ทางสายกลาง...อยู่ตรงไหน?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย chonatad, 5 มกราคม 2009.

  1. chonatad

    chonatad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +372
    <TABLE borderColor=#fac963 cellPadding=0 width=725 align=center bgColor=#e2e2e2 border=5><TBODY><TR><TD bgColor=#ecfae0>ทางสายกลาง...อยู่ตรงไหน? </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#fac963 cellPadding=0 width=725 align=center border=5><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR bgColor=#ffffcc><TD vAlign=center> </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 align=center bgColor=#f5f5f5 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลางเป็นหัวข้อหนึ่งในปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันอาสาฬหบูชา ซึ่งจะเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติธรรมของทุกคนต่อไปในภายภาคหน้า

    ทางสายกลางเป็นทางแห่งปัญญา เพราะหากปราศจากปัญญาแล้ว ย่อมไม่สามารถเดินไปถึงจุดหมายแห่งการพ้นทุกข์ได้ บางท่านเข้าใจผิดว่าทางสายกลางหมายถึง ไม่ดีสุดโต่งและไม่เลวสุดโต่ง ซึ่งไม่ใช่ความเห็นที่ถูกต้อง เพราะเรากำลังพูดถึงกุศลธรรมหรือธรรมฝ่ายดี ย่อมไม่ใช่การทำดีบ้างทำเลวบ้างตามที่บางคนเข้าใจ

    ทางสายกลางเป็นการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป

    เป็นความพอดี ซึ่งจุดของความพอดีสำหรับแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป เพราะแต่ละคนสะสมมาต่างกัน (ทั้งกุศลและอกุศล) เปรียบได้กับนักกีฬาที่ต้องมีโปรแกรมการฝึกฝนที่ต่างกัน เพื่อเสริมจุดแข็งกำจัดจุดอ่อนของแต่ละคน โดยมีเป้าหมายที่เหมือนกันคือ ชัยชนะ หรือการพ้นทุกข์เมื่อพูดถึงการปฏิบัติธรรม การที่เศรษฐีใช้รถยุโรปราคาคันละหลายล้าน ในขณะที่คนรายได้ปานกลางใช้รถญี่ปุ่นราคาไม่ถึงล้าน ก็เป็นตัวอย่างของทางสายกลางหรือความพอดีในทางโลกได้ คือใช้สิ่งอำนวยความสะดวกตามฐานะและความเหมาะสมของแต่ละคน โดยที่ไม่ทำให้ตนหรือผู้อื่นต้องเดือดร้อน

    ส่วนในทางธรรมจะเห็นได้ว่า แต่ละคนสะสมปัญญาบุญบารมีมาไม่เท่ากัน รวมทั้งมีอัธยาศัยที่ต่างกัน

    ใช่ว่าทุกคนสามารถจะรักษาศีลแปดได้ ใช่ว่าความเข้าใจในพระธรรมของทุกคนจะเท่ากัน ใช่ว่าทุกคนที่นั่งสมาธิแล้วจะบรรลุมรรคผลได้ ใช่ว่าทุกคนเหมาะที่จะอยู่ในเพศบรรพชิต ฯลฯ การรู้กำลังของตัวเอง รวมทั้งการรู้อัธยาศัยที่แท้จริงของตน เป็นสิ่งจำเป็นที่แต่ละคนจะต้องรู้ในระหว่างการปฏิบัติธรรม ด้วยการฟังการศึกษาพระธรรม การพิจารณาโดยแยบคาย การรู้จักสังเกต การรู้ว่าจิตขณะใดเป็นกุศล จิตขณะใดเป็นอกุศลเป็นต้น

    หากเราไม่รู้จักตัวเองไม่รู้จักพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเป็นการยากที่ดำเนินไปในทางสายกลางได้

    เพราะมักไปทำในสิ่งที่ไม่เหมาะกันตนเอง หรือในสิ่งที่ตนไม่มีความพร้อมนั่นเอง ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้าหรืออาจเกิดความท้อถอยได้ ทางสายกลางจึงเป็นทางที่ทุกคนต้องค้นหาให้พบเอง โดยอยู่ในแนวทางตามที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้แล้ว ทั้งหมดนี้เป็นการสละออกและการละกิเลสทั้งปวงด้วยปัญญาและบารมีที่ถึงพร้อม ซึ่งจะนำไปสู่การพ้นทุกข์หรือพระนิพพานในที่สุด

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 align=center bgColor=#f5f5f5 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    โดย :ฟากฟ้าทะเลฝัน (ทีมงาน TeeNee.Com) โพสเมื่อ [ วันอาทิตย์ ที่ 30 พฤศจิกายน 2551 เวลา 19:42 น.] [​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...