ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อิตาลีก็ส่อเอาไม่อยู่!ยกระดับความเข้มข้นสกัดโควิด-19 หลังยอดติดเชื้อรายวันทะลุหมื่น

    จูเซปเป คอนเต นายกรัฐมนตรีอิตาลี มอบอำนาจแก่บรรดานายกเทศมนตรีในการปิดจัสตุรัสสาธารณะ ตั้งแต่เวลา 21.00น.เป็นต้นไป เพื่อสกัดการรวมตัวของประชาชน พร้อมกับเปิดเผยแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในวันอาทิตย์(18ต.ค.) ในความพยายามระงับตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    https://mgronline.com/around/detail/9630000106275

     
  2. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #ข่าวหน้า1 ปิดด่านถาวรสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาแห่งที่ 2 เพื่อจัดระเบียบใหม่ งดประกอบศาสนกิจทั้งมัสยิดและวัดในพื้นที่ใกล้เคียง #ไทยรัฐออนไลน์

     
  3. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คุ้นๆ!คนนับหมื่นชุมนุมขับไล่นายกฯปากีสถาน กล่าวหากองทัพแต่งตั้งผ่านโกงเลือกตั้ง

    พวกผู้สนับสนุนฝ่ายค้านหลายหมื่นคนเดินขบวนที่เมืองการาจีเมื่อวันอาทิตย์(18ต.ค.) ส่วนหนึ่งในความเคลื่อนไหวขับไล่ อิราม ข่าน นายกรัฐมนตรีปากีสถาน ที่พวกเขากล่าวหาว่าได้รับแต่งตั้งจากทหาร ผ่านศึกเลือกตั้งปี 2018 ที่มีการโกง

    https://mgronline.com/around/detail/9630000106276

     
  4. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ตำรวจเช็กปะทะกับกลุ่มผู้ประท้วง ที่ออกมารวมตัวในกรุงปรากเพื่อต่อต้านมาตรการควบคุมโควิด-19 ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องยิงแก๊สน้ำตาและปืนฉีดน้ำแรงดันสูงเข้าสลายการชุมนุม #ไทยรัฐออนไลน์

     
  5. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทั่วโลกทำลายสถิติมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันเดียวมากกว่า 400,000 ราย ขณะที่ยุโรปพบผู้ติดเชื้อรายใหม่มากที่สุดในช่วงสัปหาด์ที่ผ่านมา #ไทยรัฐออนไลน์

     
  6. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ฉาว!!รัฐมนตรีUAEถูกกล่าวหาลวงสตรีชาวอังกฤษไปข่มขืน

    ผู้หญิงชาวอังกฤษรายหนึ่งซึ่งเดินทางไปร่วมงานวรรณกรรมในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวอ้างว่าเธอถูกประทุษร้ายทางเพศโดยรัฐมนตรีกระทรวงความสุขและความอดทนอดกลั้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ซันเดย์ไทม์สในวันอาทิตย์(18ต.ค.)

    https://mgronline.com/around/detail/9630000106277

     
  7. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150


    (Oct 18) ความหวังใกล้เป็นจริง! จีนเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชนที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ราคา 2,000 บาท : กลุ่มสื่อต่างชาติ รายงาน (16 ต.ค.) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเมืองเจียซิง ในมณฑลเจ้อเจียงของจีนประกาศเริ่มฉีดชาวเมืองที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19

    รายงานระบุว่า วัคซีนดังกล่าวพัฒนาขึ้นโดยบริษัท “ชิโนวัค ไบโอเทค” (Sinovac Biotech) มีราคา 400 หยวน (ราว 2,000 บาท) สำหรับ 2 โดส ซึ่งก่อนหน้านี้ จีนได้ฉีดวัคซีนนี้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ไปแล้ว แม้ว่ายังไม่ได้ผ่านการรับรอง

    ที่ผ่านมา จีนแจกจ่ายวัคซีนให้กับบุคลากรที่มีความเสี่ยง เช่น เจ้าหน้าที่ประจำท่าเรือ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล และผู้ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง

    ปัจจุบัน จีนอยู่ระหว่างการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 11 ตัว ในจำนวนนี้มี 4 ตัวที่อยู่ในการทดลองขั้นสุดท้าย อย่างไรก็ดี ยังไม่มีวัคซีนตัวใดที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายเป็นการทั่วไปในตลาดได้

    “ซิโนฟาร์ม” (Sinopharm) และ “ชิโนวัค ไบโอเทค” ซึ่งเป็นบริษัทเภสัชกรรมจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐ อยู่ระหว่างพัฒนาวัคซีน 3 รายการภายใต้โครงการใช้ในกรณีฉุกเฉินของประเทศ ส่วน “แคนชิโน ไบโอโลจิกส์” (CanSino Biologics) พัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 รายการที่ 4 ซึ่งได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกองทัพจีนเมื่อเดือน มิ.ย.

    ที่ผ่านมา ผู้ผลิตวัคซีนทั่วโลกแข่งขันกันพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อต่อสู่กัยโรคโควิด-19 ที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 925,000 คน

    Source: ผู้จัดการออนไลน์
    https://mgronline.com/china/detail/9630000105945

    เพิ่มเติม
    - China rapidly expands use of experimental coronavirus vaccines https://www.cnbc.com/2020/10/17/chi...s.html?__source=sharebar|twitter&par=sharebar
     
  8. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150


    (Oct 18) โควิดฉุดธุรกิจล้มละลาย ลูกหนี้จ่อเข้าฟื้นฟูกิจการเพียบ จี้กรมบังคับคดีแก้กฎหมาย : TDRI ชี้ธุรกิจล้มละลาย-ต่อคิวทำแผนฟื้นฟูหลังโควิดอ่วม ‘ต้นทุนแพง’ เหตุทั้งประเทศมีผู้ทำแผนฟื้นฟูได้รับใบอนุญาตเพียง 11 ราย อาจต้องแบกรับลูกหนี้ 1 ล้านคน/ราย จี้กรมบังคับคดีปลดล็อก ‘ใบอนุญาต’ เปิดกว้างผู้ทำแผนฟื้นฟูหน้าใหม่เพิ่ม

    ดร.กิรติพงศ์ แนวมาลี นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้วิจัยเรื่องการทบทวนกฎหมายของประเทศไทย ภายใต้โครงการ Regulatory Guillotine เปิดเผยว่า จากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยทำให้หลายธุรกิจมีความเสี่ยงที่จะล้มละลายมากขึ้น

    ที่ผ่านมาไทยมีกฎหมายล้มละลายที่เปิดช่องให้ธุรกิจสามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูได้ เพื่อให้ธุรกิจนั้นสามารถเดินต่อไป แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ มีจำนวนธุรกิจไม่น้อยไม่เข้าระบบฟื้นฟู เพราะไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนการจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้ทำแผนฟื้นฟูได้

    “ในประเทศไทยกำหนดว่าผู้ทำแผนฟื้นฟูและผู้บริหารแผนฟื้นฟูจะต้องขึ้นทะเบียนกับกรมบังคับคดี และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนก็ซับซ้อนต้องใช้ขั้นตอนและมีเอกสารมากมาย ต้องวางค่าประกันด้วย 5 แสนบาท เงื่อนไขดังกล่าวทำให้ผู้ทำแผนหน้าใหม่ที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่สามารถมาดำเนินอาชีพนี้ได้ เพราะว่าไม่มีเงินทุนพอ ส่งผลให้มีผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตทำแผนฟื้นฟูในไทยมีเพียง 11 ราย”

