ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือมีญาติพี่น้องมีโรคประจำตัวครับ......
    .
    “รู้ชัดก่อนฉีด เคลียร์ปมคาใจ วัคซีนโควิด-19”
    .
    “มีโรคประจำตัว ควรฉีดหรือไม่ ?”
    .
    Hfocus ร่วมกับ The Active และ PostToday จัดรายการถาม-ตอบเคลียร์ทุกข้อสงสัย โดย
    .
    พลอากาศโท นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และที่ปรึกษา ศูนย์โรคไต รพ.ภูมิพลอดุลยเดช

    รศ.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ อดีตนายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย และหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคมะเร็งครบวงจร รพ.จุฬาลงกรณ์ และ

    รศ.นพ. สมศักดิ์เทียมเก่า สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    .
    ถ่ายทอดสดผ่าน facebook live สำนักข่าว Hfocus The Active และ PostToday
    .
    วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคมนี้ เวลา 14.00-16.00 น.
    .
    ส่งคำถามผ่านทาง comment facebook live ทั้ง 3 สำนักข่าว
    #Hfocus #TheActive #PostToday #เคลียร์ปมวัคซีน #โรคประจำตัวฉีดได้หรือไม่ #โควิด19 #วัคซีน
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ช่วง 1 - 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเคสผู้ป่วยโควิด-19 ใน 2 เมืองของอังกฤษคือ Blackburn และ Bolton เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทีมวิจัยของอังกฤษทำการถอดรหัสพันธุกรรมของตัวอย่างไวรัสที่เป็นสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของเคส และ พบว่า เป็นไวรัสสายพันธุ์อินเดีย B.1.617.2 เป็นส่วนใหญ่ที่เพิ่มสูงขึ้นใน 2 เมือง โดยสายพันธุ์อื่นๆมีแนวโน้มลดลง ค่อนข้างชัดว่า B.1617.2 แพร่กระจายได้ไว และ เป็นสาเหตุของเคสที่สูงขึ้น

    แต่ เมื่อทีมวิจัยเก็บข้อมูลลงรายละเอียดในเคสเหล่านั้นจะเห็นได้ชัดว่า กลุ่มที่ป่วยเป็นโควิดคือกลุ่มที่อายุน้อย 5 - 59 ปี โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กและวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่พบติดเชื้อสูงสุดทั้ง 2 เมือง ที่น่าสนใจคือ กลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน ไม่เห็นการเพิ่มขึ้นของเคสเหมือนกลุ่มอื่นๆ ข้อมูลแบบนี้เป็นข่าวดีครับ เพราะเป็นการบอกว่าวัคซีนที่อังกฤษฉีดให้กับผู้สูงอายุ (ส่วนใหญ่น่าจะเป็น AstraZeneca) มีแนวโน้มได้ผลต่อการควบคุมสายพันธุ์อินเดียตัวนี้ครับ แต่ ข้อมูลยังใหม่เกินที่จะสรุปได้เต็มที่แบบนั้น ต้องดูว่าผู้สูงอายุจะรักษาเส้นตรงแบบต่ำๆแบบนี้ได้ต่อไปยาวๆ

    ข้อมูลที่จำเป็นต้องติดตามต่อคือ ในจำนวนคนอายุน้อยๆที่เห็นเคสพุ่งขึ้นเหล่านั้นมีกี่ % ที่ได้รับวัคซีนไปแล้วบ้าง และ จำนวนคนป่วยหนักต้องเข้าโรงพยาบาลจะมีมากหรือน้อยกว่าตอนสายพันธุ์ B.1.1.7 ระบาด ซึ่งจะทำให้เรารู้จักไวรัสตัวนี้มากขึ้น แต่จากข้อมูลตอนนี้ฝรั่งจะพูดว่า So far so good
    FB_IMG_1621003109238.jpg FB_IMG_1621003111498.jpg FB_IMG_1621003113797.jpg
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    หน่วยงาน Public Health England (PHE) เปลี่ยนสีระดับความมั่นใจเรื่องความสามารถการแพร่กระจายของเชื้ออินเดีย B.1.617.2 จาก Moderate เป็น High (สีแดง) เมื่อวานนี้ เนื่องจากมีหลักฐานชี้ชัดว่า ไวรัสสายพันธุ์นี้แพร่กระจายได้ไวกว่าสายพันธุ์ทั่วไปจริงๆ ไวกว่าสายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 หรือไม่ยังไม่ชัดเจน แต่คงไม่ด้อยไปกว่ากันแน่นอน

    ประเด็นเรื่องของหนีวัคซีน และ หนีภูมิคุ้มกัน ยังไม่เปลี่ยนสี เนื่องจากข้อมูลที่มียังน้อย และ ตัวอย่างที่ใช้ยังไม่เยอะมาก

    ความรุนแรงของการก่อโรคยังไม่มีสี เพราะ ไม่มีหลักฐานบ่งชี้มากเพียงพอ ณ ตอนนี้
    FB_IMG_1621003262912.jpg
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สนามแข่งนี้ยังไม่สรุปผลแพ้ชนะ ผมเชื่อว่าน้องใหม่จากอินเดีย ส่งเข้าแข่งในนาม B.1.617.2 จะแซงจ่าฝูงในไม่ช้า หลังจากนั้นจะมีน้องใหม่มาแย่งตำแหน่งแชมป์อีกหรือเปล่าคงต้องดูกันต่อไป ... จากหน้าปกวารสาร Cell ฉบับล่าสุด

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    UPDATE : ศบค. อัปเดตผลตรวจหาเชื้อ #โควิด19 ตามสถานที่ตรวจใน กทม. 12 พ.ค. 64

    • ชุมชนสีลม เชื่อมโยงกับพ่อค้าพลอยชาวกินีที่จันทบุรี ตรวจไป 1,016 คน พบเชื้อ 107 คน (10.53%)

    • สนามกีฬาธูปเตมีย์ ตรวจ 1,278 คน พบเชื้อ 68 คน (5.32%)

    • รวมๆ หลายจุด ตรวจไปทั้งหมด 7,247 คน พบเชื้อ 359 คน คิดเป็น 4.95%

    เท่ากับ ในกทม. คน 100 คนรอบตัวในบางพื้นที่ พบผู้ติดเชื้อเฉลี่ยประมาณ 5 คน

    https://www.prachachat.net/breaking-news/news-669279

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    14/05/2021@13:33 เกิดเหตุแผ่นดินไหว ขนาด 6.8 ลึก 10 กม. บริเวณเกาะ Nias ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตราห่างจากจังหวัดภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 865 กิโลเมตร #ไม่มีสึนามิ
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    14/05/3/2021@14:01 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.4 ที่ความลึก 57 กิโลเมตร บริเวนเกาะ Nias ทางตอนเหนือของหมู่เกาะสุมาตราห่างจากจังหวัดภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 880 กิโลเมตร #ไม่มีสึนามิ

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    14/05/2021@20:15 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.2 ที่ความลึก 57 กิโลเมตรบริเวณหมู่เกาะ Nias ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ห่างจากจังหวัดภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 870 กิโลเมตร #ไม่มีสึนามิ วันนี้ไหวหลายครั้ง

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ประชากรสูงวัย ไม่ใช่ไร้ค่า มีส่วนสำคัญในการพัฒนา ‘เศรษฐกิจสีเงิน’
    .
    1/ สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยตัวเลขจำนวนประชากรจีนจากการสำรวจครั้งล่าสุด (10 ปี สำรวจใหญ่ครั้งนึง) ชาวจีนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วน 18.7% 264 ล้าน 2 หมื่นคน สูงกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
    .
    2/ ส่วนชาวจีนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีสัดส่วน 13.5% 190 ล้าน 6 แสน 4 หมื่นคน จากจำนวนประชากรจีนทั้งหมด 1,412 ล้านคน
    .
    3/ หนิง จี๋เจ๋อ หัวหน้าสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน บอกว่า ประชากรสูงวัยไม่ใช่ปัญหา แต่กลับเป็นตัวบ่งชี้ทิศทางสำคัญของการพัฒนาสังคมจีน เพื่อสร้างพื้นฐานระดับชาติระยะยาว นี่ไม่ใช่ปัญหาแต่เป็นโอกาสและความท้าทาย
    .
    4/ จำนวนประชากรสูงวัยที่เพิ่มสูงขึ้น ต้องยอมรับว่า ทำให้จำนวนประชากรวัยแรงงานลดลง เพิ่มภาระการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว เพิ่มปริมาณการจัดสรรบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน
    .
    5/ แต่...ประชากรสูงวัยมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจสีเงิน (Silver Economy) / เศรษฐกิจสีเงิน คืออะไร?
    .
    6/ เศรษฐกิจสีเงินคือ เศรษฐกิจผู้สูงอายุ / จำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้น จะช่วยขยับขยายการบริโภคสินค้าและบริการสำหรับผู้สูงวัย กระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าการคิดค้นทางเทคนิคในด้านต่างๆเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้สูงวัย
    .
    7/ หลังจากจีนได้สถิติจำนวนผู้สูงอายุครั้งใหม่แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ส่งต่อข้อมูลให้ผู้ทำหน้าที่วางนโยบาย ออกมาตรการเฉพาะสำหรับประชากรสูงวัย
    .
    8/ จีนยืนยันว่า ประชากรสูงวัยจะเป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติทั้งปัจจุบันและอนาคต
    .
    ที่มา:
    -China's aging population a challenge, also an opportunity | www.xinhuanet.com/english/2021-05/11/c_139938732.htm
    -China to implement national strategy for addressing population ageing | www.xinhuanet.com/english/2021-03/05/c_139787396.htm
    .

