ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่น(เชิญทุกท่านร่วมพิจารณาธรรมกันครับ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Norlnorrakuln, 14 พฤษภาคม 2014.

  1. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,814
    ค่าพลัง:
    +15,099
    ในบทพระบาลีกล่าวว่า "สัพเพธรรมมานาลังอภินิเวสายะ" ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

    เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น จะมีความหมายคล้ายกับภาษิตจีนที่กล่าวว่า "สรรพสิ่งล้วนว่างเปล่า"หรือไม่อย่างไร?

    ที่ตั้งกระทู้เช่นนี้เพราะยามที่ข้าพเจ้าเจอเรื่องวุ่นวายไม่สบายใจผ่านเข้ามากระทบแล้วหยิบเอาธรรมะหมวดนี้มาใช้ได้ผลดีมากครับ...ร่างกายเกิดจากธาตุดินน้ำลมไฟประชุมกันตามกฎแห่งกรรมสักวันหนึ่งมันเลิกประชุมกันแล้วก็คืนสู่ธรรมชาติไปตามยถากรรม ถ้ายังมีอาลัยในร่างกายเท่ากะเรายึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่แปรปรวนมีความเสื่อมและแตกสลายไปอยู่เนืองนิจ ยิ่งส่องกระจกมองดูตนเองทุกวันเห็นรอยเหี่ยวย่นและสิ่งปฎิกูลต่างๆก็ยิ่งชวนให้สลดสังเวช ว่าร่างกายนี้นับวันยิ่งเป็นของรักษายากมากด้วยโรคภัยมากด้วยริ้วรอยแห่งความเสื่อม เราจะมัวมายึดมั่นถือมั่นกับความสดความสวยหล่อของสังขารร่างกายตนเองและผู้อื่นทำไม...เมื่อพิจารณาได้ดังนี้รู้สึกได้ถึงความผ่อนคลายความเบาใจก็เกิดขึ้น ชะรอยว่าความทุกข์เกิดจากความโง่ของตนเองที่เข้าไปยึดถือในสิ่งทั้งปวงที่เราบังคับมันไม่ได้...อ้า!ธรรมทั้งหลายไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นจริงๆด้วย

    เมื่อจิตไม่จับอะไรจึงเห็นเป็นของว่างเปล่า เอ๊!สรรพสิ่งล้วนว่างเปล่ารึเนี่ย!!

    ขณะใดที่จิตเข้มแข็งถ้ามีเรื่องราวเข้ามากระทบมันก็มักจะมีอารมณ์ประมาณนี้อ่ะครับ ^_^

    เลยอยากชวนกัลยาณธรรมทุกท่านร่วมพิจารณาธรรมหมวดนี้ดู นัยหนึ่งเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อีกนัยหนึ่งเพื่อท่านผู้รู้จะได้เข้ามาอัตถาธิบายในส่วนที่ยังไม่แจ้งให้ชัดเจนยิ่งขึ้นครับ ^_^
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ธรรม คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง
    รวม รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    การเห็นรูปสังขารไม่เที่ยง แล้วเกิดการสลดสังเวช เกิดอาการเบาขึ้นมา นั่นก็เป็นการละจากอารมณ์หยาบ เข้าไปสู่อารมณ์ละเอียดที่จิตยังมีความชอบพึงพอใจ เป็นการเข้าไปยึดอีกสิ่งหนึ่งแทนสิ่งเดิม

    ดังนั้นแล้ว ไม่มีขันธ์ใดเลย ที่ควรจะยึดถือมั่น การจะเริ่มฝึกสู่การไม่ยึดถือขันธ์ใดๆ ก็ฝึกโดยให้มีสติเกาะอยู่กับอาการรู้ แต่ไม่เข้าไปเกาะในสิ่งที่ถูกรู้
     
  3. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    อณุโมทนา ธรรมทั้งหลายคืออะไรครับ และที่ว่าไม่ยึดมั่นถือมั่นถ้าเราเกิดทุกขเวทนา จะไม่ยึดมั่นถือมั่นอย่างไร ฟางว่านยังไม่เข้าใจ
     
