ตุงยาวค่าคิง สีสายค่าคิง ยาวเท่าลำตัว ในพิธีสืบชาตาหลวง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Suryar, 11 กรกฎาคม 2018.

  1. Suryar

    Suryar ขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +700
    ความสำคัญ
    พิธีสืบชะตาเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวล้านนาที่เชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุหรือต่อชีวิตของบ้านเมืองหรือของคนให้ยืนยาว มีความสุข ความเจริญ ตลอดจนเป็นการขจัดภัยอันตรายต่างๆที่จะบังเกิดขึ้นให้แคล้วคลาดปลอดภัย
    พิธีสืบชะตาแบบพื้นเมืองของจังหวัดน่านได้ยึดถือและปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน ชาวน่านในทุกหมู่บ้าน ทุกตำบลต่างรู้จักและยึดมั่นปฏิบัติกันอยู่ เพราะเชื่อว่าทุกข์ภัยทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง และญาติพี่น้องจะหมดหายไปชีวิตก็จะยืนยาวยิ่งขึ้น อีกทั้งเชื่อว่าก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่การงานพร้อมที่จะสู้กับชะตาชีวิตต่อไป
    พิธีสืบชะตานี้แบ่งเป็น ๓ ประเภทคือ
    ๑. สืบชะตาคน นิยมทำเมื่อขึ้นบ้านใหม่ ย้ายที่อยู่ใหม่ ได้รับยศหรือตำแหน่งสูงขึ้น วันเกิดที่ครบรอบเช่น ๒๔ ปี ๓๖ ปี ๔๘ ปี ๖๐ ปี ๗๒ ปี เป็นต้น หรือฟื้นจากป่วยหนัก หรือมีผู้ทักทายว่าชะตาไม่ดีจำเป็นต้องสะเดาะเคราะห์และสืบชะตา เป็นต้น
    ๒. สืบชะตาบ้าน นิยมทำเมื่อคนในหมู่บ้าน ประสบความเดือดร้อน หรือเจ็บไข้ได้ป่วยกันทั่วไปในหมู่บ้าน หรือตายติดต่อกันเกิน ๓ คน ขึ้นไป ถือเป็นเสนียดของหมู่บ้าน คนในหมู่บ้านอาจพร้อมใจกันจัดในวันปากปี ปากเดือน หรือปากวัน คือวันที่หนึ่ง สอง หรือสามวันหลังวันเถลิงศก เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล
    ๓. สืบชะตาเมือง จัดขึ้นเมื่อบ้านเมืองเกิดความเดือดร้อนจากอิทธิพลของดาวพระเคราะห์ตามความเชื่อทางโหราศาสตร์ เพราะทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย เพราะการจราจลการศึก หรือเกิดโรคภัยแก่ประชาชนในเมืองเจ้านายท้าวพระยาบ้านเมืองจึงจัดพิธีสืบชะตาเมือง เพื่อให้อายุของเมืองได้ดำเนินต่อเนื่องสืบไป

