ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students


    (Jun 9) Update - แถลงการณ์หลังการประชุม G20 เลี่ยงประเด็นต่อสู้มาตรการคุ้มครองการค้า : สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า บรรดารัฐมนตรีจากชาติสมาชิกกลุ่ม G20 ได้เลี่ยงที่จะไม่ให้คำมั่นในการต่อสู้กับมาตรการคุ้มครองการค้าในแถลงการณ์ร่วมวันนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นความแตกแยกในเรื่องความสัมพันธ์ทางการค้า ขณะที่สหรัฐและจีนกำลังทำสงครามการค้า

    แถลงการณ์ดังกล่าวมีขึ้น หลังบรรดารัฐมนตรีจากกลุ่มประเทศสมาชิก G20 ได้เข้าร่วมประชุมที่เมืองสึกูบะ เขตอิบารากิของญี่ปุ่นในวันนี้เป็นวันที่สอง เพื่อหารือเรื่องการค้าและเศรษฐกิจดิจิทัล โดยแถลงการณ์มีเนื้อหาว่า "การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศควรเป็นกลไกสำคัญต่อไปในการขับเคลื่อนการเติบโต ผลิตภาพ นวัตกรรม การสร้างงาน และการพัฒนา"

    อย่างไรก็ดี แถลงการณ์ดังกล่าวไม่ได้ให้คำมั่นในการต่อสู้กับมาตรการคุ้มครองการค้า เพียงแค่แสดงความกังวลถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น โดยผู้เข้าร่วมการประชุมบางรายได้แสดงความเต็มใจในการต่อสู้ลัทธิคุ้มครองการค้า แต่ก็มีรัฐมนตรีบางรายไม่เห็นด้วย จึงออกแถลงการณ์ร่วมในประเด็นนี้ไม่ได้

    สำหรับประเด็นการปฏิรูปองค์การการค้าโลก (WTO) นั้น บรรดารัฐมนตรีมีความเห็นตรงกันในการปฏิรูป เนื่องจากสมาชิก WTO หลายรายมองว่า WTO มีความล้าสมัยและจำเป็นต้องปฏิรูป ทั้งในด้านระเบียบการค้าโลก การเจรจาการค้า และการกำหนดกลไกจัดการข้อพิพาททางการค้า

    ทั้งนี้ กลุ่ม G20 ประกอบด้วย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล อังกฤษ แคนาดา จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ ตุรกี สหรัฐ และสหภาพยุโรป โดยการประชุมซัมมิตของผู้นำประเทศกลุ่ม G20 จะมีขึ้นที่โอซาก้าในวันที่ 28-29 มิ.ย.นี้

    Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย กนิษฐ์นุช สิริสุทธิ์

    ***********************
    จี20ชี้สงครามการค้ากระทบศก.โลก :

    แถลงการณ์เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายการเงินการคลัง กลุ่มประเทศ จี20 หลังการประชุมหารือที่ญี่ปุ่น เมื่อวันอาทิตย์ กล่าวว่า ความตึงเครียดทางการค้าและภูมิศาสตร์การเมือง "กำลังรุนแรงขึ้น" และเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม

    สำนักข่าวรอยเตอร์และเอเอฟพีรายงานจากเมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ว่า หลังการประชุมหารือเป็นเวลา 2 วัน ด้วยบรรยากาศที่เจ้าหน้าที่รายหนึ่งเผยว่า "เคร่งเครียด" ที่เมืองฟุกุโอกะ ทางใต้ของญี่ปุ่น รัฐมนตรีคลังและผู้ว่าธนาคารกลาง กลุ่มประเทศ จี20 ออกแถลงการณ์ ยอมรับว่า อัตราเติบโตยังอยู่ในระดับต่ำ และความเสี่ยงยังสูง ที่สำคัญที่สุดคือ ความตึงเครียดทางการค้าและภูมิรัฐศาสตร์ "กำลังรุนแรงขึ้น"

    เพื่อการประนีประนอมที่ผลักดันโดยวอชิงตัน แถลงการณ์ลบถ้อยคำออกจากร่างแถลงการณ์เดิม ที่กล่าวว่า "จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขความตึงเครียดทางการค้า"

    แถลงการณ์ยังกล่าวอีกว่า รัฐมนตรีคลัง จี20 ตกลงจะรวบรวมกฎเกณฑ์ร่วม ภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่ออุดช่องโหว่ที่ถูกใช้โดยบริษัทยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีโลก เช่น เฟซบุ๊ก และกูเกิล เพื่อให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง

    ทางด้านนางคริสติน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่เข้ร่วมการประชุม จี20 ครั้งนี้ด้วย ได้กล่าวในแถลงการณ์ เรียกร้องต่อ จี20 ให้เน้นความสำคัญในการแก้ไขความตึงเครียดทางการค้า เพื่อบรรเทาความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม และ จี20 ควรร่วมกันหาแนวทาง สร้างความทันสมัยแห่งระบบการค้าโลกด้วย

    จากการประเมินของไอเอ็มเอฟ การประกาศขึ้นภาษีสินค้าตอบโต้กัน ระหว่างสหรัฐกับจีน อาจทำให้อัตราเติบโตของเศรษฐกิจโลกลดลง 0.5 % ภายในปี พ.ศ. 2563 หรือประมาณ 455,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับย้ำความจำเป็นในการแก้ไขความขัดแย้ง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่วิกฤติอีกรอบ

    Source: เดลินิวส์ออนไลน์: https://www.dailynews.co.th/foreign/713791

    - G20 finance chiefs to say trade tensions have 'intensified' but delete call for resolution : https://www.rte.ie/news/world/2019/0609/1054302-g20-summit/

    - G20 to tackle US-China trade war, digital tax :
    https://www.rte.ie/news/business/20...5oYHdt_sS0AyTf6AVi9ObQm25WJ2-F6c5rIKUH9uti6D8

    *************************
    จี20'เห็นพ้องเร่งแผนเก็บภาษีดิจิทัล

    รัฐมนตรีคลังของประเทศ กลุ่ม จี20 เห็นชอบในการผลักดัน การกำหนดกฎเกณฑ์ร่วมกัน เพื่อเร่งปิดช่องโหว่ที่บรรดาบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ทั่วโลกอย่าง "กูเกิล" และ "เฟซบุ๊ค" ใช้เพื่อลดภาระจากภาษีนิติบุคคล

    บรรดารัฐมนตรีกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือ จี20 เรียกร้องในการประชุมจี20 ที่เมืองฟุกุโอกะของญี่ปุ่น วานนี้ (8 มิ.ย.) ให้องค์การเพื่อความร่วมมือ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) เร่งแก้ไข ระบบภาษีระหว่างประเทศ โดยมีนายอังเคล กูร์เรีย เลขาธิการโออีซีดี ร่วมประชุมด้วย

    เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง ระบุว่า ปัจจุบัน ระบบภาษีดังกล่าวทำให้บรรดายักษ์ใหญ่อินเทอร์เน็ตอาศัยข้อได้เปรียบจากอัตราภาษีต่ำในประเทศอย่างไอร์แลนด์ ในการจ่าย ภาษีนิติบุคคลอัตราต่ำเกือบ 0% ในอีกประเทศที่บริษัทเข้าไปกอบโกยผลกำไรมหาศาล

    ยักษ์ใหญ่อย่างเฟซบุ๊ค กูเกิล อเมซอน และ บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อื่นๆ ถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการลดภาระด้านภาษีด้วยการบันทึกผลกำไรในประเทศที่มีภาษีต่ำ โดยไม่คำนึงถึงสถานที่ตั้งของลูกค้าขั้นปลาย ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

    ทั้งนี้ กฎเกณฑ์ใหม่จะทำให้บริษัทข้ามชาติ ขนาดใหญ่ มีภาระด้านภาษีเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็น การยากมากขึ้นสำหรับประเทศอย่างไอร์แลนด์ ที่ต้องการดึงดูดการลงทุนโดยตรงของต่างชาติ โดยสัญญาที่จะเก็บภาษีนิติบุคคลที่อัตราต่ำ เป็นพิเศษ

    "เราจะต้องรีบจัดการเรื่องนี้" นายบรูโน เลอ แมร์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังฝรั่งเศสเน้นย้ำในช่วงหารือของบรรดาผู้กำหนดนโยบายระดับสูงก่อนเปิดการประชุมจี20 อย่างเป็นทางการ

    นอกจากนั้น นายเลอ แมร์ยังเรียกร้องให้กำหนดกรอบเวลาอย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อสร้างฉันทามติทั่วโลก "กำหนดเวลาที่เหมาะสมคือการหาจุดประนีประนอมภายในสิ้นปีนี้"

    ด้านนายฟิลิป แฮมมอนด์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังอังกฤษ กล่าวว่า การเก็บ ภาษีบรรดายักษ์ใหญ่อินเทอร์เน็ต ถือเป็น การตอบสนองต่อสิ่งที่ประชาชนมองว่า เป็นความอยุติธรรมในระบบภาษีระหว่างประเทศ

    อย่างไรก็ตาม นายสตีเฟน มนูชิน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐ แสดงความกังวล ต่อนโยบายในอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งบังคับใช้กฎหมายภาษีของตนกับบรรดา ผู้เล่นธุรกิจดิจิทัลว่า อาจไม่เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก

    "ผมขอพูดว่า สหรัฐมีความกังวลอย่างมากกับการเก็บภาษี 2 แบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันซึ่งเสนอโดยฝรั่งเศสและอังกฤษ แต่ผมก็ขอยกเครดิตให้กับ 2 ประเทศที่ นำเสนอเรื่องนี้เพราะพวกเขาอยู่ในช่วงที่ต้องเร่ง จัดการปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน"

    Source: กรุงเทพธุรกิจ
     
  2. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เศรษฐกิจไทย ป่วยหรืออ่อนแอ?
    เศรษฐกิจไทยกำลังอ่อนแอจากปัญหาเชิงโครงสร้าง การกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นจึงไม่ตอบโจทย์และอาจส่งผลลบได้ในระยะยาว

    PDF FILE https://www.pier.or.th/wp-content/uploads/2019/06/aBRIDGEd_2019_012.pdf

    การเติบโตที่ช้าลงของเศรษฐกิจไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นำมาซึ่งคำถามถึงสาเหตุและเครื่องมือที่ผู้บริหารงานทางเศรษฐกิจควรเลือกใช้เพื่อรักษาอาการ ‘อ่อนแรง’ ดังกล่าว บทความนี้ชี้ให้เห็นว่า ‘ระบบเศรษฐกิจไทยไม่ได้ป่วย แต่กำลังอ่อนแอจากปัญหาเชิงโครงสร้าง’ ซึ่งเกิดจากการจัดสรรทรัพยากรที่ขาดประสิทธิภาพ ดังนั้น การกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นจึงไม่ตอบโจทย์ และอาจกลับส่งผลทางลบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจตลอดจนซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ในระยะยาว บทความนี้นำเสนอทางออกโดยการปรับโครงสร้างเชิงสถาบันสู่เศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มซึ่งมีข้อมูลข่าวสารเป็นรากฐานสำคัญในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน

    ในปี 2018 เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ในอัตราร้อยละ 4.1 ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับศักยภาพการเติบโตในระยะยาว อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตดังกล่าวกลับเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าในอดีตที่เคยสูงถึงร้อยละ 5-6 ในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008 ปรากฏการณ์ดังกล่าวนำมาซึ่งการตั้งคำถามถึงสาเหตุและเครื่องมือที่ผู้ดำเนินนโยบายควรเลือกใช้ในการรักษาอาการ ‘อ่อนแรงลง’ ของระบบเศรษฐกิจไทย บทความนี้แยกวิเคราะห์สาเหตุการชะลอตัวลงของการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยออกเป็นประเด็นระยะสั้น (ปัจจัยทางวัฏจักรเศรษฐกิจ) และประเด็นระยะยาว (ปัจจัยเชิงโครงสร้าง) เพื่อนำไปสู่การเลือกเครื่องมือเชิงนโยบายที่เหมาะสมต่อไป

    วัฏจักรเศรษฐกิจไทยมีความผันผวนน้อยลง แต่แนวโน้มการเติบโตสะท้อนศักยภาพที่ลดลง

    นักเศรษฐศาสตร์มหภาคแบ่งการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจออกเป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การศึกษาแนวโน้มแกนการเติบโตซึ่งสะท้อนศักยภาพของระบบเศรษฐกิจในระยะยาว (ที่เกิดจากทรัพยากรการผลิตของประเทศ เช่น แรงงาน ทุน และผลิตภาพการผลิต) และ 2) การศึกษาวัฏจักรเศรษฐกิจซึ่งหมายถึงความผันผวนในระยะสั้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจรอบแกนการเติบโต ซึ่งมักจะเกิดจากปัจจัยรบกวน (shocks) และการตอบสนองของนโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อการรักษาเสถียรภาพ ดังนั้น การอ่อนแรงลงของตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจอาจเป็นเพราะเศรษฐกิจ ‘อ่อนแอลง’ จากการลดลงของศักยภาพการเติบโตซึ่งเป็นเรื่อง ‘ยาว’ และ/หรืออาจเป็นเพราะการ ‘ป่วยไข้ชั่วคราว’ จากการแกว่งตัวลงตามวัฏจักรเศรษฐกิจซึ่งเป็นเรื่อง ‘สั้น’ ก็เป็นได้

