ทรงพระดำริว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 30 มีนาคม 2012.

  1. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐
    [๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
    ได้ทรงพระดำริว่า ไฉนหนอเราพึงแสดงธรรม ดูกรภิกษุ ทั้งหลายลำดับนั้น
    พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้ทรง พระดำริว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้
    เป็นธรรมลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้
    เฉพาะบัณฑิต ส่วนหมู่สัตว์นี้ มีอาลัย เป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย
    ก็อันหมู่สัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่ ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ยากที่จะเห็นได้
    ซึ่งฐานะนี้ คือ ปัจจัย แห่งสภาวธรรมอันเป็นที่อาศัยกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุบาท) ยากที่จะเห็นได้
    ซึ่งฐานะ แม้นี้คือพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไป
    แห่งตัณหา คลายความกำหนัด ดับทุกข์ ก็และเราพึงแสดงธรรม แต่สัตว์เหล่าอื่นไม่พึงรู้
    ทั่วถึงธรรมของเรา นั้นพึงเป็นความลำบากแก่เรา นั้นพึง เป็นความเดือดร้อนแก่เรา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า คาถาทั้งหลายที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักซึ่งพระองค์ มิได้เคยสดับมาแล้วแต่ก่อน
    ได้แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ดังนี้
    บัดนี้ ไม่ควรเลยที่จะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุ แล้วโดยแสนยาก
    ธรรมนี้อันสัตว์ที่ถูกราคะและโทสะครอบงำแล้ว ไม่ตรัสรู้ได้โดย
    ง่าย สัตว์ที่ถูกราคะย้อมไว้ ถูกกองแห่งความมืดหุ้มห่อไว้แล้ว
    จักเห็นไม่ได้ซึ่งธรรมที่มีปรกติไปทวนกระแส อันละเอียด ลึกซึ้ง
    เห็นได้ยาก เป็นอณู ฯ
     
  2. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๑๖๕/๔๙๔
    [๓๑๙] ชื่อว่า ใจ ในคำว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ ความว่า ใจ คือ จิต ใจ
    มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณ
    ธาตุที่เกิดแต่ผัสสะ
    เป็นต้นนั้น. ท่านคิดนึกถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยจิตว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่
    เที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ เพราะ
    ฉะนั้น จึงชื่อว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ.
     
  3. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๒๑/๔๙๔
    คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ ๒
    ว่าด้วยนรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย
    [๓๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว นรชนเมื่อตั้งอยู่
    ก็หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้น ย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะกามทั้งหลายในโลก
    ไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย.
    [๓๑] คำว่า นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้วมีความว่า
    ทรงตรัสคำว่า เป็นผู้ข้องไว้ก่อน. ก็แต่ว่าถ้ำควรกล่าวก่อน กายเรียกว่า ถ้ำ.คำว่า กายก็ดี ถ้ำ
    ก็ดี ร่างกายก็ดี ร่างกายของตนก็ดี เรือก็ดี รถก็ดี ธงก็ดี จอมปลวกก็ดี รังก็ดี เมืองก็ดี
    กระท่อมก็ดี ฝีก็ดี หม้อก็ดี เหล่านี้เป็นชื่อของกาย
    .