    ฉะนั้น ข้อเสนอคือ ทำอย่างไรจะเปิดโอกาสให้ผู้ทำแแผนหน้าใหม่ รายย่อย บุคคลธรรมดาสามารถเข้ามาได้มากขึ้น หากปลดล็อกตรงนี้ได ก็จะมีผู้ทำแผนหน้าใหม่เข้ามามากขึ้น เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพและราคา พอราคาถูกลง ลูกหนี้จะมีเงินจ่ายคืนเจ้าหนี้มากขึ้น เจ้าหนี้จะสามารถนำเงินไปใช้หมุนเวียนได้มากขึ้น ส่งผลดีกับธุรกิจ ซึ่งประเด็นนี้ได้เสนอทางกรมบังคับคดีก็เห็นด้วยจะตัดเรื่องนี้ออกจาก “ประกาศ” ที่ต้องขออนุญาต เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟู

    ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิช ประธานทีดีอาร์ไอ ตั้งข้อสังเกตว่า สมมุติ ถ้าประเทศไทยเกิดการล้มละลายขนานใหญ่ และมีลูกหนี้เฉพาะในส่วนของสถาบันการเงิน 12 ล้านราย ก็เท่ากับ 1 ราย ต้องไปรับฟื้นฟู 1 ล้านราย ซึ่งเป็นไปไมไ่ด้เลย

    “ลำพังปัญหากฎหมายล้มละลายก็เป็นไปได้ยากถูกออกแบบมาให้ธุรกิจขนาดใหญ่ สามารถฟื้นกลับมาได้เร็วขึ้น เกิดขึ้นในปี 2540 ซึ่งวิกฤตธุรกิจไทยรอบนี้เกิดกับเอสเอ็มอี จะมีเคสเกิดขึ้นมาก ถ้าไปทางล้มละลายก็จะเจอปัญหาศาลล้มละลาย กว่าจะเข้าไปจัดการมาได้ หรือถ้าจะไปทำแผนฟื้นฟูก็จะมีเพียง 11 รายที่รับทำแผน ฟังดูแล้วเป็นปัญหาใหญ่”

    Source: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
    https://www.prachachat.net/economy/news-539821
     
  9. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    (Oct 18) พลิกวิกฤตเป็นโอกาส:ลงทุนอย่างไรให้เติบโตอย่างยั่งยืนในโลกหลัง COVID-19 - “ในช่วงที่ไทยยังฟื้นตัวจาก COVID-19 ไม่เต็มที่ภาครัฐจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการฟื้นฟูประเทศ ด้วยการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เป็น Strategic Investment เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการเติบโตในระยะยาวให้กับเศรษฐกิจไทยในยุค New Normal

    ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยเติบโตในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค โดยสาเหตุหนึ่งมาจากสัดส่วนการลงทุนของไทยต่อ GDP ต่ำกว่าระดับที่เหมาะสมกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งงานศึกษานี้คำนวณได้ว่าต่ำไปร้อยละ 2.0 ในปี 2019 ส่งผลให้ช่องว่างการออมและการลงทุน (Savings-Investment Gap) เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ งานศึกษานี้พบว่า เมื่อมองไปข้างหน้าสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมนี้ควรเพิ่มขึ้นอีกราวร้อยละ 2.8-4.4 ในปี 2035 จึงนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ผลักดันให้มีการลงทุนเพิ่มในรูปแบบที่เหมาะสม

    ในระยะเริ่มต้นที่เศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวจาก COVID-19 ไม่เต็มที่ เครื่องยนต์สำคัญทางเศรษฐกิจทั้งการส่งออกสินค้าและบริการและการบริโภคภาคเอกชนยังไม่สามารถทำหน้าที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างที่ควรจะเป็น ภาครัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการฟื้นฟูประเทศ โดยถือโอกาสนี้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพการเติบโตให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาถึงบริบทสภาพ ศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สอดรับกับบริบทเศรษฐกิจโลกใหม่หลังวิกฤต COVID-19 เช่น โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเร่งสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่สอดรับกัน เพื่อที่ในระยะปานกลางภาคเอกชนจะสามารถเข้ามาต่อยอดใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ภาครัฐได้ลงทุนไว้ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญที่ทำให้ไทยสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มพูนศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ในระยะยาว

    1. บทนำ

    ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยเติบโตในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการลงทุนของไทยที่อยู่ใน ระดับต่ำ โดยการลงทุนรวมของไทย (ทั้งภาครัฐและ เอกชน) มีสัดส่วนเฉลี่ยเพียงร้อยละ 24.4 ต่อ GDP ในช่วงปี 2010-2019 (รูปที่ 1)

    โดยการลงทุนของไทยในช่วง 10 ปีหลังเติบโตเฉลี่ยเพียงร้อยละ 3.9 ลดลงจากช่วงก่อนหน้าจากทั้งสององค์ประกอบย่อยคือการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์และการลงทุนในภาคการก่อสร้าง (รูปที่ 2) อีกทั้งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มรายได้ปานกลาง (รูปที่ 3) โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมาที่สัดส่วนการลงทุนต่อ GDP ของไทยมีแนวโน้มลดลงส่งผลให้ช่องว่างการออมและการลงทุน (Savings-Investment Gap) เปิดกว้างมากยิ่งขึ้นสะท้อนผ่านตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลในระดับสูงในระยะหลัง

    บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามว่า (1) สัดส่วนการลงทุนต่อ GDP ของไทยควรจะอยู่ที่ระดับใด? จึงจะเหมาะสมต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและคำถามที่สำคัญกว่า คือ (2) ในระยะข้างหน้ารูปแบบการลงทุนของไทยควรเป็นเช่นใด? เพื่อให้สอดรับกับบริบทเศรษฐกิจโลกใหม่หลังวิกฤต COVID-19 (New Normal) ทั้งในมิติของผู้ลงทุนและภาคส่วนที่ควรจะลงทุนในกรอบเวลาต่าง ๆ

    2. สัดส่วนการลงทุนของไทยต่อ GDP ที่เหมาะสม

    2.1 Methodology and Data
    เพื่อตอบคำถามแรกว่าแท้จริงแล้วสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP ของไทยควรเป็นเท่าใด ? จึงจะเหมาะสมกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนงานศึกษานี้เลือกใช้วิธีการคำนวณ 2 วิธี คือ

    1.การคำนวณโดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติที่สร้างด้วยวิธี Fixed Effects Panel Data Regression ซึ่งประยุกต์จากงานศึกษาของ ADB (2017) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเฉพาะประเทศในกลุ่มรายได้ปานกลางจำนวน 61 ประเทศ และประมาณค่าแบบจำลองโดยใช้ข้อมูลรายปี ตั้งแต่ปี 1990-2017 เพื่อคำนวณหาสัดส่วนการลงทุนรวมต่อ GDP โดยมีการประมาณค่าแบบจำลอง 2 แบบ คือ

    (1.1) แบบจำลองที่ใช้ตัวแปรตามเป็นสัดส่วนการลงทุนรวมต่อ GDP (Nominal Gross Fixed Capital Formation as a percentage of GDP: (/) ซึ่งเป็นตัวแปรที่งานศึกษานี้สนใจโดยตรง

    (1.2) แบบจำลองที่ใช้ตัวแปรตามเป็นสต็อกทุนรวม (Gross Capital Stock: ) ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถคำนวณผลของค่าเสื่อมราคาของสต็อกทุน (Depreciation: ) ต่อการลงทุนรวม () ได้แล้วจึงนำตัวเลขสต็อกทุนที่พยากรณ์ได้จากแบบจำลอง 1.2 นี้ มาคำนวณหาสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP ที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้สามารถนำไปเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากแบบจำลอง ในข้อ1.1 ได้1

    ขณะที่ตัวแปรต้นของทั้ง 2 แบบจำลองแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

    - ปัจจัยด้านรายได้: วัดจากรายได้ต่อหัว (Income per Capita: ) เพื่อสะท้อนฐานะ หรือความกินดีอยู่ดีของคนในประเทศ ซึ่งคาดว่าการลงทุนน่าจะมี ความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับรายได้ กล่าวคือ เมื่อประเทศมีการพัฒนามากขึ้นการลงทุนน่าจะเพิ่มขึ้นตามเพื่อรองรับอุปสงค์ที่ขยายตัว

