ถอดบทเรียน “ถ้ำหลวง” นักวิชาการชี้ไทยขาดข้อมูลด้านภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 13 กรกฎาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    ข้อมูลจำเพาะของถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ที่ถูกนำมาศึกษาและวางแผนช่วยเหลือเด็กและโค้ชทีมฟุตบอลทีมหมูป่าทั้ง 13 คน หลักๆ แล้วเป็นข้อมูลการสำรวจถ้ำของนายมาร์ติน เอลลิส นักดำน้ำถ้ำชาวอังกฤษ เนื่องจากภาครัฐ ไม่เคยศึกษาหรือรวบรวมข้อมูลถ้ำแห่งนี้มาก่อนนี้ และเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่นักวิชาการด้านภัยพิบัติ มองว่าไทยยังขาดการศึกษารวบรวมข้อมูลพื้นที่ภัยพิบัติในแต่ละพื้นที่ แม้จะมีกฎหมายบัญญัติไว้


    ถอดบทเรียน “ถ้ำหลวง” นักวิชาการชี้ไทยขาดข้อมูลด้านภัยพิบัติ

    วันนี้ (13 ก.ค.61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การศึกษาถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน เพื่อวางแผนทำแบบจำลอง ของ รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ในช่วงเกิดภัยพิบัติ เด็กและโค้ช 13 คน เข้าไปติดถ้ำ ขณะเกิดน้ำหลาก ทำให้เห็นว่าไทยไม่เคยศึกษาข้อมูลพื้นฐานของถ้ำแห่งนี้มาก่อน แม้จะเปิดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแล้วก็ตาม นั่นทำให้แนวทางการช่วยเหลือ 13 คน ใช้ระยะเวลานานหลายวัน ส่วนหนึ่ง เพราะต้องรอข้อมูลที่เชื่อถือได้จากชาวต่างชาติ ที่เคยเข้าไปสำรวจและทำเป็นข้อมูลไว้

    บทเรียนจากเหตุการณ์ครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ภาครัฐของไทยขาดการศึกษาข้อมูลพื้นที่เสี่ยง ที่อาจเกิดภัยพิบัติได้ในแต่ละจังหวัด แม้ที่ผ่านมาใน พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 จะบัญญัติไว้ว่า แต่ละจังหวัด ต้องจัดทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงที่อาจเกิดภัยพิบัติ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต



    จากการข้อมูลศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ พบว่า ไทยมีโอกาสเสี่ยงได้รับภัยพิบัติหลักๆ 2 ประเภท คือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เช่น น้ำท่วม น้ำหลาก ดินโคลนถล่ม หรือ คลื่นในทะเลเกิดการเปลี่ยนระดับ อย่างฉับพลัน และภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เช่น แผนดินไหว แม้จะมีโอกาสน้อย แต่จากข้อมูล ก็มีความเสี่ยง ที่จะเกิดขึ้นได้



    แนวทางหลังจากนี้ นักวิชาการ แนะนำว่า หลังจากนี้ภาครัฐควรร่วมมือกับภาคประชาชนต้องศึกษาข้อมูลในแต่ละพื้นที่ และเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติต่างๆ ควรศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเหตุการณ์เหล่านั้น มาเป็นข้อมูลในด้านต่างๆ เช่น แนวทางการกู้ภัย การจัดการด้านการขนส่งผู้ป่วย การทำงานของภาวะผู้นำ เพื่อใช้เป็นแนวทางในเหตุการณ์ภัยพิบัติ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

    ขอบคุณที่มา
    https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/85338
     
  2. ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    มนุษย์กบฝรั่งชี้หน่วยซีลทำงานบนความเสี่ยงต้องดำน้ำระยะทางยาวกว่า 1 กม.
    แต่ขาดอุปกรณ์สำรอง
    เช่นถังอากาศและ
    เลกกูเรเตอร์
    หากเกิดขัดข้องระหว่างทางย่อมอันตรายถึงชีวิตกันหมด
    อนึ่ง ผบ.หน่วยซีลให้สัมภาษณ์กับสื่อ
    ทีวีช่องหนึ่งว่าวันที่ส่งหน่วยซีล
    4 นายเข้าไปพบเด็กเพื่อดูสถานการณ์
    แล้วให้กลับออกมาภายใน 5 - 6 ชม.
    แต่ปรากฎว่าหายไปนานถึง 23 ชม.
    แต่ทำอะไรไม่ได้ได้แต่เชื่อมั่นว่า
    จะเอาตัวรอดได้
    แต่มนุษย์กบฝรั่งมาเปิดเผยว่าได้
    นำถังอากาศเข้าไปส่งให้ซีล
    4 คนที่ติดอยู่กับเด็ก 13คน
    จึงกลับออกมาได้
    มันอึ้งมากๆที่เกิดเหตุเช่นนี้
    ถ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ให้อภัยคงไม่ใช่
    เสียจ่าแซมเพียงคนเดียว
    เพราะความไม่พร้อมในการควบคุม
    ด้านความปลอดภัย จึงทำให้กลาย
    เป็นความประมาท
    และมีการสูญเสียเกิด ถ้าไม่ได้สมองฝรั่ง
    ช่วยให้คำแนะและกอบกู้สถานการณ์
    อาจมีเหตุการณ์เศร้าสลดกว่านี้หลาย
    เท่า
    ประมาณว่าอุปกรณ์ไม่เพียงพอหรืออุปกรณ์เก่าเก็บหรือ
    อุปกรณ์ error หรือผู้สั่งการประมาท
    เลินเล่อ
    ล้วนก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
    ได้ทั้งสิ้นฮับ
     
  3. ทอนเงิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    549
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +707
    ขอบคุณที่มาทบทวนไห้เข้าใจครับลุง
     

แชร์หน้านี้