    ----
    ขอให้ท่านทั้งหลายเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
     
  4. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    หมวด ๓

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๖๓/๒๘๘
    หมวด ๓
    [๒๒๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๓ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น
    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมด
    ด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่
    นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมากเพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์
    แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมี
    ประเภทละ ๓ๆ เป็นไฉน
    อกุศลมูล ๓ อย่าง
    ๑. อกุศลมูล คือ โลภะ
    ๒. อกุศลมูล คือ โทสะ
    ๓. อกุศลมูล คือ โมหะ
    กุศลมูล ๓ อย่าง
    ๑. กุศลมูล คือ อโลภะ
    ๒. กุศลมูล คือ อโทสะ
    ๓. กุศลมูล คือ อโมหะ
    ทุจริต ๓ อย่าง
    ๑. กายทุจริต [ความประพฤติชั่วทางกาย]
    ๒. วจีทุจริต [ความประพฤติชั่วทางวาจา]
    ๓. มโนทุจริต [ความประพฤติชั่วทางใจ]
    สุจริต ๓ อย่าง
    ๑. กายสุจริต [ความประพฤติชอบทางกาย]
    ๒. วจีสุจริต [ความประพฤติชอบทางวาจา]
    ๓. มโนสุจริต [ความประพฤติชอบทางใจ]
    อกุศลวิตก ๓ อย่าง
    ๑. กามวิตก [ความตริในทางกาม]
    ๒. พยาปาทวิตก [ความตริในทางพยาบาท]
    ๓. วิหิงสาวิตก [ความตริในทางเบียดเบียน]
    กุศลวิตก ๓ อย่าง
    ๑. เนกขัมมวิตก [ความตริในทางออกจากกาม]
    ๒. อัพยาปาทวิตก [ความตริในทางไม่พยาบาท]
    ๓. อวิหิงสาวิตก [ความตริในทางไม่เบียดเบียน]
    อกุศลสังกัปปะ ๓ อย่าง
    ๑. กามสังกัปปะ [ความดำริในทางกาม]
    ๒. พยาปาทสังกัปปะ [ความดำริในทางพยาบาท]
    ๓. วิหิงสาสังกัปปะ [ความดำริในทางเบียดเบียน]
    กุศลสังกัปปะ ๓ อย่าง
    ๑. เนกขัมมสังกัปปะ [ความดำริในทางออกจากกาม]
    ๒. อัพยาปาทสังกัปปะ [ความดำริในทางไม่พยาบาท]
    ๓. อวิหิงสาสังกัปปะ [ความดำริในทางไม่เบียดเบียน]
    อกุศลสัญญา ๓ อย่าง
    ๑. กามสัญญา [ความจำได้ในทางกาม]
    ๒. พยาปาทสัญญา [ความจำได้ในทางพยาบาท]
    ๓. วิหิงสาสัญญา [ความจำได้ในทางเบียดเบียน]
    กุศลสัญญา ๓ อย่าง
    ๑. เนกขัมมสัญญา [ความจำได้ในทางออกจากกาม]
    ๒. อัพยาปาทสัญญา [ความจำได้ในทางไม่พยาบาท]
    ๓. อวิหิงสาสัญญา [ความจำได้ในทางไม่เบียดเบียน]
    อกุศลธาตุ ๓ อย่าง
    ๑. กามธาตุ [ธาตุคือกาม]
    ๒. พยาปาทธาตุ [ธาตุคือความพยาบาท]
    ๓. วิหิงสาธาตุ [ธาตุคือความเบียดเบียน]
    กุศลธาตุ ๓ อย่าง
    ๑. เนกขัมมธาตุ [ธาตุคือความออกจากกาม]
    ๒. อัพยาปาทธาตุ [ธาตุคือความไม่พยาบาท]
    ๓. อวิหิงสาธาตุ [ธาตุคือความไม่เบียดเบียน]
    ธาตุอีก ๓ อย่าง
    ๑. กามธาตุ [ธาตุคือกาม]
    ๒. รูปธาตุ [ธาตุคือรูป]
    ๓. อรูปธาตุ [ธาตุคือสิ่งที่ไม่มีรูป]
    ธาตุอีก ๓ อย่าง
    ๑. รูปธาตุ [ธาตุคือรูป]
    ๒. อรูปธาตุ [ธาตุคือสิ่งที่ไม่มีรูป]
    ๓. นิโรธธาตุ [ธาตุคือความดับทุกข์]
    ธาตุอีก ๓ อย่าง
    ๑. หีนธาตุ [ธาตุอย่างเลว]
    ๒. มัชฌิมธาตุ [ธาตุอย่างกลาง]
    ๓. ปณีตธาตุ [ธาตุอย่างประณีต]
    ตัณหา ๓ อย่าง
    ๑. กามตัณหา [ตัณหาในกาม]
    ๒. ภวตัณหา [ตัณหาในภพ]
    ๓. วิภวตัณหา [ตัณหาในปราศจากภพ]
    ตัณหาอีก ๓ อย่าง
    ๑. กามตัณหา [ตัณหาในกาม]
    ๒. รูปตัณหา [ตัณหาในรูป]
    ๓. อรูปตัณหา [ตัณหาในสิ่งที่ไม่มีรูป]
    ตัณหาอีก ๓ อย่าง
    ๑. รูปตัณหา [ตัณหาในรูป]
    ๒. อรูปตัณหา [ตัณหาในสิ่งที่ไม่มีรูป]
    ๓. นิโรธตัณหา [ตัณหาในความดับสูญ] [อุจเฉททิฏฐิ]
    สัญโญชน์ ๓ อย่าง
    ๑. สักกายทิฏฐิ [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน]
    ๒. วิจิกิจฉา [ความลังเลสงสัย]
    ๓. สีลัพพตปรามาส [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยอำนาจศีลพรต]
    อาสวะ ๓ อย่าง
    ๑. กามาสวะ [อาสวะเป็นเหตุอยากได้]
    ๒. ภวาสวะ [อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น]
    ๓. อวิชชาสวะ [อาสวะคือความเขลา]
    ภพ ๓ อย่าง
    ๑. กามภพ [ภพที่เป็นกามาวจร]
    ๒. รูปภพ [ภพที่เป็นรูปาวจร]
    ๓. อรูปภพ [ภพที่เป็นอรูปาวจร]
    เอสนา ๓ อย่าง
    ๑. กาเมสนา [การแสวงหากาม]
    ๒. ภเวสนา [การแสวงหาภพ]
    ๓. พรหมจริเยสนา [การแสวงหาพรหมจรรย์]
    วิธา การวางท่า ๓ อย่าง
    ๑. เสยโยหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราประเสริฐกว่าเขา]
    ๒. สทิโสหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราเสมอกับเขา]
    ๓. หีโนหมสฺมีติวิธา [ถือว่าตัวเราเลวกว่าเขา]
    อัทธา ๓ อย่าง
    ๑. อดีตอัทธา [ระยะกาลที่เป็นส่วนอดีต]
    ๒. อนาคตอัทธา [ระยะกาลที่เป็นส่วนอนาคต]
    ๓. ปัจจุบันนอัทธา [ระยะกาลที่เป็นปัจจุบัน]
    อันตะ ๓ อย่าง
    ๑. สักกายอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นกายตน]
    ๒. สักกายสมุทยอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดกายตน]
    ๓. สักกายนิโรธอันตะ [ส่วนที่ถือว่าเป็นเครื่องดับกายตน]
    เวทนา ๓ อย่าง
    ๑. สุขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข]
    ๒. ทุกขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์]
    ๓. อทุกขมสุขเวทนา [ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข]
    ทุกขตา ๓ อย่าง
    ๑. ทุกขทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะทุกข์]
    ๒. สังขารทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะสังขาร]
    ๓. วิปริฌามทุกขตา [ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน]
    ราสี ๓ อย่าง
    ๑. มิจฉัตตนิยตราสี [กองคือความผิดที่แน่นอน]
    ๒. สัมมัตตนิยตราสี [กองคือความถูกที่แน่นอน]
    ๓. อนิยตราสี [กองคือความไม่แน่นอน]
    กังขา ๓ อย่าง
    ๑. ปรารภกาลที่ล่วงไปแล้วนานๆ แล้วสงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส
    ๒. ปรารภกาลที่ยังไม่มาถึงนานๆ แล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้
    ไม่เลื่อมใส
    ๓. ปรารภกาลปัจจุบันทุกวันนี้แล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส
    ข้อที่ไม่ต้องรักษาของพระตถาคต ๓ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีกายสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ
    ประพฤติชั่วทางกายที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆอย่าได้รู้ถึงความประพฤติ
    ชั่วทางกายของเรานี้ ดังนี้
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ
    ประพฤติชั่วทางวาจาที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆ อย่าได้รู้ถึงความประพฤติชั่ว
    ทาง
    วาจาของเรานี้ ดังนี้
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ
    ประพฤติชั่วทางใจที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆอย่าได้รู้ถึงความประพฤติ
    ชั่วทางใจของเรานี้ ดังนี้
    กิญจนะ ๓ อย่าง
    ๑. ราคกิญจนะ [เครื่องกังวลคือราคะ]
    ๒. โทสกิญจนะ [เครื่องกังวลคือโทสะ]
    ๓. โมหกิญจนะ [เครื่องกังวลคือโมหะ]
    อัคคี ๓ อย่าง
    ๑. ราคัคคิ [ไฟคือราคะ]
    ๒. โทสัคคิ [ไฟคือโทสะ]
    ๓. โมหัคคิ [ไฟคือโมหะ]
    อัคคีอีก ๓ อย่าง
    ๑. อาหุเนยยัคคิ [ไฟคืออาหุเนยยบุคคล]
    ๒. ทักขิเณยยัคคิ [ไฟคือทักขิเณยยบุคคล]
    ๓. คหปตัคคิ [ไฟคือคฤหบดี]
    รูปสังคหะ ๓ อย่าง
    ๑. สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป [รูปที่เป็นไปกับด้วยการเห็น ทั้งเป็นไปกับด้วยการกระทบ]
    ๒. อนิทัสสนสัปปฏิฆรูป [รูปที่ไม่มีการเห็น แต่เป็นไปกับด้วยการกระทบ]
    ๓. อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป [รูปที่ไม่เห็น ที่ไม่กระทบ]
    สังขาร ๓ อย่าง
    ๑. ปุญญาภิสังขาร [อภิสังขารคือบุญ]
    ๒. อปุญญาภิสังขาร [อภิสังขารคือบาป]
    ๓. อเนญชาภิสังขาร [อภิสังขารคืออเนญชา]
    บุคคล ๓ อย่าง
    ๑. เสกขบุคคล [บุคคลผู้ยังต้องศึกษา]
    ๒. อเสกขบุคคล [บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา]
    ๓. เนวเสกขนาเสกขบุคคล [บุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็ไม่ใช่ ผู้ไม่ต้องศึกษาก็ไม่
