ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    1f33b.png หลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านเล่าถึงบท “เมตตายังกิญจิ” บทนี้ว่า เป็นบทสวดที่องค์หลวงปู่ชอบให้มา ขลังดีนักแล คนจะใส่ของหรือภูตผีจะทำอันตรายมิได้เลย ให้สวดคู่กับพรหมวิหาร 4 ยิ่งดีนัก

    1f33b.png ท่านเล่าว่า มีโยมคนหนึ่งไปเรียนเล่นของมา เอาไปใส่ใคร ให้ผลเป็นบ้าเสียจริต มานักต่อนัก ทีนี้คนเล่นของมันไม่ชอบลูกศิษย์หลวงปู่ชอบ มันจึงเสกของ คือคุณไสยมาใส่ ใส่ยังไงของนั้นก็ไม่ติด ไม่มีผลร้ายเหมือนดังที่เคยทำ

    1f33b.png ด้วยความกลัวของจะย้อนกลับเข้ามาใส่ตน จึงตัดสินใจเข้าไปขอโทษ และไต่ถามความว่า

    “เจ้ามีของดีอะไร เราเสกคาถาใส่ของ จึงไม่เข้าถึงตัวเจ้า?”

    เขาบอกว่า

    “ไม่มีของดีอะไร?”

    พอถามหนักเข้า ได้ทราบว่า

    1f33b.png “เขามีคาถาเมตตายังกิญจิ ที่หลวงปู่ชอบให้สวดทุกวัน ป้องกันพวกของต่ำจากไสยเวทย์ได้ทุกอย่าง”

    เล่าโดย: หลวงปู่ลี กุสลธโร

    -กุสลธโร-ท่านเล.jpg
    1519727885_602_หลวงปู่ลี-กุสลธโร-ท่านเล.jpg
    1519727885_103_หลวงปู่ลี-กุสลธโร-ท่านเล.jpg

    ที่มา ธรรมะของพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าไม่ให้พวกเราตั้งอยู่ในความประมาทของชีวิต ถึงเราจะเป็นคนหนุ่มก็ตาม คนแก่ก็ตาม ทุกสิ่งทุกอย่างหรือธรรมะทั้งหลายรวบรวมลงไปในความไม่ประมาท ก็คือเมื่อคนไม่ประมาทในชีวิตของตน ไม่ประมาทในวัยของตน บุคคลนั้นย่อมปฏิบัติคุณงามความดีได้อย่างเต็มที่

    การตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ก็คือ ตั้งอยู่ในความดีตลอด ไม่คิดทำความชั่ว คนนั้นแหละจะเป็นคนที่เจริญที่สุด แม้แต่จะเป็นพระองค์ไหนไม่ประมาท องค์นั้นก็จะบรรลุธรรมก่อนเพื่อน คนเราจะพ้นทุกข์ได้ก็เพราะความไม่ประมาท ”

    ____________________

    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโท วัดอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    พระธรรมคำสอนพ่อแม่ครูอาจารย์ยกไว้เหนือเศียรเกล้า..กราบสาธุ

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “เงิน ซื้อเตียงนอนได้ แต่ซื้อการหลับเป็นสุขไม่ได้

    เงิน ซื้อกระดาษปากกาได้ แต่ซื้อความเป็นกวีไม่ได้

    เงิน ซื้ออาหารดีๆ ได้ แต่ซื้อความอยากรับประทานไม่ได้

    เงิน ซื้อความประจบสอพลอได้ แต่ซื้อความจริงใจไม่ได้

    เงิน ซื้อการตามใจได้ แต่ซื้อความจงรักภักดีไม่ได้

    เงิน ซื้อเพชรนิลจินดาได้ แต่ซื้อความงามไม่ได้

    เงิน ซื้อความสนุกชั่วคราวได้ แต่ซื้อความสุขไม่ได้

    เงิน ซื้อเพื่อนร่วมเดินทางได้ แต่ซื้อเพื่อนแท้ไม่ได้

    เงิน ซื้ออำนาจราชศักดิ์ได้ แต่ซื้อปัญญาไม่ได้

    เงิน ซื้ออาวุธยุทธภัณฑ์ได้ แต่ซื้อสันติสุขไม่ได้

    เงิน ซื้อเมียที่สวยได้ แต่ซื้อแม่ที่ดีให้ลูกไม่ได้

    เงินจะสำคัญเมื่อจำเป็นต้องใช้เท่านั้น เกิดมาเป็นคนอย่าจนความดี เกิดมาทั้งทีแต่มีดีติดตนไป”

    หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี

    -ซื้อเตียงนอนได้-แต.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ ๑๒ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

    “กัมมัฏฐาน ๕ เป็นที่ตั้งของกาม”

    (๒๗-๒-๒๕๖๑)

    อุปัชฌาย์ท่านสอน
    เกศา โลมา นขา ทันตา ตะโจ
    ปัญจกรรมฐาน
    เป็นที่ตั้งของกาม
    กามพาหมุนอยู่
    ทุกข์ก็เกิดขึ้นที่นี่ สมุทัยก็เกิดขึ้นที่นี่

    ความเจ็บแข้ง เจ็บขา เจ็บหลัง เจ็บเอว
    เวลามันเจ็บเราก็ไม่ชอบ
    ถ้าไม่รู้เท่าทันมันเสียเปรียบมันไม่ไช่น้อย

    พวกเราตายเพราะกามมาแล้วตั้งแต่
    ดึกดำบรรพ์ นับปี นับเดือน นับวัน
    นับภพ นับชาติ ไม่ได้ ตายก็เพราะกาม
    เกิดก็เพราะกาม ทุกข์ก็เพราะกามนี้

    ความโกรธ ความเกลียด เกิดมาจากใจ
    มีใจมันก็เกิดความหลง ก็เหมือนกัน
    ถ้าไม่มีใจมันจะเกิดมาได้อย่างไร
    ถ้าไม่มีใจมันก็ไม่เกิด

