ถอดรหัสพระสมเด็จ

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย karatekung, 1 เมษายน 2009.

  1. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    ที่มาครับ Untitled Document
    พระสมเด็จองค์ปฐม (ตอนที่๑)
    [​IMG]
    พระสมเด็จองค์ปฐม
    พระสมเด็จองค์นี้เป็นพระที่สวยที่สุดองค์หนึ่งของวงการ คุณวิโรจน์ ใบประเสริฐ หรือ “นิรนาม” เขียนถึงพระองค์นี้ไว้ในนิตยสารพรีเชียส ฉบับรวมเล่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๕๘ ดังนี้
    “...สำหรับสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ที่ ๑ พิมพ์นี้มีน้อยมาก เท่าที่จะหาให้ท่านผู้อ่านที่เคารพได้ชม ก็มีเพียง ๑ องค์เท่านั้น ตั้งใจจะหามาสัก ๒ องค์ เพื่อนำมาลงให้ท่านผู้อ่านได้เปรียบเทียบ แต่ก็หาไม่ได้”
    แน่นอน เมื่อเซียนใหญ่พูดเช่นนี้ ก็เท่ากับว่าพระองค์นี้เป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น ก็ยังเป็นที่เสาะแสวงหา เพราะพระองค์อื่น ๆที่ถูกสร้างจากแม่พิมพ์เดียวกันย่อมมีอยู่ คงมิได้สร้างเฉพาะพระองค์นี้องค์เดียว
    แล้วองค์อื่น ๆ ที่สร้างพร้อมกัน ไปไหนหมด?
    เรามาตามหาพี่น้องร่วมแม่พิมพ์ของท่านดู
    องค์ที่ ๑
    เกริ่นไว้ก่อนแล้ว เป็นพระพิมพ์ทรงเดียวกันที่มีเหรียญรัชกาลที่ ๕ สมัยทรงพระเยาว์ อยู่ด้านหลัง องค์นี้พิมพ์ทรงอาจไม่ตรงกับองค์ปฐม แต่พระประเภทนี้มีหลายพิมพ์ ส่วนใหญ่พิมพ์ที่ลงปกนิตยสารจะเป็นพิมพ์ใหญ่พิมพ์ที่ 1 ซึ่งเป็นพิมพ์เดียวกันกับพระสมเด็จองค์ปฐม
    [​IMG]
    องค์ที่ ๑
    องค์ที่ ๒
    ได้มาจากแผงพระทั่วไป เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๐​
    [​IMG]
    องค์ที่ ๒
    องค์ที่ ๓
    ได้มาเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นของนักสะสมรุ่นเก่า ซึ่งได้มาจากจังหวัดอ่างทองเมื่อ ๑๐ ปีก่อน เนื่องจากนำไปเก็บไว้ในยุ้งฉางข้าวรวมกับพระอื่น ๆ จนเกิดคราบจากข้าวเปลือกที่วางปิดข้างบน จึงต้องล้างคราบออกทำให้เป็นพระเสียผิว เพราะเป็นการล้างแบบแช่ค้างคืนในน้ำผสมแชมพูแล้วขัดคราบออกเพื่อทำความสะอาดพระจากฝุ่นผงสกปรก ไม่ใช่การล้างด้วยน้ำอุ่น
    [​IMG]
    องค์ที่ ๓
    บทวิเคราะห์​
    ๑. วิเคราะห์พระแต่ละองค์
    องค์ที่ ๑ สรุปแล้วใน ประวัติพระ – ประวัติศาสตร์
    องค์ที่ ๒ พิมพ์ทรงดูเข้าเค้า แต่ดูเนื้อแล้วอายุไม่น่าถึงยุคสมเด็จโต
    องค์ที่ ๓ พิมพ์ทรงดี เนื้อหาดูดี และขาดธรรมชาติของพระ พระถูกล้างทำให้ผิวเสีย
    ๒. บทวิเคราะห์พร้อมกัน
    คือ เอาพระทั้งองค์ที่ ๑ องค์ที่๒ และองค์ที่ ๓ วางเรียงกันแล้วถ่ายไว้ในรูปเดียว วิธีนี้ทำให้สามารถเปรียบเทียบพระทั้ง ๓ องค์ได้ในอัตราส่วนจริง เพราะถ้าพิจารณาแต่ละองค์จากรูปถ่าย จะไม่เห็นสัดส่วนที่แท้จริง
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=520 align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=3>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    องค์ที่ ๑








    </TD><TD>องค์ที่ ๒




    </TD><TD>องค์ที่ ๓




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    จะเห็นว่า องค์ที่ ๒ มีขนาดเล็กกว่าองค์ที่ ๓ เล็กน้อย ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ที่พระพิมพ์นี้มีหลายบล็อค หรืออาจเป็นพระถอดพิมพ์ก็เป็นได้ พระองค์ที่ ๒ ยังเห็นทั่วไปตามแผงพระ ฉะนั้นข้อพิจารณาความแท้ไม่แท้ของพระพิมพ์นี้ สามารถสรุปได้ดังนี้
    บัญญัติประการที่ ๑ : จะไม่มีของแท้และของไม่แท้รวมอยู่ในพระองค์เดียวกัน
    ส่วนหนึ่งของบัญญัตินี้เป็นวิชาการ เช่นความรู้เรื่องปี พ.ศ. ของเหรียญในองค์ที่ ๑ ให้ข้อมูลที่เป็นวิชาการขัดแย้งกับปีสมเด็จโตมรณภาพ ก็หมายถึงของแท้และของไม่แท้จะรวมอยู่ในองค์เดียวกันไม่ได้ สำหรับผู้มีประสบการณ์ บัญญัติที่๑เป็นการสร้าง”จิตวิญญาณ”สำหรับพระองค์นั้น ศิลปะขององค์พระต้องกลมกลืนไม่สะดุด หากหยิบขึ้นดูแล้วรู้สึกแปลก ๆ ให้วางพระลง ไม่ต้องดูต่อ ไม่ต้องใช้กล้องส่อง
    บัญญัติประการที่ ๒ : ดูพิมพ์แล้วค่อยดูเนื้อ
    องค์ที่ ๒ เป็นตัวอย่างของบัญญัตินี้ พิมพ์ดูใช้ได้ ไม่สะดุดตา แต่เมื่อใช้กล้องส่องดูรายละเอียดของเนื้อแล้ว จะเห็นว่าเนื้อค่อนข้างใหม่ ก็จะเป็นไปตามที่พูดอย่างกว้างขวางว่า “พิมพ์ใช่ เนื้อไม่ใช่”
    บัญญัติประการที่ ๓ : พิมพ์ใช่ เนื้อใช่ ให้ดูธรรมชาติ
    องค์ที่ ๓ เป็นตัวอย่างที่ดี พิมพ์ดูดี เนื้อพระมีมวลสาร ดูได้ว่ามีอายุ แต่เนื่องจากเป็นพระที่ไม่ผ่านการใช้ อีกทั้งเจ้าของนำไปล้างอย่างหนักทำให้เสียผิว ไม่สามารถพิจารณาถึงธรรมชาติของพระองค์นี้ได้ จึงไม่สามารถตัดสินอย่างมั่นใจได้ว่าเป็นพระแท้ ๑๐๐% จนกว่าจะผ่านการใช้งานเป็นเวลานาน และเกิดคราบจากความเก่า จนสีหรือผิวมีเสน่ห์จับตา ไม่ว่าจะมองด้วยตาเปล่าหรือมองผ่านเลนส์ อย่างที่มีศัพท์บัญญัติไว้แล้วว่า “รอยคร่ำ” (คำนี้มีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึงคราบสนิมที่เกิดบนผิวโลหะ น่าใช้กว่า “หนึกนุ่ม” ซึ่งเป็นคำบัญญัติขึ้นเองของวงการพระ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2009
  2. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    องค์ปฐม (ตอนที่ ๒ : เคล็ดลับของเฮียเท้า)
    เฮียเท้าหรือที่รู้จักกันดีในชื่อวิโรจน์ ใบประเสริฐ พูดถึง “เคล็ดลับ” ของการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง โดยใช้นามปากกา “นิรนาม” ในบทความ “ดูแบบเซียน” นิตยสารพรีเชียส ฉบับรวมเล่ม พ.ศ. ๒๕๓๙
    เฮียเท้าบอกไว้ว่า พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน ไม่ว่าพิมพ์ไหนต้องมีตำหนิแม่พิมพ์ ๑๑ แห่งในตำแหน่งเดียวกัน
    เพื่อให้เห็นภาพประกอบการสนทนา จึงขอนำพระสมเด็จพิมพ์ใกล้เคียงกับ “องค์ปฐม” มาอธิบายเป็นตัวอย่าง
    [​IMG]
    ด้านหน้า
    [​IMG]
    ด้านหลัง
    การอธิบายด้วยภาพถ่าย ๓ มิติ (3D หรือ 3 Dimension)
    ขออนุญาตกล่าวอ้างเป็นหลักฐาน ณ ที่นี้ว่า การวิเคราะห์พระสมเด็จโดยรูปถ่ายแบบ ๓ มิติ เป็นผลงานของผู้ทำเว็บที่คิดขึ้นเอง และมิได้ลอกเลียนจากผู้ใด
    ปกติการถ่ายรูปพระ จะถ่ายแบบ ๒ มิติ คือ เห็นความกว้างและความยาวขององค์พระโดยไม่เห็นความลึก จริงอยู่การใช้แสงไฟส่องจากด้านข้างจะทำให้เห็นเงา อันสามารถบอกถึงความตื้น ลึก นูน ต่ำ ขององค์พระได้ในระดับหนึ่ง แต่อย่าลืมว่าพระสมเด็จเป็นศิลปะแบบนูนต่ำ (Bas Relief) รายละเอียดความลึกจะไม่ปรากฏเท่าใดนัก และโดยทั่วไปพิมพ์พระสมเด็จจะค่อนข้างตื้น ทำให้สังเกตมิติแห่งความลึกได้ไม่ดีนัก
    อย่างไรก็ตาม พระสมเด็จองค์สวย ๆ พิมพ์ คม ชัด ลึก ก็มีให้เห็นบ่อยตามหนังสือพระทั่วไป และหากศึกษาพิมพ์ทรงจากองค์ที่สวย จะสามารถเข้าใจศิลปะของพิมพ์ทรงนั้น ๆ เมื่อพบเห็นองค์ที่พิมพ์ตื้นหรือสึกหรอจากการใช้งาน ก็สามารถมีหลักการในการพิจารณาได้ดีกว่าที่จะมองจากมิติกว้าง คูณ ยาว อย่างเดียว
    มีหนังสือหลายเล่มพยายามขยายความตำหนิ ๑๑ แห่งของเฮียเท้าด้วยคำอธิบายและรูปถ่าย ๒ มิติทั่วไป ซึ่งยากที่ผู้อ่านจะเห็นภาพได้ชัดเจน และไม่สามารถเปรียบเทียบกับการได้เห็นของจริงได้
    ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
    คำตอบคือ การอธิบายด้วยภาพ ๒ มิติ ไม่สามารถจำลองสิ่งที่คุณเห็นเมื่อมองด้วยกล้องส่องพระ อีกทั้งเวลาที่ตะแคงพระส่องด้วยกล้องที่มีความขยายสูง ๘ – ๑๐ เท่า จะเห็นเฉพาะบริเวณแคบ ๆ ที่เลนส์ของกล้องคลุมถึง ไม่เหมือนภาพถ่าย ๓ มิติ ซึ่งขยายเป็นสิบ ๆ เท่า และสามารถดึงรายละเอียดออกมาให้เห็นด้วยตาเปล่าแบบสบาย ๆ
    ดังนั้นการอธิบายตำหนิ ๑๑ แห่งของเฮียเท้าด้วยภาพแบบ ๓ มิติ และเปรียบเทียบกับภาพเดียวกันที่ระบายสีแบบไฮไลท์ (High Light) จึงเป็นครั้งแรก

    ตำหนิ ๑๑ แห่งของพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน
    ตำหนิที่ ๑ กรอบนอกขององค์พระทั้ง ๔ ด้านเห็นกรอบเส้นนูนทั้ง ๔ ด้าน พระสมเด็จบางองค์มีเนื้อเกินกรอบนูน จะเห็นชัดเจนจากภาพพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม
    [​IMG]
    มองจากด้านบน
    [​IMG]
    มองจากด้านบน : ระบายสี
    [​IMG]
    มองจากด้านล่าง
    [​IMG]
    มองจากด้านล่าง : ระบายสี​
    เฉพาะเส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านข้างซ้ายมือขององค์พระจะเป็นเส้นนูน แล่นลงมาถึงระหว่างข้อศอกขององค์พระแล้วจะจมหายไปกับซุ้มเรือนแก้ว
    [​IMG]
    กรอบด้านซ้าย
    [​IMG]
    กรอบด้านซ้าย : ระบายสี​

    ตำหนิที่ ๒ กรอบแม่พิมพ์ด้านขวาขององค์พระจะเป็นเส้นนูนแล่นลงมาตลอดและชิดกับซุ้มเรือนแก้วด้านล่างสุด
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=383 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=192>[​IMG]
    </TD><TD width=191>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>กรอบด้านขวา
    </TD><TD>กรอบด้านขวา : ระบายสี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    ตำหนิที่ ๓ เส้นซุ้มเรือนแก้วจะเป็นเส้นค่อนข้างใหญ่นูน เป็นลักษณะเหมือนเส้นหวายผ่าซีก
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=606 border=0><TBODY><TR><TD width=303>[​IMG]
    </TD><TD width=303>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD class=BodyText>ซุ้มเรือนแก้ว
    </TD><TD class=BodyText>ซุ้มเรือนแก้ว : ระบายสี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ด้านในของเส้นซุ้มเรือนแก้วจะเป็นเส้นตั้งฉากกับ พื้นองค์พระ เส้นซุ้มเรือนแก้วด้านนอกจะเทลาดเอียงลงเล็กน้อย

    [​IMG]
    ด้านในเส้นซุ้ม
    [​IMG]
    ด้านในเส้นซุ้ม : ระบายสี

    ตำหนิที่ ๔ พระพักตร์จะเป็นลักษณะเป็นผลมะตูมเหมือนกัน ต่างกันที่อ้วนกว่ากันเท่านั้น
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=324 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=163>[​IMG]
    </TD><TD width=161>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>พระพักตร์
    </TD><TD>พระพักตร์ : ระบายสี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ตำหนิที่ ๕ พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พิมพ์ใหญ่ทุกพิมพ์จะมีหูทั้ง ๒ ข้าง แต่ถ้าบางองค์พิมพ์ลึกจะเห็นชัด แต่ศิลปะของพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พิมพ์ใหญ่ คุณโสฬสให้คำจำกัดความไว้ดีมากว่า “เห็นหูรำไร อยู่ในที” ถ้าส่องกล้องดูจะหายไปต้องส่องกล้องทแยงให้มีเงาจึงจะเห็นหูทั้ง ๒ ข้าง เป็นลำดับกับลำคอ
    ในสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พิมพ์ใหญ่ ที่กดลึกไม่เพียงพอก็จะไม่ปรากฎหูให้เห็น
    [​IMG]
    เห็นหูรำไร
    [​IMG]
    เห็นหูรำไร : ระบายสี​
    หมายเหตุ : พระองค์นี้มีคราบบริเวณหูซ้าย ทำให้สังเกตได้ยาก

    ตำหนิที่ ๖ ตรงส่วนโค้งของลำแขนติดกับหัวไหล่ ด้านหัวไหล่ขวาขององค์พระจะมีเนื้อหนาและมีส่วนกว้างกว่าหัวไหล่ด้านซ้ายขององค์พระ
    [​IMG]
    หัวไหล่
    [​IMG]
    หัวไหล่ : ระบายสี​

    ตำหนิที่ ๗ หัวเข่าข้างซ้ายขององค์พระจะนูนสูงกว่าหัวฐานด้านบนสุด
    [​IMG]
    หัวเข่าซ้าย
    [​IMG]
    หัวเข่าซ้าย : ระบายสี​

    ตำหนิที่ ๘ หัวเข่าข้างขวาขององค์พระจะนูนต่ำกว่าหัวฐานด้านบนสุด
    [​IMG]
    หัวเข่าขวา
    [​IMG]
    หัวเข่าขวา : ระบายสี​

    ตำหนิที่ ๙ ถ้าพินิจพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม พิมพ์ใหญ่ ทุกพิมพ์ จะเห็นองค์พระประธานท่านหันตะแคงไปทางด้านขวาขององค์พระเล็กน้อย
    และฐานที่ ๑, ๒ และ ๓ จะหันไปทางซ้ายมือขององค์พระสลับกันกับองค์พระ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=570 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=284>[​IMG]
    </TD><TD width=286>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>พระตะแคงขวา
    </TD><TD>พระตะแคงขวา : ระบายสี

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ตำหนิที่ ๑๐ พื้นที่ระหว่างหัวเข่าขององค์พระกับฐานชั้นที่ ๑ และพื้นระหว่างฐานชั้นที่ ๒ กับฐานชั้นที่ ๓ จะสูงกว่าพื้นในระหว่างฐานชั้นที่ ๑ กับฐานชั้นที่ ๒
    [​IMG]
    พื้นที่ฐาน ๑-๒​

    [​IMG]
    พื้นที่ฐาน ๑-๒ : ระบายสี​
    พื้นในระหว่างฐานชั้นที่ ๑ กับฐานชั้นที่ ๒ จะสูงเสมอกับพื้นรอบองค์พระประธาน
    [​IMG]
    พื้นที่รอบองค์พระ
    [​IMG]
    พื้นที่รอบองค์พระ: ระบายสี​

    ตำหนิที่ ๑๑ พื้นในซุ้มเรือนแก้วจะต่ำกว่าพื้นนอกซุ้มเรือนแก้วเล็กน้อย จนเกือบดูไม่ออก ต้องใช้วิธีตะแคงพระดูถึงจะเห็นความสูงต่ำได้
    [​IMG]
    พื้นที่ในซุ้ม
    [​IMG]
    พื้นที่ในซุ้ม : ระบายสี​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2009
  3. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    องค์ปฐม (ตอนที่ ๓ : พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ที่ ๑ ของเฮียเท้า)
    ขออนุญาตนำพระสมเด็จองค์ปฐมมาลงให้ชมอีกครั้งหนึ่ง

    [​IMG]

    องค์ปฐม
    ผู้ทำเว็บได้สัมผัสพระสมเด็จพิมพ์ทรงนี้ครั้งแรก เมื่อประมาณต้นปี ๒๕๕๐ จาก “รัง” นักสะสมรุ่นเก่าที่มีพระสมเด็จมากที่สุดคนหนึ่งของวงการ ความรู้สึกตอนนั้นแปลกใจและตื่นเต้นมาก เพราะจำได้ว่าเป็นพระพิมพ์เดียวกับองค์ปฐมของเฮียเท้า ซึ่งเป็นพระสมเด็จที่หาได้ยากที่สุดองค์หนึ่ง จึงได้ขอแบ่งปันจากเจ้าของไว้เป็นของตัวเองบ้าง
    ต่อมาปลายปี ๒๕๕๐ ก็ได้พบพระพิมพ์นี้อีก ตามแผงพระแถวเยาวราชและตลาดพญาไม้ จึงได้เก็บสะสมไว้เปรียบเทียบ และได้แสดงความเห็นไว้แล้วใน ถอดรหัสพระสมเด็จ ปฐมฤกษ์ : ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๑
    เร็ว ๆ นี้ก็ยังเห็นพระพิมพ์นี้อีกตามแผงทั่วไป แต่ไม่ได้ใส่ใจ หรือเช่าบูชาอีก เพราะมีมากพอและวิเคราะห์เข้าใจหมดแล้ว
    จนมาพบว่านิตยสารพระเครื่องฉบับหนึ่ง จัดประเภทพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน ขึ้นใหม่ โดยแบ่งขนาดตามความสูงด้านในของซุ้ม เรียกชื่อพระทรงตามลักษณะพิเศษขององค์พระ และตั้งชื่อพระพิมพ์นี้ไว้ใหม่ เป็น “พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ทรงใหญ่ ทรงสังฆาฏิ”
    จึงขอสนทนากับท่านถึงพระสมเด็จองค์ปฐมนี้ แบบวิเคราะห์เจาะลึกใน ๔ ประเด็นดังนี้ :

    ประเด็นที่ ๑ : พระพิมพ์นี้หายากจริงหรือ
    ดูเหมือนว่าพระพิมพ์นี้จะไม่ได้หายากอย่างที่เฮียเท้าพูดถึงแล้ว อย่างน้อยก็มีที่มาของพระชุดนี้ถึง ๓ แหล่ง ได้แก่
    ๑. จากนักสะสมรุ่นเก่า ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อขาว ผ่านการล้างอย่างหนัก ทำให้เสียผิว ไม่สามารถสังเกตเห็นธรรมชาติจากการใช้หรือสภาพเดิมขององค์พระได้นำลงให้ชม ๘ องค์ทั้งหน้าและหลัง

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=440 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]




    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>รุ่นเก่า ๑ : ด้านหน้า



    </TD><TD>รุ่นเก่า ๑ : ด้านหลัง



    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]



    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>รุ่นเก่า ๒ : ด้านหน้า



    </TD><TD>รุ่นเก่า ๒ : ด้านหลัง



    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]



    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>รุ่นเก่า ๓ : ด้านหน้า



    </TD><TD>รุ่นเก่า ๓ : ด้านหลัง



    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]



    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>รุ่นเก่า ๔ : ด้านหน้า



    </TD><TD>รุ่นเก่า ๔ : ด้านหลัง



    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]



    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>รุ่นเก่า ๕ : ด้านหน้า



    </TD><TD>รุ่นเก่า ๕ : ด้านหลัง



    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]



    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>รุ่นเก่า ๖ : ด้านหน้า



    </TD><TD>รุ่นเก่า ๖ : ด้านหลัง



    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]



    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>รุ่นเก่า ๗ : ด้านหน้า



    </TD><TD>รุ่นเก่า ๗ : ด้านหลัง



    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]



    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>รุ่นเก่า ๘ : ด้านหน้า



    </TD><TD>รุ่นเก่า ๘ : ด้านหลัง



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ยังมีพระชุดนี้อีกมา กระจายตามผู้ใกล้ชิดและที่นักสะสมรุ่นเก่า เท่าที่เห็นผ่านตาคร่าว ๆ มีร่วมร้อยองค์
    ๒. จากตลาดพระทั่วไป มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบเนื้อยังไม่ถึง เนื้อเก่าดูเข้าที่ และแบบหลังมีเหรียญรัชกาลที่ ๕ ยกมาเป็นตัวอย่าง ๔ องค์

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=470 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]



    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>ตลาดพระ ๑ : ด้านหน้า



    </TD><TD>ตลาดพระ ๑ : ด้านหลัง



    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]



    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>ตลาดพระ ๒ : ด้านหน้า



    </TD><TD>ตลาดพระ ๒ : ด้านหลัง



    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]



    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>ตลาดพระ ๓ : ด้านหน้า



    </TD><TD>ตลาดพระ ๓ : ด้านหลัง



    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]



    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>ตลาดพระ ๔ : ด้านหน้า



    </TD><TD>ตลาดพระ ๔ : ด้านหลัง



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ตามตลาดพระแบบแผงจรก็ยังเห็นพระพิมพ์นี้อยู่เรื่อย ๆ ทั้งแบบหลังเรียบและแบบหลังมีเหรียญรัชกาลที่ ๕ ติดอยู่ อย่างน้อย ๆ ก็เห็น ๕, ๖ องค์ ก่อนที่ผู้ทำเว็บจะเลิกสนใจ
    ๓. จากนิตยสารพระเครื่อง เท่าที่เห็นลงในนิตยสารเล่มล่าสุด และเล่มก่อน ๆ นั้นไม่น่าจะต่ำกว่า ๑๐ องค์ บางองค์ยังได้รับเกียรติขึ้นปกหน้าเสียด้วย
    ฉะนั้น พระที่เฮียเท้าเห็นแค่องค์เดียวก่อนเกษียณตัวเองจากวงการ ปัจจุบันปี ๒๕๕๑ มีให้เห็นเป็นร้อยองค์แล้ว

    ประเด็นที่ ๒ : ตำหนิของพระสมเด็จองค์ปฐม
    เฮียเท้ายกย่องพระองค์นี้ให้เป็นพิมพ์ที่ ๑ ในจำนวน ๔ พิมพ์ ทรงของพิมพ์พระประธาน ตำหนิทั้ง ๔ ที่เป็นลักษณะพิเศษของพิมพ์ทรงนี้ ดังนี้
    ตำหนิที่ ๑ เศียรพระ และส่วนที่แสดงเป็นลำองค์พระ ตลอดจนเส้นแขนและเส้นฐานทุกเส้นใหญ่กว่าพิมพ์ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]


    </TD><TD>[​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>ตำหนิที่ ๑


    </TD><TD>ตำหนิที่ ๑ : ระบายสี


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ตำหนิที่ ๒ วงแขนทั้งสองข้างเกือบจะเป็นเส้นตรงแล่นลงมา (หรือสอบขนานกับลำองค์พระ)
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]


    </TD><TD>[​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>ตำหนิที่ ๒


    </TD><TD>ตำหนิที่ ๒ : ระบายสี


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ตำหนิที่ ๓ ระหว่างพระเพลา (ขาตัก)กับฐานด้านบนสุดจะมีเส้นแซม (พิมพ์อื่นไม่มี)
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]


    </TD><TD>[​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>ตำหนิที่ ๓


    </TD><TD>ตำหนิที่ ๓ : ระบายสี


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ตำหนิที่ ๔ จะมีเส้นสังฆาฏิ แต่ค่อนข้างเล็ก
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]


    </TD><TD>[​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>ตำหนิที่ ๔


    </TD><TD>ตำหนิที่ ๔ : ระบายสี


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ประเด็นที่ ๓ : เอกลักษณ์หลัก เอกลักษณ์รอง
    ความจริงคำว่า “ตำหนิ” ไม่ควรใช้กับพระสมเด็จอันมีรูปลักษณ์เปรียบเสมือนตัวแทนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระปัญญาคุณ อีกทั้งพระสมเด็จยังเป็นผลงานอันสื่อถึงความเป็นอัจฉริยภาพในเชิงสร้างสรรค์ของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) จึงไม่ควรเรียกลักษณะพิเศษขององค์พระว่า “ตำหนิ” ดังนั้นจึงขอใช้คำว่า “เอกลักษณ์” แทน
    เอกลักษณ์แห่งพระสมเด็จองค์ปฐมคือคุณพิเศษที่นอกเหนือไปจากที่เฮียเท้าได้พูดถึง ได้แก่เอกลักษณ์หลักที่สังเกตได้ชัดจากพระพิมพ์นี้และเอกลักษณ์รองซึ่งต้องใช้ความพิถีพิถันในการสังเกต และมักปรากฏในองค์พระที่ตัดพิมพ์ชัด ๆ
    ผู้ทำเว็บจะอธิบายถึงเอกลักษณ์ทั้ง ๒ ด้วยภาพ ๓ มิติ โดยใช้ตัวแทนขององค์ปฐม คือพระพิมพ์เดียวกันที่มีความคมชัดลึก เนื่องจากไม่สามารถนำพระสมเด็จองค์ปฐมมาถ่ายภาพให้ชมได้ และขออนุญาตไม่ใช้คำราชาศัพท์ในการอธิบาย เพื่อความสะดวกในการเข้าใจ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]



    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>ตัวแทนองค์ปฐม : ด้านหน้า



    </TD><TD>ตัวแทนองค์ปฐม : ด้านหลัง



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เอกลักษณ์หลัก
    ๑. สังฆาฏิคมนูนชัด ยาวพาดจากไหล่มาถึงกลางหน้าอกองค์พระ เหนือหน้าท้องในลักษณะที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า “สังฆาฏิสิงห์สอง”
    [​IMG]
    สังฆาฏิสิงห์สอง
    [​IMG]
    สังฆาฏิสิงห์สอง : ระบายสี​
    ๒. เส้นแซมใต้ตัก หรือที่เรียกกันว่า “ผ้าทิพย์” หรือ “นิสีทนะ” คม เรียว ชัด มีลักษณะโค้งน้อย ๆ ไม่เป็นเส้นตรง เน้นถึงความอ่อนช้อยสวยงาม ปลายทั้งสองด้านโค้งน้อย ๆ มาหาฐานชั้นบน แสดงเป็นลักษณะ “กลีบบัวหงาย” ของฐานชั้นบน
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]


    </TD><TD>[​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>ผ้าทิพย์


    </TD><TD>ผ้าทิพย์ : ระบายสี


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ๓. ฐานชั้นบนมีเส้นนูนเป็นสันขนาดเล็กยาวตลอด เอกลักษณ์นี้ถือว่าสุดยอดเพราะเป็นหนึ่งเดียวที่ปรากฏในพระพิมพ์นี้ ไม่ปรากฏในพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์พระประธานด้วยกัน พิมพ์เจดีย์ ฐานแซม เกศบัวตูม หรือแม้แต่พิมพ์ปรกโพธิ์ จะมีก็แต่พิมพ์อกครุฑ ของพระสมเด็จบางขุนพรหมเท่านั้น ที่มีรอยนูนเป็นเส้นคล้ายกันในฐานชั้นบน แต่ก็ไม่งดงามเท่า
    ศิลปะพระพุทธรูปบ่งถึงลักษณะเช่นนี้ว่าเปรียบเสมือน “ตุ่มเกสรบัว” ของพระพุทธรูป
    [​IMG]
    ฐานชั้นบน
    [​IMG]
    ฐานชั้นบน : ระบายสี​
    ๔. ฐานชั้นกลางนูนเด่นชัดเจนยาวตลอด ในลักษณะของ “สันอกไก่” ปลายทั้งสองเชิดขึ้นน้อย ๆ และโค้งลงไปหาฐานชั้นล่างแบบ “ฐานสิงห์” อันงดงาม
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=560 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]


    </TD><TD>[​IMG]


    </TD></TR><TR><TD>ฐานชั้นกลาง


    </TD><TD>ฐานชั้นกลาง : ระบายสี


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ๕. ฐานชั้นล่างเป็นฐานหน้ากระดานตัดเฉียง ล่ำสัน สมบูรณ์ มีเส้นนูนน้อย ๆ รอบตัวฐานทั้งสี่ด้านในลักษณะที่เรียกว่า “ลวดกันลาย” ของศิลปะพระพุทธรูป
    [​IMG]
    ฐานชั้นล่าง
    [​IMG]
    ฐานชั้นล่าง : ระบายสี ​
    ๖. พระพิมพ์นี้เห็นหูสวยที่สุด ลักษณะสั้น ปลายทั้งสองโค้งงอน สวยงามสมบูรณ์ หูข้างซ้ายเห็นชัดเจน ส่วนข้างขวาเห็นรางเลือนอันเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของช่างผู้รังสรรค์พิมพ์ทรง ซึ่งเราจะพบบ่อยครั้งในพระพิมพ์ทรงอื่น ๆ ต่อไป
    [​IMG]
    หู
    [​IMG]
    หู : ระบายสี​
    ๗. เกศมีลักษณะสั้น อวบอ้วน โคนหนา เริ่มจากกลางกระหม่อมค่อนไปทางด้านซ้าย ไม่เริ่มจากกึ่งกลาง มีลักษณะค่อนข้างตรง ปลายเกศบางลงน้อย ๆ จรดซุ้มในลักษณะงอนเชิดขึ้นไปหาส่วนโค้งสุดทางซุ้ม ไม่ใช่ชนซุ้มแบบตรง ๆ ทื่อ ๆ
    [​IMG]
    เกศ
    [​IMG]
    เกศ : ระบายสี​

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]



    </TD><TD>[​IMG]



    </TD></TR><TR><TD>เกศชนซุ้ม



    </TD><TD>เกศชนซุ้ม : ระบายสี



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เอกลักษณ์รอง
    ๑. ลำคอของพระองค์นี้เป็นลักษณะที่มีเพียงพระพิมพ์นี้เท่านั้น ไม่ปรากฏในพิมพ์อื่นใดไม่ว่าจะเป็นวัดระฆังหรือบางขุนพรหม เนื่องจากเห็นได้ชัด และไม่เป็นลำยาว แต่มีลักษณะอวบอ้วนและเป็นชั้น ๆ ในศิลปะพระพุทธรูปที่เรียกว่า “คอกำไล”
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>ลำคอ</TD><TD>ลำคอ : ระบายสี</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ๒. ไหล่ข้างซ้ายไม่ราบเรียบโค้งมนแบบไหล่ข้างขวา ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นตุ่มมน ๆ บริเวณหัวไหล่ และล่างลงมาจะเห็นติ่งเล็ก ๆ บริเวณต้นแขน

    [​IMG]

    ไหล่ข้างซ้าย
    [​IMG]
    ไหล่ข้างซ้าย : ระบายสี​


    ๓. ไหล่ข้างขวาราบเรียบไม่ปรากฏตุ่มหรือติ่งบริเวณหัวไหล่ แต่ปรากฏร่องเล็ก ๆ ใต้หัวไหล่ เสมือนบริเวณซอกรักแร้มีขีดสั้น ๆ

    [​IMG]
    ไหล่ข้างขวา
    [​IMG]
    ไหล่ข้างขวา : ระบายสี​


    ๔. ชายจีวรอันเป็นสัญลักษณ์ของพิมพ์ทรงพระประธาน ก็ไม่เหมือนพิมพ์อื่นใดไม่ว่าวัดไหน ปรกติพระสมเด็จพิมพ์พระประธานจะมีชายจีวรเส้นเดียว อาจหนาหรือบาง อย่างที่เรียกกันตามตำราโบราณว่า “ชายจีวรหนา” “ชายจีวรบาง” และ “ชายจีวรเส้นลวด” สำหรับพระพิมพ์นี้แปลกกว่าเพื่อนที่มี “สองชาย” คือมีชายจีวรสองเส้นแยกจากบริเวณศอกซ้ายมาพบกันที่บริเวณเข่าในลักษณะสามเหลี่ยม

    [​IMG]
    ชายจีวร
    [​IMG]
    ชายจีวร : ระบายสี​


    ประเด็นที่ ๔ : บทสรุป
    ไม่มีบทสรุปพระสมเด็จองค์ปฐม ว่าทำไมเฮียเท้าจึงเจออยู่เพียงองค์เดียว และพระองค์อื่น ๆ กว่าร้อยองค์ เป็น “คู่แฝด” ขององค์ปฐมและมาจากแม่พิมพ์เดียวกันหรือไม่
    ก็เพราะพระสมเด็จองค์ปฐมถึงแม้จะถูกถ่ายภาพลงหนังสือพระมากที่สุดองค์หนึ่ง ก็ยังเป็นปริศนาของวงการ เพราะหนังสือพระทุกเล่มที่ลงรูป ไม่เคยบอกว่าเป็นพระของใคร มีประวัติเป็นมาอย่างไร และอยู่ในความครอบครองของใครมาบ้าง
    มีแต่อาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณเท่านั้นที่เรียกพระองค์นี้ว่า “องค์คุณอุดม” ในหนังสือที่ระลึกงานศพแม่ยาย คือ คุณบุญสม วัชรพงศ์ เมื่อปี ๒๕๔๓
    แต่ “คุณอุดม” คือใคร ไม่มีใครทราบความเป็นมา ไม่มีตำนานเล่าขาน ไม่เหมือน “องค์ครูเอื้อ” “องค์ลุงพุฒ” หรือ “องค์เสี่ยหน่ำ” ที่เป็นที่รู้จักทั่วไป
    เมื่อไม่มีโอกาสเห็นองค์จริง และไม่ทราบว่าอยู่กับใคร? ผู้ทำเว็บจึงไม่สามารถสรุปได้ว่า “องค์คุณอุดม” มีพี่น้องร่วมพิมพ์ทรงหรือไม่
    เอาเป็นว่า พระองค์อื่นเป็นได้แค่ “คู่เหมือน” มิใช่ “คู่แฝด” ก็แล้วกัน
    เหตุผล

    ๑. เมื่อไม่เห็นองค์จริง ก็วัดไม่ได้ว่าพระสมเด็จองค์ปฐมมีมิติกว้าง ยาว หนาเท่าใด มีหนังสือบางเล่มลงรูปขนาดเท่าตัวจริงด้วย แต่ไม่ได้บอกขนาดเป็นตัวเลข จึงไม่แน่ใจว่าถูกต้องและใช้เปรียบเทียบได้
    ๒. สีผิวหรือวรรณะขององค์พระ แม้พระสมเด็จองค์ปฐมจะมีรูปให้เห็นมากมาย แต่สีของแต่ละรูปไม่เคยตรงกัน อาจเป็นเพราะเทคนิคของสีในระบบการพิมพ์ซึ่งเป็นระบบ cmyk แตกต่างกับสีในระบบคอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นระบบ rgb แม้ภาพถ่ายที่มาจากฟิล์มก็ต้องผ่านระบบสแกนเป็นสี rgb ก่อน แล้วค่อยแปลงเป็น cmyk ทีหลัง ขั้นตอนการแปลง ตลอดจนเทคนิคการทำเพลทและสีหมึกของแท่นพิมพ์ มีส่วนทำให้สีขององค์พระเพี้ยนจากความเป็นจริงได้ เมื่อไม่เห็นองค์จริง ก็ไม่รู้สีผิวหรือวรรณะที่แท้จริง
    ๓. เมื่อไม่เห็นองค์จริง ก็ไม่เห็นธรรมชาติขององค์พระ ตอบไม่ได้ว่าธรรมชาติของท่านเกิดจากสภาพการใช้งานมาก่อน หรือพระอยู่ในสภาพเก่าเก็บ ไม่มีคราบการใช้ ไม่มี “รอยคร่ำ” เปรียบเทียบกับพระพิมพ์นี้ของนักสะสมรุ่นเก่า แม้จะถูกล้างอย่างหนักทำให้ไม่เห็นสภาพเดิม แต่ก็ยังบอกได้ว่าเป็นพระที่ไม่เคยถูกใช้ และดูเหมือนพระใหม่
    แต่ถ้าจะถามความเห็นของผู้ทำเว็บ โดยใช้ “จิตวิญญาณ” ของการเข้าถึงพุทธศิลป์ของพระสมเด็จ ก็พอจะตอบแบบมีเงื่อนไขว่าเป็นความเห็นเบื้องต้นที่ยังยืนยันไม่ได้จนกว่าจะได้สัมผัสองค์จริง
    คำตอบก็คือ
    พระสมเด็จทั้ง ๓ แหล่งไม่ว่าจากนักสะสมรุ่นเก่า ตลาดพระ หรือแม้แต่นิตยสารพระเครื่อง ไม่ได้มาจากแม่พิมพ์เดียวกับองค์ปฐมของเฮียเท้า
    และน่าจะมาจากแม่พิมพ์คนละตัวซึ่งอาจเป็นแบบใดแบบหนึ่งของ
    พระเลียนพิมพ์
    พระลอกพิมพ์
    หรือแม้แต่ พระถอดพิมพ์

