ทหารสหัฐอเมริกา (จีไอ)กับเมืองอุดร

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย เทพธรรมบาล, 12 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,218
    ค่าพลัง:
    +293
    ตอน1 "ภาษาอังกฤษแบบมหามั่ว"

    [​IMG]

    You sleep on me ten doll okay?
    One by one, don’t down India.
    ภาษาอังกฤษแบบมหามั่วนี้ ได้จากอาจารย์ถวิล เข็มทอง แห่งวิทยาลัยครูอุดรธานี ครูสอนภาษาอังกฤษให้กับ “เมียเช่า” และสอนภาษาไทยให้กับ “จีไอ” ด้วยเห็นช่องว่างทางภาษาและวัฒนธรรม แล้วจดจำมาบอกเล่าแก่นักศึกษาในยุค “จีไอครองเมือง” ในสมัยที่เจ้าของเสียง “โกญจนาท” ยังเป็นอาจารย์หนุ่มและใหม่หมาดจากอินเดีย

    นอนกับฉันไหม สิบเหรียญเอง
    คนเดียวนะจ๊ะ ห้ามลงแขก

    นั่นคือคำแปลสำหรับประโยคข้างต้น ซึ่งภาษานี้เรียกกันว่า “ภาษาเมียเช่า” เกิดจากการผสมผสานแบบจับแพะชนแกะของเหล่าหญิงไทย ที่ส่วนใหญ่ได้แก่แม่ร้าง-นางหม้าย ผัวหย่า ผัวหนี ผัวตาย มีระดับการศึกษาเพียงภาคบังคับ (ป.๔) ไร้ทางออก ชีวิตสิ้นหวัง สิ้นหวังทั้งจากการหาชายมาคุ้มครองเป็นสามี สิ้นหวังทั้งจากสภาพทางเศรษฐกิจในภาคเกษตร เลยหันมาเป็นเมียของ ... ฝรั่งจีไอ ที่มีทั้งฝรั่งผิวขาว ตาน้ำข้าว และ...

    นิ... โกร โอ้โฮ้ ตัวใหญ่
    หญิงไทยใจกล้าคว้าเอามาเป็นผัว
    หลงมัวเหรียญดอลล์อีกหน่อยก็นอนพุงป่อง
    ฝรั่ง ไทยไม่มอง คงร้องให้แขกมอง.... (ปอง ปรีดา. เพลง เหรียญดอล)

    หญิงสาวชาวบ้านในสมญาใหม่ “เมียเช่า” เป็นตัวแทนและสัญลักษณ์ของเมืองอุดรฯ ในยุค จีไอครองเมืองได้ดีที่สุด และ “เมียเช่า” เป็นเพียงกรณีเดียวในบรรดานานาความเป็นไปและสภาพปัญหาของสังคมเมืองอุดรฯ ในยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง และส่งผลต่อเนื่องต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนอุดรฯ ในปัจจุบั

    แหล่งข้อมูล : นนท์ พลางวัน ผู้ประสานงานโครงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ลูกทุ่งอีสาน
    สาวิณี ชาวสวน นิสิตฝึกงาน ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อภาคพลเมือง (ภาคอีสาน) 23:03 1/2/2555
     
  2. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,218
    ค่าพลัง:
    +293
    ตอน2 "ที่มาของจีไอ"



    [​IMG]

    ที่มาของจีไอ
    ในคราวที่ไปนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลวอเตอร์รีด มีประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์เป็นเจ้าของไข้ หลังการผ่าตัดเปลี่ยนระบบทางเดินโลหิตดำสำเร็จ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๑ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เข้าพบบุคคลสำคัญของสหรัฐฯ อาทิ ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์และคณะรัฐมนตรี นอกจากจะขอความช่วยเหลือเพื่อให้ได้กลับเข้ามีอำนาจทางการเมืองในไทยแล้ว ยังได้เสนอแผนการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นที่ถูกใจของผู้นำสหรัฐฯ และนายดิลเลิน (Dillon) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายเศรษฐกิจ ได้เสนอหลักการการพัฒนาเศรษฐกิจแนวเสรีนิยมให้แก่จอมพลสฤษดิ์ ต่อมา จอมพลสฤษดิ์ได้นำเอาหลักการพัฒนาเศรษฐกิจและแผนการต่อต้านคอมมิวนิสต์ให้ทีมงานจากไทยร่างเป็นแผนการปฏิวัติ ที่ซันนิ่งเดล (Sunning Dale) ในกรุงลอนดอน (ฝ่ายข่าวพิเศษ. ๒๕๔๕ : ๖๗-๖๘)

    ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ มีการผลักไสสามล้อถีบให้พ้นถนน เพื่อหลีกทางให้กับความทันสมัยศิวิไลซ์ ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐฯ ที่เข้ามาจัดทำแผนพัฒนาชาติ และต่อมาก็อนุญาตให้สหรัฐฯ ตั้งฐานทัพในไทย ซึ่งเป็นฐานทัพอากาศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับ ๓ ประเทศอินโดจีน ได้แก่ ลาว เวียดนามและกัมพูชา ซึ่งนั่นก็หมายถึงจังหวัดทางภาคอีสาน ทั้งโคราช (นครราชสีมา) นครพนม อุดรธานี อุบลราชธานี ความใกล้ของระยะทาง ว่ากันว่า ทหารจีไอขับเครื่องบินไปทิ้งระเบิดใส่บ้านเรือนชาวบ้านในประเทศเหล่านี้ ยังกลับมาทันกินส้มตำที่เมียเช่าเริ่มตำเมื่อตอนที่ผัวฝรั่งเริ่มออกบิน

