ถุงเงินของเศรษฐี

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย birdkub, 12 มกราคม 2010.

  1. birdkub

    birdkub เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +401
    เศรษฐีขี้เหนียวคนหนึ่งได้ทำถุงเงินหล่นหายระหว่างที่ไปทำธุระนอก เมือง ภรรยาของเขาจึงบอกให้เขาติดประกาศไว้ทั่วหมู่บ้านว่า “ถ้าใครเก็บถุงเงินได้ และนำมาคืนให้ จะได้รับเงินรางวัลอย่างงาม”
    สามวันผ่านไป มีพ่อค้าคนหนึ่งนำถุงเงินมาที่บ้านของเศรษฐี เพื่อคืนให้ แต่ทันทีที่เศรษฐีเห็นเป็นพ่อค้า ก็เกิดความโลภ อยากได้มากกว่าเดิม และไม่อยากเสียเงินรางวัลตามที่ประกาศไว้ จึงแกล้งบอกไปว่า
    “ถุงใบนี้ที่เจ้าเอามา มีแค่เงินอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้ว ถุงใบนี้มีเพชร พลอย อีกมาก เจ้าต้องขโมยไปแน่ๆ ”
    เมื่อพ่อค้ายืนยันว่า ไม่ได้เอาไป เศรษฐีก็แกล้งทำเป็นโมโห และเรียกให้คนใช้ในบ้านมาจับกุมพ่อค้าไว้
    “ถ้าอย่างนั้น ข้าจะต้องส่งเจ้าไปให้ท่านเจ้าเมืองตัดสิน” เศรษฐีพูดพร้อมกับสั่งคนใช้ให้นำตัวพ่อค้าไปหาท่านเจ้าเมือง
    หลังจากที่ท่านเจ้าเมืองฟังเรื่องราวทั้งหมดจากเศรษฐีและพ่อค้าแล้ว ก็รู้ทันทีว่า เศรษฐีเป็นคนไม่ซื่อ และโลภมาก
    ท่านเจ้าเมืองนั่งคิดอุบายเพื่อหาทางตัดสินอยู่สักครู่ ก็เอ่ยขึ้นว่า
    “ท่านเศรษฐี...ถุงเงินใบนี้เป็นถุงเงินที่ท่านทำหาย ใช่หรือไม่”
    “ถุงเงินของข้าที่หายไปนั้น นอกจากเงินแล้ว ยังมีเพชรพลอยอีกด้วย” เศรษฐีตอบด้วยความเจ้าเล่ห์
    ท่านเจ้าเมืองจึงถามต่อไปว่า “แสดงว่าถุงเงินใบนี้ไม่ใช่ของท่าน”
    “ถ้าเป็นของข้า ต้องมีทั้งเงินและเพชรพลอย” เศรษฐีกล่าวยืนยันด้วยความโลภ
    “หากเป็นดังที่ท่านกล่าวมา ก็แสดงว่าถุงเงินนี้ ไม่ใช่ของท่าน เพราะฉะนั้น พ่อค้าก็ไม่มีความผิด ข้าจะเก็บถุงเงินนี้ไว้ และให้ติดประกาศแจ้ง จนกว่าเจ้าของตัวจริงจะมารับคืนไป แต่ถ้าไม่มีผู้ใดมารับในกำหนด 1 เดือน เงินนี้จะตกเป็นของคลังหลวง”
    ฝ่ายเศรษฐีได้ยินเจ้าเมืองตัดสินดังนั้น ก็ตกตะลึง รู้สึกเสียดายเงินเป็นอย่างมาก ขณะที่พ่อค้าแสดงความดีใจ ก้มลงกราบท่านเจ้าเมืองผู้ยุติธรรม
    .......
    คน โบราณได้กล่าวสอนลูกหลานไว้ว่า “โลภมาก มักลาภหาย” เพราะเมื่อความโลภที่เป็นกิเลสเข้าครอบงำจิตใจของบุคคลใดก็ตาม ย่อมทำให้บุคคลนั้นสามารถกระทำความชั่วได้ทุกสิ่ง ทั้งพูดชั่ว ทำชั่ว คิดชั่ว เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการนั้น แต่ผลสุดท้ายก็ต้องรับกรรมชั่วที่ตนได้ทำไว้นั่นเอง

    (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 102 พ.ค. 52 โดยไม้หอม)
     

แชร์หน้านี้

Loading...