    พิธีกรรม
    เครื่องสืบชะตาคนประกอบด้วย
    ๑. ไม้ค้ำสรี (สะหรี ต้นศรีมหาโพธิ์) ๑๐๐ เล่ม
    ๒. ขัว (สะพาน) ๑ คู่
    ๓. ลวดเบี้ย ๓ เส้น (เส้นหนึ่งใช้หอยเบี้ยร้อยเป็นสาย ๑๐๐ ตัว)
    ๔. ลวดหมาก,ลวดพลู ๓ เส้น (เส้นละ ๑๐๐)
    ๕. ลวดเมี่ยง ๓ เส้น (เส้นละ ๑๐๐)
    ๖. ลวดเงิน ๓ เส้น
    ๗. ลวดทอง ๓ เส้น
    ๘. ตุงยาวค่าคิง(ยาวเท่าตัวคน) ๓ ตัว
    ๙. ตุงเล็กและตุงช่อ ๑๐๐ ตัว
    ๑๐. ลวดข้าวตอก ๓ เส้น (เส้นละ ๑๐๐)
    ๑๑. บอกน้ำ,บอกทราย อย่างละ ๑ กระบอก
    ๑๒. บอกข้าวเปลือก,บอกข้าวสาร อย่างละ ๑ กระบอก
    ๑๓. ต้นกล้ามะพร้าว,ต้นอ้อย,ต้นกล้วย อย่างละ ๓ ต้น
    ๑๔. กล้วยน้ำว้าดิบ ๑ เครือ
    ๑๕. มะพร้าว ๑ ทะลาย
    ๑๖. สีสายค่าคิง(สายน้ำมันยาวเท่าตัว) ๑ สาย
    ๑๗. เสื่อใหม่ ๑ ผืน
    ๑๘. หมอนใหม่ ๑ ใบ
    ๑๙. เสื้อผ้าของผู้เข้าร่วมสืบชะตา
    ๒๐. หม้อใหม่ ๒ ใบ (หม้อเงิน,หม้อทอง) อย่างละ ๑ ใบ
    ๒๑. ใบไม้ที่เป็นมงคลเช่น ใบเต๊า ใบขนุน ใบเงิน ใบทอง เป็นต้น
    ๒๒. เทียนขี้ผึ้งแท้น้ำหนัก ๑ บาท ๑ แท่ง
    ๒๓. ด้ายสายสิญจน์ ๑ ม้วน
    ๒๔. บาตรสำหรับใส่น้ำพุทธมนต์ ๑ ใบ
    ๒๕. ปลาสำหรับปล่อยจำนวนเท่าอายุเจ้าชาตา
    ๒๖. นก ปู หรือหอยสำหรับปล่อย
    อุปกรณ์ดังกล่าวให้จัดทำเป็นกระโจม ๓ ขา กว้างพอที่เจ้าชะตาจะเข้าไปนั่งในนั้นได้ โดยใช้ด้ายสายสิญจน์โยงจากศีรษะไปสู่ยอดกระโจมและดึงไปหาบาตรน้ำมนต์หน้าพระพุทธรูป พระสงฆ์จะถือด้ายสายสิญจน์ขณะสวดมนต์และจะใช้ผูกข้อมือเจ้าชะตาอีกด้วย บางตำราก็จะให้ทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ก่อนทำพิธีเครื่องประกอบพิธีอย่างอื่น ได้แก่
    ขันตั้งสืบชะตา ประกอบด้วยเทียนเล่มเล็ก ๘ คู่ เล่ม ๑ บาท ๑ คู่ เทียนเล่มเฟื้อง ๑ คู่ ข้าวตอกดอกไม้ หมากหัว พลูมัด เบี้ยพันสาม กล้วยเครือมะพร้าว บอกข้าวเปลือก บอกข้าวสาร หม้อน้ำ หม้อดิน
    ขันขอศีล ประกอบด้วยเทียนเล่มเล็ก ๔ คู่ ข้างตอกดอกไม้ใส่พาน
    ขันคารวะเครื่องสืบชะตา ประกอบด้วยเทียนเล่มเล็กน้ำหนัก ๒ สลึง ๔ คู่ เทียนสืบชะตา ๓ เล่มเทียนขนาดเล็ก ๑๐๐ เล่ม ประทีป ๑๐๐ อัน และตาแหลวคาเขียว ๑ อัน
    ขั้นตอนในการประกอบพิธีสืบชะตา
    ผู้ดำเนินการและผู้ประกอบพิธี
    ๑. พระสงฆ์จำนวน ๙ รูป
    ๒. อาจารย์ฝ่ายคฤหัสถ์
    ๓. ผู้เข้าร่วมพิธีสืบชะตา (เจ้าชะตาและคณะ)
    ขั้นตอนพิธีการ
    ๑. ตั้งเครื่องสืบชะตา จัดโต๊ะหมู่บูชา ตั้งอาสนะสงฆ์ ๙ ที่
    ๒. เจ้าชะตาจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
    - ประเคนบาตรน้ำมนต์ให้พระสงฆ์
    - ประเคนขันสืบชะตา ด้ายสายสิญจน์
    - ประเคนพานอาราธนาศีล แล้วกลับไปนั่งซุ้มพิธี
    ๓. อาจารย์(ผู้นำในการประกอบพิธี) นำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย
    ๔. อาจารย์กล่าวอาราธนาศีล-ประธานสงฆ์ให้ศีล
    ๕. อาจารย์อาราธนาพระปริต
    - พระสงฆ์องค์ที่ ๓ กล่าว สักเค ชุมนุมเทวดา
    - คณะสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
    ๖. อาจารย์สมาธรรม และครัวทาน (ขอขมา)
    ๗. อาจารย์อาราธนาธรรม พระสงฆ์เทศนาธรรมสืบชะตา ๙ ผูก
    ๘. ประธานสงฆ์มอบเครื่องสืบชะตาให้แก่เจ้าชะตาและคณะ
    ๙. ประธานสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ พระสงฆ์เจริญไชยมงคลคาถา
    ๑๐. เจ้าชะตาและคณะถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแก่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา
    ๑๑. อาจารย์นำกราบพระ บูชา พระรัตนตรัย เจ้าชะตาถวายภัตตาหารและไทยทานเป็นอันเสร็จพิธี
    ชื่อคัมภีร์ที่ใช้ประกอบพิธีสืบชะตา
    ๑. มหาทิพพมนต์ ๑ ผูก
    ๒. อุณหัสสะวิไชย ๑ ผูก
    ๓. โลกาวุฒิ ๔ ผูก
    ๔. สะลาถะวิชชาสูตร ๑ ผูก
    ๕. พุทธะสังคะหะโลก ๑ ผูก
    ๖. มหาไชยมงคล ๑ ผูก
    การเทศน์ธรรมสืบชะตาทั้ง ๙ ผูก พระสงฆ์จะเทศน์พร้อมกันรูปละ ๑ ผูก ส่วนเครื่องประกอบพิธีกรรมสืบชะตาบ้าน กับชะตาเมืองนั้น เครื่องสืบชะตาจะเพิ่มมากขึ้นเป็นเครื่อง ๑,๐๐๐ จะมีการโยงสายสิญจน์จากวัดหรือสถานประกอบพิธีผ่านไปยังบ้านแต่ละหลังจนครบทั้งหมู่บ้านและทุกครอบครัวก็จะเตรียมน้ำส้มป่อยน้ำอบ น้ำหอม และทรายมาร่วมพิธีเมื่อเสร็จแล้วจะได้นำกลับไปโปรยที่บ้านเรือนของตน