    ใช่]
    เถระ ๓ อย่าง
    ๑. ชาติเถระ [พระเถระโดยชาติ]
    ๒. ธรรมเถระ [พระเถระโดยธรรม]
    ๓. สมมติเถระ [พระเถระโดยสมมติ]
    ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง
    ๑. ทานมัย [บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน]
    ๒. สีลมัย [บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล]
    ๓. ภาวนามัย [บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา]
    เหตุสำหรับโจทน์ ๓ อย่าง
    ๑. ทิฏฺเฐน [ด้วยได้เห็น]
    ๒. สุเตน [ด้วยได้ยินได้ฟัง]
    ๓. ปริสงฺกาย [ด้วยความรังเกียจ]
    กามอุปบัติ ๓ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ประเภทที่มีกามปรากฏมีอยู่ สัตว์เหล่านั้น เมื่อกามปรากฏ
    แล้ว ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามทั้งหลายเช่นมนุษย์ เทพดาบางจำพวก และวินิบาตบาง
    จำพวก ฉะนั้น นี้เป็นกามอุปบัติข้อที่หนึ่ง
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ประเภทที่นิรมิตกามได้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นนิรมิตแล้วๆ
    ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามทั้งหลาย เช่นเทพดาเหล่านิมมานรตีฉะนั้น นี้เป็นกามอุปบัติ
    ข้อที่สอง
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ประเภทที่ผู้อื่นนิรมิตกามให้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้น ย่อมยัง
    อำนาจให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่นนิรมิตให้แล้ว เช่นเทพดาเหล่าปรนิมมิตวสวตี ฉะนั้น นี้เป็นกาม
    อุปบัติข้อที่สาม
    สุขอุปบัติ ๓ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นๆ แล้วย่อมอยู่เป็นสุขมีอยู่
    เช่น พวกเทพเหล่าพรหมกายิกา ฉะนั้น นี้เป็นสุขอุปบัติข้อที่หนึ่ง ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์
    เหล่านั้น บางครั้งบางคราว เปล่งอุทานว่า สุขหนอๆ ดังนี้ เช่น พวกเทพเหล่าอาภัสสรา
    ฉะนั้น นี้เป็นสุขอุปบัติข้อที่สอง ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์
    เหล่านั้นสันโดษ เสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น พวกเทพเหล่าสุภกิณหา ฉะนั้น
    นี้เป็นสุขอุปบัติ ข้อที่สาม ฯ
    ปัญญา ๓ อย่าง
    ๑. เสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ]
    ๒. อเสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระอเสขะ]
    ๓. เนวเสกขานาเสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะก็ไม่ใช่ของพระอเสขะ
    ก็ไม่ใช่] ฯ
    ปัญญาอีก ๓ อย่าง
    ๑. จินตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด]
    ๒. สุตามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง]
    ๓. ภาวนามยปัญญา [ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม] ฯ
    อาวุธ ๓ อย่าง
    ๑. สุตาวุธ [อาวุธคือการฟัง]
    ๒. ปวิเวกาวุธ [อาวุธคือความสงัด]
    ๓. ปัญญาวุธ [อาวุธคือปัญญา] ฯ
    อินทรีย์ ๓ อย่าง
    ๑. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ [อินทรีย์ที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติด้วยคิดว่าเราจักรู้ธรรม
    ที่
    เรายังไม่รู้]
    ๒. อัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือความตรัสรู้]
    ๓. อัญญาตาวินทรีย์ [อินทรีย์คือความรู้ทั่วถึง] ฯ
    จักษุ ๓ อย่าง
    ๑. มังสจักขุ [ตาเนื้อ ตาปรกติ]
    ๒. ทิพพจักขุ [จักษุทิพย์]
    ๓. ปัญญาจักขุ [จักษุคือปัญญา] ฯ
    สิกขา ๓ อย่าง
    ๑. อธิศีลสิกขา [สิกขาคือศีลยิ่ง]
    ๒. อธิจิตตสิกขา [สิกขาคือจิตยิ่ง]
    ๓. อธิปัญญาสิกขา [สิกขาคือปัญญายิ่ง] ฯ
    ภาวนา ๓ อย่าง
    ๑. กายภาวนา [การอบรมกาย]
    ๒. จิตตภาวนา [การอบรมจิต]
    ๓. ปัญญาภาวนา [การอบรมปัญญา] ฯ
    อนุตตริยะ ๓ อย่าง
    ๑. ทัสสนานุตตริยะ [ความเห็นอย่างยอดเยี่ยม]
    ๒. ปฏิปทานุตตริยะ [ความปฏิบัติอย่างยอดเยี่ยม]
    ๓. วิมุตตานุตตริยะ [ความพ้นอย่างยอดเยี่ยม] ฯ
    สมาธิ ๓ อย่าง
    ๑. สวิตักกวิจารสมาธิ [สมาธิที่ยังมีวิตกวิจาร]
    ๒. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ [สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร]
    ๓. อวิตักกวิจารสมาธิ [สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร] ฯ
    สมาธิอีก ๓ อย่าง
    ๑. สุญญตสมาธิ [สมาธิที่ว่างเปล่า]
    ๒. อนิมิตตสมาธิ [สมาธิที่หานิมิตมิได้]
    ๓. อัปปณิหิตสมาธิ [สมาธิที่หาที่ตั้งมิได้] ฯ
    โสเจยยะ ๓ อย่าง
    ๑. กายโสเจยยะ [ความสะอาดทางกาย]
    ๒. วจีโสเจยยะ [ความสะอาดทางวาจา]
    ๓. มโนโสเจยยะ [ความสะอาดทางใจ]
    โมเนยยะ ๓ อย่าง
    ๑. กายโมเนยยะ [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางกาย]
    ๒. วจีโมเนยยะ [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางวาจา]
    ๓. มโนโมเนยยะ [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางใจ] ฯ
    โกสัลละ ๓ อย่าง
    ๑. อายโกสัลละ [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ]
    ๒. อปายโกสัลละ [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเสื่อม]
    ๓. อุปายโกสัลละ [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญและความ
    เสื่อม]
    มทะ ความเมา ๓ อย่าง
    ๑. อาโรคยมทะ [ความเมาในความไม่มีโรค]
    ๒. โยพพนมทะ [ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว]
    ๓. ชาติมทะ [ความเมาในชาติ] ฯ
    อธิปเตยยะ ๓ อย่าง
    ๑. อัตตาธิปเตยยะ [ความมีตนเป็นใหญ่]
    ๒. โลกาธิปเตยยะ [ความมีโลกเป็นใหญ่]
    ๓. ธัมมาธิปเตยยะ [ความมีธรรมเป็นใหญ่] ฯ
    กถาวัตถุ ๓ อย่าง
    ๑. ปรารภกาลส่วนอดีตกล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ล่วงไปแล้วได้มีแล้วอย่างนี้
    ๒. ปรารภกาลส่วนอนาคตกล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ยังไม่มาถึงจักมีอย่างนี้
    ๓. ปรารภกาลส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในบัดนี้ กล่าวถ้อยคำว่า กาลส่วนที่เกิดขึ้น
    เฉพาะหน้าบัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้ ฯ
    ๒. อาเทสนาปาฏิหาริยะ [ดักใจเป็นอัศจรรย์]
    ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริยะ [คำสอนเป็นอัศจรรย์] ฯ
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๓ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้
    ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมด
    ด้วยกันพึงสังคายนา ไม่ควรแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ พึงยั่งยืนตั้งอยู่
    นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก
    เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
    จบหมวด ๓
    วิชชา ๓ อย่าง
    ๑. บุพเพนิวาสานุสสติญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักระลึกชาติในก่อนได้]
    ๒. จุตูปปาตญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักกำหนดจุติ และอุปบัติของ
    สัตว์ทั้งหลาย]
    ๓. อาสวักขยญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป] ฯ
    วิหารธรรม ๓ อย่าง
    ๑. ทิพยวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทพดา]
    ๒. พรหมวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม]
    ๓. อริยวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ] ฯ
    ปาฏิหาริยะ ๓ อย่าง
    ๑. อิทธิปาฏิหาริยะ [ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์]
    ๒. อาเทสนาปาฏิหาริยะ [ดักใจเป็นอัศจรรย์]
    ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริยะ [คำสอนเป็นอัศจรรย์] ฯ
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๓ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้
    ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมด
    ด้วยกันพึงสังคายนา ไม่ควรแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ พึงยั่งยืนตั้งอยู่
    นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก
    เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
    จบหมวด ๓
     