    จีไอ หรือ G.I. เป็นคำย่อของคำว่า “Government Issue” หมายถึง หมายเรียกเข้ารับการเกณฑ์ทหารของชาวอเมริกัน ซึ่ง G.I. ในที่นี้ก็คือ ทหาร
    อเมริกันที่ถูกเกณฑ์ให้เข้าไปรบในสงครามเวียดนาม โดยเริ่มเข้าประจำการในไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ และเริ่มปฏิบัติการอย่างหนักในช่วง พ.ศ. ๒๕๑๐ (ชุมศักดิ์ นรารัตนวงศ์. ๔๕-๔๖) ทหารจีไอส่วนใหญ่ได้แก่หนุ่มฉกรรจ์ที่ถูกหมายเลือกเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ซึ่งคล้ายกันกับทหารเกณฑ์ของไทยตรงที่ คนเหล่านี้เป็นหนุ่มบ้านนอก การศึกษาค่อนข้างต่ำ ดังจะเห็นได้จาก การที่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากไทย เนื่องจากพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม กลุ่มทหารเหล่านี้ต่างถูกทอดทิ้ง บางรายกลายเป็นปัญหาของสังคมอเมริกัน และกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีปฏิสัมพันธ์ หรือเข้ากันกับชาวพื้นเมืองมากที่สุด

    แหล่งข้อมูล : นนท์ พลางวัน ผู้ประสานงานโครงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ลูกทุ่งอีสาน
    สาวิณี ชาวสวน นิสิตฝึกงาน ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อภาคพลเมือง (ภาคอีสาน) 23:00 1/2/2555
     
  3. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,218
    ค่าพลัง:
    +293
    ตอน3 "เมืองอุดรฯ ก่อนการมาถึงของ จีไอ”


    VNWar07.jpg

    เมืองอุดรฯ ก่อนการมาถึงของ “จีไอ”

    จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดที่อยู่ห่างจากแนวชายแดนกว่า ๕๐ กิโลเมตร จึงเป็นจังหวัดที่อยู่นอกเขตสนธิสัญญาห้ามตั้งกองกำลังทหารที่สยามทำไว้กับฝรั่งเศส ในยุคก่อนที่ทหารสหรัฐฯ จะเข้าประจำการ เมืองอุดรฯ ก็เหมือนกับตัวเมืองส่วนใหญ่ของภาคอีสาน กล่าวคือ เป็นศูนย์กลางหรือชุมทางของการค้าของประชาชนในจังหวัด เช่น การค้าวัว ควาย และพืชผลเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ข้าว และของป่า ชื่อสถานที่ในตัวเมืองอุดรฯ ในปัจจุบันสื่อให้เห็นร่องรอยในอดีต เช่น สี่แยกคอกวัว ชื่อนี้ได้จากเดิมเป็นสนามวัว-ควาย หรือตลาดนัดวัว-ควาย ที่บรรดานายฮ้อยนำมาซื้อ-ขายกัน

    ชีพจรของระบบเศรษฐกิจเมืองอุดรฯ จึงเริ่มต้นจากบริเวณตลาดนัดวัว-ควาย แล้วขยายตัวออกไปยังจุดอื่นๆ จะเห็นได้จากย่านธุรกิจสำคัญของเมืองอยู่ที่ย่านสี่แยกคอกวัวและรัศมีรายรอบ แม้แต่ซ่องโสเภณีเก่าแก่ของเมือง คือ เสาไฟแดง ก็ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสี่แยกคอกวัว ซึ่งเกิดขึ้นเพื่อรองรับธุรกิจซื้อ-ขายปศุสัตว์บริเวณสี่แยกคอกวัว นั่นเอง

    เดิมสภาพตัวเมืองอุดรฯ ยังรกครึ้มด้วยไม้ยืนต้นนานาชนิด อันเป็นไม้ป่า และต้นไม้ใหญ่ได้กลายเป็นจุดสำคัญ (land mark) เป็นที่นัดพบของชาวบ้านที่เข้าเมืองเพื่อนำสินค้าเกษตรไปขาย เช่น ชาวบ้านที่เข้าอุดรฯ เพื่อขายข้าว มักนัดพบกันที่ “ต้นเค็งใหญ่” เป็นต้น ร่องรอยของต้นไม้ยังปรากฏให้เห็นตามสถานที่เก่าแก่ เช่น วัด หรือสถานที่ราชการ เมืองอุดรฯ ในยุคนั้น จึงมีสภาพเหมือนเมืองสำคัญๆ ในภูมิภาคแถบนี้ เช่น ย่างกุ้ง ในพม่า หรือเว้ ในเวียดนาม ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ทั่วทั้งเมือง