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    นอนหลับฝันดีครับ

    แจ็คหม่าปรากฏตัว ร่วมงานประจำปีอาลีบาบา ที่เมืองหังโจว
    .
    1/ นับตั้งแต่แจ็คหม่ากล่าวสุนทรพจน์วิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงิน วิจารณ์ธนาคารกลางและคณะกรรมการกิจการการเงินของจีนว่า ‘ล้าหลัง’ / เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วที่เซี่ยงไฮ้ จากนั้นแจ็คหม่าแทบไม่ปรากฏตัวให้เห็นอีกเลย
    .
    2/ ‘แอนท์ไฟแนนเชียล’ ธุรกิจการเงินอิเล็กทรอนิกส์ในเครืออาลีบาบา ถูกรัฐบาลจีนสั่งระงับการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์อย่างกะทันหัน ทำให้อาลีบาบาสูญโอกาสทำเงินก้อนโต และยังถูกรัฐบาลจีนสั่งปรับเงินจำนวนมหาศาลมากเป็นประวัติการณ์ 2.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการถูกตรวจสอบพบว่า ละเมิดกฎหมายป้องกันการผูกขาด
    .
    3/ ล่าสุด จันทร์ที่ 10 พ.ค. มีผู้พบเห็นแจ็คหม่า สวมเสื้อสีน้ำเงิน กางเกงขายาวสีขาว โดยสารรถบัสภายในอาลีบาบาสำนักงานใหญ่ พร้อมกับผู้บริหารของอาลีบาบาจำนวนหนึ่ง / หลายๆคนที่ได้เห็นแจ็คหม่า บอกว่า ตื่นเต้นมาก แต่ก็เสียดายที่ไม่มีโอกาสได้ถ่ายรูปด้วย
    .
    4/ อาลีบาบาระบุว่า แจ็คหม่ามาร่วมงานประจำปีของบริษัท Ali Day จันทร์ที่ 10 พ.ค. ที่สำนักงานใหญ่อาลีบาบา เมืองหังโจว
    .
    5/ สื่อรายงานว่า แจ็คหม่าปรากฏตัวช่วงเวลาสั้นๆ เร็วจนถ่ายรูปเกือบไม่ทัน แจ๊คหม่าโทรมไปเยอะ ดูซูบผอม ดูแก่ไปมาก ผมหงอกขึ้นเต็มเห็นชัด แจ็คหม่าทักทายและถ่ายรูปกับพนักงานด้วยรอยยิ้ม แต่ใบหน้าแฝงไปด้วยความอ่อนล้า
    .
    6/ ในโลกโซเชียล ชาวจีนคอมเมนท์กันว่า ไม่น่าเชื่อว่านี่คือแจ็คหม่า ผู้ที่ออกกำลังกายด้วยมวยไทเก๊กจนแข็งแรง และเคยมีแววตาที่มุ่งมั่น
    .
    7/ การปรากฏตัวก่อนหน้านี้ของแจ็คหม่าคือ เมื่อเดือนมกราคม แจ็คหม่าพูดคุยกับกลุ่มครูทางวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ แม้จะเป็นช่วงเวลาเพียงไม่กี่นาที แต่หุ้นของอาลีบาบาพุ่งสูงขึ้นทันที
    .
    8/ การดำเนินธุรกิจขั้นต่อไปของอาลีบาบาคือ แอนท์ไฟแนนเชียลกำลังวางแผนปรับโครงสร้างครั้งใหญ่เพื่อเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง ซึ่งแจ็คหม่าอาจจะถอนหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมด
    .
    ที่มา:
    -Jack Ma makes rare visit to Alibaba headquarters in Hangzhou | www.reuters.com/technology/jack-ma-makes-rare-visit-alibaba-headquarters-hangzhou-2021-05-10/
    -Jack Ma makes a rare appearance on Alibaba’s family day at company’s Hangzhou campus | www.scmp.com/tech/big-tech/article/3132946/jack-ma-makes-rare-appearance-alibabas-family-day-companys-hangzhou
    .

