ติดเนื่องในควาสุข ๔ ประการอานิสงส์ ๔ ประการอันพวกเราพึง หวังได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 28 กรกฎาคม 2012.

  1. thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    [๑๑๕] ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึง
    กล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณศากยบุตรเป็นผู้ขวนขวายในการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔
    อย่างเหล่านี้อยู่ ดังนี้
    พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น อันพวกเธอพึงกล่าวว่าพวกท่านอย่า
    กล่าวอย่างนี้เลย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อจะกล่าวโดยชอบพึงกล่าวกะพวกเธอ
    หามิได้ พวกปริพาชกอัญญ เดียรถีย์เหล่านั้นพึงกล่าวตู่พวกเธอด้วยสิ่งที่ไม่มีไม่เป็นจริงก็หามิได้
    ดูกรจุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
    หน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
    เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว ๔ ประการเป็นไฉน
    ดูกรจุนทะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
    สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ข้อนี้
    เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่อง ในความสุขข้อที่ ๑
    ดูกรจุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
    มีความผ่องใส แห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
    มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ข้อที่ ๒
    ดูกร
    จุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยกายเพราะปีติสิ้นไป
    บรรลุตติยฌานที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่
    ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่อง ในความสุข ข้อที่ ๓
    ดูกรจุนทะ ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบรรลุ
    จตุตถฌาน
    ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา
    เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๔
    ดูกรจุนทะ
    การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็น ไปเพื่อความหน่าย เพื่อ
    ความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ
    พระนิพพานโดยส่วนเดียว ดูกรจุนทะ ก็ฐานะ นี้แลย่อมมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญ
    เดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณ ศากยบุตรเป็นผู้ขวนขวาย ในการประกอบตนให้ติดเนื่อง
    ในความสุข ๔ ประการ เหล่านี้แล ดังนี้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อจะกล่าว
    กะพวกเธอ พึงกล่าวได้โดยชอบพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น พึงกล่าวตู่พวกเธอ
    ด้วยสิ่งไม่มีจริงไม่เป็นจริง หามิได้ ฯ
    [๑๑๖] ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชก อัญญเดียรถีย์พึง
    กล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ก็เมื่อพวกท่านประกอบตนให้ติดเนื่อง ในความสุข ๔ ประการ
    เหล่านี้อยู่ ผลกี่ประการ อานิสงส์กี่ประการ อันท่าน ทั้งหลายพึงหวังได้
    ดูกรจุนทะ พวก
    ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวก เธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส เมื่อพวกเรา
    ประกอบตนให้ติดเนื่องในควาสุข ๔ ประการเหล่านี้แลอยู่ ผล ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ ประการ
    อันพวกเราพึง หวังได้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้จะเป็นพระโสดาบัน มี
    อันไม่ต้องตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในภายหน้าเพราะสังโยชน์ สามสิ้นไป
    ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๑
    เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ ดูกรอาวุโส ข้ออื่น ยังมีอีก ภิกษุจะเป็น
    พระสกทาคามี
    มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจะทำที่สุด แห่งทุกข์ เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป
    และเพราะความที่ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางข้อนี้เป็นผลประการที่ ๒
    เป็นอานิสงส์ประการ
    ที่ ๒ ดูกรอาวุโส ข้ออื่น ยังมีอีก ภิกษุจะเป็นอุปปาติกะ [เป็นพระอนาคามี] ผู้จะปรินิพพาน
    ในภพนั้น เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ทั้ง ๕ สิ้นไป
    ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๓
    เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ดูกรอาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุทำให้แจ้งซึ่ง
    เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ
    อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
    ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๔
    เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ ดูกรอาวุโส เมื่อ
    พวกเราเป็นผู้ประกอบตนให้ติดเนื่องใน ความสุข ๔ ประการเหล่านี้แลอยู่ ผล ๔ ประการ
    อานิสงส์ ๔ ประการเหล่านี้ อันพวกเราพึงหวังได้ ดังนี้ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
    หน้าที่ ๑๐๓/๒๘๘
    ข้อที่ ๑๑๕-๑๑๖
     
  2. ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    นั่นแหละ ทำฌาณให้เป็น
    การทำฌาณ ถ้าทำถูกต้อง มันจะกลมกลืนไป เหมือนไม่ได้ทำอะไร เป็นความปกติสุข
    ไม่ต้องเข้าต้องออกอะไร เวลาทำก็รวมจิตไปตามลำดับ คือ หยาบไปหาละเอียด ได้แก่
    ท่องคำบริกรรม คอยสังเกตุดูว่า ใจนั้นติดกับคำบริกรรมหรือไม่ จรดจ่อ ตกแต่งให้มันแนบเข้าไปให้สนิท
    มันจะมีอาการคือ สงบ เบิกบาน ให้สังเกตุชัดเจน แล้วจะหยุดคำบริกรรมไปเอง จิตจะนิ่ง สงบ สุข
    นั่นเรียกว่า ใช้ได้ จะสงบสุขชั่ว แว็บเดียว แล้ว กลับมาคิดก็ไม่เป็นไร ขอให้เจอจุดสงบนั้น เดี๋ยวเดียวก็จะมีอานิสงค์มากมาย
     