    เมื่อแยกองค์ประกอบการเติบโตของเศรษฐกิจไทยออกเป็นแนวโน้มในระยะยาวและความผันผวนในระยะสั้น พบว่าเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันเติบโตใกล้เคียงกับระดับศักยภาพของตนเอง นอกจากนั้น ความผันผวนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่วัดได้จาก 12-Quarter Rolling Standard Deviation ของ output gap มีค่าลดลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาตามลำดับ (รูปที่ 1) นั่นหมายความว่าการดำเนินนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจผ่านการใช้นโยบายการเงินการคลังที่ผ่านมาสามารถช่วยลดความผันผวนทางเศรษฐกิจลงได้ อย่างไรก็ตาม หากเราพิจารณาองค์ประกอบที่สะท้อนแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาวจะพบว่าแกนของการเติบโตได้ย่อตัวลงอย่างต่อเนื่อง (รูปที่ 2) นั่นสะท้อนให้เห็นว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศได้ลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกันในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา

    รูปที่ 1: Output gap (ร้อยละต่อระดับศักยภาพ) และความผันผวนของ output gap



    หมายเหตุ: Output gap คำนวณจากส่วนต่างระหว่าง GDP ที่ปรับผลของฤดูกาลแล้วกับ GDP ณ ระดับศักยภาพที่คำนวณจาก HP filter ที่ Lambda = 1600 โดยคิดเป็นร้อยละต่อ GDP ณ ระดับศักยภาพ ระดับความผันผวนทางเศรษฐกิจคำนวณจาก 12-Quarter Rolling Standard Deviation ของ Output gap
    ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, วิจัยกรุงศรี

    รูปที่ 2: Gross domestic product



    หมายเหตุ: GDP ที่ระดับศักยภาพคำนวณจาก GDP ในรูปลอการิทึมที่ปรับผลของฤดูกาลแล้วนำมาผ่าน HP filter ที่ Lambda = 1600
    ที่มา: สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, วิจัยกรุงศรี

    นอกจากนั้น การกระจายตัวของการเติบโตยังเกิดขึ้นอย่างไม่ทั่วถึง จากรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวมปี 2561 โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชี้ว่าปัจจุบันความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของไทยยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน (รูปที่ 3) จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2560 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าประชากรร้อยละ 10 ที่มีรายได้สูงสุดได้ส่วนแบ่งรายได้[1]ไปถึงร้อยละ 35.3 ขณะที่ประชากรร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ำสุดได้ส่วนแบ่งรายได้เพียงร้อยละ 14.2 เท่านั้น นอกจากรายได้แล้ว ประเทศไทยยังเผชิญความเหลื่อมล้ำทางด้านการถือครองสินทรัพย์ อาทิ เงินฝากและที่ดิน ไปจนถึงความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินด้วย ดังนั้น นอกจากเศรษฐกิจไทยจะโตได้ช้าลงแล้ว การเติบโตดังกล่าวยังเกิดขึ้นอย่างไม่มีคุณภาพ กล่าวคือ คนส่วนใหญ่กลับไม่ได้มีส่วนร่วมจากกิจกรรมการผลิตที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว

    รูปที่ 3: สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคของไทยเทียบกับประเทศในภูมิภาค



    หมายเหตุ: สัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาค (Gini coefficient) ยิ่งค่ามาก แสดงว่ายิ่งเหลื่อมล้ำ
    ที่มา: ธนาคารโลก, รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวม ปี 2561, สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, วิจัยกรุงศรี

    หากกล่าวโดยสรุป ระบบเศรษฐกิจไทยไม่ได้ป่วยไข้ชั่วคราว แต่กลับมีสุขภาพที่อ่อนแอลง ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาว ดังนั้น มาตรการทางเศรษฐกิจที่จะรักษาอาการ ‘โตช้า’ ของระบบเศรษฐกิจไทยจึงมีความแตกต่างไปจากการใช้เครื่องมือเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โจทย์ใหญ่ของระบบเศรษฐกิจไทยคือการทำอย่างไรให้ศักยภาพเพิ่มขึ้นในระยะยาวมากกว่าการอัดยากระตุ้นเพื่อบรรเทาอาการชะลอตัวลงตามวัฏจักรเศรษฐกิจในระยะสั้น การแยกองค์ประกอบของการวิเคราะห์สภาวะทางเศรษฐกิจมีนัยต่อการเลือกใช้เครื่องมือเชิงนโยบายที่เหมาะสมกับโจทย์ปัญหาทางเศรษฐกิจ โจทย์ระยะสั้นคือการลดความผันผวนของวัฏจักรเศรษฐกิจซึ่งเครื่องมือที่ช่วยรักษาเสถียรภาพ ได้แก่ นโยบายการเงินและการคลังที่จะมีผลกระตุ้นหรือชะลออุปสงค์รวมภายในประเทศ ส่วนโจทย์ระยะยาวคือการแสวงหาปัจจัยที่จะช่วยยกศักยภาพของการเติบโตในระยะยาว ดังนั้น มาตรการที่เหมาะสมจึงเกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและเป็นเรื่องอุปทานเป็นหลัก


    เครื่องมือระยะสั้นไม่ได้ตอบโจทย์ปัญหาเชิงโครงสร้าง แต่ยังมีผลข้างเคียงต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาว

    ในการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ปัจจุบันอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยข้ามคืนระหว่างธนาคาร 1 วัน) ถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการส่งผ่านไปยังอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินอื่น โดยมุ่งหวังให้สภาพแวดล้อมทางการเงินผ่อนคลายหรือตึงตัวไปตามสภาวะทางเศรษฐกิจตามความประสงค์ของผู้ดำเนินนโยบายทางการเงิน ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะมีผลส่งต่อถึงต้นทุนทางการเงินของภาคเอกชน การลดอัตราดอกเบี้ยคือการทำนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายซึ่งทำให้ต้นทุนทางการเงินของหน่วยเศรษฐกิจลดลง เปรียบเสมือนการให้ยากระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งดังกล่าวมักจะมีผลข้างเคียงต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาว การลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับที่ต่ำเกินไปหรือนานเกินไป ก็จะมีผลข้างเคียงต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาวเช่นกัน ได้แก่

    1. สร้างความเปราะบางต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงิน
    การลดอัตราดอกเบี้ยลงในระดับต่ำเป็นเวลานานจนเกินไปอาจสร้างความเปราะบางต่อระบบสถาบันการเงินผ่านการสร้างแรงจูงใจในการให้สินเชื่อกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเกินควร โดยบทความเรื่อง The Impact of Short-term Interest Rates on Bank Credit Risk-Taking จาก European Central Bank Financial Stability Review ปี 2007 (ECB, 2007) อธิบายว่าในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำ ความเสี่ยงทางด้านเครดิต (credit risk) ของผู้กู้จะลดลงตามรายจ่ายดอกเบี้ยที่ลดลงและมูลค่าของบริษัทที่เพิ่มสูงขึ้น สถาบันการเงินจึงมีแรงจูงใจที่จะให้สินเชื่อกับผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำและตลาดการเงินมีสภาพคล่องสูง สถาบันการเงินจะสามารถระดมทุนเพื่อให้สินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงได้ง่ายขึ้นด้วย โดยงานเชิงประจักษ์ของ ECB (2007) ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง hazard rate ที่สะท้อนความเสี่ยงทางด้านเครดิตของสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยในประเทศโบลิเวียในช่วงปี 1999-2004 พบว่าในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นและลดความเข้มงวดในการให้สินเชื่อกับผู้กู้ที่มีประวัติผิดนัดชำระหนี้และลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (subprime) ตลอดจนลดส่วนชดเชยความเสี่ยง (risk premium) ให้กับผู้กู้ด้วย

    แม้ความเสี่ยงทางด้านเครดิตของผู้กู้จะลดลงในระยะสั้น แต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้นในระยะกลางถึงยาว การให้สินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงเกินไปจะสร้างความเปราะบางต่องบดุลของสถาบันการเงินและส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินตามลำดับ หลักฐานเชิงประจักษ์บ่งชี้ว่าการให้สินเชื่อกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเกินไปเป็นต้นตอของวิกฤตเศรษฐกิจ โดย งานศึกษาเรื่อง The Riskiness of Credit Allocation: A Source of Financial Vulnerability โดย International Monetary Fund (2018) ใช้ข้อมูลระดับบริษัทเพื่อสร้างดัชนีที่สะท้อนการจัดสรรสินเชื่อให้บริษัทที่มีความเสี่ยงสูงเกินควร โดยเปรียบเทียบดัชนีชี้วัดความเสี่ยงทางด้านเครดิตของกลุ่มที่ได้สินเชื่อมากที่สุดกับกลุ่มที่ได้สินเชื่อน้อยที่สุด โดยพบว่าดัชนีดังกล่าวสามารถพยากรณ์การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้แม่นยำกว่าดัชนีแสดงความเสี่ยงทางด้านเครดิตเฉลี่ยในระดับมหภาค และยังสามารถพยากรณ์ถึงโอกาสเกิดภาวะ equity stress up ในภาคการเงินล่วงหน้าได้ถึงสามปี

    นอกจากความเสี่ยงในตลาดสินเชื่อแล้ว การลดอัตราดอกเบี้ยลงไปในระดับต่ำยังส่งผลต่อพฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น (search for yield) และทำให้นักลงทุนประเมินความเสี่ยงของการลงทุนต่ำกว่าที่ควร (underpricing of risk) งานของ Lian, Ma and Wang (2018) ทำการทดลองเชิงสุ่มเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับพฤติกรรม search for yield ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มจัดสรรพอร์ตการลงทุนระหว่างสินทรัพย์ไร้ความเสี่ยง (risk-free) และสินทรัพย์เสี่ยง (risky) โดยกำหนดให้แต่ละกลุ่มได้รับผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยง (risk-free rate) ในอัตราที่แตกต่างกัน แต่ควบคุม risk premium ให้เท่ากัน ผลการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างในสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์พบว่ากลุ่มที่ได้รับ risk-free rate ต่ำกว่าจะเลือกลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในสัดส่วนที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ แม้สินทรัพย์เสี่ยงจะมี risk premium ที่เท่ากัน นอกจากนี้ การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงจะเพิ่มในอัตราที่รุนแรงขึ้นเมื่อลดอัตราดอกเบี้ยลงเข้าใกล้ร้อยละ 0 สะท้อนว่าพฤติกรรม search for yield จะรุนแรงขึ้นเมื่อลดอัตราดอกเบี้ยลงในระดับต่ำ พฤติกรรมดังกล่าวอาจส่งผลให้นักลงทุนเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเกินไปอันส่งผลให้พอร์ตการลงทุนเปราะบางต่อ shocks และก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงิน (Bernanke, 2013) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่งคั่งของนักลงทุนและกิจกรรมในภาคเศรษฐกิจจริงตามลำดับ

    1. เพิ่มความเหลื่อมล้ำและการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เกิดประโยชน์
    การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเอื้อให้ต้นทุนทางการเงินในระบบเศรษฐกิจลดลงในภาพรวม แต่การกระจายผลประโยชน์จากการลดอัตราดอกเบี้ยนั้นย่อมขึ้นอยู่กับโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจและลักษณะเฉพาะของแต่ละหน่วยเศรษฐกิจที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้น เมื่อคนในระบบเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไม่เท่ากัน ความเหลื่อมล้ำจากการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำนานเกินไปอาจนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรที่ไม่สมดุลและนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำในมิติอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจได้เช่นกัน

    ประการแรก การลดอัตราดอกเบี้ยทำให้ผู้ลงทุนมีต้นทุนค่าเสียโอกาสในการใช้เงิน (รวมถึงการนำเอาไปเก็งกำไร) ลดลง ในอีกด้านหนึ่ง ภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำจะทำให้ผลตอบแทนของเงินฝากและตราสารหนี้ปรับลดลงซึ่งกระทบต่อครัวเรือนที่ออมเงินในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยซึ่งมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการการออมและการลงทุนที่หลากหลาย ความไม่สมดุลดังกล่าวนอกจากจะเพิ่มความเปราะบางต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจแล้ว ยังสร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนที่มีทางเลือกการลงทุนหลากหลายกับผู้ออมที่เข้าถึงเพียงสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำอีกด้วย