    พวกความโลภ ความโกรธ ความถูก
    ความผิดก็เหมือนกัน มันเกิดก็เพราะใจนี้แหละ

    ต้องกำหนดเข้ามาหาใจ ตัวต้นเหตุของมัน
    ถ้าเราไปแก้ที่ปลายเหตุไม่ได้
    ยิ่งแก้ยิ่งเดือดร้อน การต่อสู้กิเลสเป็นสงครามอันใหญ่
    ความพอใจ ไม่พอใจก็อันนี้่เต็มโลกอยู่

    รักษา ตาหู จมูก ลิ้น กาย ของเราให้ดีๆ
    ต้องพิจารณาให้รอบคอบ
    ต้องน้อมเข้ามาหากายนี้
    น้อมเข้ามาหาใจนี้
    พระธรรมทั้งหลาย
    ท่านยกใจ ขึ้นมาเป็นหัวหน้า

    เป็นมรรคาวรณ์ สัคคาวรณ์
    มันเกิดมาในสิ่งนี้ทั้งสิ้น

    ชำระใจให้บริสุทธิ์ รักษา ตา
    หู จมูก ลิ้น กาย ไว้ให้ดี
    รักษาศีล ก็รักษา ตา หู จมูก ลิ้น กาย
    ของเรานี่แหละ

    รักษาธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ นี้ไว้
    ไปรักษาอย่างอื่นไม่เป็นศีล

    ขันธ์ทั้ง ๕ ธาตุ ทั้ง ๔ มันเป็นกองทุกข์
    พิจารณาอันนี้ให้ชำนิชำนาญเข้าไป

    ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านว่า
    กามนี้่อย่าไปอัศจรรย์ สัตว์ทั้งหลาย
    เขาเสพกามกันอยู่เต็มโลก
    ก็ไม่เห็นวิเศษไปไหน
    มีแต่เพิ่มทุกข์

    มีแต่ศีล สมาธิ ปัญญาเท่านั้นที่ อัศจรรย์
    เวลาทำสมาธิให้ใจมันสงบ มันก็ละได้

    สัตว์ทั้งหลาย เกิดก็เพราะกาม
    ตายก็เพราะกาม ให้พิจารณาให้รู้แจ้ง
    เห็นตามสภาพความเป็นจริง ของมัน
    มันก็ค่อยถอนจิตออกจากจิตที่สำคัญ
    มั่นหมายนี้

    ให้รักษาอินทรีย์ สังวร รักษาศีลก็รักษา
    ตา หู จมูก ปาก ตีน มือของเรา
    นี้แหละ ความพอใจ
    ความไม่พอใจ เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้
    นำออกให้หมด เป็นวินัยอันหนึ่ง

    ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูก ดมกลิ่น
    ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส
    ยินดีพอใจก็ตาม ไม่ยินดี ไมพอใจก็ตาม
    เกิดขึ้นในปัจจุบัน ให้นำออก
    เสียจึงใช้ได้

    เป็นวินัย คือการนำความผิด ความยินดี
    ออกจากจิตจากใจอันนี้

    วินัยคือการนำ มรรคาวรณ์ สัคคาวรณ์
    ออกจากจิตจากใจของตน
    ทำใจของตนให้บริสุทธิ์
    พระธรรมวินัยท่านแสดงบัญญัติ
    ชี้สู่กาย สู่ใจ ของเราทั้งสิ้น

    พวกมรรคาวรณ์ สัคคาวรณ์ เป็นทางกั้น
    มรรคผลนิพพาน นำออกให้หมด
    อย่าให้มันหมักอยู่ในใจ

    ให้มีสติ สัมปชัญญะ ถ้ามีสตินำความผิด
    ออกจากกายใจ ของตนได้
    ถ้าไม่มีสติ มันก็หลงไปเรื่อยๆ

    ถ้ามีสติสัมปชัญญะ ก็ตั้งอยู่ในสังวร
    กามทั้งหลายมี รูป เสียงกลิ่น รส
    สัมผัส ธรรมารมณ์
    เข้าผ่านไปผ่านมาตามธรรมชาติของเรา

    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ไช่กามารมณ์
    กามารมณ์ ไม่ไช่ ตาหู จมูก ลิ้น กาย
    กามารมณ์ ต่างหาก

    “อย่าไปถือ ตามสัญญา ไม่รู้เท่าสังขาร
    ถ้าไม่รู้เท่าสังขารมันเป็นทุกข์
    ต้องมีสติสัมปชัญญะ
    สติเป็นวินัยอย่างหนึ่ง สำคัญ…”

    ผู้โพสต์คัดตัดตอนบางส่วนจาก
    “จากหนังสือโครงการหนังสือบูรพาจารย์
    เล่ม ๓ หน้า ๓๗๓-๓๗๕
    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่
    เรียบเรียงโดย : รศ.ดร ปฐม-รศ.ภัทรา นิคมานนท์

    จุดประสงค์ธรรมทาน
    เพื่อเตือนใจในการปฏิบัติ เข้าใจในบาป บุญ คุณ โทษ
    และระลึกถึงแนวคำสอนที่ถูกต้องของจริง
    ข้อปฏิบัติของครูบาอาจารย์

    แม้ท่านนิพพานนานแล้ว เพื่อเป็นบทเตือนใจแก่คนรุ่นหลัง
    ผู้โพสต์พิมพ์ใหม่จากบทความคำสอน
    แชร์ได้ ไม่ต้องขออนุญาต เพราะเป็นของครูบาอาจารย์
    หากตกหล่นประการใด ขออภัย สาธุชน ณ โอกาสนี้ครับ
    ขอขอบคุณผู้มีส่วนเผยแพร่
    เจ้าของรูปประกอบในธรรม และผู้กด Like กดแชร์ ทุกท่าน

