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ 46140


    พระอาจารย์ณรงค์ ชยมงฺคโล เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    วัดพุทธนิมิตร (วัดภูค่าว) เป็นวัดที่เหมาะสำหรับเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมยิ่ง บรรยากาศของวัดมีความร่มรื่น เงียบสงบ สงบเย็น เป็นที่ประดิษฐานของ “พระพุทธไสยาสน์ภูค่าว” ซึ่งเป็นพระพุทธไสยาสน์ที่แปลกแตกต่างกับพุทธไสยาสน์ทั่วไปคือ ท่าตะแคงซ้าย ไม่มีพระเกตุมาลา ยื่นอยู่ใต้เพิงหินผนังถ้ำ ลักษณะเป็นภาพแกะสลักนูนต่ำสูงขึ้นมาจากแผ่นหิน

    [​IMG]
    พระประธานในอุโบสถ และภาพแกะสลักพุทธประวัติบนฝ้าเพดาน
    ......................................................................................


    สันนิษฐานว่าช่างผู้สร้าง “พระพุทธไสยาสน์ภูค่าว” คงไม่ได้คำนึงว่าการสร้างรูปพระนอนโดยตะแคงขวาหรือซ้ายเป็นเรื่องสำคัญ แต่คำนึงถึงทิศทางหันพระเศียรให้อยู่ค่อนไปทางทิศเหนือซึ่งเป็นทิศที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระนอนองค์นี้มีประวัติว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2235 เป็นพระโมคคัลลานะ พุทธสถานแห่งนี้เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชน และชาวบ้านทั่วไป มีการเดินทางมาปฏิบัติธรรม สักการบูชาอยู่เนืองๆ

    วัดนี้ตั้งอยู่ห่างจากตลาดสหัสขันธ์ประมาณ 6 กิโลเมตร เดินทางตามทางหลวง หมายเลข 227 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 37-38 มีป้ายบอกทางเข้า “พระพุทธไสยาสน์ภูค่าว” ผ่านบ้านโนนสมบูรณ์ ถึงทางแยกเล็กเข้าวัดพุทธนิมิต ไต่ขึ้นทางบนหลังภูค่าวจนถึงลานวัดซึ่งอยู่บนยอดภู มีป้ายบอกเดินลงมาเลียบผาประมาณ 100 เมตร

    [​IMG]
    พระพุทธไสยาสน์เป็นพระนอนตะแคงซ้าย ไม่มีเกตุมาลา</TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=1712<!-- google_ad_section_end -->

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    “พระพุทธไสยาสน์ภูค่าว” องค์นี้มีที่มาที่ไม่พบการบันทึกในเวบไซด์ที่นำมาให้ชมกัน เป็นพระที่ชาวลาวได้สร้างไว้เนื่องจากคราวที่พระธาตุพนมล้มครั้งแรกได้เกิดจิตศรัทธาเดินทางไกลระดมกันมาเพื่อจะมาช่วยกันซ่อมแซมองค์พระธาตุพนม แต่เมื่อมาถึงสถานที่นี้ซึ่งเป็นครึ่งทาง ได้ทราบข่าวว่าพระธาตุพนมได้บูรณะเสร็จแล้ว ด้วยจิตศรัทธาต่อองค์พระธาตุพนมจึงได้สร้าง“พระพุทธไสยาสน์ภูค่าว” ไว้เป็นอนุสรณ์แทน
    <!-- google_ad_section_end -->
    http://palungjit.org/threads/พம.22445.828/
    หน้าที่ 828
     
  3. ConAir

    ConAir Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +50
    อนุมโทนา ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...