  5. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    หมวด ๔

    [๒๔๒] สามัญญผล ๔ อย่าง
    ๑. โสดาปัตติผล
    ๒. สกทาคามิผล
    ๓. อนาคามิผล
    ๔. อรหัตตผล
    [๒๔๓] ธาตุ ๔ อย่าง
    ๑. ปฐวีธาตุ [ธาตุดิน]
    ๒. อาโปธาตุ [ธาตุน้ำ]
    ๓. เตโชธาตุ [ธาตุไฟ]
    ๔. วาโยธาตุ [ธาตุลม]
    [๒๔๔] อาหาร ๔ อย่าง
    ๑. กวฬิงการาหาร [อาหารคือคำข้าวหยาบหรือละเอียด]
    ๒. ผัสสาหาร [อาหารคือผัสสะ]
    ๓. มโนสัญเจตนาหาร [อาหารคือมโนสัญเจตนา]
    ๔. วิญญาณาหาร [อาหารคือวิญญาณ]
    [๒๔๕] วิญญาณฐิติ ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งรูปเมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่วิญญาณนั้นมี
    รูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงาม
    ไพบูลย์ ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งเวทนา เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณ
    นั้นมีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนาเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอก
    งามไพบูลย์ ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสัญญา เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณ
    นั้นมีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญาเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอก
    งาม ไพบูลย์ ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณ
    นั้นมีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอก
    งาม ไพบูลย์ ฯ
    [๒๔๖] การถึงอคติ ๔ อย่าง
    ๑. ถึงความลำเอียงเพราะความรักใคร่กัน
    ๒. ถึงความลำเอียงเพราะความขัดเคืองกัน
    ๓. ถึงความลำเอียงเพราะความหลง
    ๔. ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว
    [๒๔๗] ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งจีวร
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งความมียิ่งๆ
    ขึ้นไป ฯ
    [๒๔๘] ปฏิปทา ๔ อย่าง
    ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา [ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า]
    ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา [ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว]
    ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา [ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า]
    ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา [ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว]
    [๒๔๙] ปฏิปทาอีก ๔ อย่าง
    ๑. อักขมา ปฏิปทา [ปฏิบัติไม่อดทน]
    ๒. ขมา ปฏิปทา [ปฏิบัติอดทน]
    ๓. ทมา ปฏิปทา [ปฏิบัติฝึก]
    ๔. สมา ปฏิปทา [ปฏิบัติระงับ]
    [๒๕๐] ธรรมบท ๔ อย่าง
    ๑. บทธรรมคือความไม่เพ่งเล็ง
    ๒. บทธรรมคือความไม่พยาบาท
    ๓. บทธรรมคือความระลึกชอบ
    ๔. บทธรรมคือความตั้งใจไว้ชอบ
    [๒๕๑] ธรรมสมาทาน ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์เป็นวิบากต่อ
    ไปมีอยู่
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นวิบากต่อ
    ไปมีอยู่
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อ
    ไปมีอยู่
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อ
    ไปมีอยู่ ฯ
    [๒๕๒] ธรรมขันธ์ ๔ อย่าง
    ๑. ศีลขันธ์ [หมวดศีล]
    ๒. สมาธิขันธ์ [หมวดสมาธิ]
    ๓. ปัญญาขันธ์ [หมวดปัญญา]
    ๔. วิมุตติขันธ์ [หมวดวิมุติ]
    [๒๕๓] พละ ๔ อย่าง
    ๑. วิริยะพละ [กำลังคือความเพียร]
    ๒. สติพละ [กำลังคือสติ]
    ๓. สมาธิพละ [กำลังคือสมาธิ]
    ๔. ปัญญาพละ [กำลังคือปัญญา]
    [๒๕๔] อธิฏฐาน ๔ อย่าง
    ๑. ปัญญาธิฏฐาน [อธิษฐานคือปัญญา]
    ๒. สัจจาธิฏฐาน [อธิษฐานคือสัจจะ]
    ๓. จาคะธิฏฐาน [อธิษฐานคือจาคะ]
    ๔. อุปสมาธิฏฐาน [อธิษฐานคืออุปสมะ]
    [๒๕๕] ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง
    ๑. เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องแก้โดยส่วนเดียว
    ๒. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องย้อนถามแล้วจึงแก้
    ๓. วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องจำแนกแล้วจึงแก้
    ๔. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่ควรงดเสีย ฯ
    [๒๕๖] กรรม ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายดำ มีวิบากเป็นฝ่ายดำมีอยู่
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายขาว มีวิบากเป็นฝ่ายขาวมีอยู่
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่เป็นทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีวิบากทั้งฝ่ายดำฝ่ายขาวมีอยู่
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไป
    เพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่ ฯ
    [๒๕๗] สัจฉิกรณียธรรม ๔ อย่าง
    ๑. พึงทำให้แจ้งซึ่งขันธ์ที่ตนเคยอยู่อาศัยในกาลก่อนด้วยสติ
    ๒. พึงทำให้แจ้งซึ่งจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายด้วยจักษุ
    ๓. พึงทำให้แจ้งซึ่งวิโมกข์แปดด้วยกาย
    ๔. พึงทำให้แจ้งซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญา
    [๒๕๘] โอฆะ ๔ อย่าง
    ๑. กาโมฆะ [โอฆะคือกาม]
    ๒. ภโวฆะ [โอฆะคือภพ]
    ๓. ทิฏโฐฆะ [โอฆะคือทิฐิ]
    ๔. อวิชโชฆะ [โอฆะคืออวิชชา]
    [๒๕๙] โยคะ ๔ อย่าง
    ๑. กามโยคะ [โยคะคือกาม]
    ๒. ภวโยคะ [โยคะคือภพ]
    ๓. ทิฏฐิโยคะ [โยคะคือทิฐิ]
    ๔. อวิชชาโยคะ [โยคะคืออวิชชา]
    [๒๖๐] วิสังโยคะ ๔ อย่าง
    ๑. กามโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือกาม]
    ๒. ภวโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือภพ]
    ๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคือทิฐิ]
    ๔. อวิชชาโยคะวิสังโยคะ [ความพรากจากโยคะคืออวิชชา]
    [๒๖๑] คันถะ ๔ อย่าง
    ๑. อภิชฌากายคันถะ [เครื่องรัดกายคืออภิชฌา]
    ๒. พยาปาทกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือพยาบาท]
    ๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือสีลัพพตปรามาส]
    ๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ [เครื่องรัดกายคือความแน่ว่าสิ่งนี้
    เป็นจริง] ฯ
    [๒๖๒] อุปาทาน ๔ อย่าง
    ๑. กามุปาทาน [ถือมั่นกาม]
    ๒. ทิฏฐุปาทาน [ถือมั่นทิฐิ]
    ๓. สีลัพพตุปาทาน [ถือมั่นศีลและพรต]
    ๔. อัตตวาทุปาทาน [ถือมั่นวาทะว่าตน]
    [๒๖๓] โยนิ ๔ อย่าง
    ๑. อัณฑชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่]
    ๒. ชลาพุชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์]
    ๓. สังเสทชโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในเถ้าไคล]
    ๔. โอปปาติกโยนิ [กำเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น] ฯ
    [๒๖๔] การก้าวลงสู่ครรก์ ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา
    เป็นผู้ไม่รู้สึกตัว อยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัว คลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลงสู่
    ครรภ์ข้อที่หนึ่ง ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลง
    สู่ครรภ์มารดา แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา
    นี้การก้าวลงสู่ครรภ์มารดาข้อที่สอง ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลง
    สู่ครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การ
    ก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สาม ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลงสู่
    ครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การก้าวลง
    สู่ครรภ์ข้อที่สี่ ฯ
    [๒๖๕] การได้อัตภาพ ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนอย่างเดียว ไม่ตรง
    กับความจงใจของผู้อื่นมีอยู่ ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของผู้อื่นเท่านั้น ไม่ตรง
    กับความจงใจของตนมีอยู่ ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนด้วย ตรงกับความ
    จงใจของผู้อื่นด้วยมีอยู่ ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การได้อัตภาพที่ไม่ตรงกับความจงใจของตน ทั้งไม่ตรงกับ
    ความจงใจของผู้อื่นมีอยู่ ฯ
    [๒๖๖] ทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่าง
    ๑. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ
    ๒. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกมีอยู่ ฯ
    ๓. ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ
    ๔. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกมีอยู่ ฯ
    [๒๖๗] สังคหวัตถุ ๔ อย่าง
    ๑. ทาน [การให้ปัน]
    ๒. ปิยวัชช [เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน]
    ๓. อัตถจริยา [ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์]
    ๔. สมานัตตตา [ความเป็นผู้มีตนเสมอ]
    [๒๖๘] อนริยโวหาร ๔ อย่าง
    ๑. มุสาวาท [พูดเท็จ]
    ๒. ปิสุณาวาจา [พูดส่อเสียด]
    ๓. ผรุสวาจา [พูดคำหยาบ]
    ๔. สัมผัปปลาป [พูดเพ้อเจ้อ]
    [๒๖๙] อริยโวหาร ๔ อย่าง
    ๑. มุสาวาทา เวรมณี [เว้นจากพูดเท็จ]
    ๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี [เว้นจากพูดส่อเสียด]
    ๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี [เว้นจากพูดคำหยาบ]
    ๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี [เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ]
    [๒๗๐] อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง
    ๑. เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าได้เห็น
    ๒. เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน
    ๓. เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าได้ทราบ
    ๔. เมื่อไม่ได้รู้แจ้งพูดว่าได้รู้แจ้ง ฯ
    [๒๗๑] อริยโวหารอีก ๔ อย่าง
    ๑. เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าไม่ได้เห็น
    ๒. เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน
    ๓. เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าไม่ได้ทราบ
    ๔. เมื่อไม่ได้รู้แจ้งพูดว่าไม่ได้รู้แจ้ง ฯ
    [๒๗๒] อนริยโวหารอีก ๔ อย่าง
    ๑. เมื่อได้เห็นพูดว่าไม่ได้เห็น
    ๒. เมื่อได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน
    ๓. เมื่อได้ทราบพูดว่าไม่ได้ทราบ
    ๔. เมื่อรู้แจ้งพูดว่าไม่รู้แจ้ง ฯ
    [๒๗๓] อริยโวหารอีก ๔ อย่าง
    ๑. เมื่อได้เห็นพูดว่าได้เห็น
    ๒. เมื่อได้ยินพูดว่าได้ยิน
    ๓. เมื่อได้ทราบพูดว่าได้ทราบ
    ๔. เมื่อได้รู้แจ้งพูดว่าได้รู้แจ้ง
    [๒๗๔] บุคคล ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวน
    ขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อน ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้ขวน
    ขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวน
    ขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อนด้วย เป็นผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้
    ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ไม่เป็น
    ผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อนด้วยเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
    ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย เขาไม่ทำตนให้เดือด
    ร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้หายหิวดับสนิท เยือกเย็น เสวยความสุขมีตนเป็นเสมือน
    พรหมอยู่ในปัจจุบัน ฯ
    [๒๗๕] บุคคลอีก ๔ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนไม่ปฏิบัติ
    เพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
    ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน
    ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย
    เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย ฯ
    [๒๗๖] บุคคลอีก ๔ อย่าง
    ๑. บุคคลผู้มืดมา กลับมืดไป
    ๒. บุคคลผู้มืดมา กลับสว่างไป
    ๓. บุคคลผู้สว่างมา กลับมืดไป
    ๔. บุคคลผู้สว่างมา กลับสว่างไป ฯ
    [๒๗๗] บุคคลอีก ๔ อย่าง
    ๑. สมณมจละ [เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว]
    ๒. สมณปทุมะ [เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวหลวง]
    ๓. สมณปุณฑรีกะ [เป็นสมณะเปรียบด้วยดอกบัวขาว]
    ๔. สมเณสุ สมณสุขุมาละ [เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในสมณะทั้งหลาย ฯ]
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๔ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วพวกเราทั้งหมดด้วยกันพึง
    สังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไป
    เพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมากเพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์
    เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
    จบหมวด ๔
     