    ที่มา prapayneethai.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2018
  2. Suryar

    Suryar ขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +700
    บังเอิญ!ก้าวคนละก้าวของ 'ตูน บอดี้สแลม' วิ่งบริจาคให้รพ.เชียงรายฯหวนกลับมารักษา13ชีวิตติดถ้ำ นอกจากนี้ชื่อ'อาทิวราห์'ยังแปลว่า 'หมูป่า'พ้องกับชื่อทีมฟุตบอล

    ที่มา ข่าว TNN 2ED619F2-E5DC-42FE-BDD9-A0DF7363FA0B.jpeg
     
  3. Suryar

    Suryar ขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่าน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +700
    ณ ไร่เชิญตะวัน
    สถานที่ประกอบพิธีสืบชาตาหลวงนั้น

    พบประวัติท่าน ว.วชิรเมธี

    บรรพชาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร

    พระมหาวุฒิชัยบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2530 ณ วัดครึ่งใต้ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมีพระครูโสภณจริยกิจ เจ้าคณะอำเภอเชียงของ วัดศรีดอนไชย เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมา ได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมพ.ศ. 2537 ณ วัดครึ่งใต้ โดยมี พระสุนทรปริยัติวิธานปัจจุบันคือ พระเทพสิทธินายก (ชื่น ปญฺญาธโร) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย วัดพระสิงห์ (พระอารามหลวง)เป็นพระอุปัชฌาย์[2] มี พระครูสมุห์บุญช่วย ฉายา ธมฺมสโร วัดสบสม เป็น พระกรรมวาจาจารย์ พระครูภัทรวรคุณ วัดสถาน เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ปัจจุบันพระมหาวุฒิชัยสังกัดวัดพระสิงห์ เชียงราย และจำพรรษาอยู่ที่ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวันเชียงราย[3] , [4]
     

แชร์หน้านี้

Loading...