ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Jeerachart Jongsomchai

    ... “สงครามไฟฟ้า ดับทั่วเมือง อีกสัญลักษณ์ ในการบีบเวเนซุเอล่า”


    ... น้านิโคลัส มาดูโร่ ประธานาธิบดีของ” เวเนซุเอล่า” กล่าวหาว่า “อเมริกา” เกี่ยวข้องกับ “สงครามไฟฟ้า” ในประเทศของเขาทั้งเมืองหลวงคารากัสและเมืองอื่นๆรอบๆ ที่ไฟฟ้าดับไฟทั่วเมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2019 ที่ผ่านมา ทำให้รถไฟฟ้าใต้ดินใช้งานไม่ได้ ไฟฟ้าดับตามถนน ทำให้รถตามถนนติดขัด ไฟฟ้าในสนามบินดับ คนทั่วไปจึงต้องเดินกลับบ้านกัน ทำให้เกิดความวุ่นวาย และน้าบอกว่า เป็นความตั้งใจที่จะนำไปสู่ความวุ่นวายและการเกิดวินาศกรรมในประเทศได้


    ... สื่อท้องถิ่นรายงานว่า กระแสไฟฟ้าดับเกิดจาก “การก่อวินาศกรรมโดยเจตนา” ที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำ Guri ซึ่งให้พลังงานต่อหลายระบบส่วนใหญ่ของประเทศ “สันนิษฐานว่าผู้ก่อวินาศกรรมน่าจะเชื่อมโยงกับฝ่ายค้านที่ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา” นาย Luis Motta Dominguez รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไฟฟ้าของเวเนซุเอลาได้บอกไว้


    ... เขาชี้ให้เห็นว่า “นายมาร์โก รูบิโอ” วุฒิสมาชิก “อเมริกา” ซึ่งเป็นประเทศผู้นำในการรณรงค์อย่างจัดเต็มเพื่อขับไล่น้ามาดูโร่ออกจากตำแหน่ง ได้โพสต์ทวีตเกี่ยวกับ “การดับในเวเนซุเอล่า” ครั้งนี้เพียงไม่กี่นาทีหลังจากเกิดเหตุฉุกเฉินวุ่นวายนี้ขึ้น


    ... ก่อนหน้านี้ เวเนซุเอล่าได้ย้ายสำนักงานใหญ่ของบริษัทพลังงานของประเทศ PDVSA จากยุโรปไปรัสเซียแล้ว เพื่อป้องกันการปล้นและยึดสมบัติทรัพย์สินของตน หลังจากที่อเมริกาบีบบริษัทต่างๆของตนและยุโรปห้ามโอนเงินค่าน้ำมันไปให้เวเนซุเอล่าตามบัญชีธนาคารเดิม ( ชักดาบค่าน้ำมัน ) และยึดทรัพย์สินของบริษัทแห่งนี้ให้ได้มากที่สุด


    ... ตอนนี้ “อเมริกา” กำลังเป็นมาเฟียหลักในการนำสมุนบริวารในประเทศลาตินรอบๆเวเนซุเอล่าและยุโรปบีบให้การสนับสนุนนายฮวน กว่ายโด่ ให้เป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาล ขณะที่ รัสเซีย จีน อิหร่าน ตุรกี ยังสนับสนุนน้ามาดูโร่ต่อไป


    ... ขณะที่นายปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา บอกเป็นนัยยะและสัญลักษณ์ว่า “รัฐบาลเวเนซุเอล่าต้องโทษตัวเองที่นโยบายของพวกเขาไม่ได้ทำให้เกิดอะไรขึ้นเลย นอกจากนำความมืดมิดมาให้”


    ... ประเทศเวเนซุเอล่ากำลังจะเป็น “สงครามเวียตนาม” ในศตวรรษใหม่ เพราะทรัมป์บอกว่า “การใช้กำลังทหาร” ก็ยังอยู่ในทางเลือกในมือในการ “ปล้นเวเนซุเอล่า” อยู่เช่นกัน


    ... Venezuelan President Nicolas Maduro accused the US of waging an “electricity war” against the country, as Caracas and other cities were plunged into darkness Thursday night. The government says the incident is likely sabotage.

    Thousands of commuters in Caracas had to walk home as a power outage shut down the capital’s subway, resulting in massive traffic jams.The lights also went out in the largest airport of Caracas.


    … US Secretary of State Mike Pompeo said Maduro’s government only has itself to blame for power shortages in Venezuela, noting sarcastically that “Maduro’s policies bring nothing but darkness.”


    ... The US openly supports Venezuela’s opposition leader, Juan Guaido, who proclaimed himself ‘interim president’ in January, following both anti- and pro-government protests. Guaido’s claim is supported by most Latin American countries as well as many EU countries. Russia, China, Turkey, and Iran stand by President Maduro, who was re-elected in 2018, and caution Washington and its allies against “meddling” in Venezuela’s affairs. US President Donald Trump has warned that “all options” remain on the table, including military intervention.


    https://www.rt.com/news/453310-venezuela-outage-sabotage-us/


     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    FB_IMG_1552058184751.jpg
    (Mar จุดระเบิด หนี้ครัวเรือน : เศรษฐกิจไทย ที่ยังคงเติบโตใน อัตราชะลอตัวขณะนี้ แม้ว่ายังมีปัจจัยบวกช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้ และยังมีภูมิต้านทานที่ค่อนข้างดี

    แต่หากเจาะลึกลงไปยังไส้ในจริงๆ จะพบว่าเศรษฐกิจในระดับครัวเรือนนั้น มีความเปราะบางมาก จากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ จนอาจส่งผลกระทบต่อความเข้มแข็งและเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมในที่สุด

    กล่าวง่ายๆ ก็คือ เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว หรือเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น ทำให้คนไม่มีเงิน สิ่งแรกที่คนทั่วไปคิด คือ การหาเงินมาเพื่อใช้จ่ายหมุนเวียน สร้างอนาคต สร้างครอบครัวให้มั่นคง หากมีใครหยิบยื่นเงินมาให้ แม้จะเป็นเงินในอนาคต ก็คงไม่มีใครที่จะปฏิเสธ

    สิ่งที่ตามมา แน่นอนนั่นคือ ค่าใช้จ่าย และภาระหนี้ที่เกิดขึ้น และหากไม่สามารถบริหารจัดการได้ จะทำครัวเรือนมีหนี้จากรายรับที่ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ไม่มีเงินชำระคืน สุดท้ายกลายเป็นหนี้เสียและหนี้ครัวเรือนในที่สุด

    วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ระดับหนี้ครัวเรือนของไทยขณะที่นี้อยู่ที่ประมาณ 78% ต่อ จีดีพี และเป็นระดับที่สูงมาก แต่ที่น่าห่วงคือ ตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่ร้อยละ 78% เป็นในส่วนที่ ธปท.รวบรวมเท่านั้น ยังไม่รวมหนี้ครัวเรือนอีกหลากหลายประเภท อย่างหนี้ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หนี้นอกระบบ และหนี้เสียที่สถาบันการเงินขายออกจากบัญชีสถาบันการเงิน

    ดังนั้น หากนำหนี้ทั้งหมดมารวมกัน ตัวเลขหนี้ครัวเรือนของไทยก็จะอยู่ในระดับที่สูงมาก อีกทั้งยอดหนี้ของคนไทยจำนวนมากไม่ได้ลดลงแม้ว่าจะมีอายุมากขึ้นจนถึงวัยใกล้เกษียณ ซึ่งปกติคนจะคาดว่าคนใกล้วัยเกษียณ หนี้ที่มีมูลค่าสูงจะเปลี่ยนเป็นเงินออม

    "ครัวเรือนไทยจะต้องเผชิญกับความท้าทายเรื่องหนี้ครัวเรือนมากขึ้น เพราะเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประเทศไทยอาจจะเป็นประเทศแรกในโลกที่คนส่วนใหญ่จะแก่ก่อนรวย"

    ระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น ไม่เพียงแต่ ธปท.เท่านั้นที่ออกมาแสดงความห่วงใยและติดตามอย่างใกล้ชิด สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก็ได้ออกมาบอกว่าสถานการณ์หนี้ครัวเรือนเริ่มมีสัญญาณที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

    จากยอดสินเชื่อบริโภคที่เพิ่มขึ้น คนแห่กู้ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ทำให้ยอดค้างชำระเริ่มขยับเพิ่มขึ้น

    หากดูดีๆ หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง แท้จริงแล้วมีที่มาจากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น นโยบายการกระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงเศรษฐกิจซบเซา การเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินในระบบที่มากขึ้น การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยจากมหาอุทกภัยใหญ่ที่เกิดขึ้น จะเห็นว่า จากการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น การกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ เปรียบเสมือนดาบ สองคมให้กับคนทั่วไป นั่นคือทำให้คนมีเงิน และทำให้คนมีหนี้ จนอาจกลายเป็นเรื่องตลก โดยเฉพาะตลกร้าย เพราะตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น หากเป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น สุดท้ายแล้วจะนำไปสู่ความอ่อนแอเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจไทยได้

    ไม่เฉพาะหนี้ครัวเรือนเท่านั้นที่เพิ่มสูงขึ้น และมีความน่าเป็นห่วง เพราะขณะนี้ในส่วนของสัดส่วนหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ของธุรกิจเอสเอ็มอีก็ปรับเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยผู้ว่าการ ธปท.บอกว่า ขณะนี้สัดส่วนหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ของธุรกิจเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่ตั้งอยู่ในต่างจังหวัด อย่างเช่นเมืองรอง ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่

    แม้ว่าภาครัฐจะมีมาตรการที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น เพื่อนำเงินไปต่อยอด หมุนเวียน หรือพยุงธุรกิจก็ตาม แต่สิ่งที่ตามมาและปฏิเสธไม่ได้ คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น จากสัดส่วนหนี้เสียที่จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

    หากว่าธุรกิจไม่สามารถเป็นไปตามที่ตั้งหวังได้ สิ่งที่จะตามมาคงหนีไม่พ้นการปิดกิจการ หนี้สิน และหนี้เสียหลายคนอาจจะมองว่า สัดส่วนหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจเอสเอ็มอี ผลกระทบร้ายแรงที่สุด ก็แค่การปิดกิจการ แต่ใครจะรู้ว่า หากธุรกิจ เอสเอ็มอีปิดตัวลง ไม่เพียงแต่สัดส่วนหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น เพราะธุรกิจเอสเอ็มอียังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคให้เติบโต โดยถือเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค ทำให้คนในชุมชน ในพื้นที่ได้มีงานทำ มีรายได้ เกิดการจับจ่ายใช้สอย

    แต่หากธุรกิจปิดตัวลง ผล กระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลเป็นลูกโซ่ทันที สิ่งแรกที่เกิดขึ้น คือการเลิกจ้างงาน คนในชุมชน โดยเฉพาะครัวเรือนขาดรายได้ที่จะมาเลี้ยงดูครอบครัว

    สุดท้ายสิ่งที่จะตามมา คงหนีไม่พ้น หนี้สินเพื่อนำเงินมาจุนเจือครอบครัว และกลับสู่วังวนเดิมๆ นั่นคือการเป็นหนี้นอกระบบนั่นเอง

    แม้ว่าขณะนี้สัดส่วนเอ็นพีแอลของธุรกิจเอสเอ็มอีจะเพิ่ม หนี้ครัวเรือนจะสูงขึ้น จนทำให้หลายฝ่ายวิตกกังวลว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ในอนาคตจะเป็นอย่างไร จะกระทบเศรษฐกิจไทยมากน้อยแค่ไหน และในฐานะคนทั่วไปจะต้อง เตรียมพร้อมรับมืออย่างไร หากเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง และไม่เป็นไปตามที่ใครต่อใครคาดเดาไว้ว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตได้ถึง 4%

    อีกทั้งการเติบโตจะเป็นเพียงแค่ตัวเลข แต่ปากท้องของคนในประเทศไม่ได้ดีตามเศรษฐกิจเลย เพราะสัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่ยังไม่มีแนวโน้มลดลงเช่นนี้ สิ่งที่ทำได้คงต้อง ติดตามกันต่อไป...