  6. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    หมวด ๕

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๑๙๔/๒๘๘
    หมวด ๕
    [๒๗๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๕ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้
    ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเรา
    ทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืน
    ตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์
    แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภท
    ๕ เป็นไฉน
    ขันธ์ ๕ อย่าง
    ๑. รูปขันธ์ [กองรูป]
    ๒. เวทนาขันธ์ [กองเวทนา]
    ๓. สัญญาขันธ์ [กองสัญญา]
    ๔. สังขารขันธ์ [กองสังขาร]
    ๕. วิญญาณขันธ์ [กองวิญญาณ] ฯ
    [๒๗๙] อุปาทานขันธ์ ๕ อย่าง
    ๑. รูปูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ รูป)
    ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ เวทนา)
    ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สัญญา)
    ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ สังขาร)
    ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (ขันธ์เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คือ วิญญาณ) ฯ
    [๒๘๐] กามคุณ ๕ อย่าง
    ๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบ
    ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ
    ๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยหู ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบ
    ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ
    ๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูก ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบ
    ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ
    ๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยลิ้น ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบ
    ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ
    ๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก
    ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ฯ
    [๒๘๑] คติ ๕ อย่าง
    ๑. นิรยะ [นรก]
    ๒. ติรัจฉานโยนิ [กำเนิดดิรัจฉาน]
    ๓. ปิตติวิสัย [ภูมิแห่งเปรต]
    ๔. มนุสสะ [มนุษย์]
    ๕. เทวะ [เทวดา] ฯ
    [๒๘๒] มัจฉริยะ ๕ อย่าง
    ๑. อาวาสมัจฉริยะ [ตระหนี่ที่อยู่]
    ๒. กุลมัจฉริยะ [ตระหนี่สกุล]
    ๓. ลาภมัจฉริยะ [ตระหนี่ลาภ]
    ๔. วัณณมัจฉริยะ [ตระหนี่วรรณะ]
    ๕. ธัมมมัจฉริยะ [ตระหนี่ธรรม] ฯ
    [๒๘๓] นีวรณ์ ๕ อย่าง
    ๑. กามฉันทนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือ ความพอใจในกาม]
    ๒. พยาปาทนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความพยาบาท]
    ๓. ถีนมิทธนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม]
    ๔. อุทธัจจกุกกุจจนีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความฟุ้งซ่านและรำคาญ]
    ๕. วิจิกิจฉานีวรณ์ [ธรรมที่กั้นจิต คือความสงสัย] ฯ
    [๒๘๔] โอรัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องต่ำ] ๕ อย่าง
    ๑. สักกายทิฏฐิ [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน]
    ๒. วิจิกิจฉา [ความสงสัย]
    ๓. สีลัพตปรามาส [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วย
    ศีลหรือพรต]
    ๔. กามฉันทะ [ความพอใจด้วยอำนาจแห่งกาม]
    ๕. พยาบาท [ความคิดแก้แค้นผู้อื่น]
    [๒๘๕] อุทธัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องบน] ๕ อย่าง
    ๑. รูปราคะ [ความติดใจอยู่ในรูปธรรม]
    ๒. อรูปราคะ [ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม]
    ๓. มานะ [ความสำคัญว่าเป็นนั่นเป็นนี่]
    ๔. อุทธัจจะ [ความคิดพล่าน]
    ๕. อวิชชา [ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง]
    [๒๘๖] สิกขาบท ๕ อย่าง
    ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์]
    ๒. อทินนาทานา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์]
    ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิด
    ในกาม]
    ๔. มุสาวาทา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ]
    ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
    คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ
    ประมาท] ฯ
    [๒๘๗] อภัพพฐาน ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต
    ๒. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะลักทรัพย์ อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย
    ๓. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะเสพเมถุนธรรม
    ๔. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะพูดเท็จทั้งรู้อยู่
    ๕. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะกระทำการสั่งสมบริโภคกามเหมือนเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์
    อยู่ ฯ
    [๒๘๘] พยสนะ ๕ อย่าง
    ๑. ญาติพยสนะ [ความฉิบหายแห่งญาติ]
    ๒. โภคพยสนะ [ความฉิบหายแห่งโภคะ]
    ๓. โรคพยสนะ [ความฉิบหายเพราะโรค]
    ๔. สีลพยสนะ [ความฉิบหายแห่งศีล]
    ๕. ทิฏฐิพยสนะ [ความฉิบหายแห่งทิฐิ] ฯ
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ญาติฉิบหายก็ดี เพราะเหตุที่โภคะฉิบหายก็ดี เพราะ
    เหตุที่ฉิบหายเพราะโรคก็ดี สัตว์ทั้งหลายย่อมจะไม่ต้องเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก
    เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ศีลพินาศ หรือเพราะเหตุที่ทิฐิพินาศ สัตว์ทั้งหลาย
    ย่อมจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ
    [๒๘๙] สัมปทา ๕ อย่าง
    ๑. ญาติสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยญาติ]
    ๒. โภคสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยโภคะ]
    ๓. อาโรคยสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค]
    ๔. สีลสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยศีล]
    ๕. ทิฏฐิสัมปทา [ความถึงพร้อมด้วยทิฐิ] ฯ
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งญาติสัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งโภคสัมปทาก็ดี
    เพราะเหตุแห่งอาโรคยสัมปทาก็ดี สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่
    ตายเพราะกายแตก ฯ
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งสีลสัมปทา หรือเพราะเหตุแห่งทิฐิสัมปทา
    สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ฯ
    [๒๙๐] โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย คนทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคะใหญ่
    ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่หนึ่ง ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เกียรติศัพท์อันเสียหายของคนทุศีล มีศีล
    วิบัติ ย่อมระบือไป นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สอง ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหาบริษัทใดๆ คือ
    ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัทเป็นผู้ไม่แกล้วกล้า เป็นคนเก้อเขิน
    เข้าไปหา นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สาม ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเป็นคนหลงทำกาละ
    นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สี่ ฯ
    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ
    วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่ห้า ฯ
    [๒๙๑] อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีล ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมประสบกองแห่ง
    โภคะใหญ่ ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่หนึ่ง ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เกียรติศัพท์ที่ดีงามของคนมีศีลถึงพร้อมแล้ว
    ด้วยศีล ย่อมระบือไป นี้อานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สอง ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีลเข้าไปหาบริษัท
    ใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท เป็นผู้แกล้วกล้า
    ไม่เก้อเขินเข้าไปหา นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สาม ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่
    หลงทำกาละ นี้อานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สี่ ฯ
    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเข้าถึง
    สุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อ
    ที่ห้า ฯ
    [๒๙๒] ธรรมสำหรับโจทน์ ๕ อย่าง
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการ
    ไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจทผู้อื่น คือ เราจักกล่าวโดยกาลอันควรจักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร
    เราจักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง เราจักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วย
    คำหยาบ เราจักกล่าวด้วยคำที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำที่ไม่ประกอบด้วย
    ประโยชน์ เราจักกล่าวด้วยเมตตาจิต จักไม่กล่าวด้วยมีโทสะในภายใน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
    อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ ณ ภายในแล้วจึงโจทผู้อื่น ฯ
    [๒๙๓] องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้
    ของพระตถาคตว่า แม้เพราะนี้ๆ พระผู้มีพระภาคนั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ถึง
    พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
    เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ฯ
    ๒. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยเตโชธาตุ
    อันมีวิบากเสมอกัน ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นอย่างกลางๆ ควรแก่ความเพียร ฯ
    ๓. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริงใน
    พระศาสดา หรือสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ฯ
    ๔. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อจะละอกุศลธรรม เพื่อจะยัง
    กุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังใจ มีความบากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระในบรรดาธรรมที่เป็น
    กุศล ฯ
    ๕. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นเกิดและดับ เป็น
    ปัญญาอย่างประเสริฐ เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ฯ
    [๒๙๔] สุทธาวาส ๕
    ๑. อวิหา
    ๒. อตัปปา
    ๓. สุทัสสา
    ๔. สุทัสสี
    ๕. อกนิฏฐา ฯ
    [๒๙๕] พระอนาคามี ๕
    ๑. อันตราปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทัน
    ถึงกึ่ง]
    ๒. อุปหัจจปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้ว
    จวนถึงที่สุด]
    ๓. อสังขารปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ไม่ต้องใช้ความเพียร
    นัก]
    ๔. สสังขารปรินิพพายี [พระอนาคามีผู้ที่จะปรินิพพานด้วย ต้องใช้ความเพียร]
    ๕. อุทธโสโต อกนิฏฐคามี [พระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ชั้นอกนิฏฐภพ] ฯ
    [๒๙๖] ความกระด้างแห่งจิต ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่
    ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่
    ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ
    กระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นนี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่หนึ่ง ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่
    ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่
    ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ
    กระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่สอง ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัยไม่เชื่อแน่
    ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่
    เลื่อมใสในพระสงฆ์ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำ
    เป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่สาม ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่
    ไม่เลื่อมใสในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่
    เลื่อมใสในสิกขา ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำ
    เป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิตข้อที่สี่ ฯ
    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบ
    แล้ว มีจิตเป็นเสมือนตะปูในสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้โกรธ
    ขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเสมือนตะปู ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ
    ประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความกระด้างแห่งจิต
    ข้อที่ห้า ฯ
    [๒๙๗] ความผูกพันธ์แห่งจิต ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
    ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกามทั้งหลาย
    ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย
    ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกามทั้งหลาย ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ
    ประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์
    แห่งจิตข้อที่หนึ่ง ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความ
    พอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในกาย ผู้มีอายุทั้งหลาย
    จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวน
    กระวาย ความทะยานอยากในกายย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ
    เนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่สอง ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด
    ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป ผู้มีอายุ
    ทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย
    ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูปย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ
    เนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่สาม ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบริโภคอิ่มหนำพอแก่ความต้องการแล้ว
    ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการหลับอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
    จิตของภิกษุผู้บริโภคอิ่มหนำพอแก่ความต้องการแล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขใน
    การเอนข้าง ความสุขในการหลับอยู่ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ
    เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่สี่ ฯ
    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนา หมู่เทพเจ้า
    หมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเป็นเทพ
    องค์ใดองค์หนึ่ง ดังนี้ ผู้มีอายุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ปรารถนาหมู่
    เทพเจ้าหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล พรต ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเป็น
    เทพองค์ใดองค์หนึ่ง ดังนี้ ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ
    กระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันธ์แห่งจิตข้อที่ห้า ฯ
    [๒๙๘] อินทรีย์ ๕ อย่าง
    ๑. จักขุนทรีย์ [อินทรีย์คือตา]
    ๒. โสตินทรีย์ [อินทรีย์คือหู]
    ๓. ฆานินทรีย์ [อินทรีย์คือจมูก]
    ๔. ชิวหินทรีย์ [อินทรีย์คือลิ้น]
    ๕. กายินทรีย์ [อินทรีย์คือกาย]
    [๒๙๙] อินทรีย์อีก ๕ อย่าง
    ๑. สุขุนทรีย์ [อินทรีย์คือสุข]
    ๒. ทุกขินทรีย์ [อินทรีย์คือทุกข์]
    ๓. โสมนัสสินทรีย์ [อินทรีย์คือโสมนัส]
    ๔. โทมนัสสินทรีย์ [อินทรีย์คือโทมนัส]
    ๕. อุเปกขินทรีย์ [อินทรีย์คืออุเบกขา]
    [๓๐๐] อินทรีย์อีก ๕ อย่าง
    ๑. สัทธินทรีย์ [อินทรีย์คือศรัทธา]
    ๒. วิริยินทรีย์ [อินทรีย์คือวิริยะ]
    ๓. สตินทรีย์ [อินทรีย์คือสติ]
    ๔. สมาธินทรีย์ [อินทรีย์คือสมาธิ]
    ๕. ปัญญินทรีย์ [อินทรีย์คือปัญญา]
    [๓๐๑] นิสสารณียธาตุ ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงกามทั้งหลายอยู่
    จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะกามทั้งหลาย แต่ว่าเมื่อเธอ
    มนสิการถึงเนกขัมมะอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะเนกขัมมะ
    จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้วออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากกามทั้งหลาย
    และเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีกามเป็นปัจจัยเกิดขึ้น
    เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามทั้งหลาย ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความพยาบาทอยู่ จิตย่อม
    ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะความพยาบาท แต่ว่าเมื่อเธอมนสิการ
    ถึงความไม่พยาบาทอยู่แล จิตย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความไม่พยาบาท
    จิตของเธอนั้นไปดีแล้วอบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากความพยาบาท
    และเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีความพยาบาทเป็นปัจจัย
    เกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความเบียดเบียนอยู่ จิต
    ย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะความเบียดเบียน แต่ว่าเมื่อเธอ
    มนสิการถึงความไม่เบียดเบียนอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความ
    ไม่เบียดเบียน จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจาก
    ความเบียดเบียน และเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีความ
    เบียดเบียนเป็นปัจจัยเกิดขึ้น และเธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่อง
    สลัดออกซึ่งความเบียดเบียน ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูปทั้งหลายอยู่ จิตย่อม
    ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะรูปทั้งหลายแต่ว่าเมื่อเธอมนสิการถึง
    อรูปอยู่แล จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะอรูป จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว
    อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้วพรากแล้วจากรูปทั้งหลาย และเธอพ้นแล้วจาก
    อาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีรูปเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น
    ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย ฯ
    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงกายของตนอยู่ จิตย่อม
    ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งใจอยู่ ไม่พ้นวิเศษ ในเพราะกายของตน แต่ว่าเมื่อเธอมนสิการ
    ถึงความดับแห่งกายของตนอยู่แล จิตย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษ ในเพราะความดับ
    แห่งกายของตน จิตของเธอนั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้ว
    จากกายของตนและเธอพ้นแล้วจากอาสวะอันเป็นเหตุเดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีกายของตน
    เป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกายของตน ฯ
    [๓๐๒] วิมุตตายตนะ [แดนแห่งวิมุตติ] ๕ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งควรแก่
    ตำแหน่งครู ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนั้นรู้แจ้ง
    อรรถ รู้แจ้งธรรม ในธรรมนั้นโดยประการที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์หนึ่ง
    ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู แสดงแก่เธอความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม
    ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ
    เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดน
    วิมุตติข้อที่หนึ่ง ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์
    หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอแสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้
    เรียนไว้แก่คนอื่นๆ โดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่
    ตนได้แสดงแก่คนอื่นๆ นั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความ
    อิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้วกายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอ
    ผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อ
    ที่สอง ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์
    หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่เธอกระทำการสาธยายธรรมตาม
    ที่ได้ฟังได้เรียนไว้แล้วโดยพิสดาร ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการ
    ที่ตนกระทำการสาธยายนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจ
    ย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้วกายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกาย
    สงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่สาม ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีองค์ใดองค์
    หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอตรึกตรองตามซึ่งธรรมตาม
    ที่ได้ฟังได้เรียนไว้ด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจ ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น
    โดยอาการที่ตนตรึกตรองตามด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้ง
    อรรถ รู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วย
    ปีติย่อมสงบระงับเธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้มีความสุข ย่อม
    ตั้งมั่นนี้แดนวิมุตติข้อที่สี่ ฯ
    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี องค์ใดองค์
    หนึ่งซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู หาได้แสดงธรรมแก่ภิกษุไม่เลย แต่ว่าเธอเรียนสมาธินิมิตอย่างใด
    อย่างหนึ่งด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญา ภิกษุนั้นย่อม
    รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยอาการที่ได้เรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำ
    ไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดีแทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญาแล้วนั้น ความปราโมทย์ย่อมเกิด
    แก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจ
    ประกอบด้วยปีติย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้วย่อมเสวยความสุข จิตของเธอผู้
    มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่ห้า ฯ
    [๓๐๓] สัญญาอบรมวิมุตติ ๕ อย่าง
    ๑. อนิจจสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นของ
    ไม่เที่ยง]
    ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์
    ในสิ่งที่ไม่เที่ยง]
    ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตน
    ในสิ่งที่เป็นทุกข์]
    ๔. ปหานสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าควรละ
    เสีย]
    ๕. วิราคสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความคลาย
    เสียซึ่งความกำหนัด]
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๕ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้
    ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมด
    ด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น
    พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมากเพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อ
    ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
    จบ หมวด ๕
     