    ประชากรดั้งเดิมของเมืองอุดรฯ เป็นชาวพวน ที่เคลื่อนย้ายมาจากทางทิศตะวันออกของตัวเมือง แถบบ้านเชียง ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันออกของเมือง แถบตลาดหนองบัว และประชากรอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่ ชาวจีน และชาวเวียดนาม โดยชาวจีนเข้ามาภายหลังที่มีการสร้างทางรถไฟถึงนครราชสีมา คนจีนเหล่านี้เดินทางมากับรถไฟ เมื่อถึงนครราชสีมาบางส่วนก็กระจายเข้าสู่ตัวเมืองต่างๆ รายทาง ส่วนใหญ่ได้แก่ชาวจีนแต้จิ๋วและไหหลำ อันเป็นประชากรจีนที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เป็นชาวจีนที่ทำการเกษตร สาเหตุที่อพยพเข้าไทยก็เนื่องจากเกิดทุพภิกขภัยในจีน จึงออกแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่า ในระยะแรกชาวจีนประกอบอาชีพซื้อ-ขายสินค้าเกษตรและของป่า สะสมทุนจากส่วนต่างของราคาสินค้า เรียกว่า ซื้อมา-ขายไป เมื่อมีทุนมากขึ้นก็ขยายสาขาทางธุรกิจ จนในที่สุด ชาวจีนเมืองอุดรฯ ก็สามารถกุมเศรษฐกิจของจังหวัดได้อย่างเบ็ดเสร็จ

    ส่วนชาวเวียดนาม หรือชาวญวน เดินทางเข้าสู่อุดรฯ โดยทางบก ด้วยการเดินเท้าผ่านลาว และเข้าสู่ภาคอีสานในช่วงที่มีการสู้รบระหว่างชาวเวียดนามกับเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ที่เรียกว่า สงครามเดียนเบียนฟู ซึ่งการสู้รบในครั้งนั้น ประชาชนชาวเวียดนามสามารถเอาชนะฝรั่งเศส จนเป็นเหตุให้ฝรั่งเศสต้องถอนตัวจากอินโดจีน ในระหว่างนั้น ชาวเวียดนามได้หลั่งไหลหนีภัยสงครามเข้าสู่ภาคอีสาน และภาคตะวันออกหลายจังหวัด ในระยะแรก ชาวเวียดนามค้าขายโดยการนำสินค้าในตลาดไปแลกเปลี่ยนกับพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าวเปลือก โดยชาวเวียดนามใช้ตะกร้าบรรจุเนื้อหมู-เนื้อวัวหาบไปถึงลานนวดข้าวเลยทีเดียว ซึ่งชาวอีสานที่เหน็ดเหนื่อยจากการกรำงานนา เมื่อมีผู้นำเนื้อไปส่งถึงที่ก็มักตักข้าวเปลือกในลานให้อย่างเต็มที่ แล้วชาวญวนก็หาบข้าวเปลือกไปขายเปลี่ยนเป็นเงิน และนำเงินไปซื้อเนื้อไปแลกข้าวสะสมกำไรอย่างเงียบๆ เนื่องจากไทยมีกฎหมายกีดกันชาวเวียดนามมิให้ประกอบอาชีพบางประเภท เพื่อไม่ให้แย่งอาชีพของคนไทย เช่น ถีบสามล้อ ตัดผม เป็นต้น ซ้ำยังถูกห้ามมิให้เดินทางออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัย แต่ชาวเวียดนามก็อาศัยช่องทางที่มีอยู่น้อยนิด ประกอบอาชีพด้วยความอุตสาหะ เช่น เป็นช่างถ่ายภาพ และเปิดร้านถ่ายรูป เป็นช่างตัดเย็บเสื้อผ้า และเปิดร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ทำอาหารและเปิดร้านอาหาร เป็นต้น ด้วยเป็นคนขยันขันแข็ง หนักเอาเบาสู้ และประหยัดอย่างยิ่ง แม้ถูกปิดกั้นแต่ชาวญวนก็สร้างฐานะจนร่ำรวย แต่ชาวญวนมีความสมถะ ไม่ฟุ้งเฟ้อ จึงดูเหมือนว่าชาวญวนเมืองอุดรฯ ไม่มีบทบาทในทางเศรษฐกิจของจังหวัดนัก แต่แท้จริง ทุนของชาวเวียดนามในอุดรฯ มีมากจนสามารถกุมเศรษฐกิจเมืองอุดรฯ ในระดับเดียวกับชาวจีน ยิ่งในระยะหลังที่ชาวญวนได้สัญชาติไทยโดยพระราชบัญญัติสัญชาติฯ ชาวญวนทั้งที่เข้ามาในยุคสงครามเดียนเบียนฟู และที่อพยพในระยะต่อมาในช่วงสงครามเวียดนาม ทำให้ทุนของชาวญวนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

    แหล่งข้อมูล : นนท์ พลางวัน ผู้ประสานงานโครงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ลูกทุ่งอีสาน
    สาวิณี ชาวสวน นิสิตฝึกงาน ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อภาคพลเมือง (ภาคอีสาน) 22:57 1/2/2555
     
  4. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,218
    ค่าพลัง:
    +293
    ตอน4 เมืองอุดรฯ ยุค “จีไอครองเมือง”

    [​IMG]

    เมืองอุดรฯ ยุค “จีไอครองเมือง”

    เมื่อรัฐบาลไทยอนุญาตให้สหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพ ตามแผนการต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่เสนอต่อสหรัฐฯ เมืองอุดรฯ จึงเป็นฐานทัพสำคัญที่สุดของสหรัฐฯ เนื่องจากอุดรฯ มีชัยภูมิที่อยู่ใกล้ประเทศคอมมิวนิสต์มากที่สุด ทั้งลาวและเวียดนาม อุดรฯ เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการของหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ (CIA) และเป็นศูนย์บัญชาการรบในลาว มีสำนักงานอยู่ที่ “ตึกขาว” หรือที่คนอุดรฯ เรียกว่า “White House” อยู่ภายในบริเวณเดียวกันกับสถานีวิทยุ วปถ. ๗ ความสำคัญของเมืองอุดรฯ ต่อสงครามของสหรัฐฯ เห็นได้จากการที่สหรัฐฯ ได้ตั้งสถานีเรดาร์ ที่เชื่อกันว่า เป็นสถานีเรดาร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ตั้งอยู่ที่ค่ายรามสูร บ้านโนนสูง ต.โนนสูง อ.เมือง และอุดรฯ ยังเป็นที่ตั้งกงสุลสหรัฐฯ อีกด้วย

