ท่านที่จะบวชต้องการหนังสือศีล227ข้อได้โปรดแจ้ง(ฟรี)

ในห้อง 'งานบวช' ตั้งกระทู้โดย พชร (พสภัธ), 26 มิถุนายน 2017.

  1. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    วัดที่มีการบวชพระ หรือ ท่านที่จะบวชต้องการหนังสือศีล227ข้อ(พระภิกขุปาฏิโมกข์) เพื่อศึกษาทบทวนศีล227ข้อ ขอได้โปรดแจ้งให้ทราบ จะจัดส่งให้(ฟรี)ตามจำนวนที่ต้องการ เพื่อประโยชน์สืบต่อไป สาธุ สาธุ สาธุ อานุโมทามิ
    ติดต่อเพื่อส่งหนังสือให้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
    090-9861646(คุณโต)
     
  2. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    โพธิปักขิยธรรม

    “ภิกษุทั้งหลาย ... ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ธรรมเหล่านั้น พวกเธอพึงเรียนเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่ว พึงเจริญทำให้มาก
    โดยอาการที่พรหมจรรย์ (คือศาสนานี้) จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน
    ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน
    เพื่ออนุเคราะห์โลก
    เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล
    เพื่อความสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
    ภิกษุทั้งหลาย ... ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯลฯ”


    ๑). สติปัฏฐาน๔ ฐานเป็นที่กำหนดของสติได้แก่ ๑.การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย (กายานุปัสสนา) ๒.การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา(เวทนานุปัสสนา) ๓.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนา) ๔.การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม (ธรรมานุปัสสนา)

    ๒).สัมมัปปธาน๔ หลักในการรักษากุศลธรรมไม่ให้เสื่อมได้แก่ ๑.การเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตน (สังวรปธาน) ๒.การเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว(ปหานปธาน) ๓.การเพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้นในตน(ภาวนาปธาน) ๔.การเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม้ให้เสื่อมไป(อนุรักขปธาน)

    ๓).อิทธิบาท๔ เป้าหมายของความเจริญได้แก่ ๑.ความชอบใจทำ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น(ฉันทะ) ๒.ความแข็งใจทำ เพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้น(วิริยะ) ๓.ความตั้งใจทำ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่ทอดทิ้งธุระ(จิตตะ) ๔.ความเข้าใจทำ การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น(วิมังสา)

    ๔).อินทรีย์๕ คือการตั้งมั่นด้วยจิตอันนำพาเพื่อความเจริญในศีลธรรม และการงานได้แก่ ๑.ให้เกิดความเชื่อ (ศรัทธา) ๒.ให้เกิดความเพียร (วิริยะ) ๓.ให้เกิดความระลึกได้ (สติ) ๔.ให้เกิดความตั้งมั่น (สมาธิ) ๕.ให้เกิดความรอบรู้ (ปัญญา)

    ๕).พละ๕ธรรมอันเป็นกำลังได้แก่ ๑.ความเชื่อ (ศรัทธา) ๒.ความเพียร (วิริยะ) ๓.ความระลึกได้ (สติ) ๔.ความตั้งมั่น (สมาธิ) ๕.ความรอบรู้ (ปัญญา)

    ๖).โพชฌงค์๗ องค์แห่งการตรัสรู้ได้แก่ ๑.มีความระลึกได้ (สติ) ๒.มีความพิจารณาในธรรม (ธัมมวิจยะ) ๓.มีความเพียร (วิริยะ) ๔.มีความอิ่มใจ (ปีติ) ๕.มีความสงบสบายใจ (ปัสสัทธิ) ๖.มีความตั้งมั่น (สมาธิ) ๗.มีความวางเฉย (อุเบกขา)

    ๗).มรรคมีองค์๘ หนทางดับทุกข์ได้แก่ ๑.ใช้เพื่อเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ (สัมมาทิฏฐิ) ๒.ใช้เพื่อดำริชอบ คือ ดำริละเว้นในอกุศลวิตก (สัมมาสังกัปปะ) ๓.ใช้เพื่อเจรจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต(สัมมาวาจา) ๔.ใช้เพื่อทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต (สัมมากัมมันตะ) ๕.ใช้เพื่อทำอาชีพชอบ คือ เว้นจาก การเลี้ยงชีพในทางที่ผิด(สัมมาอาชีวะ) ๖.ใช้เพื่อเพียรชอบ คือ สัมมัปปธาน (สัมมาวายามะ) ๗.ใช้เพื่อระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔(สัมมาสติ) ๘.ใช้เพื่อตั้งใจมั่นชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔ (สัมมาสมาธิ)
     