    - ปัจจัยด้านประชากร: วัดจากความหนาแน่นของประชากร (Population Density) และอัตราความเป็นเมือง (Urbanisation Rate) เพื่อประเมินความ ต้องการการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานน่าจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับปัจจัยด้านประชากร

    - ปัจจัยด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ: วัดจากสัดส่วนของภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมต่อ GDP ซึ่งโดยทั่วไปการประกอบกิจกรรมทางการเกษตรไม่ต้องอาศัยเครื่องจักรและอุปกรณ์มากเท่ากับการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ทำให้การลงทุนของประเทศน่าจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับสัดส่วนของ ภาคเกษตรกรรมต่อ GDP และน่าจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับสัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมต่อ GDP

    จากตัวแปรต้นและตัวแปรตามดังกล่าวสามารถเขียนสมการแบบจำลองทั้งสองแบบได้ดังนี้

    โดยในสมการที่ 1.2 ได้เพิ่มตัวแปรสต็อกทุน ณ เวลา t-1 และ t-2 ตามลักษณะของสต็อกทุนที่เปลี่ยนแปลงได้ช้า

    2. การประยุกต์ใช้แนวคิด Balanced Growth Path ในการคำนวณขนาดการลงทุนรวมต่อ GDP ณ ระดับ Steady state ที่เศรษฐกิจเติบโตได้เต็ม ศักยภาพ โดยอ้างอิงจากงานของ Chuenchoksan and Nakornthab (2008) เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับตัวเลขที่ประมาณได้จากวิธีแรกโดยสมการที่ 2 แสดง ความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP(/) ซึ่งถูกกำหนดโดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ((+1 − )/ ) สัดส่วนสต็อกทุนต่อ GDP (/) และ ค่าเสื่อมราคาของสต็อกทุน () ณ ระดับ Steady state

    2.2 Results
    จากผลการประมาณค่าแบบจำลองตามวิธีที่ 1 (ตารางที่ A2 ในภาคผนวก A) พบว่า ปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อการลงทุนของประเทศในกลุ่มรายได้ปานกลาง ได้แก่ รายได้ต่อหัวความหนาแน่นของประชากรและสัดส่วนของภาคเกษตรกรรมต่อ GDP โดยพบว่าการลงทุนของประเทศมีความสัมพันธ์ใน ทิศทางเดียวกันกับรายได้ต่อหัวและความหนาแน่นของประชากรหรือมีนัยว่าระดับการลงทุนของประเทศจะเพิ่มขึ้นก็ต่อเมื่อประชากรมีฐานะร่ำรวยมากหรือมีจำนวนเพิ่มขึ้นแต่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับสัดส่วนของภาคเกษตรกรรมต่อ GDP ซึ่งมีนัยว่าการเปลี่ยนจากประเทศเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมต้องอาศัยการลงทุนที่มากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่าค่าสัมประสิทธิ์หน้าตัวแปรความหนาแน่นของประชากรที่ประมาณได้มีขนาดมากกว่าค่าสัมประสิทธิ์หน้าตัวแปรอื่นในแบบจำลองสะท้อนว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรซึ่งกระทบต่อผลิตภาพการผลิตรวม (Total factor productivity: TFP) และอุปสงค์มวลรวม (Aggregate demand) เป็นปัจจัยหลักที่กำหนดระดับการลงทุนของประเทศในกลุ่มรายได้ปานกลาง

    นอกจากนี้ยังพบว่าสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP ของไทยที่ควรจะเป็นเมื่อคำนึงถึงปัจจัยโครงสร้างทางเศรษฐกิจและประชากรในปี 2019 ควรอยู่ที่ร้อยละ 24.6 ซึ่งสูงกว่าตัวเลขสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP ของไทยในปีดังกล่าวที่ร้อยละ 22.6 สะท้อนว่าปัจจุบันไทยยัง ลงทุนต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอยู่ถึงร้อยละ 2.0 ต่อ GDP

    อย่างไรก็ดี ผลการประมาณค่าแบบจำลองที่กล่าวมาในข้างต้นเป็นเพียงความสัมพันธ์ในอดีต แต่งานศึกษานี้ต้องการหาคำตอบเกี่ยวกับระดับการลงทุนที่เหมาะสมต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของไทยในระยะข้างหน้า จึงต้องสร้างข้อสมมติขึ้นมาหลายประการเพื่อช่วยในการคำนวณ โดยรายละเอียดของข้อสมมติสรุปได้ดังนี้

    1. ข้อสมมติด้านรายได้: อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่นำมาใช้คำนวณรายได้ต่อหัวในปี 2020-2021 อ้างอิงจากตัวเลขประมาณการที่เผยแพร่ในรายงานนโยบายการเงินฉบับเดือนมิถุนายน 2020 ที่ระบุว่าเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นไป โดยในงานศึกษานี้สมมติให้อัตราเติบโตทยอยเพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 3.5 ในปี 2025 และทยอยลดลงหลังจากนั้น ซึ่งข้อสมมติดังกล่าวยังหมายรวมว่าไทยจะสามารถหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางได้ในปี 2 ด้วย

    2. ข้อสมมติด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ: จากการพิจารณาข้อมูลย้อนหลังพบว่าขนาดของภาคเกษตรกรรมต่อ GDP ของไทยมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง แต่งานศึกษานี้สมมติให้สัดส่วนดังกล่าวจะไม่ลดลงไปต่ำกว่าร้อยละ 5 ซึ่งยังเป็นระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (ADB, 2017) เนื่องจาก (1) ข้อจำกัดด้านทักษะและโครงสร้างประชากรที่สูงอายุของเกษตรกรไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบททำให้มีข้อจำกัดในการย้ายไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมหรือบริการและ (2) ผลิตภาพของแรงงานในภาคเกษตรกรรมของไทยที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนา แล้ว จึงต้องอาศัยจำนวนแรงงานที่มากกว่าในการเพาะปลูกผลผลิตให้เพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศ (Briones and Felipe, 2013)

    ด้านสัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมของไทยที่ผ่านมาลดลงต่อเนื่องเช่นกัน สอดคล้องกับปรากฏการณ์ De-industrialisation ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว งานศึกษานี้จึงใช้ข้อสมมติว่าขนาดของภาคอุตสาหกรรมต่อ GDP ของ ไทยจะลดลงต่อเนื่อง แต่ในระยะยาวจะไม่ลดลงต่ำกว่าร้อยละ 30 จากปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 35.0 ใกล้เคียงกับประเทศเกาหลีใต้ เนื่องจากบริษัทต่างชาติจะยังคงมีแนวโน้มใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

    จากขนาดของภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมต่อ GDP ที่ลดลง จึงมีอีกนัยหนึ่งที่สะท้อนว่าในระยะยาวเมื่อรายได้ต่อหัวของไทยเพิ่มขึ้นสัดส่วนภาคบริการของไทยจะเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้ว

    3. ข้อสมมติด้านโครงสร้างประชากร: อ้างอิงจากประมาณการของ UN (World Population Prospects, 2019 และ Urbanisation Prospects, 2018) ที่ระบุว่าจำนวนประชากรรวมของไทยจะเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2027 เป็นต้นไป ขณะที่สัดส่วนประชากรที่อยู่อาศัยในเมืองต่อประชากรทั้งหมดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งมีนัยว่าหลายพื้นที่ในประเทศจะกลายสภาพเป็นเมืองมากขึ้น