    -กัณฑ์ที่-๑๒.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมทำบุญตักบาตรและถวายภัตตาหารเช้า หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร ในโอกาสที่องค์หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร เมตตาเดินทางมาเป็นประธานในการบรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่บุญมี โชติปาโล ในวันพฤหัสบดี ที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดสระประสานสุข บ้านนาเมือง ต.ไร่น้อย อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    .jpg
    1519759567_588_ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท.jpg
    1519759567_296_ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท.jpg
    1519759567_320_ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท.jpg
    1519759567_403_ขอเชิญพุทธศาสนิกชนทุกท.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “ปัจจุบันโลกเราต้องการคนดี
    โลกต้องการให้อภัย
    เพราะนั่นเป็นทางแห่งความสันติสุขนะ
    ต้องให้อภัยทำให้ใจกว้างขวาง
    จึงจะได้ชื่อว่าเชื่อฟังคำสั่งสอน
    ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้จริง”

    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ” เมาเพศหมดราคา เมาสุราหมดสำคัญ เมาพนันหมดตัว เมาชั่วหมดความดี ”

    โอวาทธรรม
    หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต
    วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

    -เมาสุราห.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ไม่มีประกาศแถลงการณ์เกี่ยวกับอาการอาพาธของหลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี เนื่องจากอาการอาพาธของหลวงปู่ลี กุสลธโร เข้าสู่ภาวะปกติ ไม่มีภาวะอันตราย องค์หลวงปู่ดำรงธาตุขันธ์อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชน ไปนานแสนนาน เทอญ.

    คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ วัดภูผาแดง ตำบลหนองอ้อ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

    จากเพจ : หลวงปู่ลี กุสลธโร / โดยคณะศิษย์
    27 กุมภาพันธุ์ 2561

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ๏ ครบรอบ ๖ ปี วันละสังขารหลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม ๏

    วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๑ เป็นวันคล้ายวันมรณภาพครบ ๖ ปี ของหลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม วัดศรีวิชัย อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม หลวงปู่คำพันธ์ “พระอริยสงฆ์ผู้มีจิตผ่องใสดั่งดวงจันทร์เพ็ญ” ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง ท่านมีเมตตาต่อศิษย์ และผู้พบเห็นแม้เพียงครั้งแรกก็รู้สึกเย็นเมื่ออยู่ใกล้องค์ท่าน หลวงปู่คำพันธ์ ท่านเป็นหนึ่งในศิษย์หลวงปู่วัง ฐิตสีโล เทพเจ้าแห่งภูลังกา สมัยที่หลวงปู่คำพันธ์ อยู่ปฏิบัติธรรมที่ภูลังกา สมัยนั้นถือได้ว่ากันดาร อาหารการขบฉันไม่สู้จะสมบูรณ์นัก การเดินทางเป็นไปด้วยความลำบาก ต้องมีความพากเพียรมากในการแสวงหาโมกธรรมในสถานที่นั้น เพราะนอกจากจะมีสัตว์ป่าดุร้ายมากมายแล้ว ยังมีไข้ป่า และภูลังกาถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีภูมิเจ้าที่เจ้าป่าเจ้าเขาคุ้มครองดูแลอยู่ด้วย ใครทำเล่น ๆ ไม่พากเพียรเร่งภาวนามักจะประสบสิ่งที่ไม่น่าพอใจมาปรากฏให้พบเห็นเสมอ ๆ พระสงฆ์พ่อแม่ครูบาอาจารย์สมัยก่อนจึงต้องอุตสาหะฟันฝ่าอุปสรรคอดหลับอดนอน ทุกข์บ้างหิวบ้าง สู้ร้อนทนแดดทนฝนเพื่อให้ได้อรรถธรรมนั้นมา

    ๏ ชีวประวัติปฏิปทาหลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม ๏

    เดิมทีองค์ท่านสืบเชื้อสายมาจากฝั่งลาว บิดา มารดาของท่านดำรงชีพเป็นชาวเรือ โดยอาศัยอยู่ในเรือ มีถิ่นฐานอยู่ที่ลำน้ำงึม อพยพเรื่อยมาทางแม่น้ำโขง และมาตั้งรกรากใช้ชีวิตดำรงชีพอยู่ที่สายน้ำลำน้ำสงคราม จ.นครพนม องค์ท่านเมื่ออายุได้ ๑๐ ขวบ มารดาได้พาไปบรรพชาเป็นสามเณร จากนั้นท่านได้ติดตามหลวงปู่พุฒ ธุดงค์กรรมฐานไปที่ฝั่งลาว เมืองหลวงพระบาง ปฏิบัติธรรมอยู่กับธรรมชาติใช้ชีวิตอยู่ตามชายป่า จนกระทั้งเป็นไข้มาเลเลียก็มี

    ๏ ธุดงค์สู่ประเทศลาว ๏

    เมื่อออกพรรษาในปีนั้นพระอาจารย์พุฒจะไปธุดงค์ทางประเทศลาว เพราะท่านเคยไปธุดงค์แถวเมืองท่าแขก เวียงจันทน์ขึ้นไปถึง หลวงพระบางอยู่เสมอ ท่านจึงสั่งให้โยมชาวบ้านพากันฟันไม้เสาศาลา การเปรียญคอย แล้วท่านจะกลับมาปลูกศาลาต่อไป โยมแม่จึงขอให้สามเณรคำพันธ์ไปด้วย เพื่อจะให้ไปเยี่ยมญาติทางพ่อทางแม่ที่บ้านปากซี เมืองหลวงพระบาง ดังนั้นท่านจึงพากันออกจากวัดแพงศรีไปด้วยกัน ถึงที่บ้านหมูม่นอันเป็นบ้านโยมพ่อโยมแม่ของพระอาจารย์พุฒพัก ๑ คืน ตื่นขึ้นจึงเดินทางไปบ้านนาดี ขึ้นภูลังกาข้ามไปบ้านแพงพักวัดสิงห์ทอง ๑ คืน แล้วข้ามน้ำโขงขึ้นไปฝั่งลาวที่พระบาทโพนแพง พักอยู่นั่น ๔ คืนแล้วนั่งรถโดยสารสองแถว ซึ่งมีน้อยที่สุด เพราะบางวันก็ไม่มี ถ้ามีก็มี ๒ คัน ๓ คันเท่านั้น จากวัดพระบาทโพนแพงไปเมืองเวียงจันทน์เจ้าของรถเห็นหนังสือสุทธิจึงไม่เก็บค่าโดยสาร พักที่วัดอูบมุง ในเวียงจันทน์นั้น ๒ คืน แล้วนั่งรถโดยสารไปเมืองหลวงพระบาง เมื่อไปถึงเมืองซองจึงลงรถที่นั่น จากนั้นท่านก็พาไปธุดงค์ตามหมู่บ้านต่างๆ ที่พระอาจารย์พุฒเคยไปมา จากหมู่บ้านหนึ่งไปสู่อีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยมากก็เป็นหมู่บ้านไม่ใหญ่ที่เป็นอยู่อย่างธรรมชาติ