    สำหรับท่านผู้อ่าน จะมีความเห็นอย่างไร ก็สุดแท้แต่วิจารณญาณของท่าน​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2009
  4. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    ความทรงจำกับพระสมเด็จ
    ปฐมบท
    ผู้อ่านคงได้ผ่านบทความใน ถอดรหัสพระสมเด็จ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๓ ตอน
    ก่อนจะนำท่านไปสู่การถอดรหัสครั้งต่อไป ก็ขออนุญาตไม่โชว์พระสักวัน แต่ขออธิบายถึงแนวทางเลือกในการสะสมพระเนื้อผงตระกูลสมเด็จโต
    วันนี้เราจะพูดในสิ่งที่มีเหตุผล มีหลักฐานที่มา และวิเคราะห์ให้ท่านฟัง รวมทั้งแสดงความคิดเห็นที่สอดคล้องหรือขัดแย้งกับหลักฐานดังกล่าว เพื่อให้ได้บทสรุปให้เกิดความเข้าใจ
    เราจะไม่พูดแบบไม่มีหลักฐาน
    ถ้าเป็นตำนานก็บอกว่าเป็นตำนาน
    ถ้าเป็นข้อมูลที่ได้ยินมา ก็จะพยายามหาแหล่งยืนยันข้อมูลนั้น
    จุดมุ่งหมายของผู้ทำก็คือ
    ให้ทางเลือกในการสะสมพระเครื่องแก่ท่าน
    ให้ท่านตัดสินใจบนข้อมูลที่รอบคอบและวิเคราะห์ให้ท่านฟัง
    ส่วนการตัดสินใจเป็นของท่าน บนเหตุผลส่วนตัวและวิจารณญาณของท่านเอง
    การจำพิมพ์ทรงของพระสมเด็จ
    พระสมเด็จก็เหมือนความจำของเรา จำลองเหตุการณ์ที่เราผ่านมา ทั้งสุขและทุกข์ ในเพลง The Way We Were เขาสอนให้เราจำแต่ความจำที่ดี และให้ลืมความจำที่ไม่ดี เพราะถ้าเรามัวไปคิดถึงความจำที่ไม่ดี สภาพจิตใจของเราจะหมกมุ่นในสิ่งที่เป็นทุกข์ ในอดีตที่ผ่านไปแล้วแก้ไม่ได้ และไม่หวนกลับมาอีก
    พระสมเด็จก็เช่นกัน เราผ่านมาทั้งพิมพ์ทรงที่ดี และพิมพ์ทรงที่ไม่ดี เราควรจำแต่พิมพ์ที่ดี พิมพ์ที่มีประวัติไม่ดี ไม่ว่าประวัติพระ ประวัติเจ้าของหรือแม้แต่ประวัติศาสตร์ ก็อย่าไปจำ เพราะมันจะติดตา และสร้างความสับสน
    นโปเลียน โบนาปาร์ต จักรพรรดิ์ผู้ยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศส มีความจำเป็นเลิศ สามารถจำหน้าและชื่อของทหารทุกคนที่เขาได้พบ เมื่อมีคนถามถึงเคล็ดลับในการจำ นโปเลียนตอบว่า ความจำเหมือนลิ้นชักข้อมูล เขาเพียงปิดบางลิ้นชัก และเปิดอันที่ต้องการก็สามารถเรียกความทรงจำนั้น ๆ ขึ้นมาได้
    นักสะสมพระเครื่องก็เช่นกัน เราควรเลือกจำองค์ที่ดีให้ติดตา ส่วนองค์ที่นักเล่นพระรุ่นเก่าเรียกว่า “ฝิ่น” ”ของเล่น” “กระสุน” ก็ให้จำแบบให้เป็นแค่ตะแกรง เพื่อร่อนพระที่ไม่ดีเหล่านี้ออกจากกลุ่ม
    เวลาดูพระตามแผง ดูแล้วไม่ผ่านแม้แต่ตะแกรงแรกก็ให้วางลง ไม่จำเป็นต้องส่องดูต่อไป แต่ก็ผ่านตะแกรงขั้นแรก ก็ให้เรียกความจำเกี่ยวกับตะแกรงอื่น ๆ ขึ้นมาตรวจสอบว่าผ่านหรือไม่
    คือผ่านตะแกรงความจำพระที่ไม่ดีมาเรื่อย ๆ ก็เข้าสู่วิถีความจำองค์ที่ดี ตอนนี้แหละ เราจะใช้ความจำในส่วนพระที่ดีมาปรับเปลี่ยน เพื่อดูว่ามีส่วนใดใกล้เคียงกับสิ่งที่เราชอบในพระดีองค์นั้น
    ข้อคิดสำหรับนักเล่นพระมือใหม่
    1. <LI class=BodyText>ยังไม่ต้องดูพระแท้เป็น <LI class=BodyText>สร้างตะแกรงความจำสำหรับพระไม่แท้เพื่อจะตัดสินพระที่ไม่ผ่านตะแกรง <LI class=BodyText>เมื่อมีความชำนาญและสามารถจำแนกพระไม่แท้ออกไปเรื่อย ๆ ก็จะเข้าสู่วิถีแห่ง “พระอาจจะแท้” เปรียบเทียบกับความจำในส่วนพระแท้ที่เราประทับใจและเก็บไว้ใน “ลิ้นชักข้อมูลความจำ” <LI class=BodyText>เมื่ออยู่ในวิถีนั้น ก็พอที่จะแบ่งแยกและอาจเริ่มสะสม “พระอาจจะแท้” ได้ แต่ต้องไม่ใช่ราคาที่แพง <LI class=BodyText>พัฒนาทักษะไปเรื่อย ๆ เพื่อสร้างสมความชำนาญและประสบการณ์ ท้ายสุดจะได้พระในโซนที่เรามีความมั่นใจว่า “พระน่าจะแท้” ตอนนี้ก็อวดกับเพื่อนฝูงคนใกล้ชิดได้แล้ว <LI class=BodyText>จากนั้นเริ่มประสบการณ์ส่วนตัวว่ามีความรู้สึกอย่างไรเมื่อมีท่านอยู่กับเรา มีเหตุการณ์ที่อธิบายไม่ได้บางอย่าง ไม่ว่าดี หรือไม่ดี เกิดขึ้นกับเราหรือไม่ มีข้อคิดอยู่อย่างหนึ่ง พระเลือกคนเหมือนคนเลือกพระ “พระน่าจะแท้” บางองค์อาจไม่ถูกโฉลกกับเรา หรือทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ขัดกับชีวิตประจำวันเราก็ได้ เช่นพระที่สร้างขึ้นเพื่อสู้ศึกเมื่อมีภัยสงคราม อาจไม่เหมาะกับอาชีพของเราที่ต้องค้าขาย ติดต่อพบปะผู้คน สำหรับพระองค์ที่ประสบการณ์ที่ดี ก็หาจีวรดี ๆ ให้ท่านแล้วอาราธนาขึ้นคอได้ตามอัธยาศัย <LI class=BodyText>เมื่อผ่านตา “พระน่าจะแท้” มากขึ้น ก็เริ่มมีความมั่นใจ ต่อจากนั้นจะเป็นความเคยชิน ความคุ้นเคย ผสมผสานกับความรู้และทักษะที่เพิ่มขึ้น จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า “จิตวิญญาณ” ของการรับรู้ความแท้หรือไม่แท้ของพระสมเด็จในระดับหนึ่ง <LI class=BodyText>แค่นี้ก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องหาทางพิสูจน์ต่อไปว่า “พระต้องแท้” หรือ “พระพันตา” เพราะ “พระพันตา” เอาไว้ศึกษาเปรียบเทียบ “พระสองตา” เอาไว้ใช้ เพราะลึกไปกว่านั้นไม่มีใครสามารถบอกอย่างเป็นรูปธรรมได้ เราเกิดไม่ทัน ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้น หรือมีประสบการณ์โดยตรงกับท่าน ซึ่งประสบการณ์โดยตรงในการรับรู้ถึงพลังของการปลุกเสกพระนั้น ต้องอาศัยทักษะอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่วิชาการหรือหลักวิทยาศาสตร์ที่จะเข้าถึงได้ทุกคน ไม่ใช่เรื่องไร้สาระ หากแต่เป็นประสบการณ์เฉพาะตัว คนที่มีทักษะเช่นนั้นยากที่จะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ เป็นประสบการณ์ใกล้เคียงกับการเข้าถึงธรรมะ เรียกว่า “ญาณทัศนะ” ซึ่งเป็นการก้าวไปสู่สภาวะรับรู้ทางจิตอย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่สำหรับเรา ๆ ท่าน ๆ ที่ยังต้องดิ้นรนอยู่ในโลกทุกวันนี้ <LI class=BodyText>ส่วนใหญ่พระที่วงการบอกว่าแท้ เป็นพระที่ “แท้เพราะเขา” ไม่ใช่ “แท้เพราะเรา” “เขา” นั้นเป็นใครก็ไม่รู้ ความเป็นผู้เชี่ยวชาญของเขาเป็นเรื่องของการสร้างขึ้นจากชื่อเสียงและอาชีพของเขา ซึ่งเราไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังอย่างไร และไม่มีสถาบันที่น่าเชื่อถือในระดับมาตรฐานสากลที่จะรับรองได้ว่าเขารู้จริง ถ้าจะอาศัยการรับรู้ตามสื่อพระเครื่องต่าง ๆ ก็เป็นการรับทราบจากบุคคลอื่น เชื่อตามเขา ว่าตามเขา ไม่ใช่พัฒนาความสามารถของตัวเอง <LI class=BodyText>ที่พูดเช่นนี้ไม่ใช่หมายความว่าจะให้เล่นพระคนเดียว เพราะเราเปิดใจกว้างสำหรับรับทราบข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้อยู่แล้ว หนังสือรุ่นเก่าเช่นหนังสือของตรียัมปวาย ประชุม กาญจนวัฒน์ อาจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ก็พอหาได้ในท้องตลาด ท่านศึกษาและใช้เป็นข้อเปรียบเทียบได้อย่างดี ปัจจุบันคนรุ่นนั้นที่จะให้ความรู้อย่างจริงใจและไม่มีผลประโยชน์เคลือบแฝงหาได้ยากเต็มที ปัจจุบันหนังสือเกี่ยวกับพระสมเด็จมีกลาดเกลื่อนตามแผง ล้วนแต่ให้ข้อมูลแบบโฆษณาพระของตัวเอง ต่างคนต่างอ้างเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งนั้น ท่านจะเชื่อใครดี
    2. เว็บนี้ผู้ทำต้องการให้ผู้อ่านเรียนรู้เรื่องพระสมเด็จด้วยตัวเอง ซึ่งท่านต้องใช้เวลาและความใส่ใจพอสมควร หากท่านเห็นว่าไร้สาระ เสียเวลา ก็สามารถกลับไปหาทางเลือกเดิม ๆ ที่เป็นพุทธพาณิชย์ ซึ่งขายกันด้วยราคาแพง ๆ โหมกระหน่ำด้วยการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ดังที่ท่านจะเห็นได้ตามตลาดพระหรือแผงหนังสือทั่วไป
    บทสรุป
    ก็เป็นสิทธิของท่านที่จะเลือกบริโภคสื่อชนิดใด และใช้เงินของท่านไปทางไหน
    ผู้ทำแค่ให้ข้อคิดเห็นและเป็น “ทางเลือก” ให้ท่านเท่านั้น ท่านจะเป็นผู้ตัดสินเองว่าจะเดินไปทางไหน
    ฉะนั้นขอให้ไปอ่าน ข้อความกำหนดความรับผิดชอบ ซึ่งผู้ทำได้แจ้งไว้ตั้งแต่ต้นว่ามีจุดประสงค์อย่างไร และมีความรับผิดชอบต่อพระทุกองค์ที่แสดงไว้อย่างไร
    ตาดู หูฟัง เพื่อซึมซับข้อมูลทั้งหมด จากนั้นใช้สมองวิเคราะห์และตัดสินใจด้วยตัวเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2009
  5. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    ต้นธารแห่งพิมพ์ทรง
    ต้องทบทวนให้ฟังถึงยุคในการสร้างพระของสมเด็จโต ว่ามีอยู่ด้วยกัน ๓ ยุค
    ยุคแรก พิมพ์ทรงยังไม่แน่นอน ท่านทดลองไปเรื่อย ตั้งแต่เอาพระกรุสมัยโบราณมาถอดพิมพ์ เช่นพิมพ์พระรอด พิมพ์ขุนแผน หรือแม้แต่พิมพ์หลวงพ่อโตวัดบางกระทิง ส่วนเนื้อหาหรือส่วนผสมของมวลสารก็ยังไม่ลงตัว มีทั้งใช้กล้วยตำทั้งเปลือก ทั้งน้ำอ้อย น้ำผึ้ง เป็นตัวประสาน
    ยุคสอง ท่านเริ่มลงตัวที่รูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกกันในสมัยนักเล่นพระรุ่นเก่าว่า “สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก” เพราะมีลักษณะคล้ายชิ้นฟักที่หั่นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่คนไทยนิยมใช้ทำอาหาร จุดนี้อาจมีคำถามว่าท่านไปได้แบบองค์พระ ฐาน และซุ้มมาจากไหน บางตำราก็บอกว่ามาจากอาจารย์ของท่าน นั่นก็คือพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน วัดมหาธาตุ แต่ในความเห็นของผู้ทำเว็บคิดว่าไม่ใช่ เพราะไม่มีหลักฐานชัดเจน เป็นเพียงตำนานเล่าขานกันมาโดยไม่มีหลักฐานอ้างอิง
    ก็ขอยกตัวอย่างพระกำแพงเพชรที่เรียกกันว่าทุ่งเศรษฐี ตามประวัติจะอ้างถึงแผ่นเงินแผ่นทองที่บรรจุในกรุ แล้วสมเด็จโตไปพบเข้าและแปลออกมาได้ใจความว่าเป็นพระที่สร้างโดยฤาษี ผู้อ่านทราบไหมว่า โดยหลักฐานตามประวัติศาสตร์จริง ๆ ตามต้นฉบับที่อยู่กับกรมศิลปากร ไม่มีกล่าวถึงฤาษีผู้สร้างแต่อย่างไร อีกทั้งที่พูดกันจนเป็นคำนิยามของพระกรุนี้ว่า “มึงมีกูไว้ไม่จน” ก็ไม่มีเช่นกัน ผู้อ่านดูรายละเอียดได้ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ซึ่งอ้างอิงบทความของ กฤษฎา พิณศรี ในนิตยสารเมืองโบราณ ฉบับ ก.ค. – ก.ย. ๕๑
    ยุคสาม ยุคนี้เป็นยุคที่การออกแบบพิมพ์ทรงเริ่มตกผลึก จากพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟักขนาดใหญ่ก็มีขนาดย่อมลง องค์พระเริ่มหนาน้อยลง ส่วนผสมเริ่มเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อมีการนำเอาน้ำมันตังอิ๊วมาใช้เป็นตัวประสาน พิมพ์ทรงมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ โดยช่างผู้แกะพิมพ์เริ่มตีกรอบขององค์พระก่อนจะเริ่มทำการแกะ กรอบที่เห็นในองค์พระยุคนี้จึงเป็นกรอบที่เรียกกันว่า “กรอบกระจก” บ้าง หรือ “เส้นบังคับพิมพ์” บ้าง
    พระยุคนี้มีขนาดเล็กลง และมีความสวยงามได้สัดส่วนลงตัวเป็นพระสมเด็จวัดระฆังที่สวยที่สุด วงการพระเครื่องในปัจจุบันยกย่องให้เป็นผลงานของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับตำนานต่าง ๆ คือไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าท่านเป็นผู้แกะพิมพ์ ประการสำคัญอีกอย่างหนึ่งจากการศึกษาพิมพ์พระประธานหรือพิมพ์ใหญ่ของวัดระฆังของผู้ทำเว็บ พบว่ามีมากกว่า ๔ พิมพ์ที่เล่นหากัน เพราะเมื่อวิเคราะห์พระสมเด็จทั้งหลายที่ลงภาพถ่ายตามหนังสือว่าเป็นพิมพ์ ๑ – ๔ บ้าง หรือใช้คำว่า พิมพ์ A B C D บ้าง พบว่ามีพระหลายๆองค์ที่ถูกอ้างว่าเป็นพระพิมพ์ ๑ หรือพิมพ์ A เหมือนกันนั้น จริง ๆ แล้วเป็นคนละพิมพ์กัน
    อีกประการหนึ่ง พระยุคสามนี้มิใช่มีแต่หลวงวิจารณ์เจียรนัยคนเดียวที่แกะพิมพ์แบบมีกรอบกระจก หลวงวิจารณ์เจียรนัยอาจเป็นคนแรกที่เริ่มการแกะกรอบเพื่อบังคับองค์พระให้มีสัดส่วนเท่ากัน เช่นเดียวกับการแนะนำให้ใช้น้ำมันตังอิ๊วเป็นตัวประสาน ทำให้นอกจากพิมพ์ทรงจะสวยงามแล้ว เนื้อพระก็สวยงามกว่าพระยุคแรกและยุคสองด้วย แต่หลังจากพิมพ์ทรงของท่านได้รับความนิยม ช่างอื่น ๆ ก็เริ่มเอาอย่างบ้าง ดังนั้นจึงมีพระสมเด็จที่มีเส้นบังคับพิมพ์อยู่ไม่น้อยที่ออกแบบโดยช่างอื่นที่ไม่ใช่หลวงวิจารณ์เจียรนัย
    ในถอดรหัสพระสมเด็จ ตอนต่อ ๆ ไป ผู้ทำเว็บจะอธิบายแสดงด้วยภาพให้ท่านเห็นชัดโดยไม่ต้องสงสัย ขอให้อดใจติดตามต่อไป
    สรุป ยุคสองเป็นยุคแรกเริ่มของพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ที่นิยมในปัจจุบัน คำถามต่อไปก็คือ เมื่อรูปแบบลงตัวที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วพิมพ์ทรงเล่ามาจากไหน
    คำตอบก็คือ สมเด็จโตได้พิมพ์ทรงมาจากพระสัมพุทธพรรณี
    เหตุผลประการที่ ๑
    ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใดก็ตาม ลักษณะรูปแบบมาเป็นที่หนึ่ง ในกรณีนี้ก็ต้องยกให้ความเป็นอัจฉริยภาพของท่านที่คิดค้นรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าออกมา ซึ่งเป็นสัดส่วนตามสถาปัตยกรรมไทยยุคอยุธยาตอนปลาย คือรูปแบบสัดส่วน ๑ ต่อ ๑.๕ หรือที่จะเรียกกันตามแบบชาวบ้านว่าอัตราส่วนสามต่อสอง ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมสร้างพระพุทธรูปในยุคอยุธยา

    นอกจากรูปแบบหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Form Factor ต่อมาก็คือพิมพ์ทรงต้นแบบ (Concept Design) ซึ่งท่านได้ความบันดาลใจจากพระสัมพุทธพรรณี โดยมีลักษณะที่คล้ายกันดังนี้
    1. <LI class=BodyText>เกศจะไม่มีเกตุมาลา (มวยผม) เพราะสัญลักษณ์ที่สำคัญของพระสัมพุทธพรรณี ก็คือ ไม่มีเกตุมาลา <LI class=BodyText>องค์พระที่ประทับนั่งในลักษณะพิมพ์สมาธิ คือ มือทั้งสองประสานกันที่หน้าตัก ไม่ใช่แบบมารวิชัย ซึ่งมือขวาจะพาดที่เข่าและชี้ลงพื้น <LI class=BodyText>ลักษณะการนั่งเป็นการขัดสมาธิราบ ไม่ใช่ขัดสมาธิเพชร คือ นั่งราบ ขาขวาทับขาซ้าย <LI class=BodyText>ฐานองค์พระจะเป็นฐาน ๓ ชั้น ไม่เป็นฐานชั้นเดียวหรือฐานสูง ฐานทั้งสามก็มีขนาดไม่เท่ากัน ฐานชั้นบนจะหนา ฐานชั้นกลางบาง ฐานชั้นล่างหนาที่สุด
    2. พระสัมพุทธพรรณีเป็นการเริ่มต้นของพระพุทธรูปในลักษณะต่างจากลักษณะทั่วไปซึ่งได้อิทธิพลจากพุทธศิลป์อยุธยา โดยมีลักษณะที่เหมือนมนุษย์มากขึ้นทั้งหน้าตาและการครองจีวร และข้อสำคัญก็คือ ไม่มีเกตุมาลา ซึ่งพุทธศิลป์ยุคนั้นได้รับความนิยมมากที่สุดในยุครัชกาลที่ ๔ ถึงกับโปรดให้หล่อพระพุทธรูปในลักษณะนั้นในชื่อ “พระนิรันตราย” ไปประดิษฐานที่วัดธรรมยุตินิกายทุกวัด เป็นที่น่าเสียดายว่าต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ความนิยมพระพุทธรูปลักษณะดังกล่าวหมดไป กลับไปหารูปแบบเดิมอีก จนตราบเท่าทุกวันนี้
    เหตุผลประการที่ ๒
    สมเด็จโตใกล้ชิดกับรัชกาลที่ ๔ มาก ตั้งแต่สมัยทรงบวชเป็นพระภิกษุวชิรญาณ ผู้ทำเว็บคิดว่าเหตุผลหนึ่งที่สมเด็จโตไม่อยู่ในกรุงเทพ และออกธุดงค์ไปสถานที่ต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าท่านสนับสนุนรัชกาลที่ ๔ ซึ่งน่าจะได้ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๒ สวรรคต เพราะท่านเป็น “เจ้าฟ้ามงกุฎ” แต่ต้องรออีก ๒๗ ปี จนกว่า “พระองค์เจ้าทับ” ซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าฟ้า แต่ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินคือรัชกาลที่ ๓ จะสวรรคต
    รัชกาลที่ ๓ทรงให้สมณศักดิ์แก่ท่านก็แล้ว ทรงตามตัวให้มาเข้าเฝ้าก็แล้ว สมเด็จโตหนีหน้าตลอด จนรัชกาลที่ ๓ ต้องทรงเลิกตาม แต่พอรัชกาลที่ ๔ ขึ้นครองราชย์ท่านก็โปรดให้ตามตัว คราวนี้สมเด็จโตมาเข้าเฝ้าและกราบทูลว่าท่านหนีไม่พ้นเพราะรัชกาลที่ ๔ ไม่ได้เป็น “พระเจ้าแผ่นดิน” แต่อย่างเดียว แต่เป็น “เจ้าฟ้า” ด้วย ท่านจึงหนีไม่พ้น

    ดังนั้นตอนที่รัชกาลที่ ๔ เมื่อครั้งเป็นพระภิกษุวชิรญาณ โปรดให้สร้างพระสัมพุทธพรรณี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๓ สมเด็จโตคงได้รู้ถึงนวัตกรรมของการสร้างพระพุทธรูปแบบใหม่นี้ และเมื่อท่านจะเริ่มนวัตกรรมของการสร้างพระเครื่องบ้าง ท่านก็คงรับเอาความคิดนี้มาประยุกต์ใช้กับพระเนื้อผงของท่าน ซึ่งว่าไปแล้ว พระสมเด็จมีนวัตกรรมใหม่ ๓ เรื่องด้วยกันคือ
    1. <LI class=BodyText>รูปแบบ (Form Factor) เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตามสัดส่วนสถาปัตยกรรมไทย คือ ๓: ๒ หรือสัดส่วน ๑ : ๑.๕ ตามแบบสากล <LI class=BodyText>ซุ้ม เป็นลักษณะซุ้มเรือนแก้วที่ท่านน่าจะได้แรงบันดาลใจจากพระซุ้มกอของกำแพงเพชร
    2. พิมพ์ทรงต้นแบบ (Concept Design) ที่ท่านได้จากรัชกาลที่ ๔ ในแบบพระพุทธเจ้าไม่มีมุ่นมวยผม (เกตุมาลา) มีแต่รัศมีเปลวเพลิง องค์พระนั่งแบบพิมพ์สมาธิ ขัดสมาธิราบ ฐานประทับ ๓ ชั้น
    ซึ่งก็เป็นไปตามหลักการที่ว่า นวัตกรรมใหม่มาจากสิ่งที่เห็นอยู่ทุกวัน ฉะนั้นในสภาพแวดล้อมของสมเด็จโตไม่ว่าจะเป็นสภาพวัดที่สร้างตามสถาปัตยกรรมไทย หรือพระซุ้มกอที่ว่ากันว่าท่านเป็นผู้ถอดรหัสจากแผ่นจารึก และรูปแบบการสร้างพระพุทธรูปในยุคนั้น ล้วนเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดพระสมเด็จที่สวยงามและได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันนี้
    เหตุผลประการที่ ๓
    สมเด็จโตสร้างพระยุคแรกเมื่อใด ไม่มีผู้ใดทราบ เพราะไม่มีหลักฐานอ้างอิงชัดเจน ตำราเล่มนึงก็พูดไปอย่างหนึ่ง อีกเล่มก็พูดไปอีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่างหนังสือ “สมเด็จโต” ของแฉล้ม โชติช่วงบอกไว้ในหน้า ๑๐ ว่า เริ่มสร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๘ หลังจากบวชเป็นนาคหลวงได้ ๘ ปี หนังสื อ “ทีเด็ดพระสมเด็จ” ของพน นิลผึ้ง หน้า ๒๑๖ บอกว่า เริ่มสร้างตอนท่านอายุ ๒๑ ปี คือหลังบวชเป็นพระใหม่ ๆ ตรียัมปวายคำนวณจากปีอุปสมบทของพระธรรมถาวรซึ่งเป็นลูกศิษย์สมเด็จโต แล้วระบุไว้ในหน้า ๑๗๗ ว่าสมเด็จโตเริ่มสร้างพระสมเด็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๙ ทั้งนี้ยังไม่นับหนังสือบางเล่มที่พูดว่าท่านสร้างพระตั้งแต่เป็นสามเณร
    ถ้าเอาปีที่รัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้าง “พระสัมพุทธพรรณี” ก็คือ พ.ศ. ๒๓๗๓ และปีที่ท่านขึ้นครองราชย์คือปี พ.ศ. ๒๓๙๔ เป็นบรรทัดฐาน จะเห็นว่าโอกาสที่สมเด็จโตจะสร้างพระสมเด็จยุคสองซึ่งใช้ “พระพุทธสัมพรรณี” เป็นต้นแบบ ก็ต้องหลัง พ.ศ. ๒๓๗๓ ฉะนั้นที่บอกว่าท่านสร้างพระไว้ตอนบวชเป็นพระใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นเมื่ออายุได้ ๒๑ ปี (พ.ศ. ๒๓๕๒) หรืออายุ ๒๘ ปี (พ.ศ. ๒๓๕๘) ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้
    ดังนั้น ถ้าจะเอาปีที่สร้าง “พระพุทธสัมพรรณี” เป็นบรรทัดฐานหรือต้นธารสำหรับพระสมเด็จ ก็หมายความว่า
    พระสมเด็จยุคสอง ต้องเริ่มต้นหลังปี ๒๓๗๓
    แต่จะเป็นปี พ.ศ. ใด

    ความเป็นได้มากที่สุดอยู่ที่ปี พ.ศ. ๒๓๙๕ หลังจากรัชกาลที่ ๔ ขึ้นครองราชย์ และสมเด็จโตกลับกรุงเทพและได้รับสมณศักดิ์เป็น พระธรรมกิติโสภณ เพราะก่อนหน้านี้ท่านไม่ยอมรับสมณศักดิ์ที่รัชกาลที่ ๓ ทรงตั้ง และหนีไปชนบท หรือประเทศเขมรอยู่เป็นประจำ
    ดังนี้ปีที่น่าเป็นไปได้ของพระสมเด็จยุคสองคือ ปี พ.ศ. ๒๓๙๕
    ส่วนที่ตรียัมปวายกล่าวว่าสมเด็จโตเริ่มสร้างพระสมเด็จในปี พ.ศ. ๒๔๐๙ ก็มาจากการคำนวณอายุของพระธรรมถาวรตามที่กล่าวไว้ในหนังสือของพระอาภรพิพัฒน์ ซึ่งไม่น่าจะเป็นการเริ่มสร้างพระสมเด็จยุคหนึ่งหรือยุคสอง ผู้ทำเว็บสันนิษฐานว่า ปี ๒๔๐๙ น่าจะเป็นปีที่หลวงวิจารณ์เจียรนัยเริ่มแนะนำน้ำมันตังอิ๊วและแกะพระสมเด็จที่มีกรอบบังคับพิมพ์ให้ท่าน ฉะนั้น
    ปี พ.ศ. ๒๔๐๙ น่าจะเป็นปีที่เริ่มพระสมเด็จยุคสาม
    สรุป
    ปัจจุบันมีความแตกแยกและแบ่งข้างของการสะสมพระสมเด็จโตอย่างที่เห็นกันอยู่ตามแผงหนังสือพระ ซึ่งสร้างความสับสนให้แก่ผู้เริ่มสะสมพระสมเด็จพอสมควร เพราะไม่รู้ว่าจะเชื่อใครในกลุ่มไหน ค่ายใด อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้พระสมเด็จที่เป็น “ของเล่น” หรือมีเบื้องหลังที่น่าสงสัยและขัดต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ถูกนำมาปัดฝุ่นสร้างความนิยมและเช่าบูชาในราคาแพง ผู้ตกเป็นเหยื่อพุทธพาณิชย์เป็นผู้ที่ไม่มีทางเลือกและเป็นคนสุดท้ายในเกมเก้าอี้ดนตรีที่ดนตรีจบ แต่ไม่มีที่นั่ง
    บทความ “ต้นธารแห่งพิมพ์ทรง” ซึ่งเป็นความพยายามของผู้ทำเว็บที่มิได้มีพุทธพาณิชย์ หรืออยู่ค่ายไหนศูนย์ใด แต่จะอ้างอิงข้อเท็จจริงและประวัติศาสตร์เป็นสมมติฐานที่มาของพิมพ์ทรงพระสมเด็จ อีกทั้งการแบ่งยุคพระสมเด็จเป็น ๓ ยุค เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่พูดถึงไว้ในหนังสือพระรุ่นเก่า ๆ ว่าพระสมเด็จวัดระฆังมีมากกว่า ๔ พิมพ์ทรงที่เล่นหากัน อีกทั้งพิมพ์พระประธานอย่างเดียวก็มิได้มีเพียงพิมพ์ ๑ – ๔ หรือ พิมพ์ A B C D เท่านั้น
    การแบ่งพระสมเด็จเป็น ๓ ยุค ให้ข้อยุติสำหรับพิมพ์ทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟักและพิมพ์ทรงอื่น ๆ โดยยกพิมพ์ทรงที่ล้อพิมพ์โบราณเป็นยุคที่หนึ่ง และพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟักฝีมือช่างราษฎร์เป็นยุคที่สอง ส่วนยุคที่สามเป็นยุคของพิมพ์ทรงสวยงามที่มีกรอบบังคับพิมพ์อันมีหลวงวิจารณ์เจียรนัยเป็นต้นคิดไม่ว่าพิมพ์ทรงหรือส่วนผสมมวลสารซึ่งมีน้ำมันตังอิ๊วเป็นตัวประสาน
    ถ้าเช่นนี้ ก็จะเป็นไปตามข้อเท็จจริง และมิได้ขัดแย้งกับกลุ่มใด
    ยุคแรก หาดูได้จากหนังสือของ แฉล้ม โชติช่วง และมัตตัญญู
    ยุคสอง หาดูได้จากหนังสือของ แฉล้ม โชติช่วง, มัตตัญญู, เทพศรี, อาจารย์พน นิลผึ้ง และ ทำเนียบพระสมเด็จ
    ยุคสาม หาดูได้ตามหนังสืออาจารย์รังสรรค์ คเณศพร และหนังสือพระทั่วไป
    ส่วนสนนราคาในการเช่าบูชา ก็ไม่ขอวิจารณ์หรือให้ความเห็นเพราะที่นี่ไม่มีพุทธพาณิชย์อยู่แล้ว
    พระสมเด็จยุคแรก
    [​IMG]
    พิมพ์พระรอด
    [​IMG]
    พิมพ์ขุนแผน
    [​IMG]
    พิมพ์หลวงพ่อโต​
    พระสมเด็จยุคสอง
    [​IMG]
    พระสัมพุทธพรรณี
    [​IMG]
    ไม่มีกรอบกระจก ​
    พระสมเด็จยุคสาม
    [​IMG]

    มีกรอบกระจก

    ถ้าสมเด็จโตใช้พุทธศิลป์ที่ไม่ใช่ “พระสัมพุทธพรรณี” พระสมเด็จของท่านก็จะเป็นไปตามพิมพ์ทรงพระพุทธรูปที่มีเกตุมาลาดังรูปข้างล่างนี้
    [​IMG]
    พระสมเด็จ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก ยุคแรก ​


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2009
  6. Beer1469

    Beer1469 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +1,078
    ข้อมูลเยี่ยม
     
  7. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    ขอโทษสมาชิกทุกท่านที่เข้ามาดูแล้วผมดันลบกระทู้เก่าทิ้งไปนะครับ
    และขอบคุณทุกท่านที่แวะเข้ามาอ่าน แค่นี้ก็ขอบคุณมากแล้วครับ
    มีอะไรคอมเม้นต์ได้เต็มที่เลยครับพี่ๆทั้งหลาย
     
  8. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    ถอดรหัสพระสมเด็จ
    แบ่งโซนเพื่อศึกษาพระสมเด็จ



    วันนี้จะพูดถึงการวิเคราะห์พิมพ์ทรงของพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธานว่ามีความเป็นมาอย่างไร และเริ่มต้นจากที่ไหน
    ดังได้เรียนให้ทราบมาแล้วว่าพระสมเด็จวัดระฆังยุคพิมพ์ทรงสวยงามหรือยุคสามแห่งการสร้างพระผงของสมเด็จโตเป็นพิมพ์ทรงที่ได้รับความนิยมที่สุดในปัจจุบัน
    ผู้ทำได้อธิบายแล้วว่าที่มาของพิมพ์ทรงองค์พระและฐานน่าจะมาจาก “พระสัมพุทธพรรณี” ซึ่งเป็นผลงานการศึกษาพระพุทธลักษณะตามตำราพระไตรปิฎกของรัชกาลที่ ๔ สมัยยังบวชเป็นพระภิกษุวชิรญาณ
    รากฐานของพิมพ์ทรงก็คือสถาปัตยกรรมไทยในสมัยอยุธยายุคปลายต่อเนื่องรัตนโกสินทร์ยุคต้น ก่อนที่รัชกาลที่ ๕ จะปฏิรูปงานสถาปัตยกรรมโดยนำสถาปนิกต่างชาติเข้ามาออกแบบและสร้างค่านิยมให้ “บ้านสไตล์ฝรั่ง” ที่ได้รับความนิยมจนตราบเท่าทุกวันนี้
    ศิลปะพระสมเด็จ
    ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจเรื่องศิลปะของพระสมเด็จก่อน สมัยนั้นยังไม่มีใครทำพระเครื่องด้วยเนื้อผง ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดินเผา หรือไม่ก็เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ไปเลย เพราะจุดประสงค์ในการสร้างก็เพื่อสืบทอดพระศาสนา จึงต้องใช้วัสดุที่แข็งแรงและทนทานเพื่อจะได้อยู่ครบอายุพุทธศาสนาอีกเป็นพันปี
    มีแต่พระสมเด็จของสมเด็จโตเท่านั้นที่เป็นเนื้อผง และทำขึ้นเพื่อแจกจ่ายญาติโยมก่อน ที่เหลือจึงเก็บลงกรุตามเจดีย์ในวัดต่าง ๆ
    ช่างแกะในยุคนั้นมีแต่ช่างสิบหมู่ ซึ่งในสิบหมู่ไม่มีสาขาว่าด้วยการแกะพระพิมพ์เล็ก ๆ ที่เป็นรูปพระพุทธเจ้า ช่างจะคุ้นกับการสร้างพระพุทธรูปมากกว่า ดังนั้นเมื่อจะต้องมาแกะพิมพ์พระสมเด็จ สิ่งที่ช่างจะนึกถึงก็ต้องเป็นสัดส่วนของพระพุทธรูปที่ช่างมีความชำนาญที่สุด
    ฉะนั้น ศิลปะพระสมเด็จก็คือศิลปะของพระพุทธรูปนั่นเอง
    ศิลปะพระพุทธรูปในยุคนั้นซึ่งเป็นกรุงรัตนโกสินทร์ยุคต้น ยังมีอิทธิพลของศิลปะอยุธยาอยู่บ้าง หลักการและสัดส่วนที่ใช้ในการสร้างพระพุทธรูปในสมัยนั้นคือ
    1. เบาลอย ซึ่งหลักการ เบาลอย นี้เป็นหัวใจของสถาปัตยกรรมไทย ดูจากสถาปัตยกรรมของบ้านทรงไทย ที่ เบาลอย เหมือนเป็นวิมานในสวรรค์ หรือแม้แต่สิ่งปลูกสร้างในวัด ในวัง และงานศิลปะอื่น ๆ