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เมื่อแผลใหญ่ที่สุดของระบบสาธารณสุขอย่าง “กทม.”
    กำลังถูกถล่มอย่างราบคาบ
    .
    จนถึงตอนนี้ 1 เดือน กับอีก 1 สัปดาห์ การระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ยังคงไม่เห็นตอนจบง่ายๆ ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ ยังคงอยู่ที่วันละ 2,000 ราย ตัวเลขผู้เสียชีวิตรายวัน ยังคงอยู่ที่วันละ 20 – 30 คน และที่น่ากังวลคือตัวเลขของผู้ป่วยหนัก ที่ทะลุเกิน 1,200 ราย และใช้เครื่องช่วยหายใจกว่า 406 ราย
    .
    หากวิเคราะห์ตัวเลขผู้ป่วยใหม่รายวัน จะพบว่าปัญหาใหญ่ ที่ยังไม่ถูกแก้ง่ายๆ ก็คือจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯ ตัวเลขเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม กรุงเทพฯ พื้นที่เดียว มีผู้ติดเชื้อเพิ่มกว่า 1,069 คน สะสมรวมตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน อยู่ที่ 22,474 คน และหากวัดจากกราฟ ย้อนหลังกลับไป ตัวเลขของผู้ป่วยในเขตกรุงเทพฯ นั้น ยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง แม้จะมีมาตรการเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นการปิดสถานที่เสี่ยงต่างๆ ไม่ให้รับประทานอาหารที่ร้านอาหาร ขอความร่วมมืองดออกจากบ้านหลัง 4 ทุ่ม หรือ ให้สวมหน้ากากอนามัย 100% และการที่ตัวเลขในกรุงเทพฯ ไม่ลด ก็ส่งผลกระทบไปยังจังหวัดบริวารรองเมืองหลวงอย่าง ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม ที่ไม่สามารถกดตัวเลขผู้ป่วยใหม่ได้มากนักเช่นกัน
    .
    คำถามก็คือ ทำไมตัวเลขผู้ป่วยใหม่ในกรุงเทพฯ ยังไม่ลด หากย้อนไปในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา “แผล” สำคัญ ในกรุงเทพฯ ได้ถูกเปิดออก นั่นคือ โควิด-19 ได้ลุกลามเข้าไปยังพื้นที่ชุมชนแออัดสำคัญอย่าง ชุมชนคลองเตย ซึ่งกว่าจะรู้ว่ามีผู้ติดเชื้อ ก็พบทีเดียวพร้อมกันหลายร้อยคน และแน่นอน สภาพการอยู่อาศัยในชุมชนแออัด บ้านหนึ่งอยู่กันหลายครอบครัว ยิ่งเอื้อมากยิ่งขึ้นให้เกิดการแพร่กระจายต่อ ทำให้ประชากรกว่า 1 แสนคน ในชุมชนแออัดคลองเตย ล้วนมี “ความเสี่ยง” ด้วยกันทั้งสิ้น
    .
    ขณะเดียวกัน กทม. ก็ไม่สามารถปิดพื้นที่คลองเตย - บ่อนไก่ ระดมตรวจเชิงรุก เหมือนแรงงานพม่าในมหาชัย และ "ไม่พร้อม" กับการปิดพื้นที่เพื่อตรวจเชิงรุกขนานใหญ่ โดยรัฐทำหน้าที่ดูแล คอยส่งข้าว - ส่งน้ำให้ ไปจนถึงดูแลด้านสุขภาพจิต เหมือนอย่างที่เคยทำกับคลัสเตอร์ "บางลาง" ที่ จ.ภูเก็ต เมื่อปีก่อน สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือ ขณะที่คนในชุมชนยังจำเป็นต้องออกไปทำมาหากินนอกชุมชน ภายในชุมชนเองพวกเขาก็เริ่มต้นที่ตัวเอง พยายามจัดการกันเอง ดูแลผู้ป่วยกันเอง ไปจนถึงส่งข้าวส่งน้ำกันเอง ในขณะที่กลไกอย่างกรุงเทพมหานครที่ควรจะดูแลประชาชนกลับไม่ทำอะไร และปล่อยให้ประชาชนดูแลกันเอง
    .
    เพราะฉะนั้น สิ่งที่รัฐทำได้ดีที่สุดรอบนี้ มีเพียงการเร่งตรวจเชิงรุก ระดมฉีดวัคซีน “ซิโนแวค” ให้กับชุมชนคลองเตยเท่านั้น ซึ่งก็อย่างที่รู้กัน ฉีดซิโนแวคเข็มแรก เข็มเดียว แทบจะไม่ได้มีความหมายใดๆ
    .
    ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ พื้นที่กรุงเทพฯ ไม่ได้มีชุมชนแออัดแห่งเดียว จากข้อมูลของกรุงเทพมหานคร พบว่าในกรุงเทพฯ มีชุมชนแออัดมากกว่า 680 แห่ง และสิ่งที่พบตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือ นับสิบๆ แห่ง ที่ กทม. ส่งทีมตรวจเชิงรุกลงไปนั้น พบผู้ติดเชื้อ ขณะที่อีกหลายแห่ง แม้จะมีผู้ติดเชื้อ แต่ก็ไม่มีทีมตรวจ ไม่มีชุดตรวจเชิงรุกลงไป และไม่ได้รับ “วัคซีน” เนื่องจากถึงตอนนี้ วัคซีนที่กรุงเทพมหานครมี ก็เริ่ม “ตึงมือ” ตราบใดที่วัคซีนของแอสตร้าเซเนก้าล็อตใหญ่ยังไม่เข้า
    .
    ที่น่าวิตกไปกว่านั้นก็คือ ข้อมูลจาก นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ที่ระบุว่า หากสถานการณ์ยังเป็นอย่างนี้ต่อไป กทม. จะมีเตียง ICU รองรับอีกเพียงแค่ 5 วัน เท่านั้น ขณะเดียวกัน แพทย์ - พยาบาล ที่ใช้ก็เริ่มไม่พอ ต้องดึงคนจากต่างจังหวัดมาช่วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าปัญหาในกรุงเทพฯ วิกฤตตั้งแต่ต้นทางคือการตรวจคัดกรอง การนำคนส่งต่อเข้าสู่ระบบ เรื่อยไปจนถึงขั้นตอนการรักษา
    .
    Gossipสาสุข เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า “แผลใหญ่” ของระบบสาธารณสุขไทย ที่ดีติดอันดับโลกนั้น คือ “เมืองหลวง” เมืองที่มีประชากรกว่า 10 ล้านคน ที่กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้ดูแล มีโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพียงไม่กี่แห่ง และถึงแม้จะมีโรงพยาบาลใหญ่ของมหาวิทยาลัย อย่างจุฬาลงกรณ์ รามาธิบดี ศิริราช แต่ละแห่ง ก็ไม่ได้เชื่อมโยงกัน ไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับกระทรวงสาธารณสุข ชนิด “สั่งได้” หรือบริหารจัดการได้ ขณะเดียวกัน ลำพังโรงพยาบาลพวกนี้ ก็มีคนไข้แน่นขนัดอยู่แล้ว ไม่เพียงเท่านั้น คนไข้สิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม ก็มีตัวเลือกชนิดจำกัดจำเขี่ย ไม่ได้มี “โรงพยาบาลเขต” เหมือน “โรงพยาบาลอำเภอ” ในต่างจังหวัด ยิ่งระดับ “ปฐมภูมิ” ยิ่งตัดขาด คนกรุงเทพฯ แทบไม่รู้ว่าตัวเอง ถ้าเจ็บป่วยเล็กน้อย ต้องใช้บริการตามลำดับขั้นอย่างไร
    .
    จริงอยู่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอย่าง กทม.นั้น มีสำนักการแพทย์ มีสำนักอนามัย และมีงบประมาณไม่น้อย แต่ก็ไม่เคยถูกวางระบบ ให้รองรับกับการเจ็บป่วยสเกลใหญ่ๆ หรือ “โรคระบาด” เอาง่ายๆ ที่ผ่านมา ลำพังแค่ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ก็มีปัญหาแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อถึงเวลาการจัดการด้านสาธารณสุขจริง กระทรวงสาธารณสุข ไม่มีอำนาจสั่งการไปที่ กทม. ไม่มีมือไม้ ไม่มีโรงพยาบาลของตัวเอง สิ่งที่เกิดขึ้นในกทม. จึง “ยับ” ไม่เป็นท่า ตั้งแต่ช่วงการระบาดแรกๆ ที่หารถพยาบาล หาเตียงไม่ได้
    .
    วิธีแก้ปัญหาของรัฐบาล และ ศบค. ก็คือการ “รวบอำนาจ” กลับมา ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ใน กทม. - ปริมณฑล อีกตำแหน่ง สามารถระดมสรรพกำลังทุกหน่วยงาน คน - เงิน - ของ ลงมาอย่างไรก็ได้ เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อใน กทม.และเมืองบริวารให้ได้ โดยมีคำสั่งที่ พล.อ.ประยุทธ์ ลงนาม แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ ไปแล้ว เมื่อ 5 พ.ค. ที่ผ่านมา
    .
    ฟังดูเหมือนดี.. แต่ถามว่าหลังจากนั้น ผ่านมาแล้ว 1 สัปดาห์เศษ เกิดอะไรขึ้นหรือไม่ สถานการณ์ดีขึ้นหรือไม่? คำตอบก็คือไม่.. ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มขึ้น กทม. ยังคงเจอคลัสเตอร์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดคือที่แคมป์คนงานย่านแจ้งวัฒนะ ที่ตรวจ 300 คน เจอผู้ติดเชื้อ 196 คน มิหนำซ้ำ การ “ตรวจเชิงรุก” ก็ไม่ได้กระจายไปทั่วถึงทุกชุมชนแออัด ซึ่งหมายความว่า ยังมีผู้ที่อาจติดเชื้ออีกมาก ที่ไม่ได้เข้าถึงการตรวจ แม้แต่ความขัดแย้ง ระหว่าง ส.ส.พื้นที่ กับการตั้ง “โรงพยาบาลสนาม” ท่าน ผอ. ก็ยังใช้เวลาแก้นานนับสัปดาห์
    .
    นอกจากนี้ การประชุม ศบค. เมื่อวันที่ 13 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่จำนวนผู้ป่วยรวมคลัสเตอร์เรือนจำรายวัน รวมแล้วแตะ 5,000 รายนั้น Gossipสาสุข ยังได้ยินว่าเกิดมหกรรม “โยนกลอง” เมื่อ กทม. ขอให้แบ่งผู้ป่วยบางส่วนไปรักษาที่โรงพยาบาลสนามของสมุทรสาคร ซึ่งเคยจัดการได้ผลมาแล้วจากกรณีแรงงานพม่า แต่สิ่งที่สมุทรสาครตอบกลับก็คือ ก็แล้วทำไม กทม. ไม่ทำโรงพยาบาลสนามเอง? ซึ่งประธานที่นั่งอยู่หัวโต๊ะ ก็นั่งฟังอย่างเดียว ไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้จัดการอะไร ไม่เคาะ และไม่ฟันธง
    .
    ผลงานตลอด 1 สัปดาห์เศษของการแก้ไขปัญหาผู้ติดเชื้อใน กทม. - ปริมณฑล ของ “ลุงตู่” ตลอดอาทิตย์กว่าๆ จึงมีเพียงการไปเดินเยี่ยมชมพื้นที่ฉีดวัคซีนของเอกชนเท่านั้น แทบไม่มีการแก้ไขเชิงระบบใดๆ ที่เป็นรูปธรรม
    .
    ฉะนั้น หากสถานการณ์ในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล และระบบ “การจัดการ” ยังคงเป็นไปอย่างนี้ต่อไป ก็แปลได้ว่า สถานการณ์จะ “เรื้อรัง” ขึ้นเรื่อยๆ และก็หมายความว่าห้อง ICU นั้น จะเต็มจนล้น ต้องระดมแพทย์ - บุคลากรทางการแพทย์ จากต่างจังหวัด เพื่อเข้ามาช่วยเมืองหลวงอย่างแน่นอน
    .
    เพราะฉะนั้น ช่วงเวลานี้ คนกรุงเทพฯ – ปริมณฑล อาจต้อง “พึ่งตัวเอง” ให้มาก เพราะมีความเป็นไปได้สูง ที่ “ระบบ” อาจไม่สามารถดูแลท่านได้แล้ว และวิกฤตนี้ ในเมืองใหญ่เมืองนี้ ก็มีความเป็นไปได้สูง ที่จะต้องทนทุกข์นานกว่าจังหวัดอื่นๆ
    .
    เพราะหันไปมองปัจจัยบวกรอบตัวแล้ว ไม่มีทางอื่นเลย นอกจากรอการเร่งฉีดวัคซีนให้รวดเร็วที่สุด..