    ๏ โดนไข้มาลาเรียเล่นงาน ๏

    ประมาณ ๒ เดือนต่อมาได้เป็นไข้มาลาเรีย คือไข้ป่าหรือไข้จับสั่น บางวันก็ไข้บางวันก็หาย จนร่างกายทรุดโทรม วันหนึ่งไข้หนักและไข้นาน พระเณรก็ไม่รู้ จะทำอย่างไร เพราะไม่มียา จึงเอาขี้ผึ้งใส่น้ำมาให้ฉัน เมื่อฉันแล้วก็ไม่ได้ผลอะไร เพราะไม่ใช่ยาแก้ไข้ป่า ต่อมาพระอาจารย์พุฒจึงพาไปเมืองซองฝากไว้กับพระในวัดนั้น (ชื่อว่าวัดอะไรจำไม่ได้) ฝากกับโยมผู้มีหลักฐานดีผู้หนึ่ง แล้วพระอาจารย์พุฒก็ออกเที่ยวไปที่หลายแห่งแล้วกลับมาเยี่ยมคราวหนึ่ง เห็นว่าเป็นไข้ไม่มียากิน จึงตกลงกันว่าการไปบ้านปากซีเมืองหลวงพระบางนั้นควรงดไว้ก่อน จึงนำกลับไปเมืองเวียงจันทน์ทั้งๆ ที่เป็นไข้อยู่ นั่งรถตามถนนลูกรัง รถโดยสารเป็นรถแบบโบราณ คือตัวเรือนรถทำด้วยไม้ ที่พิงหลังก็ทำด้วยไม้ ที่นั่งก็ทำด้วยไม้ เมื่อขับมาประมาณ ๑ ชั่วโมง ได้อาเจียนออก ไม่มีอาหารในท้องเลย รู้สึกเหนื่อย จนถึงเวียงจันทน์ลงที่วัดอูบมุง ท่านจึงขอฝากกับเจ้าอาวาสวัด อูบมุง ชื่อพระมหาอ่ำ (ท่านเป็นคนบ้านพานพร้าว อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย) ท่านก็รับไว้อยู่ ๒ วัน พระอาจารย์พุฒก็ออกไปจากวัดอูบมุง จากนั้นไม่รู้ว่าท่านไปไหนเลย จึงได้อยู่กับพระมหาอ่ำ

    เมื่อกลับมาประเทศไทย หลวงปู่คำพันธ์ องค์ท่านได้ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่วัง ฐิติสาโร พระผู้มีอภิญญาญาณศิษย์หลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น (ในสมัยก่อนหลวงปู่มั่น มักใช้ให้หลวงปู่วัง ไปทำลายความเชื่อผิด ๆ เรื่องการถือผี บางครั้งถึงกับรื้อถอนศาลปู่ตา ทิ้งเลย) หลวงปู่คำพันธ์ สมัยเมื่อเป็นสามเณร ได้ติดตามขึ้นไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่ถ้ำชัยมงคล บนภูลังกา จ.นครพนม ซึ่งศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกับองค์ท่าน ได้แก่หลวงปู่วัน อุตฺตโม และหลวงปู่โง่น โสรโย

    ๏ จำพรรษาบนภูลังกา ๏

    พ.ศ.๒๔๘๘ ท่านพระอาจารย์วัง ฐิติสาโรไปอยู่จำพรรษาที่ถ้ำชัยมงคลซึ่งอยู่หลังภูลังกา ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงกาฬ จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบันคือ อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ) ในปีนั้นมีสามเณร ๓ รูป คืออาตมา สามเณรสุบรรณ ชมพูพื้น สามเณรใส ทิธรรมมา รวมเป็น ๔ รูปกับท่านอาจารย์วัง ถ้ำนี้อยู่บนหลังเขาภูลังกาทางทิศตะวันตก ถ้าลงไปบิณฑบาตจากบ้านโนนหนามแท่ง บ้านโพธิ์หมากแข้ง ต้องเดินตามทางคนผ่านดง ภูลังกา ไปประมาณ ๖ กิโลเมตร จึงจะถึงหมู่บ้าน ทดลองไปบิณฑบาตแล้วไกลเกินไป จึงนำเอาอาหารแห้งไปไว้ที่ถ้ำให้โยมและเณรทำถวายท่าน