  4. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,814
    ค่าพลัง:
    +15,099
    ครับ จริงๆแล้วก็ยังเป็นเพียงการพิจารณาแบบวงกว้างอยู่ เช่นมีครั้งหนึ่งเราพูดสิ่งที่ทำให้ผู้อื่นไม่สบายใจเพราะความประมาท เมื่อเขากำลังด่าเราอยู่ ขณะนั้นมีความรู้สึกว่าจิตมันวิ่งหนีไปจากร่างกายปล่อยให้เขาด่าร่างกายของเราไป แค่เพียงชั่วขณะหนึ่งไวมากเลย

    แต่ก็ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ว่ากายกับจิตนั้นแยกจากกันได้จริงๆครับ! ถ้าฝึกให้เจริญยิ่งๆขึ้นไปแล้วเชื่อแน่ว่าทุกขเวทนาที่จิตยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราก็คงปล่อยวางได้จริงๆ ^_^

    ส่วนที่สำคัญอยู่ที่การเจริญจิตภาวนาตามแนวทางสติปัฎฐานสี่มากกว่าครับ ทำนองว่าปริยัติธรรมบทนี้ถูกกิเลสเราเป็นอุบายให้จิตสงบเบื้องตนแล้วชวนให้เกิดศรัทธาในการปฎิบัติเพื่อถึงความไม่ยึดมั่นถือมั่นตามความเป็นจริงมากกว่าครับ ^_^
     
  5. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,814
    ค่าพลัง:
    +15,099
    และก็ไม่แน่ว่าจะไปถูกกิเลสท่านอื่นเหมือนกันหรือเปล่า จึงตั้งกระทู้ชวนสนทนาธรรมด้วยภูมิปัญญาอันน้อยนิด อย่างบทที่ว่า "สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาย่อมถึงความดับไปเป็นธรรมดา" บทนี้ก็มีตัวอย่างให้บรรลุธรรมกันมากต่อมากแล้ว! ถึงแม้จะเป็นผู้มีวาสนาบารมีน้อย แต่อย่างน้อยการได้พิจารณาธรรมอยู่เนื่องๆก็มีประโยชน์บ้างแหล่ะครับ ^_^
     