    ประการที่สอง อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นระยะเวลานานเกินไปยังมีส่วนเพิ่มความเหลื่อมล้ำในการแข่งขันระหว่างบริษัทขนาดใหญ่และบริษัทขนาดเล็ก โดยหลักการแล้ว การปรับลดอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้กระแสเงินสดในอนาคตจากการลงทุนคุ้มทุนมากขึ้นจึงกระตุ้นให้ผู้ผลิตลงทุนใหม่ แต่หากพิจารณาในระดับจุลภาคถึงการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม บริษัทจะลงทุนใหม่ก็ต่อเมื่อการลงทุนนั้นสามารถช่วยยกระดับผลิตภาพและเพิ่มโอกาสให้บริษัทได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นตามลำดับ ดังนั้น เงื่อนไขของการลงทุนใหม่จึงอาจขึ้นอยู่กับผลิตภาพตั้งต้นที่มีอยู่แล้วของบริษัทต่าง ๆ นั่นหมายความว่าบริษัทขนาดใหญ่อาจได้ประโยชน์จากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำมากกว่าบริษัทขนาดเล็กโดยเปรียบเทียบ (แม้ในกรณีนี้ โอกาสของการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของทั้งบริษัทเล็กจะมีเท่ากับบริษัทใหญ่ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำก็ตาม)

    Liu, Mian and Sufi (2019) ชี้ว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะเอื้อประโยชน์ให้บริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นผู้นำตลาดมีความคุ้มค่าจากการลงทุนสูงกว่าบริษัทขนาดเล็กที่เป็นผู้ตาม ขณะที่ผู้ตามเองก็ตระหนักว่ามีโอกาสน้อยที่การลงทุนจะสูงพอที่จะได้ส่วนแบ่งตลาดจากผู้นำ ดังนั้น ผู้นำตลาดจึงมีแรงจูงใจที่จะลงทุนใหม่มากกว่าผู้ตาม ยิ่งอัตราดอกเบี้ยปรับลดลง การลงทุนใหม่จะยิ่งทำให้ผลิตภาพของผู้นำตลาดหนีห่างจากผลิตภาพของผู้ตาม เมื่อผลิตภาพห่างกันมากขึ้นผู้นำเองก็ขาดแรงจูงใจในการลงทุนเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและเกิดการชะงักงันของการลงทุน เกิดปรากฏการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำเท่าไรก็ไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่ได้ ดังนั้น การลดอัตราดอกเบี้ยลงในระดับต่ำจึงเป็นการซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำในการแข่งขันและทำให้การลงทุนเพื่อเพิ่มผลิตภาพชะงักงันในที่สุด ข้อค้นพบเชิงประจักษ์ของ Liu, Mian and Sufi (2019) ที่ได้ศึกษาราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นของผู้นำตลาดตอบสนองต่อการลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่าบริษัทอื่นในตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสะท้อนว่าผู้นำตลาดได้รับอานิสงส์จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่าและมีแนวโน้มที่จะลงทุนมากกว่าบริษัทอื่นในตลาด ขณะที่งานของ Gutierrez and Philippon (2017) พบว่าการแข่งขันภายในภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่ช่วงปี 1990 เป็นต้นมามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับการลงทุนใหม่และการสะสมทุนอย่างมีนัยสำคัญเมื่อควบคุมปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยการลงทุนลดลงนับตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา สอดคล้องกับกระจุกตัว (concentration) ภายในตลาดที่เพิ่มขึ้น

    นอกจากนั้น งานของ Banerjee and Hofmann (2018) ยังชี้ถึงความเหลื่อมล้ำของประโยชน์จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยระหว่างบริษัทที่มีศักยภาพกับบริษัท Zombie firms โดยนิยามแล้ว Zombie firms คือบริษัทที่ผลกำไรคาดการณ์ไม่เพียงพอชำระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นบริษัทที่มีผลิตภาพต่ำกว่าบริษัทอื่นในภาคการผลิตเดียวกัน ดังนั้น การปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทกลุ่มนี้จึงไม่ได้ยกระดับผลิตภาพของระบบเศรษฐกิจในระยะยาวและยังทำให้สูญเสียโอกาสในการให้สินเชื่อกับบริษัทที่มีผลิตภาพสูงกว่า ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยถูกปรับให้อยู่ในระดับต่ำ การให้สินเชื่อใหม่กับบริษัทที่มีศักยภาพสูงกว่าจะให้ผลตอบแทนลดลงตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในขณะที่สิ่งดังกล่าวกลับสร้างแรงจูงใจให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเพื่อต่อชีวิตให้กับ Zombie firms มากยิ่งขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเอื้อให้งบกำไรขาดทุนของบริษัทกลุ่มนี้ปรับดีขึ้น และยิ่งไปกว่านั้น สถาบันการเงินเองก็ขาดแรงจูงใจในการตัดหนี้สูญให้บริษัทกลุ่มนี้ เพราะจะทำให้ผลประกอบการของตนแย่ลง

    หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ยืนยันว่าการลดอัตราดอกเบี้ยลงให้อยู่ในระดับต่ำส่งผลบวกต่อ Zombie firms โดย Banerjee and Hofmann (2018) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนของ Zombie firms โดยใช้ข้อมูลบริษัทจดทะเบียนจากประเทศพัฒนาแล้ว 14 ประเทศในช่วงปี 1987-2016 และเมื่อควบคุมอิทธิพลของฐานะทางการเงินของธนาคารและผลิตภาพของบริษัทแล้ว ผลการศึกษาพบว่าการลดอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้สัดส่วนของทุนทางกายภาพ (physical capital) ของ Zombie firms ต่อทุนทางกายภาพรวมของอุตสาหกรรมปรับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนว่าการลดอัตราดอกเบี้ยส่งผลบวกต่อการอยู่รอดของ Zombie firms มากกว่าการสนับสนุนการลงทุนใหม่ของบริษัทที่มีผลิตภาพสูงในตลาด ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงผลข้างเคียงของการลดอัตราดอกเบี้ยในการต่อลมหายใจของ Zombie firms ที่ผู้ดำเนินนโยบายต้องคำนึงถึง

    จากประเด็นทั้ง 2 ข้างต้น จะเห็นได้ว่าในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ผู้ดำเนินนโยบายจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และผลข้างเคียงของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรอบด้านทั้งผลได้และผลเสียที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจในระยะเวลาที่แตกต่างกัน เครื่องมือที่แก้ปัญหาเศรษฐกิจระยะสั้นอาจไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาระยะยาวแต่ยังอาจซ้ำเติมและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปเชิงโครงสร้างอีกด้วย สำหรับบริบทของระบบเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันซึ่งอยู่ในภาวะที่มีการขยายตัวได้ในระดับใกล้เคียงกับระดับศักยภาพและมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว ผลข้างเคียงเชิงลบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอาจเพิ่มความเปราะบางต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ เพิ่มความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเงินทุน และเอื้อให้การจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น ดังนั้น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในระยะสั้นจึงไม่ได้แก้โจทย์เชิงโครงสร้างระยะยาวที่ต้องการยกระดับศักยภาพของระบบเศรษฐกิจให้สูงขึ้น คำถามสำคัญที่ตามมาคือ แนวนโยบายทางเศรษฐกิจลักษณะใดที่จะช่วยแก้โจทย์ระยะยาวของประเทศไทย?





    กุญแจสำคัญคือการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสนับสนุนการแข่งขันอย่างเท่าเทียม


    สาเหตุสำคัญที่ทำให้แกนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยย่อลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเป็นผลจากทั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและโครงสร้างเศรษฐกิจที่เป็นข้อจำกัดในการเติบโตในระยะยาว ไทยกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งทำให้กำลังแรงงานลดลงจึงกลายเป็นข้อจำกัดด้าน ‘จำนวน’ ปัจจัยการผลิต งานวิจัยของ Cheunchoksan and Nakornthab (2008) ศึกษาถึงผลกระทบจากการลดลงของประชากรวัยทำงานของไทยต่อการชะลอตัวของแกนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผลการคำนวณพบว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในระดับศักยภาพจะลดลงจากอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5 ในช่วงปี 2000 ถึงปี 2007 ไปสู่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.3 ในช่วงปี 2026-2035 ดังนั้น โครงสร้างประชากรไทยจึงไม่ได้เอื้อให้เศรษฐกิจเติบโตจากการเพิ่มจำนวนปัจจัยการผลิต

    นอกจากข้อจำกัดด้านจำนวนปัจจัยการผลิตแล้ว ประเทศไทยยังเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะท้อนจากความไม่สมดุลของการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน 3 มิติ มิติแรกคือความไม่สมดุลขององค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการที่เศรษฐกิจไทยพึ่งพิงภาคต่างประเทศมากเกินไปจึงทำให้เศรษฐกิจไทยเปราะบางต่อปัจจัยด้านต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากสงครามการค้า หรือแนวโน้มการค้าขายระหว่างประเทศที่ปรับลดลง (Poonpatpibul, Vorasangasil, Junetrakul and Prasitdechsakul, 2009) มิติที่สองคือความไม่สมดุลของความต้องการและทักษะแรงงาน (skills mismatch) กล่าวคือ ผลิตภาพของแรงงานไทยไม่ตอบโจทย์ความต้องการแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี แรงงานจำนวนมากไม่ได้โยกย้ายไปสู่ภาคการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงมากเท่าที่ควร (Asian Development Bank, 2015) มิติที่สามคือความไม่สมดุลของการกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เห็นได้จากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในหลายมิติที่กล่าวถึงข้างต้น

    หากกล่าวโดยสรุป ไทยกำลังเผชิญกับปัญหาทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีจำกัดผนวกกับความไม่สมดุลของระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากการจัดสรรทรัพยากรและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ขาดประสิทธิภาพ ระบบเศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องแสวงหากลไกใหม่ในการเพิ่มประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ และกลไกที่จัดสรรปัจจัยการผลิตไปยังภาคการผลิตที่ใช้งานปัจจัยการผลิตได้อย่างคุ้มค่าที่สุด นอกจากนี้ ยังต้องการกลไกที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจ จึงจะสามารถยกแกนในการเติบโตขึ้นได้ นอกจากนี้ เรายังต้องการกลไกตลาดที่เชื่อมโยงผู้เล่นในระบบเศรษฐกิจเข้าหากันอย่างครอบคลุมเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพอย่าง ‘ทั่วถึง’ ซึ่งการเติบโตใหม่ที่สูงขึ้นจึงจะนำมาซึ่งความเท่าเทียมกันใน ‘โอกาสทางเศรษฐกิจ’ ของคนในสังคมนั่นเอง

    หากมองลึกลงไปภายใต้เงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้นจะพบว่ากลไกทั้งหมดขับเคลื่อนโดยข้อมูล การไหลเวียนของข้อมูลเอื้อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรไปใช้ในกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด การเข้าถึงข้อมูลที่สมบูรณ์ทำให้เกิดการจับคู่ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดสินค้าไปจนถึงการจับคู่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในตลาดแรงงาน นอกจากนี้ ความเท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูลยังลดความเหลื่อมล้ำในการแข่งขันซึ่งสร้างแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรม ดังนั้น การปฏิรูปโครงสร้างเชิงสถาบันที่กำกับการแลกเปลี่ยนไหลเวียนของข้อมูลในระบบเศรษฐกิจจึงเป็นคำตอบของการยกระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทย





    Platform economy จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้โจทย์ระยะยาวของไทย


    ในต่างประเทศ โครงสร้างเศรษฐกิจโลกกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มหรือ platform economy ซึ่งหมายถึงระบบเศรษฐกิจที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค การผลิตและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างผู้ผลิต ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้บริโภค กฎและกติกาบนแพลตฟอร์มจึงกำกับวิธีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การสร้างมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนการจัดสรรผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างผู้เล่นในแพลตฟอร์ม รูปแบบของกิจกรรมทางเศรษฐกิจบนแพลตฟอร์มมีลักษณะเป็นโครงข่ายเชื่อมต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าหากันเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าหรือข้อมูล ซึ่งแตกต่างไปจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบเดิมที่การส่งต่อมูลค่าเพิ่มจากผู้ผลิตแต่ละข้อต่อไปสู่ผู้บริโภคปลายทางมีลักษณะเป็นเส้นตรงหรือที่เรียกว่าระบบเศรษฐกิจแบบ pipeline (ตลับลักษณ์ ธนดิษฐ์สุวรรณ, 2019)

    ระบบเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มมีศักยภาพที่จะเป็นคำตอบของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเนื่องจากแพลตฟอร์มเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมต่อผู้เล่นในระบบเศรษฐกิจเข้าหากัน เอื้อให้เกิดการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและสนับสนุนให้เกิดธุรกรรมทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มจึงเอื้อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างมีประสิทธิภาพ ณ ต้นทุนที่ต่ำลงและเอื้อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมด้วย หากลองพิจารณากลไกการทำงานของ Amazon ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเพื่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และ Cloud computing ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ระบบตลาดบนแพลตฟอร์มของ Amazon เชื่อมต่อผู้ซื้อและผู้ขายเข้าหากัน ตลอดจนยังสร้างโครงข่ายเชื่อมต่อผู้ให้บริการด้านการชำระเงิน ผู้รับประกันสินค้า ผู้ให้บริการขนส่งและผู้ให้บริการอื่น ๆ ตลอดกระบวนการซื้อขายเข้าหาผู้บริโภคอย่างเบ็ดเสร็จ Amazon เอื้อให้ผู้เล่นเข้าถึงข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกรรมไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลความต้องการและคุณสมบัติของสินค้าระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิตหรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อสินค้าระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง กลไกดังกล่าวจึงขจัดปัญหาความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพในการจับคู่และดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไม่เพียงแค่ตลาดสินค้าและบริการเท่านั้น แพลตฟอร์มยังมีศักยภาพที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรในตลาดแรงงานและตลาดสินค้าขั้นกลางได้เช่นกัน

    ลักษณะสำคัญอีกประการของเศรษฐกิจแบบแพลตฟอร์มคือศักยภาพในการเติบโตจากการขยายเครือข่าย (network) ที่ครอบคลุมผู้เล่นจำนวนมากในระบบเศรษฐกิจ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตกับผู้บริโภค หรือผู้บริโภคกับผู้บริโภคเองจะทำให้เกิดการสะสมข้อมูลที่เอื้อให้เกิดการต่อยอดเป็นกิจกรรมเศรษฐกิจใหม่ต่อไป ยกตัวอย่างเช่น การสร้างเครือข่ายของผู้บริโภคบนแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวอย่าง Agoda ที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อสินค้า (peer reviews) ข้อมูลที่สะสมไว้จะดึงดูดให้ผู้บริโภคกลุ่มใหม่เข้าสู่ตลาดและขยายเครือข่ายของผู้บริโภคต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขนาดและความลึกของอุปสงค์ต่อสินค้าและบริการบนแพลตฟอร์ม แพลตฟอร์มจึงมีศักยภาพในการเพิ่ม capacity และเชื่อมต่ออุปสงค์ภายในประเทศเข้าหาผู้ผลิต ดังจะเห็นได้จากผู้ดำเนินนโยบายของจีนซึ่งนำ platform economy มาเป็นเครื่องมือในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเข้าหาอุปสงค์ภายในประเทศ[2]

    นอกจากนั้น แพลตฟอร์มสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปัจจัยการผลิตและสินทรัพย์ โดยเอื้อให้การใช้ปัจจัยการผลิตมีความยืดหยุ่นและปลดล็อคมูลค่าของปัจจัยการผลิตหรือสินทรัพย์ที่ไม่ได้ถูกใช้งานอย่างเต็มที่ ปัจจุบันคนในระบบเศรษฐกิจมีทางเลือกในทำงานบน labor platform เช่น Amazon Mechanical Turk (AMT) หรือ Prolific ซึ่งมีลักษณะเป็น crowdsourcing ที่เปรียบเสมือนตลาดกลางที่เชื่อมต่อและ outsource งานจากนายจ้างสู่แรงงานจำนวนมากทั่วทุกมุมโลก ลักษณะของงานมีความหลากหลายทั้งงานพัฒนา machine learning งานเก็บข้อมูล ไปจนถึงงานสำรวจตลาด ซึ่งในอนาคตมีโอกาสขยายขอบเขตครอบคลุมลักษณะงานที่มีความหลากหลายมากขึ้น labor platform จึงเป็นทางเลือกสำหรับแรงงานที่ต้องการทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น คนที่มีงานประจำสามารถทำงานเก็บข้อมูลการตลาดบนอินเทอร์เน็ตผ่านแพลตฟอร์ม AMT แรงงานหนึ่งคนจึงมีประสิทธิภาพขึ้นและมีบทบาทในการสร้างผลิตผลทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังปลดล็อคให้ผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานจากข้อจำกัดเชิงกายภาพ อาทิ คนที่อยู่ห่างไกลหรือมีความจำเป็นที่ไม่สามารถเดินทางเข้าไปทำงานในออฟฟิศมีโอกาสในการเข้าสู่กำลังแรงงานได้ โดยผลการสำรวจโดย International Labor Organization (ILO) ซึ่งสัมภาษณ์แรงงานบน labor platform จำนวน 3,500 คนในปี 2015 และ 2017 พบว่ามีแรงงานร้อยละ 8 ที่ทำงานบนแพลตฟอร์มเพราะไม่สามารถทำงานประจำได้จากปัญหาสุขภาพหรือมีภาระดูแลครอบครัว[3] (Berg, Furrer, Harmon, Rani, & Silberman, 2018) นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังปลดล็อคให้เกิดการใช้สินทรัพย์อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นในรูปแบบของ sharing economy ดังจะเห็นตัวอย่างของแพลตฟอร์มสำหรับให้เช่าที่พัก อาทิ Airbnb และ HomeAway ซึ่งนำสินทรัพย์มาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มเติม (Kenney and Zysman, 2016)

    Platform ยังอาจเป็นคำตอบของการเพิ่มการแข่งขันที่เท่าเทียม เมื่อพิจารณาโครงสร้างเศรษฐกิจบนแพลตฟอร์มจะพบว่า ‘ผู้เล่นไม่ได้มีข้อได้เปรียบจากธุรกิจที่มีขนาดใหญ่หรือมีปัจจัยการผลิตจำนวนมาก’ แต่มาจากการสร้างเครือข่ายกับผู้เล่นคนอื่น ๆ บนแพลตฟอร์มซึ่งมีต้นทุนในการเข้าแข่งขันในตลาดต่ำกว่าการแข่งขันแบบเดิมที่แข่งด้วยการประหยัดต่อขนาดจากการสะสมปัจจัยการผลิตจำนวนมาก นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังช่วยลดต้นทุนในการเข้าสู่ตลาดของธุรกิจขนาดเล็กโดยทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานกลางที่บริษัทขนาดใหญ่และบริษัทขนาดเล็กสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเท่าเทียม แพลตฟอร์มจึงเอื้อให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมขึ้นระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดเล็ก ยกตัวอย่างเช่น บริษัทขนาดเล็กสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านการตลาดและความคิดเห็นของผู้บริโภคบนแพลตฟอร์มได้ง่ายขึ้นเทียบกับการสำรวจตลาดแบบดั้งเดิมที่ใช้ต้นทุนสูง บริษัทขนาดเล็กยังสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่มีความหลากหลายได้ง่ายขึ้น ณ ต้นทุนที่ต่ำลงจากการขายผ่านแพลตฟอร์มของ Amazon และ eBay หรือสร้างแพลตฟอร์มการขายของตัวเองกับ Magento หรือ Shopify เป็นต้น ความเท่าเทียมในการแข่งขันจะเป็นจุดเริ่มต้นของการกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างสมดุล

    อย่างไรก็ตาม platform economy ต้องอาศัยการวางโครงสร้างเชิงสถาบันที่เอื้อให้การจัดสรรทรัพยากรที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มซึ่งเป็นผู้วางกติกาในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจบนแพลตฟอร์มและเป็นผู้กระจายผลประโยชน์ให้กับผู้เล่นอาจแสวงหากำไรสูงสุดของตนเหนือประโยชน์สูงสุดของสังคม เช่น กิจกรรมทางเศรษฐกิจบนแพลตฟอร์มอาจสร้างผลกระทบภายนอกในเชิงลบ (negative externality) ต่อคนในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ในระหว่างการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเข้าสู่ระบบแพลตฟอร์มอาจมีคนในระบบเศรษฐกิจที่ปรับตัวไม่ทันการเปลี่ยนแปลง จึงได้รับผลกระทบจาก technological disruption หรือเผชิญการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมระหว่างผู้เล่นบนแพลตฟอร์มกับผู้เล่นนอกแพลตฟอร์มในระบบเศรษฐกิจเดิม เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีระบบที่รองรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านและช่วยเหลือให้คนเหล่านี้ปรับตัวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ได้อย่างราบรื่น

    Frenken, van Waes, Smink and van Est (2018) แบ่งประเด็นของการวางโครงสร้างเชิงสถาบันบน platform economy ออก 5 กลุ่ม ได้แก่ การลดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมระหว่างผู้เล่นบนแพลตฟอร์มและนอกแพลตฟอร์ม การออกแบบระบบภาษีที่เหมาะสมและเท่าเทียม การปกป้องสิทธิของผู้บริโภค การปกป้องสิทธิของแรงงาน ตลอดจนนโยบายด้านความปลอดภัยและการรักษาความลับของผู้ใช้แพลตฟอร์ม โดยการวางกฎควรชั่งน้ำหนักระหว่างการปกป้องธุรกิจนอกแพลตฟอร์มจากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมและกระตุ้นให้เกิดการปรับตัวไปสู่ธุรกิจแพลตฟอร์มในท้ายที่สุด


    ข้อสรุป

    การแยกองค์ประกอบของการเติบโตทางเศรษฐกิจบอกเราว่าเศรษฐกิจไทยชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 ซึ่งเกิดจากแกนการเติบโตที่ย่อลงจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและโครงสร้างเศรษฐกิจที่ขาดความสมดุล ขณะที่วัฏจักรเศรษฐกิจมีความผันผวนน้อยลงสะท้อนการดำเนินนโยบายด้านอุปสงค์หรือการแก้โจทย์ระยะสั้นที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ‘ระบบเศรษฐกิจไทยไม่ได้ป่วย แต่ระบบเศรษฐกิจไทยกำลังอ่อนแอซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาว’ ในบริบทปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยต้องการการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจเพื่อแก้โจทย์ระยะยาว ขณะที่การกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นไม่ตอบโจทย์และอาจเกิดผลข้างเคียงต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาวอีกด้วย

    ในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ผู้ดำเนินนโยบายต้องปรับโครงสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปัจจัยการผลิตและส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรมเพื่อนำไปสู่การยกระดับการพัฒนานวัตกรรม การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเข้าสู่ platform economy จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในแก้โจทย์ระยะยาวของไทย เนื่องจากสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานปัจจัยการผลิตและสินทรัพย์ผ่านการแข่งขันที่เป็นธรรมมากขึ้นบน platform ภายใต้การวางกรอบโครงสร้างทางสถาบันที่เหมาะสม platform economy จะเป็นคำตอบสำคัญสำหรับการยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป


    เอกสารอ้างอิง

    Asian Development Bank. (2015). Thailand: Industrialization and Economic Catch-up. Mandaluyong City, Philippines: Asian Development Bank.

    Banerjee, R., & Hofmann, B. (2018). The rise of zombie firms: causes and consequences. BIS Quarterly Review, September 2018, 67-78.

    Berg, J., Furrer, M., Harmon, E., Rani, U., & Silberman, M. S. (2018). Digital Labour Platforms and the Future of Work: Towards Decent Work in the Online World. International Labour Organization.

    Bernanke, B. S. (2013). Monitoring the Financial System. 49th Annual Conference on Bank Structure and Competition sponsored by the Federal Reserve Bank of Chicago. Chicago: the Federal Reserve System.

    Chuenchoksan, S., & Nakornthab, D. (2008). Past, present, and prospects for Thailand’s growth: a labor market perspective. Working papers 2008-07, Monetary Policy Group, Bank of Thailand.

    European Central Bank. (2007). European Central Bank Financial Stability Review December 2007.European Central Bank.

    Frenken, K., van Waes, A., Smink, M., & van Est, R. (2018, April 3). Safeguarding public interests in the platform economy. Retrieved from VOX CEPR Policy Portal: https://voxeu.org/article/safeguarding-public-interests-platform-economy

    Gutiérrez, G., & Philippon, T. (2017). Declining Competition and Investment in the U.S. NBER Working Paper Series 23583.

    International Monetary Fund (IMF). (2018). Global financial stability report: a bumpy road ahead.International Monetary Fund.

    Kenney, M., & Zysman, J. (2016). The rise of the platform economy. Issues in science and technology vol. XXXII, no.3, spring 2016. Retrieved from Issues in science and technology VOL. XXXII, NO. 3, SPRING 2016: https://issues.org/the-rise-of-the-platform-economy/

    Lian, C., Ma, Y., & Wang, C. (2018). Low Interest Rates and Risk Taking: Evidence from Individual Investment Decisions. Review of Financial Studies.

    Liu, E., Mian, A., & Sufi, A. (2019). Low interest rates, market power, and productivity growth. NBER Working Paper Series 25505.

    Poonpatpibul, C., Vorasangasil, N., Junetrakool, M., & Prasitdechsakul, P. (2009). Is There an Alternative to Export-led Growth for Thailand? Bank of Thailand.

    ตลับลักษณ์ ธนดิษฐ์สุวรรณ. (2019). จาก Pipeline สู่ Platform: คลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ในธุรกิจชำระเงิน.Krungsri Research: Research Intelligence.

    สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่ และภาพรวมปี 2561.สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

    [1] คำนวณจากสัดส่วนรายได้เฉลี่ยของกลุ่มประชากรต่อผลรวมของรายได้เฉลี่ยของทุกกลุ่มประชากร โดยแบ่งประชากรออกเป็น 10 กลุ่มตามระดับรายได้
    [2] อ้างอิงจาก Guidelines of Twelve Departments Including the Ministry of Commerce for Promoting Commodity Trade Market and Developing Platform Economy ของกระทรวงพาณิชย์ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ที่มา: http://english.mofcom.gov.cn/article/newsrelease/significantnews/201903/20190302839171.shtml
    [3] ครอบคลุมบุคคลที่ทำงานบน Amazon Mechanical Turk, Cloudflower, Clickworker, Prolific และ Microworkers

    ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์


    https://www.pier.or.th/?abridged=%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD&fbclid=IwAR1Pt1GeuV70PTquxBQYbTP5PD2Lh_i3lj_SUAp-BrsehuMsig9RhfZaKec
     
  3. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students


    (Jun 9) ริงกิตอ่อน ทุบค้าชายแดนใต้ “ทัวร์มาเลย์” กำลังซื้อวูบ 20% : ผู้ประกอบการท่องเที่ยว-การค้าชายแดนไทย-มาเลย์เจอหลายเด้ง เงินริงกิตอ่อนค่าขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนหนัก ดิ้นป้องกันความเสี่ยง ชี้คนมาเลย์เจอพิษเศรษฐกิจกำลังซื้อหด 20% ททท.ยอมรับจับจ่ายลด แต่ยอดนักท่องเที่ยวมาเลย์เข้าไทย 4 เดือนแรก 8% สร้างรายได้ 3.5 หมื่นล้าน

    แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตรา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการไทยที่เข้าไปทำธุรกิจในประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจการนำเที่ยวนอกประเทศใน อ.หาดใหญ่ อ.สะเดา จ.สงขลา กำลังวิตกกังวลหนักจากปัญหาความผันผวนของค่าเงินริงกิต มาเลเซีย ที่อ่อนค่าลงมาต่อเนื่อง จากที่เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 10 บาท/ริงกิต ทยอยปรับลดลงมาอยู่ที่ 8-9 บาท/ริงกิต และล่าสุดวันที่ 7 มิ.ย. 2562 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 7.55 บาท/ริงกิต นอกจากนี้ บางวันค่าเงินริงกิตอ่อนค่าลงรุนแรงถึง 5 สตางค์

    รายย่อยป่วนริงกิตผันผวนหนัก

    ส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว เนื่องจากได้จัดเพ็กเกจทัวร์ขายล่วงหน้า เช่น แพ็กเกจทัวร์ช่วงเทศกาลกินเจที่ อ.หาดใหญ่ จ.ภูเก็ต และ จ.ตรัง ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และชาวมาเลเซียจำนวนมากจะเข้ามาทำบุญร่วมกินเจในเดือน ต.ค. 2562 โดยโรงแรมหลายแห่งมียอดสั่งจองไว้ล่วงหน้าแล้ว 80% โดยเฉพาะย่านดาวน์ทาวน์ อ.หาดใหญ่ เมื่อเงินริงกิตผันผวนหนักทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจตามแนวพรมแดนไทย-มาเลเซีย ต้องหาทางป้องกันความเสี่ยง ด้วยการซื้อประกันความเสี่ยงค่าเงินในวงเงินจำกัด ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยที่เตรียมสำรองเงินไว้บริการลูกค้าก็บริหารจัดการด้วยการวางเงินโดยจำกัดปริมาณ และทำแบบวันต่อวัน

    ทิ้งริงกิตหันถือบาท-หยวน

    “ขณะนี้กลุ่มผู้ประกอบการกำลังเร่งหาทางนำเงินริงกิตออก หันมาถือเงินบาท เงินเหรียญสิงคโปร์ หรือเงินหยวนของจีนแทน ขณะที่กลุ่มค้าเงินมีการเคลื่อนไหวทำกำไร จากที่มีกระแสข่าวว่า รัฐบาลมาเลเซียจะประกาศลดค่าเงินริงกิตลง และมีการขายพันธบัตรกันอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับล่าสุดมีข่าววงในว่า ค่าเงินริงกิตอาจจะอ่อนค่าลงถึง 4 ริงกิต/ดอลลาร์สหรัฐ”

    อ่วม ! ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน

    นายซับบรี มะสะมัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท หาดใหญ่ เรนโบว์ แทรเวิล แอนด์ ทัวร์ จำกัด และอุปนายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการธุรกิจ และโดยเฉพาะผู้ประกอบการทัวร์นำเที่ยวภายในประเทศ และต่างประเทศ ต่างประสบปัญหาขาดทุนหลังค่าเงินริงกิตผันผวนและอ่อนค่าลงรุนแรง เนื่องจากการทำธุรกิจทัวร์เป็นการทำข้อตกลงล่วงหน้าถึง 3 เดือน เช่น เสนอราคาขายเทียบกับเงินบาทไว้ที่ 7.55 บาท/ริงกิต มาเลเซีย แต่เมื่อ 3 มิ.ย. 62 ค่าเงินริงกิตอ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 7.44 บาท/ริงกิต เท่ากับเมื่อคิดเป็นเงินบาทขาดทุน น่าจะ 0.11 บาท/ริงกิต

    ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายมีการถือครองเงินริงกิตไว้ในมือจำนวนมาก เพราะติดต่อค้าขายกับมาเลเซียประจำก็ประสบภาวะขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนอย่างหนัก เช่น บางรายถือไว้ 50,000-60,000 เหรียญริงกิต ล่าสุดผู้ประกอบการธุรกิจ และผู้ประกอบการทัวร์บางรายแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการเจรจา ขณะเดียวกันก็ป้องกันความเสี่ยงโดยการเสนอซื้อขายสินค้าและบริการป็นเงินบาท ธุรกิจของกลุ่มบริษัท หาดใหญ่ เรนโบว์ฯ ก็ประสบภาวะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกัน แต่เอาส่วนที่มีกำไรมาโปะจึงไม่มีปัญหา

    มาเลย์ยังเข้าไทยแต่กำลังซื้อหด

    ด้านนายวิทยา แซ่ลิ่ม อดีตผู้ก่อตั้งสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพจังหวัดสงลา ผู้ประกอบการนำเที่ยวมาร่วม 40 ปี เปิดเผยว่า จากภาวะที่เงินริงกิต มาเลเซียที่อ่อนค่าต่อเนื่อง จากช่วงแรก ๆ ที่นายมหาธีร์ขึ้นเป็นนายกฯ ค่าเงินริงกิตเคยแข็งค่าที่ 8 บาท/ริงกิต แต่วันที่ 6 มิ.ย. 62 ที่ผ่านมา อยู่ที่ 7.41 บาท/ริงกิต

    ขณะที่โปรแกรมการจัดกรุ๊ปทัวร์ 3 วัน 2 คืน ขายไปล่วงหน้าที่ราคา 7.60-7.50 บาท/ริงกิต ขาดทุนทันที 500 บาทต่อกรุ๊ปทัวร์ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบการนำเที่ยวเสี่ยงขาดทุน จึงเสนอให้เปลี่ยนเงินบาทไทยทันที ในวันสั่งจอง และให้ผู้ประกอบการค้าต่าง ๆ รักษามาตรฐานราคาสินค้าไว้อีกทางหนึ่ง

    ยอดใช้จ่ายลดลง 20%

    น.ส.จินตนา สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานหาดใหญ่ เปิดเผยว่า ตัวเลขของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ในพื้นที่ จ.สงขลา โดยเฉลี่ยชาวมาเลเซียเดินทางเข้ามาที่ จ.สงขลา 2 ล้านกว่าคน/ปี ส่วนใหญ่มาพักและท่องเที่ยว อ.หาดใหญ่ และจังหวัดใกล้เคียง ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคน 400 ริงกิต/คน หรือประมาณ 4,000 บาท/คน

    ตั้งแต่เงินริงกิตอ่อนค่าลง ได้หารือกับผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหาร พบว่านักท่องเที่ยวมีกำลังซื้อลดลง ระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้น คาดว่าเม็ดเงินในการจับจ่ายจะลดลงประมาณ 20% แต่ปริมาณนักท่องเที่ยวมาเลเซียที่เข้ามาสงขลาจะไม่ลดลง แถมมาเพิ่มขึ้นอีก 5% เพราะสะดวก ค่าใช้จ่ายไม่สูง เมื่อเทียบกับการไปท่องเที่ยวประเทศอื่น ๆ เช่น สิงคโปร์ ฯลฯ

    ชี้ ศก.มาเลย์ปัญหาหลัก

    ด้านแหล่งข่าวจากบริษัทนำเที่ยวรายหนึ่งเปิดเผยว่า ประเด็นปัญหาค่าเงินริงกิตอ่อนค่าลงส่งผลต่อธุรกิจนำเที่ยวมานานแล้ว เนื่องจากทำให้ต้นทุนการเดินทางท่องเที่ยวของคนมาเลเซียมาไทยเพิ่มสูงขึ้น ที่สำคัญการซื้อขายระหว่างกันก็เป็นเงินริงกิต ทำให้รายได้ของผู้ประกอกการนำเที่ยวหายไปบางส่วน แต่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวรายหลัก ๆ ส่วนใหญ่จะคำนวณตัวเลขรายได้-กำไรไว้ในอัตราที่สามารถป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้แล้ว

    อย่างไรก็ตาม ในหลักการทำธุรกิจยังคงไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายได้มากนัก เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง ทุกบริษัทจึงต้องมีสูตรคำนวณสำหรับการขายล่วงหน้า 3 เดือน และ 6 เดือนไว้ค่อนข้างชัดเจน

    “ช่วงปี 2 ปีก่อนแม้ค่าเงินริงกิตจะอ่อนค่าลงต่อเนื่อง แต่พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวมาเลเซียที่เดินทางเข้ามาเที่ยวไทยยังมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง แต่ปีนี้เริ่มเห็นว่าตลาดเริ่มนิ่ง เราจึงประเมินว่านอกจากประเด็นเรื่องค่าเงินแล้ว ปัจจัยลบที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่ง คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจในมาเลเซียเอง”

    ทั้งนี้ จากรายงานของกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ (มกราคม-เมษายน) มีจำนวนนักท่องเที่ยวมาเลเซียเดินทางเข้ามาเที่ยวไทยรวมทั้งสิ้น 1,244,710 คน เพิ่มขึ้น 8.76% สร้างรายได้คิดเป็นมูลค่ารวม 35,144 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.61%

    Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
    https://www.prachachat.net/finance/news-336182
     
  4. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students


    (Jun 9) ชาติเอเชีย “หูทวนลม” เมิน “มะกัน” บีบแบน “หัวเว่ย” : การประชุมประจำปีด้านความมั่นคงเอเชีย-แปซิฟิกที่สิงคโปร์ ซึ่งปิดฉากไปเมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา ถูกตั้งข้อสังเกตว่าปีนี้แปลกไปกว่าเดิม เพราะปกติแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นทุกปีแบบเดาได้ล่วงหน้าก็คือ สหรัฐและชาติพันธมิตรจะตั้งแก๊งรุมสกรัมจีน ในขณะที่จีนคล้ายจะโดดเดี่ยว ต้องคอยเป็นฝ่ายรับมือข้อกล่าวหาต่าง ๆ ในประเด็นความมั่นคงของภูมิภาคแต่ปีนี้ดูเหมือนจีนจะรู้สึกประหลาดใจและสบายใจขึ้นทีเดียว เมื่อบรรดาผู้นำเอเชียต่างพากันรุมวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลทรัมป์ที่มุ่งโจมตีจีน ทั้งเรื่องการขึ้นภาษีสินค้าและการเล่นงานบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่

    “หัวเว่ย” เช่น ประธานาธิบดีลี เซียนลุง ของสิงคโปร์ ที่กล่าวเปิดประชุมด้วยการเรียกร้องให้สหรัฐส่งเสริมการเติบโตของจีน ขณะเดียวกันก็ไม่เน้นกล่าวถึงภัยคุกคามจากหัวเว่ยที่สหรัฐกล่าวอ้างเช่นเดียวกับรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ ที่ระบุว่า ในช่วง 70 ปีที่ผ่านมา แม้ระเบียบโลกที่เราใช้อยู่จะไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็ช่วยรับประกันสันติภาพและความเจริญก้าวหน้า แต่ขณะนี้ระเบียบโลกตกอยู่ในความเสี่ยง จะเป็นเรื่องโง่เขลาอย่างมหันต์หากโยนสิ่งดี ๆ ทิ้งไปทั้งที่หลีกเลี่ยงได้

    การเปิดศึกการค้าและศึกโทรคมนาคมของจีนและสหรัฐ เพิ่มความหวาดกลัวในกลุ่มประเทศเอเชียว่าสุดท้ายแล้วจะส่งผลกระทบต่อพวกตนโดยเฉพาะประเทศเล็กที่พึ่งพาการส่งออกเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโต แม้ว่าชาติเอเชียเหล่านี้จะมองเห็นความจำเป็นที่สหรัฐต้องถ่วงดุลจีน แต่พวกเขาก็หวาดระแวงเช่นกัน เพราะมองว่าประธานาธิบดีทรัมป์ไปไกลเกินไปในการพยายามหยุดยั้งการผงาดของจีน