    การมาของทหารสหรัฐฯ หรือจีไอ ทำให้เศรษฐกิจของทุกจังหวัดอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพสะพัดอย่างยิ่ง เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ด้วยการใช้จ่ายของทหารจีไอ และการจ้างงาน ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของอุดรฯ อันเกิดจากฐานทัพสหรัฐฯ ทำให้ย่านธุรกิจที่กระจุกตัวอยู่ในใจกลางเมือง กล่าวคือ แนวหนือ-ใต้ ตั้งแต่สี่แยกคอกวัวถึงห้าแยกน้อย (ห้าแยกกรมหลวงฯ ประจักษ์ฯ ในปัจจุบัน) แนวตะวันออก-ตะวันตก ตั้งแต่ตลาดไทยอิสาณถึงหนองประจักษ์ มีการขยายตัวของเมือง มีตึกรามบ้านเรือนขยายตัวไปในทุกทิศทาง โดยเฉพาะบริเวณใกล้ที่ตั้งฐานทัพ หรือ “หน้าแอร์ฟอร์ซ” (Air Force Base) ทั้งสองข้างทางบนถนนมิตรภาพกระจายเข้าสู่ซอกซอย โดยเฉพาะซอยศรีพินิจ ด้วยมีบังกะโล (bungalow) หรือบ้านเช่าสำหรับทหารจีไอที่ต้องการพักอาศัยนอกค่ายทหารอยู่เป็นอันมาก และการขยายตัวยังลามไปสู่วงนอกแถบบ้านจั่น บ้านดงเค็ง และโนนสูง

    กลิ่นดอลลาร์เรียกนักธุรกิจและนักแสวงโชคจากทุกสารทิศให้มุ่งหน้าสู่อุดรฯ โดยคนเหล่านี้ประกอบธุรกิจนานาประเภท ในห้วงนั้น ถือเป็นการอพยพเข้าสู่เมืองอุดรฯ ของคนต่างถิ่นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ แม้แต่ชาวอินเดียที่ขายผ้าและทำร้านตัดเสื้อผ้าในกรุงเทพฯ ยังเดินทางมาประกอบธุรกิจตัดชุดสูทที่อุดรฯ เช่น ร้าน Maharaja เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่เปลี่ยนโฉมหน้าของเมืองอุดรฯ อย่างสำคัญ ได้แก่ ธุรกิจบันเทิง เช่น คลับ บาร์ อาบอบนวด รู้จักกันในชื่อ Turkish Bath อะโกโก้ ร้านอาหาร ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ผุดขึ้นราวดอกเห็ดหน้าฝน และมีอยู่ทุกซอกทุกซอย จนเปลี่ยนสภาพทางกายภาพของเมืองจากเมืองสงบร่มรื่นกลายเป็นเมืองแห่งแสงสีของคลับ บาร์ ดังในเพลง

    ... หาแก้วตาทั่วบาร์ ทั่วคลับ
    ไม่ได้นอนไม่ได้หลับ เพราะอยากจะพบคนดี
    หาจนทั่วอุดรฯ น้องก็ไม่เห็นมี จากอุดรธานี ที่ไปตามที่หนองคาย ... (ศักดิ์สยาม เพชรชมภู. เพลง ตามน้องกลับสารคาม)

    นอกจากธุรกิจเริงรมย์แล้ว กระแสวัฒนธรรมตะวันตกได้ถาโถมเข้าสู่อุดรฯ อย่างเชี่ยวกราก ว่ากันว่า ภาพยนตร์ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ในอุดรฯ เป็น
    ภาพยนตร์เข้าฉายพร้อมกับโรงภาพยนตร์ในนิวยอร์ก มีนักลงทุนด้านโรงภาพยนตร์เพื่อรองรับภาพยนตร์ที่ส่งตรงจากสหรัฐฯ ได้แก่ โรงภาพยนตร์อัมพร เดอลุกซ์ ที่
    ฉายเฉพาะภาพยนตร์ฝรั่ง ขณะเดียวกันก็เกิดนักพากย์ภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก อาทิ โกญจนาท มหาราช อำนวยพร เป็นต้น อันถือว่าเป็นยุครุ่งเรืองสูงสุด
    ของวงการพากย์ภาพยนตร์

    สิ่งที่มาควบคู่กับภาพยนตร์ คือ แฟชั่นเครื่องแต่งกายที่เอาอย่างชาวอเมริกัน เยาวชนของอุดรฯ ถูกกระตุ้นให้ตื่นตัวและรับเอาแฟชั่นการแต่ง
    กายอย่างอเมริกัน กางเกงต้องกางเกงยีนส์ลีวายส์ (Levi’s) ป้ายส้ม (ขาม้า) และป้ายแดง (ขากระบอก หรือ ขาเดฟ) เสื้อยึดยี่ห้อ Fruits of the Loom และ Hanes รองเท้าผ้าใบยี่ห้อ Converse รุ่น All Stars แต่เนื่องจากธุรกิจเสื้อผ้ายังก้าวไม่ทันสมัยนิยม วัยรุ่นอุดรฯ จึงอาศัยเสื้อผ้าเก่าของทหารจีไอที่ทิ้งแล้ว และส่วนหนึ่งได้จาการรับซื้อของโจรจากหัวขโมย