    เรียกได้ว่าหัวใจของช่างสิบหมู่สมัยนั้นอยู่ที่ เบา และ ลอย
    เบา มีความหมายว่า ไม่หนัก คือ ไม่เน้นความใหญ่โตแบบเทอะทะ ตึกตัก แต่ต้องมีสุนทรียะในตัว ทำให้ดูแล้วเบา ๆ ไม่เครียด
    ลอย มีความหมายว่าไม่ยึดติด ตัวฐานจะต้องพอจะยึดให้เกิดความแข็งแรง แต่ส่วนข้างบนต้องเบา ๆ และโปร่ง ๆ แบบให้ความรู้สึกว่าลอยได้
    ตัวอย่างเบาลอยนี้ดูได้จากรูปแบบของพระสมเด็จพิมพ์พระประธาน ตัวฐานมีแต่ฐานชั้นล่างเท่านี้ที่เป็นฐานหน้ากระดานตัดเฉียง เพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง ฐานชั้นกลางจะเป็นฐานเรียบมีเพียงขาสิงห์ที่ยึดติดกับฐานชั้นล่างตอนปลายเท่านั้น ส่วนฐานชั้นบนเป็นฐานหมอนแบบไม่ใหญ่นัก
    ช่องว่างระหว่างฐานทั้งสามจะให้ความรู้สึกว่าฐานเบา และลอยได้ บางครั้งช่างจะเติมผ้าทิพย์หรือเส้นแซมใต้ฐานเพื่อเน้นความเบาและลอยได้ จะเห็นว่าแม้แต่ผ้าทิพย์เหนือเส้นแซมก็มักมีขนาดเรียว และคมไม่เหมือนพระยุคที่สองที่ฐานค่อนข้างใหญ่ หรือเส้นแซมหนาและอ้วน
    องค์พระจะมีช่วงตักกว้างและหนาเพื่อให้เกิดความรู้สึกมั่นคง ขณะที่ลำตัวโปร่งด้วยเส้นสายเบา ๆ ลำคอที่ไม่เน้นและเบาบางต่อเนื่องไปหาพระเศียรที่มีฐานกลม ให้ความรู้สึกเหมือนลูกโป่งที่พร้อมจะลอยขึ้น รวมทั้งเกศยอดแหลมที่ดูปานประหนึ่งจะลอยขึ้นไปหาซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเปรียบเสมือนความเป็นโลกียะที่องค์พระจะต้องลอยพ้นจากกิเลสอาสวะ แทงทะลุให้พ้นจากซุ้มขึ้นไปหาความเป็นโลกุตระอันสงบนิ่ง
    ส่วนฐานทั้งสาม จะเริ่มด้วยฐานชั้นล่างที่หนักแน่นในรูปหน้ากระดานตัดเฉียง ถัดขึ้นไปเป็นฐานสิงห์ที่มีขาแผ่ว ๆ ลงมาหาฐานล่าง และมีหัวสิงห์โค้งขึ้นไปยังฐานชั้นบน บางพิมพ์จะมีเส้นแซมบาง ๆ แสดงการลอยขึ้นเป็นระลอกไปยังฐานชั้นบน ซึ่งเป็นฐานหมอนขนาดเล็กรับกับตักที่มีขนาดใกล้เคียง ปลายฐานจะโค้งงอน แสดงถึงความลอยตัวไม่แข็งกระด้างหรือเสียดทานต่อการลอยขึ้น รับกับวงตักที่โค้งน้อย ๆ ปานประหนึ่งองค์พระจะลอยขึ้นเช่นกัน
    2. สัดส่วน ๑ : ๑.๕
    ก็คือสัดส่วนของพระพุทธรูปในยุคอยุธยาตอนปลาย ก็คือฐานจะกว้าง ๑ ส่วน และสูง ๑.๕ ส่วน สัดส่วนนี้ใกล้เคียงกับสัดส่วนทองคำ (Golden Proportion) ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สวยที่สุดที่ช่างตะวันตกได้ค้นพบขึ้นและใช้ในสถาปัตยกรรมคลาสสิคตั้งแต่ยุคกรีก โรมันจนถึงยุโรป สัดส่วนทองคำจะเป็น ๑ : ๑.๖๑๓...
    พระพุทธรูปในยุคอยุธยาตอนปลาย จะมีฐานสูงรองรับองค์พระเป็นชั้น ๆ และมีความสวยงามทั้งตัวฐานและตัวองค์พระ ยิ่งเป็นพระพุทธรูปแบบทรงเครื่องจะเห็นว่ามีเครื่องประดับทั้งองค์พระและส่วนเศียร ตามความเชื่อในพระสูตรตอนพระพุทธเจ้าปราบท้าวชมพู โดยเนรมิตพระวรกายให้มีความสวยสง่ากว่าท้าวชมพู
    สัดส่วนพระพุทธรูปนี้แหละคือหลักการและที่มาของการแบ่งโซน

    การประยุกต์มาใช้กับการแบ่งโซน

    ก่อนจะแบ่งโซนได้ต้องกำหนดขนาดของสนามก่อน มีวิธีกำหนดอยู่ ๒ อย่างด้วยกัน อย่างแรกคือกำหนดตามกรอบของแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์สำคัญของพระสมเด็จยุคสาม วิธีนี้จะได้กรอบที่มีขนาดชัดเจนแต่ค่อนข้างจะกำหนดได้ยาก เพราะสมเด็จโตสร้างพระแบบโบราณ คือตัดด้วยตอกหรือมีด ไม่ใช้วิธีสมัยใหม่ที่ใช้วิธีปั๊มด้วยเครื่อง การสร้างพระแต่ละครกจะมีคนตัดขอบไม่เหมือนกัน บางคนตัดชิด บางคนตัดห่าง ซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นกรอบไม่ครบทั้งสี่ด้าน ทำให้กำหนดขนาดของกรอบไม่ได้
    อย่างที่สองคือกำหนดตามซุ้ม วิธีนี้ไม่ต้องวัดขนาดกรอบให้วุ่นวาย แค่วัดความกว้างและความสูงของซุ้ม แล้วตีตารางเป็นแบบสนามฟุตบอลได้เลย วิธีนี้ค่อนข้างสะดวก และใช้ศึกษาได้กับพระสมเด็จทุกยุค ข้อดีอีกอย่างก็คือสามารถศึกษาจากรูปถ่ายพระที่ลงในหนังสือหรือนิตยสารพระเครื่องได้และไม่ต้องรู้ขนาดที่แท้จริง เพราะเราใช้วิธีเทียบอัตราส่วนเพื่อศึกษาเท่านั้น
    ดังนั้น เราจะใช้มิติของซุ้มเป็นตัวกำหนดกรอบที่จะแบ่งโซน

    การวัดมิติของซุ้ม

    การวัดมิติซุ้มจะวัดที่ส่วนล่างที่สุดกับสูงที่สุด และซ้ายที่สุดกับขวาที่สุดของซุ้ม คือวัดจนถึงความหนาซุ้มด้านนอกทั้งส่วนสูงและส่วนกว้าง โดยยกตัวอย่างองค์ปฐมของหนังสือพรีเชียสแมกกาซีน เป็นตัวอย่าง ดังภาพด้านล่างนี้
    ภาพที่เห็นนี้สแกนจาก “หนังสือพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม”ของสถาบันโบราณศิลป์
    [​IMG]
    ภาพจาก “หนังสือพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม”ของสถาบันโบราณศิลป์
    ต่อไปเราจะกำหนดระยะความกว้างและความยาวของซุ้ม โดยขออนุญาตใช้อักษรฝรั่งเป็นตัวกำหนดโดยไม่ใช้อักษรไทย เพราะอักษรฝรั่งมีตัวเล็กตัวใหญ่ เราจะกำหนดความกว้างของซุ้มด้านล่างเป็นตัวอักษรดับบลิวเล็ก (w) และความยาวของซุ้มถึงยอดซุ้มด้านบนเป็นตัวอักษรแอลเล็ก (l) โดยเรายังเก็บสำรองอักษรดับบลิวใหญ่และแอลใหญ่สำหรับความกว้างและความยาวของกรอบกระจกเพื่อการศึกษาในอนาคตต่อไป
    เราวัดระยะดับบลิวเล็ก (w) และแอลเล็ก (l) จากภาพได้โดยตรงโดยไม่ต้องสนใจว่าภาพนั้นจะมีขนาดเท่าใด เพราะเรากำลังศึกษาเรื่องสัดส่วนของพระสมเด็จ เราไม่ต้องการวัดระยะจริงขององค์พระ
    จะเห็นว่าสัดส่วน l/w จะใกล้เคียงกับสัดส่วน ๑.๕ : ๑.๐ ซึ่งเป็นสัดส่วนมาตรฐานของสถาปัตยกรรมไทย
    ในกรณีนี้ l/w = ๑.๕๒
    [​IMG]
    พระสมเด็จ : ส่วนกว้างซุ้ม
    [​IMG]
    พระสมเด็จ : ส่วนสูงซุ้ม

    การแบ่งความกว้างของซุ้มเป็นโซน

    เราจะใช้สัดส่วน ๑.๕ : ๑.๐ แบ่งความกว้างของซุ้มย่อยลงมา โดยแบ่งที่ความกว้าง w /๑.๕ จากด้านซ้ายและด้านขวา เราจะแบ่งความกว้างของซุ้มออกเป็น ๓ ส่วน โดยแต่ละส่วนจะมีสัดส่วนเป็น ๑ ส่วนต่อความกว้าง ๑.๕ ส่วนของซุ้ม
    [​IMG]
    พระสมเด็จ แบ่ง ๓ โซนตามความกว้างซุ้ม ​
    ในทำนองเดียวกัน เราจะแบ่งความยาวซุ้มออกเป็น ๓ ส่วน ที่ความสูง l/๑.๕ จากด้านบนและด้านล่าง ก็จะได้ ๓ โซนตามความยาวซุ้มดังภาพด้านล่าง
    [​IMG]
    พระสมเด็จ แบ่ง ๓ โซนตามความยาวซุ้ม ​
    เมื่อเราเอาการแบ่งโซนเป็น ๓ ส่วนด้านกว้าง และ ๓ ส่วนด้านยาว เราจะได้องค์พระที่มีขนาดซุ้มกว้าง w และยาว l แบ่งเป็น ๓ โซนตามความกว้างและความยาว รวมทั้งหมดเท่ากับเราแบ่งองค์พระเป็นสนามฟุตบอลหรือเป็นกล่อง เป็น ๙ ส่วนหรือโซนเท่า ๆ กันตามภาพด้านล่าง
    [​IMG]
    พระสมเด็จ แบ่งเป็น ๙ โซนใหญ่ ​
    การวิเคราะห์พระสมเด็จองค์ปฐมของเฮียเท้า
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=338 border=0><TBODY><TR><TD class=BodyText width=220 height=81>กองหน้าหรือแถวบน แบ่งเป็นโซน
    กองกลางหรือแถวกลาง แบ่งเป็นโซน
    กองหลังหรือแถวล่าง แบ่งเป็นโซน





    </TD><TD class=BodyText width=42>๑


    ๕​






    </TD><TD class=BodyText width=38>๒

    ๘​






    </TD><TD class=BodyText width=38>๓

    ๙​






    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เราจะเรียกโซนทั้ง ๙ นี้ตามตัวเลขและเรียกว่าเป็น “โซนใหญ่”
    เราได้อะไรจากการแบ่ง “โซนใหญ่”






    เมื่อสังเกตองค์ปฐมที่ถูกแบ่งเป็น ๙ โซนใหญ่ จะได้ข้อสังเกตดังนี้
    1. <LI class=BodyText>เศียรและเกศองค์พระไม่อยู่กึ่งกลางของกล่องหรือสนาม <LI class=BodyText>ไหล่จะเอียงน้อย ๆ โดยไหล่ขวาอยู่สูงกว่าไหล่ซ้าย <LI class=BodyText>หน้าตักองค์พระเอียงน้อย ๆ เช่นกัน <LI class=BodyText>ฐานชั้นบนเอียงขนานกับหน้าตัก ปลายด้านซ้ายงอนขึ้นน้อย ๆ <LI class=BodyText>ฐานชั้นกลางเอียงน้อยกว่าฐานชั้นบน <LI class=BodyText>ฐานชั้นล่างเอียงขนานกับฐานชั้นกลาง <LI class=BodyText>เส้นแบ่งโซนตามยาวเส้นบนพาดผ่านต้นไหล่ขวาไปตามไหปลาร้า และอยู่สูงกว่าไหล่ซ้ายนิด ๆ <LI class=BodyText>เส้นแบ่งโซนตามยาวเส้นล่าง พาดผ่านหัวฐานชั้นบนด้านขวา ปลายเส้นแบ่งอยู่เหนือหัวฐานด้านซ้ายนิด ๆ <LI class=BodyText>เส้นแบ่งโซนตามกว้างเส้นซ้ายพาดเลยหัวไหล่ขวากินเข้ามาทางด้านนอกของต้นแขนและข้อศอกนิด ๆ
    2. เส้นแบ่งโซนตามกว้าง เส้นขวาพาดผ่านปลายหัวไหล่ซ้าย ตรงลงมาหาส้นชายจีวร ผ่านแขนซ้ายเกือบครึ่ง
    [​IMG]






    องค์พระปฐมพร้อมข้อสังเกต ๑๐ ข้อ​

    การแบ่งโซนใหญ่เป็น ๘๑ โซนย่อย
    เราจะแบ่งโซนย่อยต่อไปอีกตามหลักการสัดส่วนสถาปัตยกรรมไทยของแต่ละโซน โดยแบ่งแต่ละโซนใหญ่เป็น ๙ โซนย่อยในสัดส่วน ๑.๕ : ๑.๐ โดยจะเรียกโซนย่อยเป็นทับ(/)ของเลขโซนใหญ่ ตามด้วยตัวเลข ๙ โซนย่อย
    ดังนั้น
    โซน ๑ จะแบ่งเป็น ๑/๑ ๑/๒ ๑/๓ ๑/๔ ๑/๕ ๑/๖ ๑/๗ ๑/๘ ๑/๙
    โซน ๒ จะแบ่งเป็น ๒/๑ ๒/๒ ๒/๓ ๒/๔ ๒/๕ ๒/๖ ๒/๗ ๒/๘ ๒/๙
    โซน ๓ จะแบ่งเป็น ๓/๑ ๓/๒ ๓/๓ ๓/๔ ๓/๕ ๓/๖ ๓/๗ ๓/๘ ๓/๙
    โซน ๔ จะแบ่งเป็น ๔/๑ ๔/๒ ๔/๓ ๔/๔ ๔/๕ ๔/๖ ๔/๗ ๔/๘ ๔/๙
    โซน ๕ จะแบ่งเป็น ๕/๑ ๕/๒ ๕/๓ ๕/๔ ๕/๕ ๕/๖ ๕/๗ ๕/๘ ๕/๙
    โซน ๖ จะแบ่งเป็น ๖/๑ ๖/๒ ๖/๓ ๖/๔ ๖/๕ ๖/๖ ๖/๗ ๖/๘ ๖/๙
    โซน ๗ จะแบ่งเป็น ๗/๑ ๗/๒ ๗/๓ ๗/๔ ๗/๕ ๗/๖ ๗/๗ ๗/๘ ๗/๙
    โซน ๘ จะแบ่งเป็น ๘/๑ ๘/๒ ๘/๓ ๘/๔ ๘/๕ ๘/๖ ๘/๗ ๘/๘ ๘/๙
    โซน ๙ จะแบ่งเป็น ๙/๑ ๙/๒ ๙/๓ ๙/๔ ๙/๕ ๙/๖ ๙/๗ ๙/๘ ๙/๙
    เราจะได้โซนย่อยทั้งหมด ๘๑ โซนตามรูปด้านล่าง
    [​IMG]
    องค์ปฐม แบ่ง ๘๑ โซนย่อย​
    จุดตัดระหว่างโซนย่อย
    เมื่อแบ่งรูปพระตามโซนย่อย ๘๑ โซน เราจะได้จุดบนองค์พระทั้งหมด ๑๐๐ จุด เพราะเราจะมีเส้นตามความยาว ๑๐ เส้น และเส้นตามกว้าง ๑๐ เส้น ได้จุดทั้งหมด ๑๐๐ จุด ตามที่ปรากฏในรูปด้านล่าง
    [​IMG]
    ๑๐๐ จุด บน ๘๑ โซนย่อย ​
    เส้นที่ ๑ (บนสุด) จะได้จุด ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐
    เส้นที่ ๒ จะได้จุด ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐
    เส้นที่ ๓ จะได้จุด ๒๑ ๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ ๒๖ ๒๗ ๒๘ ๒๙ ๓๐
    เส้นที่ ๔ จะได้จุด ๓๑ ๓๒ ๓๓ ๓๔ ๓๕ ๓๖ ๓๗ ๓๘ ๓๙ ๔๐
    เส้นที่ ๕ จะได้จุด ๔๑ ๔๒ ๔๓ ๔๔ ๔๕ ๔๖ ๔๗ ๔๘ ๔๙ ๕๐
    เส้นที่ ๖ จะได้จุด ๕๑ ๕๒ ๕๓ ๕๔ ๕๕ ๕๖ ๕๗ ๕๘ ๕๙ ๖๐
    เส้นที่ ๗ จะได้จุด ๖๑ ๖๒ ๖๓ ๖๔ ๖๕ ๖๖ ๖๗ ๖๘ ๖๙ ๗๐
    เส้นที่ ๘ จะได้จุด ๗๑ ๗๒ ๗๓ ๗๔ ๗๕ ๗๖ ๗๗ ๗๘ ๗๙ ๘๐
    เส้นที่ ๙ จะได้จุด ๘๑ ๘๒ ๘๓ ๘๔ ๘๕ ๘๖ ๘๗ ๘๘ ๘๙ ๙๐
    เส้นที่ ๑๐(บนสุด)จะได้จุด ๙๑ ๙๒ ๙๓ ๙๔ ๙๕ ๙๖ ๙๗ ๙๘ ๙๙ ๑๐๐
    เส้นแบ่งโซน
    เราจะเรียกเส้นแบ่งโซนทางยาวว่า “เส้นรุ้ง” และเส้นแบ่งโซนตามทางตั้งว่า “เส้นแวง” จำง่ายๆตามพิกัดแผนที่โลกว่า “รุ้งตะแคง แวงตั้ง
    ฉะนั้น
    เส้นรุ้งจะมี ๑๐ เส้น คือ เส้นรุ้งที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐
    เส้นแวงก็มี ๑๐ เส้น คือ เส้นแวงที่๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐
    [​IMG]
    เส้นรุ้ง 10 เส้น
    [​IMG]

    เส้นแวง 10 เส้น
    การวิเคราะห์พระสมเด็จองค์ปฐมโดยการแบ่งโซน
    เราจะวิเคราะห์พระสมเด็จองค์ปฐมง่ายขึ้น ถ้าเราแต้มสี (Highlight) ในโซนย่อยของแต่ละส่วนขององค์พระ เพื่อให้เห็นเอกลักษณ์ชัดเจน
    ซุ้ม : สีแสด
    ฐาน : สีเขียว
    องค์พระ: สีชมพู

    [​IMG]

    สมเด็จองค์ปฐม : แบ่งโซน + แต้มสี
    การจัดกรอบแบ่งโซน
    ท่านจะเห็นว่าเราต้องหมุนภาพพระสมเด็จองค์ปฐมทวนเข็มนาฬิกาเล็กน้อย เพื่อให้เส้นซุ้มชั้นล่างอยู่ในระนาบ เรื่องนี้เป็นจุดที่สร้างความสับสนเวลาวิเคราะห์พระพิมพ์นี้ เพราะดูจากภาพถ่ายจะเห็นว่าองค์พระเอียงมาก
    ที่เป็นเช่นนี้เพราะการตัดขอบบนและขอบล่างค่อนข้างแปลกและไม่มีองค์ใดเหมือน คือ ตัดเกินกรอบไปทางเดียวกันทำให้เกิดเนื้อล้นกรอบในลักษณะสามเหลี่ยมชายธงทั้งบนและล่าง กรอบบนและล่างจึงดูขนานกัน ฉะนั้นเพื่อความสวยงามในการถ่ายภาพ ช่างภาพจึงจัดระนาบของภาพตามการตัดขอบ ไม่ตามเส้นซุ้มด้านล่าง ทำให้ดูเสมือนว่าองค์พระและซุ้มเอียงมาก ​

    ทีนี้ถ้าเราสังเกตช่องว่างระหว่างเส้นซุ้มด้านล่างกับกรอบกระจกด้านล่าง เราจะเห็นว่ามีขนาดสม่ำเสมอกัน แสดงว่าองค์พระแกะไม่เอียง แต่หลวงวิจารณ์ฯแกะพระสั้นกว่ากรอบ เหลือช่องว่างค่อนข้างมากกว่าพระพิมพ์อื่น ๆ ข้อสังเกตนี้ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบพระองค์อื่นได้เลยว่าเป็นพิมพ์เดียวกันหรือเปล่า ในบทความที่เกี่ยวกับพระสมเด็จองค์ปฐมที่จะมีให้ท่านชมในคราวหน้า จะแสดงพระองค์อื่น ๆ ที่มีพิมพ์ทรงคล้ายกัน ท่านจะพบว่าไม่มีช่องว่างแบบองค์ปฐมนี้ ซึ่งก็เป็นข้อสรุปขั้นต้นได้ว่าไม่ใช่เป็นพิมพ์เดียวกัน
    ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งของพระองค์นี้ที่ทำให้เฮียเท้ายกให้เป็นพิมพ์ที่ ๑ นอกจากการมีพุทธศิลป์เชียงแสนยุคต้นแบบ “สิงห์สอง” เพราะมีเส้นสังฆาฏิพาดชัดเจน ก็คือเนื้อเกินบริเวณกรอบด้านซ้าย ซึ่งมีเนื้อล้นออกมา แสดงสัญลักษณ์การตัดขอบว่าตัดขณะที่พระอยู่ในแม่พิมพ์ที่เรียกว่า “คว่ำหน้าตัด” หรือ “ตัดจากหลังมาหน้า” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระเนื้อผงตระกูลสมเด็จโต แต่ลักษณะเช่นนี้เพียงอย่างเดียวยังไม่เป็นเครื่องยืนยันถึงความแท้ได้ เพราะเป็นแค่ส่วนเดียวของการวิเคราะห์เท่านั้น ในทำนองกลับกันหากถ้าท่านพบพระที่ “ตัดจากหน้าไปหลัง” ก็เตรียมตัวไว้ก่อนเลยว่า แค่การตัดขอบพระก็ไม่ถูกต้องแล้ว โอกาสที่จะผ่าน “ตะแกรงพระแท้” ไปพิจารณาส่วนอื่นประกอบ คงเป็นไปได้ยาก ​

    ดังนั้นเมื่อขยับภาพวางกรอบให้ไปตามระนาบของเส้นซุ้มด้านล่าง จะพบว่าองค์พระแกะได้ค่อนข้างตรง แต่ก็ยังไม่สมมาตร (Symmetry) อยู่ดี เพราะสังเกตดูจากเกศที่ไม่อยู่กึ่งกลางของโซน ๒/๒ และ ๒/๔ ได้ว่า องค์พระจะตั้งอยู่ค่อนข้างมาทางด้านซ้าย
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]





    </TD><TD>[​IMG]





    </TD></TR><TR><TD>องค์ปฐมก่อนขยับ





    </TD><TD>องค์ปฐมหลังขยับ





    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    ซุ้ม
    พระสมเด็จองค์ปฐมมีเส้นซุ้มด้านซ้ายที่มาพบกรอบบังคับพิมพ์ที่ โซน ๖/๙ ค่อนข้างต่ำ คือจะเป็นบริเวณเข่าด้านซ้าย ไม่เป็นไปตาม “ตำหนิ” ของเฮียเท้าที่ว่าจะอยู่ประมาณต้นแขน หรือเหนือข้อศอกซ้าย

    โซน ๗/๗ และ ๙/๙ บ่งถึงข้อสังเกตอีกประการหนึ่งของพระสมเด็จวัดระฆังซึ่งจะมีฐานชั้นล่างที่เป็นฐานหน้ากระดานตัดเฉียงไม่สมมาตร (Symmetry) คือหัวฐานด้านขวาจะอยู่ห่างจากเส้นซุ้มมากกว่าด้านขวา และการตัดเฉียงของด้านซ้ายจะไม่เฉียงเท่าด้านขวา

    โซน ๑/๗ และ ๓/๙ บอกให้เราทราบว่าเส้นซุ้มก็ไม่สมมาตร (Symmetry) เพราะด้านซ้ายบริเวณโซน ๓/๙ จะอยู่ใกล้กับกรอบกระจกมากกว่าด้านขวาบริเวณโซน ๑/๗ ซึ่งแสดงเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของหลวงวิจารณ์เจียรนัยว่าซุ้มจะโย้มาทางด้านซ้าย


    [​IMG]

    องค์ปฐม : แต้มสีเส้นซุ้ม

    ส่วนข้อสังเกตอื่น ๆ จะไม่กล่าวในที่นี้ เพราะจะเห็นเด่นชัดตอนเปรียบเทียบกับพระองค์อื่นว่าเป็นพระพิมพ์เดียวกันหรือไม่
    ฐาน



    โซน ๔/๙ และโซน ๖/๗ บอกให้รู้ว่าฐานชั้นบนเอียงลาดไปทางซ้าย ขณะที่หน้าตักและเข่าองค์พระตั้งตรง หัวฐานด้านซ้ายงอนนิด ๆ รับกับเข่า แต่ก็ยื่นเลยเข่ามากกว่าด้านขวา

    ทีนี้มาดูฐานชั้นกลางบ้าง จะเห็นได้จากโซน ๗/๒ กับ ๗/๕ โซน ๘/๑ กับ ๘/๔ โซน ๘/๓ กับ ๘/๖ และ โซน ๙/๒ กับ ๙/๕ ว่าฐานชั้นกลางจะอยู่ตรงกลางพอดี ไม่เอียงแบบฐานชั้นบน และหัวฐานที่เป็นหัวสิงห์ด้านซ้ายยื่นเลยฐานชั้นบนนิดเดียว ขณะที่ด้านขวาจะยื่นเลยฐานชั้นบนมากและไปใกล้เส้นซุ้มด้านขวามากกว่า

    ฐานชั้นล่างจะมีจุดตัด ๘๒ และ ๘๙ ที่ตำแหน่งตัดเฉียงของหัวฐานเหมือนกัน แต่ หัวฐานด้านขวาจะอยู่ใกล้เส้นซุ้มมากกว่าด้านซ้าย และจุดตัดทั้งสองอยู่เหนือเส้นรุ้งที่ ๙ ไม่อยู่ตรงกลางเหมือนฐานชั้นกลางที่อยู่บริเวณเส้นรุ้งที่ ๘ และฐานชั้นล่างกับฐานชั้นกลางค่อนข้างจะตรงและขนานกัน


    [​IMG]

    องค์ปฐม : แต้มสีฐาน

    องค์พระ




    โซน ๒/๔ และ ๒/๖ บอกให้เรารู้ได้ว่าเศียรและเกศไม่สมมาตร (Symmetry) และค่อนมาทางซ้าย

    โซน ๔/๑ และ ๔/๓ บอกเราว่าไหล่ท่านเอียงลงทางซ้ายนิด ๆ รับกับความเอียงของเกศและเส้นรุ้งที่ ๔ ผ่านบริเวณหัวไหล่พอดี

    โซน ๔/๑ กับ ๔/๔ โซน ๔/๓ กับ ๔/๖ แสดงให้เห็นว่าแขนซ้ายท่านค่อนข้างตรง ขณะที่แขนขวาจะเอียงนิด ๆตามเกศ และแขนขวาจะอยู่นอกโซนมากกว่าแขนซ้าย เนื่องจากเส้นแวงที่ ๔ ตัดเข้ามาในแขนขวามากกว่าเส้นแวงที่ ๗ ที่ตัดเข้ามาในแขนซ้าย

    โซน ๕/๕ แสดงให้เห็นว่าช่วงมือที่ขัดสมาธิอยู่ในโซนนี้เกือบทั้งหมด โดยส่วนล่างสุดของมือที่ประสานแบบปางสมาธิอยู่ต่ำกว่าเส้นรุ้งที่ ๗ เพียงเล็กน้อย


    [​IMG]

    องค์ปฐม : แต้มสีองค์พระ​




    สรุป
    • <LI class=BodyText>ฟุตบอลแบ่งโซนเพื่อให้เล่นได้รัดกุมตามแผนไม่ว่าจะเป็นเกมรุกเกมรับฉันใด พระสมเด็จก็สามารถกำหนดกรอบเพื่อแบ่งโซนไว้ศึกษาวิเคราะห์ได้ฉันนั้น <LI class=BodyText>การแบ่งโซนใหญ่ ๙ โซน เพื่อดูภาพรวม (Overall Picture) ในขณะที่การแบ่งโซนย่อย ๘๑ โซน เพื่อดูรายละเอียด (Details) <LI class=BodyText>จุดตัดของโซนย่อยเป็นจุดสำคัญที่จะกำหนดเอกลักษณ์ของพิมพ์ทรง เส้นแบ่งโซนทั้งเส้นรุ้งและเส้นแวง จะบอกถึงความลาดเอียงขององค์พระและฐานได้
    • บทวิเคราะห์อาจแสดงให้เห็นได้ไม่มาก แต่การแบ่งโซนและกำหนดจุดตัดโซนจะมีประโยชน์มากเวลาเปรียบเทียบพิมพ์ทรงมาตรฐานด้วยกันว่าเป็นพิมพ์เดียวกันหรือไม่ รวมทั้งเปรียบเทียบองค์ที่เราเป็นเจ้าของว่าถูกต้องตามพิมพ์ทรงมาตรฐานหรือไม่

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2009
  9. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    แบ่งโซน : ศึกษาองค์ปฐม (ตอนที่ ๑)
    ผู้ทำเลือกพระสมเด็จ ๓ องค์นี้จาก ถอดรหัสพระสมเด็จ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ตอน องค์ปฐม (ตอนที่ ๓ : พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ที่ ๑ ของเฮียเท้า) เพราะบทความนั้นให้คำตอบคร่าว ๆ ว่า เมื่อเปรียบเทียบพระทั้ง ๓ องค์กับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ที่ ๑ ของคุณวิโรจน์ ใบประเสริฐ (เฮียเท้า แล้ว อาจเป็นหนึ่งในสามของข้อสังเกตด้านล่างนี้
    1. พระเลียนพิมพ์
    เป็นพระที่มาจากช่างแกะพิมพ์ที่ใช้พุทธศิลป์เดียวกับองค์ปฐม ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการรังสรรค์พิมพ์ทรงที่สวยงามของหลวงวิจารณ์เจียรนัยในยุคที่ผู้ทำเรียกว่า
     
  10. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    แบ่งโซน: ศึกษาองค์ปฐม(ตอนที่ ๒)
    ในตอนที่ ๑ ผู้ทำพูดถึงคำถามยอดฮิต ๓ คำถามที่เราอยากรู้เวลาเอาพระสมเด็จไปส่งประกวด หรือถามคนที่มีความรู้เรื่องพระเครื่อง และพูดถึงพระสมเด็จ ๓ องค์ข้างล่างว่า พิมพ์ทรงมาตรฐานที่เราจะเอามาเปรียบเทียบก็คือ พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธานองค์ที่ ๑ ของคุณวิโรจน์ ใบประเสริฐ หรือ เฮียเท้า
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=520 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๑
    </TD><TD>องค์ที่ ๒
    </TD><TD>องค์ที่ ๓

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เราตอบคำถามข้อ ๓ ผิดจากพิมพ์อะไร ไปแล้ว วันนี้เราจะมาวิเคราะห์ตามข้อ ๑ พิมพ์ถูกหรือผิด และข้อ ๒ ถ้าผิดพิมพ์ ผิดตรงไหน
    ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ถ้าพิมพ์ถูก หมายความว่าอะไร
    คำว่า พิมพ์ถูก หรือ ถูกพิมพ์ หมายถึงพระองค์นั้นได้ถูกสร้างขึ้นจากการเอามวลสารเนื้อพระมากดในพิมพ์เดียวกับพิมพ์ทรงมาตรฐานที่เราอ้างถึง ก็จะมีลักษณะเหมือนกันคือเกิดจากแม่พิมพ์ตัวเดียวกัน อาจไม่เหมือนกัน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ จากตัวแปรในการกดพิมพ์ เอาพระออกจากพิมพ์ ตัดขอบ ตากแห้ง ตลอดจนการบำรุงรักษาและการใช้งานในช่วงเวลาประมาณ ๑๔๐ ปี ความแตกต่างของพระสองงค์ย่อมมีบ้าง เพราะไม่ใช่พระโรงงาน แต่จุดใหญ่ ๆ หรือเอกลักษณ์หลักต้องมีเหมือนกัน
    เราจะใช้วิธีวิเคราะห์พระทั้ง ๓ องค์ เปรียบเทียบกับองค์ปฐมเป็นองค์ ๆ ไป

    องค์ที่ ๑ vs องค์ปฐม
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=320 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๑
    </TD><TD>องค์ปฐม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    คงจำกันได้ว่า องค์ที่ ๑ เป็นพระสมเด็จที่ผู้ทำได้จากนักสะสมรุ่นเก่าที่จัดได้ว่ามีพระสมเด็จต่างวัดมากที่สุด

    วิเคราะห์เบื้องต้นเพื่อดูภาพรวม
    ผู้ทำจะแบ่งเป็น ๙ โซนใหญ่ เราจะเห็นภาพรวม (Overall Picture) เพื่อตอบคำถามข้อที่ ๑ ว่า พิมพ์ถูกหรือผิด
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๑ : แบ่ง ๙ โซนใหญ่
    </TD><TD>องค์ปฐม : แบ่ง ๙ โซนใหญ่

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    จากรูปทั้งสองเห็นได้ว่าพิมพ์ทรงใกล้เคียงกัน สัดส่วนก็ไม่ต่างกันมาก เส้นรุ้งที่ ๔ ตัดผ่านไหล่ขององค์พระในตำแหน่งเดียวกัน และเส้นรุ้งที่ ๗ ก็ตัดผ่านฐานชั้นบนในตำแหน่งเดียวกันอีก รวมทั้งเส้นแวงที่ ๔ และ ๗ ก็ตัดผ่านแขนขวาและแขนซ้ายในตำแหน่งเดียวกันอีก
    อย่างไรก็ตาม ถ้าเราสังเกตให้ดียังมีสิ่งที่บอกให้เรารู้ว่า พระทั้งสององค์ไม่ได้มาจากแม่พิมพ์เดียวกัน

    เนื่องจาก
    1. <LI class=BodyText>องค์ที่ ๑ มีขนาดอวบอ้วนกว่าองค์ปฐมไม่ว่าซุ้ม องค์พระ ฐาน <LI class=BodyText>เศียรมีขนาดไม่เท่ากัน องค์ที่ ๑ เศียรใหญ่กว่า
    2. องค์พระนั่งไม่เหมือนกัน องค์ที่ ๑ นั่งเอียง องค์ปฐมนั่งตรง
    แสดงว่าพระทั้งสององค์ไม่ใช่พระคู่แฝดที่มาจากแม่พิมพ์เดียวกัน ดังนั้นจากคำถามข้อ ๑ พิมพ์ถูกหรือผิด คำตอบก็คือ พิมพ์ผิด หรือ ผิดพิมพ์ นั่นเอง
    วิเคราะห์เบื้องลึกเพื่อดูรายละเอียด
    เราจะแบ่งพระทั้ง ๒ องค์ เป็น ๘๑ โซนย่อย เพื่อดูรายละเอียด (Details) และตอบคำถามข้อ ๒ ถ้าผิดพิมพ์ ผิดตรงไหน
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๑ : แบ่ง ๘๑ โซนย่อย
    </TD><TD>องค์ปฐม : แบ่ง ๘๑ โซนย่อย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เครื่องมือที่เราจะใช้บอกความแตกต่าง มาจากการสังเกต ๘๑ โซนย่อยในส่วนของ
    ๑. เส้นรุ้ง เส้นแวง
    เส้นรุ้งมี ๑๐ เส้น
    เส้นแวงมี ๑๐ เส้น
    ๒. จุด
    เกิดจากการตัดกันของเส้นรุ้งและเส้นแวง
    มีทั้งหมด ๑๐๐ จุด
    ๓. โซน
    แบ่งเป็น ๘๑ โซนย่อยจาก ๙ โซนใหญ่ และระบายสีในแต่ละส่วนขององค์พระเพื่อเน้นความแตกต่าง
    ซุ้ม สีแสด
    ฐาน สีเขียว
    องค์พระ สีชมพู
    ความแตกต่างที่ซุ้ม
    ซุ้มอย่างเดียว ผิดกันอยู่ถึง ๗ จุดด้วยกันคือ
    ๑. จุด ๑๘ องค์ที่ ๑ อยู่ซุ้มด้านใน องค์ปฐมอยู่กลาง
    ๒. จุด ๑๓ องค์ที่ ๑ อยู่กลาง องค์ปฐมอยู่ซุ้มด้านใน
    ๓. จุด ๒๒ องค์ที่ ๑ อยู่ขอบซุ้มด้านนอก องค์ปฐมอยู่ด้านใน
    ๔. จุด ๓๒ องค์ที่ ๑ อยู่ใกล้ซุ้มด้านนอกมากกว่าองค์ปฐม
    ๕. จุด ๔๒ องค์ที่ ๑ อยู่ซุ้มด้านใน องค์ปฐมอยู่ขอบ
    ๖. จุด ๕๒ องค์ที่ ๑ อยู่ในซุ้ม องค์ปฐมอยู่นอกซุ้ม
    ๗. จุด ๖๒ องค์ที่ ๑ อยู่ขอบซุ้มด้านใน องค์ปฐมอยู่นอกซุ้ม
    ซุ้มองค์ที่ ๑ ด้านซ้ายองค์พระใกล้เคียงกับองค์ปฐมมาก ความแตกต่างเริ่มเห็นเมื่อซุ้มโค้งไปหาเกศและกรอบด้านบน ตอนซุ้มโค้งลงด้านขวาจะเห็นว่า ซุ้มองค์ที่ ๑ ตีโค้งกว่าองค์ปฐม ลงมาบรรจบซุ้มล่างบริเวณเดียวกัน และช่องว่างใต้ซุ้มล่างองค์ปฐมจะมีมากกว่าองค์ที่ ๑
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๑ : แสดง ๗ จุดต่างซุ้ม
    </TD><TD>องค์ปฐม : แสดง ๗ จุดต่างซุ้ม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ความแตกต่างที่องค์พระ
    1. <LI class=BodyText>โซน ๒/๕ เกศองค์ที่ ๑ สั้นกว่าองค์ปฐม <LI class=BodyText>โซน ๒/๖ และ ๒/๙ หน้าองค์ที่ ๑ ใหญ่กว่าองค์ปฐม <LI class=BodyText>เส้นรุ้ง ๔ และ ๖ ลำตัวองค์ที่ ๑ อยู่สูงกว่าองค์ปฐม
    2. เส้นรุ้ง ๖ องค์ที่ ๑ นั่งสมาธิเอียง องค์ปฐมนั่งตรง
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๑ : แสดง ๔ จุดต่างองค์พระ
    </TD><TD>องค์ปฐม : แสดง ๔ จุดต่างองค์พระ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    องค์พระองค์ที่ ๑ อวบอ้วนและล่ำกว่าองค์ปฐม ในส่วนหน้าและลำตัว การนั่งก็ต่างกัน องค์ที่ ๑ นั่งเอียง ขณะที่องค์ปฐมนั่งตรง
    ความแตกต่างที่ฐาน
    1. <LI class=BodyText>เส้นรุ้ง ๗ ฐานชั้นบนองค์ที่ ๑ อยู่ใกล้เส้นรุ้งมากกว่าองค์ปฐม
    2. เส้นรุ้ง ๙ ฐานชั้นล่างองค์ที่ ๑ และองค์ปฐมไม่เหมือนกัน องค์ที่ ๑ มีฐานชั้นล่างหนาและเอียงมากกว่าองค์ปฐม
    องค์ที่ ๑ และองค์ปฐมมีฐานทั้งสามในลักษณะใกล้เคียงกันมาก ข้อแตกต่างมีค่อนข้างน้อย เพราะองค์ประกอบของฐานมีรายละเอียดน้อยกว่าองค์พระและซุ้ม
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๑ : แสดง ๒ จุดต่างฐาน
    </TD><TD>องค์ปฐม : แสดง ๒ จุดต่างฐาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    สรุป
    ๑. องค์ที่ ๑ และองค์ปฐมมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันมาก แต่ก็ไม่ได้มาจากแม่พิมพ์ตัวเดียวกัน
    ๒. พุทธศิลป์ของทั้งสององค์เหมือนกัน คือ ศิลปะพระพุทธรูปเชียงแสนยุคต้นแบบ “สิงห์สอง” ช่างผู้แกะองค์ที่ ๑ เน้นถึงความอวบอิ่มและล่ำสันขององค์พระมากกว่าช่างขององค์ปฐม
    ๓. คำตอบของ ๓ คำถามสำหรับองค์ที่ ๑ vs องค์ปฐม
    ข้อ ๑ พิมพ์ถูกหรือผิด คำตอบคือ พิมพ์ผิดหรือผิดพิมพ์
    ข้อ ๒ ถ้าพิมพ์ผิด ผิดตรงไหน คำตอบคือ ซุ้ม ๗ แห่ง องค์พระ ๔ แห่ง ฐาน ๒ แห่ง
    ข้อ ๓ และผิดจากพิมพ์อะไร คำตอบคือ ผิดจากพิมพ์ที่ ๑ ของเฮียเท้า
    ๔. ข้อสันนิษฐานของผู้ทำ
    เป็นพระเลียนพิมพ์องค์ที่ ๑ โดยช่างที่เข้าถึงพุทธศิลป์เดียวกับช่างขององค์ปฐม
    เนื่องจากการวิเคราะห์พระแต่ละองค์ ต้องใช้การอธิบายและยกตัวอย่างรวมทั้งรูปประกอบค่อนข้างมาก วันนี้จึงขอจบแค่องค์ที่ ๑ vs องค์ปฐม
    ครั้งหน้าจะเป็นตอนที่ ๓ วิเคราะห์พระองค์ที่ ๒ vs องค์ปฐม จากนั้นจะเป็นตอนที่ ๔ ซึ่งเป็นตอนสุดท้าย จะวิเคราะห์ องค์ที่ ๓ vs องค์ปฐม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2009
  11. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    ขอนแก่นร้อนมาก กินโค้กเย็นๆกันครับพี่ๆทุกคน
     