    เดวิด กอร์ดอน อดีตรองประธานสภาข่าวกรองแห่งสหรัฐ ชี้ว่า ชาติเอเชียรับฟังสหรัฐเรื่องหัวเว่ย ทว่าพวกเขามีข้อสรุปแตกต่างออกไป พวกเขาเพียงระมัดระวังในการใช้หัวเว่ย แต่จะไม่โยนทิ้งหรือแบนอย่างที่สหรัฐต้องการ เช่นเดียวกับ “คอลลิน โกะ สวี ลีน” นักวิจัยด้านนานาชาติศึกษาของสิงคโปร์ ชี้ว่าหลายประเทศในเอเชียมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอุปกรณ์หัวเว่ยก็จริง แต่พวกเขามีข้อพิจารณาที่ตั้งอยู่บนความจริง คืออุปกรณ์ของจีนราคาถูกและมีข้อเสนอที่น่าดึงดูดกว่า

    ส่วน รูฟิโน โลเปซ รองผู้อำนวยการใหญ่สภาความมั่นคงแห่งชาติของฟิลิปปินส์ ระบุว่า เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าอุปกรณ์ของบริษัทอเมริกันอย่างแอปเปิล มีความเสี่ยงแบบเดียวกับหัวเว่ยหรือไม่ เราไม่สามารถมั่นใจอะไรได้อีกต่อไปแล้ว

    สหรัฐไม่เพียงกดดันเรื่องหัวเว่ย แต่ยังกดดันไม่ให้เข้าร่วมโครงการเส้นทางสายไหมศตวรรษที่ 21 (One Belt One Road) จึงถูกชาติเอเชียตั้งคำถามว่าหากสหรัฐทำเช่นนี้ พวกตนจะสามารถยกระดับห่วงโซ่มูลค่า (value chain) เพื่อทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างไร โดยในที่ประชุมนี้ตัวแทนจากสหรัฐ แพทริก ชานาแฮน รักษาการรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ ยังได้พยายามวาดภาพที่น่ากลัวของโครงการเส้นทางสายไหมที่สหรัฐอ้างว่าเป็นโครงการที่มาพร้อมกับการซ่อนเงื่อนเพื่อให้ผู้เข้าร่วมติดอยู่ในกับดักหนี้ ต่างจากกองทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ของสหรัฐที่เปิดและให้เสรีภาพแก่ผู้เข้าร่วมมากกว่า

    แต่เรื่องนี้หลายชาติเอเชียโต้ว่ากองทุนของสหรัฐไม่เพียงพอต่อความต้องการของพวกตน และมักพ่วงเงื่อนไขมากมาย อาทิ ถวง ตุ้น ที่ปรึกษาความมั่นคงของพม่า ระบุว่าจีนเป็นเพียงประเทศเดียวที่เต็มใจสนับสนุนเงินทุนสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมบนชายฝั่งพม่าใกล้กับบังกลาเทศ พร้อมกับปฏิเสธข้อสังเกตของสหรัฐที่อ้างว่าจีนจะทำให้ประเทศผู้กู้ตกอยู่ในภาวะหนี้ท่วม เพื่อจีนจะได้ประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์

    แม้ในขณะนี้ยังไม่สามารถทำนายได้ว่าความขัดแย้งของ 2 ยักษ์ใหญ่จะกินเวลานานเพียงใด แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศเล็กเดือดร้อนหมด และคงยากที่ชาติเอเชียจะเดินตามสหรัฐทั้งหมด เพราะคงเป็นอย่างที่ลีนน์ กว็อก นักวิชาการศูนย์จีน พอล ไช่ แห่งมหาวิทยาลัยเยล ตั้งข้อสังเกตว่า ชาติในเอเชียมีความยืดหยุ่นและอยู่กับความจริง การไม่ประนีประนอมไม่เคยอยู่ในดีเอ็นเอของพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจะไม่ยอมเดินตามแนวทางแข็งกร้าว ไร้การประนีประนอมของสหรัฐ

    คอลัมน์ ชีพจรเศรษฐกิจโลก

    Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
    https://www.prachachat.net/world-news/news-336139

    เพิ่มเติม
    - Trump’s Huawei Problem: Asia Doesn’t Want U.S. to Kneecap China: https://www.bloomberg.com/news/arti...GMhC2ctRGcFcVek_1GVgpEBwAEfZ7251U546sYyD60g10
     
  5. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students


    (Jun 9) เลือกให้เป็น!!บัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง : ธนาคารพาณิชย์-รัฐ เปิดศึกบัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง เสนอดอกเบี้ยตั้งแต่ 1.3-2% สูงกว่าดอกเบี้ยฝากประจำ แถมคล่องตัวกว่าบางแห่งถอนได้ คิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน โอนดอกเบี้ยให้ทุกเดือนทบเป็นยอดฝากใหม่ แต่ทุกแบงก์มีเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจ นักการเงินแนะสอบถามให้ละเอียด เพราะมีทั้งให้ดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดและให้ทั้งก้อน บางรายต้องมีเงินค้างบัญชีสูง

    ในระยะนี้บรรดาธนาคารทั้งของรัฐและเอกชนหลายแห่ง ต่างออกบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงมาล่อใจเหล่าผู้มีเงินออม บางแห่งเสนอดอกเบี้ยสูงถึง 2% นับได้ว่าเป็นดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่สูงกว่าบัญชีเงินฝากประจำทั่วไป และที่สำคัญคือบัญชีออมทรัพย์ประเภทนี้ไม่ต้องเสียภาษี 15% เหมือนกับบัญชีเงินฝากประจำ แต่ดอกเบี้ยที่ได้จากการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ต้องไม่เกิน 2 หมื่นบาท

    ทั้งนี้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ปกติส่วนใหญ่แล้วธนาคารพาณิชย์มักจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.125-0.5% ดังนั้นบัญชีออมทรัพย์พิเศษแบบนี้จึงให้ผลตอบแทนสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ปกติหลายเท่าตัว

    ที่สำคัญอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า 1.5% สำหรับบัญชีออมทรัพย์ ขณะนี้นับว่าสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารหลายแห่ง เช่น ฝากประจำระยะยาว 10 เดือน อัตราดอกเบี้ย 1.75% เมื่อหักภาษีที่ 15% แล้วจะได้ดอกเบี้ยสุทธิเพียง 1.4875% แถมบัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงบางแห่งมีความคล่องตัวเบิกถอนได้

    TISCO My Savings สูงสุด 2%

    ตอนนี้บัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงมีหลายธนาคาร โดยแต่ละธนาคารก็จะมีเงื่อนไขและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป บางแห่งให้อัตราดอกเบี้ยสูงมากแต่ต้องทำธุรกรรมผ่านออนไลน์ เช่น ME ของ TMB แม้จะมีสาขาให้บริการแต่ก็มีน้อยมาก จึงเหมาะกับผู้ออมเงินบางกลุ่ม

    ถ้าเน้นตัวเลขของดอกเบี้ยสูงขณะนี้มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ TISCO My Savings ของธนาคารทิสโก้ ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 2% เมื่อพิจารณาจากรายละเอียดของบัญชีนี้พบว่า อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยต่อปี 0.15% - 1.45% ต่อปี แยกเป็น วงเงินน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30,000 บาท รับอัตราดอกเบี้ย 0.15% วงเงินส่วนที่เกิน 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท รับอัตราดอกเบี้ย 2.00% วงเงินส่วนที่เกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท รับอัตราดอกเบี้ย 1.45% วงเงินส่วนที่เกิน 500,000 บาทขึ้นไป รับอัตราดอกเบี้ย 0.25% การจ่ายดอกเบี้ย จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน โดยคิดดอกเบี้ยเป็นแบบขั้นบันไดจากยอดที่ฝาก

    เงื่อนไขของออมทรัพย์ TISCO My Savings บัญชีสำหรับบุคคลธรรมดาที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยเท่านั้น กรณีปิดบัญชีภายใน 7 วัน นับจากวันที่เปิดบัญชี ธนาคารจะเก็บค่าธรรมเนียมการปิดบัญชี 100 บาท กรณีลูกค้าไม่ทำรายการจนทำให้บัญชีไม่เคลื่อนไหวติดต่อกันนาน 12 เดือน และมียอดเงินคงเหลือในบัญชี ณ ขณะนั้นเท่ากับ 0 บาท ธนาคารจะปิดบัญชีทันที

    ธนาคารคำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวันจากยอดเงินคงเหลือ ณ สิ้นวัน ของอัตราดอกเบี้ยตามวงเงินที่ประกาศในขณะนั้น โดยธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยทุกวันที่ 25 ของทุกเดือน

    ธอส.ออมทรัพย์สุขใจ 1.75%

    ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ออกบัญชีเงินฝากออมทรัพย์สุขใจ รับเปิดบัญชีและรับฝากเงินตั้งแต่วันที 13 พฤษภาคม 2562 ถึงวันที 30 มิถุนายน 2562 (ไม่รับฝากเพิ่มตั้งแต่วันที 1 กรกฎาคม 2562 ถึงวันที 9 เมษายน 2563 หลังจากนั้นสามารถฝากเพิ่มได้ตามเงือนไขเงินฝากออมทรัพย์ปกติของธนาคาร)

    อัตราดอกเบี้ยเงินฝากตั้งแต่วันทีเปิดบัญชีถึงวันที 9 เมษายน 2563 ได้รับอัตราดอกเบี้ย 1.75% ต่อปี หลังจากนั้นใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ตามประกาศปกติของธนาคาร ณ ขณะนั้น กรณีมียอดเงินฝากคงเหลือมากกว่า 10 ล้านบาท ส่วนที่เกินจาก 10 ล้านบาท ให้ได้รับอัตราดอกเบี้ย 0.75% ต่อปี

    หากมีการถอนเงินฝาก ทั้งเงินต้นหรือดอกเบี้ยนับจากวันทีเปิดบัญชีถึงวันที 9 เมษายน 2563 ให้ถือเป็นการปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์นี้ โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเป็นรายวันตามยอดเงินฝากคงเหลือ นับจากวันทีเปิดบัญชีจนถึงวันทีปิดบัญชีในอัตราดอกเบี้ย 0.75% ต่อปี

    ทั้งนี้หากดอกเบี้ยทีจ่ายให้ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์สุขใจตามงวดบัญชี (วันที 29 มิถุนายนและ 29 ธันวาคม) มากกว่าดอกเบี้ยทีควรได้รับจริง ธนาคารจะหักส่วนทีเกินไปจากเงินต้นคงเหลือในบัญชีผู้ฝาก

    เปิดบัญชีเงินฝากครั้งแรก และจำนวนเงินฝากครั้งต่อไปขั้นต่ำ 500 บาท สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาทเปิดบัญชีเงินฝาก 1 รายต่อ 1 บัญชีเท่านั้นและไม่รับเปิดบัญชีชื่อร่วม

    ธนชาต Ultra Savings 1.6%

    บัญชีออมทรัพย์ที่ประสบความสำเร็จอีกรายได้แก่ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ Ultra Savings ของธนาคารธนชาต ซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ที่ให้ดอกเบี้ยสูงเหมือนเงินฝากประจำ แต่มีสภาพคล่องสูงกว่าบัญชีเงินฝากประจำ ให้เบิกถอนได้โดยยังได้รับดอกเบี้ย โดยธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยให้ทุกเดือน สำหรับยอดเงินฝากตั้งแต่ 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท รับอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 1.6% ต่อปี

    เปิดบัญชีขั้นต่ำ 500 บาท ต้องมียอดเงินฝากคงเหลือในบัญชีไม่ต่ำกว่า 500 บาท สามารถเบิกถอนได้ 2 ครั้งต่อเดือน โดยไม่จำกัดจำนวนเงิน

    ผู้ฝากสามารถถอนได้ 2 ครั้ง /เดือน โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม การถอนเงินครั้ง ต่อไปในเดือนนั้น จะต้องเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 50 บาท ซึ่งจำนวนครั้งในการถอน จะนับผ่านทุกช่องทางที่ทำธุรกรรมโดยธนาคารจะหักจากบัญชีของผู้ฝากทุกวันสุดท้ายของเดือน

    มีอีกหลายธนาคาร

    นอกจากนี้ยังมีบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารอื่นที่ให้อัตราดอกเบี้ยในระดับที่ใกล้เคียงกัน เช่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เงินฝากออมทรัพย์มีแต่ได้ คิดดอกเบี้ยทุกวัน รับดอกเบี้ยทุกเดือน ต่ำกว่า 1 แสนรับดอกเบี้ย 0.6% เงินฝาก 1 แสนบาทขึ้นไปดอกเบี้ย 1.3%