    4. ข้อสมมติเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาของสต็อกทุน: กำหนดให้มีค่าเท่ากับร้อยละ 6 ตลอดช่วงประมาณการ โดยคำนวณจากค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี (ปี 2015-2019) และบวกเพิ่มตามแนวโน้มค่าเสื่อมราคาที่จะเพิ่มขึ้นจากการลงทุนเพิ่มในอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ที่มูลค่าเสื่อมลงเร็วกว่าสินทรัพย์ชนิดอื่น อาทิ ถนนหรือรางรถไฟ ซึ่งเป็นไปทิศทางเดียวกันกับประเทศพัฒนาแล้วที่มีสัดส่วนการลงทุนใน ICT สูง

    เมื่อแทนค่าข้อสมมติต่าง ๆ ลงในทั้ง 2 แบบจำลอง เพื่อประมาณการหาสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP ของไทย ในระยะข้างหน้า พบว่า สัดส่วนการลงทุนรวมต่อ GDP ที่เหมาะสมในปี 2035 ที่จะทำให้ไทยสามารถหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางได้มีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 25.4-27.0 หากเปรียบเทียบกับตัวเลขในปี 2019 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 22.6 เท่ากับว่าไทยต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง จนสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP เพิ่มขึ้นอีกราว ร้อยละ 2.8-4.4 ในปี 2035

    ขณะที่การคำนวณขนาดการลงทุนรวมต่อ GDP ณ ระดับ Steady state ตามวิธีที่ 2 แสดงให้เห็นว่าหากวิกฤต COVID-19 สิ้นสุดลงและหากไทยต้องการกลับไปเติบโตที่ระดับศักยภาพที่ร้อยละ 5 ขนาดการลงทุนรวมต่อ GDP ที่เหมาะสมจะเท่ากับร้อยละ 27.5 ซึ่งหมายความว่าไทยต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องจนสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากปี 2019 มากถึงร้อยละ 4.9

    จากรูปที่ 4 โดยสรุปแล้วผลการศึกษาเพื่อตอบคำถามที่ 1 พบว่าปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP ของไทยยังต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอยู่ถึงร้อยละ 2.0 และ เมื่อประมาณการไปข้างหน้าเพื่อให้ไทยหลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลางและเติบโตเต็มศักยภาพด้วยอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 5 ไทยจำเป็นต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องจนสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณร้อยละ 4.9

    3. รูปแบบการลงทุนของไทยหลังวิกฤต Covid-19

    เพื่อตอบคำถามที่ 2 ที่ว่า ในระยะข้างหน้ารูปแบบ การลงทุนของไทยควรเป็นเช่นใดนั้น เป็นหน้าที่สำคัญ ของผู้ออกแบบนโยบายที่จะต้องกำหนดนโยบายและ จัดสรรทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด เพื่อยกระดับการลงทุน ของไทยจนถึงระดับที่ไทยสามารถหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง โดยคำนึงถึงโครงสร้างเศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนไปในยุคหลังวิกฤต COVID-19 ด้วย

    3.1 Scenario Building

    งานศึกษานี้จะฉายภาพนโยบายการลงทุนและระดับการลงทุนที่เหมาะสมของไทยในยุคหลังวิกฤต COVID-19 ผ่านวิธี Scenario building ของการลงทุนในภาค Logistics และ ICT ซึ่งเป็น Strategic sectors สำคัญของไทย (รายละเอียดอยู่ในกรอบเรื่อง “ลงทุนเชิงกลยุทธ์ในยุควิกฤต COVID-19”) รวมทั้งใช้ค่า Forward multipliers และ Spillover ต่อ GDP จาก Social Accounting Matrix (SAM) ปี 2012 (รูปที่ 5) ประกอบ การทำ Scenario building

    การลงทุนเชิงกลยุทธ์ในยุควิกฤต COVID-19

    วิกฤต COVID-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรงทั้งในระยะสั้นและโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะยาว ขณะที่ทุนของครัวเรือนและภาคธุรกิจลดลงเรื่อย ๆ รวมทั้ง ทรัพยากรของภาครัฐก็มีจำกัด ดังนั้น การจัดสรรทรัพยากรให้เกิดความสมดุลระหว่างการเยียวยาประคับประคองเศรษฐกิจในระยะสั้นและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับโลกยุคหลังวิกฤต COVID-19 ในระยะยาวจึงเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในช่วงวิกฤต COVID-19 จึงไม่ควรดำเนินการแบบเหวี่ยงแหโดยต้องมุ่งเน้นไปยัง Strategic sectors ที่มีประสิทธิภาพสูงและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของไทยในโลกยุคหลังวิกฤต COVID-19 ได้งานศึกษานี้จึงเลือก Logistics และ ICT เป็น Strategic sectors ที่สำคัญของไทย โดยมีเหตุผลสนับสนุนทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ดังนี้

    (1) เหตุผลเชิงคุณภาพ: การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้รัฐบาลหลายประเทศจำเป็นต้องใช้มาตรการปิดเมือง (Lockdown) ส่งผลให้เกิด Supply chain disruption ขึ้นภาคธุรกิจจึงจำเป็นต้องจัดระเบียบ Global supply chain ใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิด Supply chain disruption หากมีโรคอุบัติใหม่ในอนาคต โดยแนวคิดของการจัดระเบียบ Global supply chain ในระยะต่อไปที่นักเศรษฐศาสตร์หลายท่าน กล่าวถึงคือ การพึ่งพา Supply chain ภายในภูมิภาคให้มากขึ้น (Regionalisation)

    ดังนั้น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและการขนส่ง (Logistics sector) เพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตจากต่างประเทศมายังไทยจึงเป็นยุทธศาสตรสำคัญในการรองรับคลื่อนการย้ายฐานระลอกใหม่ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเป็นเส้นเลือดใหญ่ในการหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนการขนส่งของภาคเอกชน ในแง่ของการลำเลียงวัตถุดิบและการจัดจำหน่ายสินค้าไปยังต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันภาครัฐให้ความสำคัญต่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเป็นอย่างมาก สะท้อนจากการผลักดันโครงการต่างๆ ในพื้นที่ EEC ที่เป็นการเชื่อมโยงระบบขนส่ง ทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ โครงการรถไฟรวมถึงการลงทุนอื่น ๆ นอก EEC อาทิ รถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ หรือกล่าวได้ว่า ยุทธศาสตร์การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของภาครัฐสามารถทำได้ดี แต่ความท้าทายอยู่ที่การเร่งผลักดันให้เกิดการลงทุนจริงตามแผน

    อีกหนึ่งยุทธศาสตรสำคัญคือการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (ICT sector) โดยการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ความต้องการใช้บริการด้านดิจิทัลเพิ่มขึ้นมาก เพื่อรองรับการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) เช่น การทำงานที่บ้านการเรียนออนไลน์ รวมถึงการเก็บข้อมูลการเข้าออกสถานที่ต่าง ๆ ของประชาชนผ่าน Website ไทยชนะ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค นอกจากนี้การลงทุนในภาค ICT จะสนับสนุนให้เกิดการใช้งานระบบ Automation ในภาคการผลิตซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาการใช้แรงงานจำนวนมากผ่านการใช้งาน Industrial Internet of Things ( IIOTs) ท ำให้ความเสี่ยงของการเกิด Supply chain disruption ในกรณีที่มีโรคอุบัติใหม่ในอนาคตลดลง

    (2) เหตุผลเชิงปริมาณ: จากงานศึกษาของ ธปท. เรื่อง “กลไกการส่งผ่านนโยบายการลงทุนในยุค Thailand 4.0” โดย ปุญญวิชญ์ เศรษฐ์สมบูรณ์ (2018) พบว่าการลงทุนใน Logistics และ ICT สามารถสร้าง GDP multiplier ได้มากกว่าภาคอื่น ๆ สะท ้อนจากค่า Forward multipliers ที่ได้จาก Social Accounting Matrix (SAM) ปี 2012 (รูปที่ 5)