    ๏ อุบายปราบความง่วง ๏

    ในการไปอยู่ภูลังกาท่านก็สอนให้ทำความเพียรด้านจิตใจเดินจงกรม นั่งสมาธิตามที่ท่านได้บำเพ็ญมาอย่างโชกโชน แต่เราผู้ปฏิบัติ ก็ไม่ได้สมใจนึกเท่าที่ควร นั่งสมาธิก็มีแต่โงกง่วงสัปหงกอยู่เรื่อย จึงคิดจะหาทางปราบไม่ให้โงกง่วง วันหนึ่งจึงขึ้นไปบนหลังถ้ำ ซึ่งมีลานหินกว้างยาวพอเดินจงกรมได้สะดวก หรือจะนั่งสมาธิตามที่แจ้งหรือร่มไม้ก็สะดวกดี เลือกเอาที่ใกล้หน้าผาชันสูงมากห่างหน้าผาประมาณ ๒ วา มีที่นั่งเหมาะอยู่ จึงตกลงไปนั่งที่นั่น ถ้าสัปหงกไปทางหน้าก็คงจะเลื่อนไหลตกหน้าผาได้ จึงนั่งลงที่ตรงนั้นแล้วบอกตัวเองว่า นี่หน้าผาชันอันตราย ถ้าเจ้าจะนั่งโงกง่วงอยู่ แล้วชะโงกไปข้างหน้าก็มีหวังตกหน้าผา คงไม่มีชีวิตเหลืออยู่แล้ว หลังจากเดินจงกรมแล้วก็เข้าไปนั่งที่หมายไว้ ได้นั่งไปนานเกือบชั่วโมง สติก็ประคองใจให้อยู่ตามอารมณ์ที่ต้องการอยู่ได้ เพราะกลัวตาย ต่อจากนั้นร่างกายคงเดินจงกรมมานาน และนั่งร่วมชั่วโมงแล้วสติเผลอนิดเดียวเกิดง่วงสัปหงกจนได้ แต่สัปหงกคราวนี้แทนที่จะโยกคว่ำไปทางหน้ากลับสัปหงกหงายหลังเกือบล้ม ตกใจตื่นจากง่วงจึงคิดว่าเกือบตาย ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องตายแท้ๆ มันยังง่วงอยู่ได้ จึงเลิกนั่งเลยวันนั้น แต่เป็นการเรียนรู้ที่ได้ผลดีมากเพราะไม่ง่วงอีกเลย ถ้ายังง่วงอีกจะพาไปนั่งที่นั่นอีก เข็ดหลาบได้ผลดี แต่ความเพียรก็ไม่ลดละ แต้ก็ล้มลุกคลุกคลานไม่สงบตามที่ต้องการ

    ๏ มาตุคามมาเยือน ๏

    ในระยะนั้นอยู่ถ้ำชัยมงคลกับท่านทั้ง ๓ เณร เณรนั้นอายุ ๑๘-๑๙ ปี กิเลสต่างมาวุ่นวายทำให้จิตใจปั่นป่วน จะอยู่จะไปเท่ากัน วันหนึ่งท่านอาจารย์ได้ถามว่าเณรใดจะสึกจะอยู่ เรากราบเรียนท่านว่ายังบอกไม่ถูกว่าจะอยู่หรือจะสึก เราพูดเพราะหลงความงามนั่นแหละ เรื่องสวยเรื่องงามนี้ แม้ว่าในใจเราจะเฉย แต่ก็แปลกกับความงามน่ารักของเพศตรงข้าม

    มีคราวหนึ่งตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี ขณะอยู่วัดอูบมุง เมืองเวียงจันทน์ จะลงไปอาบน้ำโขงกับเพื่อนเณร ๔ รูป ทางนั้นต้องผ่านบ้านของชาวบ้านหลายหลัง เมื่อเดินไปถึงกลางบ้าน นางสาวบุญเรือง เอาแขนสองข้างอ้อมเป็นวงรอบตัวเรา เพราะเกิดนึกสนุกอย่างไรไมทราบแถมบอกว่า อย่าไหวนะ ถ้าไม่เช่นนั้นจะกอดเลย เราก็หดตัวอยู่ในอ้อมแขนของเขา ไม่รู้จะทำอย่างไร เรื่องรักเรื่องใคร่ไม่มีในขณะนั้น แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร อ้อมอยู่นานประมาณ ๔ นาที จึงปล่อยเราไปแปลกมาก

    อีกคราวหนึ่ง ได้ไปร่วมเจริญพระพุทธมนต์ที่บ้าน เมื่อเสร็จงานจะกลับวัด เดินมาทางกลางบ้านของงาน มีโยมผู้หญิงคนหนึ่งแกมีลูกสาว จึงพูดขึ้นท่ามกลางคนทั้งหลายนั้นว่า เณรน้อยจะหมายไว้เป็นลูกเขยจงจำไว้ ไม่รู้ทำไมโยมนั้นจึงกล้าพูดคำเช่นนั้นในกลางชุมชน เพราะแกเกิดความรักความคิดอย่างไรจึงพูดเช่นนั้น เราก็เก้อเขินอายในใจด้วย

    ส่วนอีก ๒ เณร บอกท่านอาจารย์ว่าจะอยู่ ต่อมาก็พากันสึกทั้งสองรูป เราผู้ไม่ได้บอกท่านกลับอยู่ได้ นี้ไม่แน่นอนเหมือนกัน

    ๏ จากสามเณรสู่ภิกษุหนุ่ม ๏

    ถึง พ.ศ. ๒๔๙๑ อายุได้ ๒๐ ปี ท่านอาจารย์ได้ส่งเราไปทางเรือกลไฟ จากบ้านแพงไปนครพนม เป็นคู่กันกับเณรวันดี แสงโพธิ์ ไปบวชพระที่ วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม ในเดือนมกราคม ท่านพระอาจารย์ที่วัดบอกว่า ผู้เกิดเดือนพฤษภาคมบวชได้ ส่วนผู้เกิดเดือนพฤศจิกายนนั้นใกล้จะเข้าพรรษาจึงมาบวชได้ ดังนั้นจึงบวชได้เฉพาะสามเณรวันดี ส่วนอาตมาเห็นว่าเมื่อกลับไปแล้วจะกลับมาลำบาก เพราะเป็นฤดูฝน จึงไม่ได้ไปตามที่ท่านแนะ รอจนออกพรรษาแล้วจึงลงจากถ้ำชัยมงคล เดินทางไปวัดศรีเทพประดิษฐารามเพื่อไปสอบนักธรรมเอกด้วย จึงอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๑ เวลา ๑๓.๕๐ น. โดยมีท่านเจ้าคุณพระสารภาณมุนี (จันทร์ เขมิโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ สุดท้ายท่านมีสมณศักดิ์เป็น พระเทพสิทธาจารย์ ท่านพระครูวิจิตรวินัยการ (พรหมา โชติโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ภายหลังท่านมีสมณศักดิ์เป็น พระราชสุทธาจารย์ และปรากฏว่าสอบนักธรรมเอกได้ในปีนั้นนั่นเอง

