ธรรมะกับธรรมชาติ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nouk, 22 พฤษภาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ที่มา : http://www.navy.mi.th/navedu/webboard/ex11_32.php?q_id=29
    ธรรมะ คือ ความดีที่ไม่ใช่ อธรรม

    ธรรมะคือธรรมชาติ ธรรมชาติคือทุกสิ่งทุกอย่าง (มนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ) ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดเลยที่อยู่นอกเหนือความหมายของธรรมะ
    ธรรมะคือตัวกฎของธรรมชาติ ธรรมชาตินั้นจะมีกฎเกณฑ์ของมัน กฎเกณฑ์ที่ว่านั้น คือมีเกิดในเบื้องต้น แปรปรวนท่ามกลาง และแตกสลายไปในที่สุด แม้แต่จักรวาลก็เป็นไปเช่นนั้น

    ธรรมะคือหน้าที่หรือความเป็นไปไม่ขัดไม่ฝืนต่อสภาวะที่สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย (การปฏิบัติธรรมก็คือทำเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดผลดี เว้นเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดผลชั่ว)

    ธรรมะคือคุณากรส่วนชอบสาครดุจดวงประทีปชัชวาลความหมายนี้ท่านอธิบายธรรมะได้ชัดเจนมากคุณากร แยกเป็น คุณะศัพท์หนึ่ง อากร ศัพท์หนึ่ง คุณะแปลว่า คุณความดีต่าง ๆ อากร แปลว่า บ่อเกิด ฉะนั้น คุณากร แปลว่า บ่อเกิดแห่งความดีต่าง ๆ จึงสรุปว่า ธรรมะก็คือบ่อเกิดแห่งความดีต่าง ๆ นั่นเอง อะไรที่เป็นความดีคือธรรมะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2012
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ธรรมะคือสิ่งที่จะคุ้มครองโลกให้มีความสงบสุขที่ใดขาดธรรมะย่อมไร้ความสงบสุข โดยที่สุดแม้แต่คุ้มครองโลกคือชีวิตจิตใจของแต่ละคนให้พบความสุขทั้งในโลกนี้และโลกอื่น ๆ...ถ้าใครอยากเห็นธรรมะขอให้ลองค้นให้พบตัวเองจริงๆ ก่อนบางทีเขาอาจจะถึงบางอ้อก็ได้..

    ธรรมะคืออะไร?

    ท่านพุทธทาสกล่าวว่า “คำว่า “ธรรมะ” ในภาษาบาลีก็ตาม ในภาษาสันสกฤตก็ตาม เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่สุดคือ หมายถึงสิ่งทุกสิ่งทั้งที่มนุษย์รู้จักและยังไม่รู้จัก คำ ๆ นี้เป็นคำพูดคำเดียวที่ประหลาดที่สุดในโลกจนไม่อาจจะแปลเป็นภาษาอื่นได้นอกจากภาษาที่ทำให้กำเนิดแก่คำ ๆ นี้....

    โดยคำจำกัดความของ “ธรรมะ” นั้น จะครอบคลุมถึง 4 ประการ คือ

    (1) ตัวธรรมชาติ
    (2) ตัวกฎของธรรมชาติ
    (3) ตัวหน้าที่ที่มนุษย์จะต้องกระทำให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาติ
    (4) ตัวผลต่าง ๆ อันเกิดขึ้นจากการกระทำหน้าที่นั้น ๆ นั่นเอง

    แต่เมื่อผู้เขียนค้นหากลับพบว่า “ธมฺม” (บาลี) และ “ธรฺม” (สันสกฤต) ที่แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หรือ “สิ่งซึ่งดำรงอยู่” จะไปคล้องจองกับคำว่า “Y-H-W-H” (ฮีบรู) ที่แปลว่า “ผู้ทรงดำรงอยู่” โดยคำจำกัดความ “ธรรมะ” จะครอบคลุมถึงสภาวธรรม 4 ประการ ได้แก่


    (1) ตัวของธรรมะ คือ “ความเป็นหนึ่ง” ไม่มีด้านตรงข้าม แต่ตัวของธรรมชาติ คือ “สิ่งตรงข้ามซึ่งประกอบกันเป็นหนึ่ง”


    (2) กฎของธรรมะ คือ “การดำรงอยู่ได้เอง” ตลอดกาล แต่กฎของธรรมชาติ คือ “การอาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และแตกดับไป”