    #COVID19 #โควิด19 #กทม #กรุงเทพ #Gossipสาสุข

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เมื่อความไม่เชื่อมั่นในวัคซีน
    คือเรื่องเดียวกับ ความไม่เชื่อมั่นใน “รัฐบาล”
    .
    อันที่จริง ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร และไม่ใช่ความผิดใดของสื่อ ที่ ณ วันนี้ ประชาชน จะลงทะเบียนเพื่อรอรับวัคซีนไม่มากอย่างที่หลายคนคิด จนถึงวันนี้ มีคนลงทะเบียน “หมอพร้อม” เพียง 1.7 ล้านคน จากเป้า 17 ล้านคน และในหลายพื้นที่ ทั้งในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดใหญ่ๆ บรรดาหน่วยงานสาธารณสุข ก็ต้องเร่ง “ทำยอด” หาคนมาฉีดวัคซีน เพราะด้วยตัวเลขขณะนี้ นับว่า “ไม่น่าพอใจ” อย่างแรง ทำให้วัคซีน “ซิโนแวค” ซึ่งเป็นวัคซีนหลักที่ใช้ขณะนี้ เหลือบานเบอะในหลายพื้นที่
    .
    ความไม่เชื่อมั่นดังกล่าว ทำให้รัฐบาลต้องเร่งเปลี่ยนวิธี “พีอาร์” ใหม่ จากเดิมที่บอกว่า วัคซีนไม่สำคัญ ไม่จำเป็น เท่า “หน้ากากผ้า” หรือ “ไทยชนะ - หมอชนะ” กลายเป็นเอาบรรดา “อาจารย์หมอ” มาโปรโมต เร่งให้ฉีดวัคซีน เพื่อหยุดเชื้อ เพื่อชาติ ให้นายกรัฐมนตรีออกมาโปรโมต เป็น “วาระแห่งชาติ” และเลยเถิดไปจนถึงพีอาร์แนว Victim Blaming ขอให้ฉีดวัคซีน เพื่อไม่ให้เป็น “ภาระ” ของสังคม..
    .
    เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่า หากสถานการณ์ยังคงเป็นไปในแบบนี้ คือคนไม่กระตือรือร้นที่จะฉีดวัคซีน จำนวนตัวเลขผู้ได้รับวัคซีนค่อยๆ ขยับขึ้นทีละน้อยๆ แบบนี้ การบรรลุ “ภูมิคุ้มกันหมู่” ทั่วประเทศ ที่จุดหมายปลายทางคือสิ้นปีนี้ อาจ “ไม่ง่าย” อย่างที่คิด
    .
    อันที่จริง เรื่องพวกนี้ไม่ใช่เหตุบังเอิญ การปฏิเสธวัคซีนในบ้านเรา ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไร เพราะ Key Message ที่ทั้งกระทรวงสาธารณสุข ทั้งรัฐบาล ย้ำมาตั้งแต่ต้นปี ในช่วงเวลาที่ชาติตะวันตก รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านแถวๆ นี้ เริ่มฉีดวัคซีนกันเป็นล่ำเป็นสันก็คือสถานการณ์ในไทยยังไม่มีการระบาดหนัก วัคซีนไม่ใช่สิ่งจำเป็นเท่ากับการ “ป้องกันตัวเอง” และในขณะนั้น ตลาดยังคงเป็นของ “ผู้ขาย” ไม่ใช่ของ “ผู้ซื้อ” เพราะฉะนั้น หากป้องกันตัวเองอย่างหนาแน่นไปสักระยะ อยู่กับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไปอีกสักระยะ วัคซีน ก็ไม่ใช่สิ่งรีบร้อนแต่อย่างใด
    .
    ในที่สุด ผ่านมาไม่กี่เดือน สถานการณ์กลับเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังเท้า เริ่มตั้งแต่การระบาดที่มหาชัย และภาคตะวันออกเมื่อต้นปี ทำให้ต้องลนลาน สั่งวัคซีน “ซิโนแวค” เข้ามาให้เร็วที่สุด แม้จะเป็น “ม้ารอง” แต่ทีมงานด้านสาธารณสุขยังเชื่อในความเป็นเทคโนโลยีดั้งเดิม การเป็นวัคซีนชนิด “เชื้อตาย” ว่าจะปลอดภัย แม้ผลการทดลองด้านประสิทธิภาพจะยังน้อย ยังไม่หนักแน่นเท่าวัคซีนตัวอื่น
    .
    ขณะเดียวกัน เมื่อ “แอสตร้าเซเนก้า” วัคซีนที่หวังเชิดหน้าชูตาประเทศไทย ก็ไม่ได้ผลิตเร็วเท่ากับช่วงเวลาที่ทั่วโลก เริ่มฉีดวัคซีนไปเป็นจำนวนมากแล้ว ซ้ำยังมีปัญหา หลายประเทศในยุโรป “ระงับฉีด” ด้วยปัญหาผลข้างเคียง ที่อาจจะทำให้เกิดลิ่มเลือดตามมาแม้เป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก
    .
    จะด้วยตั้งใจหรือไม่ก็แล้วแต่ ในช่วงเวลานั้น บรรดาหมอๆ ทั้งหลาย รวมถึงสื่อ และ IO ที่รัฐควบคุม ต่างก็ใช้วิธีการสื่อสารว่า วัคซีนแต่ละตัว “ล้วนมีปัญหา” ด้วยกันทั้งสิ้น และไทย ไม่จำเป็นต้องรีบฉีด เพราะสถานการณ์บ้านเราปลอดภัย ประเทศไทยดีที่สุดในโลก.. และเมื่อถึงเวลาหนึ่ง เราจะมีความมั่นคงด้านวัคซีนมากที่สุดในเอเชีย มากที่สุดในโลก จากการเป็นฐานการผลิตเอง
    .
    นั่นทำให้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา จนถึงวันนี้ ไทยมีวัคซีนหลักเพียงตัวเดียวคือ “ซิโนแวค” ที่สั่งแบบหน้าสิ่วหน้าขวานช่วงการระบาดในสมุทรสาคร อย่างที่ Gossipสาสุข เคยเขียนไปก่อนหน้านี้ วัคซีนซิโนแวคนั้น แทบไม่มี “ผลการศึกษา” หรือ “ผลการทดลอง” อื่นๆ ให้อ้างอิง ในแง่ประสิทธิผล จริงอยู่ การทดลองเฟส 3 แบบเร่งรีบนั้น ผลการทดลอง อาจมีไม่มากนัก เพราะเป็นแบบ “เร่งผลิต - เร่งใช้”
    .
    แต่เอาเข้าจริง เมื่อเทียบกับวัคซีนอื่นๆ ที่ผลิตโดยชาติตะวันตก หรือเทียบกับวัคซีนจีนอีกตัวอย่าง “ซิโนฟาร์ม” ก็พบว่ามีเปเปอร์ให้อ้างอิงมากกว่า และที่สำคัญคือมี “ประสิทธิผล” ที่เห็นชัดเจนกว่ามาก ด้วยเหตุนี้ ช่วงที่เราควรจะ “ปูพรม” ฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดเดือนมีนาคมทั้งเดือน จึงไม่สัมฤทธิ์ผล เพราะข้อเท็จจริงคือทั้งแพทย์ - พยาบาล - บุคลากรอื่นๆ ต่างก็ลังเลที่จะฉีด ซึ่งก็สมเหตุสมผล เพราะทุกคน ล้วนใช้ข้อมูลพื้นฐาน คือประสิทธิภาพ 50% ที่บราซิล.. รวมถึงการทดลองในห้วงเวลานั้น ที่ซิโนแวค ลดการติดเชื้อในชิลี ได้ไม่มากนัก..
    .
    ที่สำคัญก็คือในช่วงเวลาที่ควรจะ “สร้างความมั่นใจ” ให้กับวัคซีนซิโนแวคนั้น กระทรวงสาธารณสุข กลับตัดสินใจให้วัคซีนชนิดนี้ ฉีดเฉพาะประชากรที่มีอายุ 18-59 ปี เท่านั้น เพราะไม่มีข้อมูลพื้นฐานมากพอ สำหรับการใช้ในผู้สูงอายุ ได้ทำให้บรรดา “วีไอพี” และ “วีวีไอพี” จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี หรือแม้แต่ “อาจารย์หมอ” หลายคน ต่างก็ไม่ได้ฉีดวัคซีนชนิดนี้ ต้องไปใช้วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ซึ่งกลายเป็นวัคซีนอีกระดับแทน และ ณ วันนี้ ต่อให้นึกเร็วๆ ก็นึกไม่ออกว่า มี “คนดัง” คนไหนในไทยบ้างที่ฉีดซิโนแวคไปแล้วบ้าง นอกจาก อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เหตุและปัจจัยดังกล่าว ทำให้บรรดาคนที่เลือกได้ จึงเลือก “รอ” ให้ซิโนแวค หมดล็อต แล้วค่อยหันไปใช้อย่างอื่น
    .
    นอกจากนี้ การประกาศว่ารัฐบาลจะหาวัคซีนอื่นๆ มาเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น ไฟเซอร์ หรือ สปุตนิก วี กับการให้เอกชน สามารถจัดหา “วัคซีนทางเลือก” อย่าง “โมเดอร์นา” เข้ามาด้วย ในช่วงเวลาการระบาดระลอก 3 ก็ยิ่งทำให้หลายคนเกิดสภาวะ “ลังเล” เพราะสิ่งที่รัฐบาลพยายามสื่อสาร ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ก็คือ จะสามารถจัดหาได้ภายใน อีก 2-3 เดือน เพราะฉะนั้น หากรอได้ ก็พร้อม “จ่ายเงิน” เพื่อเลือกของที่ดีกว่า ไม่จำเป็นต้องใช้ของที่รัฐบอกว่า “มีอะไร ก็ฉีดไปเถอะ”
    .
    อันที่จริง การปฏิเสธวัคซีน ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศเรา ในต่างประเทศ หลายชาติ ก็เป็น เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่ง ประชาชนจะเริ่มรู้สึกว่า “ไม่จำเป็น” จะต้องออกไปเสี่ยงรับวัคซีน ยิ่งมีข่าวผลข้างเคียง ยิ่งมีข่าวการทดลองว่ามีวัคซีนอื่นที่ดีกว่า พลเมืองย่อมมีสิทธิ “เลือก” ว่าจะรับหรือไม่รับ ซึ่งสิ่งที่รัฐต้องทำ ก็คือหาทาง อย่างไรก็ได้ ให้พลเมืองฉีดได้ง่ายที่สุด เร็วที่สุด การันตีความปลอดภัยให้ได้ และที่สำคัญคือต้องมี “ตัวเลือก” ให้ประชาชนที่หลากหลาย ไม่ใช่บอกแต่เพียงว่า “วัคซีนที่ดี คือวัคซีนที่มี”
    .
    การประกาศให้วัคซีน เป็นวาระแห่งชาติ จึงเป็นเรื่องสอดคล้องกับ “ต้นทุน” ความน่าเชื่อถือของกระทรวงสาธารณสุข ของรัฐบาล และปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่อง “การเมือง” ของความเชื่อมั่น ทั้งเชื่อมั่นในตัววัคซีน ที่รัฐจัดหาให้ ว่าเป็นของดี มีประสิทธิผลเป็นที่ยอมรับ ไม่มีผลข้างเคียง ทั้งเชื่อมั่นว่า การฉีดวัคซีน จะลดการติดเชื้อ – ตายรายวันได้ ในเวลาที่ไม่นานนัก ทั้งเชื่อมั่นว่า ถ้าฉีดวัคซีนจนครบจำนวนหนึ่ง จะเปิดเศรษฐกิจให้ฟื้นเต็มรูปแบบ
    .
    ปัญหาก็คือ การจัดการโควิดระลอก 3 ที่ผ่านมา นั้น ได้ทำให้ต้นทุนดังกล่าวถดถอยลงไปเรื่อยๆ การกลับไป - กลับมา ทั้ง Key Message จากรัฐ ทั้งยุทธศาสตร์วัคซีน ต่างก็ทำให้ความเชื่อมั่นในสิ่งใดๆ ก็แล้วแต่ที่รัฐสื่อสารนั้นลดน้อยลง
    .
    เพราะฉะนั้น วาระแห่งชาติเรื่องวัคซีน จึงต้องเป็นการฟื้นต้นทุนเหล่านี้กลับมา ด้วยการจัดหาวัคซีนในมือให้เร็วที่สุด และมีตัวเลือกให้มากที่สุด ขณะเดียวกัน ก็ต้องทำให้เห็นว่าทั้งหมดที่มี เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ ไม่ใช่ “มีอะไรก็ฉีดไป” ซึ่งยิ่งทำให้ต้นทุนนั้นต่ำลงไปอีก
    .
    ไม่แน่ใจว่าช่วงเวลาของการ “ฟื้นต้นทุน” นั้น จะสายไปแล้วหรือไม่ แต่ถ้ายังใช้วิธีเดิม ในการสื่อสาร ในการจัดการ เราก็จะได้ผลลัพธ์แบบเดิม
    .
    และในที่สุด เราจะจมกับ โควิด-19 ต่อไปอีก ในขณะที่คนอื่นทั่วโลก เริ่ม “ฟื้น” กันหลายประเทศแล้ว..