    นอกจากแฟชั่นเสื้อผ้าแล้ว ภาพยนตร์อเมริกันยังส่งเสริมแฟชั่นรถจักรยานยนต์ด้วย โดยการส่งเสริมของนักธุรกิจนำเข้า มีการจัดการแข่งขัน “มอเตอร์ไซค์วิบาก” หรือ Moto Cross โดยใช้ทุ่งศรีเมืองเป็นสนามแข่งในทุกเดือน จนทำให้ชาวอุดรฯ ครอง “แชมป์โมโต ครอส” มาโดยตลอด อาทิ จอห์น อิสรัมย์ อดิเรก แซ่ลิ้ม อรรณพ ขำสมบัติ เป็นต้น

    ทุ่งศรีเมือง ถือเป็นสถานที่อันเป็นสัญลักษณ์ของอุดรฯ ในยุคจีไอครองเมืองจึงกลายเป็นทั้งสถานที่รองรับกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมตะวันตก แหล่งสถานเริงรมย์ ซึ่งเป็นตัวสะท้อนความเหลวแหลกฟอนเฟะของสังคมเมืองอุดรฯ ได้ดีที่สุด นอกจากทุ่งศรีเมืองจะเป็นสถานที่จัด “งานหลักเมือง” ซึ่งต่อมาเรียก “งานทุ่งศรีเมือง” ซึ่งในยุคจีไอถือว่า “งานทุ่ง” เป็นงานที่สนุกสนานตื่นตาตื่นใจสำหรับชาวบ้านอุดรฯ อย่างยิ่ง ขนาดทหารอเมริกันนำเอาเครื่องบินเข้าไปจัดแสดงในงาน และในยามค่ำคืน ทุ่งศรีเมืองได้กลายสภาพเป็นแหล่งมั่วสุมของ “กะเทย” โดยทุ่งศรีเมืองได้กลายเป็นแหล่งเสพสุขของกลุ่มรักร่วมเพศอย่างโจ๋งครึ่ม โดยอาศัยพงหญ้าของสนามเป็นที่กำบัง แม้แต่ฐานอนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ฯ ที่ตั้งอยู่ที่มุมด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทุ่งศรีเมือง ก่อนย้ายมาประดิษฐานที่วงเวียนห้าแยกน้อย (เดิม) ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณทางทิศใต้ของทุ่งศรีเมืองมีการเปิดกิจการร้านอาหาร ชื่อ “สวนศรีเมือง” ที่เป็นแหล่งมั่วสุมของสาวประเภทสอง

    ในยุคเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจ ใช่แต่คนต่างถิ่นเท่านั้นที่ร่ำรวยจากธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เป็นทหารจีไอ ภาวะเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจได้ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดพลอยกระเตื้องขึ้นด้วย เนื่องจากมีการจ้างงานในฐานทัพ ทำให้ชาวบ้านมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น เกิดการจับจ่าย การมาของทหาร จีไอจึงพลอยทำให้ธุรกิจของชาวจีนและเวียดนามที่กุมเศรษฐกิจเมืองอุดรฯ อยู่ก่อนกระเตื้องขึ้นตามไปด้วย

    แหล่งข้อมูล : นนท์ พลางวัน ผู้ประสานงานโครงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ลูกทุ่งอีสาน
    สาวิณี ชาวสวน นิสิตฝึกงาน ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อภาคพลเมือง (ภาคอีสาน) 22:52 1/2/2555
     
  5. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,218
    ค่าพลัง:
    +293
    ตอน5 "งานแค้มป์"

    [​IMG]

    งานแค้มป์

    เมื่อ “ทหารจีไอ” เข้าตั้งฐานทัพทางอากาศในอุดรฯ ได้เกิดการจ้างงานเป็นอันมาก โดยมีบริษัทรับเหมาช่วง หรือ sub-contracted ซึ่งงานส่วนใหญ่ที่ทำในแค้มป์ได้แก่งานก่อสร้างอาคาร ระบบสาธารณูปโภค สนามบิน การดูแลรักษาความสะอาด ซึ่งชาวอุดรฯ เรียกงานที่ทำให้ฐานทัพสหรัฐฯ ว่า “งานแค้มป์” บ้าง “