  7. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    หมวด ๖

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๐๗/๒๘๘
    หมวด ๖
    [๓๐๔] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๖ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรง
    เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมด
    ด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น
    พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อ
    ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
    อายตนะภายใน ๖ อย่าง
    ๑. อายตนะ คือตา
    ๒. อายตนะ คือหู
    ๓. อายตนะ คือจมูก
    ๔. อายตนะ คือลิ้น
    ๕. อายตนะ คือกาย
    ๖. อายตนะ คือใจ
    [๓๐๕] อายตนะภายนอก ๖ อย่าง
    ๑. อายตนะ คือ รูป
    ๒. อายตนะ คือ เสียง
    ๓. อายตนะ คือ กลิ่น
    ๔. อายตนะ คือ รส
    ๕. อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ
    ๖. อายตนะ คือ ธรรม
    [๓๐๖] หมวดวิญญาณ ๖
    ๑. จักขุวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยตา]
    ๒. โสตวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยหู]
    ๓. ฆานวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยจมูก]
    ๔. ชิวหาวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยลิ้น]
    ๕. กายวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยกาย]
    ๖. มโนวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยใจ]
    [๓๐๗] หมวดผัสสะ ๖
    ๑. จักขุสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยตา]
    ๒. โสตสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยหู]
    ๓. ฆานสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยจมูก]
    ๔. ชิวหาสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยลิ้น]
    ๕. กายสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยกาย]
    ๖. มโนสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยใจ]
    [๓๐๘] หมวดเวทนา ๖
    ๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยตา]
    ๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยหู]
    ๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยจมูก]
    ๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยลิ้น]
    ๕. กายสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยกาย]
    ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยใจ]
    [๓๐๙] หมวดสัญญา ๖
    ๑. รูปสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
    ๒. สัททสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
    ๓. คันธสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
    ๔. รสสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
    ๕. โผฏฐัพพสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
    ๖. ธัมมสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]
    [๓๑๐] หมวดสัญเจตนา ๖
    ๑. รูปสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
    ๒. สัททสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
    ๓. คันธสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
    ๔. รสสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
    ๕. โผฏฐัพพสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
    ๖. ธัมมสัญเจตนา [ความจงใจที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]
    [๓๑๑] หมวดตัณหา ๖
    ๑. รูปตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
    ๒. สัททตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
    ๓. คันธตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
    ๔. รสตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
    ๕. โผฏฐัพพตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
    ๖. ธัมมตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]
    [๓๑๒] อคารวะ ๖ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ในพระ
    ศาสดาอยู่
    ๒. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่
    ๓. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่
    ๔. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในการศึกษาอยู่
    ๕. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่
    ๖. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในการปฏิสันถารอยู่ ฯ
    [๓๑๓] คารวะ ๖ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระศาสดาอยู่
    ๒. เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระธรรมอยู่
    ๓. เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระสงฆ์อยู่
    ๔. เป็นผู้เคารพยำเกรงในการศึกษาอยู่
    ๕. เป็นผู้เคารพยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่
    ๖. เป็นผู้เคารพยำเกรงในการปฏิสันถารอยู่ ฯ
    [๓๑๔] โสมนัสสุปวิจาร ๖ อย่าง
    ๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
    ๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
    ๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
    ๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส
    ๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
    โสมนัส
    ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ฯ
    [๓๑๕] โทมนัสสุปวิจาร ๖ อย่าง
    ๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
    ๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
    ๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
    ๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส
    ๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
    โทมนัส
    ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ฯ
    [๓๑๖] อุเปกขูปวิจาร ๖ อย่าง
    ๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
    ๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว เข้าไปใคร่ครวญเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
    ๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว เข้าไปใคร่ครวญกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
    ๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว เข้าไปใคร่ครวญรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
    ๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เข้าไปใคร่ครวญโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
    อุเบกขา
    ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เข้าไปใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯ
    [๓๑๗] สาราณียธรรม ๖ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม ประกอบด้วย
    เมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรมข้อนี้เป็นที่ตั้งแห่งความระลึก
    ถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์
    เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียงเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งวจีกรรม
    ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลังธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็น
    ที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไป
    เพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งมโนกรรม
    ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลังธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่
    ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อ
    ความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ลาภอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยธรรม
    ได้มาแล้วโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงอาหารในบาตร ไม่หวงกันด้วยลาภเห็นปานดังนั้น แบ่ง
    ปันกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล ธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่อง
    กระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่
    วิวาท เพื่อความพร้อมเพรียงเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ
    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ศีลอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่
    ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ ไม่เกี่ยวด้วยตัณหาและทิฐิ เป็นไปเพื่อสมาธิ
    ภิกษุเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เสมอกันโดยศีลในศีลเห็นปานดังนั้น กับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้ง
    ต่อหน้าและลับหลังอยู่ ธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก
    เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อม
    เพรียงเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ
    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ทิฐิอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประเสริฐ เป็นเครื่อง
    นำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำทิฐินั้น ภิกษุเป็นผู้ถึง
    ความเป็นผู้เสมอกัน โดยทิฐิในทิฐิเห็นปานดังนั้น กับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
    และลับหลังอยู่ ธรรมแม้ข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็น
    เครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความพร้อม
    เพรียง เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ
    [๓๑๘] มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มักผูกโกรธไว้
    ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มักโกรธ มักผูกโกรธไว้นั้น ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ใน
    พระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้
    ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่
    เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงใน
    พระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่
    ชนมากเพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่
    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่ง
    ความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลว
    ทรามเช่นนั้นเสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุ แห่งความวิวาทเห็น
    ปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อ
    ไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติ
    ได้เช่นนี้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอ
    ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลบหลู่ตีเสมอย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดาอยู่
    ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่
    ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง
    ในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่
    ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อ
    มิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ
    มนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณา เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาท
    เห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้น
    เสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้
    ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อ
    พยายามได้เช่นนี้ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อปฏิบัติได้
    เช่นนี้มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักริษยา มีความตระหนี่
    ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มักริษยามีความตระหนี่ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรง แม้ในพระศาสดา
    อยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่
    ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขาภิกษุผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพ
    ไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา
    ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความ
    พินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ดูกร
    ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก
    พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสีย ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวก
    ท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้
    มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่ง
    ความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสียได้ เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทราม
    เช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา ผู้มีอายุ
    ทั้งหลาย ภิกษุผู้โอ้อวดมีมารยา ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ
    ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้
    กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่
    ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ใน
    สิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก
    เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์
    ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายใน
    ภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสีย ถ้าพวกท่านพิจารณา
    ไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุ
    แห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นต่อไปเมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความ
    วิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้
    ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ
    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความ
    เห็นผิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด ย่อมจะไม่เคารพ
    ไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพ
    ไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมจะไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย
    ภิกษุผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรง
    ในพระสงฆ์อยู่ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความวิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
    แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์เพื่อทุกข์แก่
    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุ
    แห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทราม
    เช่นนั้นเสียได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปาน
    ดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้น
    ต่อไป เมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้เสียได้ เมื่อ
    ปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีกต่อไป ฯ
    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน
    มักถือรั้น คลายได้ยาก ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน มักถือรั้น
    คลายได้ยาก ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้
    ในพระธรรมอยู่ ย่อมจะไม่เคารพไม่ยำเกรงแม้ในพระสงฆ์อยู่ ย่อมเป็นผู้ไม่กระทำให้บริบูรณ์
    แม้ในสิกขา ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรง
    ในพระธรรมอยู่ ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมจะก่อความ
    วิวาทซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อมิใช่สุขแก่ชนมาก เพื่อความพินาศแก่ชนมาก
    เพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายขึ้นในสงฆ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย
    ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงพยายามที่จะ
    ละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนั้นเสียผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพิจารณาไม่
    เห็นมูลเหตุแห่งความวิวาทเห็นปานดังนี้ ทั้งภายในภายนอก พึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีมูลเหตุแห่งความ
    วิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ต่อไปเมื่อพยายามได้เช่นนี้ ย่อมจะละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทราม
    เช่นนี้เสียได้เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ มูลเหตุแห่งความวิวาทอันเลวทรามเช่นนี้ ย่อมจะมีไม่ได้อีก
    ต่อไป ฯ
    [๓๑๙] ธาตุ ๖ อย่าง
    ๑. ปฐวีธาตุ [ธาตุดิน]
    ๒. อาโปธาตุ [ธาตุน้ำ]
    ๓. เตโชธาตุ [ธาตุไฟ]
    ๔. วาโยธาตุ [ธาตุลม]
    ๕. อากาศธาตุ [ธาตุอากาศ ช่องว่างมีในกาย]
    ๖. วิญญาณธาตุ [ธาตุวิญญาณ ความรู้อะไรได้] ฯ
    [๓๒๐] นิสสารณียธาตุ ๖ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่
    ประกอบด้วยเมตตาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
    คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วแต่ถึงอย่างนั้น พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของเราตั้ง
    อยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้
    ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึง
    ตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น
    ยานแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตา
    แต่ถึงอย่างนั้น พยาบาทก็ยังจักครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้
    มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยเมตตานี้
    เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่
    ประกอบด้วยกรุณาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
    คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสาก็ยังครอบงำจิตของเรา
    ตั้งอยู่ได้ ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่าท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้
    ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัส
    ไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว
    ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติที่ประกอบด้วย
    กรุณา แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสาก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
    ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยกรุณานี้
    เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งวิเหสา ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่
    ประกอบด้วยมุทิตาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
    คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น อรติก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้
    เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้กล่าวตู่
    พระผู้มีพระภาคการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย
    ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็นที่
    ตั้งแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยมุทิตา แต่ถึงอย่างนั้น อรติก็จักยัง
    ครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ดูกร
    ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยมุทิตานี้เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งอรติ ฯ
    ๔. ผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ประกอบ
    ด้วยอุเบกขาแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
    คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น ราคะก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้
    ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้
    กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้
    เลย ผู้มีอายุทั้งหลายข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำให้เป็น
    ที่ตั้งแล้วคล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยอุเบกขา
    แต่ถึงอย่างนั้น ราคะก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสข้อนี้มิใช่
    ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ประกอบด้วยอุเบกขานี้เป็นเครื่อง
    สลัดออกซึ่งราคะ ฯ
    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุติที่ไม่มี
    นิมิตแล อันเราอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้วทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่ว
    แล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นวิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตนี้ ก็ยังมีอยู่แก่เรา
    ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่าท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านอย่าได้
    กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้
    เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่าเมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว
    ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุติที่หานิมิตมิได้
    แต่ถึงอย่างนั้น วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตก็ยังจักมีแก่เขา ดังนี้ มิใช่ฐานะมิใช่โอกาส
    ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมชาติคือเจโตวิมุติที่ไม่มีนิมิตนี้ เป็นเครื่อง
    สลัดออกซึ่งนิมิตทุกอย่าง ฯ
    ๖. ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อการถือว่าเรา
    มีอยู่ ดังนี้ ของเราหมดไปแล้ว เราก็มิได้พิจารณาเห็นว่า เรานี้มีอยู่แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศร
    คือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า
    ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าว
    ตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสไว้อย่างนี้เลย ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ว่า
    เมื่อการถือว่าเรามีอยู่ดังนี้หมดไปแล้ว และเมื่อเขามิได้พิจารณาเห็นว่า เรานี้มีอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น
    ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย ก็จักยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
    ข้อนี้มิใช่ฐานะจะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมชาติคือการเพิกถอน การถือว่าเรามีอยู่นี้
    เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย ฯ
    [๓๒๑] อนุตตริยะ ๖ อย่าง
    ๑. ทัสสนานุตตริยะ [การเห็นอย่างยอดเยี่ยม]
    ๒. สวนานุตตริยะ [การฟังอย่างยอดเยี่ยม]
    ๓. ลาภานุตตริยะ [การได้อย่างยอดเยี่ยม]
    ๔. สิกขานุตตริยะ [การศึกษาอย่างยอดเยี่ยม]
    ๕. ปาริจริยานุตตริยะ [การบำเรออย่างยอดเยี่ยม]
    ๖. อนุสสตานุตตริยะ [การระลึกถึงอย่างยอดเยี่ยม]
    [๓๒๒] อนุสสติฐาน ๖ อย่าง
    ๑. พุทธานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า]
    ๒. ธัมมานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระธรรม]
    ๓. สังฆานุสสติ [ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์]
    ๔. สีลานุสสติ [ระลึกถึงศีล]
    ๕. จาคานุสสติ [ระลึกถึงทานที่ตนบริจาค]
    ๖. เทวตานุสสติ [ระลึกถึงเทวดา]
    [๓๒๓] สตตวิหาร [ธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองๆ] ๖ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาแล้ว ย่อมเป็นผู้
    ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
    ๒. ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติ
    สัมปชัญญะอยู่
    ๓. ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติ
    สัมปชัญญะอยู่
    ๔. ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะ
    อยู่
    ๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย
    มีสติสัมปชัญญะอยู่
    ๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติ
    สัมปชัญญะอยู่ ฯ
    [๓๒๔] อภิชาติ ๖ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายดำ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพธรรมฝ่ายขาว
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ ประสพพระนิพพาน
    ซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำไม่ขาว
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายขาว
    ๕. ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพธรรมฝ่ายดำ
    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ขาว ประสพพระนิพพาน
    ซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่ดำไม่ขาว ฯ
    [๓๒๕] นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ อย่าง
    ๑. อนิจจสัญญา [กำหนดหมายความไม่เที่ยง]
    ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา [กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง]
    ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา [กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์]
    ๔. ปหานสัญญา [กำหนดหมายเพื่อละ]
    ๕. วิราคสัญญา [กำหนดหมายเพื่อคลายเสียซึ่งความกำหนัด]
    ๖. นิโรธสัญญา [กำหนดหมายเพื่อความดับสนิท]
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๖ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรง
    รู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมด
    ด้วยกัน พึงสังคายนาเป็นอันเดียวกัน ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึง
    ยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์
    แก่โลก เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
    จบหมวด ๖
     
