ที่มาและตำนานแห่งพิธีทิ้งกระจาด

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 14 กันยายน 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    ล่าขานตำนาน ตอน พิธีทิ้งกระจาด
    21728341_488836728139445_5901669927050709705_n.jpg
    ในโอกาสที่วันสารทจีน กำลังจะเวียนมาถึงอีกครั้งหนึ่ง กระผมใคร่ขอเสนอเรื่องราวของงานบุญเดือนเจ็ด เพื่อความเข้าใจอันดีของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วกัน

    วันขึ้น 15 ค่ำเดือนเจ็ด ตามปฏิทินจันทรคติแบบจีน ชนชาวจีนจะมีเทศกาล “จงหยวนเจี๋ย” 中元节 แต่สำหรับคนแต้จิ๋ว จะเรียกเทศกาลนี้ว่า “ชิกง้วยปั่ว” 七月半 และจะมีพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษตามแบบอย่างที่ตกทอดกันมาแต่โบราณ แต่ในเวลาเดียวกัน ทางวัดจีน โรงเจและมูลนิธิต่างๆ ก็จะมีพิธีบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ พร้อมกับการโปรดทานทิ้งกระจาดให้กับผู้ยากไร้ โดยเรียกพิธีนี้ว่า “อวี๋หลานเสิ้งฮุ่ย” 盂兰胜会 แต่ผู้คนส่วนใหญ่ มักไม่ทราบว่า “อวี๋หลานเสิ้งฮุ่ย” มีที่มาจากพระสูตรฝ่ายมหายาน ชื่อพระสูตรอุลลัมพนะ (Ullambana Sutra) อุลลัมพนะ Ullambana เป็นภาษาสันสกฤต ภาษาจีนเขียนทับศัพท์ว่า “อวี๋หลานเผิน” 盂兰盆

    เนื้อหาในพระสูตรอุลลัมพนะ มีใจความว่า...

    ครั้งหนึ่ง พระโมคคัลลานะ รู้ได้ด้วยอภิญญาญาณว่า มารดาแห่งตนได้ไปเกิดเป็นเปรตอดอยากหิวโหย จึงใช้ฤทธิ์นำบาตรข้าวไปโปรดมารดา เปรตมารดาใช้มือซ้ายประคองบาตร มือขวาเปิบข้าวแต่ยังไม่ทันจะเข้าปากก็กลายเป็นถ่านไฟไปสิ้น พระเถรเจ้าจึงนำความมากราบทูลพระพุทธเจ้า

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "ดูก่อนโมคคัลลานะ โยมมารดาของเธอมีบาปหนัก เกินกำลังฤทธิ์และบุญกุศลของเธอเพียงผู้เดียวจะช่วยได้ ต้องใช้บุญฤทธิ์ของสงฆ์จากทั่วทุกสารทิศประมวลกันเป็นมหากุศล จึงจะโปรดมารดาให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวงในอบายได้ ตถาคตจะบอกวิธีให้ ในวัน 15 ค่ำกลางเดือน 7 อันเป็นวันมหาปวารณาออกพรรษา เพื่อโปรดบิดามารดาทั้ง 7 ชาติในอดีต และบิดามารดาในชาติปัจจุบัน ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง เธอจงจัดภัตตาหารหลากรส ผลไม้นานาชนิด น้ำปานะ ธูปเทียนแลเครื่องไทยทานใส่ภาชนะเป็นสังฆทานถวายแด่พระสงฆ์จากทุกสารทิศ ด้วยบุญฤทธิ์ที่พระสงฆ์ได้รักษาพรหมจรรย์มาครบถ้วน 1 พรรษา แลอานิสงฆ์แห่งสังฆทานนี้ บิดามารดาในชาติก่อน 7 ชาติ และบิดามารดาในชาตินี้ ตลอดจนวงศาคณาญาติจะพ้นจากอบายภูมิทั้งสามโดยพลัน หากบิดามารดาในชาตินี้ยังมีชีวิตอยู่ก็จะเกษมสำราญอยู่ถึง 100 ปี หากบิดามารดาในชาติก่อนทั้ง 7 ชาติ ก็จะกำเนิดในสรวงสวรรค์อันเรืองโรจน์”

    พระโมคคัลลานะ จึงจัดการทำพุทธบรรหาร มารดาก็พ้นจากอบายภูมิ พระเถรเจ้าจึงทูลว่า "ต่อไปภายหน้าหากลูกหลานผู้มีกตเวทิตาจิตปรารถนาช่วยบิดามารดาให้พ้นจากอบายแลทุกข์ภัย ก็ควรจัดสังฆทานอุลลัมพนบูชาเช่นนี้หรือพระเจ้าข้า”

    พระศาสดาตรัสตอบว่า "สาธุ”