  3. Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ฌานอะไรของเอง ชอบเข้ามามั่วกระทู้คนอืนให้เขาหลงงมงาย

    จขกท.เขาตั้งสอนดีแล้ว กลับเอามาบิดพริ้วอีก

    นี่แหละเขาเรียกว่าชอบเอาขยะมากลบแท้
     
  4. ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ปาสาทิกสูตร (๒๙)


    [๑๑๔] ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือ
    การที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณศากยบุตรเป็นผู้ขวนขวายในการประกอบ
    ตนให้ติดเนื่องในความสุขอยู่
    ดังนี้

    ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้กล่าวอยู่อย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขนั้นเป็นไฉน เพราะว่า แม้การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขมีมากหลายอย่างต่างๆ ประการกัน

    ดูกรจุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ อย่างเหล่านี้ เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อพระนิพพาน ๔ อย่างเป็นไฉน
    ดูกรจุนทะ คนพาลบางคนในโลกนี้ ฆ่าสัตว์แล้วยังตนให้ถึงความสุข ให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๑
    ดูกรจุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก คนพาลบางคนในโลกนี้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว ยังตนให้ถึงความสุข ให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๒
    ดูกรจุนทะข้ออื่นยังมีอีก คนพาลบางคนในโลกนี้ กล่าวเท็จแล้ว ยังตนให้ถึงความสุขให้เอิบอิ่มอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๓ ดูกรจุนทะ
    ข้ออื่นยังมีอีก คนพาลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เพรียบพร้อมพรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณทั้ง ๕ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๔

    ดูกรจุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ประการเหล่านี้ เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน มิใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัดเพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระ-*นิพพาน ฯ


    [๑๑๕] ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณศากยบุตรเป็นผู้ขวนขวายในการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ อย่างเหล่านี้อยู่ ดังนี้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นอันพวกเธอพึงกล่าวว่าพวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้เลย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อจะกล่าวโดยชอบพึงกล่าวกะพวกเธอหามิได้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นพึงกล่าวตู่พวกเธอด้วยสิ่งที่ไม่มีไม่เป็นจริงก็หามิได้

    ดูกรจุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่งเพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว ๔ ประการเป็นไฉน

    ดูกรจุนทะภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๑
    ดูกรจุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๒
    ดูกรจุนทะ ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่อง
    ในความสุข ข้อที่ ๓
    ดูกรจุนทะ ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๔

    ดูกรจุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว

    ดูกรจุนทะ ก็ฐานะนี้แลย่อมมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกสมณศากยบุตรเป็นผู้ขวนขวาย ในการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แล ดังนี้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อจะกล่าวกะพวกเธอ พึงกล่าวได้โดยชอบ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น พึงกล่าวตู่พวกเธอด้วยสิ่งไม่มีจริงไม่เป็นจริง หามิได้ ฯ


    [๑๑๖] ดูกรจุนทะ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้แล คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส ก็เมื่อพวกท่านประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้อยู่ ผลกี่ประการ อานิสงส์กี่ประการ อันท่านทั้งหลายพึงหวังได้

    ดูกรจุนทะ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะอย่างนี้ อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรอาวุโส เมื่อพวกเราประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แลอยู่ ผล ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ ประการ อันพวกเราพึงหวังได้

    ๔ ประการเป็นไฉน

    ดูกรอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้จะเป็นพระโสดาบันมีอันไม่ต้องตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในภายหน้าเพราะสังโยชน์สามสิ้นไป ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๑ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑
    ดูกรอาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุจะเป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป และเพราะความที่ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางข้อนี้เป็นผลประการที่ ๒ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒
    ดูกรอาวุโส ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุจะเป็นอุปปาติกะ [เป็นพระอนาคามี] ผู้จะปรินิพพานในภพนั้นเป็นผู้ไม่ต้องกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ทั้ง ๕ สิ้นไปข้อนี้เป็นผลประการที่ ๓ เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓
    ดูกรอาวุโส ข้ออื่นยังมีอีกภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้เป็นผลประการที่ ๔เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔

    ดูกรอาวุโส เมื่อพวกเราเป็นผู้ประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แลอยู่ ผล ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ ประการเหล่านี้อันพวกเราพึงหวังได้ ดังนี้ ฯ
     