  3. พชร (พสภัธ)

    พชร (พสภัธ) ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,746
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +49,866
    ปาฏิโมกขสังวรศีล

    (ศีล ๒๒๗ ข้อของพระสงฆ์อันพึงประสงค์)

    อานนท์ ... ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า
    ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว
    พวกเราไม่มีพระศาสดา ดังนี้
    อานนท์ ... พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น
    อานนท์ ... ธรรมก็ดี วินัยก็ดี
    ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย
    ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย
    โดยกาลล่วงไปแห่งเรา



    ปาราชิก มี ๔ ข้อ
    สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
    อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
    นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ข้อ)
    ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
    ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน)
    เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น
    สารูปมี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ)


    หมวด ปาราชิก

    มี ๔ ข้อ ดังนี้

    ๑.) ห้ามภิกษุเสพเมถุนกับมนุษย์ อมุนษย์(เช่นสัตว์ดิรัจฉาน เปรต เป็นต้นไม่ว่าตายหรือยังมี ชีวิต อยู่ หรือแม้แต่ศพเมื่อมีจิตรับจะทำเมถุนกับสิ่งนั้น
    ๒.)ห้ามลักทรัพย์ ตั้งแต่ ๕ มาสก(หรือประมาณ ๑ บาทใน สมัยนี้)ขึ้นไป ถ้าลักทรัพย์ต่ำกว่าเป็นอาบัติข้ออื่น โดยมีจิตคิดจะเอาและได้ทรัพย์นั้นแล้ว
    ๓.) ห้ามฆ่ามนุษย์และทำแท้งกับหญิงที่มีครรภ์ ( มีเจตนากระทำให้มนุษย์ตายหรือเด็กในครรภ์ตาย)
    ๔.) ห้ามอวดอุตริมนุษธรรม คือไม่มีฌานก็ว่ามี ไม่มี ฌานก็ว่ามี ไม่ได้มรรคไม่ได้ผล ก็อ้างว่ามี ( ถ้ามีอยู่หรือถึงแล้วแสดงเพื่อประโยชน์ ก็ต้องห้ามเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ผลของการอาบัติปาราชิก ปรับอาบัติไม่ได้ ถือขาดจากการครองสมณเพศไม่จำต้องบอกกล่าวหรือแจ้งแก่ผู้กระทำ เป็นเหตุปิดการทำมรรคผลนิพพานในชาตินี้ถ้าครองสมณเพศอยู่ถือว่าเป็นโจรปล้นพระศาสนาทำลายตนเองให้ถึงทุคติมีอบายภูมิเป็นที่เกิดอย่างแน่นอน เปรียบเสมือนต้นตาลที่ยอดด้วนย่อมไม่เกิดผลได้ )


    หมวด สังฆาทิเสส

    มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใด ดังต่อไปนี้

    ๑.ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน

    ๒.เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ

    ๓.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี

    ๔.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน

    ๕.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ

    ๖.สร้างกุฏิด้วยการขอ

    ๘.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล

    ๙.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล

    ๑๐.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน

    ๑๑.เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน

    ๑๒.เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง

    ๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์


    หมวด อนิยตกัณฑ์

    มี ๒ ข้อ ดังนี้ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)

    ๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว

    ๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว



    หมวด นิสสัคคิยปาจิตตีย์

    คือ อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร มี ๓๐ ข้อ ดังนี้

    ๑.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน

    ๒.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว

    ๓.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน

    ๔.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า

    ๕.รับจีวรจากมือของภิกษุณี

    ๖.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย

    ๗.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป

    ๘.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม

    ๙.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย

    ๑๐.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง

    ๑๑.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม

    ๑๒.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน

    ๑๓.ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง

    ๑๔.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี

    ๑๕.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย

    ๑๖.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้

    ๑๗.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม

    ๑๘.รับเงินทอง

    ๑๙.ซื้อขายด้วยเงินทอง

    ๒๐.ซื้อขายโดยใช้ของแลก

    ๒๑.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน

    ๒๒.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง

    ๒๓.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน ๗ วัน

    ๒๔.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน

    ๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง

    ๒๖.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร

    ๒๗.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น

    ๒๘.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด

    ๒๙.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน

    ๓๐.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน


    หมวด ปาจิตตีย์

    มี ๙๒ ข้อ ดังนี้

    ๑.ห้ามพูดปด

    ๒.ห้ามด่า

    ๓.ห้ามพูดส่อเสียด

    ๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน

    ๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน

    ๖.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง

    ๗.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง

    ๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช

    ๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช

    ๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด

    ๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้

    ๑๒.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน

    ๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ

    ๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง

    ๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ

    ๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน

    ๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์

    ๑๘.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน

    ๑๙.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น

    ๒๐.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน

    ๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย

    ๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว

    ๒๓.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่

    ๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ

    ๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ

    ๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ

    ๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี

    ๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน

    ๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย

    ๓๐.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี

    ๓๑.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ

    ๓๒.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม

    ๓๓.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น

    ๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร

    ๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว

    ๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด

    ๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล

    ๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน

    ๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง

    ๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน

    ๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ

    ๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ

    ๔๓.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน

    ๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)

    ๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม(ผู้หญิง)

    ๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา

    ๔๗.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้

    ๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป

    ๔๙.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน

    ๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ

    ๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย

    ๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ

    ๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น

    ๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย

    ๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว

    ๕๖.ห้ามติดไฟเพื่อผิง

    ๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆ เว้นแต่มีเหตุ

    ๕๘.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม

    ๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน

    ๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น

    ๖๑.ห้ามฆ่าสัตว์

    ๖๒.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์

    ๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์(คดีความ-ข้อโต้เถียง)ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว

    ๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น

    ๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี

    ๖๖.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน

    ๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน

    ๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)

    ๖๙.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย

    ๗๐.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย

    ๗๑.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว

    ๗๒.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท

    ๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์

    ๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ

    ๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ

    ๗๖.ห้ามโจษภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล

    ๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น

    ๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน

    ๗๙.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน

    ๘๐.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ

    ๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง

    ๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล

    ๘๓.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา

    ๘๔.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่

    ๘๕.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน

    ๘๖.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์

    ๘๗.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ

    ๘๘.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น

    ๘๙.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ

    ๙๐.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ

    ๙๑.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ

    ๙๒.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ



    หมวด ปาฏิเทสนียะ

    มี ๔ ข้อ ดังนี้

    ๑. ห้ามรับของขบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน

    ๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร

    ๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)

    ๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า




    หมวด เสขิยะ

    แบ่งเป็นสารูป (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ) เป็นข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท มี ๒๖ ข้อ ดังนี้

    ๑.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)

    ๒.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)

    ๓.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน

    ๔.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน

    ๕.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน

    ๖.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน

    ๗.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)

    ๘.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน

    ๙.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน

    ๑๐.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน

    ๑๑.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน

    ๑๒.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน

    ๑๔.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน

    ๑๕.ไม่โคลงกายไปในบ้าน

    ๑๖.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน

    ๑๗.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน

    ๑๘.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน

    ๑๙.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน

    ๒๐.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน

    ๒๑.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน

    ๒๒.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน

    ๒๓.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน

    ๒๔.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน

    ๒๕.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน

    ๒๖.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน


    หมวด โภชนปฏิสังยุตต์

    หลักในการฉันอาหาร มี ๓๐ ข้อคือ ดังนี้

    ๑.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ

    ๒.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร

    ๓.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)

    ๔.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร

    ๕.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ

    ๖.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร

    ๗.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)

    ๘.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป

    ๙.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป

    ๑๐.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก

    ๑๑.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้

    ๑๒.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ

    ๑๓.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป

    ๑๔.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม

    ๑๖.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน

    ๑๗.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก

    ๑๘.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก

    ๑๙.ไม่ฉันกัดคำข้าว

    ๒๐.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย

    ๒๑.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง

    ๒๒.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว

    ๒๓.ไม่ฉันแลบลิ้น

    ๒๔.ไม่ฉันดังจับๆ

    ๒๕.ไม่ฉันดังซูดๆ

    ๒๖.ไม่ฉันเลียมือ

    ๒๗.ไม่ฉันเลียบาตร

    ๒๘.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก

    ๒๙.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ

    ๓๐.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน


    หมวด ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์

    ว่าด้วยการแสดงธรรม มี ๑๖ ข้อ ดังนี้

    ๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ

    ๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ

    ๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ

    ๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ

    ๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)

    ๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า

    ๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน

    ๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน

    ๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า

    ๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ

    ๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ

    ๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน

    ๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ

    ๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน

    ๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า

    ๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง


    หมวด ปกิณสถะ

    เบ็ดเตล็ด มี ๓ ข้อ ดังนี้

    ๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

    ๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)

    ๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ



    หมวด อธิกรณสมถะ

    ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ มี ๗ ข้อ ดังนี้

    ๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)

    ๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ

    ๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า

    ๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย

    ๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ

    ๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด

    ๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...