    #COVID19 #โควิด19 #วัคซีนโควิด #Gossipสาสุข
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    1 > ตามรายงานที่เผยแพร่ล่าสุดโดย Verisk Maplecroft ที่ปรึกษาด้านความเสี่ยง พบว่าจาก 100 เมืองทั่วโลกที่เผชิญกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุด มีถึง 99 แห่งอยู่ในเอเชีย ในขณะเดียวกันยุโรปเป็นที่ตั้งของ 14 เมืองจาก 20 เมืองที่ปลอดภัยที่สุดจากความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

    2 > ดัชนีนี้จัดอันดับศูนย์กลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก 576 แห่ง โดยเน้นที่ปัจจัยด้านการเผชิญกับภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศที่หลากหลาย ปรากฎว่าเมืองที่เสี่ยงที่สุดในโลกที่คัดมา 100 เมืองทั่วโลกมีถึง 99 แห่งอยู่ในเอเชีย ในจำนวนนี้รวม 37 แห่งในจีนและ 43 แห่งในอินเดีย

    3 > จาการ์ตาเป็นเมืองที่มีความเสี่ยงมากที่สุดและเป็นเมืองที่มีผลการดำเนินงานแย่ที่สุดในด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่แค่เต็มไปด้วยมลพิษทางอากาศที่เลวร้าย แต่ยังรวมถึงภัยจากแผ่นดินไหวและน้ำท่วม เมืองยังทรุดลงรวดร็วถึงขนาดที่ โจโก วิโดโด ประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย กำลังหาทางย้ายเมืองหลวง และวิกฤตที่คล้ายคลึงกันทำให้เมืองสุราบายาและบันดุงของอินโดนีเซียอยู่ในอันดับที่ 4 และ 8 ตามลำดับ

    4 > สำหรับเมืองในเอเชียที่เจอกับการคุกคามจากปัญหาสิ่งแวดล้อมมากที่สุดตามลำดับคือ จาการ์ตา เดลี มะนิลา กัวลาลัมเปอร์ โตเกียว และอู่ฮั่น

    5 > จาการ์ตายังเป็นหนึ่งในเมืองที่เผชิญกับความเสี่ยงอย่างรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมืองกลุ่มนี้คือเมืองการาจี มะนิลา และจาการ์ตา และยังมีกรุงซานาของเยเมนที่ถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและยังเผชิญกับภัยจากสงครามกลางเมืองด้วย

    6 > มลพิษเป็นภัยคุกคามหลักต่อสุขภาพของประชากรในเมืองขนาดใหญ่ของประเทศ ในการจัดอันดับส่วนของเอเชียเมืองที่มีความเสี่ยด้านมลพิษทางอากาศและทางน้ำมากที่สุดนำโดย เดลี โกลกาตา ปักกิ่ง จาการ์ตา เซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ โตเกียว ซิดนีย์ อูลานบาตอร์ และออกแลนด์

    7 > ในส่วนของอันดับโลก อินเดียมีสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 13 จาก 20 แห่งของโลก เมืองหลวงอย่างเดลีได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีความเสี่ยงสูงเป็นอันดับ 3 ของโลกและตามมาด้วย เชนไน (อันดับ 3) อักรา (อันดับ 6) และกานปุระ (อันดับ 10) ปิดท้ายด้วยชัยปุระ (อันดับ 22), ลัคเนา (อันดับ 24), เบงกาลูรู (อันดับ 25) และมุมไบ (อันดับ 27)

    8 > โดยเมืองในอินเดียมีความเสี่ยงมากที่สุดถึง 19 จาก 20 แห่งในดัชนีคุณภาพอากาศของ Verisk Maplecroft อากาศที่เป็นพิษทำให้คนอินเดียเสียชีวิตเกือบ 1 ใน 5 ในปี 2562 ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึง 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกันมลพิษทางน้ำทำให้เกิดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อปีเกือบ 9,000 ล้านดอลลาร์และทำให้มีผู้เสียชีวิต 400,000 คนในแต่ละปี

    9 > ในส่วนของจีนรายงานงานเน้นถึง "หายนะวันสิ้นโลกจากมลพิษทางอากาศ" (airpocalypse) ในเมืองใหญ่ที่ทั่วโลกทราบกันดี เมื่อรวมกันจีนและอินเดียมีประชากร 286 ล้านคนจาก 336 ล้านคนอาศัยอยู่ในเมืองที่เสี่ยงต่อการเกิดมลพิษ รวมเมืองที่มีความเสี่ยงสูงและเพิ่มขึ้นเป็น 642 ล้านคน

    10 > เมืองในเอเชียตะวันออกยังเผชิญกับอันตรายจากธรรมชาติมากอันดับต้น ๆ ได้แก่ กวางโจวและตงกวนที่ประสบปัญหาอุทกภัยตามมาด้วยโอซาก้า โตเกียวและเซินเจิ้น ซึ่งเผชิญกับภัยคุกคามจากแผ่นดินไหวไปจนถึงพายุไต้ฝุ่น เมืองในเอเชียที่เจอปัญหานี้หนักมากตามลำดับ คือ กว่างโจว ตงกวน โอซากา เซึ่ยงไฮ้ ปักกิ่ง ฮานอย ออกแลนด์ อูลานบาตอร์ ส่วนสิงคโปร์เจอปัญหานี้น้อยที่สุด