    งานแอร์ฟอร์ซ” บ้าง งานดังกล่าวถือว่าเป็นการสร้างความสั่นสะเทือนทางด้านแรงงานอย่างมาก เนื่องจากคิดอัตราการจ้างระดับเดียวกับการจ่ายค่าแรงในสหรัฐฯ หรือจ่ายเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ (อัตราแลกเปลี่ยน ๒๐ บาทต่อ ๑ เหรียญฯ) เช่น “คาร์เพ็นเตอร์” (carpenter) หรือช่างไม้ ซึ่งเป็นงานช่างฝีมือ กินเงินเดือน ๑,๘๖๐ บาท มากกว่าพวกเจนิเตอร์ (janitor) หรือภารโรง และพวกเลเบอร์ (labor) หรือกรรมกร จะเป็นรองก็แต่พวกแมขะนิก (mechanic) หรือช่างไฟฟ้า ซึ่งกินเงินเดือน แพงกว่าตำแหน่งใดๆ ในระดับชาวบ้าน และแพงกว่าเงินเดือนข้าราชการครู นอกจากนี้ยังมี “กุ๊ก” หรือพ่อครัวในบาร์ภายในฐานทัพสหรัฐฯ หรือที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปของผู้คนในฐานทัพว่า “บาร์เอ็นซีโอ” (NCOs’ Bar) หรือสโมสรของทหารชั้นประทวน (Non-Committed Officers’ bar) และบาร์เอ็นซีโอก็เป็นแหล่งบ่มเพาะนักดนตรีและวงดนตรีแนวฮาร์ด ร็อก/เฮฟวี่ เมตัล ของเมืองไทย นักดนตรีแนวนี้หากไม่เคยผ่านงานที่บาร์เอ็นซีโอ เมืองอุดรฯ แล้ว ยังพูดไม่ได้เต็มปากนักว่าเป็น “ขาร็อก”

    ดังนั้น บาร์เอ็นซีโออุดรฯ จึงเป็นบ่อทองคำสำหรับชุบตัวร็อกเกอร์จำนวนมาก ในจำนวนนั้น อาทิ แหลม มอร์ริสัน แห่งวง วีไอพี (VIP) ดิ แอฟเตอร์ดาย (The After Die) ดิ เอราวัณ (The Erawan) เดอะ ดริฟเตอร์ (The Drifter) และเดอะ คาเลโดสโคป (The Kaleidoscope) เป็นต้น

    แหล่งข้อมูล : นนท์ พลางวัน ผู้ประสานงานโครงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ลูกทุ่งอีสาน
    สาวิณี ชาวสวน นิสิตฝึกงาน ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อภาคพลเมือง (ภาคอีสาน) 22:50 1/2/2555
     
  6. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,218
    ค่าพลัง:
    +293
    ตอน6 "สภาพสังคมเมืองอุดรฯ ยุคจีไอครองเมือง"
    [​IMG]

    สภาพสังคมเมืองอุดรฯ ยุคจีไอครองเมือง

    ยาเสพติด
    เนื่องจากการเข้าทำสงครามของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม นัยว่าเป็นการทำสงครามเพื่อยับยั้งการแผ่ลามของลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นการเข้ารุกรานของประเทศมหาอำนาจต่อประเทศเล็กๆ อย่างเวียดนาม ขณะเดียวกันก็มีการต่อต้านสงครามของสหรัฐฯ โดยคนอเมริกันเอง จนกลายเป็นกระแสสังคม โดยมีบุปผาชน (hippy) ซึ่งไว้ผมยาว เพื่อให้ตรงกันข้ามกับทหารเป็นแกนหลัก จากสำนึกผิดบาปของทหารอเมริกัน รวมทั้งการที่ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนมานาน ทำให้ทหารสหรัฐฯ บางส่วนหันไปพึ่งพายาเสพติด เพื่อบำบัดความเครียด จากการใช้ภายในค่ายทหาร มีผู้นำออกมาจำหน่ายภายนอกค่าย การมาของทหารจีไอและฐานทัพสหรัฐฯ จึงสร้างผลกระทบต่อสภาพทางสังคมของเมืองอุดรฯ ด้วยปัญหายาเสพติด ประเภทเฮโรอีน และกลายเป็นปัญหาของเยาวชนอุดรฯ ในที่สุด

    เมียเช่า
    เมียเช่า เป็นคำเรียกขานอย่างดูถูกเหยียดหยาม เมียเช่าส่วนใหญ่ในยุคนั้น ได้แก่ หญิงสาวชาวบ้านที่หมดหวังจากการดำเนินชีวิต ทำให้ต้องสลัดผ้าซิ่น หันไปนุ่งมินิ สเกิร์ต ทำจริตจะก้านแบบฝรั่ง เพื่อเอาใจแฟนจีไอ ทำให้เกิดแรงต่อต้านจากสังคม ซึ่งสะท้อนในรูปของบทเพลงและกลอนลำ อาทิ

    ... ทำไมไม่ไป อยู่อเมริกา
    โอ้แหม่มปลาร้า กลับมาทำไมเมืองไทย
    ไปกินหมูแฮม ไข่ดาว หนมปังอันใหญ่
    ไอ้หนุ่มจีไอมันคอยเอาใจเอาใจโอ้โอ๋ ... (สายัณห์ สัญญา. เพลง แหม่มปลาร้า)

    แหม่มสี แหม่มสี
    มีสามีชื่อมิสเตอร์จอห์น
    แหม่มสีเยี่ยวรดที่นอน
    มิสเตอร์จอห์นถีบตกเตียง ... (สังข์ทอง สีใส. เพลง แหม่มสี)

    ... สาวน้อยสาวน้อยร้อยชื่อ
    นามระบือเลื่องลือไปไกล
    ชอบอยู่ก็ไม่เป็นที่
    จรลีไปทั่วเมืองไทย ... (ยอดรัก สลักใจ. เพลง สาวน้อยร้อยชื่อ)

    เก่ามาจากไหนมาใหม่แถวนี้
    น้องมาจากตาคลีหรือที่อุบลฯ ... (จีระพันธุ์ วีระพงศ์. เก่ามาจากไหน)

