ตำนานแผ่นดิน-หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์วัดมหาธาตุวรวิหาร จ.เพชรบุรี

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 19 เมษายน 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    ตำนานแผ่นดิน - หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุวรวิหาร จ.เพชรบุรี


    [​IMG]

    คมชัดลึก :

    วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของ จ.เพชรบุรี ภายในวัดมี พระปรางค์ห้ายอด ที่สูงโดดเด่นเป็นสง่า มองเห็นองค์พระปรางค์ได้แต่ไกล

    ภายใน พระวิหารหลวง มีพระประธานทรงราชาภรณ์ องค์รองลงมาลดหลั่นกันไป ที่สำคัญคือ ภายในพระวิหารยังเป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 8 นิ้ว พระหัตถ์ซ้ายถือพัด ที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุ เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวพุทธใน จ.เพชรบุรี
    พี่น้องชาวเมืองเพชรบุรีมีเรื่องเดือดร้อนใจ หรือต้องการความช่วยเหลือ ต้องไปบนบานขอความช่วยเหลือจาก หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์วัดมหาธาตุ เมื่อประสบความสำเร็จตามที่บนบานไว้ ต้องแก้บนด้วยการ จ้างละครชาตรีหน้าพระวิหารหลวง ให้เล่นละครถวายหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์
    จะสังเกตได้ว่า ถ้าเป็นชาวเพชรบุรีแท้ๆ เมื่อเข้าไปกราบไหว้พระประธานแล้ว ต้องถวายดอกไม้ธูปเทียน และปิดทองหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ด้วย ถ้าเป็นนักเที่ยวจากต่างถิ่น จะไม่รู้จักหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ เพราะหลวงพ่อองค์เล็กๆ อยู่หน้าพระประธาน นักท่องเที่ยวจึงไม่รู้ว่า หลวงพ่อองค์นี้ อิทธิฤทธิ์ศักดิ์สิทธิ์สมชื่อหลวงพ่อจริงๆ
    ผมอัญเชิญ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์รุ่นหุ้มทองคำ หน้าตัก 3 นิ้ว ไว้ที่หน้ารถ ไปถึงไหนก็รอดพ้นปลอดภัยจากอุบัติเหตุ และอันตรายทั้งปวงได้ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ประสบความสำเร็จในชีวิตการงานเป็นอย่างดี แต่ถ้าใครจะไปบนขอให้หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้จับได้ใบดำในการเกณฑ์ทหาร รับรองต้องได้ใบแดง ดี 1 ผลัด 1 เข้าประจำการทันที เพราะหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ชอบชายชาติทหาร และคนที่รักเทิดทูนในหลวง ที่ทรงพัฒนาเพชรบุรีให้มีต้นแบบ โครงการในพระราชดำริหลายโครงการ

    --------------
    ข้าวแช่แม่บังอร สุดยอดข้าวแช่เมืองเพชร


    [​IMG]


    แม่มะลิของผมชอบกินข้าวแช่มาก ไปเพชรบุรีเธอจะสั่งให้ผมซื้อข้าวแช่เมืองเพชรกลับมาฝากด้วย เพื่อนบ้านมาเยี่ยม แม่มะลิจะทำข้าวแช่แจกให้กินคนละชุด ให้หายร้อนดับกระหาย หอมชื่นใจกับน้ำข้าวแช่อบควันเทียนดอกกระดังงา
    คุณบุบผา อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พาผมไปดูการทำข้าวแช่สูตรโบราณที่บ้าน คุณบังอร อังกินันทน์ ข้าวแช่ร้านอร่อยที่สุดในเมืองเพชรบุรี คุณบังอรเล่าให้ฟังว่า คุณยายทำข้าวแช่ขายในตลาดเพชรบุรีมากว่า 50 ปี ระหว่างเรียนคุณบังอรต้องช่วยยายทำข้าวแช่ขาย จนซึมซับเอาวิชาการทำข้าวแช่ของยายติดตัวมาจนถึงรุ่นลูก
    คุณบังอรห้ามใช้ข้าวหอมมะลิทำข้าวแช่ เพราะเม็ดข้าวจะแฉะเละกินไม่อร่อย ต้องใช้ข้าวชัยนาทมาต้มกับน้ำเดือดจัดให้สุก แล้วนำข้าวสุกไปล้างเอายางข้าวออกไม่ให้เหลือเมือกจึงเอาไปผึ่งให้แห้ง ใช้น้ำฝนที่รองใส่ตุ่มเก็บไว้เป็นปีๆ เพื่อให้ตกตะกอนสกปรก เอาน้ำฝนไปอบควันเทียนลอยด้วยดอกมะลิ ดอกกระดังงา ให้น้ำข้าวแช่มีกลิ่นหอมจรุงใจ
    ข้าวแช่เพชรบุรีแท้ๆ จะมีกับไม่มากเหมือนข้าวแช่ในวังหลวง ข้าวแช่ของคุณบังอร จึงมีกับข้าวแช่คือ ปลาหวาน กะปิทอด และหัวไชโป๊วหวาน เท่านั้น แต่กับข้าวแช่ทั้ง 3 อย่าง ต้องทำอย่างพิถีพิถัน ตามตำรับของคุณยายสอนไว้ ที่สำคัญต้องใช้น้ำตาลโตนดเมืองเพชรที่มีกลิ่นหอมรสหวาน เป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำกับข้าวแช่
    รสชาติของกับข้าวแช่สูตรคุณยายทำได้อร่อยมาก ปลาหวานที่เคี่ยวเนื้อปลากระเบนจนนุ่ม กินกับข้าวแช่ใส่น้ำแข็งเย็นๆ เนื้อปลาหวานกลมกล่อมพอดี กะปิทอดปรุงรสจนนุ่มหอม และไชโป๊วหวานพอกินกับน้ำข้าวแช่หอมกรุ่น จะลดความหวานลงให้อร่อยถูกปากพอดี
    ข้าวแช่คุณบังอรจึงขายดีอยู่ที่ตลาดริมน้ำในเมืองเพชรบุรี หลังร้านนานาภัณฑ์ ขายสิบโมงเช้า บ่ายสองโมงก็หมดแล้ว เพราะข้าวแช่คุณบังอรเป็นของฝากที่ใครชอบข้าวแช่ต้องซื้อกลับมาฝากญาติพี่น้องเพื่อนฝูงที่บ้าน ผมไปตลาดเมืองเพชรต้องแวะซื้อข้าวแช่คุณบังอรใส่ถุงเป็นชุด ให้แม่มะลิเก็บไว้กินนานเป็นเดือนก็ไม่เสีย