    โดย กัลย์ทิชา นับทอง

    Source: Posttoday
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    FB_IMG_1552058440995.jpg
    (Mar จีนงัดแผนตั้งรับ ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจยาว : เปิดฉากกันไปแล้วสำหรับการประชุมใหญ่ 2 สภาของจีนในสัปดาห์นี้ ทั้งสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ (CPPCC) ที่เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 3 มี.ค. และสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 มี.ค. ท่ามกลางการจับตาของทุกฝ่ายว่า รัฐบาลปักกิ่งจะประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอะไรออกมา ในภาวะที่กำลังเจอศึกหนักนอกบ้าน จนทำให้คนในบ้านระส่ำกันอยู่ในขณะนี้ และอีกด้านก็คือ จีนจะผ่านกฎหมายอะไรใหม่ๆ ออกมา หลังจากที่ถูกมหาอำนาจต่างชาติกดดันอย่างหนักหน่วง มาตลอด

    ผลที่ออกมาค่อนข้างจะตรงกับที่หลายฝ่ายคาดการณ์กันก่อนหน้านี้ และก็มีที่ผิด(หวัง)ไปจากคาดการณ์เช่นกัน เมื่อยากระตุ้นของจีนงวดนี้ ยังถือว่าไม่แรงพอทั้งในแง่ของสรรพคุณตัวยาและปริมาณโดสที่ได้รับ และที่น่ากังวลก็คือ นายกรัฐมนตรี หลี่เค่อเฉียง ได้กล่าวต่อที่ประชุมรัฐสภาว่า "จีนกำลังเผชิญการต่อสู้ อันยากลำบาก" ซึ่งนับเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนให้เตรียมพร้อมรับมือกับมรสุมที่อาจยังไม่จบในเร็วๆ นี้

    ในการแถลงรายงานประจำปีของรัฐบาลในการเปิดประชุมสภา NPC หลี่ได้ประกาศเป้าหมายใหม่ในการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เคยประกาศกรอบเป้าหมายจีดีพีออกมา โดยกรอบเป้าหมายของปีนี้อยู่ที่ 6.0-6.5% จากเดิมที่เคยใช้กรอบ 6.5% เมื่อปีที่แล้ว

    นั่นหมายความว่า สถิติจีดีพีโตต่ำสุดในรอบ 28 ปีของจีน ซึ่งทำไว้ที่ 6.6% เมื่อปีที่แล้ว มีโอกาสสูงที่จะถูกโค่นด้วยจีดีพีต่ำสุดในรอบ 29 ปี ในปีนี้ หรือหมายความว่า เรายังมีโอกาสที่จะได้เห็นข่าวร้ายของจีนออกมาอีกหลายยกหลังจากนี้

    ส่วนยาที่จีนเตรียมเอาไว้สู้กับ ไข้หวัดอเมริกันงวดนี้ ก็ค่อนข้างจะเป็นไปตามที่หลายฝ่ายเก็งกันเอาไว้ก็คือ ช่วยแบบถูกโรค ตรงจุด ไม่หว่านแหเหมารวม และไม่ได้เอาเงินฟาดแก้ปัญหาเหมือนในอดีตที่เคยทำมา ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดทุนไม่ค่อยจะตอบรับกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนงวดนี้มากนัก

    ปีนี้ หลี่ประกาศแผนปรับลดภาษีออกมาเหมือนปีที่แล้ว แต่เป็นการช่วยเหลือให้เฉพาะภาคธุรกิจเท่านั้น โดยเป็นแผนลดภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับเอกชน รวมเป็นวงเงินเกือบ 2 ล้านล้านหยวน (ราว 9.49 ล้านล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นจากแผนลดภาษี 1.3 ล้านล้านหยวน (ราว 6.17 ล้านล้านบาท) เมื่อปีที่แล้ว

    ในจำนวนนี้ รวมถึงการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) โดยแวตสำหรับภาคการผลิตจะปรับลดจาก 16% เหลือ 13% และแวตสำหรับภาคการขนส่งและก่อสร้างจะปรับลดจาก 10% เหลือ 9% และจะลดค่าธรรมเนียมที่นายจ้างต้องจ่ายสมทบให้ลูกจ้าง เกี่ยวกับประกันสังคม เพื่อช่วยลดภาระให้บริษัทขนาดกลางลงมา ที่ส่วนใหญ่ต่างก็เจอผลกระทบสงครามการค้ากระอักกันมาถ้วนหน้า

    นอกจากนี้ จีนยังมีเป้าหมายจะสร้างงานเพิ่มอีก 11 ล้านอัตรา ตามเมืองใหญ่ทั่วประเทศ และตั้งเป้าคงอัตราว่างงานในเขตเมืองใหญ่ไม่ให้ เกิน 4.5% ในระดับเดียวกับปีที่แล้ว

    กระทรวงการคลังจีน ยังขยายโควตาการออกตราสารหนี้พิเศษนอกงบดุลของรัฐบาลท้องถิ่น เพิ่มเป็น 2.15 ล้านล้านหยวน (ราว 10.21 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นจาก 1.35 ล้านล้านหยวน (ราว 6.41 ล้านล้านบาท) เมื่อปีที่แล้ว สำหรับการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นกลไกพิเศษในแบบฉบับสำหรับจีนโดยเฉพาะ เพื่อพยุงระดับการเติบโตของท้องถิ่นเอาไว้โดยไม่ให้ตัวเลขหนี้ไปโป่งที่งบดุล จนกลายเป็นข่าวร้ายฉุดความเชื่อมั่นกับปัญหาหนี้จีนขึ้นมาอีก และเป็นวิธีพิเศษที่จีนใช้มาตั้งแต่ปี 2015

    หัวหน้ารัฐบาลปักกิ่ง ระบุว่า นโยบายการคลังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้จะเป็นเชิงรุกและหนักแน่นมากขึ้น โดยปีนี้รัฐบาลยังคงใช้สูตรตั้งงบขาดดุลเพิ่มขึ้น ด้วยการขยายการขาดดุลงบประมาณเป็น 2.8% ต่อจีดีพี เพิ่มขึ้นจาก 2.6% ของปีที่แล้ว แต่นโยบายการเงินจะเป็นไปอย่างระมัดระวัง คือไม่ตึงหรือหย่อนมาก เกินไป และรัฐบาลจะไม่อัดสภาพคล่องมากเกินไป

    ในด้านการเงินนั้น รัฐบาลจะเร่งการปรับลดสัดส่วนกันสำรองความเสี่ยง (RRR) ของธนาคารขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อช่วยลดภาระของแบงก์ ให้แบงก์สามารถไปเพิ่มการปล่อยกู้ให้เอกชนขนาดเล็กอีก 30% ในปีนี้

    เหล่านี้คือยากระตุ้นล็อตแรกของจีนที่ประกาศออกมาในการประชุมวันแรก ซึ่งยังต้องติดตามกันอย่าง ต่อเนื่องไปจนถึงกลางสัปดาห์หน้า เพราะยังมีส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามมาอีก เช่น การกระตุ้นบริโภคภายในประเทศ ที่มีสัดส่วนสำคัญไม่น้อยไปกว่าภาคการผลิตและส่งออก ซึ่งต้องตามดูว่าเมื่อสรุปรวบยอดออกมาแล้ว มาตรการทั้งหลายของจีนจะสร้างความสบายใจให้คนในประเทศได้มากพอหรือไม่

    แต่นอกจากส่วนของการกระตุ้นเพื่อรับมือปัญหาเศรษฐกิจแล้ว อีกส่วนสำคัญที่หลายฝ่ายจับตาไม่แพ้กันก็คือ การให้นโยบายหรือผ่านกฎหมายใหม่ออกมาเอาใจต่างชาติ

    สิ่งที่นักวิเคราะห์หลายฝ่ายสังเกตเห็นตรงกันอย่างหนึ่งก็คือ ปีนี้ จีนไม่มีการระบุชื่อยุทธศาสตร์ "เมดอินไชน่า 2025" ออกมาเหมือนกับที่เคยย้ำในอดีต

    ยุทธศาสตร์นี้คือหัวใจสำคัญของจีนที่จะผลักดันเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ ทำให้จีนยกระดับจากโรงงานผลิตราคาถูกของโลก ไปสู่มหาอำนาจของระบบเศรษฐกิจใหม่ในยุคดิจิทัล แต่ก็เป็นหนามตำใจสำคัญสำหรับรัฐบาลต่างชาติโดยเฉพาะ "สหรัฐ" เช่นกัน เพราะจีนรุกคืบเอาจริงจนกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงแทนในสายตาต่างชาติ ทั้งการออกไปตะลุยกว้านซื้อธุรกิจไฮเทคในต่างประเทศ การออกกฎหมายกีดกันต่างชาติในบ้าน การไม่ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาเท่าที่ควร และการบังคับถ่ายโอนเทคโนโลยี

    การที่หลี่ไม่พูดถึงชื่อยุทธศาสตร์นี้ขึ้นมา นับเป็นสัญญาณ หนึ่งว่าจีนต้องการประนีประนอม ไม่พยายามจุดเชื้อไฟขึ้นมาอีกในยามที่การเจรจาต่อรองทางการค้ากับสหรัฐกำลังมีทิศทางที่ดี และอาจจบลงได้เบื้องต้นในการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดี สีจิ้นผิง และประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ฟลอริดา ในวันที่ 27 มี.ค.นี้

    อย่างไรก็ตาม จีนก็ไม่ได้ทิ้งแผนการที่จะขยับขึ้นเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจยุคใหม่ไปเสียเลยทีเดียว เพราะการให้ความสำคัญกับภาคไอทีและอุตสาหกรรมใหม่นั้นยังคงแฝงอยู่ระหว่างบรรทัดของการแถลงแผนเศรษฐกิจครั้งนี้

    อีกการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่จีนยอมลงให้ต่างชาติก็คือ การเตรียมผ่านกฎหมายห้ามเจ้าหน้าที่รัฐเรียกร้องให้บริษัทต่างชาติถ่ายโอนเทคโนโลยีให้ เพื่อแลกกับการเข้าถึงตลาดจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อร้องเรียนหลักที่จีนถูกหลายประเทศโจมตีมาก่อนหน้านี้

    หนิง จีเจ้อ รองประธานสำนักงานวางแผนเศรษฐกิจของ ครม.จีน ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงข้อนี้จะถูกบรรจุอยู่ในกฎหมายการลงทุนของต่างชาติฉบับใหม่ในจีน โดยจะให้ความชัดเจนต่อระบบการลงทุนของต่างชาติในจีน ซึ่งนับเป็นการตอกย้ำหลังจากที่หลี่เค่อเฉียง ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่า บริษัททุกแห่งในตลาดจีนจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

    หากดูจากทิศทางเบื้องต้นเหล่านี้คร่าวๆ แล้วอาจพอบ่งชี้ได้ว่า จีนน่าจะพอรับมือพยุงปัญหาเศรษฐกิจในปีนี้ไปได้แบบอาจจะไม่เจ็บตัวหนัก แต่ก็ไม่ถึงกับสดใส และเป็นไปตามที่นายกฯ ระบุว่า จีนกำลังเผชิญการต่อสู้อันยากลำบาก เพราะศึกของจีนไม่ได้มีแค่แนวรบสงครามการค้ากับสหรัฐเพียงอย่างเดียว เช่น ศึกไอที ที่เป็นอีกเรื่อง และกำลังถูกสกัดในสงคราม 5จี รอบด้านอยู่ในขณะนี้ โดยที่เคสของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะจบลงอย่างไร

    นอกจากนี้ การจะกระตุ้นเพื่อสู้ปัญหาเศรษฐกิจนั้นก็ยังมีข้อจำกัดไม่ให้เปิดแผลเก่าหรือสร้างแผลใหม่ขึ้นมาอีก เพราะจีนมีปัญหาเรื่องหนี้เป็นทุนเดิมอยู่ และยังต้องระวังเรื่องเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้นด้วย

    การตั้งรับในครั้งนี้จึงเป็นเพียงการพยุงอาการตัวเองอย่างระมัดระวัง และยังต้องจับตาดูมรสุมระยะยาวของจีนหลังจากนี้อย่างใกล้ชิดต่อไปอีก


    โดย นันทิยา วรเพชรายุทธ

    Source: Posttoday
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    (Mar 7) จับตาเฟดป่วนค่าเงินบาท : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานบทวิจัย การจับตาประชุมเฟด ผลการเจรจาสหรัฐ-จีน และปัจจัยในประเทศ...อาจมีผลต่อทิศทางเงินบาทในระยะสั้น

    เงินบาทกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงปลายเดือน ก.พ. ถึงต้นเดือน มี.ค. 2562 หลังจากแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 5 ปีที่ 31.07 บาท/ดอลลาร์สหรัฐโดยเงินบาทขยับอ่อนค่าเข้าใกล้แนว 31.90 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงเช้าของ วันที่ 5 มี.ค. 2562 (ก่อนจะกลับมาเคลื่อนไหวในกรอบ 31.80-31.85 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงบ่าย) ท่ามกลางแรงกดดันที่มาจากหลายด้าน

    ทั้งปัจจัยในประเทศ ตลอดจน แรงซื้อคืนเงินดอลลาร์จากหลายกลุ่ม หลังจากที่เงินบาทไม่แข็งค่าไปกว่าระดับ 31.00 บาท/ดอลลาร์ นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับแรงขายสุทธิในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งมีสถานะขายสุทธิสะสมประมาณ 5,845 ล้านบาท และ 5,902 ล้านบาท ตามลำดับ ในระหว่างวันที่ 21 ก.พ.- 4 มี.ค. 2562

