เรื่องเด่น ทำไม ศาสนาพุทธ มีหลายนิกาย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 1 กรกฎาคม 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    ทำไม ศาสนาพุทธ มีหลายนิกาย

    20170515-ทำไมศาสนาพุทธมีหลายนิกาย-696x364.jpg


    ผู้อ่านถาม: ทำไม ศาสนาพุทธ มีหลายนิกาย เช่น เถรวาทกับมหายาน แม้ในเมืองไทย นิกายเถรวาทยังแบ่งเป็นธรรมยุติ กับมหานิกาย อะไรคือนิกายที่เป็นคำสอนจริงแท้จากพระพุทธเจ้าสมณโคดมครับ



    ดร.พระมหาบวรวิทย์ รตนโชโต ขอไขปัญหาข้อนี้ว่า

    การที่พระพุทธศาสนามีหลายนิกายนั้นเป็นเพราะมีความเห็นในเรื่องของพระธรรมวินัยไม่ตรงกัน โดยเฉพาะเรื่องปลีกย่อยและวัตรปฏิบัติที่ปรับไปตามยุคสมัยและสภาพภูมิประเทศ แต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ พระนิพพาน

    ผลเสียของการมีหลายนิกายคือ ไม่สามารถที่จะรวมพลังให้มีความเข้มแข็งมั่นคงเป็นหนึ่งเดียวได้ แต่ละนิกายต่างก็ดำเนินไปในแนวทางที่เห็นว่าเหมาะสมและถูกต้องตามความเชื่อของตน จึงทำให้ขาดพลัง เหมือนกับสายน้ำที่ไหลลงจากภูเขา ต่างที่ก็ต่างไหลไปสู่ที่ลุ่มตามภูมิประเทศนั้น ๆ แต่หากสายน้ำเหล่านั้นไหลรวมเป็นสายเดียว ย่อมมีพลังมหาศาลแต่ก็มีผลดีเหมือนกัน คือมีอิสระในการประพฤติปฏิบัติตามจริตนิสัยและพื้นเพของแต่ละกลุ่ม สามารถประกาศสัจธรรมไปสู่ประชาชนได้หลายมิติ

    แม้นิกายและความคิดเห็นแตกต่างกัน แต่ก็ไม่เคยมีปัญหาทะเลาะวิวาทถึงกับเข่นฆ่ากันเอง ถือเป็นความงดงามของพระพุทธศาสนาซึ่งต่างก็ยึดคำสอนของพระพุทธองค์ที่แท้จริงคือ การเดินทางไปสู่ความพ้นทุกข์กล่าวคือพระนิพพานนั่นเอง


    -------------
    ที่มา ::
    http://www.goodlifeupdate.com/55201/healthy-mind/sectionofbuddhist/


     
  2. สรวงพิมาน

    สรวงพิมาน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2017
    โพสต์:
    326
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +267
    อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย

    ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา


    18766045_145470806005528_3949523558818577163_n.jpg

    (บาลี มหา. ที ๑๐/๑๗๘/๑๔๑)

    ภิกขุสมพร อฐานิสสโร

    https://plus.google.com/104345532313186594226


    ......................................................................................................................

    เหตุแห่งความอันตรธานของคำสอน เปรียบด้วยกลองศึก

    ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว

    :
    กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตกหรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป)

    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้ง หลายคราวเช่นนั้น นานเข้า ก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้ ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น ;

    ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น

    : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย , สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา , เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่.

    เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

    ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำภิกษุทั้งหลาย !

    ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด , เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา-อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง คมฺภีรตฺถา-มีอรรถอันลึกซึ้ง โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-

    ประกอบด้วย เรื่องสุญญตา อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิต
    เพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

    ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย
    มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก ,

    เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
    และสำคัญไปว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

    พวกเธอเล่าเรียนธรรม อันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้.

    เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างต่างๆ ได้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา.

    19511268_145471206005488_3219475145298424339_n.jpg

    ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด , เมื่อสุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์ กลอนมีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว
    เป็นคำกล่าวของสาวก อันบุคคลนำมากล่าวอยู่ ,

    ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษา
    เล่าเรียน.

    ส่วนสุตตันตะเหล่าใด อันเป็น ตถาคตภาษิตอันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระ ประกอบ
    ด้วยเรื่องสุญญตา ,

    เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้ มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิต เพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่า เป็นสิ่งที่ควรศึกษา เล่าเรียน.


    พวกเธอเล่าเรียนธรรม ที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว ก็สอบถาม ซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้.

    เธอเหล่านั้น เปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้ หงายของที่คว่ำอยู่ ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้ง ร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก ,

    เมื่อมีผู้นำสูตร ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้น มากล่าวอยู่ , เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิต
    เพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก
    มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา จักมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้ แล.


    ...................................................................................................................................................

    (นิทาน. สํ. ๑๖ / ๓๑๑ / ๖๗๒-๓)

    http://cunheng.blogspot.com/2013/04/blog-post_27.html



     
  3. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    สาธุค่ะ _/\_
     
  4. mrmos

    mrmos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,190
    ค่าพลัง:
    +1,095

แชร์หน้านี้

Loading...