    11 > เมืองที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าจากปัญหาสิ่งแวดล้อมคือเมืองในยุโรป ทวีปนี้เป็นที่ตั้งของเมืองที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด 14 จาก 20 เมืองซึ่งรวมถึงคราโนยาร์สก์ในไซบีเรีย (อันดับที่ 576), ออสโล (อันดับที่ 575), กลาสโก (อันดับที่ 573), เฮลซิงกิ (อันดับที่ 569) และโคเปนเฮเกน (อันดับที่ 563) นอกยุโรปคือแวนคูเวอร์ (อันดับที่ 574) และออตตาวา (อันดับที่ 571) ในประเทศแคนาดา (อันดับจำนวนมากหมายถึงความเสี่ยงน้อย)

    12 > เมืองที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดในเอเชียคือ อูลานบาตอร์ของมองโกเลีย แต่ในทางปฏิบัติแล้วเมืองชิซูโอกะในญี่ปุ่นมีความเสี่ยงต่ำและยังมีความเป็นเมืองในระดับสากลมากกว่า

    เรียบเรียงจาก
    • Will Nichols. (12 May 2021). "Asian cities in eye of environmental storm – global ranking: Environmental Risk Outlook 2021". Verisk Maplecroft
    ภาพ Photo by Jörg Dietze/commons.wikimedia

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ผลสำรวจวาฬบรูด้าอ่าวไทยตอนบน พบลูกน้อยตัวใหม่เพิ่มอีก ตะลึงเจอโลมาอิระวดี 30 ตัว

    วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก สำรวจสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์บริเวณอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก

    ทั้งนี้ พบสัตว์ทะเลหายาก 3 ชนิด คือ 1) วาฬบรูด้า (Bryde’s Whale : Balaenoptera edeni) จำนวน 5 ตัว บริเวณชายฝั่งทะเล จ.สมุทรสาคร ระยะห่างฝั่ง 12-20 กม. เป็นคู่แม่ลูก 2 คู่ และตัวเดี่ยว 1 ตัว

    จากการตรวจสอบอัตลักษณ์ (Photo ID) สามารถระบุชื่อได้ คือ แม่สาครกับลูกตัวใหม่ แม่ท่องสมุทรกับลูกตัวใหม่ และเจ้าสุขใจ และยังได้รับแจ้งจากเรือประมงในพื้นที่พบวาฬบรูด้าเข้ามาหากินนอกชายฝั่ง จ.เพชรบุรี และสมุทรปราการด้วย

    2) โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Finless porpoise : Neophocaena phocaenoides) พบ 2 ตัว บริเวณชายฝั่งทะเล จ.สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร ระยะห่างฝั่ง 17 กม.

    3) โลมาอิรวดี (Irrawaddy dolphin: Orcaella brevirostris) พบประมาณ 30 ตัว บริเวณปากแม่น้ำท่าจีน จ.สมุทรสาคร ระยะห่างฝั่ง 4-6 กม.

    สัตวแพทย์ได้ตรวจสุขภาพวาฬบรูด้า 3 ตัว ได้แก่ แม่สาครกับลูกตัวใหม่ และเจ้าสุขใจ มีอัตราการหายใจและคุณภาพการหายใจปกติ

    แม่สาครมีความสมบูรณ์ของร่างกาย (body condition score) ต่ำ เนื่องจากอยู่ในระยะให้นมลูก และพบรอยโรค Tattoo skin disease (TSD) บนผิวหนัง ส่วนลูกแม่สาคร และเจ้าสุขใจ มีความสมบูรณ์ร่างกายอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่พบรอยโรคบนผิวหนัง

    ที่มา: เพจกรม ทช.

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    พันโทแพทย์หญิงพร้อมพวกโกงเงิน 1,000 ล้านบาท เปิดบริษัทลวงลงทุน

    ชุดสืบสวนตำรวจ “สอบสวนกลาง” ทลายเครือข่ายเปิดบริษัทหลอกลวงเหยื่อลงทุน 5 รูปแบบ มีผู้หลงเชื่อนับพันคน มูลค่าเสียหายพันล้านบาท

    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ฟ้าผ่า ช้างป่า ในอินเดียตายหมู่ 18 ตัว ชาวบ้านเชื่อเป็นลางร้าย

    วันที่ 14 พ.ค.เกิดเหตุฟ้าผ่า ซึ่งทำให้มี ช้างป่า ตายพร้อมกันในคราวเดียวมากถึง 18 ตัว ในผืนป่าที่รัฐอัสสัม ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ชาวบ้านในพื้นที่เชื่อว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจเป็น ลางบอกเหตุร้าย

    รายงานข่าวระบุว่า เจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่รัฐอัสสัมของอินเดีย พบช้างป่าจำนวน 18 ตัวซึ่งในจำนวนนี้มีลูกช้างรวมอยู่ด้วย 5 ตัว ถูกฟ้าผ่าเสียชีวิตพร้อมกันในคราวเดียว ขณะเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ จุดที่เกิดเหตุ คือผืนป่าอนุรักษ์ที่มีชื่อว่า ป่ากอนดาลี ซึ่งเป็นบ้านของฝูงช้างป่าเอเชียจำนวนนับพันตัว และอยู่ห่างจากเมืองเกาหาติ เมืองเอกของรัฐอัสสัม ราว 152 กิโลเมตร

    ขณะนี้ สำนักงานป่าไม้ของอินเดียกำลังเร่งตรวจสอบซากของช้างที่ถูกฟ้าผ่าตายทั้ง 18 ตัว และในเบื้องต้นสรุปว่า เหตุช้างป่าถูกฟ้าผ่าตายหมู่ครั้งนี้ เป็นสาเหตุปกติทางธรรมชาติ อย่างไรก็ดี มีรายงานว่า ชาวบ้านในพื้นที่จำนวนหนึ่งพากันตื่นกลัว เพราะพวกเขาเชื่อว่า การตายหมู่ของช้างป่าจำนวนมากในคราวเดียวครั้งนี้ น่าจะเป็นลางบอกเหตุร้าย หรือเป็นการส่งสัญญาณว่าเทพเจ้ากำลังพิโรธ

    Source : #AmarinTV #ข่าววันนี้ #ข่าว

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ป่วยสะสมใกล้แตะแสน! โควิดวันนี้ (15 พ.ค.) ป่วยใหม่ 3,095 ราย ตายเพิ่ม 17 คน

    โควิดวันนี้ (15 พ.ค.) ป่วยใหม่ 3,095 ราย สะสม 99,145 ราย หายป่วยเพิ่ม 1,351 ราย ตายเพิ่ม 17 คน

    วันนี้(14 พ.ค.) ศูนย์ข้อมูล COVID-19 โพสต์ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 เบื้องต้น ณ วันที่ 13 พ.ค.64 เวลา 7.30 น. พบป่วยใหม่เพิ่มขึ้นมา 3,095 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 2,218 ราย จากเรือนจำ 877 ราย ผู้ป่วยสะสม 99,145 ราย สะสมระลอกใหม่ 70,282 ราย ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่ม 17 คน สะสมแล้ว 565 คน หายป่วยเพิ่ม 1,351 ราย หายป่วยสะสมระลอกใหม่ 36,241 ราย หายป่วยสะสม 63,667 ราย

    โควิดวันนี้ (14 พ.ค.) ป่วยเพิ่ม 2,256 ราย ตายเพิ่ม 30 คน โคม่า 408 ราย

    ทั้งนี้รายละเอียดเพิ่มเติม ในส่วนของผู้ป่วยอาการหนัก และรายละเอียดผู้เสียชีวิต รออัปเดตจากรายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำวัน ของ ศบค.อีกครั้ง ในเวลา 12.30 น.