  6. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,814
    ค่าพลัง:
    +15,099
    ขอแตกหัวข้อกระทู้เพิ่มเติมแล้วกันครับ คืออยากถามว่าธรรมะบทใดเป็นเหตุให้ท่านมีจิตสงบท่านชอบยกธรรมบทใดขึ้นมาพิจารณาน้อมนำไปประพฤติปฎิบัติมากที่สุดครับ? ขอฟังประสบการณ์จริงด้วยครับจะเป็นประโยชน์มาก!
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ปัญหาของภาษา และ ความหมาย มีมากมาย คำว่า " ว่างเปล่า" นั้นย่อมแปลได้หลายอย่าง นะครับ------------พระวจนะ"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า สัมมาทิฎฐิ สัมมาทิฎฐิ ดังนี้ สัมมาทิฎฐิ ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่าไรพระเจ้าข้า.....................กัจจานะ สัตว์โลกนี้ อาศัยแล้วซึ่งส่วนสุดทั้งสอง โดยมากคือ ส่วนสุดว่าสิ่งทั้งปวงมี(อตถิตา) และส่วนสุดว่าสิ่งทั้งปวงไม่มี(นตถิตา) กัจจานะ เมื่อบุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นแดนเกิดขึ้นแห่งโลก(โลกสมุทัย)อยู่ ทิฎฐิที่ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มีในโลก ย่อมไม่มี...........กัจจานะ เมื่อบุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ซึ่งความดับไม่เหลือของโลก (โลกนิโรธ)อยู่ ทิฎฐิที่ว่า สิ่งทั้งปวง มีในโลก ย่อมไม่มี ........กัจจานะ สัตว์โลกนี้โดยมาก มีอุปายะ อุปทานะ และอภินิเวส เป็นเครื่องผูกพัน ส่วนสัมมาทิฎฐินี้ ย่อมไม่เข้าไปหา ย่อมไม่ยึดมั่น ย่อมไม่ตั้งทับ ซึ่งอุปายะและอุปาทานทั้งสองนั้น ในฐานะเป็นที่ตั้งทับ เป็นที่ตามนอน แห่งอภินิเวส ของจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ทุกข์นั้นแหละ เมื่อเกิดย่อมเกิด ทุกข์นั้นแหละ เมื่อดับย่อมดับดังนี้ เป็นสัจจะที่ผู้มีสัมมาทิฎฐิ ไม่สงสัยไม่ลังเล ญานดังนี้นั้น ย่อมมีแก่เขา ในกรณีนี้ โดยไม่มีผู้อื่น ้เป็นปัจจัยเพื่อความเชื่อ..........กัจจานะ สัมมาทิฎฐิ ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล---นิทาน.สํ.16/20-21/42-43.:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2014
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ..................โลกสมุทัย(เหตุเกิดโลก) บางพระสูตรก็กล่าวถึง อายตนะโดยตรง หมายถึงอายตนะภายนอก+อายตนะภายใน+วิญญาน.....นั้นหมายถึง พระท่านสอนหลัก ปฎิจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจัยตา ที่ว่า สิ่งนี้มี เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะความเกิดขึ้นของสิ่งนี้ สิ่งนี้ดับ เพราะสิ่งนี้ดับ เพราะความดับไปของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับลง...หรือ คาถาเยธัมมาอันพระเถราจารย์โบราณ ได้ สรุปแล้วว่าเป็นคาถาสั้นสั้น ที่ จะบอกกล่าวถึง หัวใจพระศาสนาได้ ที่มีใจความว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดจากเหตุพระท่านสอนเหตุของการเกิดและการดับของสิ่งนั้น........คงต้องไปดู อริยะสัจสี่ อีกที ที่ว่าด้วย ทุกขื ทุกข์สมุทัย นิโรธ และมรรค นั้นแหละครับ อีกอย่างหนึ่ง ไวพจน์ของนิพพาน นั้น คือความสิ้นไป แห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ...(น่าคิด นะครับ ว่าทำไม):cool:
     
  9. xeforce

    xeforce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2011
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +413

    ตามพระสูตรนี้ครับ

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ภิกษุนั้น เห็นรูปด้วยตาแล้ว
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในรูป อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก
    ย่อมไม่ขัดเคือง ในรูป อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...

    ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในเสียง อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก
    ย่อมไม่ขัดเคือง ในเสียง อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...

    ภิกษุนั้น รู้สึกกลิ่นด้วยจมูกแล้ว
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในกลิ่น อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก
    ย่อมไม่ขัดเคือง ในกลิ่น อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...

    ภิกษุนั้น ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในรส อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก
    ย่อมไม่ขัดเคือง ในรส อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...

    ภิกษุนั้น ถูกต้องสัมผัสด้วยกายแล้ว
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในสัมผัสทางกาย อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก
    ย่อมไม่ขัดเคือง ในสัมผัสทางกาย อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...

    ภิกษุนั้น รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในธรรมารมณ์ อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก
    ย่อมไม่ขัดเคือง ในธรรมมารมณ์ อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...


    เป็นผู้อยู่ด้วยสติเป็นไปในกายอันตนเข้าไปตั้งไว้แล้ว
    มีจิตหาประมาณมิได้ด้วย ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
    อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลายด้วย


    ภิกษุนั้น เป็นผู้ละเสียได้แล้ว ซึ่งความยินดี และความยินร้ายอย่างนี้แล้ว
    เสวยเวทนาใด ๆ อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
    ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ในเวทนานั้น ๆ
    เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้น ๆ
    นันทิ (ความเพลิน) ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป


    เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
    เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
    เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
    เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะฯ จึงดับสิ้น
    ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

    ...........................
    มู. ม. ๑๒/๔๙๔/๔๕๘.
     