    เมียเช่าที่เป็นผู้หญิงชาวอุดรฯ ถูกกระแหนะกระแหน เยาะเย้ยถากถางมากที่สุด ดังในกลอนลำของทองคำ เพ็งดี ที่เรียกเมียเช่าสาวอุดรฯ “สาวอุดรจ้อนซิ่นแล่น” (ทองคำ เพ็งดี. เตือนใจสาวอุดร)

    เมื่อมีการถอนทัพของสหรัฐฯ ออกจากไทย ได้เกิดปัญหาเมียเช่าตามมา ทั้งโดยตัวของเมียเช่าเอง และผลพวงจากการมีสามีเป็นทหารจีไอ คือ ปัญหาลูกครึ่ง หรือปัญหา “ข้าวนอกนา” ปัญหาดังกล่าวได้รับการสะท้อนจากบทเพลงจำนวนมาก อาทิ

    ไอเขียนเล็ตเตอร์ ถึงมายเดียร์จอห์น
    เขียนในแฟล็ตที่ยูเคยนอน จังหวัดอุดรฯ ประเทศไทยแลนด์
    ไอโบรกเก็นฮาร์ท ยูมัสท์อันเด้อร์สแตนด์
    จอห์นจ๋าจอห์นดอลลาร์ขาดแคลน
    เมียเซ็กกันด์แฮนด์ของยูยังคอย ... (อาจินต์ ปัญจพรรค์. )

    กลับมาทำไม คุณนายโรงแรม
    เชิญไปเป็นแหม่ม เป็นแหม่มอยู่ที่เมืองนอก ... (จีระพันธุ์ วีระพงศ์. ?)

    เศรษฐกิจเฟื่องฟู
    การได้งานทำในฐานทัพสหรัฐฯ ทำให้ชาวอุดรฯ ส่วนใหญ่ได้รับผลประโยชน์ ทำให้มีรายได้ประจำที่ค่อนข้างสูง หมู่บ้านทุกหมู่บ้านมีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม จะเห็นได้จากบ้านส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นทรงที่เรียกว่า “ทรงบังกะโล” โดยเลียนบ้านพักของทหารจีไอ จนสถาปัตยกรรมแบบเรือนอีสานดั้งเดิมถูกเปลี่ยนจนแทบจะหมดสิ้น กว่า ๑ ทศวรรษ ที่ชาวอุดรฯ มีรายได้จากการเข้ามาของทหารจีไอ เมื่อสหรัฐฯ ถอนทัพ อันเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวขับไล่ของขบวน

    การนักศึกษาไทย ได้ทำให้ชาวอุดรฯ ส่วนใหญ่ไม่พอใจขบวนการของนักศึกษา และมีการเดินขบวนเพื่อให้รัฐบาลในยุคนั้นแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการขาดรายได้ ดังกรณีไทยการ์ด (Thai Guard)


    แหล่งข้อมูล : นนท์ พลางวัน ผู้ประสานงานโครงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ลูกทุ่งอีสาน
    สาวิณี ชาวสวน นิสิตฝึกงาน ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อภาคพลเมือง (ภาคอีสาน) 22:46 1/2/2555
     
  7. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,218
    ค่าพลัง:
    +293
    ตอน7 "นวัตกรรมจากจีไอ"

    [​IMG]
    นวัตกรรมจากจีไอ

    ในการเข้ามาของทหารจีไอ พร้อมด้วยยุทธปัจจัย ได้ทำให้ชาวบ้านที่มีหัวทางการประดิษฐ์ได้นำเอาสิ่งของที่ได้จากทหารจีไอไปประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตเป็นอันมาก ยุคนี้ ทหารอเมริกันมักมีการทิ้งร่มชูชีพ พร้อมลูกส่องสว่าง (flare) เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้เก็บร่มชูชีพไปกางให้ร่มเงาในงานบุญ แทนประรำพิธีแบบ

    เดิมที่ใช้วัสดุในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่และทางมะพร้าว ชาวนาได้ขวดลูกส่องสว่าง และขวดเหล้า-ขวดไวน์ ชนิดแกลลอนไปใส่น้ำไปดื่มในนา รวมถึงการนำเอาชุดนักบินไปสวมในการตีผึ้ง เป็นต้น

    แหล่งข้อมูล : นนท์ พลางวัน ผู้ประสานงานโครงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ลูกทุ่งอีสาน
    สาวิณี ชาวสวน นิสิตฝึกงาน ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อภาคพลเมือง (ภาคอีสาน) 22:43 1/2/2555
     
  8. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,218
    ค่าพลัง:
    +293
    ตอน8 "จีไอ มรดกเมืองอุดรฯ"
    [​IMG]


    จีไอ มรดกเมืองอุดรฯ

    นอกจากวัตถุสิ่งของอันเป็นเสมือนมรดกและของที่ระลึกจากทหารจีไอแล้ว การเข้ามาของทหารจีไอ ซึ่งกินระยะเวลากว่า ๑ ทศวรรษ ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อชาวอุดรฯ ไม่เฉพาะทางกายภาพเท่านั้น หากทำให้มีการปรับเปลี่ยนทัศนคติ จนเป็นผลสืบเนื่องกระทั่งปัจจุบัน


    มนุษย์เงินเดือน
    การเข้ามาของทหารจีไอ นอกจากจะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้นแล้ว ในระดับปัจเจกได้ทำให้ชาวบ้านมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นด้วย เนื่องจากการขายแรงงาน หรือทำงานแค้มป์ ซึ่งเป็นรายได้ที่สูงหากเปรียบเทียบกับงานเกษตรกรรมที่เคยทำ รายได้จากการรับจ้างในฐานทัพ ทำให้ชาวอุดรฯ มีทัศนคติว่า การรับจ้างดี