    ในอีกด้านหนึ่ง เงินดอลลาร์ก็ทยอยแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินหลายสกุลเช่นกัน โดยเงินดอลลาร์มีแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/2562 ของสหรัฐ ที่ออกมาค่อนข้างดี) และการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ภายหลังจากที่มีสัญญาณเชิงบวกจากการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน

    อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าของเงินบาทในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นภาพที่ค่อนข้างเร็วและมากกว่าสกุลเงินเอเชียอื่นๆ โดยหากเทียบการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างวันที่ 20 ก.พ.-5 มี.ค. 2562 จะพบว่า ในขณะที่ดัชนีเงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้น (แข็งค่า) ประมาณ 0.3% เงินบาท

    5 มี.ค.19-20 มี.ค.กลับอ่อนค่าลงถึง 2.4% ซึ่งมากกว่าเงินเยนญี่ปุ่นและเงินรูเปียห์อินโดนีเซีย ซึ่งอ่อนค่าตามมาที่ประมาณ 1.0% และ 0.8% ตามลำดับ

    และจากทิศทางของเงินบาทที่อ่อนค่าลงค่อนข้างมากในช่วงนี้ ทำให้เมื่อเทียบภาพรวมการเคลื่อนไหวตั้งแต่ต้นปี 2562 แล้ว เงินบาทกลับมาเป็นสกุลเงินที่แข็งค่าเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาค โดยแข็งค่าขึ้นประมาณ 2.2% สลับกับค่าเงินรูเปียห์ที่ขยับขึ้นเป็นอันดับ 1 ด้วยอัตราการแข็งค่าที่ 3.0% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ แต่คงต้องยอมรับว่า ค่าความผันผวนของเงินบาทนับตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา ขยับขึ้น

    20 มี.ค.24 มี.ค.มาที่ 5.1% สูงขึ้นกว่าค่าความผันผวนของปี 2561 ที่อยู่ที่ 4.6% ซึ่งทำให้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ

    27 มี.ค.29 มี.ค.โดยการใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งฟอร์เวิร์ด และออปชั่น รวมถึงการใช้สกุลเงินท้องถิ่น จะช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถประเมินกระแสรายรับ-รายจ่าย จากการส่งออก-นำเข้าได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

    สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในระยะใกล้ๆ นี้ จะมีทั้งปัจจัยภายในประเทศ อาทิ ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทย และปัจจัยทางการเมือง และปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะท่าทีการดำเนินนโยบายการเงิน และรายงาน Dot plot จากการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ วันที่ 19-20 มี.ค. 2562 ตลอดจนกำหนดการพบกันระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐและจีน ในวันที่ 27 มี.ค. 2562 ซึ่งแม้จะมีสัญญาณในเชิงบวก แต่คงต้องยอมรับว่า ยังคงคาดเดารายละเอียดของผลการเจรจาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายได้ยากในขณะนี้ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นทางการเมืองภายในสหรัฐที่อาจเพิ่มแรงกดดันต่อประธานา ธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ด้วยเช่นกัน

    ทั้งนี้ จากการที่ยังคงมีอีกหลายตัวแปร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งรออยู่ในระยะข้างหน้า ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เงินบาทอาจยังคงเคลื่อนไหวในกรอบที่ค่อนข้างผันผวนต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา
    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
    Source: Posttoday
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    FB_IMG_1552058813636.jpg
    (Mar 7) ครัวไทยแบกหนี้อ่วม :ธปท.เปิดผลสำรวจปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทย พบว่าหนี้เกิดจากใช้จ่ายเกินตัวเพื่อความบันเทิงและความมีหน้าตาในสังคม

    ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการสำรวจศึกษาปัญหาหนี้สินของภาคครัวเรือนไทยและนัยเชิงนโยบาย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของครัวเรือนอย่างละเอียด โดยพบว่ากลุ่มครัวเรือนที่มีหนี้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ มีหนี้แล้วมีปัญหากับมีหนี้แต่ไม่มีปัญหา โดยกลุ่มที่มีหนี้แล้วมีปัญหามีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มครัวเรือนที่ไม่มีหนี้ โดยค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าโทรศัพท์ (สูงกว่า 135%) ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (สูงกว่า 275%) และค่าใช้จ่ายไม่ประจำ เช่น ค่าซ่อมรถ (สูงกว่า 631%)

    ทั้งนี้ ค่าซ่อมรถที่สูงกว่ามากส่วนหนึ่งอาจสะท้อนการให้ความสำคัญกับความมีหน้ามีตาทางสังคมมากกว่า เพราะเมื่อเพิ่มปัจจัยควบคุมด้านมูลค่ารถยนต์เข้าไปในโมเดลแล้ว กลับไม่พบความ แตกต่างด้านค่าซ่อมรถ แสดงว่าครัวเรือนที่มีหนี้มีรถยนต์ที่มีราคาสูง

    สำหรับประเด็นบรรดาครัวเรือนที่มีหนี้ ครัวเรือนที่มีปัญหาทางการเงินแตกต่างจากครัวเรือนที่ไม่มีปัญหาอย่างไรนั้น จากการศึกษาพบว่าหลังจากคุมหลายปัจจัยให้คงที่แล้ว กลุ่มครัวเรือนที่มีปัญหาทางการเงินยังคงมีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มครัวเรือนที่ไม่มีปัญหาอยู่ 18% โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง (สูงกว่า 376%) และค่าซื้อเสื้อผ้า (สูงกว่า 562%) สะท้อนพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือ "ไลฟ์สไตล์" ที่ค่อนไปทางสุรุ่ยสุร่ายกว่าอีกกลุ่มหนึ่ง

    นอกจากนี้ กลุ่มครัวเรือนที่มีปัญหามีแนวโน้มที่จะมีรสนิยมหรือความต้องการที่จะมีหน้ามีตาทางสังคมสูงกว่า สะท้อนจากค่าซ่อมรถและค่าดูแลบ้านที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีปัญหา (สูงกว่า 273% และ 276% ตามลำดับ) รวมทั้งการที่มีสมาชิกในครอบครัวล้มป่วยทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้สูงมาก

    รายงานระบุว่า การตั้งคลินิกแก้หนี้จะขาดประสิทธิผลและไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างยั่งยืน หากภาคครัวเรือนไม่สามารถรักษาวินัยทางการเงินที่เกิดจากรายจ่ายที่ไม่เพียงพอกับรายได้ โดยเฉพาะรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและเกินฐานะ หรือขาดการวางแผนทางการเงิน

    นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนที่เกิดจากการบริโภคเกินตัว ส่วนหนึ่ง มาจากแผนส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการที่ต้องขยายตลาดเพื่อสร้างผลกำไร ซึ่ง ธปท.ได้เริ่มเข้ามาดูแล สินเชื่อบุคคลและสินเชื่อรถยนต์แล้ว แม้จะช้าไปแต่จะช่วยสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจระยะยาว
    Source: Posttoday
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    FB_IMG_1552059006878.jpg
    (Mar 7) ปัจจัยลบถล่มส่งออกQ1อ่วม : ลุ้นส่งออกไตรมาส 1 ติดลบ 1.8% บาทแข็ง-ปิดน่านฟ้าทำส่งออกทางอากาศป่วน สภาผู้ส่งออกฯโร่พบ ธปท. แก้ปมค่าบาท เตรียมปลดล็อกส่งออกสกุลเงินท้องถิ่น 4 ประเทศ ส่วนปิดน่านฟ้าบินอ้อมจีนยังไม่กระทบเป้าส่งออกปี'62 โต 5%

    ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2562 นางสาว กัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) พร้อมคณะได้เข้าพบ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พร้อมคณะ เพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลหลังจากอัตราแลกเปลี่ยนของไทยแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ต้นปีประมาณ 0.9% โดยล่าสุดอยู่ที่ 31.8 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งทางภาคเอกชนกังวลว่า ประเด็นนี้อาจส่งผลกระทบต่อการแข่งขัน โดยเฉพาะการกำหนดราคาส่งออกสินค้า สินค้าที่ใช้ วัตถุดิบในประเทศ เช่น สินค้าเกษตร

    โดยหากเทียบกับสกุลเงินอื่นพบว่ามีความแตกต่างกัน เช่น ในอาเซียน มาเลเซีย แข็งค่า 4.4% สิงคโปร์แข็งค่า 2.7% อินโดนีเซีย แข็งค่า 2.8% เวียดนาม แข็งค่า 2% มีเพียงฟิลิปปินส์ อ่อนค่า 0.4% กัมพูชา อ่อนค่า 0.1% ขณะที่ตลาดหลัก เช่น สหภาพยุโรป แข็งค่า 8.6% ญี่ปุ่นแข็งค่า 5.8% จีน แข็งค่า 5.6% เกาหลี แข็งค่า 4.5% อินเดีย แข็งค่า 8.7% ออสเตรเลีย แข็งค่า 9.7% ส่วนอังกฤษอ่อนค่า 6.9% เป็นต้น

    ก่อนหน้านี้ทางสภาผู้ส่งออกได้เข้าหารือ กับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อประเมินสถานการณ์การส่งออกในไตรมาสแรกของปีนี้ว่าอาจมีมูลค่า 61,714 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 1.8% เพราะไม่ใช่เพียงแค่ปัจจัยเสี่ยงจากค่าบาท แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับภาคการส่งออก เช่น การเติบโตของเศรษฐกิจโลก และปัจจัยเชิงโครงสร้างที่มีการเปลี่ยนแปลงและความแน่นอนที่เกิดขึ้น สงครามการค้า ขณะที่ค่าเงินส่งผลกระทบส่วนหนึ่ง คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 0.3% ของภาคการส่งออก

    ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า การที่ค่าเงินบาทมีความผันผวนส่วนหนึ่งมาจาก current account และการเข้ามา ลงทุนจากต่างชาติ แต่การแข็งค่าในครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อน เนื่องจาก ไม่ได้รับความผันผวนมาจากปัญหา เงินร้อน (เงินที่เข้ามาเก็งกำไรในระยะสั้น) อย่างไรก็ตาม หากมีการแทรกแซงค่าเงินมากจนทำให้ "ค่าเงินไม่มีความผันผวน" จะส่งผลให้นักลงทุนเอาเงินเข้ามาพักในประเทศไทยและยิ่งทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นมากกว่าเดิม ส่วนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) และประเทศข้างเคียงอย่าง ฟิลิปปินส์ หรือมาเลเซีย

    "ไทยต้องพยายามไม่ใช้เครื่องมือแทรกแซงทางการเงินมากเกินไป จนสร้างความได้เปรียบทางการค้า เพราะอาจจะทำให้กลายไปอยู่ในกลุ่ม watch list ของทางสหรัฐ ดังนั้น เครื่องมือสำคัญที่ทางผู้ประกอบการสามารถใช้เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงค่าเงินได้ คือ FDC, Fx Forward/option, NRCA และ Local currency ซึ่งเท่าที่ทราบผู้ประกอบการมีการใช้เครื่องมือจัดการความเสี่ยงทุกชนิดเพิ่มขึ้นจากปีก่อน"

    สำหรับเครื่องมือทางการเงิน เพื่อป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ในส่วนของมาตรการใช้ local currencies นั้น ทาง ธปท.แจ้งว่าได้สนับสนุนให้มีการ invoicing เป็นเงินบาทและเงินตราสกุลท้องถิ่น (home currency) โดยได้ทำข้อตกลงให้ดำเนินการร่วมกัน อาทิ หยวน (ทุกมณฑล) มาเลเซียนริงกิต อินโดนีเซียนรูเปียห์ และญี่ปุ่นเยน โดยที่สามารถแปลงค่าเงินเป็นเงินบาทได้ทันที ไม่ต้องแปลงเป็นดอลลาร์สหรัฐก่อน รวมถึงให้เลือกใช้เงินสกุลท้องถิ่นสำหรับการค้ากับชาติสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะ ทำให้สามารถลดต้นทุนและความเสี่ยง จากการแลกเปลี่ยนผ่านเงินดอลลาร์สหรัฐได้ ซึ่งทางเอกชนเสนอว่า ควรขยาย ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศสมาชิกอาเซียนในฐานะ home market เช่น ไปยังเมียนมา หรือกัมพูชา ให้สามารถใช้สกุลเงินท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น

    นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือสภาผู้ส่งออก เปิดเผย ว่า สภาผู้ส่งออกยังคงคาดการณ์ เป้าหมายการส่งออกปีนี้ขยายตัว 5% ภายใต้สมมุติฐานค่าเงินบาทอยู่ที่ 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ยังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงที่กระทบการส่งออกโดยเฉพาะความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งอาจจะมีผลต่อต้นทุนทาง การค้า ล่าสุดได้เข้าพบกับธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งกำหนดแนวทางเบื้องต้นในการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการกำหนดราคาสินค้า ส่งออก เช่น ไทย-จีน ไทย-ญี่ปุ่น หรือไทย-มาเลเซีย ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว แต่จะมีการกระตุ้นให้ใช้เพิ่มขึ้นโดยการลดเรื่องของค่าธรรมเนียมหรือการแลกเปลี่ยนสกุลเงินได้ และให้ดูแลเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้แข็งค่า