  12. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    พระสมเด็จอรหังกับพระสมเด็จโต – ใครสร้างก่อน


    ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ได้นำมาเรียนท่านผู้อ่านเมื่อวานนี้ใน ประวัติพระ – ประวัติศาสตร บอกไว้แล้วว่า
    1. <LI class=BodyText>สังฆราชสุก ไก่เถื่อน ไม่ใช่เป็นอาจารย์ของสมเด็จโต อาจารย์ของสมเด็จโตคือสังฆราชสุก วัดมหาธาตุ <LI class=BodyText>พระสมเด็จอรหังไม่น่าจะสร้างที่วัดมหาธาตุ เพราะถ้าหลังรอยจารึกสร้างที่นั่นแต่หลังโต๊ะกังถึงไปฝากกรุไว้ที่วัดสร้อยทอง เวลาก็จะห่างกันร่วม ๓๐ ปี
    2. เวลาที่สังฆราชสุก ไก่เถื่อนเป็นสมเด็จพระสังฆราชและประทับอยู่วัดมหาธาตุสั้นเกินไปและพระชนมายุของท่านก็มากเกินกว่าที่จะสร้างพระสมเด็จขึ้นมาได้
    ก็อาจมีคนเถียงว่า เวลาแค่ ๒ ปี กับพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ถ้าตั้งใจจะสร้างพระสมเด็จอรหังจริง ๆ ทำไมจะทำไม่ได้ พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ใหญ่ที่สุดในศาสนจักรอยู่แล้ว
    ก็ต้องหาเหตุผลและข้อเท็จจริงมาประกอบการวิเคราะห์ เพราะถ้าจะลงความเห็นเช่นนั้นก็อาจจะค้านกับความเชื่อของคนในวงการพระเครื่องที่มีอยู่ช้านานแล้วว่าสังฆราชสุก ไก่เถื่อนเป็นอาจารย์สมเด็จโต และสร้างพระสมเด็จอรหังก่อนสมเด็จโตสร้างพระ อีกทั้งรูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก สมเด็จโตได้จากรูปแบบพระสมเด็จอรหัง ซึ่งเชื่อกันว่าท่านอาจมีส่วนในการสร้างพระสมเด็จอรหังด้วย
    ความเชื่อข้อที่ ๑ ประวัติศาสตร์บอกชัดเจน สังฆราชสุก ไก่เถื่อนไม่ใช่อาจารย์ของสมเด็จโต

    ความเชื่อข้อที่ ๒ พระสมเด็จอรหังสร้างก่อนพระสมเด็จโต ผู้ทำมีความเห็นว่าไม่ใช่ สมเด็จโตสร้างพระสมเด็จก่อน พระสมเด็จอรหังน่าจะสร้างในยุควัดสร้อยทอง ถึงได้มีพระบรรจุที่กรุนั้น วัดสร้อยทองเริ่มสร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๔ พระสมเด็จอรหังน่าจะสร้างหลังจากนั้น ก็หมายความว่าผู้สร้างไม่ใช่สังฆราชสุก ไก่เถื่อน ตามประวัติของวัดก็น่าจะเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกก็คือหลวงตากุย
    นิตยสารเซียนพระ ฉบับที่ ๑๖๙ ประจำวันที่ ๑๖- ๓๑ มกราคม ๒๕๓๙ มีบทความเรื่อง จากอะระหัง สู่วัดระฆัง ลงไว้ว่า
    “....พระสมเด็จอะระหังทั้งชนิดเนื้อสีขาวและสีแดง เป็นพระเครื่องที่พบที่วัดสร้อยทอง เชิงสะพานพระราม ๖ นี่เอง ผู้สร้างคือพระอาจารย์กุย อดีตเจ้าอาวาส คือราว ๑๐๐ ปีเศษ
    พระสมเด็จอะระหังได้มีการพบครั้งใหญ่เมื่อคราวทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัด ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง พระที่พบมีทั้งเนื้อขาวและเนื้อแดง สำหรับพระเนื้อขาวหลังจารอักขรขอม อะระหัง เป็นพระเครื่องชนิดเดียวกันกับที่วงการเล่นหาอยู่ โดยเชื่อว่าสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อนสร้าง”
    บทความนี้ยังอ้างข้อเขียนของนักเขียนชื่อ อโศก ลงในหนังสืออาณาจักรพระเครื่อง โดยไม่ได้ระบุฉบับหรือวันที่ออกจำหน่ายไว้ด้วยดังนี้
    “จากการที่พระเจดีย์สองสามองค์ถูกลูกระเบิดทิ้งทำลายนี่แหละเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้พบพระกรุพิมพ์หนึ่งที่ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเรียกกันว่า “พระสมเด็จอรหํ” มีทั้งชนิดเนื้อผงสีขาวในลักษณะพระสมเด็จ และชนิดเนื้อดินผสมผงสีแดงหลังป๊มเป็นอักษรนูน ที่เรียกกันว่าหลังโต๊ะกังนั้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ ณ ที่เจดีย์วัดสร้อยทองแห่งนี้แน่นอน
    สำหรับท่านนักนิยมสะสมพระเครื่องส่วนใหญ่เชื่อกันว่า สร้างโดยพระเดชพระคุณสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน (สุก ญาณสังวร) วัดพลับ ธนบุรีนั้น ยังหาหลักฐานไม่ได้เลยว่ามีใครที่เคยพบเห็น หรือได้พระสมเด็จอรหํจากกรุวัดพลับหรือวัดมหาธาตุ อันเป็นวัดที่ท่านสถิตย์เป็นแหล่งสุดท้าย”
    เซียนพระยังอ้างถึงข้อความจากหนังสือพระอีกเล่มหนึ่ง ซึ่งไม่ปรากฎทั้งชื่อหนังสือ คนเขียน หรือแม้แต่วันที่วางจำหน่าย ที่เขียนถึงเรื่องเดียวกันนี้ว่า
    “ได้ทราบจากปากอาจารย์ที่วัดนั้นว่า พระสมเด็จอะระหัง ทั้งชนิดเนื้อขาวและเนื้อแดงเป็นพระของวัดสร้อยทองแห่งนี้ แตกกรุเมื่อคราวสงคราม ค่านิยมของนักสะสมพระเครื่องล้วนพิจารณาแยกแยะจากเนื้อหา ถ้าเป็นสมเด็จอะระหังเนื้อแข็งกระด้าง ท่านว่าเป็นของวัดสร้อยทอง แต่ถ้าพระสมเด็จอะระหังองค์ไหนมีความฉ่ำนุ่มมากหน่อย ท่านก็ว่าเป็นของวัดมหาธาตุ ยังไม่เคยมีใครเคยพบหรือทราบมาก่อนเลยว่า ที่วัดมหาธาตุริมสนามหลวงเคยมีพระแตกสักครั้งก็หาไม่”
    บทความนี้และที่อ้างจากหนังสืออีก ๒ เล่มก็พอที่จะเป็นหลักฐานสนับสนุนได้ว่า สังฆราชสุก ไก่เถื่อน ไม่ใช่เป็นผู้สร้างพระสมเด็จอรหัง และพระสมเด็จอรหังทั้งเนื้อขาวและเนื้อแดงสร้างที่วัดสร้อยทอง ไม่ใช่ที่วัดมหาธาตุ ผู้สร้างน่าจะเป็นพระอาจารย์กุย เจ้าอาวาสองค์แรกในสมัยรัชกาลที่ ๕

    ความเชื่อที่ ๓ รูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก สมเด็จโตได้จากรูปแบบพระสมเด็จอรหัง ผู้ทำคิดว่าไม่ใช่อีก น่าจะเป็นว่าพระสมเด็จอรหังเลียนแบบพุทธศิลป์ของสมเด็จโตมากกว่า
    ทีนี้มาฟังเหตุผลจากการวิเคราะห์พิมพ์ทรงของพระสมเด็จอรหังดู
    พิมพ์ทรงพระสมเด็จอรหัง
    ไม่นับเนื้อซึ่งมีเนื้อขาวและเนื้อแดง พิมพ์พระสมเด็จอรหังพิมพ์ใหญ่จะมีด้วยกันหลายแบบดังนี้
    1. <LI class=BodyText>พิมพ์ฐาน ๓ ชั้น แบบพระสมเด็จโต <LI class=BodyText>พิมพ์ฐานคู่
    2. พิมพ์พิเศษ
    ส่วนด้านหลังจะมีทั้งแบบหลังจารและหลังโต๊ะกัง
    รูปแบบ (Form Factor)

    เป็นพระเนื้อผงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกรอบบังคับพิมพ์ และเส้นซุ้มประภามณฑลครอบทั้งองค์พระ โดยที่เส้นซุ้มจะอยู่ห่างจากกรอบทั้ง ๔ ด้าน ทำให้เห็นช่องว่างระหว่างซุ้มและกรอบชัดเจน
    [​IMG]
    พิมพ์ฐาน ๓ ชั้น : หน้า
    [​IMG]
    พิมพ์ฐาน ๓ ชั้น : หลัง
    [​IMG]
    พิมพ์ฐานคู่ : หน้า
    [​IMG]
    พิมพ์ฐานคู่ : หลัง
    [​IMG]
    พิมพ์พิเศษ : หน้า
    [​IMG]
    พิมพ์พิเศษ : หลัง
    การตัดขอบ
    เป็นการตัดขอบให้เห็นกรอบบังคับพิมพ์ทั้งสี่ด้านเป็นส่วนใหญ่ ฝีมือการตัดขอบค่อนข้างประณีต รูปด้านล่างเห็นขอบข้างของพิมพ์เนื้อแดง หลังโต๊ะกังว่า เรียบ เนียน แน่นเป็นพิเศษ ร่องเล็ก ๆขอบตลอดทั้งขอบ แสดงให้เห็นว่าไม่มีการตัดขอบ แต่ใช้กรรมวิธีที่เรียกว่า “ตีปลอก” คือมีการปลอกบังคับพิมพ์ เมื่อกดพระให้แน่นก็จะยกปลอกออก ทำได้ขอบที่ตรงและเรียบ ไม่ต้องตัดขอบ องค์ถัดไปเป็นพิมพ์พิเศษ ขอบข้างก็เรียบแสดงถึงการ “ตีปลอก” เช่นกัน
    เทคนิคการ “ตีปลอก” เป็นกรรมวิธีการผลิตรุ่นหลังไม่ใช่ในยุคสมเด็จโต นั่นก็คือพระสมเด็จอรหังสร้างขึ้นหลังสมเด็จโต ไม่ใช่อยู่ในยุคเดียวกัน หรือ ยุคก่อน
    [​IMG]
    สมเด็จอรหังเนื้อแดง ด้านข้าง
    [​IMG]
    สมเด็จอรหังเนื้อขาว ด้านข้าง​

    ข้อเท็จจริงประการที่ ๑ : กรอบบังคับพิมพ์
    ต้องย้อนกลับไปถึงประวัติการสร้างพระของสมเด็จโตว่ามีอยู่ ๓ ยุค
    ยุคแรก พิมพ์ทรงยังไม่เป็นสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก
    ยุคสอง เริ่มใช้รูปแบบสี่เหลี่ยมชิ้นฟักและซุ้มประภามณฑล
    (เข้าใจว่าเริ่มสร้างหลังรัชกาลที่ ๔ ครองราชย์แล้ว คือ หลังปี พ.ศ. ๒๓๙๔)
    ยุคสาม เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลง ๒ ประการ ประการแรกคือการใช้น้ำมันตังอิ๊วเป็นตัวประสาน ประการที่สองเป็นการใช้กรอบบังคับพิมพ์ในการแกะพิมพ์
    (เข้าใจว่าเป็นผลงานของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๙)
    ดังนั้นถ้าจะเอากรอบบังคับพิมพ์เป็นตัวตั้ง ก็ไม่มีทางที่พระสมเด็จอรหังจะสร้างโดยสังฆราชสุก ไก่เถื่อน เพราะท่านสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๖๔ ก่อนที่หลวงวิจารณ์เจียรนัยจะมาแกะพิมพ์ให้สมเด็จโตหลายสิบปี

    ข้อเท็จจริงประการที่ ๒ : รูปแบบสี่เหลี่ยมชิ้นฟักและซุ้มประภามณฑล
    ท่านผู้อ่านอาจจะค้านอยู่ในใจว่าทำไมสังฆราชสุก ไก่เถื่อนจะสร้างพระของท่านเมื่อเป็นสังฆราชและประทับอยู่วัดมหาธาตุตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๖๓ ถึง ๒๓๖๔ ไม่ได้เชียวหรือ ตอนนั้นสมเด็จโตมีอายุเพียง ๓๒ – ๓๓ ปี อาจจะยังไม่ได้เริ่มสร้างพระยุคแรกด้วยซ้ำ
    ประเด็นก็อยู่ที่ว่าสมเด็จโตเริ่มสร้างพระยุคแรกในปีไหน หนังสือสมเด็จโตของแฉล้ม โชติช่วง และมนัส ยอขันธ์บอกว่าสร้างพระครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๓๕๘ ถ้าเป็นจริงตามนั้น สมเด็จโตก็อาจสร้างพระยุคแรกก่อนสังฆราชสุก ไก่เถื่อน เพียงแต่ยังไม่ได้สร้างเป็นแบบสี่เหลี่ยชิ้นฟักเท่านั้น ซึ่งสมเด็จโตอาจได้รูปแบบสี่เหลี่ยมชิ้นฟักไปจากพระสมเด็จอรหังก็ได้
    ส่วนซุ้มประภามณฑลก็เหมือนกัน ไม่มีใครรู้ว่าสมเด็จโตเอารูปแบบซุ้มประภามณฑลมาจากไหน หนังสือบางเล่มสันนิษฐานว่ามาจากครอบแก้วครอบพระพุทธรูปองค์เล็ก ส่วนผู้ทำคิดว่าน่าจะได้จากพระซุ้มกอ ดังนั้นถ้าจะยกประเด็นว่ามาจากพระสมเด็จอรหัง ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน ถ้าพระสมเด็จอรหังสร้างก่อนพระสมเด็จโต เพราะการเลียนแบบพุทธศิลป์เป็นวิวัฒนาการของศิลปะที่มีมาแต่ช้านานแล้ว และเป็นต้นแบบของวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาในบ้านเรา
    ดังนั้นรูปแบบสี่เหลี่ยมชิ้นฟักและซุ้มประภามณฑลอย่างเดียวยังสรุปไม่ได้ว่าใครสร้างก่อนใครระหว่างพระสมเด็จอรหังและพระสมเด็จโต
    ก็ต้องหาข้อเท็จจริงต่อไป

    ข้อเท็จจริงประการที่ ๓ : เกศ
    พระสมเด็จทั้งพิมพ์ฐาน ๓ ชั้นและพิมพ์ฐานคู่มีลักษณะเกศเหมือนกัน คือ เกศเรียวยาวเป็นลำจากเศียรโดยไม่มีเกตุมาลาและไม่เป็นแบบเปลวเพลิงรัศมี
    ลักษณะเกศเช่นนี้ แตกต่างโดยสิ้นเชิงกับลักษณะเกศของพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ที่มีลักษณะเป็นเกศทรงกรวยหรือโคนหนาเป็นแบบเกศปลี แต่เหมือนกันอยู่ทีไม่มีเกตุมาลาทั้งค
    เกศขององค์พระที่ไม่มีเกตุมาลาก็คือพุทธลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของพระสัมพุทธพรรณี ซึ่งรัชกาลที่ ๔ ทรงให้ช่างหลวงทำขึ้นในสมัยที่ยังเป็นพระภิกษุวชิรญาณในปีพ.ศ. ๒๓๗๓
    ลักษณะเกศเช่นนี้เป็นตัวฟ้องให้เห็นข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนว่า พระสมเด็จอรหังต้องสร้างขึ้นหลังปีพ.ศ. ๒๓๗๓ แต่เป็นปีใดไม่ปรากฎ เพราะก่อนหน้านั้นการสร้างพระพุทธรูปยังคงมีเกตุมาลา ต้องรอจนรัชกาลที่ ๔ขึ้นครองราชย์จึงเปลี่ยนมาเป็นแบบไม่มีเกตุมาลาซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธรูปประจำรัชกาลของพระองค์ อันจะเห็นได้จากการสร้างพระพุทธรูปนิรันตรายที่ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นประธานในโบสถ์วัดสายธรรมยุตินิกายอีกหลายวัด
    เราได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้นว่าสังฆราชสุก ไก่เถื่อนสิ้นพระชนม์ เมื่อพ.ศ. ๒๓๖๔ จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระสมเด็จอรหังที่ไม่มีเกตุมาลาจะสร้างขึ้นโดยท่าน เพราะรูปแบบพระพุทธรูปที่ไม่มีเกตุมาลานั้นเป็นผลงานแสดงถึงความรอบรู้ในพระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ ๔ ซึ่งทรงโปรดให้สร้างขึ้น ๙ ปีหลังจากนั้น และเริ่มใช้แพร่หลายหลังจากท่านขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ สำหรับพระสมเด็จโต ผู้ทำยังคาดคะเนว่าท่านน่าจะเริ่มสร้างพระสมเด็จแบบสี่เหลี่ยมชิ้นฟักและองค์พระไม่มีเกตุมาลา เมื่อปี ๒๓๙๕ หลังจากได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง
    ข้อมูลของเกศพระสมเด็จอรหังที่ไม่มีเกตุมาลาคือตัวยืนยันว่าสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ไม่ใช่เป็นผู้สร้าง

    ข้อเท็จจริงประการที่ ๔ : พิมพ์พิเศษ
    พิมพ์พิเศษคือพิมพ์ที่ไม่มีเปลวเพลิงรัศมี แต่มีตัวอักษรขอมเป็นตัวอุบนเศียรขององค์พระแทน ลักษณะของเศียรองค์พระก็ไม่มีเกตุมาลา ถ้าจะดูพุทธศิลป์ขององค์พระก็ต้องตีความว่าเลียนแบบพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนยุคต้น แต่ศิลปะยุคนั้นก็ต้องมีเกตุมาลา ถ้าไม่มีเกตุมาลาก็หมายถึงการเลียนแบบพระสัมพุทธพรรณี ซึ่งเป็นการยืนยันให้เห็นว่า แม้แต่พิมพ์พิเศษที่ไม่มีเกศยาวหรือเปลวเพลิงรัศมี ก็ไม่มีเกตุมาลา

    ข้อเท็จจริงประการที่ ๕ : ฐาน
    ฐานของพระสมเด็จอรหังมี ๒ แบบ แบบฐาน ๓ ชั้นจะค่อนไปทางพุทธศิลป์แบบพระสมเด็จหลวงปู่ภูมากกว่าพระสมเด็จโต ส่วนพิมพ์ฐานคู่ก็ไม่อ่อนช้อยสวยงามแบบพระสมเด็จโต ลักษณะฐานเป็นเส้นเรียวยาวแบบพระวัดเกศมากกว่า แต่ก็ยังงดงามไม่เท่า
    พุทธศิลป์แนวนี้เข้ากันกับพระวัดพลับที่ชาวบ้านเป็นผู้แกะพิมพ์มากกว่าที่จะเป็นช่างชุดของสมเด็จโต
    ข้อเท็จจริงประการที่ ๖ : พิมพ์ทรงทั่วไป
    พิมพ์ทรงทั้ง ๓ พิมพ์ของสมเด็จพระอรหังแสดงให้เห็นพุทธศิลป์และฝีมือช่างว่าเป็นช่างชาวบ้านมากกว่าที่จะเป็นช่วงหลวง ความสวยงามอ่อนช้อยแบบพระสมเด็จโตไม่มีให้เห็น การเปรียบเทียบพุทธศิลป์ไม่ว่าจะเป็นองค์พระหรือฐาน เห็นชัดว่าเป็นช่างคนละประเภท ถ้าจะมองในแง่สมณศักดิ์ของสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ก็ย่อมจะเรียกใช้บริการช่างสิบหมู่หรือช่างหลวงได้ไม่ยากนัก

    สรุป
    1. <LI class=BodyText>พุทธศิลป์ของพระสมเด็จอรหังเป็นฝีมือช่างชาวบ้าน ซึ่งถ้าเป็นการสร้างของสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ก็น่าจะหาช่างที่มีฝีมือมากกว่านี้ เช่นช่างสิบหมู่หรือช่างหลวงได้โดยไม่ยาก <LI class=BodyText>พระสมเด็จอรหังไม่มีเกตุมาลา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของพุทธลักษณะที่ค้นคว้าโดยรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีพ.ศ. ๒๓๗๓ ยังไม่ขึ้นครองราชย์ ซึ่งในปีนั้นสังฆราชสุก ไก่เถื่อนสิ้นพระชนม์ไปแล้ว <LI class=BodyText>ลักษณะของกรอบกระจกเป็นการแกะพิมพ์พระโดยมีกรอบบังคับพิมพ์ ที่เป็นผลงานของหลวงวิจารณ์เจียรนัยตามที่เล่าขานกันมา และเป็นยุคสุดท้ายของการสร้างพระของสมเด็จโต ก่อนท่านจะมรณภาพในปีพ.ศ. ๒๔๑๕ ซึ่งไม่ใช่ยุคสังฆราชสุก ไก่เถื่อนย้ายจากวัดพลับมาประทับที่วัดมหาธาตุ เมื่อปีพ.ศ. ๒๓๖๓ <LI class=BodyText>พิมพ์ทรงของพระสมเด็จอรหัง เป็นพุทธศิลป์แบบชาวบ้านแบบเดียวกับพระยุคหลวงปู่ภูซึ่งสร้างทีหลังพระสมเด็จโต การตัดขอบส่วนข้างเรียบและประณีต แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ใช้คนตัดแต่เป็นกรรมวิธี “ตีปลอก” ซึ่งนิยมใช้ในการสร้างพระยุคหลัง ๆ
    2. ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่จะสนับสนุนความเชื่อเดิมที่ว่าพระสมเด็จอรหังสร้างก่อนพระสมเด็จโต หรือสมเด็จโตนำพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟักของสังฆราชสุก ไก่เถื่อนมาใช้
    ในทางตรงกันข้าม ผู้ทำมีเหตุผลที่จะสนับสนุนข้อมูลใหม่ที่ได้แสดงไว้ข้างต้นว่า
    • <LI class=BodyText>พระสมเด็จโตสร้างก่อนพระสมเด็จอรหัง <LI class=BodyText>พระสมเด็จอรหังไม่ได้สร้างโดยสังฆราชสุก ไก่เถื่อนที่วัดมหาธาตุ น่าจะสร้างที่วัดสร้อยทอง โดยอาจจะเป็นอาจารย์กุย เจ้าอาวาสรูปแรกในยุครัชกาลที่ ๕ หลังสมเด็จโตมรณภาพ และน่าจะสร้างหลายครั้งไม่ใช่สร้างครั้งเดียว <LI class=BodyText>พิมพ์ทรงพระสมเด็จอรหังเลียนแบบพระสมเด็จในยุคหลังสมเด็จโต เช่น พระสมเด็จของหลวงปู่ภูหรือพระวัดเกศนอกพิมพ์ <LI class=BodyText>การตัดขอบไม่ใช้มีดหรือตอก แต่ใช้วิธีที่เรียกว่า “ตีปลอก” ซึ่งเป็นเทคนิคยุคหลังสมเด็จโต ทำให้ขอบข้างเรียบและเนียน
    • การจารึกคำว่าอรหังเป็นภาษาขอมข้างหลังพระ ไม่ว่าเป็นการกดพิมพ์แบบหล่อโต๊ะกังหรือเขียนขณะพระยังไม่แห้งไม่เคยมีปรากฎมาก่อน ยกเว้นพระวัดท้ายตลาดจึงน่าเป็นความนิยมยุคหลัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2009
  13. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    แบ่งโซน : ศึกษาองค์ปฐม (ตอนที่ ๓)
    พระองค์ที่ ๒ เป็นพระสมเด็จที่ผู้ทำได้มาจากตลาดพระทั่วไป ปัจจุบันยังเห็นพระพิมพ์นี้อยู่เป็นประจำ ก็เป็นที่ประหลาดใจพอสมควร เพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยเห็นพระแบบนี้มาก่อน จนหลังจากที่ผู้ทำได้พระองค์ที่ ๑ จากนักสะสมรุ่นเก่าไม่นานก็มีการนำพระพิมพ์นี้ลงนิตยสารพระบางฉบับ จากนั้นก็เริ่มเห็นแพร่หลาย
    องค์ที่ ๒ vs องค์ปฐม
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๒
    </TD><TD>องค์ปฐม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    องค์ที่ ๒ ก็เช่นเดียวกับองค์ที่ ๑ พระสมเด็จพิมพ์มาตรฐานก็คือองค์ปฐมหรือพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธานพิมพ์ที่ ๑ ของคุณวิโรจน์ ใบประเสริฐ หรือเฮียเท้านั่นเอง
    วิเคราะห์เบื้องต้นเพื่อดูภาพรวม
    วิธีนี้เราจะแบ่งพระสมเด็จทั้ง ๒ องค์ เป็น ๙ โซน ตามหลักการสัดส่วนพระพุทธรูปสมัยอยุธยา คือ แบ่งด้านกว้างและด้านยาวด้วยอัตราส่วนสามต่อสอง และวัดเส้นแบ่งจาก ๒ ด้านของซุ้ม ก็จะแบ่งองค์พระทั้งสองเป็น ๙ โซนใหญ่เหมือนกัน
    เราวัดจากภาพที่ถ่ายหรือสแกนได้เลยไม่ต้องวัดจากองค์จริง เพราะเราต้องการวิเคราะห์สัดส่วน มิติที่แท้จริงจะไม่มีผล เพราะเวลานำมาเทียบสัดส่วน ระยะที่แท้จริงไม่มีผลต่อสัดส่วน เพียงแต่เราต้องวัดจากขอบสุดของซุ้มทั้งด้านกว้างและด้านยาวให้เหมือนกัน
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๒ : แบ่ง ๙ โซนใหญ่
    </TD><TD>องค์ปฐม : แบ่ง ๙ โซนใหญ่

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ดูจากรูปข้างต้นทั้งสอง ผู้อ่านเห็นหรือไม่ว่าพิมพ์ทรงเหมือนกันมาก แต่ถ้าดูให้ดีก็จะเห็นข้อแตกต่างกันจาก
    ๑. เกศ องค์ที่ ๒ เกศยาวกว่าองค์ปฐม
    ๒. ลำตัว องค์ที่ ๒ อวบอ้วนกว่าองค์ปฐม
    ๓. วงแขน องค์ที่ ๒กางออกกว้างกว่าองค์ปฐม
    จากการดูภาพรวม ผู้ทำมีความเห็นว่า พระทั้ง ๒ องค์ไม่ได้มาจากแม่พิมพ์เดียวกัน นั่นก็คือคำตอบในข้อ ๑ ว่า ผิดพิมพ์ หรือ พิมพ์ผิด
    ผู้อ่านอาจมีคำถามต่อมาว่า แล้วองค์ที่ ๑ กับองค์ที่ ๒ ล่ะ มาจากแม่พิมพ์เดียวกันหรือไม่ จึงขอลงเปรียบเทียบให้เห็นข้างล่าง
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๑ : แบ่ง ๙ โซนใหญ่
    </TD><TD>องค์ที่ ๒ : แบ่ง ๙ โซนใหญ่

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    สององค์นี้ที่แตกต่างกันและไม่ได้มาจากแม่พิมพ์เดียวกันอีก ดูจาก
    ๑. เกศ องค์ที่ ๑ เกศสั้นกว่าองค์ที่ ๒
    ๒. หน้า องค์ ๑ หน้าใหญ่กว่าองค์ที่ ๒
    ๓. แขนขวา องค์ ๑ ทอดตรงน้อยกว่าองค์ที่ ๒
    วิเคราะห์เบื้องลึกเพื่อดูรายละเอียด
    บางครั้งการดูภาพรวม เราก็เห็นแบบรวม ๆ ซึ่งดูเผิน ๆ จะไม่เห็นความแตกต่าง แต่ถ้ามีมีช่องหรือโซนมากขึ้น ก็จะขยายเพิ่มให้เห็นชัด เพราะจาก ๑ โซนใหญ่เราขยายอีก ๙ เท่าเป็น ๙ โซนย่อย
    ทีนี้ เราก็จะเห็นข้อแตกต่างกันชัดเจนว่าพระทั้งองค์ ผิดกันตรงไหน
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๒ : แบ่ง ๘๑ โซนย่อย
    </TD><TD>องค์ปฐม : แบ่ง ๘๑ โซนย่อย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    แน่นอน เราก็ยังใช้เครื่องมือเดิม ในการบอกความแตกต่าง
    1. <LI class=BodyText>เส้นรุ้ง ๑๐ เส้น เส้นแวง ๑๐ เส้น <LI class=BodyText>จุดตัดกันของเส้นรุ้งเส้นแวง ๑๐๐ จุด
    2. ๘๑ โซนย่อยระบายสี
    ความแตกต่างที่ซุ้ม

    มีจุดแตกต่างกันอยู่ ๒ จุดดังนี้
    1. <LI class=BodyText>จุด ๑๙ องค์ที่ ๒ อยู่ซุ้มด้านนอก องค์ปฐมอยู่นอกซุ้ม
    2. จุด ๑๘ องค์ที่ ๒ อยู่นอกซุ้ม องค์ปฐมอยู่กลางซุ้ม
    ซุ้มองค์ที่ ๒ ด้านขวาองค์พระใกล้เคียงกับองค์ปฐมมาก ความแตกต่างเกิดจากซุ้มด้านซ้ายโค้งออกจากกรอบกระจกไปหากรอบด้านบนมากกว่าองค์ปฐม ช่องว่างระหว่างซุ้มด้านล่างกับกรอบไม่เห็นเพราะตัดขอบใกล้ซุ้มล่างมาก
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๒ : แสดง ๒ จุดต่างซุ้ม
    </TD><TD>องค์ปฐม : แสดง ๒ จุดต่างซุ้ม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ความแตกต่างที่องค์พระ
    1. <LI class=BodyText>โซน ๒/๒ และ ๒/๕ เกศองค์ที่ ๒ ยาวกว่าองค์ปฐม <LI class=BodyText>โซน ๒/๕ หน้าองค์ที่ ๒ กลมนูนกว่าองค์ปฐม <LI class=BodyText>โซน ๕/๑ และ ๕/๔ แขนขวาองค์ที่ ๒ ทอดโค้งกว่าองค์ปฐม
    2. โซน ๖/๗ หัวเข่าซ้ายองค์ที่ ๒ ยาวกว่าองค์ปฐม
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๒ : แสดง ๔ จุดต่างองค์พระ
    </TD><TD>องค์ปฐม : แสดง ๔ จุดต่างองค์พระ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    องค์พระองค์ที่ ๒ อวบอ้วนและล่ำกว่าองค์ปฐม ท่านั่งทั้งสององค์ใกล้เคียงกัน

    ความแตกต่างที่ฐาน
    1. <LI class=BodyText>เส้นรุ้ง ๗ แนวนูนอกไก่ องค์ที่ ๒ อยู่ใกล้เส้นรุ้งมากกว่าองค์ปฐม <LI class=BodyText>เส้นแวง ๙ ฐานสิงห์ซ้ายองค์ที่ ๒ อยู่ใกล้เส้นแวงมากกว่าองค์ปฐม
    2. เส้นรุ้ง ๙ ฐานชั้นล่างองค์ที่ ๒ เอียงและอยู่สูงกว่าเส้นรุ้งน้อยกว่าองค์ปฐม
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๒ : แสดง ๓ จุดต่างฐาน
    </TD><TD>องค์ปฐม : แสดง ๓ จุดต่างฐาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สรุป
    1. องค์ที่ ๒ และองค์ปฐมมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันมาก แต่ไม่ได้มาจากแม่พิมพ์เดียวกัน
    2. พุทธศิลป์เป็นแบบศิลปะเชียงแสนยุคต้นแบบ “สิงห์สอง” ทั้งสององค์
    3. คำตอบของ ๓ คำถามสำหรับองค์ที่ ๒ vs องค์ปฐม
    ข้อ ๑ พิมพ์ถูกหรือผิด คำตอบคือ พิมพ์ผิดหรือผิดพิมพ์
    ข้อ ๒ ถ้าผิดพิมพ์ ผิดตรงไหน คำตอบคือ ซุ้ม ๒ แห่ง องค์พระ ๔ แห่ง ฐาน ๓ แห่ง
    ข้อ ๓ และผิดจากพิมพ์อะไร คำตอบคือ ผิดจากพิมพ์ที่ ๑ ของเฮียเท้า
    4. ข้อสันนิษฐานของผู้ทำ
    องค์ที่ ๒ เป็นพระเลียนพิมพ์องค์ที่ ๑ ผู้แกะพิมพ์อาจเป็นคนเดียวกับองค์ที่ ๑ เพราะแกะสัดส่วนองค์พระอวบอ้วนล่ำสันเหมือนกัน หรืออาจลอกพิมพ์องค์ที่ ๑ ก็เป็นได้ แต่ไม่ใช่ช่างที่แกะพิมพ์องค์ปฐม
    ครั้งหน้าจะเป็นตอนที่ ๔ และตอนสุดท้าย โดยจะวิเคราะห์องค์ที่ ๓ vs องค์ปฐมและสรุปรวมทั้งหมด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2009
  14. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    แบ่งโซน : ศึกษาองค์ปฐม (ตอนที่ ๔)
    องค์ที่ ๓ เป็นองค์ที่ผู้ทำเห็นที่ตลาดพระโรงหนังเฉลิมบุรีเก่าปัจจุบันเป็นลานจอดรถ เมื่อประมาณกลางปีที่แล้วหลังจากเห็นพิมพ์แบบนี้ขึ้นปกนิตยสารพระฉบับหนึ่งได้ไม่นาน พอถามราคา คนขายตอนแรกบอกค่อนข้างแพง ผู้ทำจึงไม่สนใจ และไปได้พระอีกพิมพ์หนึ่งแต่ด้านหลังมีเหรียญ ร.๕ เหมือนกัน ในราคาถูกกว่ากันมาก เพื่อมาลงให้ท่านชมในวันปฐมฤกษ์ ๒๒ มิถุนายน ปีที่แล้ว
    สองเดือนให้หลัง พระก็ยังอยู่ ทีนี้ราคาถูกลงมาก ผู้ทำจึงซื้อมาลงในฉบับวันที่ ๒๖ กรกฎาคม เพื่อให้ท่านเห็นว่าองค์ปฐมของเฮียเท้าที่ว่าหายากหาเย็นทำไมมีให้เห็นหลายรูปแบบ ในหลาย ๆ แห่งด้วยจำนวนพระมากมาย
    ก็ให้กังขาว่า เฮียเท้าเป็นเซียนใหญ่ ท่องในยุทธจักรตั้งแต่สมัยเป็นช่างซ่อมพระจนเป็นกระบี่มือหนึ่งชั้นแนวหน้าแห่งท่าพระจันทร์

    ทำไมเจอแค่องค์เดียว
    ความพยายามที่จะหาคำตอบทำให้ต้องค้นคว้าและค้นคิด ก็เลยได้วิชาแบ่งโซนมาอวดท่านผู้อ่านซึ่งไม่มีใครคิดหรือวิเคราะห์พระสมเด็จในแนวนี้มาก่อน
    การแบ่งโซนเป็นวิธีเดียวที่จะตอบคำถาม ๒ คำถามยอดฮิตที่คนในวงการพระไม่ค่อยยอมบอกเวลาดูพระสมเด็จ รวมทั้งนำไปสู่คำถามที่ ๓ ซึ่งควรเป็นคำถามแรกเสียด้วยซ้ำว่า “ผิดจากพิมพ์อะไร”
    วันนี้เราไม่ต้องตอบคำถามที่ ๓ สำหรับพระองค์นี้ เพราะเราบอกแล้วว่าเทียบกับองค์ปฐมของเฮียเท้า
    แต่เราจะใช้วิชาแบ่งโซนตอบอีก ๒ คำถาม