    ปูพรมตรวจโควิด เรือนจำคลองเปรม พบผู้ต้องขังติดเชื้อ 506 ราย จนท.อีก 2 ราย

    Source : #AmarinTV #ข่าววันนี้ #ข่าว

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ปูพรมตรวจโควิด เรือนจำคลองเปรม พบผู้ต้องขังติดเชื้อ 506 ราย จนท.อีก 2 ราย

    วันที่ 14 พ.ค.64 นายวีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า จากการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในผู้ต้องขังเรือนจำกลางคลองเปรม พบผู้ต้องขังติดเชื้อ 506 คน และพบเจ้าหน้าที่ติดเชื้อ 2 คน ซึ่งเป็นการตรวจพบผู้ติดเชื้อจากการตรวจผู้ต้องขังแบบ 100% ในแดนฝึกอาชีพ (แดน 4) และได้คัดแยกผู้ป่วยตามลักษณะอาการ เพื่อรักษาแล้ว ขณะนี้จะการเร่งตรวจวิเคราะห์หาเชื้อในผู้ต้องขังแดนอื่นๆ จนกระทั่งได้ผลการตรวจของผู้ต้องขังทั้งเรือนจำแบบ 100%

    รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าว่า นอกจากนี้ได้ติดต่อญาติผู้ต้องขังที่ติดเชื้อที่ต้องการแจ้งให้ญาติภายนอกทราบ ทางเรือนจำจะมีเจ้าหน้าที่คอยดำเนินการแจ้งไปยังญาติผู้ต้องขังแต่ละรายเป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ต้องขังว่าต้องการแจ้งญาติหรือไม่ และหากญาติผู้ต้องขังรายใดที่มีความกังวลใจ สามารถติดต่อสอบถามที่เรือนจำเพื่อสอบถามรายละเอียดได้โดยตรง

    ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา กรมราชทัณฑ์ แจงผลติดเชื้อโควิด-19 ในเรือนจำ 2 แห่งรวม 2,835 คือ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 1,794 คน ทัณฑสถานหญิงกลาง 1,039 คน จนนำมาสู่การปูพรมตรวจเชิงรุกในเรือนจำต่างๆทั่วประเทศ ขณะที่วันนี้ ศบค.รายงานผู้ติดเชื้อเพิ่ม จากเรือนจำอีก 183 คน

    Source : #AmarinTV #ข่าววันนี้ #ข่าว

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ย้อนอดีต “Life Line Express” รถไฟวิเศษแห่งอินเดีย

    “โรงพยาบาลรถไฟ” หรือ Train Hospital นี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ถ้าไม่นับรวมการปรับปรุงรถไฟให้เป็นสถานที่ให้การรักษาพยาบาลทหารที่บาดเจ็บ หรือขนส่งเวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ในสมัยสงครามโลกในยุโรป

    Source : #ไทยรัฐ #ไทยรัฐทีวี #Thairath #ThairathOnline

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,988
    ค่าพลัง:
    +97,149
    dFQROr7oWzulq5Fa4V38uer5NTxIk7CtNJQ6RJKHfqn9rG4HRTx1em3Z73akZYeVaEN.jpg
    เบื้องหลังวัคซีนแดนมังกร ไขคำตอบคนจีนฉีด “ซิโนฟาร์ม” หรือ “ซิโนแวค”กันแน่ ?
    สกู๊ปไทยรัฐTHE ISSUE


    วัคซีนโควิด-19” คือความหวังของมวลมนุษยชาติ ซึ่งจากข้อมูล บลูมเบิร์ก ระบุว่า ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนแล้ว 1,389,522,366 โดส (ข้อมูลวันที่ 12 พ.ค.64)







    จนถึงขณะนี้ ประเทศจีน เป็นชาติที่มีการฉีดวัคซีนมากที่สุด คือ 354 ล้านโดส หรือคิดเป็น 12.7% ของจำนวนประชากรจีน รองลงมาเป็นสหรัฐฯ 266 ล้านโดส สหภาพยุโรป 186 ล้านโดส ส่วนของไทย ฉีดไปแล้วราว 2 ล้านกว่าโดสเท่านั้น

    วานนี้ (14 พ.ค.) ไทยรัฐออนไลน์ ได้นำเสนอบทความ 6 ข้อ “โมเดลจีน” ชนะโควิด เร็ว แรง ศรัทธา ใช้ Data ไร้วิวาทะนักการเมือง เนื้อหาในวันนี้ คือตอนต่อ ที่ว่าด้วยแผนการจัดการวัคซีนโควิด ของแดนมังกร โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ที่คร่ำหวอดเกี่ยวกับประเทศจีน และเดินทางไปจีนครบทุกมณฑล จะมาเปิดเผยเบื้องหลังและไขข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการวัคซีนของจีนและการผลิตของวัคซีนสัญชาติจีน 2 ยี่ห้อ คือ “ซิโนแวค” และ “ซิโนฟาร์ม”

    จีนตั้งเป้าฉีดวัคซีนทะลุหลัก 900-1,000 ล้านคน

    ดร.อักษรศรี กล่าวว่า รัฐบาลจีนมีนโยบายฉีดวัคซีนฟรีให้ประชาชนจีน และเร่งระดมฉีดวัคซีนให้มากที่สุดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ประชาชน จีนตั้งเป้าหมายที่จะเร่งฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมสัดส่วนถึง 40% ของจำนวนประชากร (ประมาณ 560 ล้านคน) ภายในครึ่งแรกของปี 2564 นี้ และคาดว่า ภายในปีหน้า 2565 การฉีดวัคซีนของจีนจะบรรลุมาตรฐานสากลในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) นั่นคือ ตั้งเป้าจะฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชากรในจีนมากถึง 900 ถึง 1,000 ล้านคน

    ขั้นตอนการฉีดวัคซีนแดนมังกร

    กูรูประเทศจีน เปิดเผยว่า “แม้ว่าจีนมีประชากรจำนวนมากหลักพันล้านคนและมีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ แต่ไม่เป็นอุปสรรคในการจัดการเพื่อฉีดวัคซีน เนื่องจากจีนเน้นใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและการจัดการ big data โดยรัฐบาลจีนจะกำหนดให้คนจีนต้องลงทะเบียนล่วงหน้าในการขอรับการฉีดวัคซีน และเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้รับระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดก็เพื่อมุ่งสร้างความสะดวกให้กับประชาชน”

    ขั้นตอนการ “ลงทะเบียน” ของประชาชนเพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนในจีนก็ไม่ยุ่งยาก ชาวจีนสามารถเลือกลงทะเบียนล่วงหน้าได้ตามสะดวก โดยมี 2 ลักษณะหลัก คือ (1) การลงทะเบียนผ่านองค์กรที่สังกัด/บริษัทที่ทำงาน และ (2) การลงทะเบียนด้วยตัวเองในเขตพื้นที่ที่ตนพักอาศัยที่มีการติดประกาศเป็น QR code ให้ลงทะเบียนออนไลน์จองคิว เพื่อไปรับบริการฉีดวัคซีนในสถานที่ใกล้ที่พักหรือที่ทำงาน ตามวันเวลาที่นัดหมาย และจะมีข้อความ msg ส่งมาเตือนในมือถือด้วยเมื่อถึงวันนัด

    หลังจากลงทะเบียนเสร็จ ข้อมูลด้าน health code ส่วนตัวจะอัปเดตข้อมูลทันที และเมื่อได้รับวัคซีนแล้ว จะมีเลขประจำตัวลงทะเบียนผู้รับการฉีดและหมายเลขวัคซีนที่ได้รับการฉีดนั้นๆ

    ดร.อักษรศรี เผยว่า ทุกคนคงตระหนักดีว่า “วัคซีน” คือ อาวุธสำคัญในการแก้ปัญหาวิกฤติใหญ่ในครั้งนี้ จีนจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก และได้มุ่งมั่นในการวิจัยค้นคว้าเพื่อผลิตวัคซีนป้องกันโควิดของจีนเอง จนถึงขณะนี้ จีนสามารถผลิตวัคซีนได้ 5 ยี่ห้อแล้ว ไม่ได้มีแค่ “ซิโนแวค” หรือ “ซิโนฟาร์ม” เท่านั้น” โดยทั้ง 5 ยี่ห้อที่ผลิตในจีน จะแบ่งเป็น

    1.วัคซีนชนิดเชื้อตาย 3 ตัว
    2.วัคซีนแบบ เวกเตอร์อะดีโนไวรัสวัคซีน (vector Adenovirus) 1 ตัว ที่ได้รับการอนุมัติออกสู่ตลาดโดยมีเงื่อนไข
    3.วัคซีนป้องกันโควิด-19 (เซลล์ CHO) 1 ตัว ที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน

    “จนถึงวันนี้ จีนถือเป็นประเทศที่มีการฉีดวัคซีนมากที่สุดในโลก คือ มากกว่า 350 ล้านโดส นับจากวันแรกที่จีนเริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชน คือวันที่ 3 มกราคม 2564 จึงถือว่า จีนสามารถเร่งระดมฉีดวัคซีนได้อย่างรวดเร็วมาก และในการบริหารจัดการวัคซีน จีนก็ได้ตั้งศูนย์ป้องกัน และควบคุมโรคระดับชาติ ระดับมณฑล ระดับเทศบาลและกระจายไปยังระดับเขตพื้นที่ มีสถาบันทางการแพทย์ และหน่วยฉีดวัคซีนที่ให้ความสำคัญกับระบบข้อมูล มีสร้างระบบข้อมูล data platform ตั้งแต่การจัดเก็บวัคซีน การลงทะเบียนเข้าออกของวัคซีน การขนส่งวัคซีน รวมไปถึงการสร้างระบบการตรวจสอบย้อนหลังที่สมบูรณ์แบบ”