    ล่าสุด ปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาความไม่สงบระหว่างอินเดียและปากีสถานส่งผลกระทบระยะสั้นต่อการขนส่งทางอากาศ ทำให้ผู้ส่งออกมีความกังวลเรื่องต้นทุนการส่งออกทางอากาศที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่สามารถใช้เส้นทางหลักบินตรงผ่านอินเดียและปากีสถานไปตลาดยุโรปได้ ซึ่งเมื่อมีการปิดน่านฟ้าขึ้นทำให้ต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางบินไปทางจีน เพื่อเข้าสู่ตลาดยุโรป ทำให้ระยะทางการขนส่งไกลขึ้นและมีต้นทุนต่อการขนส่งเพิ่มขึ้น ดังนั้น ผู้ส่งออกซึ่งอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำตลาด

    "สินค้าหลักที่มีการส่งออกไปตลาดยุโรปผ่านระบบสายการบิน จะเป็นสินค้า ผักและผลไม้และกล้วยไม้ ขณะนี้ได้มีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเพื่อให้สามารถส่งออกสินค้าได้อย่างปกติ ซึ่งยังได้ประเมินว่าจะมีผลกระทบต่อปริมาณ หรือคิดเป็นต้นทุนมากน้อยเพียงใด ขณะที่สินค้าที่ใช้ระบบส่งออกโดยการขนส่งทางเรือในขณะนี้ยังไม่มีปัญหา"

    นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออก เช่น บรรยากาศการค้าโลกจากภาวะสงครามการค้าที่ยังคงยืดเยื้อ การเจรจาของอังกฤษเพื่อแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) มาตรการทางการค้า การเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีความล่าช้า และมีผลต่อการต่อรองสิทธิพิเศษทางภาษี เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม ควรมีการเปิดตลาดใหม่ ทดแทนตลาดหลัก เพื่อกระจายความเสี่ยง การค้า โดยให้เร่งเปิดเจรจาสิทธิพิเศษทางการค้าให้มากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น

    Source: ประชาชาติธุรกิจ
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    105696334-1548294110856gettyimages-684046588.jpg

    (Mar 6) จีนลดเป้า'จีดีพี'ปีนี้เหลือ6-6.5% ลดภาษี-เพิ่มลงทุนสาธารณูปโภค กระตุ้นเศรษฐกิจ - จีนตั้งเป้าจีดีพีปีนี้เพียง 6-6.5% ถือเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำสุดในรอบเกือบ 30 ปี ขณะเดียวกันจะลดภาษีและค่าธรรมเนียม เพิ่มการลงทุนด้านสาธารณูปโภค และเพิ่มการปล่อยกู้ให้กับบริษัทขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังมีการแจ้งต่อสภาด้วยว่า อาจบรรลุข้อตกลงกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับการเปิดภาคการเงินด้วย

    นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ของจีนได้กล่าวในระหว่างการเปิดประชุมสภาประจำปีเมื่อวันอังคารว่า รัฐบาลจีนกำลังตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2562 ไว้ระหว่าง 6-6.5% ซึ่งน้อยกว่าการเติบโตของปีที่ผ่านมา ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) โต 6.6%

    เรย์มอนด์ ยัง หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จีนแผ่นดินใหญ่ของเอเอ็นแซด รีเสิร์ช กล่าวว่า การตั้งเป้าการเติบโตน้อยลงหมายความว่ารัฐบาลจีนยอมรับว่ามีความเสี่ยงในด้านลบที่น่าจะมาจากความตึงเครียดทางการค้ากับสหรัฐฯ และภาคที่เกี่ยวข้องกับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก

    เมื่อปีที่ผ่านมาจีดีพีจีนขยายตัว 6.6% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2533 เนื่องจากเกิดสงครามการค้า และรัฐบาลปักกิ่งกวาดล้างความเสี่ยงทางการเงินซึ่งทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อการลงทุน ขณะเดียวกันการรณรงค์ที่จะควบคุมมลภาวะและอุตสากรรมที่มีมูลค่าต่ำก็ได้ชะลอการเติบโตของภาคผลิต

    ในการปราศรัยที่มหาศาลาประชาคม นายกรัฐมนตรีจีนหาทางสร้างความมั่นใจว่า ผู้นำประเทศจะทำให้เศรษฐกิจอันดับสองของโลกยืนได้อย่างปลอดภัยในขณะที่ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

    นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวว่า เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ นโยบายคลังของจีนจะเริ่ม “มีพลังมากขึ้น” โดยรัฐบาลจะลดภาษีและค่าธรรมเนียมให้กับบริษัทเกือบ 2 ล้านล้านหยวน หรือ 298,310 ล้านดอลลาร์ การลดภาษีในปีนี้จะรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งรัฐบาลจีนได้ลดเพียง 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ และยังลดภาษีเพื่ออุดหนุนภาคผลิต ขนส่ง และก่อสร้างด้วย

    หลี่กล่าวว่า จีนจะจับตาการจ้างงานของบริษัทส่งออกที่มีความเสี่ยงต่อตลาดสหรัฐฯ มากอย่างใกล้ชิด และลดภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคผลิตจาก 16% เหลือ 13% ในขณะเดียวกันจะลดภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ภาคขนส่งและก่อสร้างจาก 10% เหลือ 9%

    รัฐบาลจีนตั้งเป้าที่จะสร้างงานใหม่ในเขตเมืองมากกว่า 11 ล้านตำแหน่งในปีนี้ และจะรักษาอัตราการว่างงานในเมืองไว้ภายใน 4.5% ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายปี 2561 ในขณะเดียวกันจะลดค่าประกันสังคมที่บริษัทต้องจ่ายด้วย ในการผลักดันเพื่อเพิ่มการลงทุนด้านสาธารณูปโภค กระทรวงการคลังจีนได้เพิ่มโควตาในการออกพันธบัตรพิเศษแก่รัฐบาลท้องถิ่นเป็น 2.15 ล้านล้านหยวน จาก 1.35 ล้านล้านหยวนในปีที่แล้ว รายได้ภาษีที่ลดลงและการใช้จ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงว่ารัฐบาลปักกิ่งได้เพิ่มเป้าหมายในการขาดดุลงบประมาณเป็น 2.8% ของจีดีพีจาก 2.6% ในปีที่ผ่านมา

    รัฐบาลจีนยังได้กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อผู้บริโภคไว้ที่ประมาณ 3% แม้ว่าการปรับตัวขึ้นของราคาเมื่อเร็ว ๆ นี้ไม่ถึง 2% ซึ่งทำให้รัฐบาลปักกิ่งมีโอกาสที่จะกระตุ้นการบริโภคได้อีก

    ในปีที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีนได้ลดเกณฑ์กันสำรองเงินทุนแก่ธนาคารพาณิชย์ 5 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการปล่อยกู้ให้กับบริษัทเอกชนขนาดเล็กซึ่งมีความสำคัญต่อการเติบโตและการจ้างงาน

    นายกรัฐมนตรีจีน กล่าวเมื่อวานนี้ว่า นโยบายเงินจะ “ไม่ตึงเกินไปและไม่หย่อนเกินไป” และรัฐบาลจะไม่ทำให้สภาพคล่องท่วมเศรษฐกิจ เป้าหมายการเติบโตของปริมาณเงิน M2 และสินเชื่อเพื่อสังคมทั้งหมดในปีนี้จะสอดคล้องกับการเติบโตของจีดีพีเพื่อสนับสนุนบริษัทเอกชนและบริษัทขนาดเล็ก หลี่กล่าวว่ารัฐบาลปักกิ่งจะลดเป้าเกณฑ์กันสำรองเงินทุนแก่บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ธนาคารใหญ่เพิ่มการปล่อยกู้ให้กับบริษัทขนาดเล็กมากกว่า 30%

    สำนักงานวางแผนเศรษฐกิจของจีนก็ได้แถลงเมื่อวันอังคารว่า จะยังคงจัดการกับความเสี่ยงหนี้อย่างสงบเรียบร้อย โดยจะแก้ปัญหาธนาคารเงาและหนี้รัฐบาลท้องถิ่นโดยไม่บั่นทอนเสถียรภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในการแก้ไขความท้าทายที่ถือว่าใหญ่สุดครั้งหนึ่งที่เศรษฐกิจจีนได้เผชิญ รัฐบาลได้ชี้แจงต่อสภาว่า จะสนับสนุนให้มีการเจรจาการค้าของจีนและสหรัฐฯ ต่อไปและให้คำมั่นว่าจะปกป้องการค้าเสรีและโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ

    ในวันเดียวกัน หน่วยงานที่กำกับดูแลธนาคารของจีนได้แถลงว่า รัฐบาลปักกิ่งอาจบรรลุข้อตกลงกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับการเปิดภาคการเงินด้วย

    ในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้ ดูเหมือนว่าสหรัฐฯ และจีนใกล้มากขึ้นที่จะได้ข้อตกลงการค้าซึ่งสหรัฐฯ จะยกเลิกภาษีสินค้าจีนอย่างน้อย 200,000 ล้านดอลลาร์

    ไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า ทั้งสองชาติใกล้จะได้ข้อตกลงเพื่อยุติสงครามการค้า

    จีนได้เพิ่มการโฆษณาชวนเชื่อเมื่อใกล้มีการประชุมสภา โดยสื่อของรัฐได้ปล่อยวิดีโอภาษาอังกฤษและแม้แต่เปิดเพลงแร็พที่ชื่นชมว่าการประชุมสภาเป็นการดำเนินการในระบอบประชาธิปไตยแบบจีน แม้ว่าสภาไม่เคยคว่ำกฎหมายเลยและสมาชิกรัฐสภาได้รับเลือกเพราะความภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์

    Source: ข่าวหุ้น

    เพิ่มเติม
    - Economists warn that China's growth could plummet to 2 percent in the next decade : https://www.cnbc.com/2019/03/06/chinas-growth-could-plummet-to-2percent-capital-economics.html
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    800x-1.jpg
    (Mar 6) สิงคโปร์เตรียมเพิ่มอายุเกษียณหลังเหล่าผู้สูงอายุยังคงสุขภาพดี : โจเซฟีน เตียว รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ กล่าวว่า สิงคโปร์อาจเพิ่มเกณฑ์การเกษียณอายุและอายุการจ้างงานใหม่ หลังประชาชนยังคงมีสุขภาพแข็งแรงแม้อายุจะมากขึ้นและยังคงทำงานได้เป็นอย่างดี

    คำแถลงดังกล่าวมีขึ้นหลังคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากรัฐบาล สหภาพแรงงาน และภาคเอกชนได้เห็นชอบร่วมกันที่จะเพิ่มเกณฑ์เกษียณอายุและการจ้างงานใหม่ให้สูงขึ้น แม้ว่าจะยังไม่มีการเปิดเผยว่า จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไหร่

    ปัจจุบันอายุของการเกษียณของสิงคโปร์อยู่ที่ 62 ปี และอายุสำหรับการจ้างงานใหม่อยู่ที่ 67 ปี
    เตียว กล่าวว่า การเพิ่มอายุเกษียณจะกระตุ้นให้ทั้งพนักงานและนายจ้างลงทุนเรื่องการเพิ่มทักษะและงานที่เหมาะกับอายุที่มากขึ้น ขณะที่การเพิ่มอายุการจ้างงานใหม่จะช่วยให้บริษัทมีความยืดหยุ่นที่จะเปลี่ยนเงื่อนไขการจ้างงานใหม่ได้ เช่น เงินเดือนหรือขอบเขตของงาน

    Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สาริน โรจนวงศ์สกุล/สุนิตา

    - Singapore Set to Raise Retirement Ages as Seniors Stay Healthier : https://www.bloomberg.com/news/arti...ise-retirement-ages-as-seniors-stay-healthier
    -
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    5a43cebf4aa6b51d008b714e-750-375.jpg
    (Mar 6) พิพาทจีนใกล้สงบ 'ทรัมป์'ไม่จบศึกค้า : ทั่วโลกเริ่มหายใจหายคอโล่งขึ้น หลังสหรัฐและจีนเปิดเผยว่ามีความคืบหน้ามากขึ้นสู่การคลี่คลายความขัดแย้งทางการค้า โดยเตรียมจะยกเลิกกำแพงภาษีสินค้าเกือบทั้งหมด ด้านประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ และประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ยังมีกำหนดพบปะกันราววันที่ 27 มี.ค.นี้ เพื่อสรุปดีลแก้ข้อพิพาทการค้า

    แม้ศึกการค้ากับจีนเริ่มมีวี่แววสงบ แต่ไม่ได้หมายความว่าสหรัฐภายใต้การนำของทรัมป์จะยอมจบมหากาพย์ศึกการค้ากับนานาชาติ หลังประกาศกร้าวก่อนหน้าว่าจะลดการขาดดุลการค้ากับชาติอื่นๆ