    องค์ที่ ๓ vs องค์ปฐม
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=251>[​IMG]
    </TD><TD width=249>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๓
    </TD><TD>องค์ปฐม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    โดยวิธีแบ่งโซน เราจะดูจากภาพรวม (Overall Picture) ด้วยการแบ่ง ๙ โซนใหญ่ และดูรายละเอียด (Details) โดยแบ่ง ๙ โซนใหญ่ให้เป็น ๘๑ โซนย่อย
    วิเคราะห์เบื้องต้นเพื่อดูภาพรวม
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=527 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=264>[​IMG]
    </TD><TD width=263>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๓ : แบ่ง ๙ โซนใหญ่
    </TD><TD>องค์ปฐม: แบ่ง ๙ โซนใหญ่

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ดูเผิน ๆ ทั้งสององค์คล้ายกันมา แต่ถ้าดูตามเส้นรุ้งและเส้นแวง จะเห็นว่าไม่เหมือนกัน
    ๑. เกศและหน้า องค์ที่ ๓ อยู่กึ่งกลางมากกว่าองค์ปฐม
    ๒. ลำตัว องค์ที่ ๓ สั้นและวงแขนกว้างกว่าองค์ปฐม
    ๓. ฐานชั้นล่าง องค์ที่ ๓ บางกว่าองค์ปฐม

    ดังนั้นคำตอบที่ ๑ ก็คือ ผิดพิมพ์ หรือ พิมพ์ผิด
    วิเคราะห์เบื้องลึกเพื่อดูรายละเอียด
    เราใช้วิชาแบ่งโซนให้ละเอียดลงไปอีก และพิจารณาเปรียบเทียบด้วย
    1. <LI class=BodyText>เส้นรุ้ง ๑๐ เส้น เส้นแวง ๑๐ เส้น <LI class=BodyText>จุดตัดของเส้นรุ้งและเส้นแวง ๑๐๐ จุด
    2. โซนย่อย ๘๑ โซนระบายสีเน้นซุ้ม องค์พระ ฐาน
    จากนั้นแยกวิเคราะห์ ซุ้ม องค์พระ และฐาน ให้เห็นชัดเป็นเรื่อง ๆ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=529 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=261>[​IMG]
    </TD><TD width=268>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๓ : แบ่ง ๘๑ โซนย่อย
    </TD><TD>องค์ปฐม : แบ่ง ๘๑ โซนย่อย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ความแตกต่างที่ซุ้ม
    1. <LI class=BodyText>จุด ๑๘ องค์ที่ ๓ อยู่ขอบซุ้มด้านใน องค์ปฐมอยู่กลาง <LI class=BodyText>จุด ๑๓ องค์ที่ ๓ อยู่นอกซุ้ม องค์ปฐมอยู่ซุ้มด้านใน <LI class=BodyText>จุด ๓๒ องค์ที่ ๓ อยู่ซุ้มด้านใน องค์ปฐมอยู่กลาง <LI class=BodyText>จุด ๕๒ องค์ที่ ๓ อยู่นอกซุ้มมากกว่าองค์ปฐม <LI class=BodyText>จุด ๖๒ องค์ที่ ๓ อยู่นอกซุ้มมากกว่าองค์ปฐม
    2. จุด ๗๒ องค์ที่ ๓ อยู่นอกซุ้มมากกว่าองค์ปฐม
    จะเห็นได้ว่าซุ้มขององค์ที่ ๓ เริ่มต้นจากด้านซ้ายในตำแหน่งใกล้เคียงกับองค์ปฐม แต่เมื่อถึงยอดซุ้มบริเวณเกศจะเริ่มห่างจากองค์ปฐม และทอดโค้งมาด้านขวาก็เริ่มห่างมากขึ้น แสดงว่าองค์ที่ ๓ ซุ้มจะอยู่กึ่งกลางกลางมากกว่าองค์ปฐมเล็กน้อย
    ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ องค์ที่ ๓ จะมีช่องว่างระหว่างซุ้มด้านล่างกับกรอบแม่พิมพ์ใกล้เคียงกับองค์ปฐม ไม่เหมือนองค์ที่ ๑ และองค์ที่ ๒ที่ซุ้มด้านล่างชนกรอบ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=528 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=252>[​IMG]
    </TD><TD width=276>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๓ : แสดง ๖ จุดต่างซุ้ม
    </TD><TD>องค์ปฐม : แสดง ๖ จุดต่างซุ้ม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ความแตกต่างที่องค์พระ
    1. <LI class=BodyText>โซน ๒/๒ และ ๒/๕ เกศและหน้าองค์ที่ ๓ อยู่ค่อนมาทางขวาขององค์พระ องค์ปฐมค่อนมาทางซ้าย <LI class=BodyText>โซน ๕/๓ และ ๕/๑ ไหล่และแขนขององค์ที่ ๓ สั้นและกางออกมากกว่าองค์ปฐม <LI class=BodyText>โซน ๕/๔, ๕/๕ และ ๕/๖ วงแขนองค์ที่ ๓ กว้างและสั้นกว่าองค์ปฐม
    2. โซน ๒/๘ คอองค์ที่ ๓ ยาวกว่าองค์ปฐม
    องค์ที่ ๒ มีแขนและลำตัวสั้นและกว้างกว่าองค์ปฐม ท่านั่งองค์ที่ ๓ ตรงมากกว่าองค์ปฐม
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=529 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=253>[​IMG]
    </TD><TD width=276>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๒ : แสดง ๔ จุดต่างองค์พระ
    </TD><TD>องค์ปฐม : แสดง ๔ จุดต่างองค์พระ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ความแตกต่างที่ฐาน
    1. <LI class=BodyText>เส้นรุ้ง ๗ แนวนูนอกไก่ฐานชั้นบน องค์ที่ ๓ อยู่ใกล้เส้นรุ้งมากกว่าองค์ปฐม <LI class=BodyText>เส้นรุ้ง ๘ ฐานชั้นกลาง องค์ที่ ๓ อยู่เหนือเส้นรุ้ง องค์ปฐมอยู่ใต้
    2. เส้นรุ้ง ๙ ตัดกลางฐานชั้นล่างองค์ที่ ๓ องค์ปฐมตัดสูงกว่า
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=524 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=253>
    [​IMG]

    </TD><TD width=271>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๓ : แสดง ๓ จุดต่างฐาน
    </TD><TD>องค์ปฐม : แสดง ๓ จุดต่างฐาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สรุป
    1. องค์ที่ ๓ และองค์ปฐม ไม่ได้มาจากแม่พิมพ์เดียวกัน
    2.คำตอบของ ๒ คำถามคือ
    ข้อ ๑ พิมพ์ถูกหรือผิด คำตอบคือ พิมพ์ผิด
    ข้อ ๒ ถ้าผิดพิมพ์ ผิดตรงไหน คำตอบคือ ซุ้ม ๖ แห่ง องค์พระ ๔ แห่ง ฐาน ๓ แห่ง
    3. ข้อสันนิษฐานของผู้ทำ

    องค์ที่ ๓ ลอกพิมพ์ปฐม เพราะพุทธศิลป์ไม่เป็นตัวของตัวเอง แสดงถึงความตั้งใจที่จะแกะพิมพ์ให้เหมือนองค์ปฐมดังนี้
      1. <LI class=BodyText>ลอกถูก ๑๐๐ % ได้แก่ หูซ้ายเห็นชัด หูขวาเห็นไม่ชัด ช่องว่างระหว่างฐานชั้นล่างกับกรอบแม่พิมพ์
      2. ลอกแบบไม่ชัดเพราะองค์ปฐมก็ไม่ชัด ได้แก่ เกศ ใบหน้า คอ เส้นสังฆาฏิ หัวฐานชั้นกลางด้านขวา คือองค์ปฐมไม่ชัดก็ไม่ชัดด้วย แต่องค์ที่ ๑ และองค์ที่ ๒ จะเห็นรายละเอียดบริเวณนั้นชัดเจน
      3. ลอกแบบลอกผิด คือไม่เหมือนเลย ได้แก่ ซุ้ม ๖ แห่ง องค์พระ ๔ แห่ง ฐาน ๓ แห่ง
    บทสรุปสำหรับการเปรียบเทียบพระ ๓ องค์กับองค์ปฐม
    1. องค์ที่ ๑ และองค์ที่ ๒ เป็นพระเลียนพิมพ์องค์ปฐม เพราะมีพุทธศิลป์เป็นแบบฉบับของตัวเอง ช่างแกะพิมพ์อาจเป็นคนเดียวกัน แต่แกะพิมพ์คนละครั้ง และแน่นอนไม่ใช่ช่างที่แกะองค์ปฐม เพราะแกะพิมพ์อวบอ้วนเน้นพุทธศิลป์ เชียงแสนมากกว่าองค์ปฐมที่แกะได้พลิ้วและสวยงาม ดังนั้นจึงไม่น่าใช่พระสมเด็จที่ออกแบบโดยหลวงวิจารณ์เจียรนัย ส่วนจะเป็นพระที่สร้างโดยสมเด็จโตหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาองค์ประกอบด้านอื่นเช่นเนื้อหาหรือหลักฐานการสร้างต่อไป
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=510 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๑
    </TD><TD>องค์ที่ ๒
    </TD><TD>องค์ปฐม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    2. องค์ที่ ๓ เป็นพระลอกพิมพ์องค์ปฐม เพราะไม่มีพุทธศิลป์ของตัวเอง ศิลปะก็คือความถนัดเฉพาะตัวของช่าง พระองค์ที่ ๓ คนแกะพิมพ์ลอกอย่างเดียว ไม่ได้แสดงพุทธศิลป์อันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองไว้เลย
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=340 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    </TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>องค์ที่ ๓
    </TD><TD>องค์ปฐม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    3. ท่านผู้อ่านติดตามการวิเคราะห์พระสมเด็จด้วยการแบ่งโซนจนจบ ๔ ตอน พอจะสังเกตข้อแตกต่างระหว่างพระแท้และพระไม่แท้ได้หรือไม่
    ผู้ทำจะจำแนกให้ท่านฟัง
    1. พระแท้ต้องมีพุทธศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง จะสวยหรือไม่สวยอยู่ที่ฝีมือและความชำนาญของช่าง ช่างชาวบ้านก็มีศิลปะเฉพาะตัวอย่างหนึ่ง ช่างสิบหมู่ก็มีความสวยงามมากขึ้น และถ้าเป็นช่างหลวงจะเห็นความประณีตและพลิ้วมากขึ้น ส่วนจะเป็นยุคไหน ใครสร้าง เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ขอให้ดูศิลปะออกเป็นใช้ได้
    2. พระไม่แท้ดูแล้วจะขัดตา พุทธศิลป์จะขาด ๆ เกิน ๆ ไม่เป็นตัวของตัวเอง ยิ่งเป็นประเภทพระลอกพิมพ์ จะไม่เห็นพุทธศิลป์ เห็นแต่ความพยายามที่จะทำให้เหมือนโดยไม่เข้าใจหรือไม่มีเอกลักษณ์ของตนเอง ช่างทุกคนเหมือนกันหมด ยิ่งเป็นช่างสมัยก่อน จะทำอะไรสักชิ้นก็ต้องฝากฝีมือตนเองไว้ในผลงาน เลียนแบบก็พอทำได้ แต่จะให้ลอกแบบไม่มีใครทำกัน เพราะหยิ่งในศักดิ์ศรี และทะนงในฝีมือของตนเองทั้งสิ้น
    3. ข้อบัญญัติประการที่ ๑ : “จะไม่มีของแท้และของไม่แท้รวมอยู่ในพระองค์เดียวกัน” ใช้ได้ตลอด
    พระองค์ที่ ๓ ถ้ามองในด้านประวัติศาสตร์ ก็ไม่ได้สร้างโดยสมเด็จโตแน่ เพราะเหรียญ ร.๕ ออกในปี ๒๔๑๙ หลังท่านมรณภาพแล้ว ไม่ต้องพูดถึงว่าตัวเหรียญแท้หรือไม่ เชื่อขนมกันได้เลยว่าไม่แท้เช่นกัน เพราะถ้าเป็นเหรียญเงินแท้ ราคาก็ไม่เบาสำหรับเหรียญ ร.๕ ยุคต้นเนื้อเงิน พระไม่แท้แล้วเหรียญจะแท้ได้อย่างไร
    ในทำนองเดียวกันถ้ามองเชิงพุทธศิลป์ โดยใช้วิชาแบ่งโซนช่วยวิเคราะห์ยิ่งเห็นของแท้ (คือ ลอกพิมพ์ถูก ๑๐๐ %อย่างเดียวบริเวณหูและช่องว่างด้านล่างใต้ซุ้ม) และของไม่แท้ (คือ ลอกผิดที่ซุ้ม องค์พระและฐาน) มาอยู่รวมกันในพระองค์เดียว เป็นการลอกแบบถูกๆ ผิด ๆ คือเป็นไปไม่ได้ว่าจะมาอยู่รวมกันได้
    พูดง่าย ๆ ก็คือ พระองค์ที่ ๓ ไม่น่าจะแท้อย่างแน่นอน คอนเฟิร์มฟันธงได้เลยตามเหตุผลที่กล่าวมาเบื้องต้น
    4. ทั้ง ๔ ตอนยังพูดกันแค่พิมพ์พระ ยังไม่ไปถึงเนื้อพระ ซึ่งเป็นอีกวิชาความรู้ต่างหาก การเรียนรู้ก็มีหลักการและวิชาการต่างกัน เรื่องพิมพ์พระวิเคราะห์ให้เห็นกันชัดๆยังต้องเปรียบเทียบกันหลายองค์ และต้องใช้เทคนิคแบ่งโซนที่คิดขึ้นเป็นพิเศษ อธิบายให้เห็นกันโต้ง ๆ อ่านกันหลายตอนกว่าจะจบสำหรับพิมพ์แค่พิมพ์เดียว แต่เรื่องเนื้อพระ ต้องใช้พื้นฐานความเข้าใจและคำอธิบายพร้อมภาพประกอบอีกแบบหนึ่ง ไม่สามารถอธิบายพร้อมกันได้ เพราะเป็นคนละเรื่องและจะทำให้บทความนี้ยาวออกไปมากกว่านี้อีก
    จึงเป็นที่มาของ เสน่ห์พระเนื้อผง ซึ่งเป็นบอร์ดที่อธิบายเรื่องเนื้อพระอย่างเดียวตามที่ได้ลงให้ท่านได้ชมหลายตอนแล้ว
    • ทั้งหมดนี้คือบทสรุปที่ว่าเฮียเท้าหรือคุณวิโรจน์ ใบประเสริฐพูดถูกที่ว่าองค์ปฐมมีอยู่องค์เดียว เพราะองค์ที่เห็นอยู่ตามหนังสือพระหรือตามแผงพระ ล้วนแต่เป็นพระเลียนพิมพ์และพระลอกพิมพ์ทั้งนั้น ไม่เคยเจอองค์ที่สองเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2009
  15. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    ขออนุโมทนากับทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะครับ
    พระสมเด็จสำหรับทุกคน ตอนที่ ๑ ปิระมิดแห่งพระสมเด็จ
    กล่าวนำ
    ทุกคนที่สนใจศึกษาเรื่องพระเครื่อง หนีไม่พ้นที่จะต้องมีพระพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟักไว้ในครอบครอง ความมุ่งมาตรปรารถนาของนักสะสมพระเครื่องคือ ขอให้มีพระสมเด็จแท้ ๆ สักองค์
    ถ้าเป็นไปได้ ก็ขอให้ทันพระสมเด็จ ขอมีพระที่ท่านได้สร้างไว้ให้ลูกหลาน
    แต่ถ้าไม่ได้ ก็ขอให้เป็นพระแท้ที่สามารถอาราธนาขึ้นคอได้อย่างไม่อายใคร
    ความปรารถนาประการแรกทำให้เรามักมองพระสมเด็จที่เรามีอย่างเข้าข้างตัวเองว่า น่าจะเป็นพระสมเด็จที่สมเด็จโตสร้าง
    ถ้ามีคราบให้เห็น ก็อดทึกทักไมได้ว่าเป็นคราบกรุ และพระของเราน่าจะเป็นบางขุนพรหม
    ถ้าไม่มีคราบกรุ เป็นพระค่อนข้างสะอาด เราก็อดเข้าข้างตัวเองไม่ได้ว่าน่าจะเป็นวัดระฆัง
    แต่คนอื่นไม่คิดในแง่ดีแบบเรา โดยเฉพาะเหล่าผู้ชำนาญการในวงการทั้งหลาย ส่งพระให้ดูปุ๊บ ส่งคืนปั๊บพร้อมกับหัวเราะหึ ๆ บ้าง เฉย ๆ บ้าง ถ้ามีคำถามว่าเป็นอย่างไร คำตอบที่ได้ก็หนีไม่พ้น
    “พิมพ์ผิด” บ้าง “เนื้อไม่ถึงบ้าง” หรือถ้าตอบแบบถนอมน้ำใจก็ “ไม่ชอบบ้าง”
    วงการพระในปัจจุบัน
    ความจริงแล้ว เราจะเห็นได้ชัดว่าในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา มีความพยายามที่จะโปรโมทพระสมเด็จวัดระฆังให้มีราคาสูงติดลมบน เพื่อจะดึงราคาพระชุดอื่นให้สูงขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นพระในชุดเบญจภาคีด้วยกัน หรือประเภทรูปหล่อบ้าง พระกรุ ตลอดจนเหรียญคณาจารย์
    สิ่งที่ตามมาก็คือการแบ่งประเภทพระสมเด็จวัดระฆังอย่างแข็งกร้าว ไม่ยืดหยุ่นของเซียนพระผู้ควบคุมกลไกการซื้อขายพระเครื่องในปัจจุบัน
    ผลที่เกิดขึ้นก็คือการแบ่งค่ายแบ่งกลุ่มในพวกกันเองเพื่อให้รับอานิสงส์จากราคาของพระที่สูงขึ้น ๆ มีปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ไม่ว่าการออกไปตั้งค่ายอิสระนอกเหนืออาณัติของสมาคม การมีสื่อเพื่อโฆษณาพระเครื่องของกลุ่มตัวเอง ตลอดจนการตั้งศูนย์พระเครื่องเพื่อรวบรวมสมัครพรรคพวกให้มากที่สุด แม้แต่การจัดประกวดพระในกลุ่มตนเอง ก็มีให้เห็นแล้ว
    ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นมา เราได้เห็นกระแสการเช่าบูชาพระสมเด็จของสมเด็จพุฒาจารย์โต มีความหลากหลายมากขึ้น วงการเริ่มมีคนพูดถึงพิมพ์ทรงที่ไม่ใช่แบบของหลวงวิจารณ์เจียรนัยซึ่งมีความสวยงามและมีกรอบบังคับพิมพ์เป็นเอกลักษณ์ พิมพ์ทรงในยุคแรก ๆ ที่ไม่มีกรอบกระจกเริ่มมีการพูดถึงและนำออกโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อผลประโยชน์ในการให้เช่าบูชา
    มีความพยายามมานานแล้วที่จะฝ่าวงล้อมและค่ายกลที่เซียนพระที่คุมกลไกตลาดได้ตั้งขึ้น เพื่อรักษาผลประโยชน์และวิธีการเล่นหาตลอดจนถึงการตีความเป็นพระแท้ของพระสมเด็จ ไม่ว่าจะเป็นการออกใบรับรองที่เรียกกันว่าใบเซอร์ หรือการรับเข้างานประกวดที่มีรางวัลเป็นใบประกาศนียบัตร
    คนกลุ่มหนึ่งทำได้สำเร็จเมื่อสามารถออกนิตยสารพระเครื่องฉบับหนึ่งต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี นิตยสารฉบับนี้มีความเชี่ยวชาญในการเสนอพระสมเด็จแบบแปลก ๆ ที่ไม่ได้รับการยอมรับมาก่อน จากการโปรโมทอย่างต่อเนื่องทั้งการเขียนบทความ การลงรูปพระสมเด็จขนาดเต็มหน้าและการเปิดศูนย์พระของตนเอง ทำให้ได้รับความนิยมในหมู่ผู้อ่าน โดยเฉพาะผู้ที่ได้ครอบครองพระสมเด็จที่อิดหนาระอาใจกับความไม่ชัดเจนของผู้รู้ที่ตอบสั้น ๆ ว่า “พระไม่แท้” บ้าง “ผิดพิมพ์” บ้าง โดยไม่บอกรายละเอียดหรือแจกแจงความแตกต่างระหว่างพระแท้และพระไม่แท้
    รวมทั้งการไม่ให้เกียรติถึงที่มาของพระว่าอยู่กับผู้ครอบครองมานานเท่าใด หรือเป็นมรดกตกทอดมาที่ชั่วคนก็ตาม
    ผู้รู้เหล่านั้นจ้องที่จะหาพระสมเด็จองค์ที่พวกเขาขีดกรอบไว้อย่างตายตัวว่าเป็นพระสมเด็จวัดระฆัง อะไรที่ไม่เข้ากรอบนี้ เป็นพระ “ไม่แท้” ทั้งสิ้น
    นิตยสารฉบับนั้นจึงเป็น “ทางเลือกใหม่” ของคนจำนวนมากที่มีพระสมเด็จในครอบครอง และมีความมั่นใจว่าพระของตัวเองเป็นพระที่ผ่านการปลุกเสกของสมเด็จโต
    คนเหล่านั้นต้องการ “ความเห็นที่สอง” แบบที่ฝรั่งเรียกว่า Second Opinion ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ในกรณีที่ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญคนแรกไม่ตรงกับความคิดของเรา เราก็สามารถถามความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญคนที่สองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการแพทย์ ซึ่ง “ความเห็นที่สอง” เป็นสิ่งยอมรับได้ไปแล้ว
    เมื่อนิตยสารฉบับนั้นเสนอทางเลือกในการจำแนกพระสมเด็จให้ คนจึงหันไปใช้บริการ ทำให้นิตยสารที่ตั้งชื่อตามเกจิอาจารย์แถวนครปฐมต้องเปลี่ยนแนวมาลงเรื่องและรูปเกี่ยวกับเกจิอาจารย์ฝั่งธนบุรี เพราะจับกระแสความต้องการของคนอ่านได้แล้ว
    ยังไม่นับหนังสือพระสมเด็จที่วางจำหน่ายในช่วงนั้นจากบุคคลที่อยู่ในแวดวงการศึกษา แต่สนใจเรื่องพระเครื่อง ท่านหนึ่งเป็นอาจารย์อยู่เชียงใหม่ อีกท่านหนึ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียนในกรุงเทพมหานครที่เกษียณราชการแล้ว หนังสือของท่านทั้งสองได้รับความเชื่อถือและยอมรับในแวดวงผู้มีรสนิยมในทางเดียวกัน หรือผิดหวังจากกลุ่มค่ายมาตรฐานที่มีสมาคมวิชาชีพหนุนหลัง
    ผู้ทำจะไม่วิจารณ์ถึงความแท้ไม่แท้หรือความถูกต้องทางวิชาการของทุกท่านที่เอ่ยถึง ไม่ว่าจะเป็นนิตยสารฉบับหนึ่ง หรือสองอาจารย์ผู้ออกหนังสือพระสมเด็จมาคนละหลายเล่ม
    แต่จะขอใช้โอกาสนี้พูดถึงทางเลือกของผู้สนใจในการสะสมพระเครื่อง เลื่อมใสในสมเด็จโต และบังเอิญมีพระสมเด็จอยู่กับเขาองค์หนึ่ง
    ย้อนอดีต

    นักสะสมพระรุ่นก่อนไม่แข็งกร้าวแบบเซียนสมัยนี้ สมัยก่อนการพิจารณาพระสมเด็จยืดหยุ่นมาก เพราะทุกท่านยอมรับความจริงอยู่ ๒ ประการ
    1. <LI class=BodyText>ทุกคนต่างเกิดไม่ทันสมเด็จโต
    2. พิมพ์ทรงของสมเด็จโตมีหลากหลาย
    การเล่นหายังไม่ได้เป็นพุทธพาณิชย์มากแบบนี้ พระเครื่องเปลี่ยนมือโดยการแลกเปลี่ยนเป็นส่วนใหญ่ คนที่จะเข้ามาในแวดวงต้องเริ่มจากการไปค้นหาพระในบ้านตัวเอง หรือขอจากผู้หลักผู้ใหญ่เป็นทุนอยู่จำนวนหนึ่ง ก่อนที่จะเริ่มแลกเปลี่ยนกัน บางครั้งอาจมีตัวเงินเข้ามาเกี่ยว แต่เป็นการแถมพกในกรณีที่ฝ่ายที่ต้องการมีพระให้แลกไม่พอ ก็ต้องแปะเงินเพิ่มให้
    สมัยนั้นนักเลงพระยังใช้หลัก “ดูเนื้อ” พระสมเด็จเป็นประการแรก ถ้าเนื้อไม่ได้ก็จะไม่ดูต่อไป วางพระลงหรือส่งคืนไป ต่อเมื่อเนื้อดูแล้วใช้ได้จึงค่อยพิจารณาพิมพ์ทรง ซึ่งก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับกรอบกระจกหรือกรอบบังคับพิมพ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของพิมพ์ทรงหลวงวิจารณ์เจียรนัยเท่าใดนัก ขอให้เนื้อเก่าถึงยุคเป็นใช้ได้
    สรุปง่าย ๆ สมัยนั้น “เนื้อพระ” สำคัญกว่า “พิมพ์ทรง” การเล่นหาไม่ซีเรียส เพราะพระสมเด็จไม่ได้มีราคาแพงแบบสมัยนี้

    ฉะนั้นจุดสำคัญที่สร้างความหักเหให้เกิดขึ้นในวงการพระเครื่องมีปัจจัยมาจากการเปลี่ยนรากฐานของการสะสมครั้งยิ่งใหญ่ ๓ ประการ คือ
    1. <LI class=BodyText>การหันมาพิจารณาพระสมเด็จด้วยพิมพ์ทรง <LI class=BodyText>การเปลี่ยนจากการแลกเปลี่ยนมาเป็นการซื้อขาย ทำให้พระสมเด็จมีราคาสูงขึ้น
    2. การตั้งพระชุด “เบญจภาคี” ของตรียัมปวาย โดยท่านยกให้พระสมเด็จวัดระฆังเป็นองค์ประธาน และเขียนหนังสือพระสมเด็จ ซึ่งกลายเป็นหนังสือคลาสสิคของวงการไปแล้ว
    การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบที่ฝรั่งเรียกกันว่า การเปลี่ยนแปลงหลักการ หรือ Paradigm Shift ทำให้กรอบการอ้างอิง หรือ Frame of References เปลี่ยนไปทั้งหมด
    จากการยืดหยุ่นมาเป็นการยึดติด จากการแลกเปลี่ยนมาเป็นการซื้อขาย และข้อสำคัญที่สุดจากความศรัทธาเชื่อถือจากประสบการณ์ของตัวเอง มาเป็นการกระตุ้นด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ
    วงการพระเครื่องจากที่มีน้ำใจ แลกเปลี่ยนกันตามใจชอบมาเป็นภาคธุรกิจเต็ม ๆ
    การเล่นพระแบบ “เล่นแค่ (ที่ฉัน) ชอบ” เปลี่ยนเป็น “เล่นตามกระแส” ไปแล้ว
    ทำอย่างไรพระสมเด็จจึงจะมีพอสำหรับทุกคน
    ผู้ทำคงไม่บังอาจไปทวนกระแสความเป็นธุรกิจในวงการพระเครื่องในปัจจุบันได้ การเปลี่ยนแปลงหลักการหรือ Paradigm Shift เป็นเรื่องใหญ่ มีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนตามปัจจัยที่มากระทบ ข้อสำคัญที่สุด เป็นการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาซึ่งต้องใช้เวลานับสิบปีในการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้ง
    สิ่งรองลงมาที่อาจทำได้ ก็คือ การปรับ กรอบการอ้างอิง หรือ Frame of References เพราะทุกวันนี้เซียนใหญ่ในวงการได้ตั้งธงสำหรับพระสมเด็จวัดระฆังแบบของเขาซึ่งเป็นราคาในระดับแพงสุดยอดแล้ว
    ในขณะที่นิตยสารและอาจารย์ทั้งสองท่านพยายามพูดว่า ยังมีพระสมเด็จพิมพ์อื่นที่ไม่ได้รับความนิยมอยู่
    วันนี้ผู้ทำจึงขอเสนอโครงสร้าง “ปิระมิดแห่งพระเครื่อง” ให้พิจารณาเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
    ปิระมิดคือสิ่งปลูกสร้างที่ใหญ่โต อยู่คู่โลกมาหลายพันปี มีขนาดใหญ่และโครงสร้างที่แปลกคือฐานที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส แล้วทั้งสี่ด้านเริ่มสร้างสูงขึ้นและสอบลงเรื่อย ๆ จนไปพบกันที่ยอดเป็นจุดเล็ก ๆ จุดเดียวคือยอดปิระมิด ปิระมิดแห่งกิซามีฐานขนาด ๓๒.๕ ไร่ สูง ๑๘๖ เมตร ประกอบด้วยก้อนหินขนาดใหญ่ทั้งหมดประมาณ ๒.๕ ล้านก้อน เป็นปิระมิดที่ใหญ่ที่สุด
    ยอดปิระมิดมีขนาดเท่าก้อนหินก้อนเดียว ยกให้เซียนใหญ่ในวงการไปเถอะให้เป็นอาณาเขตของพวกเขา เพราะต่ำกว่านั้นยังมีพื้นที่อีกเยอะสำหรับหินส่วนที่เหลือ
    ถ้าคิดเช่นนั้นได้ ก็สามารถมีหินใต้ยอดปิระมิดสำหรับพระสมเด็จทุกองค์ที่เป็นพระแท้ และไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นพระสมเด็จที่สมเด็จโตสร้าง ขอให้เป็นพระที่สร้างขึ้นตามตำรับวิธีการของสมเด็จโต มีที่มาชัดเจนว่าจากวัดไหน เกจิอาจารย์ใด ล้วนสามารถมีที่ยืนในปิระมิดนี้ได้
    นี่คือเจตนาของผู้ทำที่จะบอกท่านว่า มีพระสมเด็จสำหรับทุกคน และพระสมเด็จของท่านก็มีที่ยืนอยู่ในยุทธภพได้
    ปิระมิดแห่งพระสมเด็จ
    ก็คือพระพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟักทั้งหมดที่เป็นพระแท้และผ่านการปลุกเสกอย่างถูกต้อง พระไม่แท้ พระถอดพิมพ์ พระที่ขัดต่อประวัติศาสตร์และข้อเท็จจริง ไม่มีที่ยืนหยัดอยู่ในปิระมิดนี้ ความเก่าและความนิยมคือตัวแบ่งชั้นของปิระมิด ซึ่งมีคร่าว ๆ ดังนี้
    ยอดปิระมิด
    คือส่วนสูงสุดที่เป็นยอดแหลม ให้เป็นพิมพ์นิยมของพระสมเด็จโตทั้งสามวัดอันได้แก่ วัดระฆัง วัดใหม่อมตรส และวัดไชโย ซึ่งตามหลักการนี้ก็ไม่ใช่พระสมเด็จทุกองค์ที่เล่นหากันในราคาแพง ๆ จะอยู่ในยอดปิระมิดทั้งหมด หลายต่อหลายองค์เลยที่ไม่ใช่พระแท้ คือไม่สมควรที่จะอยู่ในปิระมิดด้วย และหลายต่อหลายองค์ที่เซียนคนขายก็ยังไม่รู้จริง บางองค์เป็นพระที่มาจากส่วนล่าง คือเป็นพระแท้แต่ไม่ใช่สมเด็จโตสร้าง หรือเป็นพระที่ใช้แม่พิมพ์เดียวกันแต่สร้างทีหลัง
    ผู้อ่านอาจถามว่าแล้วผู้ทำรู้ได้อย่างไร
    ผู้ทำจะเล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์ในงานประกวดพระสองครั้ง
    ครั้งแรก เป็นงานประกวดพระเกือบสิบปีมาแล้ว มีคนส่งพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เจดีย์เข้าประกวด เซียนรับพระที่เป็นเซียนใหญ่ไม่รับ เซียนรองเกิดความสนใจไปขอซื้อ และพระเปลี่ยนมือกัน ๓ ทอดก่อนที่นายธนาคารแห่งหนึ่งได้ไป ต่อมาก็มีข่าวว่านายธนาคารขอคืน ทุกวันนี้รูปพระองค์นี้ยังแสดงให้เห็นอยู่ในหนังสือพระวัดระฆังเป็นประจำ
    ครั้งที่สอง เป็นงานประกวดประมาณห้าหกปีก่อน ที่อาคารสำนักพิมพ์ธุรกิจรายสัปดาห์แห่งหนึ่ง เซียนใหญ่ซื้อพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซมจากคนที่ส่งเข้าประกวดแล้วขายให้เสี่ยวงการเพลง เสี่ยเอาให้เพื่อนที่ไม่ใช่เซียนแต่เป็นคนที่รู้จักกันดีในวงการดู เพื่อนบอกไม่ชอบ เสี่ยจึงให้เด็กนำไปให้เซียนใหญ่ท่าพระจันทร์ที่ซื้อพระคนเดียวไม่ต้องหุ้นกับใคร เซียนท่าพระจันทร์ดูแล้วไม่ซื้อ พระองค์นั้นก็มีการคืน จนต้องระดมเซียนอื่น ๆ เข้าชื่อเซ็นรับรองว่าเป็นพระแท้
    ทั้งสองกรณีนี้เป็นข่าวลงนิตยสารพระเครื่องและคอลัมน์พระเครื่องในหนังสือพิมพ์รายวันไม่ใช่เป็นการ “ฟังเขาเล่าว่า”
    ปิระมิดส่วนบน
    แบ่งได้เป็น ๓ กลุ่ม
    กลุ่มแรก ได้แก่พระสมเด็จพิมพ์ที่เซียนไม่นิยม และไม่เล่นหา ทั้งจากยุคแรกที่มีพิมพ์ทรงแบบพระกรุโบราณ และยุคที่สองที่เป็นพิมพ์ทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟักแล้วแต่ยังไม่มีกรอบบังคับพิมพ์แบบพิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย ส่วนใหญ่จะเป็นช่างชาวบ้าน และช่างสิบหมู่ ช่างหลวง อาจมีบ้างแต่ไม่ใช่หลวงวิจารณ์เจียรนัย รวมทั้งพระเกศไชโยพิมพ์ที่ไม่นิยมที่เรียกกันว่า “นอกพิมพ์” หรือ “พิมพ์ตลก”
    กลุ่มที่สอง ได้แก่พระเนื้อผงพิมพ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสี่เหลี่ยมชิ้นฟักและพิมพ์อื่น ๆ ที่สร้างโดยเกจิอาจารย์ร่วมสมัยสมเด็จโต จนถึง ๕๐ ปีแรกหลังจากสมเด็จโตมรณภาพ คือสร้างจนถึง พ.ศ. ๒๔๖๕ ที่โดดเด่นได้แก่เกจิอาจารย์ที่เป็นสหธรรมิกกับท่าน เช่น หลวงปู่คำ วัดอินทาราม หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร และ ๓ ศิษย์เอกของท่าน ได้แก่พระพุทธบาทปิลันท์ หลวงปู่ปั้น วัดสะพานสูง และหลวงปู่อ้น วัดบางจาก

    ส่วนเกจิอาจารย์ที่ถือว่าหลังสมเด็จโต แต่เจริญรอยตามท่านในการสร้างพระเนื้อปูนผสมด้วยผงวิเศษ ได้แก่
    1. <LI class=BodyText>พระสมเด็จอรหังวัดสร้อยทอง ทั้งเนื้อขาว เนื้อแดง ทั้งแบบหลังจารและหลังโต๊ะกัง ผู้สร้างและปีที่สร้างได้ลงในฉบับส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แล้ว <LI class=BodyText>พระวัดพลับ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นหลวงตาจันเป็นผู้สร้าง ไม่น่าจะเป็นสังฆราชสุก ไก่เถื่อน <LI class=BodyText>พระวัดเงิน คลองเตย <LI class=BodyText>พระวัดรังษี <LI class=BodyText>พระวัดท้ายตลาด
    2. พระเนื้อผงของเกจิอาจารย์ท่านอื่นที่ปรากฏประวัติและหลักฐานว่าสร้างก่อนปี พ.ศ.๒๔๖๕ เช่นพระวัดนก อ่างทอง (พ.ศ. ๒๔๖๔) พระวัดบึงพระยาสุเรนทร์ ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ พระวัดเฉลิมพระเกียรติ และพระชุดขุดสระของหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว ปี พ.ศ. ๒๔๖๐
    กลุ่มที่สาม ได้แก่พระพิมพ์สมเด็จที่ยังรอการพิสูจน์ถึงหลักฐานที่มาและประวัติการสร้างให้ชัดเจนรวมทั้งพิมพ์ทรงและเนื้อหา อันได้แก่
    1. <LI class=BodyText>พระสมเด็จวังหน้า <LI class=BodyText>พระสมเด็จวัดพระแก้ว <LI class=BodyText>พระสมเด็จที่บรรจุในกรุวัดต่าง ๆ เช่น กรุวัดโพธิ์เกรียบ กรุวัดราชสิงขร กรุวัดขุนอินทประมูล กรุวัดละครทำ กรุวัดใหม่ทองเสน พระสมเด็จในองค์หลวงพ่อโตและบ่อน้ำมนต์วัดอินทรวิหาร
    2. พระสมเด็จเนื้อผงที่สร้างที่วัดระฆังหลังจากพระพุทธบาทปิลันท์ เช่นพระสมเด็จเจ้าคุณธรรมถาวร (ช่วง) หรือพระวัดระฆังรูปอื่นสร้างขึ้นก่อนที่หลวงปู่หินจะสร้างพระสมเด็จของท่านในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ และหลวงปู่นาคสร้างพระของท่านในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๔
    ปิระมิดส่วนกลาง
    แบ่งได้เป็น ๒ กลุ่มสำหรับพระพิมพ์สมเด็จที่สร้างใน ๕๐ ปีหลังจากปิระมิดส่วนบน คือสร้างจากพ.ศ. ๒๔๖๖ จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๕ อันเป็นวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีจากที่สมเด็จโตมรณภาพ