    ข้าวแช่คุณบังอร โทร.0-3241-3454, 08-9410-1969
    เครื่องเทศต้มเป็ดตุ๋น 1-2 ตัว ทำกินเองที่บ้าน สอบถาม โทร.0-2222-5578


    --------
    คมชัดลึก :

    http://www.komchadluek.net/detail/2...อศักดิ์สิทธิ์วัดมหาธาตุวรวิหารจ.เพชรบุรี.html
     
  2. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    เพิ่มเติม

    วัดมหาธาตุวรวิหาร เพชรบุรี

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content -->
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 0.5em; PADDING-LEFT: 0.5em; PADDING-BOTTOM: 0.5em; PADDING-TOP: 0.5em" vAlign=top noWrap width=60>
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0.5em; PADDING-TOP: 0.5em" vAlign=center width="100%">บทความนี้ต้องการเก็บกวาด โดยการตรวจสอบหรือปรับปรุงความถูกต้อง แก้ไขรูปแบบหรือภาษาที่ใช้
    ตลอดจนแก้ไขหรือเพิ่มเติมเนื้อหา หมวดหมู่ ลิงก์ภายใน หรือแหล่งอ้างอิง ในบางส่วนหรือหลายส่วน
    ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานวิกิพีเดียไทย และคุณสามารถช่วยแก้ไขปรับปรุงบทความนี้ได้
    <SMALL>กรุณาเปลี่ยนไปใช้ป้ายข้อความอื่น เพื่อระบุสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ หรือแก้ไข
    เมื่อบทความนี้ได้รับการแก้ไขตามนโยบายแล้ว ให้นำป้ายนี้ออก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วิธีแก้ไขหน้าพื้นฐาน คู่มือการเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย</SMALL>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 0.5em; PADDING-LEFT: 0.5em; PADDING-BOTTOM: 0.5em; PADDING-TOP: 0.5em" vAlign=top noWrap width=60>
    </TD><TD style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0.5em; PADDING-TOP: 0.5em" vAlign=center width="100%">บทความนี้ต้องการแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อให้บทความน่าเชื่อถือและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
    <SMALL>คุณสามารถช่วยพัฒนาวิกิพีเดีย โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่เหมาะสม - การอ้างอิงแหล่งที่มา วิธีการเขียน บทความคัดสรร และ นโยบายวิกิพีเดีย</SMALL></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [​IMG]
    พระปรางค์ 5 ยอด วัดมหาธาตุวรวิหาร เพชรบุรี