    แม้ทรัมป์เปิดฉากสงครามลดการขาดดุลการค้าด้วยการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า ประกาศขึ้นภาษี เซฟการ์ดเหล็กและอะลูมิเนียมนำเข้าจากทั่วโลกที่ 25% และ 10% ไปเมื่อเดือน มี.ค.ปีที่แล้ว แต่ยอดขาดดุลการค้าก็ยังคงไม่ปรับตัวลดลง

    เมื่อปี 2018 สหรัฐขาดดุลการค้ากับทั่วโลกอยู่ที่ 9.14 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 29 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปี 2017 ที่ 8.59 แสนล้านดอลลาร์ (ราว 2 ล้านล้านบาท) แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ภารกิจดังกล่าวที่ยังไม่ใกล้ประสบความสำเร็จ ทำให้ทรัมป์ตัดสินใจรุกคืบต่อ

    "อินเดีย" คือชาติล่าสุดที่ตกเป็นเป้าหมายของผู้นำสหรัฐ หลังทรัมป์เปิดเผยว่าจะเตรียมตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือจีเอสพี กับอินเดีย โดยกระบวนการตัดสิทธิดังกล่าวจะใช้เวลาอย่างน้อย 60 วัน หลังแจ้งต่อสภา คองเกรสและรัฐบาลอินเดียแล้ว

    ทรัมป์ ระบุว่า อินเดียยังไม่ยอมเปิดตลาดนำเข้าสินค้าสหรัฐมากพอ โดยอินเดียเกินดุลการค้ากับสหรัฐอยู่ที่ 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 6.6 แสนล้านบาท) เมื่อปี 2018

    อินเดียนั้นได้ประโยชน์จากจีเอสพีกับสหรัฐมากที่สุด โดยจีเอสพีครอบคลุมสินค้าอินเดียเกือบ 2,000 รายการที่ส่งออกไปสหรัฐ ที่รวมถึงสินค้ากลุ่มวัตถุดิบ สินค้าขั้นกลาง และสินค้ากลุ่มเคมีภัณฑ์ คิดเป็นมูลค่า 5,600 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.7 แสนล้านบาท)

    อย่างไรก็ดี อานุป วัธวัน รัฐมนตรีพาณิชย์อินเดีย กล่าวว่า "ผลประโยชน์ที่แท้จริง" จากการตัดสิทธิจีเอสพี อยู่ที่เพียง 190 ล้านดอลลาร์ (ราว 6,042 ล้านบาท) เท่านั้น เมื่อเทียบกับการส่งออกของอินเดียไปสหรัฐทั้งหมดที่ 4.8 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 1.5 ล้านล้านบาท) เมื่อปีที่แล้ว

    แม้ทางอินเดียมองว่าการตัดสิทธิ จีเอสพีดูเป็นมาตรการเชิงสัญลักษณ์มากกว่าจะส่งผลกระทบในแง่มูลค่าทางการค้า แต่มาตรการดังกล่าวอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นสู่ความพยายามกดดันอื่นๆ ยิ่งขึ้น และสิ่งที่น่าสนใจก็คือการประกาศตัดจีเอสพีอินเดีย เกิดขึ้นขณะที่บรรยากาศทางธุรกิจระหว่างสหรัฐและอินเดียไม่ค่อยสู้ดีนัก หลังอินเดียเพิ่งประกาศร่างนโยบายอี-คอมเมิร์ซแห่งชาติ ที่มุ่งคุมเข้มอี-คอมเมิร์ซต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอมะซอน และ ฟลิปคาร์ท ที่มีวอลมาร์ทถือหุ้นใหญ่

    ก่อนหน้านี้ อินเดียยังพยายามบีบให้มาสเตอร์การ์ดและวีซ่า สองยักษ์บริษัทบัตรเครดิตย้ายฐานข้อมูลเข้ามาในอินเดีย และยังขึ้นภาษีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสมาร์ทโฟนนำเข้าเป็น 20% จาก 15% เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (ยูเอสทีอาร์) มองว่ามาตรการทั้งหลายเหล่านั้นของอินเดียนับเป็น "อุปสรรคทางการค้า" ที่จะส่งผลลบต่อสหรัฐ

    "ญี่ปุ่น" และ "สหภาพยุโรป" เป็นอีกสองคู่ค้าที่สุ่มเสี่ยงถูกดึงเข้าไปร่วมเล่นมหากาพย์ศึกการค้ากับทรัมป์ด้วยเช่นกัน จากความเป็นไปได้ที่สหรัฐจะประกาศเก็บภาษีรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์นำเข้าจากต่างชาติที่ 20-25% หลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้ส่งมอบรายงานผลการศึกษาให้ทรัมป์ว่าสินค้ากลุ่มดังกล่าวเป็นภัยความมั่นคงต่อสหรัฐหรือไม่ ตามการสอบสวนภายใต้มาตรา 232

    ทรัมป์ เคยกล่าวไว้นานแล้วว่าต้องการให้ทั้งญี่ปุ่นและอียูเปิดกว้างตลาดรับสินค้าอเมริกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์และสินค้าเกษตร ขณะที่ญี่ปุ่นติดอันดับเกินดุลการค้ากับสหรัฐมากที่สุดอันดับ 4 อยู่ที่ 6.9 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 2.1 ล้านล้านบาท) เมื่อปี 2017 ตามด้วยเยอรมนีที่อันดับ 5 ซึ่งเกินดุลกับสหรัฐอยู่ที่ 6.5 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 2 ล้านล้านบาท)

    ตอนนี้ทรัมป์มีเวลาอีกประมาณ 90 วันในการพิจารณาว่าจะตั้งภาษีรถยนต์และชิ้นส่วนรถนำเข้าหรือไม่ ซึ่งหากทรัมป์เอาจริง ภาษีดังกล่าวจะฉุดการส่งออกสุทธิของอียูลง 2% ใน 2019 ซึ่งจะส่งผลให้จีดีพีอียูปรับลง 0.4% หรือคิดเป็น 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 2.3 ล้านล้านบาท) ตามการประเมินของธนาคารบาร์เคลย์

    ด้านญี่ปุ่นก็เจ็บตัวหนักไม่แพ้กัน โดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี Ifo คาดการณ์ว่า กำแพงภาษีรถอาจทำให้ค่ายรถแดนปลาดิบอาจขาดทุนเพิ่มประมาณ 8,000 ล้านยูโร (ราว 2.82 แสนล้านบาท) ซึ่งแน่นอนว่าย่อมกระทบต่อการส่งออกภาพรวมอย่างแน่นอน เนื่องจากรถยนต์เป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกหลักของญี่ปุ่น และการส่งออกรถไปสหรัฐอยู่ที่สัดส่วน 5% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของญี่ปุ่นปี 2017 คิดเป็น 4 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 1.24 ล้านล้านบาท)

    นอกจากภาษีรถยนต์แล้ว ญี่ปุ่นยังเสี่ยงเจอภาษีไทเทเนียมพรุน (Titanium Sponge) ด้วยเช่นกัน หลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเริ่มเปิดฉากสอบสวนตามมาตรา 232 ว่า สินค้านำเข้าประเภทดังกล่าวว่าเป็นภัยความมั่นคงหรือไม่ หลังได้รับคำร้องเรียนว่าไทเทเนียมนำเข้าจากญี่ปุ่นและ คาซัคสถาน ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตไทเทเนียมสหรัฐ

    ทั้งนี้ ไทเทเนียมนำเข้าคิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% ของปริมาณไทเทเนียมที่สหรัฐเอาไปใช้งานจริง ซึ่งส่วนใหญ่เอาไปใช้ผลิตเครื่องบินพลเรือน โรงงานเคมีภัณฑ์ โรงไฟฟ้า สิ่งก่อสร้าง รวมถึงอุปกรณ์ชีวการแพทย์

    แนวรบของทรัมป์ยังเสี่ยงขยายไปถึงประเด็น "ค่าเงิน" ด้วยเช่นกัน หลังเพิ่งเปิดฉากโจมตีว่านโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนหน้านี้ ทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างมาก จนฉุดความสามารถในการแข่งขันและการส่งออกของสหรัฐ

    เสียงวิจารณ์เรื่องค่าเงินของทรัมป์ ทำให้ต้องรอจับตาดูรายงานการประเมินประเทศเข้าข่ายแทรกแซงค่าเงินของกระทรวงการคลังสหรัฐ ซึ่งจะเปิดเผยในเดือน เม.ย.นี้

    แม้สงครามการค้ากับจีนมีแนวโน้มสิ้นสุด แต่ไม่ได้หมายความว่าทรัมป์จะยอมหยุด มหากาพย์ศึก การค้าโลกของสหรัฐจึงยังคงไม่การค้าโลกของสหรัฐจึงยังคงไม่ปิดฉากโดยง่ายในเร็ววันนี้

    โดย นรินรัตน์ พรหมพิทักษ์

    Source: Posttoday

    - Trump moves his trade war to a new frontier as he kicks India and Turkey out of a $19 billion agreement: https://www.businessinsider.com/trump-trade-war-us-removes-india-and-turkey-import-agreement-2019-3
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    Resizer_15520599727700.png

    (Mar 6) สหรัฐเผยขาดดุลการค้าพุ่งสูงสุด 10 ปีในปีที่แล้ว ขณะขาดดุลต่อจีนพุ่งเป็นประวัติการณ์ : กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 10 ปีในปีที่แล้ว ขณะที่สหรัฐขาดดุลการค้าต่อจีนสูงสุดเป็นประวัติการณ์

    ทั้งนี้ สหรัฐขาดดุลการค้า 6.210 แสนล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขขาดดุลการค้าสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2551 หลังจากที่ขาดดุลการค้า 5.523 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2560

    สหรัฐขาดดุลการค้าต่อจีนพุ่งขึ้น 11.6% ในปีที่แล้ว แตะระดับ 4.192 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
    กระทรวงพาณิชย์สหรัฐยังเปิดเผยว่า สหรัฐขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น 18.8% ในเดือนธ.ค. สู่ระดับ 5.98 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2551 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.79 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่การส่งออกร่วงลงเป็นเดือนที่ 3 และการนำเข้าเพิ่มขึ้น

    หากปรับค่าตามเงินเฟ้อ สหรัฐขาดดุลการค้าพุ่งขึ้น 1.0 หมื่นล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 9.16 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนธ.ค.
    กระทรวงพาณิชย์ยังเปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าและบริการลดลง 1.9% สู่ระดับ 2.051 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน ส่วนการนำเข้าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 2.1% สู่ระดับ 2.649 แสนล้านดอลลาร์

    Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ

    - https://www.reuters.com/article/us-...-high-in-2018-on-record-imports-idUSKCN1QN1M4
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    Resizer_15520602721680.png
    (Mar 7) Government shutdown เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายอุตสาหกรรมในสหรัฐ :รายงาน Fed Beige Book ซึ่งครอบคลุมภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคในช่วงปลายเดือน ม.ค. ถึงเดือน ก.พ. (รวบรวมโดย Reserve Banks ทั้ง 12 ภูมิภาค) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคส่วนใหญ่ขยายตัวในลักษณะ“slight-to-moderate” โดยเหตุการณ์ government shutdown เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายอุตสาหกรรม ขณะที่ภาคการจ้างงานมีรายงานการขยายตัวในลักษณะ“modest-to-moderate” เช่นเดียวกับอัตราเงินฟ้อ ที่เป็นผลมาจากการปรับสูงขึ้นของราคาต้นทุนและวัตถุดิบในอัตราที่เร็วกว่าราคาขายสินค้า
    - Overall Economic Activity: รายงานของ 10 จาก 12 ภูมิภาค สะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในลักษณะ“slight-to-moderate” ขณะที่ภูมิภาค Philadelphia และ St. Louisรายงานว่าไม่มีการขยายตัวในช่วงดังกล่าว นอกจากนี้ครึ่งหนึ่งของรายงานมีการระบุว่า เหตุการณ์ government shutdown เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายอุตสาหกรรม เช่น ภาคค้าปลีก ยานยนต์ ท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ ร้านอาหาร และการผลิต ด้านภาคการใช่จ่ายผู้บริโภค มีรายงานจากหลายภูมิภาคระบุถึงผลกระทบต่อยอดค้าปลีก และรถยนต์ จากสภาพอากาศที่ย่ำแย่ รวมถึงอัตราการกู้ยืมที่สูงขึ้น ด้านภาคการผลิตมีรายงานขยายตัว “on balance” ท่ามกลางความกังวลของผู้ประกอบการเกี่ยวกับอุปสงค์ในตลาดโลกที่อ่อนแอลง ต้นทุนที่สูงขึ้นจาก tariffs และความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศ สำหรับภาคก่อสร้างมีรายงานการขยายตัวในหลายภูมิภาค แม้ยอดขายบ้านจะปรับลดลง ส่งผลให้ระดับ inventory ปรับสูงขึ้นเล็กน้อย โดยราคาบ้านมีการปรับเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ชะลอตัวลงจากช่วงก่อนหน้า
    - Employment and Wages: หลายภูมิภาครายงานการขยายตัวในภาคการจ้างงานในลักษณะ “modest-to-moderate” โดยผู้ประกอบการยังคงประสบปัญหาในการสรรหาแรงงานในทุก skill level โดยเฉพาะตำแหน่งงานด้าน information technology, manufacturing, truckling, restaurant และ construction นอกจากนี้ ภูมิภาค St. Louis มีการรายงานการลงทะเบียนการปรับลดลงของจำนวนนักเรียนที่ลงทะเบียนในระดับมหาวิทยาลัย เนื่องจากมีบางส่วนที่เลือกเข้าสู่ตลาดแรงงานแทน สำหรับอัตราค่าจ้าง ยังคงมีการขยายตัวต่อเนื่องในทุกภูมิภาค ประกอบกับมีรายงานการปรับเพิ่มขึ้นของค่าตอบแทนประเภท non-wage เช่น โบนัส และสวัสดิการต่าง ในครึ่งหนึ่งของภูมิภาคทั้งหมด
    - Prices: ราคาสินค้าและบริการโดยรวมมีการปรับสูงขึ้นในลักษณะ“modest to moderate” ในภูมิภาคส่วนใหญ่ โดยมีรายงาน input cost ที่ปรับสูงขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าราคาสินค้า ซึ่งความสามารถในการส่งผลกระทบดังกล่าวสู่ผู้บริโภคนั้นแตกต่างกันออกไปในแต่ละภูมิภาคและอุตสาหกรรม ส่วนหนึ่งมาจากระดับของการแข่งขันและอุปสงค์ที่ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ บางภูมิภาครายงานราคาที่ปรับสูงขึ้นจากผลของมาตรการ tariff ในสินค้าและบริการบางประเภท อย่างไรก็ดี หลายภูมิภาครายงานว่าราคาเหล็กที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการดังกล่าวได้ “stabilized or fallen” ในช่วงที่ผ่านมา เช่นเดียวกับราคาพลังงานที่มีการปรับลดลงในบางพื้นที่