  10. ABT

    ABT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +1,524
    ธรรมที่ผมพิจารณาอยู่คือ พิจารณาร่างกายของเราเองว่าเป็นเช่นไร แยกธาตุ ขันธ์ พิจารณาความไม่น่ามอง ความไม่เที่ยงแท้ของร่างกาย พอสงบแล้วจึงจับลมหายใจต่อ ได้ผลดีครับ จิตนิ่งดีขึ้นมากครับ พิจารณาตั้งต่ปลายผมด้านบนลงมาจนถึงปลายเล็บเท้า รู้สึกเบาสบาย และจับลมหายใจง่ายด้วยครับ
     
  11. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่น ธรรมคือธรรมชาติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีเกิดย่อมมีดับเป็นธรรมดา
    ตามกฎไตรลัษณ์ นั่นแหละคือธรรมะหรือธรรมชาติของทุกสิ่งในโลกนีี้รวมทั้งขันธ์5ของเรา
    เมื่อทุกสิ่งอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์นี้ล้วนเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงไม่ควรที่เราจะ
    เข้าไปยึดมั่นว่านั่นเป็นเรา นั่นของๆเรา นั่นอัตตาตัวตนของเรา...

    ที่คุณปฎิบัติคือ"อนิจจสัญญา" หรือเห็นในความไม่เที่ยงของทุกๆสิ่งทั้ง กายเรา กายเขา
    ก็ล้วนมีสภาวะไม่เที่ยง ที่คุณพิจารณากายโดยเห็นความเป็นธาตุหรือเห็นความเสื่อมเช่น
    ผมหงอก รอยเหี่ยวย่น ทั้งของเราและของคนอื่น แบบนี้ดีครับเห็นแล้วต้องน้อมเข้าสู่ตัว
    เราเองเสมอๆ เห็นเค้าไม่เที่ยงก็ต้องเห็นเราเหมือนเขาคือไม่เที่ยงเช่นกัน แม้นแต่ใบไม้
    ที่เหี่ยวร่วงหล่น ก็น้อมเข้าสู่กายเราได้เช่นกัน...

    เมื่ออายตนะ กระทบเกิด เวทนา( ยินดี ยินร้าย เฉยๆหรืออุเบกขา) เช่นตาเห็นรูปสวยๆ
    เกิดยินดี(พอใจ รักใคร่ หรือตัณหา) ถ้าใช้สติเข้าไปเห็นความยินดีจางคลายลง ก็จะเหลือ
    อุเบกขา(เฉยๆ ว่างๆ) หรือคุณใช้ อนิจจสัญญาที่เคยฝึกมา จิตระลึกถึงสัญญาที่เคยฝึกมา
    ได้มันก็จะระลึกที่ความไม่เที่ยงของรูปสวยๆ ความยินดีในรูปก็ดับลงเหลือ"ว่างๆ อุเบกขา"
    สภาวะว่างๆหรืออุเบกขา นี้หมั่นสะสมบ่อยๆก็ดีครับ แต่อย่าไปแช่ในความว่างนานเกินไป
    เพราะทำให้เสียเวลา เอาไว้จิตรวมเป็นอุเบกขาสัมโพชงค์(จิตตั้งมั่น)ได้ก็จะเข้าสู่วิปัสสนา
    คือเห็นแจ้งในขันธ์5ได้ แต่ต้องเห็นความจางคลายหรือความดับให้บ่อยๆครับ โดยฝึก
    สติปัฎฐานสี่ โดยเอาสติมาเห็นกายโดยความเป็นธาตุก็ได้ เป็นเครื่องอยู่ไปก่อน.
     

แชร์หน้านี้

Loading...