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการวิเคราะห์ด้วย SAM มีข้อจำกัดในแง่ของการสะท้อนโครงสร้างความเชื่อมโยงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอดีต ณ ปี 2012 ซึ่งไม่สามารถฉายภาพการลงทุนเหมาะสมของไทยในอนาคตได้

    ดังนั้น การทำ Scenario building ในงานศึกษานี้จึงต้องปรับค่า Forward multipliers แ ละ Spillover ให้สอดคล้องกับโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามากขึ้น 4 ทั้งนี้ งานศึกษาได้มุ่งเน้นไปที่การลงทุนใน ICT เป็นหลัก เนื่องจากเป็น Sector ที่มีค่า Forward multipliers สูงสุด (รูปที่ 5) แต่กลับมีสัดส่วนการลงทุนที่น้อยในปัจจุบัน (รูปที่ 6)

    นอกจากนี้ งานศึกษานี้ได้กำหนดข้อสมมติของการลงทุนในภาค ICT เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของเศรษฐกิจไทย ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรสำคัญ ได้แก่ (1) สัดส่วนของการลงทุนในภาค ICT ต่อการลงทุนทั้งหมด และ (2) G participation rate ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่สะท้อนว่าประเทศไทยมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G มากน้อยเพียงใดเมื่อ ทียบกับความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ของโลก โดยประยุกต์ผลการศึกษาที่ได้จาก IHS (2017, 2019) ในการคำนวณ 5G participation rate (รูปที่ 7) ซึ่งงานศึกษานี้กำหนดให้พัฒนาการการลงทุนใน ภาค ICT แบ่งออกเป็น 3 Phases ดังนี้

    - Phase 1 (ปี 2020 - 2024): การลงทุนใน ภาค ICT จะเน้นไปที่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การติดตั้งเสาส่งสัญญาณและการสร้างสถานีส่งสัญญาณ อย่างไรก็ดีระดับการใช้งานเทคโนโลยี 5G ใน Phase นี้ ยังใกล้เคียงกับการใช้งานเทคโนโลยี 4G ทำให้ระดับ 5G participation rate และสัดส่วนการลงทุนในภาค ICT ต่อการลงทุนทั้งหมดเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

    - Phase 2 (ปี 2025-2029): โครงสร้างพื้นฐาน ด้าน ICT เริ่มสร้าง Crowding-in ให้เกิดการลงทุนใน Software และอุปกรณ์ IT ทำให้สัดส่วนการลงทุนใน ภาค ICT ต่อการลงทุนทั้งหมดเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ยังเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น Industrial Internet of Things ( IIOTs) แ ล ะระบบ โทรเวชกรรม (Telemedicine) มากขึ้น ส่งผลให้ 5G participation rate เพิ่มในอัตราที่สูงขึ้น

    - Phase 3 (ปี 2030-2040): สัดส่วนการลงทุน ในภาค ICT ต่อการลงทุนทั้งหมดอยู่ในระดับที่เต็มศักยภาพของไทย ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของ ประเทศพัฒนาแล้ว ขณะที่การใช้งานเทคโนโลยี 5G ก็อยู่ ในระดับที่เต็มศักยภาพเช่นกัน แต่ยังต่ำกว่าความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี5G ของโลก เนื่องด้วยข้อจำกัดหลายประการ เช่น ไทยยังขาดการทำ R&D เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G ส่งผลให้ประโยชน์ที่ตกอยู่กับอุตสาหกรรมต้นน้ำยังคงจำกัด รวมทั้งข้อจำกัดในการพัฒนา Use cases ต่าง ๆ ของเทคโนโลยี 5G ขั้นสูง ส่งผลให้ค่า 5G participation rate ของไทยมากที่สุด ที่ร้อยละ 80

    3.2 นัยต่อระดับการลงทุนที่เหมาะสมของไทย

    งานศึกษานี้พบว่า (รูปที่ หากไทยลงทุนตาม Base case ซึ่งเป็นลงทุนตามโครงสร้างปัจจุบันไทยจะหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางได้ก็ต่อเมื่อไทยมีสัดส่วนการลงทุนรวมต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 26.2 (เท่ากับค่ากลางที่คำนวณได้จากแบบจำลองทางเศรษฐมิติที่สร้างด้วยวิธี Fixed Effects Panel Data Regression)

    แต่หากไทยจัดสรรเงินไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล หรือภาค ICT ในสัดส่วนที ่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้ว สัดส่วนการลงทุนรวมต่อ GDP สามารถลดลงเหลือเพียงร้อยละ 24.6 ก็ สามารถทำให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางได้ เช่นกัน

    นอกจากนี้งานศึกษานี้พบว่า (รูปที่ 9) การเพิ่มการลงทุนในภาค ICT ทั้งยุค 3G และ 5G จะเร่งให้เกิดกระบวนการ De-industrialisation เร็วขึ้น เมื่อเทียบกับการลงทุนในรูปแบบปัจจุบัน (Base case) สะท้อนจากสัดส่วนมูลค่าเพิ่มต่อ GDP ของภาคอุตสาหกรรมในกรณีลงทุนใน ICT sector ทั้งยุค 3G และ 5G ที่ปรับลดลงมากกว่ากรณีลงทุนในรูปแบบปัจจุบัน (Base case)

    แต่หากเปรียบเทียบการลงทุนในภาค ICT ระหว่างยุค 3G กับ 5G จะพบว่าการลงทุนในภาค ICT ยุค 5G จะชะลอกระบวนการเกิด De-industrialisation เพราะเทคโนโลยี 5G ให้ประโยชน์แก่ภาคการผลิตมากกว่า 3G จากการใช้งานของ IIoTs สะท้อนจากสัดส่วนมูลค่าเพิ่มต่อ GDP ของภาคอุตสาหกรรมในกรณีลงทุนใน ICT sector ยุค 5G ที่แม้จะปรับลงแต่น้อยกว่ากรณีการลงทุนใน ICT sector ยุค 3G โดยเฉพาะช่วง Phase 2 และ 3 ซึ่งผลการศึกษานี้สอดคล้องกับขนาดของ Spillover ต่อ GDP ในภาคอุตสาหกรรมดังรูปที่ 5

    4. สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

    ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการลงทุนของไทยอยู่ในระดับต่ำโดยในปี 2019 ประเทศไทยลงทุนคิดเป็นสัดส่วน ต่อ GDP เพียงร้อยละ 22.6 โดยผลการศึกษาเพื่อตอบคำถามอย่างเป็นรูปธรรมว่าสัดส่วนของการลงทุนต่อ GDP ควรเป็นเท่าใดและรูปแบบการลงทุนในอนาคตควรเป็นเช่นใด สามารถสรุปได้ดังนี้

    1. ผลการศึกษาโดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐมิติที่ สร้างด้วยวิธีFixed Effects Panel Regression พบว่า ในปี 2019 สัดส่วนการลงทุนต่อ GDP ที่เหมาะสมของไทยควรอยู่ที่ร้อยละ 24.6 และหากไทยมีโครงสร้างเศรษฐกิจและการเติบโตของเศรษฐกิจเป็นไปตามข้อสมมติและหลุดพ้นจากกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP ของไทยควรอยู่ที่ร้อยละ 25.4- 27.0 ในปี 2035 เท่ากับว่าไทยต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องจน สัดส่วนการลงทุนต่อ GDP เพิ่มขึ้นอีกราวร้อยละ 2.8-4.4

    2. ผลการศึกษาโดยการประยุกต์ ใช้แนวคิด Balanced Growth Path พบว่า หากไทยต้องการเติบโตที่ระดับศักยภาพที่ร้อยละ 5 สัดส่วนการลงทุนต่อ GDP จะต้องเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 27.5 ดังนั้นไทยจึงต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องจนสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากปี 2019 อีกประมาณร้อยละ 4.9

    3. หากพิจารณาถึงรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมในอนาคตผ่านวิธีการทำ Scenario building ที่คำนึงถึงบริบททางสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคหลังวิกฤต COVID-1 โดยให้ความสำคัญกับภาค ICT ที่มี Forward multiplier สูงกว่าภาคอื่นๆ พบว่าสัดส่วนการลงทุนรวมต่อ GDP ที่เหมาะสมจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนแบบในอดีตเหลือเพียงร้อยละ 24.6 ก็สามารถทำให้ไทยหลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลางได้เช่นกัน

    ข้อสรุปที่ได้จากงานศึกษานี้จึงนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะผลักดันให้ประเทศไทยใช้โอกาสที่เครื่องยนต์สำคัญทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่มาเพิ่มการลงทุนและเลือกลงทุนในรูปแบบที่เหมาะสมต่ออนาคต โดยการกำหนดนโยบายเพื่อยกระดับการลงทุนของไทยควรเน้นการลงทุนแบบตรงจุด เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและรักษาความสามารถในการ แข่งขันของประเทศเอาไว้ซึ่งจะนำไปสู่ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นในระยะยาว กล่าวคือ

    1. ภาครัฐควรเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพการเติบโตให้กับเศรษฐกิจไทย (Strategic Investment) ให้เท่าทันและสอดรับกับกระแสโลกในยุค New Normal โดยเฉพาะในระยะเริ่มต้นที่เศรษฐกิจโลกและไทยยังฟื้นตัวจากวิกฤต COVID-1 ได้ไม่เต็มที่และภาคเอกชนไม่สามารถมีบทบาทในการขับเคลื่อนการลงทุนรวมของประเทศได้มากนัก ซึ่งนอกเหนือจากโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ด้านการขนส่งที่ภาครัฐดำเนินการอยู่แล้วภาครัฐยังควรพิจารณาการลงทุนเพิ่มเติมในโครงสร้างพื้นฐานอื่นด้วย อาทิ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ ครอบคลุมและเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึง เพื่อเอื้อให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนต่อยอดใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ ยังควรให้ความสำคัญกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น การสร้างสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ เพื่อเอื้อต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นกระแสของโลกในอนาคตที่ต้องการลดมลภาวะ รวมถึงระบบบริหารจัดการ น้ำเพื่อลดปัญหาเรื่องภัยพิบัติ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่บั่นทอนศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว

    2. ในระยะปานกลางภาคเอกชนควรเข้ามาลงทุนต่อยอดใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ภาครัฐลงทุนไว้ทั้งในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ ตัวอย่างเช่น การทำการเกษตรแบบอัจฉริยะ (Smart farming) ที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชที่เหมาะสมต่อภูมิประเทศและทนทานต่อสภาพอากาศได้มากขึ้น การใช้หุ่นยนต์และระบบ Automation เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการผลิตสินค้าหรือการผลิตรถยนต์ระบบ Autonomous car ตลอดจนการรักษาคนไข้ผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ทั้งคนไข้ต่างชาติและคนไข้ในชนบท และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ Smart travel เป็นต้น ซึ่งจะมีส่วนสำคัญที่ทำให้ไทยสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันของประเทศไว้ได้ใน โลกยุคหลังวิกฤต COVID-19

    3. ภาครัฐอาจพิจารณาการลงทุนในรูปแบบของการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership: PPP) เพื่อลดแรงกดดันทาง การคลัง ซึ่งสะท้อนผ่านระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นหลังวิกฤต COVID-19

    4. ภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดรับกันกับการลงทุนใน Strategic Investment ทั้งในแง่ของการปรับปรุง คุณภาพการเรียนการสอนในสถานศึกษา เพื่อให้บัณฑิตจบใหม่มีทักษะที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน และการสนับสนุนให้แรงงานได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสรุปนโยบายยกระดับการลงทุนของไทยควร มุ่งเน้นไปที่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานให้เพียงพอ และเชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึง เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของประเทศเอาไว้ควบคู่ไปกับการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะทำให้ผลิตภาพการผลิตรวมและการจ้างงานรวมของประเทศเพิ่มขึ้นในระยะปานกลาง-ยาว ผ่าน Crowding-in effects โดยศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นจากการลงทุนดังกล่าวจะทำให้ภาครัฐสามารถจัดเก็บรายรับได้เพิ่มขึ้นในอนาคต และทำให้เสถียรภาพทางการคลังปรับดีขึ้นในท้ายที่สุด

    1 โดยอาศัยความสัมพันธ์ = (+1 − ) +

    2 สัดส่วนการลงทุนต่อ GDP ที่ทำให้ไทยสามารถหลุดพ้นจาก กับดักรายได้ปานกลางที่แสดงในรูปเป็นค่าสูงสุดที่แบบจำลองคำนวณได้

    3 ค่า Forward multipliers และ Spillover จาก SAM 2012 (รูปที่ 5) สามารถตีความได้ว่า หากไทยยังคงรูปแบบการลงทุนเช่นปัจจุบัน (Base case) 1 บาท จะสามารถสร้าง GDP ผ่าน sector ต่าง ๆ ได้ 1.40 บาท แต่หากจัดสรรเงิน รูปที่ 5: ค่า Forward multipliers และ Spillover ต่อ GDP ไปยัง Sector ต่าง ๆ 3 ที่มา: SAM (2012) และคำนวณโดยผู้เขียน 1 บาท ไปลงทุนในภาค Logistics หรือ ICT จะสามารถสร้าง GDP ได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.60 และ 1.85 บาท ตามลำดับ

    4 โดยในปี 2012 ระบบ ICT ของไทยยังคงเป็นการใช้เทคโนโลยี 3G ซึ่งพบว่า ประโยชน์ของการลงทุนในภาค ICT ส่วนใหญ่ตกอยู่กับภาค ICT เอง (รูปที่ 5) เนื่องจากการใช้งานของเทคโนโลยี 3G โดยทั่วไปยังเป็นเพียงการรับส่งข้อมูลผ่าน โทรศัพท์หรืออินเตอร์เน็ตขั้นพื้นฐาน สำหรับการลงทุนในภาค ICT ในระยะข้างหน้า ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยี 5G งานศึกษานี้ได้อ้างอิงงานศึกษาของ กสทช. (2018) และ IHS (2017, 2019) เพื่อนำมาใช้ปรับค่า Forward multipliers และ Spillover โดย พบว่าเทคโนโลยี 5G สามารถสร้าง Spillover ให้กับภาคอื่น ๆ ได้มากขึ้น โดยเฉพาะ ภาคการผลิตจากการใช้Industrial Internet of Things (IIoTs) และภาคบริการอื่น ๆ ซึ่งสูงกว่าเทคโนโลยี 3G หลายเท่าตัว

    โดย พิรญาณ์ รณภาพ, เกริกเกียรติ พรหมมินทร์ และ กุลนันท์ จุนทองวิรัตน์



    Source: BOT Website
    https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/Pages/FAQ176.aspx
     
  10. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผู้ว่าฯ จ.นครราชสีมา ระดม จนท.เข้าช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากกรณี "ฝายเก็บน้ำลำตาโง่" พังเสียหาย ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ มีผู้บันทึกภาพนาทีที่ฝายถูกน้ำซัดจนฝากแตกไว้ได้ #วันใหม่ไทยพีบีเอส #ThaiPBS #น้ำท่วม #น้ำท่วมโคราช

     
  11. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เกิดเหตุดินถล่มค่ายทหารในพื้นที่ภาคกลางของเวียดนาม ทำให้ทหารเวียดนามเสียชีวิตและสูญหาย 22 คน #ข่าวดึก #ThaiPBS

     
  12. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หน่วยกู้ภัยเวียดนามกู้ร่างทหารที่เสียชีวิตจากเหตุดินถล่มทับค่ายทหาร ได้แล้ว 11 นาย พร้อมเร่งค้นหาทหารที่ยังสูญหาย