    Source: BoTSS
    https://www.cnbc.com/2019/03/06/fed-survey-finds-adverse-impact-from-government-shutdown.html
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    105509125-1539676373316gettyimages-1042519992.jpeg
    (Mar 7) อิตาลีร่วมโครงการทางสายไหมใหม่จีน: อิตาลีมีแผนลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู)เพื่อกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเส้นทางสายไหมแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 หรือ หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (บีอาร์ไอ) ภายในสิ้นเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักจากสหรัฐ
    สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มี.ค. ว่า หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ส ของอังกฤษ รายงานในฉบับวันอังคาร (5 มี.ค.) โดยอ้างการเปิดเผยของนายมิเคเล่ เกราซี รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจอิตาลี ว่า การเจรจาระหว่างจีนกับอิตาลียังไม่เสร็จสิ้น แต่มีความเป็นไปได้ที่จะได้ข้อสรุปก่อนการเยือนของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน
    รัฐบาลสหรัฐกล่าวว่า โครงการบีอาร์ไอไม่น่าจะช่วยอิตาลีทางด้านเศรษฐกิจ หนำซ้ำยังจะทำลายชื่อเสียงอิตาลีอย่างมากในเวทีโลก นายแกร์เรตต์ มาร์ควิส โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ กล่าวว่า ตามมุมมองของสหรัฐ บีอาร์ไอเป็นโครงการ "ผลิตโดยจีน สำหรับจีน"
    บีอาร์ไอ แผนโครงการสุดภูมิใจของสี จิ้นผิง มีเป้าหมายเชื่อมต่อจีนทางทะเลและทางบก กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียกลาง ตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา โดยผ่านเครือข่ายสาธารณูปโภค ตามแนวเส้นทางสายไหมยุคโบราณ
    นอกเหนือจากการส่งเสริมการค้าและการลงทุน สียังมีเป้าหมายส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในหลายภาค เช่น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วัฒนธรรม และการศึกษา ด้วย.
    Source: เดลินิวส์ออนไลน์
    https://www.cnbc.com/2019/03/06/ita...nas-belt-and-road-program-ft-report-says.html
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    5a452302b0bcd5b9008b7467-750-375.jpg
    (Mar สงครามการค้า' จ่อคออินเดีย : การตัดสินใจ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เตรียมตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (จีเอสพี) จากอินเดีย ถือเป็น ช่วงเวลาอ่อนไหวทางการเมืองเป็นอย่างยิ่งของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีน เรนทรา โมดี ที่ขณะนี้เผชิญความท้าทายในประเทศ 2 เรื่องใหญ่

    เดือนเม.ย.- พ.ค.นี้อินเดีย ซึ่งเป็น ประเทศประชาธิปไตยใหญ่สุดของโลกจะจัดการเลือกตั้งทั่วไป ที่ยังไม่แน่ใจว่า โมดีจะรักษาอำนาจไว้ได้หรือไม่พรรคภราติยะชนตะ (บีเจพี) ของเขากำลังเจอความท้าทายหนักหน่วงจากพรรคฝ่ายค้าน "คองเกรส" และพรรคเล็ก พรรคน้อยในรัฐต่างๆ กำลังได้รับ ความนิยมมากขึ้นทุกขณะ

    โรเบิร์ต เบลค หัวหน้าฝ่ายอินเดียและเอเชียใต้ บริษัทที่ปรึกษาแมคลาร์ตี แอสโซซิเอตส์ เผยว่า ในช่วงเวลาไม่ถึง 2 เดือนจะเลือกตั้ง การทำสงครามการค้าย่อมไม่ใช่เรื่องดีสำหรับอินเดียแน่ๆ นอกจากนี้อินเดียยังมีปัญหาขัดแย้ง กับเพื่อนบ้านอย่างปากีสถาน หลังจากปะทะกันหลายครั้งเมื่อปลายเดือน ก.พ. ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่เผยกับเว็บไซต์ ซีเอ็นบีซีว่า แม้ความตีงเครียดลดลงแล้วแต่สถานการณ์ยังคุกรุ่น ต่างฝ่ายต่างเพิ่มจำนวนทหารบริเวณพรมแดนแคชเมียร์ จึงเสี่ยงที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะปะทะกัน โดยไม่เจตนา

    จากท่าทีล่าสุดของสหรัฐ กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอินเดียแถลงชี้แจงว่า อินเดียซื้อสินค้าสหรัฐเพิ่ม มากขึ้นหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ส่งผลให้สหรัฐ ขาดดุลการค้าอินเดียลดลงมากใน ปี 2560-2561

    ส่วนในมุมของสหรัฐแม้ขาดดุล อินเดียมากเป็นอันดับ 9 แต่บริษัทใหญ่อย่างแอ๊ปเปิ้ล เน็ตฟลิกซ์ เฟซบุ๊ค และอื่นๆ ก็มองอินเดียตาเป็นมัน ในฐานะตลาดที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะ ในช่วงที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัว

    ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ ระดับกลางของทั้งสหรัฐและอินเดียได้หารือกันถึงหนทางลดการค้าไม่สมดุล แต่แหล่งข่าวหลายรายที่ใกล้ชิดกับอินเดีย เผยว่า รัฐบาลนิวเดลีไม่อยากอ่อนข้อ ทำให้ สหรัฐต้องตอบโต้ด้วยการถอนจีเอสพี

    โรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้า สหรัฐ (ยูเอสทีอาร์) แถลงถึงการตัด จีเอสพี ระบุ "อินเดียใช้อุปสรรคทางการค้าต่างๆ นานา ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการพาณิชย์ของสหรัฐ แม้จะมีการปรึกษาหารือกันอย่างเข้มข้น แต่อินเดียก็ไม่ได้ดำเนินการ มากพอตามเกณฑ์จีเอสพี"

    เบลคกล่าวว่า การประกาศตัดจีเอสพี ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจสำหรับอินเดีย เพราะทั้ง 2 ประเทศตึงเครียดเรื่องการค้า มาระยะหนึ่งแล้ว

    ปี 2560 อินเดียใช้สิทธิจีเอสพีส่งออก สินค้ามูลค่ากว่า 5.5 พันล้านดอลลาร์โดยไม่ต้องถูกสหรัฐเก็บภาษี กระนั้นกระทรวงพาณิชย์อินเดียยืนกรานว่า การถูกตัดจีเอสพีส่งผลเพียงเล็กน้อย ราว 190 ล้านดอลลาร์

    หากตึงเครียดกันมากขึ้นผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า อินเดียอาจเก็บภาษีตอบโต้ ประวิณ กฤษณะ อาจารย์ด้านธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยจอห์นส ฮอปกินส์ กล่าวว่า สุดท้ายแล้วผู้บริโภคอเมริกันเองที่เป็นฝ่ายเจ็บตัว

    เมื่อฤดูใบไม้ร่วงปี 2561 อินเดียประกาศเก็บภาษีสินค้าสหรัฐ 240 ล้านดอลลาร์ แต่ไม่เคยบังคับใช้

    "อินเดียยังไม่ขู่ตอบโต้ทันที แต่ถ้าทำจริง ผู้บริโภคสหรัฐต้องเป็นฝ่ายจ่ายแพงขึ้น" กฤษณะกล่าวพร้อมเสริมว่า รัฐบาลนิวเดลียังไม่รีบตอบโต้ ตอนนี้ต้องให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค.เสียก่อน แต่ก็มีวิธีอื่นที่อินเดียเล่นงานบริษัทสหรัฐได้

    เดือน ก.พ. นิวเดลีออกระเบียบใหม่พุ่งเป้าไปที่บริษัทอีคอมเมิร์ซต่างชาติ ทำเอา ฟลิปคาร์ตของวอลมาร์ทและอเมซอนที่กำลังรุกตลาดแดนภารตะนั่งไม่ติด นักวิเคราะห์ อินเดียกล่าวว่า นโยบายเหล่านี้ทำขึ้นเพื่อปกป้องธุรกิจรายย่อย ที่ครองสัดส่วนใหญ่มาก ในแวดวงค้าปลีกอินเดีย และเป็นฐานเสียงสำคัญ ของนายกฯโมดี

    Source: กรุงเทพธุรกิจ

    - https://www.businessinsider.com/trump-trade-war-us-india-dispute-on-medical-device-pricing-2019-3
    -
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    Resizer_15520611246130.png
    (Mar 7) OECDหั่นจีดีพีโลก - โออีซีดีปรับลดเป้าจีดีพีโลกอีก เหตุสงครามการค้า-ความไม่แน่นอนทางการเมืองพ่นพิษ

    องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2019 และปี 2020 ลงมาอยู่ที่ 3.3% และ 3.4% จาก 3.5% ในคาดการณ์เมื่อเดือน พ.ย. 2018 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบอย่างหนักจากความตึงเครียดทางการค้า และความไม่แน่นอนทางการเมือง

    ทั้งนี้ โออีซีดีเปิดเผยว่า มาตรการตอบโต้ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐจะฉุดการขยายตัวของเศรษฐกิจและการลงทุน แม้หากทั้งสองชาติบรรลุข้อตกลงยุติความขัดแย้งได้ แต่มีความเสี่ยงที่สหรัฐอาจตั้งภาษีรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์นำเข้า ซึ่งจะส่งผล กระทบอย่างมากต่อกลุ่มประเทศยุโรป พร้อมเตือนว่า อิตาลีเสี่ยงเผชิญภาวะเศรษฐกิจหดตัวตลอดทั้งปีเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2013

    ด้านเศรษฐกิจจีนที่โตต่ำสุดรอบ 28 ปี เมื่อปี 2018 เสี่ยงฉุดเศรษฐกิจและการค้าทั่วโลก โดยโออีซีดีหั่นคาดการณ์จีดีพีจีนเหลือ 6.2% จากเดิม 6.3% แต่คงคาดการณ์ปี 2020 อยู่ที่ 6%

    นอกจากนี้ เบร็กซิตยังถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามต่อเนื่อง ซึ่งหากอังกฤษต้องออกจากสหภาพยุโรปโดยไร้ข้อตกลง อังกฤษจะเสี่ยงเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยระยะสั้น

    Source: Posttoday

    - https://www.reuters.com/article/us-...wth-forecasts-cut-again-by-oecd-idUSKCN1QN13N
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    105696334-1548294110856gettyimages-684046588.jpg
    (Mar 7) เศรษฐกิจจีนไม่แกร่งเหมือนเดิม 'จีดีพี' อาจโตเพียง 2% ภายใน 10 ปี - นักเศรษฐศาสตร์เตือนเศรษฐกิจจีนจะไม่แข็งแกร่งอีกต่อไป การเติบโตอาจลดลงเหลือเพียง 2% ในช่วงทศวรรษหน้า จากที่คาดว่าจะโต 6.0-6.5% ในปีนี้ โดยปัญหาหลักอยู่ที่หนี้และกลไกขับเคลื่อนการเติบโตอ่อนแรงลง