    ประชาชนในจีนได้ฉีดวัคซีนยี่ห้ออะไร

    “สำหรับวัคซีนหลักๆ ที่รัฐบาลจัดฉีดฟรีให้กับประชาชนในจีน คือ ซิโนฟาร์ม และ ซิโนแวค จากจำนวน 300 กว่าล้านโดสที่ฉีดไปแล้ว ก็จะแบ่งเป็น ซิโนฟาร์ม 200 กว่าล้านโดส และซิโนแวค 100 กว่าล้านโดส”

    หลายคนอาจจะสนใจว่า ทำไมคนจีนได้รับการฉีด “ซิโนฟาร์ม” มากกว่า ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะ “ซิโนฟาร์ม” คือ วัคซีนที่ผลิตโดยรัฐวิสาหกิจจีน และในระยะแรกเน้นผลิตเพื่อใช้ในประเทศเป็นหลัก ในขณะที่ “ซิโนแวค” เป็นการผลิตของบริษัทเอกชนจีน และที่ผ่านมาเน้นการส่งออกในสัดส่วนสูงถึง 60% จากข้อมูลเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 ประธานบริษัท “ซิโนแวค” ได้กล่าวในงาน BOAO FORUM ในจีนว่า “ทางบริษัทฯ ได้ผลิตวัคซีนทั้งหมด 260 ล้านโดส ส่วนใหญ่เพื่อการส่งออกในสัดส่วน 60 % และอีก 40% ของการผลิต “ซิโนแวค” ใช้เพื่อฉีดให้ชาวจีน (นั่นคือ ประมาณ 104 ล้านโดส)

    ดังนั้น ในแผนการจัดหาวัคซีนของรัฐบาลจีน จึงมุ่งที่จะให้รัฐวิสาหกิจของตน คือ “ซิโนฟาร์ม” เป็นผู้ผลิตหลักเพื่อนำวัคซีนที่ผลิตได้มาเน้นฉีดให้ประชาชนในประเทศนั่นเอง ซึ่งรัฐวิสาหกิจจีนรายนี้ ก็คือ กลุ่ม China National Biotec Group (CNBG) และเนื่องจากต้องมีการผลิตวัคซีนจำนวนมหาศาลเป็นหลักหลายร้อยล้านโดส ทางกลุ่ม CNBG ก็ได้มอบหมายให้ 2 บริษัทจีนไปทำการผลิตด้วย ได้แก่ อู่ฮั่น Wuhan Institute of Biological Products และปักกิ่ง Beijing Institute of Biological Products เพื่อรับไปทำการผลิตวัคซีน “ซิโนฟาร์ม”

    ใครจะได้รับการฉีดวัคซีนในจีนบ้าง
    สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่จะให้มาเข้ารับการฉีดวัคซีน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คล้ายๆ กับกรณีของไทย คือ
    1.กลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงต่างๆ เช่น กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ หรือ อาชีพที่ต้องให้บริการใกล้ชิดกับประชาชน เช่น เจ้าหน้าที่เขต เจ้าหน้าที่ประจำท่าเรือ/สนามบิน เป็นต้น
    2.กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว
    3.กลุ่มประชาชนทั่วไป

    ในการบริหารจัดการฯ ดร.อักษรศรี ระบุว่า จีนให้ความสำคัญกับการใช้ระบบ data มาช่วยบริหารจัดการด้านอุปสงค์และอุปทานของวัคซีน ให้เป็นไปตามแผนความต้องการวัคซีนของแต่ละมณฑล/เขต/ท้องที่ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับบริษัทผู้ผลิตวัคซีน เพื่อทำการผลิต/จัดหาวัคซีนและจัดส่งไปยังสถานที่ต่างๆ ตามความต้องการโดยใช้วิธีการที่แตกต่างหลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับแต่ละกรณีของความต้องการ มีการเร่งการหมุนเวียน และตอบสนองต่ออุปสงค์ความต้องการกับอุปทานการผลิต เพื่อให้แน่ใจว่ามีการจัดสรรวัคซีนให้ได้อย่างเพียงพอ

    ผู้คร่ำหวอดเกี่ยวกับประเทศจีน ยังย้ำว่า วัคซีนเป็นสิ่งที่จีนกำลังเร่งดำเนินการสูงสุด ทั้งด้านอุปทาน เพื่อเร่งผลิตวัคซีนให้มากพอ และด้านอุปสงค์ เพื่อเร่งรณรงค์ให้คนจีนมารับการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมมากที่สุด

    ชาวต่างชาติในจีนมีสิทธิเข้ารับการฉีดวัคซีนฟรี

    ประเด็นที่น่าสนใจจาก ดร.อักษรศรี คือ ไม่ใช่เฉพาะคนจีนเท่านั้น หากแต่ทางการจีนได้จัดการฉีดวัคซีนให้ชาวต่างชาติที่ทำงานในจีนด้วยเช่นกัน และสามารถรับการฉีดได้ฟรี หากมีประกันสังคมในจีน (ในกรณีต่างชาติที่ไม่มีประกันสังคมจีนและต้องจ่ายเองประมาณเข็มละ 90 กว่าหยวน) โดยตั้งแต่กลางเดือนเมษายน 2564 รัฐบาลจีนได้เริ่มเปิดให้ต่างชาติที่ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในจีน และมีการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานต่างๆ จะได้รับการฉีดวัคซีนด้วย

    ในกรณีของชาวต่างชาติในจีนก็ต้องนัดล่วงหน้าลงทะเบียนผ่านองค์กรที่ตนสังกัด/ทำงานด้วย ตัวอย่างชาวต่างชาติในจีนที่รับการฉีดวัคซีนแล้ว เช่น ไทย แอฟริกา เกาหลี ญี่ปุ่น รวมถึงชาวฝรั่งชาติตะวันตกที่ทำงานในจีน ศูนย์ฉีดวัคซีนให้คนต่างชาติ อาจจะไปตั้งในโรงพยาบาลเอกชนของจีน เนื่องจากมีทีมงานที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้และสะดวกกับการให้บริการ

    คนจีนลังเลหรือกลัวการฉีดวัคซีนไหม... ดร.อักษรศรี ยิ้ม ก่อนจะตอบว่า “ก็มีบ้างเป็นธรรมดา ในบางพื้นที่อาจจะมีชาวจีนที่ไม่ค่อยกระตือรือร้นจะไปฉีดวัคซีน รัฐบาลท้องถิ่นในพื้นที่เหล่านั้นก็อาจจะให้รางวัลหรือสร้างแรงจูงใจให้คนจีนมาเข้ารับการฉีดวัคซีน เช่น แจกไข่ ขนม นมสด คูปองลดราคาสินค้า เป็นต้น

    รัฐบาลจีนเยียวยาประชาชนอย่างไร

    สำหรับมาตรการเยียวยาประชาชนจีนในช่วงโควิดระบาดที่ผ่านมา จีนมีแจกเงินให้ประชาชนบ้างไหม กูรูด้านจีน ตอบว่า รัฐบาลจีนไม่เน้นนโยบายแจกเงินให้ประชาชน แต่เขาเน้นรักษาการจ้างงาน ทำอย่างไรไม่ให้คนจีนตกงาน ทำอย่างไรไม่ให้คนจีนขาดรายได้ และเน้นช่วยเหลือด้านหลักประกันสุขภาพ รวมไปถึงการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานให้เพียงพอและทันท่วงที เพื่อให้ประชาชนจีนที่ติดเชื้อไม่ต้องกังวลว่า จะมีเตียงพอหรือไม่ จะมีโรงพยาบาลสนามพอหรือไม่ หรือจะมีอุปกรณ์ทางการแพทย์เพียงพอหรือไม่ เพราะรัฐบาลจีนเตรียมการไว้อย่างดีและจัดหามาให้ชาวจีนได้อย่างรวดเร็ว

    ดร.อักษรศรี อธิบายว่า จีนใช้ทั้งนโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง เพื่ออัดฉีดช่วยเหลือผู้ประกอบการและธุรกิจจีนไม่ให้ต้องปิดกิจการ และเพื่อไม่ให้พนักงานในกิจการเหล่านั้นต้องตกงาน ขาดรายได้ ที่สำคัญ คือ การประกาศสร้างงานใหม่เพิ่มอีก 11 ล้านตำแหน่ง ทั้งหมดนี้ จึงมีส่วนทำให้เศรษฐกิจจีนสามารถฟื้นตัวเป็นรูปตัว V shape และเติบโตสวนกระแสโลก จีนเป็นเศรษฐกิจหลักของโลกเพียงชาติเดียวที่เติบโตเป็นบวกในปี 2563 ที่ผ่านมา

    "จีนยังนำวัคซีนที่ตัวเองผลิตได้ไปบริจาคมอบให้กับประเทศอื่นในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ทั้งหมดนี้เพื่อมุ่งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของจีนในสายตาของนานาชาติ ผ่านสิ่งที่เรียกว่า วัคซีนเพื่อการทูต (Vaccine Diplomay) นั่นเอง” ดร.อักษรศรี กล่าวทิ้งท้าย...

    ผู้เขียน : อาสาม
    กราฟิก : Sathit Chuephanngam




    https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2092617
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2021

แชร์หน้านี้

Loading...