  5. บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ๑๒. ฌานวิภังค์

    มาติกา

    [๕๙๙] ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมแล้วด้วย
    อาจาระและโคจรอยู่ เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อยสมาทานแล้วประพฤติ
    อยู่ในสิกขาทั้งหลาย สำรวมในอินทรีย์ ๖ รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรตลอด
    ปฐมยามและปัจฉิมยาม ประกอบความเพียรอันเป็นไปติดต่อ ประกอบปัญญาอันรักษาไว้ซึ่ง
    ตน เจริญโพธิปักขิยธรรม

    ภิกษุนั้น เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการก้าวไปข้างหน้าและถอยกลับมาข้างหลัง เป็นผู้
    รู้ชัดอยู่โดยปกติในการแลดูข้างหน้าและเหลียวดูข้างซ้ายข้างขวาเป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติใน
    การคู้อวัยวะเข้าและเหยียดอวัยวะออก เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร
    และจีวรเป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการกิน ดื่ม เคี้ยวและลิ้มรส เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการ
    ถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เป็นผู้รู้ชัดอยู่โดยปกติในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และนิ่ง

    ภิกษุนั้น อาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำในภูเขา
    ป่าช้า ดง ที่แจ้ง กองฟาง สถานที่ไม่มีเสียงรบกวน สถานที่ไม่มีเสียงอื้ออึงสถานที่ไม่
    ใคร่มีผู้คนสัญจรไปมา สถานที่ไม่มีคนพลุกพล่าน สถานที่อันสมควรเป็นที่หลีกเร้น

    ภิกษุนั้น ไปสู่ป่าก็ตาม ไปสู่โคนไม้ก็ตาม ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ตามนั่งคู้บัลลังก์
    ตั้งกายให้ตรง ตั้งสติมุ่งหน้าต่อกรรมฐาน

    ภิกษุนั้น ละอภิชฌาในโลกได้แล้ว อยู่ด้วยจิตที่ปราศจากอภิชฌา ชำระจิตให้
    บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความพยาบาทและความประทุษร้ายได้แล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
    อยู่มีความอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความพยาบาทและความ
    ประทุษร้าย ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะอยู่ มีอาโลกสัญญา มีสติ
    สัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
    อยู่ มีจิตสงบภายใน

    ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามเสียได้ซึ่งวิจิกิจฉา
    อยู่ไม่มีความสงสัย ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลาย

    ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ทรามได้แล้ว
    สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย แล้วบรรลุปฐมฌานประกอบด้วยวิตก วิจาร
    มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ บรรลุทุติยฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส
    เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
    อันเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
    อยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยะเจ้ากล่าวสรรเสริญผู้
    ได้บรรลุว่าเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้อยู่ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มี
    สุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อนมีสติบริสุทธิ์เพราะ
    อุเบกขา อยู่ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา
    เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา จึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า
    อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
    จึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่าวิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ อยู่ เพราะก้าว
    ล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงจึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยบริกรรม
    ว่า วิญญาณน้อยหนึ่งไม่มีดังนี้ อยู่เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
    จึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานอยู่

    มาติกา จบ
     
  6. บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    สุข4 ได้มาอย่างไร มาดูใน จิตวรรค กันก่อน


    คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓

    [๑๓] นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยากห้ามได้
    โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้นจิตนี้
    อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกามคุณเพียงดังน้ำ
    ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อจะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน
    ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้วจากที่อยู่คือน้ำโยนไปแล้วบนบก
    ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น

    การฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์อันบุคคลพึงใคร่
    อย่างไร เป็นความดี เพราะว่าจิตที่บุคคลฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ นักปราชญ์
    พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยากละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะ
    ว่าจิตที่บุคคลคุ้มครองแล้วนำสุขมาให้

    ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไปหาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็น
    ที่อยู่อาศัยชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์แก่บุคคล
    ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระสัทธรรมมีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย ภัยย่อม
    ไม่มีแก่พระขีณาสพ ผู้มีจิตอันราคะไม่รั่วรด ผู้มีใจอันโทสะไม่ตามกระทบแล้วผู้มีบุญ
    และบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่ กุลบุตรทราบกายนี้ว่าเปรียญด้วยหม้อแล้ว
    พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนครพึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา

    อนึ่งพึงรักษาตรุณวิปัสสนาที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย กายนี้อันบุคคล
    ทิ้งแล้วมีวิญญาณปราศแล้วไม่นานหนอจักนอนทับแผ่นดิน ประดุจ
    ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจก ก็หรือคนมีเวรเห็น
    คนผู้คู่เวรกันพึงทำความฉิบหาย และความทุกข์ใดให้จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด
    พึงทำบุคคลนั้นให้เลวยิ่งกว่าความฉิบหายและความทุกข์นั้นมารดาบิดา
    ไม่พึงทำเหตุนั้นได้ หรือแม้ญาติเหล่าอื่นก็ไม่พึงทำเหตุนั้นได้ จิตที่บุคคล
    ตั้งไว้ชอบแล้วพึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น ฯ

    จบจิตตวรรคที่ ๓
     

แชร์หน้านี้