เรื่องเด่น ทำไม"สำเภาเรือ"เป็นเอกลักษณ์คู่วัดมอญ ตำนาน "อุบาสิกาคู่แรกของโลก"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 15 มกราคม 2018.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    tnews_1515912456_1739.jpg

    หายคาใจ!! ทำไม "สำเภาเรือ" จึงเป็นเอกลักษณ์คู่วัดมอญ เปิดตำนาน "อุบาสิกาคู่แรกของโลก" ผู้ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้ !!



    26229555_1712803158783927_7689155524113431647_n.jpg

    ในพระพุทธศาสนา เราจะเป็นได้ว่า พุทธศาสนิกชนนั้นมีมากมายเป็นอันดับต้นๆของโลก น่าเชื่อได้ว่า ชนชาติมอญเป็นผู้ถึงพระพุทธศาสนาก่อนใครในสุวรรณภูมิ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตำนานมอญระบุว่า ภายหลัง ตะเป๊า ตะปอ (ตปุสสะ ภัลลิกะ) พ่อค้าวาณิชมอญสองพี่น้อง ได้เข้าเฝ้าถวายข้าวสัตตุแด่องค์พระสัมมาหลังตรัสรู้ ตะเป๊า ตะปอจึงนับเป็นอุบาสกคู่แรกของโลก


    26229728_1712803062117270_210829720781953041_n.jpg



    26230773_1712803245450585_7126859640977803088_n.jpg

    26231275_1712803308783912_8113575830109509921_n.jpg

    หลังจากพระพุทธเจ้าเสวยข้าวสัตตุนั้นแล้ว ได้ลูบพระเศียรซึ่งมีพระเกศาติดพระหัตถ์มาด้วย ๘ เส้น ทรงประทานพระเกศานั้นแด่สองพี่น้องเป็นสิ่งแทนพระองค์ เพื่อน้อมนำถึงพระธรรมคำสอนของพุทธองค์อันเป็นมงคลชีวิต สองพี่น้องได้นำกลับมาถวายกษัตริย์แห่งรามัญประเทศนาม พระเจ้าเอิกกะลาปะ พระองค์โปรดฯ ให้สร้างพระเจดีย์เละเกิ่ง (ชเวดากอง) ประดิษฐานไว้ยังรามัญเทศะสืบมา

    ส่วนในทางประวัติศาสตร์ คัมภีร์ทางพุทธศาสนา อันได้แก่ “สมันตปาสาทิกา” โดยพระพุทธโฆษาจารย์ (มีชีวิตอยู่เมื่อ พ.ศ. ๙๒๗-๙๗๓) และ “มหาวงศ์” ในรัชสมัยพระเจ้ามหานามะ (ครองราชย์ พ.ศ. ๙๕๕-๙๗๗) คัมภีร์ทั้งสองแต่งในลังการาวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ระบุว่า ในราวปี พ.ศ. ๒๓๕ พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๗๐- ๓๑๑) ได้อาราธนาพระสมณทูต อัญเชิญพระไตรปิฎกออกเผยแผ่ไปยังดินแดนต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งสิ้น ๙ สาย หนึ่งในนั้นคือ ดินแดนสุวรรณภูมิ ที่นำโดยพระมหาเถระสำคัญทั้งสอง คือ พระโสณะ และพระอุตตระ ได้อัญเชิญพระไตรปิฎกลงเรือสำเภาจากดินแดนพุทธภูมิสู่รามัญประเทศ นับเป็นจุดเริ่มต้นในการประดิษฐานพุทธศาสนายังสุวรรณภูมิอย่างมั่นคง



    26231614_1712803088783934_5269515570759545138_n.jpg

    26805403_1712803118783931_1313809282760246606_n.jpg

    “จารึกกัลยาณี” โดยพระเจ้าธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๑๕-๒๐๓๕) กษัตริย์มอญแห่งหงสาวดี รับสั่งให้จารึกศิลา ๑๐ หลัก เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๒๒ อันเป็นแหล่งอ้างอิงประวัติพุทธศาสนาที่สำคัญของชาติต่างๆ ระบุว่า “สุวรรณภูมิ” สถานที่ซึ่งสมณทูตของพระเจ้าอโศกทั้งสองได้นำพระไตรปิฎกมาถึงนั้นมีชื่อเรียกว่า “รามัญประเทศ” หรือ “ประเทศของชาวมอญ” ปัจจุบันคือดินแดนทางตอนใต้ของ “ประเทศเมียนมา”



    26239483_1712803042117272_4634007575359703319_n.jpg

    26804827_1712803202117256_96963362221651076_n.jpg

    การอภิปรายในแวดวงวิชาการจากหลักฐานเท่าที่พบ พอจะสรุปได้ว่า “สุวรรณภูมิ” คือดินแดนทางตะวันออกของอินเดีย ส่วนที่เป็นแผ่นดิน มีความเป็นไปได้ว่า น่าจะเป็นประเทศเมียนมา ไทย ลาว และกัมพูชา ส่วนที่เป็นเกาะน่าจะได้แก่ ชวา สุมาตรา (อินโดนีเซีย) และฟิลิปปินส์ และเมื่อพิจารณาหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พบว่า เมืองสะเทิม เมืองอู่ทอง และเมืองนครปฐม สมัยทวารวดี มีอายุเก่าแก่ที่สุดและร่วมสมัยกัน คือ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑



    26731221_1712803278783915_7891229285700786502_n.jpg

    อย่างไรก็ตาม ตำนานการอัญเชิญพระไตรปิฎกโดยสำเภาจากชมพูทวีปสู่สุวรรณภูมิยังคงเป็นสัญลักษณ์ทางจิตใจให้โน้มน้าวถึงวาระสำคัญแห่งการมาถึงของพระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ แสดงถึงความมั่นคงในศรัทธาของชาวมอญ กระทั่งสืบทอดความเชื่อตามคติมอญมาจวบจนปัจจุบัน อันนับเป็นเอกลักษณ์วัดมอญอย่างหนึ่งที่มักจะขาดเสียไม่ได้ นั่นคือ พระเจดีย์สามองค์ (แทนพระไตรปิฎก) ตั้งอยู่บนเรือสำเภา

    ขอบคุณข้อมูลจาก : เครือข่ายนิสิตอาเซียนเพื่อการพัฒนาสังคมและพหุวัฒธรรมอาเซียนอย่างยั่งยืน



    เรียบเรียงโดย
    เสาวลักษณ์ แสงสุวรรณ
    http://www.tnews.co.th/index.php/contents/401050
     

แชร์หน้านี้

Loading...