  8. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    หมวด ๗

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๒๐/๒๘๘
    หมวด ๗
    [๓๒๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๗ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น
    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมด
    ด้วยกันพึงสังคายนาเป็นอันเดียวกัน ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึง
    ยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์
    แก่โลก เพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
    อริยทรัพย์ ๗ อย่าง
    ๑. สัทธาธนัง [ทรัพย์คือศรัทธา]
    ๒. สีลธนัง [ทรัพย์คือศีล]
    ๓. หิริธนัง [ทรัพย์คือหิริ]
    ๔. โอตตัปปธนัง [ทรัพย์คือโอตตัปปะ]
    ๕. สุตธนัง [ทรัพย์คือสุตะ]
    ๖. จาคธนัง [ทรัพย์คือจาคะ]
    ๗. ปัญญาธนัง [ทรัพย์คือปัญญา]
    [๓๒๗] โพชฌงค์ ๗ อย่าง
    ๑. สติสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความระลึกได้]
    ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือการสอดส่องธรรม]
    ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความเพียร]
    ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความอิ่มใจ]
    ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความสงบ]
    ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือความตั้งใจมั่น]
    ๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ [องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้คือ ความวางเฉย]
    [๓๒๘] บริขารของสมาธิ ๗ อย่าง
    ๑. สัมมาทิฏฐิ [ความเห็นชอบ]
    ๒. สัมมาสังกัปปะ [ความดำริชอบ]
    ๓. สัมมาวาจา [เจรจาชอบ]
    ๔. สัมมากัมมันตะ [การงานชอบ]
    ๕. สัมมาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตชอบ]
    ๖. สัมมาวายามะ [พยายามชอบ]
    ๗. สัมมาสติ [ระลึกชอบ]
    [๓๒๙] อสัทธรรม ๗ อย่าง
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
    ๑. เป็นคนไม่มีศรัทธา
    ๒. เป็นคนไม่มีหิริ
    ๓. เป็นคนไม่มีโอตตัปปะ
    ๔. เป็นคนมีสุตะน้อย
    ๕. เป็นคนเกียจคร้าน
    ๖. เป็นคนมีสติหลงลืม
    ๗. เป็นคนมีปัญญาทราม
    [๓๓๐] สัทธรรม ๗ อย่าง
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
    ๑. เป็นคนมีศรัทธา
    ๒. เป็นคนมีหิริ
    ๓. เป็นคนมีโอตตัปปะ
    ๔. เป็นคนมีพหูสูต
    ๕. เป็นคนปรารภความเพียร
    ๖. เป็นคนมีสติมั่นคง
    ๗. เป็นคนมีปัญญา
    [๓๓๑] สัปปุริสธรรม ๗ อย่าง
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
    ๑. เป็นผู้รู้จักเหตุ
    ๒. เป็นผู้รู้จักผล
    ๓. เป็นผู้รู้จักตน
    ๔. เป็นผู้รู้จักประมาณ
    ๕. เป็นผู้รู้จักกาล
    ๖. เป็นผู้รู้จักบริษัท
    ๗. เป็นผู้รู้จักบุคคล
    [๓๓๒] นิทเทสวัตถุ ๗ อย่าง
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
    ๑. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักใน
    การสมาทานสิกขาต่อไปด้วย
    ๒. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการไตร่ตรองธรรม ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักใน
    การไตร่ตรองธรรมต่อไปด้วย
    ๓. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปราบปรามความอยาก ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความ
    รักในการปราบปรามความอยากต่อไปด้วย
    ๔. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการเร้นอยู่ ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรักในการเร้น
    อยู่ต่อไปด้วย
    ๕. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรัก
    ในการปรารภความเพียรต่อไปด้วย
    ๖. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน ทั้งเป็นผู้ไม่หมด
    ความรักในสติและปัญญาเครื่องรักษาตนต่อไปด้วย
    ๗. เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดซึ่งทิฐิ ทั้งเป็นผู้ไม่หมดความรัก
    ในการแทงตลอดซึ่งทิฐิต่อไปด้วย
    [๓๓๓] สัญญา ๗ อย่าง
    ๑. อนิจจสัญญา [กำหนดหมายความไม่เที่ยง]
    ๒. อนัตตสัญญา [กำหนดหมายเป็นอนัตตา]
    ๓. อสุภสัญญา [กำหนดหมายความไม่งาม]
    ๔. อาทีนวสัญญา [กำหนดหมายโทษ]
    ๕. ปหานสัญญา [กำหนดหมายเพื่อละ]
    ๖. วิราคสัญญา [กำหนดหมายวิราคะ]
    ๗. นิโรธสัญญา [กำหนดหมายนิโรธ]
    [๓๓๔] พละ ๗ อย่าง
    ๑. สัทธาพละ [กำลังคือศรัทธา]
    ๒. วิริยพละ [กำลังคือความเพียร]
    ๓. หิริพละ [กำลังคือหิริ]
    ๔. โอตตัปปพละ [กำลังคือโอตตัปปะ]
    ๕. สติพละ [กำลังคือสติ]
    ๖. สมาธิพละ [กำลังคือสมาธิ]
    ๗. ปัญญาพละ [กำลังคือปัญญา]
    [๓๓๕] วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์
    และพวกเทพบางพวก พวกวินิปาติกะบางพวก นี้วิญญาณฐิติข้อที่หนึ่ง
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวก
    เทพผู้นับเนื่องในพวกพรหมซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้วิญญาณฐิติข้อที่สอง ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวก
    เทพเหล่าอาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน
    เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหา นี้วิญญาณฐิติข้อที่สี่ ฯ
    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า
    อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่
    ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้วิญญาณฐิติข้อที่ห้า ฯ
    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
    แล้ว เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้นี้วิญญาณฐิติข้อที่หก ฯ
    ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
    แล้ว เข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร นี้วิญญาณฐิติข้อที่เจ็ด ฯ
    [๓๓๖] ทักขิเณยยบุคคล ๗ อย่าง
    ๑. อุภโตภาควิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วโดยส่วนทั้งสอง]
    ๒. ปัญญาวิมุตต [ท่านผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอำนาจปัญญา]
    ๓. กายสักขิ [ท่านผู้สามารถด้วยกาย]
    ๔. ทิฏฐิปัตต [ท่านผู้ถึงแล้วด้วยความเห็น]
    ๕. สัทธาวิมุตต [ท่านผู้พ้นแล้วด้วยอำนาจศรัทธา]
    ๖. ธัมมานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามธรรม]
    ๗. สัทธานุสารี [ท่านผู้ประพฤติตามศรัทธา]
    [๓๓๗] อนุสัย ๗ อย่าง
    ๑. กามราคานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในกาม]
    ๒. ปฏิฆานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกระทบกระทั่ง
    แห่งจิต]
    ๓. ทิฏฐานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความเห็น]
    ๔. วิจิกิจฉานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความสงสัย]
    ๕. มานานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความถือตัว]
    ๖. ภวราคานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในสันดานคือความกำหนัดในภพ]
    ๗. อวิชชานุสัย [สภาพที่นอนเนื่องในดันดานคือความไม่รู้]
    [๓๓๘] สัญโญชน์ ๗ อย่าง
    ๑. กามสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความใคร่]
    ๒. ปฏิฆสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกระทบกระทั่งแห่งจิต]
    ๓. ทิฏฐิสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความเห็น]
    ๔. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความสงสัย]
    ๕. มานสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความถือตัว]
    ๖. ภวราคสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความกำหนัดในภพ]
    ๗. อวิชชาสัญโญชน์ [เครื่องเหนี่ยวรั้งคือความไม่รู้]
    [๓๓๙] อธิกรณสมถะ ๗ อย่าง
    เพื่อความสงบ เพื่อความระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว
    ๑. พึงให้สัมมุขาวินัย
    ๒. พึงให้สติวินัย
    ๓. พึงให้อมุฬหวินัย
    ๔. พึงปรับตามปฏิญญา
    ๕. พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
    ๖. พึงปรับตามความผิดของจำเลย
    ๗. พึงใช้ติณวัตถารกวิธี [ประนีประนอมดังกลบไว้ด้วยหญ้า] ฯ
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมประเภทละ ๗ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้
    ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมด
    ด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้นการที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น
    พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อ
    ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
    จบ หมวด ๗
     
  9. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    หมวด ๘

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๒๖/๒๘๘
    หมวด ๘
    [๓๔๐] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น
    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วย
    กันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น
    พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์
    เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ เป็นไฉน ฯ
    มิจฉัตตะ ๘ อย่าง
    ๑. มิจฉาทิฏฐิ [เห็นผิด]
    ๒. มิจฉาสังกัปปะ [ดำริผิด]
    ๓. มิจฉาวาจา [วาจาผิด]
    ๔. มิจฉากัมมันตะ [การงานผิด]
    ๕. มิจฉาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตผิด]
    ๖. มิจฉาวายามะ [พยายามผิด]
    ๗. มิจฉาสติ [ระลึกผิด]
    ๘. มิจฉาสมาธิ [ตั้งจิตผิด]
    [๓๔๑] สัมมัตตะ ๘ อย่าง
    ๑. สัมมาทิฏฐิ [เห็นชอบ]
    ๒. สัมมาสังกัปปะ [ดำริชอบ]
    ๓. สัมมาวาจา [วาจาชอบ]
    ๔. สัมมากัมมันตะ [การงานชอบ]
    ๕. สัมมาอาชีวะ [เลี้ยงชีวิตชอบ]
    ๖. สัมมาวายามะ [พยายามชอบ]
    ๗. สัมมาสติ [ระลึกชอบ]
    ๘. สัมมาสมาธิ [ตั้งจิตชอบ]
    [๓๔๒] ทักขิเณยยบุคคล ๘
    ๑. ท่านที่เป็นพระโสดาบัน
    ๒. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
    ๓. ท่านที่เป็นพระสกทาคามี
    ๔. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
    ๕. ท่านที่เป็นพระอนาคามี
    ๖. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
    ๗. ท่านที่เป็นพระอรหันต์
    ๘. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำพระอรหัตตผลให้แจ้ง
    [๓๔๓] กุสีตวัตถุ ๘
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้จะต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
    เราจักต้องทำการงาน ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย
    ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม
    ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หนึ่ง ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิด
    อย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ควรที่เราจะ
    นอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
    เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้งนี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สอง ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
    เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อยควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย
    ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม
    ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สาม ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
    เราได้เดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน เธอนอน
    เสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อ
    ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สี่ ฯ
    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้
    ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
    เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีต
    พอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้นเหน็ดเหนื่อยไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอ
    นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำ
    ให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่ห้า ฯ
    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความ
    บริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
    เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่
    ความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นเหน็ดเหนื่อย ไม่ควรแก่การงานเหมือนถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำ
    ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง
    ไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หก ฯ
    ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมี
    ความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ความสมควรเพื่อจะนอนมีอยู่ ควรที่
    เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้
    บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่เจ็ด ฯ
    ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ได้ไม่นาน
    เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้ได้ไม่นาน ร่างกายของเรานั้นยัง
    อ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรม
    ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่ง
    ความเกียจคร้านข้อที่แปด ฯ
    [๓๔๔] อารัพภวัตถุ ๘ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องทำการงานเธอมีความคิด
    อย่างนี้ว่า การงานเราจักต้องทำ เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สะดวกที่จะใส่ใจถึงคำสอนของ
    พระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเสียก่อนที่เดียว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
    บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียร
    เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง
    นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่หนึ่ง ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุทำการงานเสร็จแล้ว เธอมีความคิด
    อย่างนี้ เราทำการงานเสร็จแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สามารถที่จะใส่ใจถึงคำสอนของ
    พระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้
    บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
    เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภ
    ความเพียรข้อที่สอง ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
    เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สะดวกที่จะใส่ใจถึงคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย
    ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำใจให้
    แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้งเธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
    ที่ยังไม่ได้บรรลุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียร
    ข้อที่สาม ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอมีความคิด
    อย่างนี้ว่า เราเดินทางไปถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่สามารถที่จะใส่ใจถึงคำสอนของ
    พระพุทธะทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้
    บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
    เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภ
    ความเพียรข้อที่สี่ ฯ
    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้
    ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการเธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
    เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอ
    แก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้นเบาควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึง
    ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่เรายังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง
    เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
    ธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่ห้า ฯ
    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้
    ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการเธอมีความคิดอย่างนี้ว่า
    เราเที่ยวบิณฑบาตไปยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีตพอ
    แก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้นมีกำลังควรแก่การงาน ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึง
    ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอ
    ย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม
    ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภความเพียรข้อที่หก ฯ
    ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมี
    ความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว การที่อาพาธของเราจะพึงเจริญขึ้นนี้ เป็น
    ฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้
    บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
    เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภ
    ความเพียรข้อที่เจ็ด ฯ
    ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้แล้วไม่
    นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้แล้วไม่นาน การที่อาพาธ
    ของเราจะพึงกำเริบนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
    เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความปรารภ
    ความเพียรข้อที่แปด ฯ
    [๓๔๕] ทานวัตถุ ๘ อย่าง
    ๑. ให้ทานเพราะประจวบเหมาะ
    ๒. ให้ทานเพราะกลัว
    ๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา
    ๔. ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา
    ๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
    ๖. ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้ม คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เราหุงต้มอยู่จะไม่ให้แก่ผู้ที่มิ
    ได้หุงต้ม ย่อมไม่สมควร
    ๗. ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ เกียรติศัพท์อันดีงาม ย่อมจะระบือไป
    ๘. ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต ฯ
    [๓๔๖] ทานุปบัติ ๘ อย่าง
    ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้ายาน ดอกไม้
    ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะหรือ
    พราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาเห็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ
    คฤหบดีมหาศาล ผู้เพรียบพร้อมพรั่งพร้อม ได้รับการบำรุงบำเรอด้วยกามคุณห้าอยู่ เขาจึงคิด
    อย่างนี้ว่า โอหนอเบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของกษัตริย์
    มหาศาลพราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้อบรม
    จิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูงย่อมเป็นไปเพื่อเกิด
    ในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความ
    ตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ
    ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ
    ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทาน
    แก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่าจาตุ
    มหาราชิกา มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุขดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้า
    แต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเหล่าจาตุมหาราชิกา เขาตั้งจิตนั้นไว้
    อบรมจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้อง
    สูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล
    ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ
    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้า
    ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่
    สมณะหรือพราหมณ์เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่าดาวดึงส์มี
    อายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุขดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
    กายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่าดาวดึงส์ เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิต
    นั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลวมิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็น
    ไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแลเรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย
    ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ
    ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้า
    ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่
    สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่ายามามีอายุ
    ยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
    กายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่ายามา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้น
    ไว้อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไป
    เพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีลผู้มีอายุทั้งหลาย
    ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ
    ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้า
    ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทานแก่
    สมณะหรือพราหมณ์เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไปเขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่าดุสิตามีอายุ
    ยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
    กายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่าดุสิตา เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้น
    ไว้ อบรมจิตนั้นไว้จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็น
    ไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุ
    ทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ
    ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้า
    ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทาน
    แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่านิมมา
    นรดี มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้า
    แต่ตายเพราะกายแตกเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่านิมมานรดี เขาตั้งจิตนั้นไว้
    อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้อง
    สูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล
    ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ
    ๗. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ
    ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็น
    ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่าพวกเทพเหล่า
    ปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุขดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ
    เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่าปรนิมมิตวสวัตดี
    เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับ
    อบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่
    สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ
    ๘. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ
    ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็น
    ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่าพวกเทพที่นับเนื่อง
    ในหมู่พรหม มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุขดังนี้ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้อง
    หน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหม เขา
    ตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบ
    รมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำ
    หรับผู้ทุศีล สำหรับคนที่ปราศจากราคะ ไม่ใช่สำหรับคนที่ยังมีราคะ ผู้มีอายุทั้งหลาย ความ
    ตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะปราศจากราคะ ฯ
    [๓๔๗] โลกธรรม ๘ อย่าง
    ๑. มีลาภ
    ๒. ไม่มีลาภ
    ๓. มียศ
    ๔. ไม่มียศ
    ๕. นินทา
    ๖. สรรเสริญ
    ๗. สุข
    ๘. ทุกข์ ฯ
    [๓๔๘] บริษัท ๘ อย่าง
    ๑. บริษัทกษัตริย์
    ๒. บริษัทพราหมณ์
    ๓. บริษัทคฤหบดี
    ๔. บริษัทสมณะ
    ๕. บริษัทพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา
    ๖. บริษัทพวกเทพชั้นดาวดึงส์
    ๗. บริษัทพวกเทพชั้นนิมมานรดี
    ๘. บริษัทพรหม ฯ
    [๓๔๙] อภิภายตนะ ๘ อย่าง
    ๑. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่เล็กมีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณ
    ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
    ข้อที่หนึ่ง ฯ
    ๒. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่มีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณ
    ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
    ข้อที่สอง ฯ
    ๓. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็กมีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณ
    ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
    ข้อที่สาม ฯ
    ๔. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่มีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณ
    ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ
    ข้อที่สี่ ฯ
    ๕. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียว
    ล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว หรือว่าผ้าที่
    กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้
    ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณะเขียว เขียวล้วน
    มีรัศมีเขียวฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น
    อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ห้า ฯ
    ๖. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะเหลือง
    เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง
    หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยง เหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน
    มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใดผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณะ
    เหลืองเหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญ
    อย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หก ฯ
    ๗. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน
    มีรัศมีแดง ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง หรือว่าผ้าที่กำเนิดใน
    เมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยง แดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด
    ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายในเห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณะแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง
    ฉันนั้นเหมือนกันครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็น
    อภิภายตนะข้อที่เจ็ด ฯ
    ๘. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน
    มีรัศมีขาว ดาวประกายพฤกษ์อันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว หรือว่าผ้าที่กำเนิดใน
    เมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยง ขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใด
    ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายในเห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว
    ฉันนั้นเหมือนกันครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็น
    อภิภายตนะข้อที่แปด ฯ
    [๓๕๐] วิโมกข์ ๘ อย่าง
    ๑. บุคคลเห็นรูปทั้งหลาย อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง ฯ
    ๒. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สอง ฯ
    ๓. บุคคลย่อมน้อมใจไปว่าสิ่งนี้งามทีเดียว อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม ฯ
    ๔. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่
    ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้าถึงอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด
    มิได้ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่ ฯ
    ๕. เพราะล่วงเสียซึ่งอาการสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงวิญญาณัญ
    จายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า ฯ
    ๖. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงอากิญ
    จัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก ฯ
    ๗. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงเนวสัญญา
    ยตนะอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข้อที่เจ็ด ฯ
    ๘. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึง
    สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด ฯ
    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๘ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรง
    เห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน
    พึงสังคายนาไม่พึงแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้นพึง
    เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์
    เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    จบ หมวด ๘
     