    (3) หน้าที่ของธรรมะคือ “การปกครอง” เหนือกฎเกณฑ์ต่าง ๆแต่หน้าที่ของธรรมชาติ คือ “การปฏิบัติ” ภายใต้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ


    (4) ผลของธรรมะ คือ “เหตุแห่งการให้” เพื่อสนองตอบการปกครอง แต่ผลของธรรมชาติ คือ “ผลแห่งการรับ” เมื่อปฏิบัติตามนั้น


    เพราะฉะนั้น “ธรรมะ” กับ “ธรรมชาติ” จึงแตกต่างและสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถนำมาทดแทนกันได้เลย
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สรุป (1)
    ตัวตนของ “ธรรมะ” ไม่ใช่ตัวตนตาม “ธรรมชาติ”

    ตัวตนของ “ธรรมะ” คือ “ความเป็นหนึ่ง” ของปฐมเหตุ แต่ตัวตนของ “ธรรมชาติ” คือ “ความว่าง” ของปฐมผลซึ่งเป็นการอาศัยกันและกันของสิ่งตรงข้ามประกอบเป็นสิ่งเดียวกัน โครงสร้างพื้นฐานของ “ธรรมะ” กับ “ธรรมชาติ” จึงแตกต่างและสวนทางกัน ดังนี้

    (1) “ตัวตน” ของธรรมะ คือ สภาวะของสิ่งที่เป็นเหตุ แต่ “ตัวตน” ของธรรมชาติ คือ สภาวะของสิ่งที่เป็นผล

    (2) “ตัวตน” ของธรรมะ คือ ความเป็นเหตุ (เท่านั้น) แต่ “ตัวตน” ของธรรมชาติ คือ ความเป็นเหตุ-ความเป็นผล

    (3) “ตัวตน” ของธรรมะ คือ ปฐมธรรม, พฤติธรรม
    แต่ “ตัวตน” ของธรรมชาติ คือ ปฐมกรรม, พฤติกรรม

    (4) “ตัวตน” ของธรรมะ คือ อสังขตธรรม ไม่มีการปรุงแต่ง
    แต่ “ตัวตน” ของธรรมชาติ คือ สังขตธรรม มีการปรุงแต่ง

    (5) “ตัวตน” ของธรรมะ คือ ความเป็นสูงสุด ไม่มีด้านตรงข้าม แต่ “ตัวตน” ของธรรมชาติ คือ ความเป็นธรรมดา มีด้านตรงข้าม

    (6) “ตัวตน” ของธรรมะ คือ ความเป็นจริงสัมบูรณ์ แต่ “ตัวตน” ของธรรมชาติ คือ ความเป็นจริงสัมพัทธ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2012
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สรุป (2)
    กฎของ “ธรรมะ” ไม่ใช่ “กฎ” ตามธรรมชาติ

    กฎของธรรมะ คือ การดำรงอยู่ของสภาวะที่เป็นเหตุแห่งคุณงามความดี ฯลฯ แต่กฎของธรรมชาติ คือ การเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปของสภาวะที่เป็นผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่ว ฯลฯ โดยโครงสร้างพื้นฐานนั้นแตกต่างและสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง เช่น

    (1) “กฎ” ของธรรมะ คือ การดำรงอยู่ของเหตุ
    แต่ “กฎ” ของธรรมชาติ คือ การเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปของผล

    (2) “กฎ” ของธรรมะ คือ การดำรงอยู่ได้เองของความเป็นเหตุ แต่ “กฎ” ของธรรมชาติ คือ การอาศัยกันของความเป็นเหตุ-เป็นผล

    (3) “กฎ” ของธรรมะ คือ การดำรงอยู่ได้ตลอดไป
    แต่ “กฎ” ของธรรมชาติ คือ การดำรงอยู่ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น

    (4) “กฎ” ของธรรมะ คือ กฎแห่งความเจริญของปฐมเหตุ แต่ “กฎ” ของธรรมชาติ คือ กฎแห่งความเสื่อมของปฐมผล

    (5) “กฎ” ของธรรมะ คือ อำนาจในการปกครองของธรรมะ แต่ “กฎ” ของธรรมชาติ คือ หน้าที่ในการปฏิบัติตามของกรรม