    ธนาคารทหารไทย มีบัญชีที่เคยโด่งดังอย่าง ทีเอ็มบี โน ฟิกซ์ ให้ดอกเบี้ยสูง เหมือนฝากประจำ แต่ยืดหยุ่นและถอนได้ แบบบัญชีออมทรัพย์ ให้ดอกสูง 1.3% ตั้งแต่บาทแรก รับดอกเพิ่มเป็น 1.6% ในเดือนถัดไป แค่ใช้ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี 5 ครั้ง/เดือน หรือแค่ออม โน ฟิกซ์ เพิ่มให้มียอดเงินฝากเฉลี่ยคงเหลือตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป

    นอกจากนี้ยังมีธนาคารขนาดเล็กอีกหลายแห่ง ที่ออกบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงมาแข่งขันในตลาดเงินฝากให้ผู้มีเงินออมได้เลือกเช่นกัน แต่วงเงินที่กำหนดไว้อาจค่อนข้างสูง

    ดูวิธีคิดดอกเบี้ย

    นักการเงินรายหนึ่งกล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากบ้านเราอยู่ในระดับที่ต่ำมานาน แม้ปลายปี 2561 จะมีสัญญาณอัตราดอกเบี้ยขึ้น แต่ถึงนาทีนี้ทิศทางดอกเบี้ยกลับเข้าสู่ทิศทางนิ่งหรืออาจปรับลดลงได้ตามสภาพเศรษฐกิจโลก

    ขณะนี้ธนาคารพาณิชย์และธนาคารรัฐต่างออกบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงพร้อมกันหลายแห่ง อัตราดอกเบี้ยมีตั้งแต่ 1.3%-2% นับว่าสูงกว่าดอกเบี้ยออมทรัพย์ปกติมาก และบัญชีเงินฝากประเภทนี้ได้รับความนิยมมากขึ้น ด้วยความยืดหยุ่นที่สามารถเบิกถอนได้ ต่างจากบัญชีเงินฝากประจำ อีกทั้งตัวอัตราดอกเบี้ยที่แบงก์เสนอให้ก็ใกล้เคียงหรืออาจสูงกว่าบัญชีเงินฝากประจำ และไม่ต้องเสียภาษี 15% เหมือนกับบัญชีฝากประจำ

    แต่บัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงนี้จะมีเงื่อนไขเพิ่มเข้ามา ผู้ต้องการฝากเงินต้องศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ให้ดี ว่าท่านสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของธนาคารผู้ออกบัญชีที่ท่านสนใจได้หรือไม่

    ประการแรกคืออัตราดอกเบี้ย บางแห่งให้ผลตอบแทนจากบัญชีออมทรัพย์สูงถึง 2% หรือบางแห่งให้ 1.6% ตรงนี้ต้องเข้าไปดูในรายละเอียดของวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยว่าเป็นแบบใด

    แม้ธนาคารทิสโก้ ชูดอกเบี้ย 2% แต่ใช้วิธีคิดดอกเบี้ยแบบขั้นบันได เงินฝาก 3 หมื่นบาทแรกได้ดอกเบี้ย 0.15% เกิน 3 หมื่น-1 แสนบาทถึงจะได้ดอกเบี้ย 2% หากฝากเงิน 1 แสนบาทจะคิดดอกเบี้ยแยกเป็น 2 ส่วนคือ 3 หมื่นบาทแรกได้ 0.15% อีก 7 หมื่นบาทถึงจะได้ดอกเบี้ย 2% เฉลี่ยแล้วจะได้ดอกเบี้ยที่ 1.445%

    ขณะที่ธนาคารธนชาตให้ดอกเบี้ย 1.6% แยกเป็น ต่ำกว่า 2 หมื่นได้ดอกเบี้ย 1% เกิน 2 หมื่น-50 ล้านบาทได้ดอกเบี้ย 1.6% หากฝากเงิน 1 แสนบาท ธนาคารจะให้ดอกเบี้ยที่ 1.6 % ของเงิน 1 แสนบาท หากถอนเงินฝากในบัญชีจนต่ำกว่า 2 หมื่นบาทจึงจะคิดดอกเบี้ยให้ที่ 1%

    ส่วนธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ให้ดอกเบี้ย 1.75% ธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยให้ตั้งแต่วันทีเปิดบัญชีถึงวันที 9 เมษายน 2563 สำหรับเงินฝากไม่เกิน 10 ล้านบาท รับฝากตั้งแต่ 13 พฤษภาคม 2562 ถึง 30 มิถุนายน 2562 การคิดอัตราดอกเบี้ยให้ที่ 1.75% ตั้งแต่บาทแรกแต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท

    ทบให้ทุกเดือน-น่าสน

    ประการที่สอง พิจารณาว่าแต่ละธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยเป็นแบบรายวันหรือคิดให้ปีละ 2 ครั้งเหมือนบัญชีออมทรัพย์ปกติ อย่างธนาคารทิสโก้และธนชาตคิดอัตราดอกเบี้ยให้เป็นรายวันและจะให้ดอกเบี้ยทุกเดือนตามที่ธนาคารกำหนดวัน หลังจากนั้นจะทบตัวดอกเบี้ยและเงินต้นเป็นยอดฝากใหม่ในเดือนต่อไป ขณะที่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ คิดดอกเบี้ยให้เป็นรายวันเช่นกัน แต่จะนำดอกเบี้ยเข้าให้ปีละ 2 ครั้ง คือ 29 มิถุนายนและ 29 ธันวาคม

    ในทางปฏิบัติแล้วเจ้าหน้าที่ของธนาคารทิสโก้และธนชาตกล่าวตรงกันว่าการทบดอกเบี้ยกับเงินต้นเป็นยอดใหม่ฝากเข้าทุกเดือนย่อมดีต่อผู้ฝากเงินมากกว่าการให้ดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้งแบบออมทรัพย์เดิม

    เงื่อนไขอื่นก็ต้องดู

    ประการที่สาม ดูเงื่อนไขอื่น ๆ เช่น บัญชี Ultra Savings 1.6% ของธนชาต เปิดให้ถอนได้เดือนละ 2 ครั้ง หากครั้งที่ 3 จะเสียค่าธรรมเนียม 50 บาทต่อครั้ง หรือบัญชีเงินฝากออมทรัพย์สุขใจของธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีเงื่อนไขว่าหากมีการถอนเงินฝาก ทั้งเงินต้นหรือดอกเบี้ยนับจากวันทีเปิดบัญชีถึงวันที 9 เมษายน 2563 ให้ถือเป็นการปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์นี้ โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเป็นรายวันตามยอดเงินฝากคงเหลือ นับจากวันทีเปิดบัญชีจนถึงวันทีปิดบัญชีในอัตราดอกเบี้ย 0.75% ต่อปี

    บัญชีทีเอ็มบี โน ฟิกซ์ ได้ 1.3% ตั้งแต่บาทแรก และเพิ่มดอกเบี้ยเป็น 1.6% ในเดือนถัดไป แต่มีเงื่อนไขต้องใช้ทีเอ็มบี ออลล์ ฟรี 5 ครั้ง/เดือน หรือเพิ่มเงินฝากในบัญชี โนฟิกซ์ เป็น 2 ล้านบาทขึ้นไป

    นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละธนาคารที่เสนอสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น จ่ายบิลฟรี โอนเงินฟรี ต้องสอบถามรายละเอียดให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจว่าเป็นอย่างไร เพราะบางธนาคารเองต้องการใช้บัญชีเหล่านี้เป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มฐานลูกค้าหรือเพิ่มธุรกรรมออนไลน์ของทางธนาคาร

    Source: ผู้จัดการออนไลน์
    https://mgronline.com/specialscoop/detail/9620000054429
     
  6. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students


    (Jun 9) ไอเอ็มเอฟเตือนฝรั่งเศสคุมหนี้ - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เตือนฝรั่งเศส มีหนี้สาธารณะสูงเกินไปแล้วเพิ่มขึ้นจากราว 20% ของจีพีดีในทศวรรษ 80 มาอยู่ที่เกือบ 100% รัฐบาลจึงควรเร่งปฏิรูปภาษีและตลาดแรงงาน ที่จะช่วยให้เศรษฐกิจทนทานต่อไปได้แม้ชะลอตัวรวมทั้งขอให้รัฐบาล ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง หาวิธีควบคุมการใช้จ่ายต่อไปอีก เพื่อให้แน่ใจว่ามาตรการที่ออกมาเอื้อประโยชน์ต่อสาธารณะได้จริง หลังจากฝรั่งเศสเจอขบวนการเสื้อกั๊กเหลืองประท้วงทุกสัปดาห์ จนปั่นป่วนไปทั้งประเทศ

    สำหรับการเติบโตของแดนน้ำหอมในปีนี้ ไอเอ็มเอฟยังคงคาดการณ์ ไว้ที่ 1.3% และในระยะกลางน่าจะมีเสถียรภาพที่ราว 1.5% ผลจาก ความต้องการทั้งภายในและภายนอกประเทศฟื้นตัว และได้ประโยชน์ จากมาตรการปฏิรูปเมื่อเร็วๆ นี้ แนวโน้มปัจจุบันเป็นบวก แต่ความเสี่ยง เพิ่มขึ้น เนื่องจากการค้าโลกตึงเครียด เบร็กซิทยังไม่แน่ไม่นอน แรงสนับสนุนมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจถดถอย

    คอลัมน์ กรุงเทพมอนิเตอร์:

    Source: กรุงเทพธุรกิจ

    - IMF urges France to step up spending reforms to rein in debt
    https://www.thelocal.fr/20190604/im...uiw4RrkVDBXIAWHyzHO8-E1MZJeDTEJfeCSLyHZFYSnO4
     
  7. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150

    ยืดเกษียณขรก.3-5ปี
    10 Jun 2019

    กพ.เตรียมเสนอขยายอายุเกษียณข้าราชการทั้งระบบ 2 ล้านคน จาก 60 ปีเป็น 63-65 ปี รับสังคมผู้สูงอายุ ยกเว้นตำแหน่งบริหาร อธิบดี ปลัด พร้อมปรับลดขนาดรีสกิล ดึงดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพงาน

    นางเมธินี เทพมณี เลขาธิการ ก.พ. เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เตรียมที่จะเสนอการขยายการเกษียณอายุราชการจาก 60 เป็น 63 หรือ 65 ปีให้กับรัฐบาลใหม่พิจารณา เพราะเป็นสิ่งที่ข้าราชการรอคอยตามที่การเขียนไว้ในแผนปฏิรูปประเทศด้านสังคม โดยก.พ.จะเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และกฎหมายอีกหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญ

    อย่างไรก็ตามตำแหน่งบริหาร เช่น อธิบดี ปลัดกระทรวง จะไม่ได้รับการต่ออายุราชการหลังอายุครบ 60 ปี เพราะถือว่าเป็นหัวหน้าส่วนราชการเช่นเดียวกับ อาชีพที่ได้รับการยกเว้น เช่น แพทย์ หากดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะไม่ได้รับการต่ออายุราชการเมื่อครบ 60 ปีด้วยเช่นกัน แต่หากจะต่ออายุก็ต้องลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการ ซึ่งเป็นตำแหน่งบริหารล่วงหน้า 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อให้มีผู้อำนวยการคนใหม่เข้ามาทำหน้าที่ และเมื่อลาออกแล้วต้องระบุในการต่ออายุด้วยว่ามีความชำนาญด้านใดเป็นพิเศษ เพื่อไปดำรงตำแหน่งในวิชาการ

    “กฎหมายที่จะแก้ทั้งหมดได้เตรียมเอาไว้หมดแล้ว หากรัฐบาลใหม่เคาะให้ขยายเกษียณอายุราชการเป็น 63 หรือ 65 ปี ก็ดำเนินการเรื่องของการแก้ไขกฎหมายได้ทันที ซึ่งหากนโยบายออกมาก็คาดว่าปีหน้าน่าจะเริ่มดำเนินการได้ เพราะปีนี้อาจจะไม่ทันเนื่องจากใกล้สิ้นปีงบประมาณ 2562 แต่ทั้งนี้เป็นเรื่องของนโยบายและผูกพันกับรัฐบาลในระยะยาวจึงต้องรอเสนอในรัฐบาลใหม่ เพราะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการทำงาน แต่ถ้าถามในวันนี้”นางเมธินี กล่าว

    ข้อมูลจากสำนักงานก.พ.ระบุว่า ภาพรวมการจ้างงานภาครัฐมีกำลังคนภาครัฐทุกประเภท 3.22 ล้านอัตรา จำนวนมากที่สุดคือ ข้าราชการจำนวน 1,871,779 คน รองลงมาคือ พนักงานรัฐวิสาหกิจจำนวน 304,868 คน ลูกจ้างชั่วคราว 300,527 คน พนักงานจ้าง 246,562 คน พนักงานราชการ 146,099 คน พนักงานกระทรวงสาธารณสุข 107,878 คน พนักงานมหาวิทยาลัย 82,836 คน และพนักงานองค์การมหาชน 11,828 คน

    ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปี 2551-2560 พบว่า ข้าราชการทุกประเภทเกษียณอายุประมาณ 391,000 คน หรือเฉลี่ยปีละ 39,104 คน ขณะที่ในปี 2562 อัตราเกษียณข้าราชการพลเรือน 28,400 อัตรา จัดสรรคืนส่วนราชการจำนวน 27,774 อัตรา และเกลี่ยให้ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงจำนวน 626 อัตรา

    ขณะที่สำนักงบประมาณประมาณการรายจ่ายแผนงานบุคลากรภาครัฐ ในปีงบประมาณ 2563 จะลดลงจาก 1,060,960 ล้านบาท ในปี 2562 เหลือ 823,583.88 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2563 จากนั้นจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 860,730.32 ล้านบาท และ 898,509.55 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2564 และ 2565 ตามลำดับ

    เลขาธิการก.พ. ระบุว่าหากรัฐบาลให้ความเห็นชอบให้ขยายเวลาเกษียณอายุราชการ ก็จะต้องมีการ
    เตรียมตัวล่วงหน้าหลายเดือน ต้องมีการตรวจสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต จากแพทย์ของสำนักงานก.พ.ซึ่งเรื่องนี้ก.พ.กังวลว่าจะถูกข้าราชการร้องศาลปกครอง จึงต้องใช้กลไกทางการแพทย์พิสูจน์จริงๆ ต้องมีหลักการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ ขณะเดียวกันจะมีการปรับขนาดระบบราชการให้เหมาะสม โดยเฉพาะการจ้างงานในส่วนราชการ เพิ่มทักษะการเรียนรู้ให้มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น เพื่อสอดคล้องกับโลกสมัยใหม่ ซึ่งเรื่องนี้เป็นงานใหญ่ของสำนักงานก.พ.

    หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,477 วันที่ 9 - 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562

    http://www.thansettakij.com/content/402837
     
  8. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150

    ราคาน้ำมันดิบเพิ่มต่อเนื่อง หวังโอเปกขยายระยะเวลาปรับลดกำลังการผลิตต่อ
    10 Jun 2019

    ราคาน้ำมันดิบเพิ่มต่อเนื่อง หวังโอเปกขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตต่อ

    หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์พลังงาน บมจ.ไทยออยล์ รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมัน 10 มิถุนายน 2562

    + ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 หลังซาอุดิอาระเบีย เผยว่า ผู้ผลิตกลุ่มโอเปกใกล้บรรลุข้อตกลงในการขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตออกไป

    + Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 7 มิ.ย. 62 ปรับลดลงจำนวน 11 แท่น มาอยู่ที่ระดับ 789 แท่น แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 61 เนื่องจากผู้ผลิตชะลอการขุดเจาะลง หลังราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงมาก

    + โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า มีโอกาสที่สหรัฐฯ และเม็กซิโกจะสามารถตกลงในเรื่องของการค้าได้ โดยเม็กซิโกจะทำการซื้อสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ มากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากทั้งสองประเทศไม่สามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าได้ สหรัฐฯ จะประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากเม็กซิโกในอัตราร้อยละ 5 โดยมีผลตั้งแต่วันจันทร์ที่ 10 มิ.ย. เป็นต้นไป

    + ภายหลังปิดตลาด ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เผยว่า สหรัฐฯ และเม็กซิโกสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้าได้ ส่งผลให้สหรัฐฯ ชะลอมาตรการทางภาษีต่อสินค้านำเข้าจากเม็กซิโกออกไปโดยไม่มีกำหนด



    ที่มา : บมจ.ไทยออยล์

    http://www.thansettakij.com/content/402863
     
  9. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan


    * #arabiansea: #93 a / เป็นไปได้ #vayu


    #93 a และการก่อตัวของพายุไซโคลนเขตร้อนที่มีชื่อว่า #vayu, ในทะเลอาหรับ


    -- ⚠️ แจ้งเตือน: ผู้คน / เพื่อนทุกคนตามชายฝั่งตะวันตกของอินเดีย #ปากีสถาน, #อิหร่านและ #โอมานควรตรวจสอบการก่อตัวที่เป็นไปได้ของพายุไซโคลน 9-16 มิถุนายน 2019


     
  10. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เยลโลว์วันนี้ ใช่นี่มาจากทัวร์ของฉันในวันนี้วันที่ 8 มิถุนายน... "ฤดูใบไม้ผลิ"


     
  11. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    การปะทุของภูเขาไฟอากุงวันนี้
    บาหลี, อินโดนีเซีย - 10 มิ.ย. 2019 น. เวลา 12:12 น. ตามเวลาท้องถิ่น

    ความสูงของเสาเถ้าตั้งอยู่ที่ระดับความสูง± 1,000 เมตร (± 4,142 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล) คอลัมน์ของเถ้าจะสังเกตเห็นว่าเป็นสีเทามีความเข้มปานกลางโน้มตัวทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ การปะทุนี้จะถูกบันทึกไว้ใน seismogram ที่มีความกว้างสูงสุด 24 มม. และระยะเวลา± 1 นาที

    ในปัจจุบัน G. Agung อยู่ในสถานะ * ระดับ III (สแตนด์บาย)

    คำแนะนำ:

    (1) ชุมชนรอบ ๆ ภูเขาอากุงและนักปีนเขา / นักท่องเที่ยว / นักท่องเที่ยวไม่ควรทำเช่นนั้นอย่าปีนและอย่าทำกิจกรรมใด ๆ ในเขตอันตรายโดยประมาณในทุกพื้นที่ภายในรัศมี 4 กม. ของปล่องภูเขาไฟอากุง เขตอันตรายโดยประมาณเป็นแบบไดนามิกและยังคงได้รับการประเมินและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเพื่อติดตามข้อมูลการสังเกต G. Agung ล่าสุด / ล่าสุด


     
  12. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Juan Hernadez

    ฟ้าคะนองที่ยิ่งใหญ่ในAcuña และpiedras negras, Coahuila (โกอาวีลา), พายุที่รุนแรงในเวลานี้


    ระมัดระวังทางเหนือของ new Leon และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของตาเมาลีปัส

     
  13. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Juan Hernadez

    ว้าว


    ฟ้าคะนอง ที่โหดร้ายถูกพบในคืนนี้ใน DURANGO MEXICO

    2019/09/06


     
  14. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Juan Hernadez

    น้ำท่วมครั้งใหม่ในกัวเตมาลา

    2019/09/06


     
  15. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Juan Hernadez

    น่าตกตะลึง

    หน้าต่างของอาคารกำลังบินมา กับพายุร้ายในดัลลัส, เท็กซัส
    2019/09/06

     
  16. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Juan Hernadez

    น้ำท่วมฉับพลันทำให้รถยนต์จมอยู่ใต้น้ำ 3 คัน และมีรายงานผู้เสียชีวิตในอังการา ประเทศตุรกี
    2019/09/06

     
  17. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Juan Hernadez

    น้ำท่วมที่ร้ายแรงในอังการา, ตุรกี, มีรายงานผู้เสียชีวิต 3 คน
    2019/09/06

     
  18. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Juan Hernadez

    พายุที่รุนแรงได้ลงทะเบียนในวันนี้ในเท็กซัสดัลลัสและสภาพแวดล้อม ความเสียหาย
    2019/09/06

     
  19. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โลกร้อนจะเปลี่ยนโฉมหน้าโลกเราไปอย่างไร?
    ภาวะโลกร้อน จะเปลี่ยนโฉมหน้าโลกเราไปอย่างไร?
    ภาพแผนที่ทั้งหมดในนี้ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากแผนที่ในปัจจุบัน เว้นเพียงแต่อย่างเดียวนั่นคือ น้ำแข็งทั้งหมดบนโลกได้ละลายหายไปสิ้น นี่คือแผนที่ของทวีปต่างๆที่จะจำลองให้เห็นถึงผลกระทบจาก ภาวะโลกร้อน หากระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 65 เมตร ชายฝั่งใหม่ๆและทะเลในแผ่นดินจะถือกำเนิดขึ้น และหน้าตาของทวีปต่างๆ จะแตกต่างไปจากภาพที่ทุกคนคุ้นตา นี่อาจเป็นสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน

    ทั่วโลกมีน้ำแข็งรวมกันคิดเป็นปริมาณ 20 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร นักวิทยาศาสตร์เคยประมาณไว้ว่า หากมนุษย์ยังคงเดินหน้าผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไป จะใช้เวลาราว 5,000 ปี จึงจะละลายน้ำแข็งทั้งหมดที่มีลงได้ เมื่อถึงเวลานั้นโลกที่ปราศจากน้ำแข็งจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 26 องศาฟาเรนไฮต์เมื่อเทียบกับปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 14 องศาฟาเรนไฮต์

    ทวีปอเมริกาเหนือ
    ชายฝั่งทะเลแอตแลนติกเดิมจะหายไป ในที่นี้รวมไปถึงชายฝั่งฟลอริดา และชายฝั่งอ่าวเม็กซิโกด้วย ในแคลิฟอร์เนีย หุบเขาซานฟรานซิสโกจะกลายเป็นกลุ่มเกาะ บริเวณ Central Valley จะกลายเป็นอ่าวแทน

    ทวีปอเมริกาใต้
    พื้นที่ลุ่มน้ำแอมะซอนจะกลายเป็นอ่าว ส่วนกรุงบัวโนสไอเรส เมืองหลวงของอาร์เจนตินาจะจมอยู่ใต้น้ำ เมื่อน้ำทะเลท่วมเข้าไปในแผ่นดินก่อให้เกิดชายฝั่งใหม่ๆ

    ทวีปแอฟริกา
    เทียบกับทวีปอื่น แอฟริกาได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลน้อยที่สุด แต่อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของโลกจากภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้หลายพื้นที่ในทวีปไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ในอียิปต์ กรุงไคโร และนครอเล็กซานเดรียจะถูกน้ำจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนท่วม

    ทวีปยุโรป
    กรุงลอนดอนจะกลายเป็นแค่ความทรงจำ นครเวนิสจะจมอยู๋ใต้ทะเลเอเดรียติก อีกหลายพันปีนับจากนี้ เนเธอร์แลนด์จะค่อยๆจมลงสู่ทะเล เดนมาร์กเองก็ด้วย จากการขยายตัวของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำและทะเลแคสเปียนก็เช่นกัน

    ทวีปเอเชีย
    พื้นที่อยู่อาศัยของชาวจีนจำนวน 600 ล้านคนจะถูกน้ำท่วม รวมไปถึงบังกลาเทศที่มีประชากร 160 ล้านคนด้วย บริเวณแนวชายฝั่งทางตะวันออกของอินเดียจะถูกรุกล้ำเข้ามามากขึ้น ที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น้ำจากแม่น้ำโขงจะเอ่อท่วมและส่งผลให้ประเทศกัมพูชากลายเป็นเกาะ

    ทวีปออสเตรเลีย
    อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจากโลกร้อน ส่งผลให้ทะเลทรายขยายตัว ระดับน้ำทะเลจะส่งผลให้เกิดทะเลในทวีปเพิ่ม พื้นที่ชายฝั่งทางตะวันออกของทวีปจะถูกน้ำทะเลหลากเข้าท่วม ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีความสำคัญเนื่องจากประชากรของประเทศราว 4 ใน 5 จากทั้งหมดอาศัยอยู่ในบริเวณนี้

    แอนตาร์กติกา
    แอนตาร์กติกาตะวันออก : พืดน้ำแข็งแอนตาร์กติกาตะวันออกมีขนาดใหญ่มาก และบรรจุน้ำแข็งปริมาณ 4 ใน 5 จากทั้งหมดทั่วโลก แต่แม้จะมากมายแค่ไหน ก็ไม่อาจต้านทานการละลายได้ อย่างไรก็ตามผลการศึกษาล่าสุด ดูเหมือนว่าชั้นน้ำแข็งบริเวณนี้จะมีความหนาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้เกิดไอน้ำ และกลั่นตัวตกลงมาเป็นหิมะมากขึ้น
    แอนตาร์กติกาตะวันตก : เช่นเดียวกับกรีนแลนด์ พื้นที่ของแอนตาร์กติกาตะวันตกมีขนาดเล็กมากหากปราศจากน้ำแข็งและผืนทวีปส่วนใหญ่ก็อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ภาวะโลกร้อนส่งผลให้ชั้นน้ำแข็งค่อยๆยุบตัวลงเรื่อยๆ นับตั้งแต่ปี 1992 เป็นต้นมา มีปริมาณน้ำแข็งราว 65 ล้านเมตริกตันละลายลงทะเลไปในทุกๆปี
    https://ngthai.com/environment/2663/if-all-the-ice-melted/
     
  20. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    อิตาลี
    พายุทอร์นาโดของฝุ่นบนเนินลาดของปล่องภูเขาไฟตะวันออกเฉียงเหนือ ของภูเขาไฟเอตนา, ซิซิลี, 8 มิถุนายน

     

แชร์หน้านี้