    [​IMG]
    พระวิหารหลวง


    วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด "วรวิหาร" ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้าง สมัยทวารวดี - สุโขทัย มีอายุราว 800 - 1,000 ปี โดยประมาณ อายุจากหลักฐานที่คงเหลืออยู่ภายในวัด จากการขุดพบซากอิฐสมัยทวารวดีอยู่เป็นจำนวนมาก มีผู้กล่าวว่าวัดมหาธาตุวรวิหารน่าจะเคยเป็นวัดที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นพระอารามหลวงมาก่อน ต่อมาชำรุดทรุดโทรมลง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2459 ซึ่งพระสุวรรณมุณี (หลวงพ่อชิด ชิตรัตน์) เป็นเจ้าอาวาส
    วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี ภายในพระวิหารหลวงของวัดประดิษฐานพระพุทธรุปสำคัญ คือ "หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุ" ด้านหลังพระวิหารหลวง คือ พระปรางค์ 5 ยอด อยู่ภายในวิหารคต ทางด้านทิศใต้ของพระวิหารหลวง คือ พระวิหารน้อย และวัดมหาธาตุวรวิหารยังได้สร้าง พิพิธภัณฑ์ของวัด เป็นที่รวมรวมศิลปะ ความเป็นมาต่าง ๆ ของวัดไว้ให้ผู้สนใจได้เข้าชม
    <TABLE class=toc id=toc summary=เนื้อหา><TBODY><TR><TD>เนื้อหา

    [ซ่อน]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><SCRIPT type=text/javascript>//<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]></SCRIPT>
    [แก้] พระวิหารหลวง

    [​IMG]
    จิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารหลวง


    พระวิหารหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. 2275 - 2301) ภายในพระวิหารหลวงมีพระพุทธรูปที่สำคัญคือ พระพุทธรูปประธาน ทรงราชาภรณ์ มีพุทธลักษณ์งดงามมาก นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์วัดมหาธาตุ เป็น พุทธรุปปรางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 8 นิ้ว หัตถ์ซ้ายถือพัด ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อวัดมหาธาตุ ภายในพระวิหารหลวงผนังทุกด้านมีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม ทั้งภาพชาดก และเทพชุมนุม ที่หน้าบันประดับด้วยลาย ปูนปั้น รูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค มีพยาวานรแบกครุฑ อยู่อีกชั้นหนึ่ง พื้นหลังเป็นลายกนก ก้านขดออกช่อลายหางโต เป็นรูปครุฑ นาค ยักษ์ ฯลฯ วิจิตรงดงามมาก

    [แก้] พระวิหารน้อย

    [​IMG]
    พระวิหารน้อย


    [​IMG]
    รูป ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช


    พระวิหารน้อย เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ฐานอ่อนโค้งทรงสำเภา ตั้งอยู่ระหว่างพระวิหารหลวงกับพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่ออู่ทอง ศิลปะแบบอู่ทอง ปางมารวิชัย ที่ฐานมีลายปูนปั้น ประดับกระจกสวยสดงดงาม เช่น รูป ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีแบกฐานพระเป็นต้น ที่หน้าบันประดับด้วยลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม เช่นเดียวกับพระอุโบสถ และพระวิหารหลวง

    [แก้] พระปรางค์ 5 ยอด

    วัดมหาธาตุวรวิหาร มีพระปรางค์ 5 ยอด เป็นสัญลักษณ์ สูงตระหง่านในเขตพุทธาวาส สามารถมองเห็นได้แต่ไกลทั้ง 4 ทิศ วัดจากฐานถึงยอดนภศูลได้ 55 เมตร รอบฐานยาว 120 เมตร มีอายุราว 1,000 กว่าปี ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุมาแต่อดีตกาล
    มีระเบียงคตรอบพระปรางค์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ในระเบียงคตมีพระพุทธรูปจำนวน 193 องค์ ประดิษฐานบนระเบียง พร้องทั้งมีตัวแบกที่ฐานพระ ส่วนมากตั้งอยู่ใต้องค์พระพุทธรูปทรงเครื่องไว้หลากหลาย สวยงาม
    พระพุทธรูปส่วนใหญ่ เป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย และสกุลช่างเมืองเพชร พุทธลักษณะงดงามมาก

    [แก้] พิพิธภัณฑ์

    [​IMG]
    พิพิธภัณฑ์


    [​IMG]
    พระพุทธรูปภายในพิพิธภัณฑ์


    ศาลา น.ส.อำพร บุญประคอง เป็นศาลาที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดมหาธาตุวรวิหาร เพชรบุรี ภายใน รวบรวมเครื่องลายคราม พระพุทธรูปรูป แผ่นภาพพระบทและสิ่งของมีค่าที่หายาก ตั้งแสดงไว้ และเปิดให้ผู้สนใจเข้าชม
    <!-- NewPP limit reportPreprocessor node count: 123/1000000Post-expand include size: 10419/2048000 bytesTemplate argument size: 4171/2048000 bytesExpensive parser function count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:82517-0!1!0!!th!2 and timestamp 20090417030652 -->ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/วัดมหาธาตุวรวิหาร_เพชรบุรี".
     

แชร์หน้านี้

Loading...