    (6) “กฎ” ของธรรมะ คือ ความบริสุทธิ์ (เป็นหนึ่ง) ของพฤติธรรม แต่ “กฎ” ของธรรมชาติ คือ การปรุงแต่ง (ผสม) ของพฤติกรรม
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สรุป (3)
    หน้าที่ของ “ธรรมะ” ไม่ใช่ “หน้าที่” ตามธรรมชาติ

    หน้าที่ของธรรมะ คือ การเติมเต็มด้วยคุณงามความดีของเหตุ แต่หน้าที่ของธรรมชาติ คือ การละวางจากกรรมดี-กรรมชั่วของผล ฯลฯ

    หน้าที่ของธรรมะคือ “การปกครอง” ซึ่งอยู่เหนือกฎถูก-ผิด ฯลฯ แต่หน้าที่ของธรรมชาติ คือ “การปฏิบัติตาม” ซึ่งอยู่ใต้กฎถูก-ผิด ฯลฯ โดยโครงสร้างพื้นฐานนั้นแตกต่างและสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง เช่น

    (1) “หน้าที่” ของธรรมะ คือ การยึดมั่นไว้ซึ่งสภาวะของเหตุ
    แต่ “หน้าที่” ของธรรมชาติ คือ การละวางจากสภาวะของเหตุ-ผล

    (2) “หน้าที่” ของธรรมะ คือ การถือมั่นไว้ซึ่งคุณความดี แต่ “หน้าที่” ของธรรมชาติ คือ การละวางจากกรรมดี-กรรมชั่ว

    (3) “หน้าที่” ของธรรมะ คือ การมีไว้ซึ่งความเจริญ แต่ “หน้าที่” ของธรรมชาติ คือ การละวางจากความเจริญ-ความเสื่อม

    (4) “หน้าที่” ของธรรมะ คือ การธำรงรักษาไว้ซึ่งความบริบูรณ์ แต่ “หน้าที่” ของธรรมชาติ คือ การละวางจากความบริบูรณ์-ความว่าง

    (5) “หน้าที่” ของธรรมะ คือ การทรงไว้ซึ่งปกครองของผู้สร้าง แต่ “หน้าที่” ของธรรมชาติ คือ การปฏิบัติหน้าที่ของสิ่งที่ถูกสร้าง
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สรุป (4)
    “ผล” ของธรรมะ ไม่ใช่ “ผล” ที่ได้รับจากธรรมชาติ


    ผลของธรรมะ คือ “เหตุแห่งการให้” เพื่อสนองตอบการปกครองนั้น แต่ผลของธรรมชาติ คือ “ผลแห่งการรับ” เพื่อสนองตอบการปฏิบัติตาม โดยโครงสร้างพื้นฐานนั้นแตกต่างและสวนทางกัน เช่น

    (1) “ผล” ของธรรมะ คือ การหยั่งรู้สภาวะของสิ่งที่เป็นเหตุ แต่ “ผล” ของธรรมชาติ คือ การหยั่งรู้สภาวะของสิ่งที่เป็นเหตุ-เป็นผล

    (2) “ผล” ของธรรมะ คือ การหยั่งรู้ถึงการดำรงอยู่ของเหตุ แต่ “ผล” ของธรรมชาติ คือ การหยั่งรู้ถึงการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปของผล

    (3) “ผล” ของธรรมะ คือ การหยั่งถึงความบริบูรณ์ของเหตุ แต่ “ผล” ของธรรมชาติ คือ การหยั่งรู้ถึงความว่างของผล

    (4) “ผล” ของธรรมะ คือ การหยั่งรู้ถึงความเป็นหนึ่งของเหตุ แต่ “ผล” ของธรรมชาติ คือ การหยั่งรู้ถึงความเท่าเทียมกันของผล

    (5) “ผล” ของธรรมะ คือ การหยั่งรู้ถึง “เหตุแห่งการให้” แต่ “ผล” ของธรรมชาติ คือ การหยั่งรู้ถึง “ผลแห่งการรับ”

    (6) “ผล” ของธรรมะ คือ การหยั่งรู้ถึง “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” แต่ “ผล” ของธรรมชาติ คือ การหยั่งรู้ถึง “ความเป็นเช่นนั้นเอง”
     
  7. extreme_dgt

    extreme_dgt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +219
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=IhKSzkFKrKA]พระอาจารย์สมภพ รางวัลจากธรรมชาติ1-2 - YouTube[/ame]
     

แชร์หน้านี้

Loading...