    อ่านต่อ : https://news.thaipbs.or.th/content/297510 #ThaiPBS #ดินถล่ม

     
  13. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โฆษกกระทรวงต่างประเทศออสเตรีย แถลงว่านายอเล็กซานเดอร์ แชลเลนเบิร์ก รมว.ต่างประเทศ ติดเชื้อ COVID-19 และอาจได้รับเชื้อในระหว่างการประชุมกับบรรดา รมว.ต่างประเทศของ EU #ทันข่าวเด่น #ThaiPBS #COVID19 #โควิด19

     
  14. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผวจ.ตาก สั่งปิดด่านพรมแดนไทย-เมียนมา ทั้งด่านถาวรและช่องทางธรรมชาติทุกแห่ง จนถึง 25 ต.ค.นี้ หลังครอบครัวชาวเมียนมาติดเชื้อ #โควิด19 จำนวน 5 คน #ThaiPBS #ทันข่าวเด่น

     
  15. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำป่าหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนใน จ.กาญจนบุรี #ThaiPBS

     
  16. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำกำมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ 1 ล้านตันลงทะเล! คาดเริ่มในปี 2022 หวั่นทำลายประมง-ปัญหาเกาหลี

    (Reuters) ภายหลังเกือบสิบปีของเหตุการณ์หายนะนิวเคลียร์ Fukushima รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจปล่อยน้ำเสียเกือบ 1 ล้านตันที่ปนเปื้อนลงทะเล โดยจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการภายในสิ้นเดือนนี้

    การตัดสินใจนี้จะทำให้เกิดปัญหากับประเทศอย่างเกาหลีใต้ ซึ่งได้มีการทดสอบสารกำมันสีในอาหารที่มาจากญี่ปุ่นแล้ว และจะทำลายอุตสาหกรรมประมงใน Fukishima หลังต่อสู้กับการปล่อยน้ำปนเปื้อนดังกล่าวเป็นเวลาหลายปี

    การทิ้งน้ำเสียจากโรงนิวเคลียร์ใน Fukushima Daiichi ได้ส่งปัญหาที่สะสมในญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน โดยมีน้ำที่ปนเปื้อนกำมันตรังสีกว่า 1.2 ล้านตันที่ถูกสะสมไว้ในที่เก็บใหญ่ในสถานที่ดังกล่าว

    โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima เผชิญปัญหาความเสียหายหลายครั้งหลังแผ่นดินไหว และซึนามิในปี 2011

    เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม Hiroshi Kajiyama เผยว่ายังไม่มีการตัดสินใจในเรื่องการทิ้งน้ำเสีย แต่รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายว่าจะตัดสินใจในเร็วๆนี้

    หนังสือพิมพ์ Asahi รายงานว่าการปล่อยน้ำเสียนี้คาดว่าจะใช้เวลา 2 ปีในการเตรียมตัว เนื่องจากน้ำปนเปื้อนดังกล่าวจำเป็นต้องผ่านขบวนการกรองก่อนที่จะนำไปทำให้เจือจางกับน้ำทะเลก่อนที่จะปล่อยลงทะเล

    ในปี 2018 บริษัทที่ให้บริการโรงไฟฟ้าดังกล่าวคือ Tokyo Electric ยอมรับว่าระบบกรองนั้นไม่ได้นำวัตถุอันตรายทั้งหมดออกจากน้ำที่เก็บจากท่อคูลลิ่ง

    เขาบอกว่าได้วางแผนที่จะนำอนุภาคกัมมันตภาพรังสีจากน้ำทั้งหมดออก ยกเว้น Tritium ไอโซโทปกัมมันตรังสี ที่พิจารณาแล้วว่าไม่เป็นอันตราย โดยส่วนนี้เป็นส่วนปกติที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลกจะทิ้งลงทะเล

    เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตัวแทนอุตสาหกรรมประมงกระตุ้นรัฐบาลให้ห้ามการปล่อยน้ำปนเปื้อนดังกล่าวจากโรงไฟฟ้าลงทะเล และเผยว่ามันอาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะคืนชื่อเสียงมาได้

    เกาหลีใต้ยังคงการแบนการนำเข้าของอาหารทะเลจาก Fukushima ตั้งแต่หลังเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ Fukushima ในปี 2011

    ที่มา

    https://uk.reuters.com/article/us-j...aminated-water-into-sea-reports-idUKKBN27037O

    https://www.dailymail.co.uk/news/ar...ump-million-tonnes-radioactive-water-sea.html

    https://www.theguardian.com/world/2...-of-contaminated-fukushima-water-into-the-sea

    ร่มธรรม ขำนุรักษ์

     
  17. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทริเทียม

    [การที่ทริเทียมอยู่ในสภาพของน้ำได้ ทำให้ต้องระมัดระวังไม่ให้รับเข้าสู่ภายในร่างกาย เช่น โดยการรับเข้าทางปาก เพราะแม้ว่ารังสีจากการสลายของทริเทียมเป็นรังสีบีตาพลังงานต่ำไม่สามารถทะลุผ่านหนังกำพร้าของคนได้ แต่ก็มีอันตรายมากกว่าเมื่อได้รับทริเทียมเข้าไปในร่างกายเพราะเมื่อเป็นน้ำก็สามารถกระจายไปทั่วร่างกายภายใน 1-2 ชั่วโมงและให้รังสีบีตาแก่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ นอกจากนี้ทริเทียมยังสามารถดูดซึมผ่านผิวหนังหรือแผลได้ด้วย อย่างไรก็ดีแม้ทริเทียมจะมีครึ่งชีวิตยาวดังกล่าวแล้วข้างต้น แต่ก็มีครึ่งชีวิตทางชีวภาพ 9.4 วันหรือมักจำกันว่าประมาณ 10 วัน กล่าวคือร่างกายสามารถขับทริเทียมออกจากร่างกายได้ครึ่งหนึ่งภายใน 10 วัน แต่หากได้รับทริเทียมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่สูงก็อาจใช้วิธีดื่มน้ำมาก ๆ 10 เท่าของการดื่มน้ำตามปกติในแต่ละวัน ก็จะสามารถขับทริเทียมออกได้ครึ่งหนึ่งภายใน 3-4 วัน]

    สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข
    กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์
    สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)


    ทริเทียม (tritium) เป็นไอโซโทปหนึ่งในสามชนิดของอะตอมไฮโดรเจนซึ่งได้แก่ ไฮโดรเจนธรรมดาหรือโปรเทียม ดิวเทอเรียม และทริเทียม (มีสัญลักษณ์ T หรือ 3H) องค์ประกอบของทริเทียมมีนิวเคลียสเกาะกันอยู่ด้วยอนุภาคมูลฐาน 2 ชนิดคือ โปรตอน 1 อนุภาคกับนิวตรอน 2 อนุภาค และมีอนุภาคมูลฐานอีกชนิดหนึ่งคืออิเล็กตรอนอีก 1 อนุภาคโคจรอยู่รอบนิวเคลียส ทริเทียมเป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีโดยเกิดการสลายกัมมันตรังสีแบบการสลายให้รังสีบีตา (b-) หรือก็คืออนุภาคอิเล็กตรอน ด้วยครึ่งชีวิต 12.32 ปี โดยแปรเป็นธาตุฮีเลียม-3 ดังสมการ


    3H --> 3He +b- + anti-neutrino





    นิวเคลียสของไอโซโทป 3 ชนิดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม ดิวเทอเรียม และทริเทียม
    (ภาพ: http://education.jlab.org/)
    ในธรรมชาติทริเทียมเกิดอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกโดยปฏิกิริยาของรังสีคอสมิกกับแก๊สต่าง ๆ โดยเฉพาะไนโตรเจนและไฮโดรเจนด้วยปฏิกิริยา