    กลุ่มแรก คือกลุ่มสายโลหิตโดยตรงของ ๓ วัดของสมเด็จโต คือ วัดระฆัง วัดใหม่อมตรส และวัดไชโย
      1. วัดระฆัง เริ่มที่หลวงปู่หินใช้ชิ้นส่วนพระสมเด็จที่แตกหักกับผงเก่าสร้างพระในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ยุคแรกยังมีผงเก่าผสมมาก ยุคหลังเริ่มมีผงเก่าผสมน้อย ต่อมาคือหลวงปู่นาคที่เป็นเจ้าอาวาส เริ่มสร้างพระในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ปี ๒๔๙๕ และ ปี ๒๕๐๐ มาจบที่พระวัดระฆัง ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕
      2. วัดใหม่อมตรส หลากหลายพิมพ์และสวยงามด้วยพระที่สร้างด้วยชิ้นส่วนบางขุนพรหมที่แตกหัก ตั้งแต่ครั้งเปิดกรุ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในจำนวนนั้นพระเนื้อผงของหลวงตาพันที่เป็นพระลูกวัดมีความหลากหลายมากที่สุดทั้งเนื้อหาและพิมพ์ทรง ว่ากันว่าท่านเริ่มสร้างพระด้วยชิ้นส่วนบางขุนพรหมตั้งแต่ก่อนเปิดกรุ จนกระทั่งมรณภาพในปี ๒๕๐๗ จากนั้นก็เป็นหลวงปู่ลำภูซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส เริ่มสร้างพระจากชิ้นส่วนแตกหักเช่นกันเมื่อปี ๒๕๐๒ และจบลงที่การสร้างพระที่ยิ่งใหญ่ที่สุดหลังจากพระชุดฉลอง๒๕พุทธศตวรรษ ก็คือบางขุนพรหม ๐๙ ซึ่งสร้างโดยพิธีใหญ่ในปีพ.ศ. ๒๕๐๙ โดยเอาชิ้นส่วนเก่าทั้งหมดที่เหลือจากการเปิดกรุ ผสมและสร้างพระสมเด็จ ๘๔,๐๐๐ องค์ ๒ ชุด ชุดแรกให้ประชาชนเช่าบูชาทั่วไป ชุดหลังบรรจุกลับเข้าไปในเจดีย์ใหญ่
        ชิ้นส่วนของพระสมเด็จบางขุนพรหมที่แตกหักยังเป็นส่วนผสมสำคัญของพระเนื้อผงของวัดประสาทบุญญาวาส ซึ่งพระครูสมุหฯอำพลที่เคยอยู่วัดใหม่อมตรสขอไปสร้างพระเครื่องเพื่อหาทุนสร้างอุโบสถใหม่แทนหลังเก่าที่ถูกไฟไหม้
      1. วัดไชโย พระสมเด็จรุ่นหลังที่มีความสวยงามและน่าสะสม ก็คือพระพิมพ์เกศไชโยรุ่นสร้างเขื่อน ซึ่งสร้าง ๒ ครั้ง ในปีพ.ศ. ๒๔๘๕ และพ.ศ. ๒๔๙๕ จากนั้นอาจมีบางรุ่นที่สร้างขึ้นภายหลัง แต่ก็มีจำนวนน้อย
    กลุ่มที่สอง ได้แก่พระเนื้อผงที่สร้างโดยเกจิอาจารย์ตามวัดต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๕ ซึ่งครบรอบ ๑๐๐ ปีจากวันที่สมเด็จโตมรณภาพ ตัวอย่างเช่น
    1. <LI class=BodyText>หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี <LI class=BodyText>หลวงพ่อโชติ วัดตะโน <LI class=BodyText>หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก <LI class=BodyText>พระครูมูล วัดสุทัศน์ <LI class=BodyText>สมเด็จเผ่า หรือ วัดอินทร์ ๙๕ <LI class=BodyText>พระวัดคู้สลอด <LI class=BodyText>หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค <LI class=BodyText>หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง <LI class=BodyText>พระที่สวดพุทธคุณโดย เจ้าคุณนรฯ หรือพระภิกษุธัมมวิตักโก <LI class=BodyText>หลวงพ่อทูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร <LI class=BodyText>เจ้าคุณสุนทร วัดกัลยาฯ <LI class=BodyText>พระของขวัญหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ <LI class=BodyText>หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา <LI class=BodyText>หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ <LI class=BodyText>หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง <LI class=BodyText>หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ <LI class=BodyText>หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม <LI class=BodyText>หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันธ์ <LI class=BodyText>พระวัดไร่ขิง <LI class=BodyText>หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ <LI class=BodyText>หลวงพ่อเกษม เขมโก <LI class=BodyText>หลวงพ่อคูน วัดบ้านไร่
    2. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
    ปิระมิดส่วนล่าง
    ได้แก่พระสมเด็จที่สร้างขึ้นในยุคหลังปี พ.ศ. ๒๕๑๖ จนถึงปัจจุบัน จำนวนรุ่นที่สร้างและเกจิอาจารย์ทั้งหลายมีอยู่มากมาย ที่เห็นได้ชัดในยุคนี้ก็คือพิธีปลุกเสกพระเนื้อผง จะใช้เกจิอาจารย์ร่วมกันปลุกเสกเป็นคณะเกือบทั้งหมด แทบจะหาพระพิมพ์สมเด็จที่ปลุกเสกเดี่ยวโดยเกจิอาจารย์ท่านเดียวได้ยากมาก ๆ ส่วนใหญ่พระในปิระมิดส่วนล่างนี้จะกระจายสร้างตามวัดต่าง ๆ เพราะความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ผู้ปลุกเสก หากแต่อยู่ที่พิธีปลุกเสก และที่สำคัญที่สุดก็คือการโฆษณาประชาสัมพันธ์

    จำนวนรุ่นที่สร้างและวัดที่สร้างคงไม่สามารถค้นคว้ามาให้ได้ เพราะการสร้างพระพิมพ์สมเด็จในยุคนี้เป็นแฟชั่นและเป็นเรื่องของธุรกิจไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว แต่จะขอยกตัวอย่างเกจิอาจารย์ที่สร้างพระสมเด็จแบบปลุกเสกเดี่ยว ซึ่งมีอยู่หลายอาจารย์ที่ปลุกเสกตั้งแต่ในยุคก่อนปี พ.ศ. ๒๕๑๖ แล้ว ได้แก่
    1. <LI class=BodyText>หลวงปู่โต๊ะ ยุคหลัง <LI class=BodyText>หลวงพ่อแพ ยุคหลัง <LI class=BodyText>หลวงพ่อเกษม รุ่นหลัง
    2. หลวงพ่อคูน รุ่นหลัง
    ส่วนวัดสายสมเด็จโตก็ยังมีการสร้างต่อเนื่องมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน รุ่นที่ได้รับความนิยมได้แก่ บางขุนพรหม ๑๗ บางขุนพรหม ๓๑ เกศไชโยรุ่นประวัติศาสตร์ ปี ๓๑ และพระวัดระฆังรุ่น ๑๑๘ ปี


    สรุป
    1. <LI class=BodyText>“ปิระมิดแห่งพระสมเด็จ” จะแบ่งประเภทพระสมเด็จตามยุคสมัยความนิยม <LI class=BodyText>พระพิมพ์สมเด็จที่มีความเก่าพอที่จะอยู่ในยุคสมเด็จโต ควรได้รับการศึกษาถึงที่มาและหลักฐานที่อ้างอิงได้ ไม่ใช่เชื่อตามกันมา หรือตีเหมาเป็น “พระไม่แท้”ไปหมด <LI class=BodyText>พระสมเด็จรุ่นเก่ามีทั้งที่สมเด็จโตสร้างและสมเด็จโตไม่ได้สร้าง พระที่สมเด็จโตไม่ได้สร้างมีความเก่าและความสวยงามไม่แพ้ของสมเด็จโต และไม่จำเป็นต้องอ้างว่าเป็นพระสมเด็จโต ถ้าผู้ครอบครองรู้จริง เพราะถ้าบอกว่าเป็นพระสมเด็จโต ก็จะถูกเซียนพระทั้งหลายที่มองเฉพาะพระพิมพ์นิยมที่เล่นหากัน ตีเป็น “พระไม่แท้ ” ไปทันที <LI class=BodyText>การแบ่งชั้นของปิระมิดเป็นส่วน ๆ จะเป็นวิธีลำดับที่มาของพระสมเด็จได้อย่างละเอียดและลึกซึ้ง พระแต่ละชั้นควรได้รับการจำแนกให้ถูกต้องว่าสร้างเมื่อไหร่ ใครเป็นคนสร้าง ไม่ใช่รวบรัดเป็นพระสมเด็จหมด <LI class=BodyText>การอ้างพระของท่านด้วยความไม่รู้ว่าเป็นพระสมเด็จโต ทำให้ผู้พิจารณาไม่มีทางเลือก ต้องวินิจฉัยว่าใช่หรือไม่อย่างเดียว แต่ถ้าท่านบอกที่มาของพระของท่านได้ถ่องแท้ ปัญหานี้ก็หมดไป คนในวงการทุกคนก็จะอยู่ด้วยกันได้ การสะสมพระสมเด็จก็จะมีความหลากหลายขึ้น <LI class=BodyText>พระไม่แท้ หรือพระแอบอ้าง ควรได้รับการสังคายนาให้นักสะสมมือใหม่ให้รู้และไม่สับสนกับพระแท้แต่ไม่ใช่ของสมเด็จโต <LI class=BodyText>พระพิมพ์สมเด็จที่สมเด็จโตสร้างในสองยุคแรกยังมีมากมายนับหมื่นองค์ ยังไม่นับพระสมเด็จที่สมเด็จโตไม่ได้สร้างแต่อยู่ในยุคเดียวกัน และมีพิมพ์ทรงใกล้เคียงกัน ก็มีเป็นหมื่น ๆ องค์ เช่นกัน
    2. พระพิมพ์สมเด็จยุคหลังของหลวงปู่หิน หลวงปู่นาค หลวงปู่ลำภู และหลวงตาพันก็มีพิมพ์ทรงสวยงาม เลียนแบบพระสมเด็จโต บางครั้งก็ใช้แม่พิมพ์ในยุคสมเด็จโตสร้างพระ สามารถเป็นทางเลือกอีกทางของผู้อยากได้พระสมเด็จไว้ในครอบครอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2009
  16. CHOTIYA

    CHOTIYA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +359
    ดีๆได้ลับตาลับสมองกันบ้าง มีแหล่งข้อมูลดีๆลองค้นพระในแต่ละกลุ่มa b c d ,มาเทียบเคียงกันดู แล้วจะรู้มันน่าปวดหูปวดหัวปานใหน 555
     
  17. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    พระสมเด็จสำหรับทุกคน ตอนที่ ๒ พระสมเด็จก็เหมือนฟุตบอล
    ใน พระสมเด็จสำหรับทุกคน ตอนที่ ๑ ปิระมิดแห่งพระสมเด็จ ผู้ทำได้เปรียบเทียบพระสมเด็จ ซึ่งผู้ทำให้คำนิยามว่าได้แก่พระเนื้อผงพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟักแบบพระสมเด็จโต ว่ามีจำนวนมากมายเหมือนก้อนปิระมิด เริ่มจากฐานที่กว้างประกอบด้วยก้อนหินเป็นหมื่น ๆ ก้อน แล้วค่อยเรียงขึ้นเป็นชั้น ๆ ในขนาดที่เล็กลงเรื่อย ๆ จนถึงยอดสูงสุดที่เป็นก้อนหินก้อนเดียว

    ผู้ทำยังแบ่งชั้นของปิระมิดเป็น ๔ ส่วน
    1. <LI class=BodyText>ยอดสูงสุด เป็นของพระสมเด็จโตพิมพ์นิยมที่เล่นหากันอยู่ในปัจจุบัน แต่ต้องเป็นพระแท้และถูกต้องตามยุค ได้แก่วัดระฆัง ประมาณ ๒,๐๐๐ องค์ บางขุนพรหมก่อนเปิดกรุ ประมาณ ๔,๐๐๐ องค์ บางขุนพรหมครั้งเปิดกรุ ๒,๙๕๐ องค์ และเกศไชโยอีกประมาณ ๕๐๐ องค์ <LI class=BodyText>ส่วนบนมีอยู่ ๓ กลุ่ม กลุ่มแรกได้แก่พระสมเด็จโตพิมพ์ไม่นิยม เท่าที่เห็นอยู่ทั้งในตลาดพระและแผงหนังสือ น่าจะไม่ถึงครึ่งที่เป็นพระแท้และมีความเป็นมาชัดเจน กลุ่มที่สองได้แก่พระเกจิอาจารย์ในยุคท่านช่วงไม่เกิน ๕๐ ปี จากปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ที่ท่านมรณภาพ พระสมเด็จทั้งสองกลุ่ม ทั้งพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก และพิมพ์อื่น น่าจะมีเป็นแสนองค์ขึ้นไป และกลุ่มที่สามได้แก่พระสมเด็จวังหน้าและพระสมเด็จของวัดระฆังกับวัดอินทร์ที่ยังไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด <LI class=BodyText>ส่วนกลาง ได้แก่ พระเกจิอาจารย์ในยุค ๕๐ ปีหลังจากนั้น คือ พ.ศ. ๒๔๖๖ จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๕ พระในส่วนนี้น่าจะมีรวมกันไม่ต่ำกว่า ๑ ล้านองค์ที่เป็นพระแท้ ท่านผู้อ่านอาจจะไม่เชื่อจึงขอยกตัวอย่างแค่วัดใหม่อมตรสอย่างเดียว พระหลวงตาพัน หลวงปู่ลำภู และบางขุนพรหม ๐๙ ต้องมีร่วม ๒ แสนองค์แล้ว ยังไม่นับวัดระฆังที่สร้างโดยหลวงปู่นาคและหลวงปู่หิน ซึ่งก็ต้องมีแสนองค์ขึ้นไป
    2. ส่วนล่าง ได้แก่พระเกจิอาจารย์ในยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นต้นมา พระในกลุ่มนี้มีมากมายมหาศาล เพระมีวัดเป็นร้อย ๆ วัดที่สร้างพระเนื้อผง สร้างเป็นนับพันรุ่น ประมาณคร่าว ๆ ว่าน่าจะไม่น้อยกว่า ๕ ล้านองค์แล้ว
    ผู้อ่านอาจไม่เห็นด้วยในการแบ่งประเภทพระสมเด็จตามปีการสร้าง เพราะมีพระเนื้อผงอยู่มากมายหลายวัดที่เป็นพระเก่า แต่ไม่ได้รับความนิยม ไม่มีมูลค่าทางพาณิชย์เท่าใด และมีหลายรุ่นที่มีจำนวนไม่มาก หมุนเวียนอยู่ในกลุ่มลูกศิษย์ลูกหา
    นั่นแหละคือจุดมุ่งหมายของผู้ทำเว็บ ที่ไม่อยากให้ท่านใส่ใจด้านพุทธพาณิชย์และกระแสนิยมมากเกินไป ท่านศึกษาให้รู้และลองอาราธนาดูให้เห็นซึ่งอานุภาพของพระสมเด็จที่ท่านมีอยู่ว่าเป็นอย่างไร อย่าไปสนใจเรื่องราคาและความนิยมนัก ประสบการณ์ของท่านเองสำคัญที่สุดที่จะค้นพบว่าพระคุ้มครองท่านได้หรือไม่ อย่าใช้วิธีอาราธนาพระแพงๆขึ้นคอ แล้วต้องคุ้มครองพระแทน
    พระสมเด็จกับฟุตบอล
    อีกมุมมองที่เกี่ยวกับพระสมเด็จ คือการเปรียบเทียบพระสมเด็จกับฟุตบอล
    ทั้งคู่เหมือนกันหลายอย่าง
    ประการแรก
    ความนิยมในพระสมเด็จ ไม่ต่างอะไรกับความคลั่งไคล้ในกีฬาฟุตบอลของคนทั้งโลก ยอดผู้ชมทั่วโลกสูงสุดในกีฬาทุกชนิดได้แก่ การแข่งขันฟุตบอลโลกซึ่งเรียกว่าเวิลด์คัพ มีคนดูการถ่ายทอดสดทั่วโลกเป็นพันล้านคน มากกว่าการแข่งกีฬาโอลิมปิคซึ่งจัดแข่ง ๔ ปีครั้งเหมือนกัน แต่มีจำนวนประเทศที่เข้าแข่งขันและประเภทกีฬารวมทั้งเหรียญรางวัลมากกว่าฟุตบอลซึ่งเป็นกีฬาประเภทเดียว
    คนเล่นพระติดพระสมเด็จ ไม่ต่างจากคนดูกีฬาติดฟุตบอล
    ประการที่สอง
    ฟุตบอลสโมสรเป็นกีฬายอดฮิตมีให้ดูตลอดฤดูกาลแข่ง ทั่วโลกมีลีคชั้นนำอยู่ ๕ ลีค ได้แก่ พรีเมียร์ลีคของอังกฤษ ซีรีส์อาร์ของอิตาลี ลาลีกาของสเปน บุนเดนลีคกาของเยอรมัน และลีคเอิงของฝรั่งเศส
    พระเครื่องก็มีเบญจภาคี ได้แก่พระสมเด็จวัดระฆังของกรุงเทพ นางพญาของพิษณุโลก พระรอดของลำพูน ซุ้มกอของกำแพงเพชร และผงสุพรรณของสุพรรณ
    ในกรณีนี้ พระสมเด็จก็เปรียบเหมือนพรีเมียร์ลีค ซึ่งเป็นลีคที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั่วโลก รวมทั้งแฟนฟุตบอลในเมืองไทย
    ประการที่สาม
    ในประเทศอังกฤษเอง มีฟุตบอลอาชีพอยู่ ๕๐๐ สโมสร ก็เหมือนกับพระสมเด็จที่สร้างกันหลายร้อยวัด โดยอังกฤษจัดอันดับการแข่งขันระดับสโมสรเป็น ๔ ลีค ได้แก่
    พรีเมียร์ลีค
    ดีวิชั่น ๑
    ดีวิชั่น ๒
    ดีวิชั่น ๓
    ก็เหมือนกับที่ผู้ทำใช้หลักการ “ปิระมิดแห่งพระสมเด็จ” แบ่งพระสมเด็จเป็น ๔ ส่วนตามรูปทรงปิระมิด
    พรีเมียร์ลีค = ยอดสูงสุด พระสมเด็จโตพิมพ์นิยม
    ดีวิชั่น ๑ = ส่วนบน พระสมเด็จโตพิมพ์ไม่นิยม และเกจิอาจารย์ยุค ๕๐ ปีแรก
    ดีวิชั่น ๒ = ส่วนกลาง พระเนื้อผงเกจิอาจารย์ยุค ๕๐ ปีหลัง
    ดีวิชั่น ๓ = ส่วนล่าง พระเนื้อผงเกจิอาจารย์จาก พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นต้นมา
    ประการที่สี่
    การแข่งขันระดับสโมสรมีการตกขั้นและเลื่อนขั้น พระสมเด็จก็เช่นกัน ในแต่ละส่วนของปิระมิด เช่นสโมสรในพรีเมียร์ลีค ก็มีสิทธิที่จะตกขั้นลงมาดีวิชั่น ๑ ทีมในดีวิชั่น ๑ ก็มีสิทธิ์เลื่อนขั้นไปเล่นในพรีเมียร์ลีค ทุกดีวิชั่นเหมือนกันหมด
    ยังไม่นับการแข่งขันเอฟเอคัพ ที่ทุกสโมสรมีสิทธิ์แข่งเพื่อชิงถ้วยนี้เหมือนกันหมด เพื่อให้ได้ทีมฟุตบอลที่ดีที่สุดในปีนั้น ไม่ว่าจะมาจากสโมสรระดับไหน ทุกทีมมีโอกาสเท่ากันหมด
    ยกตัวอย่างแชมป์เอฟเอคัพ ปี ๒๕๔๙ แห่งวงการพระเครื่องเป็นของพระชุดจตุคามรามเทพรุ่นแรก ปี ๒๕๓๐ แห่งนครศรีธรรมราช ทีมจากดีวิชั่นต่ำสุดที่มาแรงแซงพระทุกชนิดในแง่ความนิยมและราคาที่สูงจนเบียดพระอื่น ๆ ตกรอบไปหมด
    ประการที่ห้า
    พรีเมียร์ลีค มี ๒๐ ทีม โดยมีทีมที่ได้คะแนนสูงสุด ๔ ทีม จะได้สิทธิไปเล่นในยูฟ่า แชมเปี้ยนลีคคือไปแข่งกับสโมสรชั้นนำจากประเทศต่าง ๆ เพื่อให้ได้สโมสรผู้ชนะเลิศที่เก่งที่สุดในยุโรปของแต่ละปี
    พระสมเด็จในส่วนยอดสูงสุดของปิระมิดประกอบด้วย
    วัดระฆัง ๕ พิมพ์
    บางขุนพรหม ๙ พิมพ์
    เกศไชโย ๓ พิมพ์
    รวมทั้งสิ้น ๑๗ พิมพ์ ใกล้เคียงกับจำนวนทีมในพรีเมียร์ลีค
    ปัจจุบันทีมเต็ง ๔ ทีมในพรีเมียร์ลีค ซึ่งจองตำแหน่ง ๑ ถึง ๔ มาหลายปีแล้วได้แก่
    แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
    ลิเวอร์พูล
    เชลซี
    อาร์เซนัล
    ก็เหมือนกับ ๔ พิมพ์ทรงยอดนิยมของวัดระฆัง
    พิมพ์พระประธาน
    พิมพ์เจดีย์
    พิมพ์ฐานแซม
    พิมพ์เกศบัวตูม
    ส่วนพิมพ์ที่ห้าคือพิมพ์ปรกโพธิ์ยังไม่ได้รับความนิยมเหมือน ๔ พิมพ์แรกก็เหมือนกับทีมอันดับที่ห้าของพรีเมียร์ลีคที่ขึ้น ๆ ลง ๆ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่คงที่เหมือน ๔ ทีมแรก
    สโมสรที่อยู่ท้ายตารางของแต่ละปีมีสิทธิหล่นไปดีวิชั่นหนึ่งคือการตกขั้น ก็เหมือนพิมพ์บ๊วย ๆ ของพระสมเด็จโต เช่นพิมพ์เกศไชโย ๖ ชั้น หรือพิมพ์บางขุนพรหมอกครุฑที่ค่านิยมยังสู้พระในดีวิชั่น ๑ บางพิมพ์ เช่น พระหลวงปู่ภู พิมพ์แซยิดแขนหักศอก พระวัดพลับพิมพ์ยืน และพระอรหังวัดสร้อยทอง เป็นต้น
    ผู้อ่านอาจไม่เห็นด้วยกับการจัดอันดับพระสมเด็จในส่วนต้นตารางว่ามีแต่วัดระฆังอย่างเดียว น่าจะมีบางขุนพรหมแทรกไปสักองค์หนึ่งไม่ว่าจะเป็นพิมพ์พระประธาน หรือพิมพ์เจดีย์ เพราะทั้ง ๒ พิมพ์นี้มีแบบที่เรียกกันว่า “พระสองคลอง” คือ น่าจะเป็นพระวัดระฆังฝากกรุบางขุนพรหม ซึ่งก็ไม่ผิดกติกาอันใด เพราะเป็นของวัดระฆังเหมือนกัน
    แต่ถ้าเป็นพิมพ์ของบางขุนพรหมเองเช่นพิมพ์เส้นด้าย คนเล่นพระสมัยก่อนจะไม่สนใจนัก เพราะถ้าพิมพ์เป็นบางขุนพรหม ความนิยมในยุคนั้นห่างจากวัดระฆังแน่นอน ผู้ทำเว็บเคยเห็นพระสมเด็จที่พ่อของเลขาเก่าซึ่งเป็นอดีตนายอำเภอเก็บสะสมไว้ ท่านจะเลี่ยมทองเฉพาะวัดระฆัง แต่บางขุนพรหมแค่ใส่ตลับพุกและอยู่กับสร้อยแสตนเลส ส่วนเกศไชโยไม่ต้องพูดถึง แยกอยู่กับพระพวงอื่นไปเลย
    ประการที่หก
    ดีวิชั่น ๑ ของอังกฤษในปัจจุบันมีชื่อว่าแชมเปี้ยนชิพ (Championship) ในอดีตยิ่งใหญ่มากและถือเป็นลีคที่ดีที่สุดในอังกฤษ จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ สโมสรชั้นนำของอังกฤษต่างถอนตัวออกไปรวมกลุ่มตั้งพรีเมียร์ลีค ด้วยเหตุผลในแง่ของรายได้จากค่าโฆษณาและค่าถ่ายทอดโทรทัศน์ ก็ไม่ผิดอะไรกับพระสมเด็จในกลุ่มแรกที่ถีบตัวออกไปเป็นกลุ่มของตัวเองเพื่อให้พระในกลุ่มตัวเองได้ราคาสูงสุด
    ปัจจุบันสโมสรในดีวิชั่น ๑ มีทั้งหมด ๒๔ ทีม มีอยู่หลายทีมที่เป็นที่คุ้นหูแฟนบอลไทย เพราะขึ้นๆ ลงๆ ในในพรีเมียร์ลีคเป็นประจำ ได้แก่ วูลฟ์แฮมตัน เบอร์มิงแฮม เชฟฟิลด์ยูไนเต็ด คริสตัลพาเลซ ดาร์บี้ เซาท์แฮมตัน น้อตติ้งแฮมฟอเรสต์ โคเวนทรี โดยเฉพาะทีมโคเวนทรีเคยมาแข่งกับทีมซานโตสจากบราซิลที่สนามศุภชลาศัยเมื่อ ๓๐ ปีเศษมาแล้ว
    ดีวิชั่น ๑ ของพระสมเด็จได้แก่ พระสมเด็จโตนอกพิมพ์นิยมทั้งหลายที่เป็นพระแท้และมีหลักฐานชัดเจน และพระที่สร้างโดยเกจิอาจารย์ในยุค พ.ศ. ๒๔๑๖ ถึง ๒๔๖๕ หรือ ๕๐ ปีหลังจากสมเด็จโตมรณภาพ
    ที่เขียนปีหลังสมเด็จโตมรณภาพว่าเป็นพระสมเด็จที่สร้างหลังจากนั้นเพราะผู้ทำเว็บเชื่อว่าก่อนสมเด็จโตมรณภาพ พระเนื้อผงพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟักยังไม่ได้รับความนิยมเท่าใด เพราะท่านเป็นคนคิดรูปแบบ (Form Factor) และพิมพ์ทรงขึ้นมาด้วยตัวท่านเองก่อนคนอื่น และมิได้ลอกเลียนแบบพิมพ์ทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟักจากใคร แม้แต่พระสมเด็จอรหังก็ไม่ได้ทำที่วัดมหาธาตุ สังฆราชสุก ไก่เถื่อนไม่ได้เป็นคนสร้าง และไม่ได้เป็นอาจารย์ของท่าน (โปรดพลิกไปที่ถอดรหัสพระสมเด็จ ตอน พระสมเด็จอรหังกับพระสมเด็จโต-ใครสร้างก่อน และประวัติพระประวัติศาสตร์ ตอน พระสมเด็จอรหังกับสมเด็จโต)
    ตราบจนท่านมรณภาพแล้ว คนแห่ไปรับแจกพระสมเด็จกันเป็นหมื่น ๆ และปี ๒๔๑๖ เกิดโรคอหิวาตกโรคระบาด ความสนใจของพระสมเด็จจึงเกิดขึ้น ผู้ทำเชื่อว่าช่วงนั้นแหละที่เกจิอาจารย์ท่านอื่นเริ่มสร้างพระเนื้อผงตามท่านด้วยรูปแบบที่แตกต่างกันออกไห
    ในสมัยนั้นจุดที่กระตุ้นให้คนไทยสนใจเรื่องพระเครื่องไม่ใช่เพื่อมีไว้ในการครอบครองแบบการสะสม เพราะแนวทางนั้นต้องคอยจนรัชกาลที่ ๕ ทรงปฏิรูปอะไรต่ออะไรหลายอย่าง แล้วค่อยนำชาติไทยเข้าสู่วัฒนธรรมตะวันออกซึ่งชอบสะสมของโบราณ หากเป็นเพราะปัญหาโรคภัยไข้เจ็บและความรักชาติต่างหาก
    เริ่มต้นจากห่าปีระกาที่เล่ากันว่าสมเด็จโตมาเข้าฝันให้คนเอาพระของท่านไปทำน้ำมนต์เพื่อรักษาโรค พระจึงได้รับความนิยม ซึ่งถ้าท่านไปหาหนังสือพระยุคต้น ๆ ที่พูดถึงประสบการณ์ในการใช้พระสมเด็จ จะเห็นว่ามีเรื่องที่คนนำพระของท่านมาทำน้ำมนต์รักษาโรคหายหลายต่อหลายราย
    ต่อมาก็คือภัยจากสงคราม ครั้งแรกก็คือภัยจากประเทศล่าอาณานิคม เช่น ฝรั่งเศสที่มีเรื่องกับไทยหลายครั้ง ตั้งแต่สมัย รศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๗) เป็นต้น มาฮิตอีกครั้งก็คือปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ตอนรัชกาลที่ ๖ ประกาศสงครามกับเยอรมันนีและส่งทหารไปร่วมรบที่ยุโรป ปีนี้มีการปลุกเสกพระเครื่องมากมายหลายสำนัก เหรียญดัง ๆ เช่นเหรียญหลวงพ่อโสธรรุ่นแรกก็สร้างเพื่อการนี้
    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ไทยทำสงครามกับฝรั่งเศสเพื่อยึดลาวและเขมรที่ถูกฝรั่งเศสแย่งไปในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในชื่อเรียกว่า “สงครามอินโดจีน” เกจิอาจารย์จำนวนมากได้ปลุกเสกพระเครื่องเพื่อให้ทหารได้ใช้ติดตัวไปในสนามรบ ที่โด่งดังมาก ๆ ก็คือ ชินราชอินโดจีนของวัดสุทัศน์ วัดอื่น ๆ ที่มีพระกรุเก่าก็เปิดกรุเอาพระออกมาให้ทหารเช่นกัน เช่นวัดบึงพระยาสุเรนทร์ เป็นต้น แสดงว่าคนไทยในยุคนั้นเจ็บช้ำกับการเสียดินแดนมาก เมื่อมีโอกาสจะเอาคืนก็พยายามช่วยกันเต็มที่ทั้งอาณาจักรและพุทธจักร
    พระสมเด็จในดีวิชั่น ๑ ถือเป็นกำลังหลักของพระเนื้อผงในเมืองไทย เรียกได้เลยว่ายุคนั้นเป็นยุคทองของพระเนื้อผง เป็นช่วงที่สมเด็จโต สหายทางธรรม ตลอดจนลูกศิษย์สายตรงได้สร้างพระเนื้อผงอันลือเลื่องให้เป็นมรดกตกทอดมาถึงรุ่นเรา
    พระรุ่นนั้นสวยด้วยเนื้อหา พิมพ์ทรง และมากด้วยพุทธคุณ หลายตัว หลายองค์ไม่แพ้วัดระฆังทีเดียว ถ้าตัดความนิยมว่าต้องเป็นสมเด็จโตสร้าง และต้องเป็นพิมพ์ของหลวงวิจารณ์เจียรนัย พระชุดนี้ไม่มีอะไรน้อยหน้าพระในกลุ่มพรีเมียร์ลีคเลย อย่างน้อยชื่อแชมเปี้ยนชิพก็แสดงให้เห็นว่ายังเป็นแชมป์อยู่เหมือนกัน
    ยังมีพระกรุที่ยุคใกล้เคียงและสวยงามไม่บางขุนพรหม เช่น กรุวัดราชสิงขรที่พบพระในเจดีย์หลายหมื่นองค์ หรือกรุวัดขุนอินประมูลที่เลียนพิมพ์พระยุคสองของสมเด็จโต พระเหล่านี้มีที่มาที่ไปและสามารถเล่นหาได้ในระดับหนึ่งถ้าได้รับการแจกแจงที่มาให้ชัด
    ยกตัวอย่างพระสมเด็จกรุวัดราชสิงขรที่พบพระหลายพิมพ์ แต่ที่มากที่สุดคือพระสมเด็จพิมพ์เดียวกับบางขุนพรหม ยิ่งองค์ที่อยู่ล่าง ๆ มีคราบกรุที่คล้ายกันมาก
    มีพระกรุนี้พิมพ์เส้นด้ายอยู่องค์หนึ่ง มีคนขอซื้อถึงหลายหมื่นบาทโดยไม่ต้องมีประกัน เพราะดูคล้ายพิมพ์เส้นด้ายบางขุนพรหม แต่เจ้าของขายให้ไม่ได้เพราะยืมเพื่อนมาใช้ เลยต้องรีบเอาพระไปคืนเจ้าของตัวจริง เพราะตัวเองเปิดแผงพระอยู่ ถ้าไม่ขายเขาแล้วเก็บไว้กับตัวจะเป็นอันตราย เพราะเคยโดนทุบรถเอาพระไปแล้ว
    ดีวิชั่น ๑ หรือ แชมเปี้ยนชิพยังมีคนเข้าชมในสนามแต่ละปีมากกว่าซีรีส์อาร์ ของอิตาลี และ ลีคเอิงของฝรั่งเศสเหมือนพระเครื่องบางองค์ในส่วนส่วนบนปิระมิดยังมีความนิยมในการเช่าหามากกว่าพระในเบญจภาคีองค์บ๊วย ๆ
    ประการที่เจ็ด
    ดีวิชั่น ๒ ของอังกฤษมีมีชื่อว่าลีควัน (League One) ในปัจจุบัน มี ๒๔ ทีมเช่นกัน ที่พอจะคุ้นหน้าคุ้นตากันอยู่บ้างก็คือทีมเลสเตอร์ซิตี้ ซึ่งเป็นผู้นำกลางฤดูกาลของต้นปีนี้ และมีสิทธิ์ขึ้นชั้นไปเล่นในแชมเปี้ยนชิพปีต่อไป
    อีกทีมหนึ่งก็คือลีดส์ยูไนเต็ด ซึ่งในช่วง ๔๐ ปีก่อน เป็นทีมชั้นนำในดีวิชั่น ๑ และในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ในการแข่ง เอฟ เอ คัพ รอบชิงครั้งที่สอง ต้องมาแพ้ให้กับกับทีมเชลซี ยุคนั้นมีแต่ผู้รักษาประตูคือปีเตอร์ โบเนตตี้ซึ่งเป็นตัวสำรองทีมชาติอังกฤษของกอร์ดอนแบงส์ตัวจริง และปีเตอร์ ออสกู้ดกองหน้าซึ่งเป็นตัวสำรองทีมชาติเช่นกัน หลังจากแข่งครั้งแรกเสมอกัน ๒ ต่อ ๒
    พระสมเด็จที่อยู่ในดีวิชั่น ๒ ก็คือพระสมเด็จที่สร้างในยุค พ.ศ. ๒๔๖๖ จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งก็คือช่วง ๕๐ ปี รอบที่สองจากปีที่สมเด็จโตละสังขาร จัดได้เป็นพระส่วนกลางของปิระมิด และเป็นเสาหลักของพระเนื้อผงด้วยความสำคัญไม่น้อยไปกว่าพระในดีวิชั่น ๑ หรือในส่วนบนของปิระมิด เช่น พระหลวงปู่เผือกชุดหลังพิมพ์ขุดสระ พระหลวงปู่โต๊ะพิมพ์ขาโต๊ะ และพระของขวัญวัดปากน้ำของหลวงพ่อสด
    ว่าไปแล้วพระวัดปากน้ำรุ่นหนึ่งเคยกระโดดข้ามดีวิชั่น ๑ ไปเล่นในพรีเมียร์ลีคมาแล้ว สมัยวงการพระเครื่องเฟื่องฟูสุดขีดในปี ๒๕๓๕ – ๒๕๔๐ ก่อนการลดค่าเงินบาท พระวัดปากน้ำรุ่นหนึ่งองค์สวย ๆ เคยมีราคาสูงถึงขนาดแลกกับบางขุนพรหมพิมพ์บ๊วย ๆ ได้ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการปั่นราคาพระวัดปากน้ำรุ่นหกซึ่งสร้างกันหลายล้านองค์ พอกระแสเริ่มตก ความนิยมหดหาย พระวัดปากน้ำทุกรุ่นรวมทั้งรุ่นหนึ่งราคาก็ร่วงมาอยู่ที่เดิม
    คนเล่นพระก็ยังไม่เข็ดหลาบกับการเล่นพระตามกระแส เพราะไม่สนใจเรื่องในอดีตนัก จึงมักเป็นไปตามนักประวัติศาสตร์ที่ว่า “ถ้าไม่สนใจประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ก็จะซ้ำรอย”

    วงการพระเครื่องบอบช้ำทุกวันนี้ก็เพราะจตุคามรามเทพที่มีการปั่นราคาสร้างกระแสกันทุกรูปแบบในทุกสื่อทุกวัด สามปีก่อนตอนจตุคามเริ่มจะดัง ถ้าคุณพอรู้เรื่องการปั่นราคาพระวัดปากน้ำบ้าง คุณก็อาจหักห้ามใจไม่หลงตามสะสมมาก เพราะวัดปากน้ำวัดเดียว พระรุ่นหนึ่งถึงรุ่นหกมีประมาณไม่เกิน ๕ ล้านองค์ ยังไปไม่รอด ทุกวันนี้เซียนบางคนยังเก็บพระวัดปากน้ำรุ่นหกไว้ที่บ้านเป็นหีบ ๆ ทั้ง ๆ ที่บารมีธรรมหลวงพ่อสดมีมากล้น ลูกศิษย์ลูกหาเต็มเมือง พระของขวัญรุ่นหกราคาก็ยังแค่หลักร้อยในปัจจุบัน

    จตุคามรามเทพที่เริ่มสร้างกันอย่างแพร่หลายในปี ๒๕๔๗ โหนกระแสได้ถึงปลายปี ๒๕๔๙ พอต้นปี ๒๕๕๐ ก็เริ่มแผ่วจนฟุบและจางหายไปจากแผงพระแทบทั้งหมด ก็สร้างกันไม่รู้กี่วัด กี่ร้อยรุ่น แต่ละรุ่นก็สร้างกันเป็นแสน ๆ องค์ ผู้ทำประมาณคร่าว ๆ ว่าจตุคามรามเทพสร้างขึ้นมาไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ล้านองค์ หรือ ๔๐ เท่าของพระวัดปากน้ำทุกรุ่น