    กว่าการทำเกษตร การมีเงินเดือนดีกว่าการทำมาหากินตามวิถีเดิม เมื่อสหรัฐฯ ถอนทัพกลับ บริษัทรับเหมาช่วงจึงเข้ารับงานในตะวันออกกลาง และนำคนงานจากอุดรฯ ไปทำงานตะวันออกกลางด้วย จนกลายเป็นกระแส “ไปซาอุฯ” เมื่อตลาดงานซาอุฯ วาย แรงงานจากอุดรฯ ก็เร่ร่อนเที่ยวขายแรงยังประเทศอื่นในหลายประเทศ

    ขณะเดียวกัน การที่ชาวอุดรฯ ได้คลุกคลีอยู่กับฝรั่งทหารจีไอ ทำให้สามารถสื่อสารกันได้ระดับหนึ่ง ที่สำคัญ ความสัมพันธ์ทำให้ไม่รู้สึกแปลกแยกกับฝรั่ง เมื่อเทคโนโลยีด้านสารสนเทศเฟื่องฟูควบคู่ไปกับโลกาภิวัตน์ มีการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต ทำให้มีการแต่งงานระหว่างหญิงไทยกับชายชาวตะวันตก งานแค้มป์ หรือ การคลุกคลีกับฝรั่งจากการสัมพันธ์กับทหารจีไอของชาวอุดรฯ ได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ทำให้มีผู้หญิงชาวอุดรฯ แต่งงานกับผู้ชายชาวตะวันตกเป็นจำนวนมาก กระแสผัวฝรั่งยังจะมีขึ้นอุดรฯ อีกในระยะยาว ซึ่งผลกระทบที่จะตามมาอาจมีมากกว่าการเข้ามาของทหารจีไอ ก็ได้


    แหล่งข้อมูล : นนท์ พลางวัน ผู้ประสานงานโครงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ลูกทุ่งอีสาน
    สาวิณี ชาวสวน นิสิตฝึกงาน ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อภาคพลเมือง (ภาคอีสาน) 22:40 1/2/2555
     
  9. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,218
    ค่าพลัง:
    +293
    ตอน9 (อวสาน) บทสรุป

    [​IMG]
    สรุป

    การเข้ามาของทหารสหรัฐฯ หรือ จีไอ เป็นปรากฏการณ์หนึ่งในสังคมอุดรฯ ซึ่งเป็นหน้าสำคัญหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ของจังหวัด แต่กลับไม่ใคร่มี

    การกล่าวถึง หรือศึกษาอย่างจริงจัง ทั้งๆ ที่ได้ก่อผลกระทบต่อสังคมเมืองอุดรฯ อย่างสำคัญ อุดรฯ คือ รูปธรรมหนึ่งที่เป็นสภาพการณ์จริงของ “การตกเป็นเมืองขึ้น” ที่

    ได้จำลองสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การทหารในขณะเมื่อทหารจีไอยังอยู่ถือเป็นการจำลองสภาพอาณานิคมที่เป็นจริงมากที่สุด

    กรณี “จีไอกับเมืองอุดร” เป็นกรณีตัวอย่างและอุทาหรณ์ ที่ทำให้เห็นปัญหาและผลกระทบจากของจริง แล้วกาลเวลาจะผ่านไปกว่า ๓ ทศวรรษแล้วก็ตาม

    เนื่องเพาะการเข้ามาของจีไอได้ส่งผลกระทบที่กินเวลาอย่างยาวนานเกินคาดคิด แท้จริงแล้ว การถอนทัพ หรือการขนทหารจีไอออกจากอุดรฯ กลับไม่ได้ทำให้เกิดการ

    เปลี่ยนแปลงมากนัก ในเมื่อชาวอุดรฯ ได้เปลี่ยนทัศนคติไปแล้ว และแท้จริง ความเป็นอาณานิคมยังดำรงอยู่ในเมืองอุดรฯ

    การมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีในยุคจีไอครองเมืองของชาวอุดรฯ สามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองในอุดรฯ ในปัจจุบันได้ดีในประเด็น การมองผล

    ระยะสั้น-ระยะยาว ผลประโยชน์เฉพาะหน้า-ผลประโยชน์ของประเทศชาติและภูมิภาค การเห็นแก่เงิน-จริยธรรม ผลประโยชน์-ความถูกต้อง การรู้เท่าทัน-การสยบยอม

    ต่อผลประโยชน์

    ปัญหา “จีไอกับเมืองอุดรฯ” นี้ อาจใหญ่เกินกว่าสติกำลังของชาวอุดรฯ จะแก้ไขปัญหาเพียงลำพังเสียแล้ว


    แหล่งข้อมูล : นนท์ พลางวัน ผู้ประสานงานโครงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ลูกทุ่งอีสาน
    สาวิณี ชาวสวน นิสิตฝึกงาน ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อภาคพลเมือง (ภาคอีสาน) 22:36 1/2/2555
     
  10. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,218
    ค่าพลัง:
    +293
  11. ไอ้นอกโลก

    ไอ้นอกโลก Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    572
    ค่าพลัง:
    +72
    ท่านนี่หลากแนวเหมือนกันนะ มีแต่คนเก่งๆ โมทนา สาธุครับ..
     
  12. Duangchan Rach

    Duangchan Rach Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2011
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +28
    ขอบคุณความรู้ดีๆนะคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...