    14N + 1n --> 3H + 12C

    และ

    2H + 2H --> 3H + 1H


    นอกจากนี้ทริเทียมยังเกิดได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ระหว่างนิวตรอนกับลิเทียม-6 หรือกับลิเทียม-7 รวมทั้งกับโบรอน-10 ที่มนุษย์จงใจทำขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ที่ไม่ได้ตั้งใจทำขึ้นเช่นในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบแคนดู (CANDU) ที่ใช้น้ำมวลหนักเป็นตัวหน่วงความเร็วนิวตรอน (moderator) ดิวเทอเรียมในน้ำมวลหนักก็สามารถจับยึดนิวตรอน (neutron capture) และแปรไปเป็นทริเทียมได้ อนึ่ง บางครั้งปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียสก็ให้ผลผลิตเป็นทริเทียมได้เช่นกัน ในอัตรา 0.01% หรือ 1 ต่อ 10000 ครั้งของการแบ่งแยกนิวเคลียส

    สมบัติสำคัญทางฟิสิกส์ของทริเทียมคือมีมวลเชิงอะตอมเท่ากับ 3.0160492 และตามปกติมีสถานะเป็นแก๊สคือ T2 หรือ 3H2 โดยเมื่อรวมตัวกับอะตอมออกซิเจนก็จะมีสถานะเป็นของเหลวคือ น้ำทริชิเอต (tritiated water) หรือ T2O และในบางโอกาสก็อาจเกิดเป็นน้ำทริชิเอตบางส่วน (partially tritiated water) หรือ HTO ก็ได้

    การที่ทริเทียมอยู่ในสภาพของน้ำได้ ทำให้ต้องระมัดระวังไม่ให้รับเข้าสู่ภายในร่างกาย เช่น โดยการรับเข้าทางปาก เพราะแม้ว่ารังสีจากการสลายของทริเทียมเป็นรังสีบีตาพลังงานต่ำไม่สามารถทะลุผ่านหนังกำพร้าของคนได้ แต่ก็มีอันตรายมากกว่าเมื่อได้รับทริเทียมเข้าไปในร่างกายเพราะเมื่อเป็นน้ำก็สามารถกระจายไปทั่วร่างกายภายใน 1-2 ชั่วโมงและให้รังสีบีตาแก่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ นอกจากนี้ทริเทียมยังสามารถดูดซึมผ่านผิวหนังหรือแผลได้ด้วย อย่างไรก็ดีแม้ทริเทียมจะมีครึ่งชีวิตยาวดังกล่าวแล้วข้างต้น แต่ก็มีครึ่งชีวิตทางชีวภาพ 9.4 วันหรือมักจำกันว่าประมาณ 10 วัน กล่าวคือร่างกายสามารถขับทริเทียมออกจากร่างกายได้ครึ่งหนึ่งภายใน 10 วัน แต่หากได้รับทริเทียมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่สูงก็อาจใช้วิธีดื่มน้ำมาก ๆ 10 เท่าของการดื่มน้ำตามปกติในแต่ละวัน ก็จะสามารถขับทริเทียมออกได้ครึ่งหนึ่งภายใน 3-4 วัน




    ครึ่งชีวิตทางชีวภาพของทริเทียม
    (ภาพ: http://www.physics.isu.edu/radinf/tritium.htm)
    มีการนำทริเทียมมาใช้ประโยชน์หลายด้าน โดยที่รังสีบีตาหรืออนุภาคอิเล็กตรอนสามารถให้พลังงานงานแก่สารเรืองแสง (phosphor) และเกิดการเรืองแสงขึ้นได้ จึงมีการนำทริเทียมมาผสมกับสารเรืองแสงมาใช้ทำพรายน้ำสำหรับให้แสงเรืองในที่มืด เช่นใช้บนหน้าปัดนาฬิกา สัญลักษณ์ทางเข้า-ออก (ในโรงภาพยนตร์) และศูนย์เล็งของอาวุธปืน โดยเมื่อก่อนสิ่งเหล่านี้ใช้เรเดียมที่ให้รังสีแกมมาซึ่งรังสีสูงกว่ามากและอาจเป็นอันตรายได้หากไม่ระมัดระวัง



    พรายน้ำหน้าปัดนาฬิกา (ภาพ: วิกิพีเดีย)
    ทริเทียมยังเป็นความหวังทางพลังงานของโลกในอนาคตด้วยปฏิกิริยาฟิวชันระหว่างดิวเทอเรียมกับทริเทียม (D-T reaction) ซึ่งในอนาคตจะสามารถทำได้ในเชิงพาณิชย์

    นอกจากนี้การทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในบรรยากาศหลายครั้งในอดีตช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ทำให้ปริมาณทริเทียมในบรรยากาศขณะนั้น ๆ สูงกว่าปกติและค่อย ๆ ตกลงสู่พื้นโลกและกลับเป็นประโยชน์โดยไม่ได้คาดหมาย เช่น นักสมุทรศาสตร์นำระดับทริเทียมที่สูงโด่งขึ้นมานี้ มาใช้คำนวณอัตราการผสมกันของระดับชั้นน้ำในมหาสมุทรได้ หรือนักธรณีเคมีใช้ปริมาณทริเทียมในน้ำใต้ดินมาคำนวณอายุ ทิศการไหล และแหล่งของน้ำใต้ดิน
    http://www0.tint.or.th/nkc/nkc51/nkc5101/nkc5101w.html
     
  18. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข้อมูลจาก มหาวิทยาลัย จอนส์ ฮอพกินส์ ณ บ่ายวันศุกร์ ตามเวลาในสหรัฐฯ ชี้ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกอยู่ที่กว่า 39 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ไปแล้วกว่า 1.1 ล้านคน

     
  19. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    19 ตุลาคม : อัปเดตสถานการณ์ #โควิด19รอบโลก⁣⁣⁣⁣⁣⁣ ⁣ผู้ติดเชื้อรวมทะลุ 40 ล้านราย⁣

    ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา #ทวีปยุโรป มีสถิติพบผู้ติดเชื้อเฉลี่ยมากถึงวันละ 140,000 ราย และกำลังเผชิญการระบาดระลอกใหม่ จนรัฐบาลหลายประเทศต้องกลับมาใช้มาตรการเข้มงวดใหม่อีกครั้ง ขณะที่ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 400,000 รายในวันเดียวเป็นครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 17 ต.ค. 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มเป็น 40,280,249 ราย⁣

    #โควิด19 #COVID19 #ไทยรัฐออนไลน์ #Thairath

     
  20. สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    “ฐปนีย์” เผยแพร่เอกสาร คำสั่ง กอร.ฉ. ระงับการออกอากาศ ยืนยันปฏิบัติหน้าที่ต่อ⁣

    19 ตุลาคม : เมื่อเวลา 09.20 น. ฐปนีย์ เอียดศรีไชย ผู้สื่อข่าว The Reporter โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เป็นภาพเอกสารคำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เรื่อง ให้ตรวจสอบและระงับการออกอากาศรายการ⁣

    ระบุข้อความว่า “ตรวจสอบแล้ว เป็นเอกสารจริง” และจะมีการแถลงชี้แจงในเวลา 10.00 น. แต่ยังไม่มีคำสั่งใดๆ มาถึงกองบรรณาธิการ จึงจะปฏิบัติตามหน้าที่ของสื่อต่อไป⁣

    โดยเอกสารดังกล่าวระบุว่าการออกอากาศรายการมีเนื้อหาสาระบางส่วนที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนทางโทรทัศน์ ได้แก่ “วอยซ์ ทีวี” และสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ Voice TV , ประชาไท prachathai.com , The Reporter , The Standard และเยาวชนปลดแอก Free Youth เตรียมดำเนินการเพื่อตรวจสอบ และระงับการออกอากาศแล้วแต่กรณี⁣

    #ฐปนีย์เอียดศรีไชย #ระงับการออกอากาศ #พรกฉุกเฉิน #กอรฉ #TheReporter #ไทยรัฐออนไลน์ #Thairath
     

แชร์หน้านี้