    ๏ กลับมาอยู่วัดศรีวิชัย ๏

    พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านพระอาจารย์วังได้สั่งให้ไปอยู่วัดศรีวิชัย เพราะปีนั้นวัดว่างจากพระ ไม่มีพระมาจำพรรษา ท่านเป็นห่วงวัดและญาติโยม เพราะท่านเป็นผู้ริเริ่มสร้างเป็นวัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๒ ท่านจึงให้อาตมาพร้อมด้วย พระวันดี อโสโก พระดอน ขันติโก สามเณรและเด็กวัดให้ลงไปอยู่วัด ซึ่งปีนั้นอาตมามีพรรษาได้ ๓ พรรษา เมื่อไปอยู่วัดแล้วร่วมจำพรรษาด้วยกันทั้งหมด ในกลางพรรษานั้น ท่านหลวงปู่เกิ่ง อธิมุตฺตโก ได้ขอให้สอนนักธรรมตรีที่วัดโพธิ์ชัย เมื่อมาอยู่ที่วัดศรีวิชัยแล้ว ก็ไม่ได้ไปจำพรรษาที่อื่นเลย ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้

    ๏ หาอุบายแก้ความกลัวผี ๏

    ในการบำเพ็ญจิตภาวนานั้นก็ไม่ลดละ คงบำเพ็ญมาตลอดตามแนวทางที่ครูบาอาจารย์ได้แนะนำสั่งสอนมาได้รับความสงบบ้างในบางวัน วันหนึ่งเวลาประมาณ ๕ ทุ่ม หลังจากเดินจงกรมแล้วจะไปเยี่ยมที่เผาศพซึ่งกำลังเผาศพอยู่ เพื่อจะให้จิตสงบหายกลัวผี ซึ่งมีอยู่มากตามปกติ เมื่อเดินไปใกล้จะถึงที่เผาศพอยู่ประมาณ ๑๐ เมตร มีความกลัวมาก กลัวจนสุดขีด ขาแข็งก้าวเท้าเดินไม่ออก ได้ยืนกับที่ยืนนิ่งอยู่นาน จึงคิดว่ากลัวทำไม เราได้ขอฝากตัวถวายชีวิตต่อพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ในสามแดนโลกธาตุนี้ ไม่มีใครจะเหนือพระองค์ไปได้ แม้แต่พระอินทร์ พระพรหม เทวดา ผีสางนางไม้ มนุษย์ยอมกราบไหว้ทั้งหมด เอ้าตายเป็นตาย จากนั้นก็ยืนนิ่งไปเลยนานเท่าไรไม่ได้กำหนด เมื่อถอนจากความสงบแล้ว จิตเบิกบานหายจากกลัวผีเป็นปลิดทิ้งเลย แล้วจึงเดินต่อไปหาศพ พิจารณาถึงการตายของเราแล้วว่าจะต้องเป็นเช่นนี้ ในวันหนึ่งแน่นอน ได้ธรรมะมากพอสมควรแล้วจึงเดินกลับกุฏิ

    ๏ พัฒนาวัดศรีวิชัย ๏

    ในกาลต่อมาเมื่อมีพระเณรมาจำพรรษาอยู่ด้วยมากขึ้น จึงซ่อมหลังคาศาลาโรงธรรมขึ้น เพราะปลวกกัดหลังคาเสียหาย ก็พาโยมจัดซ่อมขึ้น พร้อมทั้งกุฏิก็ชำรุดและกุฏิไม่พอ จึงให้โยมชาวบ้านช่วยกันจัดซ่อมและสร้างใหม่ขึ้น ต่อมา พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้สร้างศาลาถาวรขึ้นใหม่ ก่อด้วยอิฐต่อด้วยเสาไม้ทรงไทย กว้าง ๑๑.๑๕ เมตร ยาว ๑๘.๕๐ เมตร มุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ ซื้อแบบพิมพ์มาทดลองเอง ซื้อทั้งหมด ๔๗,๖๕๐ บาท ทำอยู่ ๒ ปีเศษจึงสำเร็จ และได้ฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙

    ๏ สู่ถ้ำชัยมงคลพิสูจน์ข่าวลือเรื่องผี ๏

    ต่อมาในปี ๒๔๙๙ นั้นได้มีเสียงเล่าลือว่า ที่ถ้ำชัยมงคลมีผีเฝ้าถ้ำอยู่โดยเข้าใจว่าคงเป็นพระอาจารย์วัง และพระวันดีผู้เป็นลูกศิษย์ ซึ่งได้มรณภาพที่นั่น นี่เป็นคำบอกเล่าของพระอาจารย์กุล อภิชาโต บ้านโพธิ์หมากแข้ง ซึ่งเป็นพระวัดบ้าน และเป็นผู้ที่เคารพรักใคร่ของพระอาจารย์วังอยู่มาก จึงบอกให้เราทราบ ได้ปรึกษากันว่าคำเล่าลืออย่างนี้ไม่ดีแน่ จึงตกลงกันไปกับท่าน เมื่อไปถึงบ้านโพธิ์หมากแข้งแล้วพักหนึ่งคืน วันต่อมาได้ชักชวนญาติโยมประมาณ ๑๕ คนขึ้นไปสู้ถ้ำชัยมงคล ได้ค้างคืนอยู่นั่น ๓ คืน แต่ละวันแต่ละคืนได้พากันทำวัตรสวดมนต์ แล้วทำบุญอุทิศไปให้ ครูบาอาจารย์ เทวดาอารักษ์ สรรพสัตว์ด้วย แล้วนั่งภาวนาพอสมควร แล้วหยุดพัก อธิษฐานว่า ถ้ามีอะไรเป็นจริงตามคำเล่าลือก็ขอให้มีมาปรากฏทางใดทางหนึ่งให้ทราบ แต่แล้วทั้ง ๓ คืน ก็ไม่มีอะไรมาปรากฏให้รู้ จึงมีความเห็นว่า เป็นเพราะถ้ำไม่มีพระอยู่เป็นประจำ ผู้ไปอาศัยก็ว้าเหว่เปล่าเปลี่ยว จึงสร้างความคิดขึ้นหลอกตัวเองไปต่าง ๆ นานา