    คณิตศาสตร์ง่าย ๆ จตุคามรามเทพ ๒๐๐ ล้านองค์ คนไทยทั้งหมดมี ๖๕ ล้านคนเศษ สิบกว่าปีก่อนพระวัดปากน้ำไม่กี่ล้านองค์ยังไปไม่รอด แล้วจตุคามรามเทพจะเหลือหรือ ถ้าตอนนั้นคนเล่นพระรู้จักคิด ก็จะไม่ถลำลึกกันอย่างนี้ เพราะจะรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะคงความนิยมตลอดไป
    ยกเว้นแต่คุณจะโลภ มองเห็นตัวเลขรายได้มากกว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
    ดาวรุ่งอีกดวงหนึ่งของพระในดีวิชั่น ๒ นี้คือ พระสมเด็จจิตรลดา หรือพระกำลังแผ่นดิน ซึ่งเป็นผลงานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างด้วยพระหัตถ์เอง ปัจจุบันพระสมเด็จจิตรลดาผงาดอยู่ในพรีเมียร์ลีคอย่างเต็มภาคภูมิด้วยความนิยมที่เริ่มเบียดพระท้อปโฟร์ของตารางได้อย่างสบาย ๆ
    ประการที่แปด
    ดีวิชั่น ๓ ของอังกฤษคือ ลีคทู (League Two) ในปัจจุบันมี ๒๔ ทีมเช่นกัน ทีมส่วนใหญ่คนไทยจะไม่คุ้นหู เพราะค่อนข้างห่างไกลจากสนามลีคข้างบนมาก จะได้ยินอยู่บ้างก็คือทีมแบรดฟอร์ดซึ่งมีสิทธิ์ขึ้นขั้นไปแข่งในลีควัน
    พระสมเด็จในดีวิชั่น ๓ ก็คือพระสมเด็จที่สร้างหลัง พ.ศ. ๒๕๑๖ จนถึงปัจจุบันนั่นเอง จัดเป็นจำนวนพระที่มากที่สุด และสร้างโดยเกจิอาจารย์มากมายหลายร้อยวัด

    ผู้นำในดีวิชั่น ๓ นี้คือ บางขุนพรหม ๑๗ ซึ่งราคาและความนิยมในตลาดพุ่งขึ้นสูง จากการที่พระสมเด็จในพรีเมียร์ลีคเริ่มมีหมุนเวียนน้อยลง และบางขุนพรหม๐๙ เริ่มหายากขึ้น รวมทั้งการเล่นหายังไม่มีการสรุปตายตัวว่าจะต้องเล่นหากันอย่างไร ทำให้เกิดการสับสนในหมู่ผู้ต้องการมีไว้ในครอบครอง ยิ่งมีพระฝีมือทำเลียนแบบได้ใกล้เคียงกับของแท้ ออกมาอาละวาด คนยิ่งระมัดระวังใหญ่ ทำให้หันไปมองบางขุนพรหม ๑๗ ซึ่งเล่นหากันได้ง่ายกว่าเป็นทางเลือก

    เกจิอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่สร้างพระเนื้อผงในยุคนี้และได้รับความนิยมมากคือ หลวงพ่อเกษม เขมโก แห่งสุสานไตรลักษณ์ ลำปาง โดยเฉพาะพระสมเด็จเกษมมงคล ๑ และเกษมมงคล ๒ มีความสวยงามในด้านพิมพ์ทรงมาก และได้รับความนิยมในฐานะเป็นพระรุ่นแรก ๆ ของท่าน

    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แห่งวัดสะแก อยุธยาก็เป็นเกจิอาจารย์ที่มีผลงานการสร้างพระเครื่อง โดยเฉพาะพระเนื้อผงของท่านมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครตรงที่มีผิวปูนปกคลุมด้านหน้า สีขาวข้น เรียกกันว่า “หน้ากะทิ” แม้ท่านจะมรณภาพเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ และสร้างพระก่อนหน้านี้ไม่นาน แต่การสร้างพระของท่านก็สืบสานตำนานการสร้างพระระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ไว้อย่างน่าสนในและน่าเลื่อมใส

    เริ่มต้นที่อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ ซึ่งเป็นฆราวาสผู้มักจะมาทำพิธีสร้างวัตถุมงคลที่วัดสะแก และได้ใช้บริการของหลวงปู่สี ซึ่งจัดเป็นพระรุ่นน้อง ในการทำพิธีสงฆ์เพื่อให้การปลุกเสกสมบูรณ์ หลวงปู่สีต้องรอจนอาจารย์เฮงตาย จึงได้ทำพระของตัวเองและต่อมาหลวงปู่ดู่ซึ่งอยู่วัดเดียวกัน ก็ไม่สร้างวัตถุมงคลจนหลังจากหลวงปู่สีมรณภาพ
    ทั้งนี้เพราะสมัยโบราณคนเขาถือกันว่าลูกศิษย์จะไม่วัดรอยเท้าครู ถ้าอาจารย์ยังอยู่จะไม่สร้างพระหรือวัตถุมงคลแข่งกับอาจารย์ ต้องรอให้อาจารย์สิ้นไปก่อนจึงจะทำของตัวเอง และจะทำในรูปแบบที่ไม่เหมือนกับอาจารย์ด้วย
    หลวงปู่ดู่ก็เช่นกัน แม้อาจารย์เฮง ไพรวัลย์และหลวงปู่สีจะเป็นเพียงศิษย์พี่ ท่านก็ไม่ลอกแบบทั้งสองอาจารย์ ท่านสร้างพระแบบของท่านเอง ซึ่งมีความสวยงามมาก อาจารย์เฮงชอบสร้างพระเครื่องพิมพ์พระพรหม หลวงปู่ดู่เลียนแบบมาเป็นพระแบบชัยมงคลคาถา ซึ่งมีพิมพ์ตอนพระพุทธเจ้าปราบผกาพรหมเป็นหลัก พิมพ์นี้แกะได้สวยงามมาก และถือเป็นพิมพ์หลักของหลวงปู่ดู่ เป็นแบบท้าวผกาพรหมเล่นซ่อนหากับพระพุทธเจ้า และมีพระพุทธเจ้าบนเศียรท้าวผกาพรหม ไม่เหมือนพระพรหมของอาจารย์เฮงซึ่งสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง

    พระหลวงปู่ทวดพิมพ์เปิดโลกเป็นอีกพิมพ์หนึ่งที่มีความสวยงามมากในจำนวนพิมพ์หลวงปู่ทวดที่มีการสร้างมาไม่ว่าจะเป็นเนื้อว่าน ดิน ชิน ผง พระพิมพ์เปิดโลกเป็นพระหลวงปู่ทวดที่สวยงามที่สุดพิมพ์หนึ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญ พระเนื้อผงพิมพ์นี้ก็มี แต่มีน้อยหายากกว่าเหรียญมาก

    สรุป
    1. <LI class=BodyText>นอกจากจะแบ่งพระสมเด็จเป็นชั้นตามรูปปิระมิด ยังอาจแบ่งแบบฟุตบอลได้ โดยพระสมเด็จพิมพ์นิยมก็เหมือนพรีเมียร์ลีค ในขณะทีพระเบญจภาคีที่เหลือก็เหมือนลีคฮิตอีก ๔ ลีค
    2. การแบ่งพระสมเด็จตามแบบปิระมิดและฟุตบอลอังกฤษได้ดังนี้
    พรีเมียร์ลีค = ยอดปิระมิด คือพระสมเด็จพิมพ์นิยมทั้ง ๓ วัด
    แชมเปี้ยนชิพ = ส่วนบนปิระมิด คือพระสมเด็จพิมพ์ไม่นิยม และพระเกจิอาจารย์ยุค ๕๐ ปีแรก
    ลีควัน = ส่วนกลาง คือพระเกจิอาจารย์ยุค ๕๐ ปีหลัง

    ลีคทู = ส่วนล่าง คือพระยุคหลัง ๑๐๐ ปี สมเด็จโต
      • <LI class=BodyText>ทีมฟุตบอลในแต่ละลีคมีสิทธิ์ขึ้นชั้นและตกชั้นได้ เหมือนพระเครื่องที่บางพิมพ์อาจได้รับความนิยมมากและเป็นที่เสาะหาในราคาสูง และบางพิมพ์อาจขาดความนิยมจนมีราคาลดลง <LI class=BodyText>พระที่อยู่ในส่วนบน และส่วนกลาง หรือในแชมเปี้ยนชิพและลีควัน เป็นกำลังหลักสำคัญของวงการพระเนื้อผง <LI class=BodyText>สโมสรต้องมีฝีมือจึงจะแข่งในลีคของตัวเองได้ พระก็ต้องแท้และมีหลักฐานอ้างอิงจึงจะจัดอยู่ในปิระมิดได้
      • ท่านมีสิทธิ์เลือกพระของท่านให้อยู่ในส่วนไหนของปิระมิด หรือจะไปอยู่ในลีคใดของอังกฤษ ถ้าท่านรู้ว่าพระของท่านเป็นพระแท้และมีความเป็นมาอย่างไร ไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ในพรีเมียร์ลีคหรือยอดปิระมิด มีพื้นที่ในปิระมิดเหลือเฟือเหมือนมีสโมสรฟุตบอลในอังกฤษมากมาย
      • เริ่มต้นวันนี้ หาที่ลงให้พระของท่านด้วยการเปิดตาเปิดใจ รับรู้ว่าพระสมเด็จไม่ใช่มีเฉพาะที่เซียนใหญ่เล่นหากันในราคาแพง พระสมเด็จแท้ๆที่เหมาะสมกับท่านมีอยู่เสมอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2009
  18. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    สูตรทำพระเนื้อผง ตอน ๑
    กล่าวนำ
    การสะสมพระเครื่องนอกจากจะต้องทำความเข้าใจเรื่องพิมพ์ทรงให้ลึกซึ้งแบบรู้แจ้งแทงตลอด เห็นพระก็แทบจะจำพิมพ์ทรงได้ว่าใช่องค์ที่สุดปรารถนาหรือไม่ ความเข้าใจพิมพ์ทรงจะช่วยเป็นตะแกรงร่อนพระที่ไม่ได้อยู่ในเป้าหมายการสะสมออกไป
    แต่เมื่อเห็นพระที่พิมพ์เข้าเค้า ก็ต้องส่องดูรายละเอียดของพิมพ์ทรงเป็นการยืนยันความเห็นเบื้องต้น ในขณะเดียวกันเราก็จะเห็นเนื้อพระอย่างชัดเจน
    สำหรับพระสมเด็จและพระเนื้อผงทั่วไป ถ้าเราเข้าใจว่าพระผงเหล่านั้นสร้างขึ้นอย่างไร แตกต่างกันหรือไม่จากพระยุคหนึ่งไปสู่พระอีกยุคหนึ่ง จากเกจิอาจารย์ท่านหนึ่งไปสู่เกจิอาจารย์อีกท่านหนึ่ง และจากวัดที่สร้างวัดหนึ่งไปยังอีกวัดหนึ่ง
    ความรู้เรื่องเนื้อพระจะช่วยเสริมให้ท่านตัดสินเรื่องความเป็นมาของพระองค์นั้นได้อย่างถ่องแท้ ไม่พลาดกรณีที่เป็น “พระแท้” และไม่หลงกลผู้ขายในกรณีที่เป็น “พระไม่แท้”

    ปูนปั้น
    เป็นวิวัฒนาการในการสร้างอุเทสิกเจดีย์เพื่อเป็นที่ระลึกในการได้มาเยือนสังเวชนียสถานและเป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา เริ่มจากสิ่งที่หาง่ายที่สุด คือ พระเนื้อดินและไม่ต้องเผาที่เรียกว่า “เนื้อดินดิบ” จากนั้นก็มีวิวัฒนาการในการทำแม่พิมพ์ให้สวยและให้ความสนใจกับมวลสารที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบในการสร้าง
    พระเครื่องที่สร้างอย่างพิถีพิถันโดยของผู้มีอำนาจในยุคนั้น ก็จะใช้วัสดุที่มีราคาแพงและขบวนการซับซ้อนเพื่อให้ได้ซึ่งความสวยงามและคงทนของสิ่งที่จะสร้างมาแทนตัวพระพุทธองค์ สุดยอดของเหล่านั้นก็คือทองคำ ซึ่งเป็นอมตนิรันดร์กาลของการคงความสวยงามไปชั่วกาลนาน
    จากนั้นก็เป็นวิวัฒนาการของการสร้างปฏิมากรรมที่แทนตัวพระพุทธเจ้า เริ่มจากชาวกรีกที่ตกค้างสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กรีทัพจากมาเซโดเนียประเทศกรีกมารุกรานและครอบครองประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย จนถึงทวีปอินเดีย ซึ่งสมัยนั้นยังไม่แยกเป็นอินเดีย ปากีสถานและบังคลาเทศ
    ปฏิมากรรมรูปพระพุทธเจ้าในยุคคันธาราษฎร์ไม่ใช่การปั้นรูปเหมือนพระพุทธเจ้าตามลักษณะมหาบุรุษที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎก แต่เป็นการปั้นพระพุทธเจ้าที่เหมือนคนจริง ๆ แน่ละคนปั้นเป็นกรีก พระพุทธรูปยุคนั้นจึงมีหน้าเป็นฝรั่ง
    ปูนปั้นเป็นวัสดุที่มีมาหลายพันปีแล้ว นับแต่สมัยปิระมิด มีการนำปูนขาวมาเป็นสารช่วยเกาะยึดก้อนหินที่นำมาเรียงต่อกันเป็นปิระมิด จากนั้นก็มีการพัฒนามาใช้ในงานปฏิมากรรมและสถาปัตยกรรม
    พระพุทธรูปสมัยคันธาราษฎร์ซึ่งเป็นการสร้างรูปเหมือนของพระพุทธเจ้าครั้งแรกในโลก ก็มีการสร้างด้วยปูนปั้นมาร่วมสองพันปีมาแล้ว
    การใช้ปูนปั้นแพร่หลายมาถึงประเทศไทยนานมาแล้ว และเป็นความเชิดหน้าชูตาของช่างไทยที่สามารถสร้างผลงานด้วยปูนปั้นตั้งแต่การสร้างวัด และวัง มาจนถึงการสร้างบ้านทั่วไปในปัจจุบัน
    สมัยนั้นปูนที่ใช้มีชื่อเฉพาะว่า “ปูนเพชร” และเป็นต้นตระกูลของพระเนื้อผง

    ปูนเพชร
    ปูนเพชรเป็นปูนปั้นที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า STUCCO ไม่ใช่ปูนที่มาจากเมืองเพชรบุรี แต่หมายถึงวิธีการปั้นปูนให้มีความสวยงามและคงทนเหมือนเพชร เช่นเดียวกับญาติชาวฝรั่งของปูนเพชรที่ชื่อ ปูนปอร์ตแลนด์ ไม่ได้มาจากเมืองปอร์ตแลนด์ ประเทศอังกฤษ แต่เป็นชื่อทางการค้าของปูนซีเมนต์ยุคแรกที่ต้องการสื่อความหมายว่า ใช้ปูนนี้จะได้งานที่มีความสวยงามและแข็งแรงเหมือนใช้หินตกแต่งจากเมืองปอร์ตแลนด์
    ที่บอกว่าปูนเพชรเป็นต้นตระกูลของพระเนื้อผงรวมทั้งพระสมเด็จโตก็เพราะส่วนผสมที่ใช้ในการสร้างปูนเพชรก็เป็นหลักการเดียวกับส่วนผสมของพระสมเด็จโต
    ปูนเพชรมีสูตรการสร้างดังนี้
    ปูนเพชร = มวลสารหลัก + มวลสารรอง + สารช่วยเกาะยึด
    โดยที่มวลสารหลัก คือ ปูนขาว ๒ ส่วน ทรายละเอียด ๑ ส่วน
    มวลสารรอง คือ กระดาษฟาง หรือ ฟางข้าวทำให้นุ่ม
    สารช่วยเกาะยึด คือ น้ำอ้อยหรือน้ำตาลโตนดเคี่ยว กาวหนัง
    ทรายในมวลสารหลักช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับปูนเพชร ในขณะที่กระดาษฟางหรือฟางข้าวช่วยสร้างความนุ่มนวลและยืดหยุ่นในการก่อ ปั้น แต่ง ส่วนกาวหนัง ช่วยให้เกิดความเหนียว แบบที่โฆษณากันว่า “เหนียว ฉาบลื่น”
    พระเนื้อผง มีสูตรการสร้างแบบเดียวกัน
    พระเนื้อผง = มวลสารหลัก + มวลสารรอง + สารช่วยเกาะยึด

    สูตรทำพระเนื้อผง
    ที่เรียกกันว่า “สูตรพระเนื้อผง” ก็เพราะแม้พระเนื้อผงจากอดีตจนถึงปัจจุบันใช้หลักการสร้างหรือ “สูตร” เหมือนกัน แต่ส่วนผสมของพระเนื้อผงแต่ละวัด แต่ละรุ่นก็ไม่เหมือน
    ไม่ต้องดูอื่นไกล ท่านลองพิจารณาพระพิมพ์สมเด็จรุ่นใหม่ที่ออกให้เช่าบูชาที่วัดทั้งสามซึ่งเป็นวัดเชื้อสายของสมเด็จโต อันได้แก่ วัดระฆัง วัดใหม่อมตรส และวัดไชโย พระพิมพ์สมเด็จจากทั้งสามวัดก็มีเนื้อไม่เหมือนกัน สวยงามไปคนละแบบ และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว วัดทั้งสามไม่บอกท่านหรอกว่ามีสูตรการผสมมวลสารอย่างไร แต่ละวัดมีการออกแบบส่วนผสม (Mix Design) ไม่เหมือนกัน ผลที่ออกมาก็คือพระพิมพ์สมเด็จของทั้งสามวัดก็มีเนื้อไม่เหมือนกัน
    จากพระเนื้อผงรุ่นแรกของไทยก็คือกรุทัพเข้า สุโขทัย มาจนถึงพระเนื้อผงในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีวิวัฒนาการอย่างก้าวกระโดดจากการออกแบบส่วนผสม (Mix Design) ของสมเด็จโตที่นำผงวิเศษและวัสดุมงคลอื่น ๆ ที่พบในชีวิตประจำวันของท่านมารีไซเคิลให้เป็นพระเนื้อปูนที่แพงที่สุดในโลกโดยน้ำหนัก แบบศัพท์นักมวยที่เรียกว่า “ปอนด์ต่อปอนด์ พระสมเด็จเป็นดินที่แพงที่สุดในโลก” เรื่อยมาถึงพระเนื้อผงที่ร่วมสมัยกับท่าน เช่นพระวัดเงิน พระวัดพลับ พระวัดสร้อยทอง พระสมเด็จอรหัง มาถึงพระเนื้อผงของลูกศิษย์ เช่นหลวงปู่ปั้น หลวงปู่อ้น และเกจิอาจารย์ยุคหลังท่าน เช่นหลวงปู่เผือก ตลอดจนพระสมเด็จตามกรุต่าง ๆ ที่มีข้อพิสูจน์บ้างยังไม่มีบ้างว่าเป็นพระร่วมสมัยกับสมเด็จโตหรือไม่ พระชุดนี้ก็คือพระในปิระมิดส่วนบนที่เคยจำแนกให้ท่านผู้อ่านฟังแล้วว่าไม่เกิน ๕๐ ปี จากปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ที่ท่านมรณภาพ
    ยุคต่อมาได้แก่พระรุ่นหลังจากนั้นอีก ๕๐ ปี จนถึงพ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งกำลังหลักได้แก่พระพิมพ์สมเด็จที่สร้างต่อ ๆ กันมาในวัดระฆัง วัดใหม่อมตรส และวัดไชโย จนถึงพระที่สร้างโดยเกจิอาจารย์ต่าง ๆ ซึ่งรวมกันเป็นปิระมิดส่วนกลาง
    ส่วนปิระมิดส่วนล่างได้แก่ พระเนื้อผงที่สร้างตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๖ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีมากมายเป็นร้อยเป็นพันวัด คิดจำนวนพระก็หลายสิบล้านองค์ เหมาะสมกับที่จะเป็นฐานของการสะสมพระเนื้อผงซึ่งครองอัตราส่วนทางตลาดมากที่สุดของวงการพระเครื่องในปัจจุบัน
    พระเนื้อผงตั้งแต่ยอดปิระมิดที่ยกให้เซียนใหญ่ ปิระมิดส่วนบน ปิระมิดส่วนกลาง และปิระมิดส่วนล่าง ผู้ทำวิเคราะห์แล้วมีสูตรทำพระเนื้อผงดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2009
  19. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    สูตร ๑ : สูตรสมเด็จโต
    มีหนังสือนับไม่ถ้วนที่พูดถึงส่วนผสมของพระสมเด็จโต โดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังที่มีการสร้างเป็นครั้ง ๆ แถมยังมียุคในการสร้างถึง ๓ ยุค ได้แก่
    ยุคแรก ยังเป็นพระพิมพ์แปลก ๆ ส่วนใหญ่ถอดพิมพ์หรือเลียนพิมพ์พระกรุ
    ยุคสอง ท่านคิดค้นรูปแบบ (Form Factor) ที่เป็นสี่เหลี่ยมชิ้นฟักแล้ว แต่พิมพ์ทรงยังไม่สวยงาม และพระมีปัญหาการแตกร้าว
    ยุคสาม เป็นยุคที่ว่ากันว่าหลวงวิจารณ์เจียรนัยมาช่วยสมเด็จโตปรับปรุงพิมพ์ทรงให้สวยงาม คือ แกะแม่พิมพ์แบบมีกรอบบังคับพิมพ์ และมาแนะนำให้ใช้น้ำมันตังอิ้วเป็นสารช่วยเกาะยึด
    ท่านผู้อ่านรู้สึกอย่างไรบ้างเวลาพยายามมองหามวลสารต่าง ๆ ที่มีการเขียนถึงในหนังสือเหล่านั้นกับพระสมเด็จที่ท่านมี มวลสารที่ลงกันไว้ตามหนังสือต่างๆมีเป็นสิบ ๆ ชนิดแต่ทำไมองค์ของเราถึงไม่มีแบบนั้น ซ้ำร้ายบางองค์กลับตรงกันข้าม แทบจะเป็นการชุมนุมมวลสารเหล่านั้นมาไว้ในที่เดียวกัน
    นักสะสมพระเครื่องแบบมือใหม่หัดขับ หรือมือเก่าเล่ายี่ห้อ ถ้าเข้าใจที่มาหรือหลักการการออกแบบส่วนผสม (Mix Design) ของสมเด็จโต เรื่องยุ่งยากของมวลสารเหล่านั้นจะกลับง่ายดาย
    ผู้ทำเว็บจึงเน้นการอธิบายหลักการขั้นพื้นฐานให้ท่านเข้าใจก่อน จากนั้นพระเนื้อแบบไหนมีการพลิกแพลงเล่นลวดลายกี่ชั้นท่านก็จะดูออก
    มวลสารหลัก

    ยังคงเป็นปูนเปลือกหอยเป็นหลัก
    ท่านอาจถามว่า “ทำไมใช้ปูนเปลือกหอย” จะเป็นปูนอย่างอื่นได้หรือไม่
    คำตอบก็คือ “ปูนเปลือกหอย” ก็คือปูนชนิดหนึ่ง ชื่อ “ปูน” เป็นชื่อรวม ๆ เรียก ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน บอกไว้ว่า “ปูนคือของซึ่งทำจากหินปูนหรือเปลือกหอย เผาให้ไหม้เป็นผง” ส่วนที่เรียกว่า “ปูนขาว” ก็เพราะเผาแล้วปูนจะมีสีขาว

    อีกชื่อหนึ่งของปูนที่ได้มาจากการเผาไม่ว่าจะเป็นเปลือกหอยหรือหินปูนก็คือ “ปูนสุก” เพราะถูกเผาไฟจนสุก ตรงข้ามกับปูนที่ไม่ได้เผา เช่นนำเปลือกหอยมาตำแล้วเอาแต่ผง จะเรียกว่า “ปูนดิบ”

    ผู้ทำเชื่อว่ามีการใช้ปูนเปลือกหอยทำพระด้วยเหตุผลดังนี้
    1. <LI class=BodyText>ปูนเปลือกหอยหาได้ไม่ยาก สมัยก่อนคนไทยนิยมกินหมาก ปูนกินหมากก็คือปูนเปลือกหอยเผานั่นเอง <LI class=BodyText>เปลือกหอยเมื่อนำมาเผา บด และร่อนเอาแต่ผงขาวละเอียดจะมีสีขาวนวล เมื่อทำเป็นพระจะมีความสว่างและมันวาว ตรงข้ามกับหินปูนจะให้ผงที่มันด้าน ถ้าใช้หินปูนเผาพระจะสีไม่สวย <LI class=BodyText>สมัยนั้นอุตสาหกรรมเกี่ยวกับปูนยังไม่เกิด การหาหินปูน (Limestone) ต้องเข้าป่าไปหาตามภูเขาแถว ๆ สระบุรี การคมนาคมสมัยนั้นยังอาศัยทางน้ำเป็นหลัก ไม่สะดวกและยังยุ่งยากที่จะต้องขนหินปูนก้อนโต ๆ ลงจากเขา แถมยังต้องเผาด้วยความร้อน ในยุโรปเองต้องคอยถึงหกสิบปีเศษจากเตาเผาหินปูนรุ่นแรกจะถูกปรับปรุงให้เผาด้วยอุณหภูมิสูง ๆ ในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ ซึ่งเป็นปีที่รัชกาลที่ ๓ ขึ้นครองราชย์ การก่อสร้างก่ออิฐถือปูนแบบฝรั่งสมัยนั้นมีแต่บาทหลวงและมิชชั่นนารีฝรั่งสมัยรัชกาลที่ ๔เท่านั้น ต้องรอจนยุคกลาง ๆ ของรัชกาลที่ ๕ จึงมีการก่อสร้างอาคารแบบฝรั่งแบบเต็มรูปแบบโดยเอาฝรั่งมาออกแบบและมีการใช้ปูนจากหินปูนอย่างแพร่หลาย
    2. สมเด็จโตชอบทดลองใช้วัสดุอื่น ๆ ร่วมกับปูนเปลือกหอยในการใช้เป็นมวลสารหลัก เพียงแต่วัสดุเหล่านั้นมีอัตราส่วนน้อยกว่าปูนเปลือกหอย ท่านคงทดลองวัสดุแปลก ๆ เช่น ทราย กรวด พระสมเด็จที่แตกหักหรือไม่สมบูรณ์จากการสร้างพระครั้งแรก ๆ ชิ้นส่วนแตกหักของพระกำแพง บางตำราก็ว่าท่านใส่ชิ้นส่วนของเครื่องกังไสที่มีคหบดีจีนนำมาถวาย พระสมเด็จชานหมากก็น่าจะเป็นการทดลองอย่างหนึ่งของท่านที่ใช้ชานหมากร่วมกับปูนเปลือกหอย บางครั้งก็พบเกล็ดของเปลือกหอยมันวาวปนอยู่ ซึ่งเป็นการใช้เปลือกหอยไม่เผามาตำและใส่ผสมลงไป
    อย่างไรก็ตาม ผู้อ่านอย่าไปให้น้ำหนักกับมวลสารหลักอื่น ๆ มากนัก เพราะท่านสร้างพระเป็นร้อย ๆ ครั้ง ท่านเป็นพระที่ชอบลองอยู่แล้ว ท่านอาจใส่วัสดุแปลก ๆ ลงไปได้ แต่ที่แน่นอนก็คือ ไม่มีการใส่ก้างปลาลงในพระของท่าน เพราะท่านต้องการความเรียบง่ายเป็นหลัก พระพิมพ์สมเด็จที่มีของแปลก ๆ อยู่ด้านหลังพระไม่ว่าจะฝังอะไรลงไปหรือเขียนข้อความและปีพ.ศ. ยิ่งไม่ใช่ใหญ่ เป็นพระที่ขาดข้อมูลสนับสนุน และขัดต่อข้อเท็จจริงตามประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น มีแต่นิทานที่เขาแต่งให้ท่านฟังสนุกๆหรือเพื่อส่งเสริมการขายเท่านั้น

    5. ปูนเปลือกหอยเมื่อถูกเผาด้วยอุณหภูมิสูง จะให้ผงสีขาวลักษณะมันวาว เมื่อนำมาผสมกับสารช่วยยึดเกาะสามารถทำปฏิกิริยาทางเคมีคืนตัวรวมคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเกิดผลึกแบบที่เป็นผิวหนาคลุมองค์พระที่เคยพบในพระสมเด็จบางองค์ แต่การเกิดผลึกเช่นนี้ต้องใช้เวลานานหลายสิบปีขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่เก็บพระ นั่นคือเหตุผลอย่างหนึ่งที่พระสมเด็จบางขุนพรหมหรือพระเนื้อผงที่ลงกรุเกิดคราบจากการตกผลึกของแคลเซียมในองค์พระอย่างที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Calcite
    สำหรับพระสมเด็จที่แกร่งแบบที่เรียกว่า “เนื้อปูนกังไส” วางบนแผ่นกระจกจะดังกริ๊ก ๆ นั้น ไม่น่าเป็นการออกแบบส่วนผสม (Mix Design) ของสมเด็จโต เพราะผลึกที่เกิดขึ้นแกร่งมากไม่เหมือนผลึกจากคราบกรุหรือการใช้บูชา ผู้ทำเข้าใจว่าเป็นคนละสูตรกับพระสมเด็จโต และกรรมวิธีการสร้างคงไม่ใช่แบบปล่อยให้ตกผลึกในระยะเวลายาวนาน อาจเป็นกรรมวิธีสมัยใหม่ที่ให้ผลเร็วไว ทั้งนี้เพราะคัลไซต์ (Calcite) ที่มาจากการเผาปูนด้วยอุณหภูมิสูงมาก ๆ จะมีคุณสมบัติตกผลึกได้ดีและถ้าเก็บในอุณหภูมิสูงก็จะตกผลึกเร็วขึ้น น่าจะมาจากกรรมวิธีวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ไม่ใช่สมัยสมเด็จโต หรือไม่ก็ใช้วิธีเลียนแบบการสร้างพระเครื่องด้วยชามกังไสเผาในเตาเผาอุณหภูมิสูงก็อาจเป็นได้
    มวลสารรอง
    นี่คืออัจฉริยภาพแห่งการประดิษฐ์คิดค้นของสมเด็จโต

    ท่านทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ของการทำพระเนื้อผง ซึ่งจากเดิมจะไม่ให้ความสนใจกับวัสดุรองเท่าไหร่นัก ท่านเพิ่มพุทธานุภาพให้พระสมเด็จของท่านเป็นทวีคูณด้วยการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่สำหรับพระเนื้อผงองค์เล็ก ๆ ที่มีศิลปะนูนต่ำ (Bas Relief)

    ไม่ปรากฎครั้งใดในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาที่มีการสร้างพระเนื้อผงแบบ “ดีนอก ดีใน” ก็คือมวลสารก็เป็นมงคลและประกอบด้วยคุณวิเศษในตัวเมื่อสำเร็จเป็นองค์พระ ก็ดีครั้งหนึ่ง คือ ดีในตัวองค์พระ

    ส่วน “ดีนอก” ก็คือการปลุกเพิ่มพุทธานุภาพด้วยคาถาชินบัญชรที่ท่านสวดขณะปลุกเสกพระของท่านก่อนที่จะนำไปแจกชาวบ้านหรือเก็บไว้เพื่อจะลงกรุ
    ผงวิเศษทั้งห้าและคาถาชินบัญชรคือการเปลี่ยนโฉมหน้าการสร้างพระเครื่ององค์เล็กจากพระเนื้อดินและพระเนื้อโลหะมาเป็นพระเนื้อปูนเปลือกหอยอย่างที่นิยมเรียกกันว่าพระผง อีกประการหนึ่งที่เป็นนวัตกรรมชิ้นเอกของท่านก็คือการเปลี่ยนค่านิยมของพระเครื่อง จากการที่คนไทยไม่นิยมเก็บพระไว้ที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องหรือพระบูชา พระเครื่องที่ทำขึ้นในอดีตก็เพื่อสืบทอดพระศาสนาหรือทำไว้สู้ศึกภายนอกที่เข้ามารุกราน เมื่อศึกสงบก็คืนพระกลับวัด

    สมเด็จโตเป็นผู้เริ่มแจกพระให้ชาวบ้านเวลาท่านออกนอกวัดไปบิณฑบาต หรือทำกิจของสงฆ์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ความนิยมในการสะสมของเก่าเริ่มพัฒนาอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
    วัสดุรองมีอยู่หลายชนิด ล้วนเป็นวัสดุมงคลที่หาได้ง่ายในชีวิตประจำวันของพระในสมัยนั้น มีแต่ผงวิเศษทั้งห้าเท่านั้นที่โดดเด่นที่สุด
    เพราะผงวิเศษทั้งห้าก็คือผงจากดินสอที่ใช้เขียนกระดานชนวนด้วยคาถาห้าอย่างต่อเนื่องกัน
    ผู้ทำจะเริ่มจากการทำดินสอก่อน

    ในตัวดินสอก็มีทั้งมวลสารหลัก มวลสารรอง และสารช่วยเกาะยึด
    1. <LI class=BodyText>มวลสารหลักของดินสอก็คือดินสอพอง ที่ได้จากการนำดินขาวที่มีสารประกอบเป็นหินปูนผสมอยู่กว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ มาเผาไฟ
    2. มวลสารรอง ตรียัมปวายบอกไว้ในหนังสือพระสมเด็จ หน้า ๒๐๕ ดังนี้
    “ค. ดินสอพอง มีส่วนผสมด้วยเครื่องยาต่าง ๆ คือ ดินโป่ง ๗ โป่ง ดินตีนท่า ๗ ตีนท่า ดินหลักเมือง ๗ หลักเมือง ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธานในพระอุโบสถ ดอกกาหลง ยอดสวาท ยอดรักซ้อน ขี้ไคลเสมา ขี้ไคลประตูวัง ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ พลูร่วมใจ พลูสองหาง กระแจะตะนาว น้ำมันเจ็ดรส และดินสอพองผสมกัน แล้วป่นละเอียด เจือน้ำปั้นเป็นแท่งดินสอ”

    หนังสือบางเล่มอาจพูดถึงมวลสารรองต่างกับตรียัมปวาย เล่มที่อ่านแล้วมีเหตุผลพอสมควรก็คือ ทีเด็ดพระสมเด็จ ของอาจารย์พน นิลผึ้ง หน้า ๒๓๕ พูดถึงยอดไม้มงคล เช่น ยอดสวาท ยอดรักซ้อน ฯลฯ ว่าไม่ได้ใช้ผสมกับดินสอพอง แต่ใช้คั้นกับน้ำมนต์ พุทธมนต์ ๗ บ่อ ๗ รส ก็คือนำไปใช้เป็นสารช่วยเกาะยึดไม่ใช่เป็นมวลสารรอง
    3. สารช่วยเกาะยึด ใช้น้ำเป็นหลัก โดยต้องเป็นน้ำมงคลเช่นกัน เช่นมาจากบ่อน้ำมนต์ของท่าน โดยมีการนำพืชมงคลต่าง ๆ มาคั้นเพื่อช่วยในการเกาะยึด อย่างที่พูดไว้ในหนังสือทีเด็ดพระสมเด็จก็เป็นได้

    ตรียัมปวายอธิบายไว้ว่าเมื่อปั้นเป็นแท่งดินสอแล้ว สมเด็จโตจะเริ่มทำผงวิเศษทั้งห้าโดยการเรียกสูตรและเขียนยันต์ของแต่ละสูตรลงบนกระดานชนวน จากนั้นจึงลบผงที่เขียนออก แล้วนำผงเหล่านั้นมาปั้นเป็นแท่งดินสอเพื่อเขียนสูตรที่สองต่อไป ทำเช่นนี้จนครบห้าสูตร จึงจะได้ผงวิเศษห้าประการ
    พึงสังเกตไว้ว่าดินสอที่ทำจากดินสอพองและวัสดุมงคลอื่น ๆ เมื่อเขียนแล้วปั้นเป็นดินสอเพื่อเขียนใหม่ถึงห้าครั้ง มวลสารของดินสอได้รับการรวมตัวและแยกตัว ทำปฏิกิริยากับสารช่วยเกาะยึด ผงวิเศษนี้จึงเกิดการรวมตัวและแยกตัวครั้งแล้วครั้งเล่า อีกทั้งทำปฏิกิริยากับสารช่วยเกาะยึดมาตลอด ผงวิเศษนี้จึงเกิดการรวมตัวเป็นเม็ดเล็ก ๆ สีขาวขุ่น
    เมื่อนำผงวิเศษที่เป็นเม็ดสีขาวขุ่นมารวมกับปูนเปลือกหอย ก็จะเป็นวัสดุที่ต่างกันทั้งคุณสมบัติและรูปสมบัติ เพราะผงวิเศษผ่านการทำปฏิกิริยากับสารช่วยเกาะยึดมาหลายครั้ง การรวมตัวและแยกตัวจากการถูกปั้นเป็นแท่งดินสอและเขียนยันต์ ๕ สูตร จึงเกิดการบดอัดในตัวเองกลายเป็นวัสดุที่แน่นตัวและคงทนต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเมื่อถูกผสมกับปูนเปลือกหอยและใส่สารช่วยยึดเกาะพิมพ์ออกมาเป็นองค์พระ ผงวิเศษก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก ตรงกันข้ามกับปูนเปลือกหอยซึ่งเป็นวัสดุใหม่ ยังเกิดปฏิกิริยากับสารช่วยยึดเกาะได้
    ผงวิเศษจึงเป็นมวลสารที่สังเกตได้ง่ายในพระผงสูตรนี้
    ส่วนมวลสารรองอื่น ๆ ก็มีบันทึกไว้มากมาย เช่น เกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด ว่านมงคล และว่านยา สมุนไพร ไม้มงคล ผลไม้และเมล็ด อาหารที่ท่านปันไว้จากที่บิณฑบาตและที่มีคนนำมาถวาย แร่ธาตุอัญมณี พระเก่าแตกหัก ทรายเงินทรายทอง เถ้าถ่านธูป ชานหมาก ผงตะไบพระพุทธรูป ผงใบลาน ไคลเสมา ไคลประตูวัง ไคลเสาตะลุงช้างเผือก น้ำตาเทียนชัย ฯลฯ