    มาร์ก วิลเลียม หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์เอเชียของแคปิตอล อีโคโนมิคส์ กล่าวว่า ช่วงเวลาของจีนในฐานะที่เป็นเศรษฐกิจที่เด่นสุดในตลาดเกิดใหม่กำลังจะจบสิ้นลง และคาดว่าในช่วงทศวรรษหน้าเศรษฐกิจจีนจะโต 2% เทียบกับที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์ไว้ระหว่าง 5-6%

    นักเศรษฐศาสตร์ของแคปิตอล อีโคโนมิคส์ กล่าวว่า เศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงหลายอย่าง และมีการเปลี่ยนแปลงของประชากร เช่น ปัญหาหนี้ กำลังแรงงานลดลง และแรงขับเคลื่อนอัตราผลผลิตอ่อนแอลงมากขึ้น

    การคาดการณ์เหล่านี้มีขึ้นในขณะที่นายกรัฐมนตรี หลี่ เค่อเฉียง ได้แถลงต่อสภาประชาชนแห่งชาติเมื่อวันอังคารว่า ทางการจีนได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตในปีนี้ที่ 6.0-6.5% ซึ่งลดลงจากปีที่แล้ว นอกจากนี้ หลี่ยังเตือนว่าจะมีความเสี่ยงมากขึ้นสำหรับเศรษฐกิจจีน ดังนั้นจะต้องเตรียมรับความลำบากอย่างเต็มที่

    จูเลียน อีแวนส์-พริตชาร์ด นักเศรษฐศาสตร์จีนอาวุโสของแคปิตอล อีโคโนมิคส์ กล่าวว่า ปัญหาหนี้ของจีนจะไม่หมดไป สิ่งที่น่ากังวลจริง ๆ คือหนี้บริษัทและหนี้ครัวเรือน และหนี้สูงขึ้นเพราะมีการปล่อยกู้ที่ด้อยคุณภาพ

    “ผู้กำหนดนโยบายได้พยายามโยกการปล่อยกู้จากบริษัทของรัฐไปยังบริษัทเอกชน แต่จนถึงขณะนี้ผลที่ได้ยังน่าผิดหวัง” อีแวนส์-พริตชาร์ด กล่าว และยังบอกว่า การใช้เงินทุนของบริษัทของรัฐในขณะนี้ก็สูงกว่าเมื่อสองสามปีก่อน การใช้หนี้ที่มีอยู่จะยากมากขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจจีนยังคงชะลอตัวลง

    อีแวนส์-พริตชาร์ด ตั้งข้อสังเกตว่า ความเสี่ยงที่แท้จริงอยู่ที่บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้กู้ยืมมากสุดเพื่อนำเงินไปซื้อที่ดินอย่างสนุกสนาน

    นักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งได้กล่าวว่า รัฐบาลปักกิ่งอาจจะกระตุ้นเศรษฐกิจปีนี้โดยผ่านเงินกู้มากขึ้น แต่วิลเลียมเตือนว่าจนถึงขณะนี้ลมปะทะที่สำคัญต่อเศรษฐกิจจีนอยู่ที่การเข้มงวดในการปล่อยกู้นอกระบบ หรือธนาคารเงา

    นอกจากปัญหาหนี้แล้ว กลไกในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจจีนก็กำลังจะอ่อนแรงลง เช่น กำลังแรงงานลดลง โดยได้รับผลกระทบจากนโยบายลูกคนเดียวที่ได้ทำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 และแรงขับเคลื่อนความสามารถในการผลิตลดลง

    ในรายงานเดือนมกราคม แคปิตอล อีโคโนมิคส์ คาดการณ์ว่า กำลังแรงงานที่หดตัวลงอาจส่งผลให้จีดีพีโตลดลงประมาณ 0.5% ภายในปี พ.ศ. 2573 ในขณะนี้ประชากรในวัยทำงานของจีนลดลงประมาณ 0.2% และมีทารกเกิดเพียง 15 ล้านคนในปี 2561 ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้า 12% ซึ่งต่ำกว่าประมาณการของทางการที่ทำไว้เมื่อสามปีก่อนเกือบหนึ่งในสาม จีนเริ่มอนุญาตให้มีลูกสองคนได้เมื่อปี 2558

    อย่างไรก็ดี วิลเลียมกล่าวว่า ตัวฉุดสำคัญสำหรับจีนจะมาจากการเติบโตของอัตราผลผลิตลดลงมาก ในขณะที่ตลาดเกิดใหม่หลายแห่งพึ่งพาการส่งออกเพื่อขับเคลื่อนอัตราผลผลิต ส่วนแบ่งตลาดส่งออกของจีนใหญ่อยู่แล้ว และจำเป็นต้องพึ่งพาการเติบโตภายในประเทศมากขึ้นเพื่อขับเคลื่อนอัตราผลผลิต

    ในขณะเดียวกัน อเล็กซานเดอร์ ทรีเวส ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนหุ้นในเอเชียแปซิฟิกและตลาดเกิดใหม่ของเจ.พี.มอร์แกน แอสเซ็ต แมเนจเมนต์ กล่าวว่า เราจำเป็นต้องสร้างความเคยชินกับโลกที่การเติบโตของจีดีพีจีนไม่ได้เป็นแหล่งการเติบโตแบบที่เราเคยเห็นเมื่อสิบหรือสิบห้าปีก่อน และนั่นคือเรื่องปกติเมื่อเศรษฐกิจใด ๆ ก็ตามได้พัฒนาไป สิ่งที่นักลงทุนหุ้นสนใจคือคุณภาพของการเติบโต ความยั่งยืน และแนวนโยบายที่สอดคล้องในช่วงสองปีที่ผ่านมา

    ทรีเวส กล่าวว่า หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่เจ.พี.มอร์แกนตื่นเต้นเกี่ยวกับประเทศจีนคือ ความสามารถที่จะลงทุนในบริษัทในจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งสามารถมองหาบริษัทเหล่านั้นในบริษัทที่มีสไตล์แบบเอกชนในประเทศจีนได้มากกว่าในต่างประเทศ และบริษัทเหล่านี้กำลังเข้าไปอยู่ในพอร์ตของเจ.พี.มอร์แกนทั่วภูมิภาค อย่างไรก็ดี ทรีเวส ได้เตือนว่า การประเมินมูลค่าทุกครั้งไม่ได้มีเหตุผลเท่ากัน และไม่ใช่ว่าทุกทีมบริหารจะแข็งแกร่งด้วยกลยุทธ์ที่ดี

    รัฐบาลปักกิ่งต้องการเปิดภาคการเงินให้กับการลงทุนของต่างชาติมากขึ้น และได้ดำเนินการหลายอย่างเพื่อให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดภายในประเทศและทำธุรกิจการเงินมากขึ้น

    นอกจากนี้ ยังมีพัฒนาการด้านบวกในเรื่องอื่น ๆ เช่นกัน โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา เอ็มเอสซีไอประกาศว่าจะเพิ่มน้ำหนักหุ้นจีนในแผ่นดินใหญ่ในดัชนีเอ็มเอสซีไอ ซึ่งปูทางให้ทุนต่างชาติไหลเข้าสู่เศรษฐกิจจีน

    ส่วนภาคที่เจ.พี.มอร์แกนมีแนวโน้มจะมาลงทุนคือ บริษัทที่มีความเสี่ยงด้านลบน้อยลง เช่น ธุรกิจการเดินทางและผลิตภัณฑ์นมเนย ธุรกิจเหล่านี้จะโตในช่วงหลายปีข้างหน้า

    Source: ข่าวหุ้น
    https://www.cnbc.com/2019/03/06/chinas-growth-could-plummet-to-2percent-capital-economics.html
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    Resizer_15520619134070.png
    (Mar 7) สนง.ปริวรรตเงินตราจีนไฟเขียว IMF เข้าถึงตลาดทุนได้ผ่านโครงการ RQFII : คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของจีน (CSRC) ได้ยินยอมให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เข้าถึงตลาดทุนของจีนได้ผ่านทางโครงการนักลงทุนสถาบันต่างชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการใช้สกุลเงินหยวน (RQFII)

    CSRC ได้ตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว หลังได้รับคำขอจาก IMF และระบุว่า ทาง CSRC ต้องการให้ IMF ทำตามกฎและหน้าที่
    สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า โครงการ RQFII เปิดตัวเมื่อปี 2554 เพื่อขยายช่องทางการลงทุนสำหรับกองทุนที่ใช้เงินหยวนจากต่างประเทศบนแผ่นดินจีน ช่วยให้ผู้ที่มีคุณสมบัติสามารถลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จีนได้ตามโควต้าที่กำหนด โดยมีเป้าหมายบางส่วนเพื่อเพิ่มการใช้สกุลเงินหยวนในระดับสากล

    สำนักงานปริวรรตเงินตราแห่งรัฐของจีน (SAFE) เปิดเผยว่า ณ วันที่ 27 ก.พ. โควต้าภายใต้โครงการ RQFII นั้น มีมูลค่าอยู่ที่ 6.6047 แสนล้านหยวน (ประมาณ 9.84 หมื่นล้านดอลลาร์)

    Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สาริน โรจนวงศ์สกุล/สุนิตา โ
    https://economictimes.indiatimes.co...s-to-capital-markets/articleshow/68299151.cms
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    105051504-GettyImages-910128808.jpg
    (Mar 7) ECB ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยตามคาด ขณะส่งสัญญาณตรึงดอกเบี้ยยาวถึงสิ้นปี : ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จัดการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้ โดยที่ประชุมมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ พร้อมกับคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.40% ขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25%
    อย่างไรก็ดี ECB มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำเกี่ยวกับการคงอัตราดอกเบี้ย โดยระบุว่า ECB จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อไป อย่างน้อยจนถึงสิ้นปีนี้ จากเดิมที่ระบุว่า ECB จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อไป อย่างน้อยจนถึงช่วงฤดูร้อนในปีนี้
    Source -อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ
    - https://www.cnbc.com/2019/03/07/european-central-bank-march-2019-interest-rate-decision.htmlBank of Thailand Scholarship Students
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    Resizer_15520625089840.png
    (Mar อีซีบีลดการคาดการณ์ ศก. ลงเหลือ 1.1%: ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางยุโรป (ECB) เดือน มี.ค. 2019 มีมติดังนี้

    (1) คงอัตราดอกเบี้ย 1) Main Refinancing Operations ที่ร้อยละ 0.00 2) Marginal Lending Facility Rate ที่ร้อยละ 0.25 และ 3) Deposit Facility Rate ที่ติดลบร้อยละ -0.40 โดยคณะกรรมการฯ คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะคงอยู่ที่ระดับปัจจุบันต่อไปตลอดปี 2019 หรืออาจยาวนานกว่านั้นหากมีความจำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อมีพัฒนาการสู่ระดับต่ำกว่าหรือใกล้เคียงระดับเป้าหมายที่ร้อยละ 2 ในระยะปานกลางอย่างยั่งยืน

    (2) คงการ reinvest พันธบัตรภายใต้มาตรการ Asset Purchase Programme (APP) ที่จะครบกำหนดอายุแบบเต็มจำนวนต่อไป โดย ECB ตั้งใจจะดำเนินการตามแผนดังกล่าวต่อไปจนกว่าจะผ่านพ้นช่วงเวลาที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือตราบเท่าที่จำเป็นเพื่อรักษาสภาพคล่องในระบบและทำให้นโยบายการเงินมีความผ่อนคลายอย่างเหมาะสมเพียงพอ

    (3) เริ่มมาตรการ Targeted Longer-Term Refinancing Operations (TLTRO-III) ในช่วงเดือน ก.ย. 2019 จนถึงสิ้นเดือน มี.ค. 2021 เพื่อรักษาไว้ซึ่ง lending conditions ของธนาคารต่างๆ และเพื่อให้การส่งผ่านนโยบายทางการเงินเป็นไปอย่างราบรื่น ทั้งนี้มาตรการ TLTRO-III จะมี maturity ที่ระยะ 2 ปี และจะกำหนดมาตรการจูงใจเพื่อให้มั่นใจว่าระบบจะยังมี credit conditions ที่เหมาะสม โดยรายละเอียดของมาตรการ TLTRO-III จะประกาศในระยะต่อไป

    · คณะกรรมการฯ มีความเห็นต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจของยูโรโซนดังนี้

    ด้านเศรษฐกิจ
    - ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (Real GDP) ของกลุ่มยูโรโซนขยายตัวร้อยละ 0.2 (QoQ) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2018 หลังจากขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยตัวเลขเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคการผลิต สะท้อนถึงการชะลอตัวของอุปสงค์ภายนอก ประกอบกับปัจจัยเฉพาะที่เกิดขึ้นในบางประเทศและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีผลยาวนานกว่าที่คาด ส่งผลให้การประมาณการทางเศรษฐกิจในระยะใกล้มีการปรับลดลงมากกว่าที่คณะกรรมการเคยคาดไว้

    - อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อไปเมื่อผลกระทบจากปัจจัยเหล่านี้หมดลง เศรษฐกิจยูโรโซนจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากผลของสภาพทางการเงินที่ยังคงเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การจ้างงานและค่าจ้างแรงงานที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวแม้จะในอัตราที่ลดลงก็ตาม

    - ความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนยังอยู่ในด้านที่อาจขยายตัวน้อยกว่าที่คาด (tilted to the downside) จากความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์ มาตรการกีดกันทางการค้า ความเปราะบางของตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market)
    ด้านอัตราเงินเฟ้อ

    - อัตราเงินเฟ้อยูโรโซนเดือน ก.พ. 2019 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.4 ในเดือน ม.ค. โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นจากราคาอาหารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งหากพิจารณาราคาน้ำมันในตลาดล่วงหน้าคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปน่าจะยังคงอยู่ในระดับปัจจุบันต่อไป ก่อนที่จะปรับลดลงในช่วงปลายปีนี้

    - อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม แรงกดดันด้านราคาจากค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นจากตลาดแรงงานที่ตึงตัว รวมถึงกำลังการผลิตที่อยู่ในระดับสูง จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับสูงขึ้นในระยะปานกลางผ่านการสนับสนุนของนโยบายการเงิน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง

    นอกจากนี้ยังปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจลงสู่ระดับ 1.1% จากเดิมอยู่ที่ 1.7%

    พัฒนาการในระยะต่อไป

    - ผลการวิเคราะห์ยืนยันว่าการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในระดับสูงยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดูแลให้อัตราเงินเฟ้อปรับเข้าสู่ระดับต่ำกว่าหรือเข้าใกล้ระดับเป้าหมายที่ร้อยละ 2 อย่างยั่งยืนในระยะปานกลางต่อไป และเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอย่างเต็มที่ นโยบายด้านอื่นๆ จำเป็นต้องมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งรวมถึงการปฏิรูปเชิงโครงสร้างในประเทศสมาชิก เพื่อเพิ่มความต้านทานให้กับระบบเศรษฐกิจ ลดระดับการว่างงานเชิงโครงสร้าง และเร่งศักยภาพในการผลิตให้สูงขึ้น

    - ด้านนโยบายการคลัง ECB เห็นว่าควรมีการเพิ่มกันชนทางด้านการคลัง โดยใช้กรอบการกำกับดูแลด้านการคลังที่มีความโปร่งใสและสอดคล้องกันทุกประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งจะช่วยก่อให้เกิดความแข็งแกร่งต่อเศรษฐกิจยูโรโซน ทั้งนี้ การปรับปรุงบทบาทของ Economic and Monetary Union เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน และและเรียกร้องให้เร่งดำเนินการจัดตั้ง Banking Union และ Capital Markets Union ให้สำเร็จโดยเร็ว

    · นาย Mario Draghi ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวในช่วง press conference:
    รายละเอียดสรุปได้ดังนี้
    - เศรษฐกิจของยูโรโซน อยู่ในช่วงเวลาที่มีความอ่อนแอ และมีความไม่แน่นอนเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามนาย Mario Draghi ระบุว่า “In a dark room you move with tiny steps — you don’t run but you do move” และระบุด้วยว่า ความเสี่ยงต่างๆ ที่เศรษฐกิจของยูโรโซนเผชิญนั้น อยู่นอกเหนือการควบคุมของ ECB แต่มาตรการต่างๆ ของ ECB น่าจะทำให้เศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งมากขึ้น

    - การเลื่อน guidance การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปจากเดือน ก.ย. 2019 เป็นอย่างน้อยเดือน ธ.ค. 2019 นั้น ทำให้เป็นการขยายระยะเวลาของการ reinvestments พันธบัตรที่ ECB ถือครองอยู่ด้วย ประกอบกับมาตรการ TLTRO ใหม่ จะช่วยเพิ่มระดับความผ่อนคลายด้านนโยบายทางการเงินให้มากขึ้น ทั้งนี้ยังระบุด้วยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินของ ECB มีมติเอกฉันท์ในประเด็นมาตรการ TLTRO ใหม่

    - ความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจของยูโรโซนจะเข้าสู่ภาวะถดถอยนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ทั้งนี้ตลาดแรงงานยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริโภคยังคงอยู่ในระดับที่ดี เมื่อประกอบกับนโยบายการเงินที่มีความผ่อนคลายมากขึ้น ทำให้ ECB มั่นใจว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อได้ในที่สุด

    Source: BoTSS
    - https://www.ft.com/content/23b51c30-40dc-11e9-9bee-efab61506f44
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    100999285-107595263.jpg
    (Mar บอนด์ยีลด์สหรัฐร่วง หลัง ECB ส่งสัญญาณตรึงดอกเบี้ย ขณะเตรียมอัดฉีดเงินกู้กระตุ้นศก. : อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลงในวันนี้ จากการที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณตรึงดอกเบี้ยยาวถึงสิ้นปีนี้ พร้อมกับเปิดตัวโครงการปล่อยเงินกู้ครั้งใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจยูโรโซน

    ณ เวลา 00.43 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 2.646% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวลงสู่ระดับ 3.037%

    ราคาพันธบัตร และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรจะปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกัน
    ECB จัดการประชุมนโยบายการเงินในวันนี้ โดยที่ประชุมมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ พร้อมกับคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.40% ขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25%

    อย่างไรก็ดี ECB มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำเกี่ยวกับการคงอัตราดอกเบี้ย โดยระบุว่า ECB จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อไป อย่างน้อยจนถึงสิ้นปีนี้ จากเดิมที่ระบุว่า ECB จะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อไป อย่างน้อยจนถึงช่วงฤดูร้อนในปีนี้

    นอกจากนี้ ECB ยังประกาศเปิดตัวโครงการปล่อยเงินกู้ครั้งใหม่เพื่อช่วยเหลือภาคธนาคารในการปล่อยสินเชื่อในยูโรโซน
    "ECB จะปล่อยเงินกู้รีไฟแนนซ์ระยะยาวรายไตรมาสครั้งที่ 3 (TLTRO-III) โดยเริ่มต้นในเดือนก.ย.ในปีนี้ และสิ้นสุดในเดือนมี.ค.2564 โดยเงินกู้แต่ละงวดมีอายุ 2 ปี" แถลงการณ์จาก ECB ระบุ

    TLTRO นับเป็นโครงการปล่อยเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำของ ECB ให้แก่ธนาคารต่างๆ เพื่อให้ธนาคารเหล่านี้ปล่อยสินเชื่อแก่ผู้บริโภค และนักลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดย TLTRO ครั้งนี้ นับเป็นโครงการปล่อยเงินกู้ครั้งที่ 3 ของ ECB นับตั้งแต่ปี 2557

    ทั้งนี้ เศรษฐกิจยูโรโซนเผชิญกับภาวะซบเซาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองในอิตาลี, ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการที่อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้เศรษฐกิจยูโรโซนมีการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 4 ปีในปีที่แล้ว ขณะที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) คาดว่ายูโรโซนจะมีการขยายตัวเพียง 1% ในปีนี้

    Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ

    - https://www.cnbc.com/2019/03/07/bon...s-lower-amid-us-china-trade-developments.html
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,303
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    qKSWfZfauzBWrSHU6iJr8c-650-80.jpg
    (MAR เปิดคำฟ้องหัวเว่ยชนสหรัฐ แบนสินค้าบริษัทขัดรัฐธรรมนูญ : หลังจากตั้งรับมานาน หัวเว่ยตัดสินใจยื่นฟ้องสหรัฐกรณีออกกฎหมายห้ามหน่วยงานรัฐ ซื้ออุปกรณ์ของบริษัท ชี้ขัดรัฐธรรมนูญ โวยสหรัฐแฮคเซิร์ฟเวอร์
    หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ ยักษ์ใหญ่สื่อสารโทรคมนาคมแดนมังกร ยื่นฟ้องที่ศาลกลางในรัฐเท็กซัสเมื่อวาน ( 6 ม.ค.)ตามเวลาท้องถิ่น โดยสาระหลักอยู่ที่กฎหมายว่าด้วยการใช้อำนาจป้องกันประเทศชาติ (National Defense Authorization Act – NDAA ) มาตรา 89 ที่รัฐสภาสหรัฐให้ความเห็นชอบเมื่อปีที่แล้ว บัญญัติห้ามหน่วยงานรัฐบาล จัดซื้ออุปกรณ์โทรคมนาคมที่ผลิตโดย หัวเว่ย และ ZTE ซึ่งทั้งสองเป็นบริษัทจีน
    กั๊วะ ผิง ประธานหมุนเวียนของหัวเว่ย กล่าวว่า มาตรานี้ ขัดรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา รัฐสภาสหรัฐล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าในการหาหลักฐานสนับสนุนก่อนออกกฎหมายปิดกั้นผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ย ทำให้บริษัทต้องใช้มาตรการกฎหมาย เป็นที่พึ่งสุดท้าย การสั่งห้ามไม่ได้ผิดกฎหมายอย่างเดียว แต่ยังปิดกั้นหัวเว่ยสามารถแข่งขันอย่างเป็นธรรม และผลเสียตกแก่ผู้บริโภคอเมริกันในที่สุด
    "หากไม่มีกฎหมายนี้ หัวเว่ยก็สามารถที่จะนำเทคโนโลยีก้าวหน้าเข้าไปในสหรัฐ และช่วยวางเครือข่าย 5จี ที่ดีที่สุดได้" ประธานหัวเว่ยกล่าว พร้อมเปิดเผยว่าการยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวนหนึ่ง
    แม้ว่าหัวเว่ย ผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายสื่อสารรายใหญ่สุดของโลกในแง่ของรายได้ มีสัดส่วนตลาดโทรคมานาคมในสหรัฐไม่ได้ใหญ่โตนัก แต่การมีอยู่ของมาตรา 89 คืออุปสรรคใหญ่ในการสะสางปัญหาต่างๆระหว่างรัฐบาลวอชิงตันกับหัวเว่ย รวมถึงประเด็นด้านความปลอดภัย
    รัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กดดันยักษ์สื่อสารรายนี้ตลอดหลายเดือน รวมถึงการลอบบีประเทศพันธมิตรร่วมแบนอุปกรณ์หัวเว่ยในการทำโครงข่าย 5จี โดยอ้างกฎหมายปี 256 0 ของจีนที่กำหนดให้บริษัทจีนต้องร่วมมือกับงานข่าวกรองของชาติ หัวเว่ยจึงเป็นภัยคุกคามความมั่นคง แต่นายเหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งหัวเว่ย ออกโรงปฏิเสธ และยืนยันว่าไม่เคยและจะไม่มีวันแชร์ข้อมูลกับรัฐบาลปักกิ่งอย่างเด็ดขาด
    นอกจากนี้ หัวเว่ยยังถูกกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ แจ้งข้อหาขโมยความลับการค้าและเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน
    ทนายของหัวเว่ย กล่าวว่า มาตราในกฎหมายเอ็นดีเอเอที่ระบุชื่อบริษัทอย่างชัดแจ้ง ถือเป็นกฎหมายที่เรียกว่า "bill of attainder" ที่ประกาศให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคล มีความผิดและถูกลงโทษ โดยปราศจากกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นเรื่องต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญสหรัฐ และในกรณีนี้ก็คือหัวเว่ย ที่ถูกละเมิดสิทธิในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่ได้รับทราบหลักฐานเอาผิดตนเองและไม่ได้ต่อสู้ข้อกล่าวหานั้นในศาล การออกกฎหมายห้ามหน่วยงานรัฐจัดซื้ออุปกรณ์ของหัวเว่ย เท่ากับรัฐสภาสหรัฐกระทำการขัดรัฐธรรมนูญ ด้วยการประพฤติตนเป็นตุลาการ
    ทั้งนี้ หากศาลกลางที่หัวเว่ยยื่นฟ้อง มีคำตัดสินไปในทางใดทางหนึ่ง คู่กรณีสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ และศาลมีอำนาจในการประกาศให้บางมาตราหรือบางส่วนของกฎหมายเป็นโมฆะได้โดยไม่ล้มกฎหมายทั้งฉบับ ดังนั้น ในทางทฤษฎีแล้ว หัวเว่ยอาจล้มมาตรา 89 ได้ และหากขจัดมาตรานี้ได้ ยักษ์สื่อสารแดนมังกรก็หวังว่าจะช่วยเปิดประตูสู่การเจรจากับรัฐบาลสหรัฐได้
    ในวันเดียวกัน หัวเว่ยยังกล่าวหารัฐบาลสหรัฐ แฮคเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท และขโมยอีเมล์บริษัทไป แต่นายกั๊วะ ประธานหัวเว่ยไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเสริมข้อกล่าวหาในที่ประชุมแถลงข่าว
    Source: คมชัดลึก
    https://www.techradar.com/news/huawei-sues-us-government
     

แชร์หน้านี้

Loading...