    ขอชี้แจงไว้ตรงนี้ว่าช่วงจำพรรษาของพระสงฆ์ประเทศจีนกับประเทศไทยไม่ตรงกันเ พราะฤดูกาลต่างกัน ภิกษุจีนจำพรรษาช่วงฤดูร้อนซึ่งฝนตกชุก ข้าวกำลังเจริญเติบโต จึงเข้าพรรษากลางเดือน ๔ ต้นฤดูร้อน ออกพรรษากลางเดือน ๗ ต้นฤดูใบไม้ร่วง การจำพรรษาบำเพ็ญสมณกิจอย่างเต็มที่ครบ ๓ เดือน ทั้งได้ทำมหาปวารณาในวันออกพรรษาอย่างสมบูรณ์ ตามคตินิยมของมหายานถือว่าท่านได้บำเพ็ญบุญกุศลไว้เต็มเปี่ยมยิ่งกว่าช่วงอื ่นใด หากได้ทำบุญกับท่านในวันมหาปวารณาหรือวันออกพรรษาจะมีอานิสงส์แรงกล้ากว่าวั นอื่น อนึ่งพุทธศาสนาถือว่าการทำสังฆทานถวายแด่สงฆ์ส่วนรวมมีอานิสงส์มากกว่าปฏิปุ คลิกทานถวายเจาะจงแด่ภิกษุรูปเดียวหรือหลายรูป แต่ไม่เป็นสังฆทาน ฉะนั้นการทำสังฆทานใหญ่ถวายแด่สงฆ์ในวันออกพรรษาซึ่งท่านทำมหาปวารณาเสร็จมา ใหม่ๆ จึงได้อานิสงส์สูงส่งถึงสามารถโปรดบิดามารดาในอดีตได้ถึง ๗ ชาติ รวมทั้งบิดามารดาในชาติปัจจุบันและวงศาคณาญาติให้พ้นจากอบายและได้ผลานิสงส์ อันดีงามอีกอเนกประการ แต่เน้นที่การช่วยบิดามารดาให้พ้นจากอบายภูมิเป็นสำคัญ ฉะนั้นการทำมหาสังฆทานในวันออกพรรษาจึงเรียกว่าอุลลัมพนบูชาหรืออุลลัมพนสัง ฆทาน "อุลลัมพนะ" เป็นคำสันสกฤตซึ่งปราชญ์ทางพุทธศาสนาของจีนแปลว่า "ช่วยผู้ที่ถูกแขวนห้อยหัวกลับขึ้นมา" โดยอธิบายว่าโทษทัณฑ์ในอบายภูมิทำให้ผู้รับเสวยทุกขเวทนาแสนสาหัสดุจถูกแขวน ห้อยหัวลงมา คำว่า "แขวนห้อยหัว" ซึ่งแปลจากคำว่า "อุลลัมพนะ" นี้ ภาษาจีนว่า "เต้าเสวียน ( )" มีความหมายเชิงอุปมาว่า ทุกข์หรือภัยอันใหญ่ยิ่ง "มหันต (ทุกข์)" "มหันต (ภัย)" ความหมายนี้มีที่มาจากอุลลัมพนสูตร เป็นอิทธิพลภาษาสันสกฤตของพุทธศาสนาต่อภาษาจีนประการหนึ่ง จากเรื่องพระโมคคัลลาน์จัดอุลลัมพนสังฆทานโปรดมารดา ทำให้งานนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายมากในจีน เริ่มจากในวัดแพร่เข้าสู่วังก่อนแล้วแพร่สู่หมู่ประชาชนทั่วไป สมัยราชวงศ์เหนือ-ใต้ พุทธศาสนารุ่งเรืองทั่วจีน พิธีนี้จึงได้รับความนิยมทั่วประเทศจีน เป็นวันเทศกาลสำคัญของพุทธศาสนาในจีน เรียกว่า "อวี่หลันเผินเจี๋ย " ขอแปลเอาความว่า วันอุลลัมพนบูชา จัดของใส่อ่าง (ผุน ) ถวายสังฆทาน ต่อมาภาชนะนี้นิยมสานด้วยไม้ไผ่คล้ายกระจาดของไทย สมัยราชวงศ์เหนือ-ใต้ พิธีนี้จัดที่วัด ในสมัยพระเจ้าเหลียงอู่ตี้ยกพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ พิธีอุลลัมพนบูชาเป็นพระราชพิธีประจำปีพิธีหนึ่ง แต่เสด็จไปจัดที่วัด ถึงสมัยราชวงศ์ถังพระราชพิธีนี้จัดในวัง ในหมู่ชาวบ้านก็คงเริ่มมีการนิมนต์พระมารับสังฆทานที่บ้านหรือในชุมชนของตนบ ้าง ในวัดก็จัดกันแพร่หลาย งานอุลลัมพนบูชาสมัยราชวงศ์ถังเน้นถวายสังฆทานอุทิศส่วนกุศลให้เปตชนเป็นหลั ก ต่อมาสมัยราชวงศ์ซ่งวันอุลลัมพนบูชาของฝ่ายบ้านผันแปรไป ไม่เน้นการถวายสังฆทานเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บิดามารดาและเปตชนทั้งหลาย แต่จัดพิธีเซ่นไหว้บิดามารดา บรรพชนและผีอื่นๆ เองโดยตรง พระราชพิธีในวังก็มีลักษณะเป็นการไหว้เจ้ามากกว่าพิธีสงฆ์ มีการเซ่นไหว้ผีไม่มีญาติและทหารที่ตายในสงครามเป็นกิจกรรมสำคัญอยู่ในพระรา ชพิธีด้วย

    ชาวไทยเชื้อสายจีนจำนวนมาก นอกจากไม่ทราบที่มาที่ไปของ “อวี๋หลานเผินจิง” 盂兰盆经 หรือ อุลลัมพนสูตรแล้ว ยังเรียก “อวี๋หลาน” 盂兰 เป็นสำเนียงแต้จิ๋วว่า “เหม่งลั้ง” เพราะเข้าใจว่า 盂 คือคำว่า 孟 (อักษรเขียนคล้ายกัน) เทศกาล “อวี๋หลานเสิ้งฮุ่ย” 盂兰胜会 ก็จึงเรียกเป็นแบบแต้จิ๋วว่า “เหม่งลั้งเซ้งหวย” แต่ในความเป็นจริง “อวี๋” 盂 อ่านแบบแต้จิ๋วคือ “ฮู้” “อวี๋หลานเสิ้งฮุ่ย” 盂兰胜会 จึงต้องอ่านว่า “หู่ลั้งเซ้งหวย”
     

แชร์หน้านี้

Loading...