ทางเลือกเสมอภาคเพศที่3ยังอยู่ห่างไกล

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย tanawat, 30 มิถุนายน 2007.

  1. tanawat

    tanawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2006
    โพสต์:
    350
    ค่าพลัง:
    +1,765
    ทางเลือกเสมอภาคเพศที่3ยังอยู่ห่างไกล

    30 มิถุนายน 2550 กองบรรณาธิการ
    สุดท้ายก็ยังคงเป็นปัญหาสำหรับความเสมอภาคในสังคม ทั้งๆ ที่สิ่งนี้ควรจะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน ดังปรากฏให้เห็นในข่าวอยู่เสมอ

    <DD>และล่าสุดที่เพิ่งผ่านมากรณี "ผับในโรงแรมดังห้ามสาวประเภทสองเข้า"
    <DD>กรณีนี้จึงถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงการเลือกปฏิบัติ ยิ่งช่วงนี้อยู่ระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ปัญหาความเสมอภาค โดยเฉพาะมาตรา 30 ถึงถูกพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งการเรียกร้องเรื่องนี้ กลุ่มเพศที่สามก็มีการรวมตัวกันเรียกร้องมานานมากแล้ว และจนถึงปัจจุบันจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หรือยังให้คงแบบเดิมไว้ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่
    <DD>สำหรับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พูดได้ว่าเริ่มมีการพูดถึงในประเด็นนี้กันมากขึ้น ในมาตรา 30 มีการยกเรื่องความเสมอภาคของชาย หญิง และกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศขึ้นมาถกกัน แต่สุดท้ายท้ายสุดก็ยังให้คงเดิมไว้ก่อน แต่ก็ยังเปิดโอกาสให้มีการเสนอเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
    <DD>โดยสาเหตุที่ทำให้ต้องคงข้อความเดิมในมาตรา 30 คือ ให้ชายหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันนั้น เนื่องจากในที่ประชุมยังเห็นว่าไม่มีคำใดที่จะเหมาะสมเพื่อนำมาใช้เพิ่มเติมเข้าไป โดยเฉพาะคำว่า "บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ" จึงได้ลงความเห็นกันว่า ให้ลองไปหาคำที่เหมาะสมมาใหม่
    <DD>ก็ถือว่าใกล้ความจริงเข้าไปมากขึ้นอีก โอกาสยังคงเปิดอยู่ เมื่อที่ประชุม ส.ส.ร.มีความคิดเห็นว่าให้หาคำใหม่ที่เหมาะสมกว่านี้ ในอนาคตอาจจะมีกฎหมายเพื่อรองรับ และให้ความคุ้มครองไปถึงกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
    <DD>สำหรับคำที่จะมาเพิ่มในมาตรา 30 นั้น บรรดาผู้เกี่ยวข้อง กลุ่มเพศที่สาม และนักวิชาการ ก็มีการพูดถึงกันอยู่ ว่าจะใช้คำจัดกัดความว่าอย่างไร โดยนายนที ธีระโรจนพงษ์ หัวหน้าแกนนำองค์กรกลุ่มหลากหลายทางเพศ กล่าวว่า คำว่าบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศที่เคยเสนอไป หลายคนอาจจะยังมองว่ากว้างไป ไม่เห็นด้วย หรือมองว่าไม่เหมาะสม แต่ที่ผ่านมาคำนี้ก็ถือว่าครอบคลุมมากที่สุด เพียงแต่ภาษาอาจจะสละสลวยไม่พอ