    หลวงปู่คำพันธ์ ท่านเป็นพระผูมีความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ของท่านจึงได้ปรารภสร้างพระอุโบสถ ๒ ชั้น เพื่อบรรจุพระอัฐิขององค์หลวงปู่วัง ฐิติสาโร ไว้เป็นอนุสรณ์ เพื่อเป็นการตอบบุญสนองคุณ ดังคำกล่าวที่หลวงปู่คำพันธ์ เคยพูดไว้ว่า “..เราได้รำลึกถึงอุปการคุณที่พระอาจารย์ ได้มีแก่พวกเรามามากมาย จึงขอสร้างอุโบสถนี้(ในภาพ) เป็นอนุสรณ์ให้ได้ และได้ยกมือขนตั้งสัจจาธิษฐานว่า จะขอสร้างให้เสร็จให้ได้ แม้จะนานกี่ปี หรือสูญสิ้นทุนทรัพย์ไปเท่าไหร่ก็ตาม ก็จะมุ่งมั่นสร้างไปให้เสร็จให้ได้..”

    หลวงปู่คำพันธ์ จันทูปโม “พระอริยสงฆ์ผู้มีจิตผ่องใสดั่งดวงจันทร์เพ็ญ” ท่านได้ละสังขารลงด้วยอาการสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕ เวลา ๐๗.๐๓ น. ณ กุฏิห้องปลอดเชื้อขององค์ท่านภายในวัดศรีวิชัย บ้านศรีเวินชัย ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม สิริรวมอายุได้ ๘๓ ปี ๓ เดือน ๑๗ วัน พรรษา ๖๓

    _/_ _/_ _/_

    -ครบรอบ-๖-ปี-วันละสังขาร.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ๏ วันพฤหัสบดี ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๑ ตรงกับวันมาฆบูชา ๏

    วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชา ในวันเพ็ญเดือน ๓ เนื่องในโอกาสคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกัน พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖ และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า ในวันนั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น

    ๏ ประวัติความเป็นมาวันมาฆบูชา ๏

    หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และได้ทรงประกาศพระศาสนาและส่งพระอรหันตสาวกออกไปจาริกเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนายังสถานที่ต่าง ๆ ล่วงแล้วได้ ๙ เดือน ในวันที่ใกล้พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓) พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้นต่างได้ระลึกว่า วันนี้เป็นวันสำคัญของศาสนาพราหมณ์ อันเป็นศาสนาของตนอยู่เดิม ก่อนที่จะหันมานับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และในลัทธิศาสนาเดิมนั้น เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนมาฆะ เหล่าผู้ศรัทธาพราหมณลัทธินิยมนับถือกันว่าวันนี้เป็นวันศิวาราตรี โดยจะทำการบูชาพระศิวะด้วยการลอยบาปหรือล้างบาปด้วยน้ำ แต่มาบัดนี้ตนได้เลิกลัทธิเดิมหันมานับถือพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงควรเดินทางไปเข้าเฝ้าบูชาฟังพระสัทธรรมจากพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เหล่านั้นซึ่งเคยปฏิบัติศิวาราตรีอยู่เดิม จึงพร้อมใจกันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย ขณะนั้นเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว ได้เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะหรือเดือน ๓ ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ เรียกว่าว่า วันจาตุรงคสันนิบาต

    คำว่า “จาตุรงคสันนิบาต” แยกศัพท์ได้ดังนี้ คือ

    “จาตุร” แปลว่า ๔
    “องค์” แปลว่า ส่วน
    “สันนิบาต” แปลว่า ประชุม

    ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาต จึงหมายความว่า “การประชุมด้วยองค์ ๔” กล่าวคือ มีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ

    ๑. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย

    ๒. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” คือ เป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น

    ๓. พระภิกษุสงฆ์ทุกองค์ที่ได้มาประชุมในครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นผู้ได้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุกๆองค์

    ๔. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงกำลังเสวยมาฆฤกษ์

    ในวันนั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติที่นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหา โดยสรุป คือ ให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้ผ่องใส

    สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา
    สจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ
    ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
    นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
    น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
    สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
    อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
    มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
    อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ

    แปล : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพาน เป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต,ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะการไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่งนอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิต ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส

    -วันพฤหัสบดี-ที่-๑-มีนาค.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    โอวาทธรรมคำสอน : หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    “เจริญด้านหนึ่งกลับเสื่อมอีกด้าน”

    (๒๘-๒-๒๕๖๑)

    “การดิ้นรน ที่ว่านี่แหละ
    บางทีมันก็ออกมาในรูป
    การพัฒนาด้านต่างๆ
    พร้อมกันไปในตัว

    แต่การพัฒนาที่ว่านี้
    ถึงแม้จะเป็นการพัฒนา
    ด้วยเหตุผลก็จริงแล

    แต่ถ้าพิจารณาให้ดีๆ
    จะเห็นว่า มันเจริญไปด้านนึงของมัน
    แต่อีกด้านหนึ่งมันกลับเสื่อมลงๆ

    ความทุกข์ เป็นคุณมหาศาล
    แก่การพัฒนา
    (คือ ทำให้เกิดความฉลาดเพื่อเอาตนรอด)
    แต่พร้อมกันนั้น
    มันก็ได้นำเอาความทุกข์เดือดร้อน

    มาปล่อยไว้ให้แก่โลกนี้ เป็นเอนกประการ
    เราเมื่อก่อนไม่เคยไปเมืองนอก เมืองนา
    กับเขา นอกจากเช้ามาแจวเรือข้ามแม่น้ำโขง

    ไปฉันที่นครเวียงจันทน์ ของลาว
    แล้วก็กลับมาจำวัดที่วัดเท่านั้น
    ครั้งนี้แก่ จวนจะเข้าโลงอยู่แล้ว
    บังเอิญได้ไปเที่ยวเมืองนอกกับเขา

    เมื่อไปแล้วก็ไม่เห็นจะสนุกตื่นเต้นอะไร
    นอกจากจะได้ไปเห็นข้อเท็จจริง
    ความเป็นอยู่ เป็นไป ของมนุษย์เรา