    มวลสารที่กล่าวไว้ข้างต้นนี้ ไม่มีสูตรตายตัวว่าจะมีสิ่งใดผสมอยู่ในพระสมเด็จแต่ละองค์ บางองค์มีมาก บางองค์มีน้อย บางองค์อาจไม่มีให้เห็นเลย ทั้งนี้เพราะสมเด็จโตท่านผสมมวลสารเหล่านี้อย่างไม่มีสูตร เรียกว่าทำพระครั้งหนึ่งหาอะไรได้ก็นำมาผสม
    แต่ที่แน่ ๆ ก็คือผงวิเศษทั้งห้า ต้องมีผสมอยู่ทุกครั้ง
    การผสมมวลสารรองเป็นการนำมาคลุกเคล้ากับมวลสารหลัก ไม่ใช่เป็นการโรยลงบนแม่พิมพ์แล้วจึงกดเนื้อมวลสารหลักลงในพิมพ์ ถ้าท่านเห็นพระสมเด็จที่มีมวลสารในลักษณะนี้ แน่ใจได้เลยว่าไม่ใช่ของสมเด็จโต เพราะการโรยมวลสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งผงเก่าลงในพิมพ์ให้ปรากฏบนด้านหน้าองค์พระ เพิ่งจะมีหลังจากเปิดกรุพระสมเด็จบางขุนพรหมในปี ๒๕๐๐ เมื่อมีคนนำพระที่แตกหักมาบดแล้วสร้างพระใหม่ ส่วนใหญ่จะเป็นพระในสายวัดใหม่อมตรส ไม่ว่าจะเป็นของหลวงตาพัน หลวงปู่ลำภู บางขุนพรหม ๐๙ และรุ่นหลังจากนั้น
    สารช่วยเกาะยึด

    ถ้าปราศจากสารนี้มวลสารหลักและรองจะไม่มีการรวมตัวกัน ยิ่งเป็นวัสดุต่างชนิดกันมาก ๆ การรวมตัวให้เป็นเนื้อเดียวกันยิ่งต้องอาศัยสารที่มีคุณสมบัติเกาะยึดที่ดี
    ในปูนเพชร ท่านจะเห็นว่าช่างใช้น้ำอ้อยหรือน้ำตาลโตนดเคี่ยวให้ข้นแล้วผสมกับกาวน้ำที่นำเอาหนังสัตว์เช่นหนังวัวมาเคี่ยว แบบเดียวกับที่ช่างรองเท้าใช้ทำรองเท้า
    สมเด็จโตคงไม่ได้เอากาวน้ำมาใช้ทำพระสมเด็จของท่าน เพราะทำมาจากหนังของสัตว์ใหญ่ เป็นการเบียดเบียนสัตว์
    แต่ทำไมท่านใช้ปูนจากเปลือกหอยเล่า

    ประการแรกเปลือกหอยเป็นวัสดุตามธรรมชาติที่มีอยู่ทั่วไปตามชายทะเล เป็นซากของสัตว์ทะเลที่เสียชีวิตเองตามธรรมชาติแล้วถูกคลื่นซัดให้เปลือกมาเกยหาด ไม่ใช่ในสมัยนี้ที่มีร้านอาหารทะเลมากมายที่เหลือเปลือกหอยทิ้งเป็นขยะ
    ประการที่สอง สมเด็จโตท่านฉันหมากซึ่งเป็นประเพณีนิยมของคนไทยในสมัยนั้นอยู่แล้ว ปูนที่กินกับพลูก็ทำมาจากปูนเปลือกหอย
    ประการสุดท้าย ปูนเปลือกหอยหาได้สะดวก เพราะคนกินหมากกันทั้งเมือง
    ไม่ใช่ว่าท่านจะใช้น้ำอ้อยหรือน้ำตาลโตนดเคี่ยวให้เหนียวอย่างเดียว ท่านต้องผสมวัสดุอื่นด้วย เช่นกล้วย แต่คงไม่ใช้เปลือก ใช้แต่เนื้ออย่างเดียว เพื่อช่วยทำให้เหนียวและเนื้อพระดูกลมกลืน

    นอกจากนั้นท่านอาจผสมกระดาษสาซึ่งเป็นกระดาษที่มีคุณภาพสูงกว่ากระดาษฟางที่ใช้ในปูนเพชร กระดาษสาจะช่วยให้พระอ่อนนุ่มแต่ก็มีความยืดหยุ่น ไม่แข็งกระด้าง เนื้อพระนุ่มนวลสวยงาม

    น้ำผึ้งก็เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งในการช่วยให้มวลสารหลักและมวลสารรองรวมตัวกัน เช่นน้ำผึ้งเดือนห้าซึ่งเป็นน้ำผึ้งป่าบริสุทธิ์ที่หาได้ไม่ยากนัก โดยเฉพาะจากป่าแถวเขาใหญ่ที่มีชื่อเรียกกันว่า “ดงพญาไฟ” ในยุคนั้น ก่อนจะถูกเปลี่ยนให้เป็นมงคลในยุคที่มีการตัดทางรถไฟไปสู่ภาคอีสานว่า “ดงพญาเย็น”
    สารช่วยเกาะยึดตัวสุดท้ายที่มีความสำคัญ และมักถูกกล่าวถึงว่าเป็นสารที่นำมาใช้ในพระสมเด็จโตยุคที่สาม ซึ่งเป็นยุคสุดท้ายในการสร้างพระของท่าน

    ก็คือน้ำมันตังอิ้ว ซึ่งเป็นที่รู้จักมานานในประเทศจีนนันพันปีว่าเป็นสารที่ใช้เคลือบเนื้อไม้ให้คงทนสวยงาม เพราะมีคุณสมบัติในการเคลือบผิวที่มีรูพรุนได้ดี
    ช่างหินใช้น้ำมันตังอิ้วเป็นตัวเคลือบหินที่ใช้ในห้องครัว ห้องน้ำ และสถานที่ต่าง ๆที่เกิดการสึกกร่อนหรือเกิดคราบจากน้ำได้ง่าย จึงเป็น “สูตรลับ” ในการเคลือบผิวหินแกรนิตและหินอ่อนมาช้านาน ผิวที่เคลือบเกิดจากการปฏิกิริยาของน้ำมันตังอิ้วกับออกซิเจนในสภาพแวดล้อมทำให้เกิดการแข็งตัวเป็นผิวที่ทนทาน

    น้ำมันตังอิ้วทำจากการนำเนื้อในเมล็ดต้นตังที่มีปริมาณน้ำมันสูงมาสกัดเป็นน้ำมันตังอิ้ว มีประวัติการปลูกในประเทศจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง คำว่า “ตัง” ในภาษาจีนหมายถึง “หัวใจ” ซึ่งมาจากลักษณะคล้ายรูปหัวใจของใบต้นตัง

    ดังนั้นการนำน้ำมันตังอิ้วมาผสมกับปูนเปลือกหอยและมวลสารอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความคงทนไม่เปราะและหักได้ง่าย จึงเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งของผู้ที่แนะนำสมเด็จโตให้ใช้ ซึ่งตามที่เล่าขานกันมาก็คือหลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งเป็นช่างทองหลวง เพราะน้ำมันตังอิ้วในประเทศจีนจะใช้กับงานไม้และงานหินเท่านั้น ไม่ใช้กับงานปูน
    ผู้ทำคิดว่าน้ำมันตังอิ้วคือสารที่เข้ามาแทนกาวน้ำซึ่งใช้อยู่ในปูนเพชร เมื่อสมเด็จโตไม่ใช้กาวน้ำในการทำพระชุดแรก ๆ ของท่าน พระที่ได้ก็ขาดความคงทนเพราะมีแต่น้ำตาลเคี่ยวหรือน้ำผึ้งซึ่งไม่มีความหนืดและคุณสมบัติในการเกาะยึดแบบกาวน้ำ พระที่ได้จึงแตกหักง่าย อีกทั้งน้ำมันตังอิ้วยังมีส่วนในการเคลือบผิวพระ ทำให้เกิดผิวที่มีสีเหลืองอมน้ำตาลตามสีของน้ำมัน เท่ากับเป็นการเคลือบผิวพระให้เกิดความคงทนมากขึ้น
    การดัดแปลงเอาน้ำมันตังอิ้วมาใช้จึงเป็นอัจฉริยภาพของหลวงวิจารณ์เจียรนัยที่มีความเข้าใจในงานศิลปะปูนชั้นสูง หาสารที่มาแทนกาวน้ำได้
    คำถามที่อาจเกิดขึ้นกับการใช้น้ำมันตังอิ้วมี ๒, ๓ ประการ กล่าวคือ
    1. ถ้าหลวงวิจารณ์แนะนำสมเด็จโตให้ใช้น้ำมันตังอิ้วในยุคสามของการสร้างพระสมเด็จแล้วในยุคแรกและยุคสองเล่า ทำไมเราจึงเห็นพระสมเด็จของยุคสองนั้นมีเนื้อผงที่เหมือนกับในยุคสาม ยุคแรกอาจมีเนื้อต่างไปบ้าง แต่ยุคสองตามที่เห็นในหนังสือสมเด็จโต หรือหนังสืออื่น ๆ ที่ลงรูปพระสมเด็จในยุคนั้น ก็มีเนื้อพระแบบเดียวกับพระยุคสามที่หลวงวิจารณ์เจียรนัยออกแบบพิมพ์ใหม่

    ความแตกต่างของพระที่ใช้น้ำมันตังอิ้วผสมกับที่ไม่ได้ใช้ อยู่ตรงไหน
    ตอนนี้ผู้ทำยังไม่มีคำตอบ เพราะอยู่ระหว่างทดลองศึกษาเนื้อพระของทั้งสามยุคอยู่
    2. พระเนื้อผงที่สร้างตามสูตรนี้คือมีผงวิเศษและมวลสารมงคลแต่สร้างโดยลูกศิษย์ของสมเด็จโต หรือเกจิอาจารย์ท่านอื่นในยุคสมัยนั้น ซึ่งรวมถึงพระในปิระมิดชั้นบนทั้งหมด ใช้น้ำมันตังอิ้วหรือเปล่า
    ก็ยังเป็นอีกคำถามที่ต้องค้นคว้าหาคำตอบมาเล่าให้ท่านฟังต่อไป
    3. มีพระพิมพ์สมเด็จที่เป็นพระแท้จำนวนมากที่มีพิมพ์ทรงสวยงาม และมีกรอบบังคับพิมพ์แบบเดียวกับพระสมเด็จยุคสาม แต่พิมพ์ทรงไม่เหมือนกับที่วงการนิยมเล่นหาว่าเป็นพระสมเด็จโตที่ออกแบบพิมพ์โดยหลวงวิจารณ์เจียรนัย ท่านผู้อ่านจะพบพระสมเด็จพิมพ์เหล่านี้ค่อนข้างมากในนิตยสารพระเครื่องชื่อตามเกจิอาจารย์นครปฐม และจะเห็นประปรายในหนังสือพระเล่มอื่น
    พระสมเด็จที่สวยงามและมีกรอบบังคับพิมพ์เหล่านี้ ใช้น้ำมันตังอิ้วผสมด้วยหรือไม่ ทำไมเนื้อพระจึงไม่เหมือนกับพระยุคสาม
    เป็นปริศนาที่ต้องหาคำตอบต่อไปเช่นกัน
    สรุป สูตร ๑ : สูตรสมเด็จโต
    1. พระสมเด็จโตคือพระเนื้อผงที่มีมวลสารหลัก มวลสารรอง และสารช่วยยึดเกาะ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับปูนปั้น (Stucco) ที่ใช้ในงานปฏิมากรรมและสถาปัตยกรรมตั้งแต่สมัยโบราณนับพันปี ปูนเพชรซึ่งเป็นปูนที่รู้จักกันดีในสมัยก่อน ก็ใช้หลักการนี้เช่นกัน

    2. มวลสารหลักคือปูนเปลือกหอย และมวลสารอื่น ๆ ที่ผสมลงในเนื้อพระ มวลสารเหล่านั้นมีมากมาย และเปลี่ยนไปตามโอกาสขึ้นอยู่กับความพอใจของสมเด็จโตว่าจะทดลองใช้วัสดุใดร่วมกับปูนเปลือกหอย
    3. มวลสารรองได้แก่ผงวิเศษทั้งห้าซึ่งจะต้องมีอยู่ในการสร้างพระทุกครั้ง และเป็นหัวใจในการตัดสินว่าเป็นพระเนื้อผงที่สร้างตามสูตรนี้หรือไม่ ไม่ว่าจะสร้างโดยสมเด็จโต ลูกศิษย์ หรือเกจิอาจารย์อื่นที่ใช้สูตรนี้เป็นแบบอย่างในการสร้างพระของตัวเอง
    มวลสารอื่น ๆ ก็มีหลากหลายแล้วแต่ท่านจะหามาได้ ล้วนเป็นมวลสารมงคลที่หาได้ง่ายในชีวิตประจำวันของท่าน มวลสารเหล่านี้จะปรากฎในองค์พระมากบ้าง น้อยบ้าง มีบ้าง ไม่มีบ้าง แปรเปลี่ยนไปตามการสร้างพระของท่านที่มีเป็นร้อยครั้งในช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ท่านสร้างพระ
    4. สารช่วยในการเกาะยึดมีทั้งการใช้น้ำตาลโตนดหรือน้ำอ้อยเคี่ยว น้ำผึ้งเดือนห้า กล้วยสุก ในยุคแรก ต่อมาหลวงวิจารณ์เจียรนัยแนะนำให้เติมน้ำมันตังอิ้วไปในสารช่วยเกาะยึด ตามประวัติบอกว่าพระที่ใช้น้ำมันตังอิ้วมีความคงทนมากขึ้น และเป็นพระจากแม่พิมพ์ที่แกะโดยหลวงวิจารณ์เจียรนัย เป็นพิมพ์ทรงที่สวยงามและได้รับการยอมรับในหมู่นักสะสมมืออาชีพ จัดเป็นพระในยอดปิระมิดแห่งพระเครื่อง
    5. ยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างพระที่มีน้ำมันตังอิ้วและไม่มีน้ำมันตังอิ้ว ซึ่งเป็นประเด็นให้ศึกษาค้นคว้าต่อไป คำตอบที่ได้อาจเป็นกุญแจที่ไขความลับในการตีความพระสมเด็จว่าเป็นพระที่สร้างโดยสมเด็จโตหรือไม่ ถ้าใช่จะเป็นพระในยุคใด
    ถึงเวลานั้นก็อาจมีคำตอบที่มาจากขบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ยอมรับกันทั่วโลก ไม่ใช่การตีความตามความเห็นและอัตตาของคนในวงการที่ตั้งตัวเป็นผู้รู้ผู้ชำนาญและผูกขาดการชี้ขาดว่าเป็นพระสมเด็จโตหรือไม่ในขณะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2009
  20. karatekung

    karatekung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,624
    ค่าพลัง:
    +2,195
    ทำอย่างไรดีเมื่อมีคนดูพระเราไม่แท้
    ก่อนอื่นต้องแยกประเด็นให้ชัดก่อน เพราะการนำพระไปให้ตรวจสอบมีหลายแบบ
    แบบที่ ๑ เอาไปให้คนที่อยู่ในวงการซื้อขายพระเครื่องดู
    แบบนี้เรียกกันทั่วไปว่า “เอาพระไปเช็ค” ถ้าดูหลาย ๆ คนหลาย ๆ ที่ ก็เรียกว่า “เอาพระไปแห่” จุดมุ่งหมายลึก ๆ ในการเอาไปเช็ค นอกจากอยากรู้ว่าแท้หรือไม่ ก็มีความหวังอยู่เล็กน้อยว่าอาจเป็นพระที่มีคุณค่าทางพุทธพาณิชย์ ยิ่งถ้าเป็นพระสมเด็จก็ยังเผื่อฟลุ้คว่าพระตัวเองอาจเป็นพระหลักแสนหรือไม่ก็หลักล้าน
    แบบที่ ๒ เอาไปให้คนที่เรารู้จักเป็นส่วนตัวให้ตรวจสอบ
    ด้วยความอยากรู้ว่า พระของเราในความเห็นของเขาเป็นอย่างไร วิธีนี้เราต้องเชื่อถือเขาพอสมควรและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์แบบที่ฝรั่งเรียกว่า Conflict of Interest เพราะถ้าเป็นแบบนี้ ถึงจะสนิทกันอย่างไรก็ยังมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อยู่ เพราะเราสนิทเนื่องจากเราซื้อพระจากเขา พระที่เราเอาไปให้เขาดูก็ไม่ได้มาจากเขา ถ้าดูแล้วดี เขาก็เสียลูกค้า หรือลดโอกาสที่เราจะซื้อพระจากเขาคนเดียวลง ยิ่งถ้าไปแห่ประเภทว่าเขาจะซื้อหรือไม่ ก็ไม่ใช่แบบที่ ๑ แล้ว เพราะไม่มีความอยากรู้เท่าไรนัก แต่อยากจะขายพระตัวเองมากกว่า
    เราก็ต้องเชื่อในภูมิความรู้ของคนที่เราเอาพระไปให้เขาตรวจสอบพอสมควรว่าเขารู้เรื่องพระประเภทนี้ ไม่ใช่เขาชำนาญพระเนื้อดิน เรากลับเอาพระเนื้อผงไปถาม เขาอาจต้องวางภูมิเป็นผู้รู้และตัดสินพระเราเพื่อรักษาหน้าของเขาก็เป็นได้
    แบบที่ ๓ป็นผลพลอยได้จากการอวดพระให้คนอื่น
    ซึ่งอาจเป็นคนคุ้นกัน หรือคนเพิ่งรู้จักกันก็ได้ วิธีนี้ไม่ซีเรียสนักทั้งเจ้าของพระและคนที่ดูให้ เพราะหัวอกคนเล่นพระก็อดที่จะควักพระที่เราใส่ขึ้นคอโชว์คนอื่น และอยากรู้ว่าคนอื่นเขาใส่พระอะไรมา เหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนกันดูพระ วิจารณ์กันแบบแสดงความเห็นส่วนตัวทั่วไปมากกว่าที่จะถือเป็นจริง เพราะบางคนอาจเกรงใจไม่บอกความรู้สึกตัวเองตรง ๆ แต่บางคนก็พูดตรง ๆ เหมือนกันว่าเขาชอบหรือไม่ชอบ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะมีคำพูดที่นักเล่นพระรุ่นเก่าพูดกันมานานแล้วว่า “เล่นแค่ชอบ” อย่าไปเอาจริงเอาจังกันนัก ยกเว้นยุคนี้ที่ราคาพระวิ่งไม่หยุด ทำให้ทุกคนที่มีพระหรือซื้อพระราคาแพง ๆ ต้องหวั่นไหวกับคำวิจารณ์เป็นพิเศษ ใครว่าพระตัวเองไม่ดีไม่ได้ กลับไปบ้านคิดมากนอนไม่หลับก็มี
    พระทั้ง ๔ องค์นี้ผู้ทำนำไปตรวจสอบตามแบบที่ ๒ คือผู้หลักผู้ใหญ่ท่านนี้เป็นนักเล่นพระรุ่นเก่า และมีความรู้เรื่องพระเนื้อผงดีมาก
    การนำพระไปตรวจสอบทั้ง ๓ วิธีนี้ เป็นการเปิดใจให้กว้างเพื่อจะได้คำวิจารณ์หรือหนักหน่อยก็เพื่อผลการทดสอบอย่างเป็นวิชาการ เป็นสิ่งที่นักเล่นพระสมเด็จทุกคนควรมี เพราะเราจะได้ไม่เล่นพระคนเดียว หรือเล่นในกลุ่มเดียว
    ทีนี้เราจะทำอย่างไรดี เมื่อมีคนดูพระเราไม่ดี ไม่ว่าจะในแบบใดแบบหนึ่งของทั้ง ๓ แบบที่เอ่ยมาข้างต้น
    ประการแรก อย่าเพิ่งตกใจ ต้องคิดว่าเป็นเรื่องปกติ
    ก็ต้องอาศัยคำโบราณอีกนั่นแหละที่ว่า “ฟังหูไว้หู” ความจริงแล้วการนำพระไปตรวจสอบก็เหมือน “การเล่นพระด้วยหู” เพราะเราต้องฟังคนที่ตรวจสอบบอกผลการตรวจสอบให้เราฟัง ส่วนใหญ่เขาจะไม่อธิบายให้เรารู้ว่า “ไม่ดี” “ไม่แท้” ตรงไหน บางครั้งก็ไม่เหมาะที่จะคะยั้นคะยอถามเขาว่า “แล้วมันไม่แท้ตรงไหน” เพราะถ้าไม่คุ้นกัน ถามไปถามมาอาจเสียความสัมพันธ์ที่ดีก็เป็นได้
    อย่างผู้ใหญ่ท่านนี้ก็ไม่บอกเหมือนกัน อาจเป็นนิสัยของท่านเพราะเป็นคนพูดน้อยอยู่แล้ว รวมทั้งสั่งสมความรู้และประสบการณ์มามาก จนเกิด “จิตวิญญาณ” ที่เฉียบขาดในการส่องพระ และสามารถตัดสินได้ทันที เมื่อส่องดูด้วยกล้องดูพระและพบพระแบบที่ขัดต่อ “จิตวิญญาณ” ในการดูพระ ก็จะแสดงอาการ “ไม่ชอบ” ขึ้นทันทีโดยอัตโนมัติ
    ประการที่สอง ถามตัวเองว่าเราควรจะเชื่อเขาได้แค่ไหน
    ภูมิความรู้เขามีมากน้อยเพียงไร ข้อสำคัญที่สุดก็คือ “เขาพูดความจริงทั้งหมดหรือเปล่า” มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือไม่ มีวาระแอบแฝงหรือเปล่า แล้วใช้วิจารณญาณตัวเอง ให้คะแนนเขาบ้างว่าเราจะเชื่อเขาเพียงไร
    ในกรณีพระ ๔ องค์ ผู้ทำเชื่อผู้ใหญ่ท่านนี้ ๑๐๐% เรื่องความจริงใจและไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง
    ในกรณีภูมิความรู้ผู้ทำก็เชื่อด้วยความสนิทใจว่าท่านเป็นผู้รู้ แต่ก็ไม่ถึงกับเชื่อท่าน ๑๐๐%
    ทั้งนี้เพราะพระทั้ง ๔ องค์เป็นของผู้ทำ ผู้ทำส่องพระทั้งตอนที่ได้มาใหม่ ๆ เพราะต้องตัดสินใจว่าจะเช่าบูชาหรือไม่ อีกทั้งก่อนจะนำไปตรวจสอบก็ทำการบ้านมาก่อนคือส่องดูให้แน่ใจ และเมื่อดูไม่ดีก็กลับมาส่องต่อที่บ้าน
    ประการที่สาม เปรียบเหมือนคดีทางศาลคดีหนึ่ง เราเป็นเจ้าของพระก็เหมือนทนายโจทก์ ผู้ตรวจสอบท่านนี้ก็เหมือนผู้พิพากษา
    พระของเราก็คือรูปคดีที่เราเตรียมมาเสนอ และคิดว่าน่าจะใช่ น่าชนะ เมื่อท่านพิพากษาว่าพระเราไม่ดี ก็เหมือนตัดสินว่าเราแพ้ เราก็ต้องถือว่าท่านเป็นเพียงศาลชั้นต้น
    ในฐานะทนาย เรามีความเห็นต่างได้ เราต้องใช้วิจารณญาณว่า เราจะอุทธรณ์หรือไม่ เพราะการอุทธรณ์ก็คือยื่นเรื่องให้ผู้พิพากษาคนใหม่ตัดสินในชั้นอุทธรณ์ ไม่ใช่ผู้พิพากษาคนเดิม หรือเราอาจจะยอมรับคำตัดสินและไม่ติดใจที่จะเป็นความต่อไป
    ในบางคดีเราอาจมั่นใจในรูปคดีถึงขนาดว่าถ้าอุทธรณ์แล้วศาลอุทธรณ์ตัดสินให้เราแพ้อีก เราก็ต้องฎีกาไปให้สุดขบวนการ
    ประการที่สี่ เปรียบแบบเราไม่สบายไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง หมอคนแรกตรวจแล้วลงความเห็นว่าเราเป็นโรคชนิดหนึ่งอาจต้องผ่าตัด ก็เหมือนผู้เชี่ยวชาญด้านพระ คนแรกดูว่าพระเราไม่ดี เราอาจเชื่อก็ได้หรือ อาจขออนุญาตนำผลการตรวจและทดสอบด้วยเครื่องมือทางแพทย์ไปถามหมอคนที่สองเพื่อฟังความเห็นที่ ๒ หรือ Second Opinion ก่อนตัดสินใจ
    บางกรณีแม้หมอคนที่สองวินิจฉัยโรคแบบเดียวกัน เรายังอาจไปถามหมอคนที่ ๓ ที่เราคิดว่ามีความชำนาญเกี่ยวกับโรคแบบเดียวกันนี้ เพื่อให้เป็นความเห็นที่ ๓ หรือ Third Opinion ก็ไม่แปลกอะไร เพราะร่างกายเป็นของเรา
    ทีนี้มาดูพระ ๔ องค์นี้บ้าง ผู้อ่านจะได้พบว่า ผู้ทำคิดอย่างไรเวลามีคนดูพระเราไม่แท้
    องค์ที่ ๑
    [​IMG]
    ด้านหน้า
    [​IMG]
    ด้านหลัง
    [​IMG]
    ด้านบน
    [​IMG]
    ด้านล่าง
    [​IMG]
    ด้านซ้าย
    [​IMG]
    ด้านขวา​

    คำอธิบาย :
    เป็นพระสมเด็จพิมพ์พระประธาน ไม่มีคราบกรุ ไม่มีสภาพการใช้บูชา เนื้อขาว ด้านหน้ามีคราบสีเหลืองอ่อนบาง ๆ บริเวณหน้าอก ซุ้มขวาด้านล่างและฐานชั้นล่าง ด้านหลังมีคราบบาง ๆ ทั่วองค์ ขอบทั้งสี่ด้านเว้าเป็นแอ่งเล้กน้อยไม่ปรากฎรอยตอกตัด
    คำตัดสิน :
    ไม่ดี ใช้เวลา ๒ – ๓ วินาที
    ข้อสันนิษฐาน :
    1. ผู้ใหญ่ท่านนี้ดูเนื้อพระเป็นหลัก
    2. พระไม่ปรากฏมวลสาร
    3. น้ำหนักเบา
    4. พิมพ์ไม่ดี
    ข้อโต้แย้ง :
    ไม่มี ยอมรับในคำตัดสิน
    อยากบอกท่านผู้อ่านว่าอย่าไปให้ความสำคัญกับคราบหินปูนนัก เพราะคัลไซต์ (Calcite) เป็นผลึกที่ต้องใช้เวลาในการเกิดก็จริง แต่ก็เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ พวกสร้างพระไม่แท้เขามีเทคนิคและความอดทนที่จะรอคอยให้พระที่ทำเกิดคราบความเก่าได้ ยิ่งในกรณี “พระเก๊เก่า” ก็มีอายุสี่ห้าสิบปีขึ้นมาแล้ว และยุคนั้นนิยมใช้สูตรทำพระเนื้อผงแบบโบราณ คือใช้ปูนเปลือกหอย ดังนั้นเวลาผ่านไปผลึกหินปูนย่อมเกิดขึ้นได้

    องค์ที่ ๒
    [​IMG]
    ด้านหน้า
    [​IMG]
    ด้านหลัง
    [​IMG]
    ด้านบน
    [​IMG]
    ด้านล่าง
    [​IMG]
    ด้านซ้าย
    [​IMG]
    ด้านขวา​
    คำอธิบาย :
    เป็นพระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูม ไม่มีสภาพการใช้บูชา เนื้อขาวอมเหลือง ด้านหน้ามีคราบบาง ๆ สีเหลืองแกมน้ำตาลของน้ำมันตังอิ้วที่ลอยขึ้นปกคลุมทั่วองค์ โดยเฉพาะบริเวณหน้า เข่าขวา ซุ้มด้านขวา ผนังด้านซ้าย หัวฐานด้านขวาทั้งสามฐาน คราบแป้งเห็นทั่วองค์เหมือนกันโดยเฉพาะบริเวณลำตัว ด้านหลังมีคราบน้อย ขอบซ้ายขวามีคราบให้เห็นบ้าง
    คำตัดสิน :
    ไม่ดี ใช้เวลา ๕ วินาที
    ข้อสันนิษฐาน :
    1. ผู้ใหญ่ท่านี้ดูเนื้อพระเป็นหลัก
    2. พระไม่ปรากฏมวลสาร
    ข้อโต้แย้ง :

    มี ยังไงก็ต้องอุทธรณ์ อาจถึงฎีกาด้วย
    • <LI class=BodyText>คราบเป็นแบบคราบจากน้ำมันตังอิ้ว คล้ายคราบพระหลวงปู่หินที่ลงในเสน่ห์พระเนื้อผงตอนแรก <LI class=BodyText>พิมพ์ถูก เป็นพิมพ์วัดระฆัง <LI class=BodyText>พระมีน้ำหนัก
    • ไม่ใช่พระที่อยู่ในส่วนยอดของปิระมิด คือไม่ใช่พระสมเด็จโตแต่เป็นพระที่ไม่ผ่านการบูชา และน่าจะสร้างในยุคก่อนหลวงปู่หิน อาจเป็นพระที่อยู่ในส่วนบนของปิระมิด คือสร้างไม่เกิน พ.ศ. ๒๔๖๕ โดยเกจิอาจารย์สายวัดระฆังที่ไม่มีบันทึก เช่น พระธรรมถาวร หลวงตาล้ายก็เป็นได้
    องค์ที่ ๓
    [​IMG]
    ด้านหน้า
    [​IMG]
    ด้านหลัง
    [​IMG]
    ด้านบน
    [​IMG]
    ด้านล่าง
    [​IMG]
    ด้านซ้าย
    [​IMG]
    ด้านขวา​

    คำอธิบาย :
    เป็นพระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ ไม่มีสภาพการใช้บูชา ด้านหน้าปรากฏคราบกรุสีน้ำตาลบริเวณด้านบนและด้านล่าง ลำตัวและฐานกะเทาะเห็นเนื้อพระ ด้านหลังเห็นคราบกรุคลุมเต็ม ขอบทั้งสี่ด้านมีคราบกรุคลุม บางแห่งมีรอยกะเทาะ
    คำตัดสิน :
    ไม่ดี ใช้เวลา ๕ วินาที
    ข้อสันนิษฐาน :
    1. ผู้ใหญ่ท่านี้ดูเนื้อพระเป็นหลัก
    2. พระไม่ปรากฏมวลสาร

    ข้อโต้แย้ง : มี พระคราบกรุแบบนี้ต้องอุทธรณ์
    1. <LI class=BodyText>คราบกรุดูดีมาก โดยเฉพาะบริเวณด้านหลัง <LI class=BodyText>พิมพ์ถูก น่าจะเป็นพระวัดระฆังฝากกรุบางขุนพรหม และถูก “ตกพระ” หรือ “ขุดกรุ” หลังน้ำท่วมปี ๒๔๘๕ <LI class=BodyText>พระมีน้ำหนัก <LI class=BodyText>เห็นด้วยกับผู้ใหญ่ท่านนี้เรื่องเนื้อพระไม่มีมวลสาร เพราะพระองค์นี้ถ้าแท้ก็ต้องเป็นพระสมเด็จโตและอยู่ในยอดปิระมิด ถึงอาจโต้แย้งว่าเป็นพระบางขุนพรหมซึ่งมีมวลสารน้อย แต่ก็ต้องเห็นมวลสารบ้าง จะว่าเป็นกรุวัดราชสิงขรก็ไม่น่าใช่ เพราะคราบกรุวัดราชสิงขรไม่ใช่แบบนี้
    2. อุทธรณ์อย่างเดียว เพราะชอบคราบกรุ แต่ใม่ฎีกาเพราะไม่ชอบที่พระไม่มีมวลสาร
    องค์ที่ ๔
    [​IMG]
    ด้านหน้า
    [​IMG]
    ด้านหลัง
    [​IMG]
    ด้านบน
    [​IMG]
    ด้านล่าง
    [​IMG]
    ด้านซ้าย
    [​IMG]
    ด้านขวา​

    คำอธิบาย :
    เป็นพระสมเด็จเกศไชโยพิมพ์เจ็ดชั้น ไม่มีคราบกรุ ไม่มีสภาพการใช้บูชา เนื้อขาว ด้านหน้ามีคราบขาวปนเหลืองประปรายทั่วองค์ ด้านหลังมีคราบเหลืองค่อนข้างหนาหลายแห่ง ขอบมีคราบบาง ๆ
    คำตัดสิน :
    ไม่ดี ใช้เวลา ๒ – ๓ วินาที
    ข้อสันนิษฐาน :
    1. ผู้ใหญ่ท่านี้ดูเนื้อพระเป็นหลัก
    2. พระไม่ปรากฏมวลสาร
    ข้อโต้แย้ง :
    ไม่มี ยอมรับในคำตัดสิน
    พูดถึงพิมพ์แล้ว พระองค์นี้เป็นพระถูกพิมพ์และได้น้ำหนัก แต่พระค่อนข้างตื้น บางท่านอาจบอกว่าพระสมเด็จเกศไชโยส่วนใหญ่จะตื้น นั่นก็เป็นความจริง แต่ลำพังพิมพ์ถูกอย่างเดียวไม่พอ ต้องดูส่วนประกอบอย่างอื่น คราบที่เห็นดูดีก็จริง แต่เป็นคราบขาวนวล ไม่ใช่คราบสีเหลืองอมน้ำตาลอย่างองค์ที่ ๒ ซึ่งเป็นคราบมาตรฐานของพระสมเด็จโต ครั้นจะว่าไม่ใช่พระยุคสมเด็จโต ก็ยังไม่มีที่ลง เพราะถ้าจะบอกว่าเป็นพระวัดโพธิ์เกรียบก็ไม่ใช่ เพราะคราบกรุก็ต้องมี ความเป็นไปได้ก็คืออาจเป็นพระในส่วนกลางของปิระมิดคือสร้างหลัง พ.ศ. ๒๔๖๕ อาจเป็นเกจิอาจารย์ท่านใดแถว ๆ อ่างทอง แต่ไม่ใช่วัดเกศไชโย เพราะที่วัดไชโยรุ่นสร้างเขื่อน ปี ๒๔๘๕ และ ๒๔๙๕ เป็นพระที่มีมวลสารครบถ้วนสวยงาม ไม่ใช่เนื้อแบบนี้

    สรุป
    ๑. นักเล่นพระสมเด็จสมัยก่อน ดูเนื้อเป็นหลัก ฉะนั้นเวลาตรวจสอบพระเนื้อผงจะใช้เวลาไม่นาน เนื่องจากใช้หลักการนี้มาตั้งแต่แรก และสั่งสมประสบการณ์ กลั่น กรอง เป็น “ตะแกรงร่อนพระไม่แท้” ที่มีประสิทธิภาพมาก ส่องแผล็บเดียวก็บอกได้ว่า “ไม่ผ่าน” ถ้าเนื้อถูกก็จะใช้เวลาส่องนานขึ้น เพื่อเพลิดเพลินกับความหลากหลายและงดงามของมวลสาร
    ๒. สมัยนี้เซียนใหญ่ใช้วิธีดูพิมพ์ และพยายามบอกให้พวกเราดูพิมพ์ เพราะจะได้ง่ายขึ้นสำหรับพวกเขาที่จะหาพระในยอดปิระมิด ลำพังดูพระสมเด็จด้วยพิมพ์จะช้ากว่าดูเนื้อ เพราะดูเนื้อไม่สนใจพิมพ์เท่าใดนัก
    เซียนพระโดยเฉพาะเซียนหนุ่ม ๆ ที่บอกว่า “ดูแท้ตาเปล่า” ส่วนใหญ่ราคาคุยทั้งนั้น หรือไม่ก็มีภาพพระแท้แบบพระองค์ละสิบล้านในสมองอย่างเดียว ใครส่งอะไรมาให้ดูจึงไม่ใช่ไปหมด
    ๓. วิจารณญาณของเราผู้เป็นเจ้าของสำคัญที่สุด พระเป็นของเรา อยู่กับเรา จะส่องดูพิจารณาให้ถ่องแท้นานสักเท่าใดก็ได้ เพียงแต่ต้องหัดดูและสร้าง “จิตวิญญาณ” ในการรับรู้เฉพาะตัว พยายามหาเหตุผลที่จะชอบและไม่ชอบไม่ว่าเนื้อหรือพิมพ์ แล้วสรุปเป็นความเห็นส่วนตัวว่ารู้สึกกับพระองค์นี้อย่างไร

    ๔. ต้องวิเคราะห์ผู้ตัดสินด้วยว่าเขาชำนาญแค่ไหน มีเจตนาอย่างไร เชื่อเขาได้หรือเปล่า มีวาระแอบแฝง (Hidden Agenda) หรือไม่ กรณีของผู้ทำจะเชื่อในผู้ใหญ่ท่านนี้อย่างเต็มที่ แต่ผู้ทำก็มีเหตุผลที่จะโต้แย้งในพระบางองค์ที่มีความเห็นแตกต่าง เพราะพระเป็นของผู้ทำ รู้ที่มาที่ไปชัดเจนมากกว่าผู้ตรวจสอบ
    ๕. บางครั้งก็อยู่ที่ตั้งโจทก์ว่าพระสมเด็จองค์นี้อยู่ในส่วนใดของปิระมิด คนทั่วไปยังไม่เข้าใจในปิระมิดแห่งพระเครื่องดีพอ ทำให้พลาดพระดี ๆ ที่เป็นพระแท้ตัวอย่างเช่น พระองค์ที่ ๒ เป็นต้น อีกประการหนึ่งวงการพระในปัจจุบันใจแคบและมีวิสัยทัศน์ที่ไม่เปิดกว้าง ไม่สนใจที่มาที่ไปและประวัติศาสตร์ของการสร้างเนื้อผงตระกูลสมเด็จ เล็งแต่พระที่มีอยู่ในส่วนยอดปิระมิดซึ่งเป็นพระสมเด็จโตเพียงส่วนน้อย และจ้องที่จะโปรโมทพระในกลุ่มของตัวเอง ไม่สนใจที่จะศึกษาพระสมเด็จอื่น ๆ ที่อยู่ล่างลงมา ไม่ว่าในส่วนบนหรือส่วนกลางของปิระมิด
    ๖. คำสอนของคนรุ่นเก่ายังใช้ได้เสมอ
    “เรียนให้รู้ ดูให้เป็น เล่นแค่ชอบ”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...