    <DD>"ที่ผ่านมาเคยมีการจำกัดความของพวกเราว่า เพศที่ 3 ซึ่งก็บอกไม่ได้ชัดเจนเพราะมีทั้งกะเทย เกย์ ตุ๊ด ทอม ดี้ ซึ่งมันกว้างมาก จะรวมทั้งหมดให้เป็นเพศที่ 3 ก็คงจะขัดแย้งกัน เพราะต่างคนต่างไม่เหมือนกัน หรือจะใช้คำว่าเพศสภาพ คือมองตามรูปแบบของเรา อันนี้ยิ่งไม่ตรงกันไปใหญ่ อย่างกะเทยแปลงเพศ ก็รับได้ แต่พวกทอม หรือเกย์ เพศเราก็ต้องเป็นไปตามรูปร่างทั้งๆ ที่อารมณ์และจิตใจภายในไม่ได้เป็น เรื่องนี้ถกเถียงกันมานานมาก จนมาลงที่คำว่ากลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ" นายนทีกล่าว
    <DD>เกย์นทียังกล่าวอีกว่า กรณีที่เพิ่งผ่านมาที่มีการห้ามไม่ให้สาวประเภทสองเข้าผับนั้น บ่งบอกได้ชัดว่า ความไม่เสมอภาค การเลือกปฏิบัติยังคงมีอยู่ ซึ่งถ้าไม่มีการแก้ไข ปัญหานี้ก็ยังจะเกิดขึ้นอยู่อย่างแน่นอน โดยเฉพาะมาตรา 30 วรรค 3 ที่ว่าการ "เลือกปฏิบัติ" โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพร่างกาย สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันมิขัดต่อบัญญัติแห่งรัฐธรรนูญจะกระทำ "มิได้" ข้อนี้บอกไว้แล้วว่าทุกคนเสมอภาคกัน แต่เมื่อไม่มีการระบุถึงกลุ่มหลากหลายทางเพศ พวกเราก็ยังคงถูกกีดกันอยู่เหมือนเดิม
    <DD>"ในที่ประชุม ส.ส.ร.ครั้งที่ผ่านมาที่มีการพิจารณามาตรา 30 นี้ บางส่วนเห็นด้วย บางส่วนไม่เห็นด้วย และการสรุปว่าคำที่เสนอไปนั้นยังไม่เหมาะสม ซึ่งในส่วนตัวมองว่ามันชัดที่สุดแล้ว โดยให้ไปหาคำที่เหมาะสมใหม่มาแทน ทางกลุ่มองค์กร ก็ได้มีการพูดคุยกัน และได้ปรึกษากับคณะทำงาน รวมทั้งนักวิชาการ จึงอยากจะเสนอคำว่า "อัตลักษณ์ทางเพศ" หรือ Sexual Identity ซึ่งจะหมายรวมคือ กลุ่มรสนิยมทางเพศที่ไม่ตรงตามการกำเนิด คำนี้ทางองค์กรเรา มองว่าเหมาะสมที่สุดแล้ว ทั้งรูปแบบภาษา ความสละสลวย และไม่ล่อแหลมแต่อย่างใด ก็อยากให้ ส.ส.ร.ลองพิจารณากันดูใหม่ ปัญหาอย่างที่ผ่านมาจะได้หมดไป และถือว่าเป็นการทำให้ทุกคนได้สิทธิขั้นพื้นฐานกันอย่างเท่าเทียมกัน"
    <DD>แนวทางนี้เชื่อว่ายังคงต้องพูดกันอีกยาว แต่จากที่ ส.ส.ร.เคยบอกว่าให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไปหาคำจำกัดความของตัวเองมาใหม่ และจะนำไปพิจารณาอีกครั้งนั้น
    <DD>ตอนนี้คำนั้นกลุ่มเพศที่สามมีการคิดกันออกมาแล้ว "อัตลักษณ์ทางเพศ" คือคำที่จะเสนอใหม่ให้ ส.ส.ร.พิจารณา แต่ทั้งนี้สัญญาใจระหว่าง ส.ส.ร.และกลุ่มผู้รณรงค์ ที่เคยให้กันไว้จะเป็นอย่างไร จะมีการทบทวนมาตรานี้ใหม่ หรือยืนยันแบบเดิม สังคมก็คงต้องติดตามกันต่อไป ปัญหาอย่างที่เพิ่งผ่านมาจะเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือมีทางออกอื่นอีกหรือไม่ ยังไงๆ ทุกคนก็คงต้องช่วยกัน. <DD> <DD>
    <DD>[​IMG]
    </DD>
     

แชร์หน้านี้

Loading...