  10. อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๓๑
    [๖๖๙] อัสสามันตปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ เป็น
    ไฉน ฯ
    อรรถปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วย
    ปัญญา โดยการกำหนดอรรถ ธรรมปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
    ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดธรรม นิรุติปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลใดบรรลุแล้ว
    ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุติ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคล
    ผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องด้วยปัญญา โดยการกำหนดปฏิภาณใครอื่นย่อมไม่สามารถจะ
    ครอบงำอรรถ ธรรม นิรุติและปฏิภาณของบุคคลผู้นั้นได้และบุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้หนึ่งที่ใครๆ ครอบงำ
    ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงเป็นปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของกัลยาณปุถุชนห่างไกลแสนไกล
    ไม่ใกล้ไม่ชิดกับปัญญาของบุคคลที่ ๘ พระอรหันต์ เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน บุคคลที่ ๘ มีปัญญา
    ไม่ใกล้ ปัญญาของบุคคลที่ ๘ ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระโสดาบัน เมื่อ
    เทียบกับบุคคลที่ ๘ พระโสดาบันมีปัญญาไม่ใกล้ปัญญาของพระโสดาบันห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้
    ไม่ชิดกับปัญญาของพระสกทาคามี เมื่อเทียบกับพระโสดาบัน พระสกทาคามี มีปัญญาไม่ใกล้
    ปัญญาของพระสกทาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระอนาคามีเมื่อเทียบกับ
    พระสกทาคามี พระอนาคามีมีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระอนาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่
    ชิดกับปัญญาของพระอรหันต์ เมื่อเทียบกับพระอนาคามี พระอรหันต์มีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของ
    พระอรหันต์ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อเทียบกับพระ
    อรหันต์พระปัจเจกพุทธเจ้ามีปัญญาไม่ใกล้ เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้าและโลกพร้อมทั้ง
    เทวโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้เลิศ ทรงมีปัญญาไม่ใกล้ ทรงฉลาดใน
    ประเภทแห่งปัญญา ทรงมีญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงถึงเวสารัชชญาณ ๔ ทรงพละ ๑๐
    ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะทรงเป็นบุรุษนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษนำธุระ
    ไป ทรงมีพระญาณหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระเดชหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระยศหาที่สุดมิได้ ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง
    ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีอริยทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็นผู้นำไปให้วิเศษ ทรงนำไปเนืองๆ ทรงบัญญัติ
    ทรงพินิจ ทรงเพ่ง ทรงให้หมู่สัตว์เลื่อมใส แท้จริงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงยังมรรคที่ยัง
    ไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรง
    รู้จักมรรค ทรงทราบมรรค ทรงฉลาดในมรรค ก็แหละพระสาวกทั้งหลายในบัดนี้ และที่จะมีมาใน
    ภายหลัง ย่อมเป็นผู้ดำเนินไปตามมรรค
    แท้จริงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเมื่อทรงทราบก็ย่อมทรง
    ทราบ เมื่อทรงเห็นก็ย่อมทรงเห็น ทรงมีจักษุ ทรงมีญาณทรงมีธรรม ทรงมีพรหม ตรัสบอก ตรัสบอกทั่ว
    ทรงนำอรรถออก ทรงประทานอมตธรรม ทรงเป็นธรรมสามี เสด็จไปอย่างนั้น บทธรรมที่พระผู้มี
    พระภาคพระองค์นั้นไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงทราบ ไม่ทรงทำให้แจ้ง ไม่ทรงถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
    มิได้มี ธรรมทั้งปวงรวมทั้งที่เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบันย่อมมาสู่คลองในมุข คือ พระญาณ
    ของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้วโดยอาการทั้งปวง ชื่อว่าบทที่ควรแนะนำซึ่งเป็นอรรถเป็นธรรมที่ควร
    รู้ อย่างใดอย่างหนึ่งและประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ภพนี้
    ประโยชน์ภพหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลับ ประโยชน์เปิดเผย ประโยชน์ที่
    ควรนำไป ประโยชน์ที่นำไปแล้ว ประโยชน์ไม่มีโทษ ประโยชน์ไม่มีกิเลส ประโยชน์ขาวผ่อง หรือ
    ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ พระญาณของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นไปตลอดกายกรรม
    ปรมัตถประโยชน์ วจีกรรม มโนกรรมทั่วหมด พระญาณของพระพุทธเจ้ามิได้ขัดข้องในอดีต อนาคต
    ปัจจุบัน เนยยบทมีเท่าใด พระญาณก็มีเท่านั้น พระญาณมีเท่าใดเนยยบทก็มีเท่านั้น พระญาณมีเนยยบท
    เป็นที่สุดรอบ เนยยบทมีพระญาณเป็นที่สุดรอบพระญาณไม่เป็นไปเกินเนยยบท เนยยบทก็ไม่เกิน
    พระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในที่สุดรอบของกันและกัน เปรียบเหมือนผะอบสองชั้นสนิทกันดี
    ผะอบชั้นล่างไม่เกินผะอบชั้นบน ผะอบชั้นบนก็ไม่เกินผะอบชั้นล่าง ผะอบทั้งสองชั้นนั้นต่างก็ตั้ง
    อยู่ในที่สุดของกันและกัน ฉะนั้น พระพุทธญาณย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวงธรรมทั้งปวงเนื่องด้วย
    ความทรงคำนึง เนื่องด้วยทรงพระประสงค์ เนื่องด้วยทรงพระมนสิการ เนื่องด้วยพระจิตตุบาทของ
    พระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว พระพุทธญาณเป็นไปในสรรพสัตว์ พระพุทธเจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย
    อนุสัย ความประพฤติ อธิมุติ ของสรรพสัตว์ ย่อมทรงทราบหมู่สัตว์มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญา
    จักษุ ผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม
    พระองค์พึงทรงให้รู้ได้ง่าย พระองค์พึงให้รู้ได้ยาก เป็นภัพพสัตว์ เป็นอภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้ง
    เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไป
    ภายในพระพุทธญาณเปรียบเหมือนปลาและเต่าทุกชนิด โดยที่สุดตลอดจนปลาติมิและปลาติมิงคละ
    ย่อมว่ายวนอยู่ภายในมหาสมุทร ฉะนั้น เปรียบเหมือนนกทุกชนิด โดยที่สุดตลอดจนนกครุฑ
    ตระกูลเวนเตยยะ ย่อมบินร่อนไปในประเทศอากาศ ฉันใดดูกรสารีบุตร แม้บรรดาสัตว์ผู้มีปัญญา
    ก็ย่อมเป็นไปในประเทศพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน พุทธญาณแผ่ไป แล่นไปสู่ปัญหาของเทวดา
    และมนุษย์แล้วตั้งอยู่บรรดากษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด
    แต่งวาทะโต้ตอบ มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวทำลายปัญญาและทิฐิ
    ด้วยปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วพากันเข้ามาหาพระตถาคต ถามปัญหาทั้งลี้ลับและ
    เปิดเผย ปัญหาเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคตรัสบอกและทรงแก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด
    ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคความจริง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหา
    เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงเป็นผู้เลิศ มีพระปัญญาไม่ใกล้ นี้เป็นอัสสามันตปัญญา
    ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ ฯ

    ----
    ขอให้ท่านทั้งหลายเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรม
     

แชร์หน้านี้