    ตลอดถึงสัตว์ทั่วๆไป
    ในแต่ละประเทศ
    ก็มีสภาพเช่นเดียวกับประเทศเรา
    และประเทศลาวที่ได้ไปเห็นมาแล้ว
    จะผิดแผกกันบ้างเล็กน้อย
    ก็ที่รสนิยมของแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ

    “ข้อใหญ่ก็ลงจุดเดียว คือ เกลียดทุกข์
    ดิ้นรนเพื่อให้ตน
    ได้พ้นไปจากทุกข์”

    ฉะนั้น ในเมื่อเราไม่ต้องการทุกข์
    สัตว์จำพวกอื่นก็เช่นเดียวกัน
    แต่เมื่อเกิดมาอยู่ในวงล้อม
    ของสิ่งสองประการนี้แล้ว

    จึงควรคำนึงถึงวิถีชีวิตของตนๆ 3 ประการ
    ดังจะกล่าวต่อไปนี้ซึ่งทุกๆคนจะต้อง
    ดำเนินให้ถูกต้องเป็นธรรม

    ถ้าหากเราไม่เข้าใจในวิถีชีวิต
    และดำเนินไม่ถูกต้องเป็นธรรมแล้ว
    ผลที่ได้รับ นอกจากจะไม่นำความสุขให้แก่ตนเอง
    และคนอื่นแล้ว ยังจะเพิ่มทวี
    ความทุกข์ความเดือดร้อนให้แก่ตน
    และคนอื่นอีกด้วย”

    ผู้โพสต์คัดตัดตอนบางส่วนจาก
    “โครงการหนังสือบูรพาจารย์เล่ม ๑๐ หน้า ๓๘๐-๓๘๑
    พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
    วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย
    ผู้บันทึก/บอกเล่า หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    ผู้เรียบเรียง / รศ.ดร ปฐม-รศ.ภัทรา นิคมานนท์

    จุดประสงค์ธรรมทาน
    เพื่อเตือนใจในการปฏิบัติ เข้าใจในบาป บุญ คุณ โทษ
    และระลึกถึงแนวคำสอนที่ถูกต้องของจริง
    ข้อปฏิบัติของครูบาอาจารย์
    แม้ท่านนิพพานนานแล้ว เพื่อเป็นบทเตือนใจแก่คนรุ่นหลัง
    ผู้โพสต์พิมพ์ใหม่จากบทความคำสอน
    แชร์ได้ ไม่ต้องขออนุญาต เพราะเป็นของครูบาอาจารย์
    หากตกหล่นประการใด ขออภัย สาธุชน ณ โอกาสนี้ครับ
    ขอขอบคุณผู้มีส่วนเผยแพร่
    เจ้าของรูปประกอบในธรรม และผู้กด Like กดแชร์ ทุกท่าน

    1519836126_748_โอวาทธรรมคำสอน-หลวงปู่.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    วันนี้วันที่ ๑ มีนาคมเป็นวันคล้ายวันมรณภาพครบรอบ ๓ ปีของท่านพระอาจารย์บัณฑิต (พระอ.หมอ) สุปัณฑิโต พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง แห่งวัดป่าตอสีเสียด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ท่านพระอาจารย์บัณฑิต สุปัณฑิโต ได้บวชกับองค์หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี หลังจากที่บวชแล้วมีโอกาสเข้าศึกษาธรรมกับหลวงปู่บุญ จันทร์ กมโล, หลวงปู่หล้า เขมปัตโต , หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ, หลวงปู่ลี กุสลธโร ,พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสฺสโก เป็นต้น จึงขอน้อมนำประวัติและข้อธรรมขององค์ท่านมาเผยแผ่เพื่อน้อมเป็นสังฆานุสติและมรณานุสติครับ

    • ประวัติพระอาจารย์บัณฑิต สุปัณฑิโต

    ท่านพระอาจารย์บัณฑิต สุปณฺฑิโต นามสกุล สงวนแก้ว ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๐ โยมบิดาของท่านชื่อ นายสุข สงวนแก้ว ภายหลังอุปสมบทจึงเรียกว่า “หลวงปู่สุข” โยมมารดาชื่อ รุวณี สงวนแก้ว ท่านพระอาจารย์มีพี่น้องร่วมบิดามารดา จำนวนทั้งหมด ๓ คน โดยมีพี่สาว ๑ คน และน้องสาว ๑ คน

    • การศึกษาและอุปสมบท
    ท่านเข้ารับการศึกษาเบื้องต้นจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่นที่ ๑๐๓ และจบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ.๒๕๓๔

    หลังจากจบการศึกษา ท่านได้เริ่มต้นชีวิตราชการ ณ โรงพยาบาลโนนสะอาด และย้ายไปเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลไชยวาน ซึ่งที่นี่เอง ท่านได้มีโอกาสฟังธรรม ปฏิบัติธรรม กับพระอาจารย์บุญจันทร์ กมโล วัดปาสันติกาวาส อ.ไชยวาน ทำให้ท่านมีศรัทธาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่วแน่

    ช่วงก่อนปี พ.ศ.๒๕๓๘ ซึ่งเป็นปีอุปสมบท ท่านกำลังจะเดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทางที่จุฬาฯ แต่ท่านพระอาจารย์บุญจันทร์ กมโล ได้กล่าวไว้กับท่านว่า.. ‘วิชาทางโลกเรียนเท่าใดก็ไม่รู้จบ แต่วิชาทางธรรมนั้นเรียนจบ’ จึงเป็นเหตุให้ท่านหักเหชีวิตเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๘ เป็นต้นมา

    ก่อนบวชท่านได้ย้ายมาอยู่ประจำ ณ โรงพยาบาลนายูง และลาออกจากราชการเพื่ออุปสมบท ณ วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี โดยมีพระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป) เป็นองค์อุปัชฌาย์ของท่าน โดยความเป็นผู้มีกตเวทิตาคุณต่อองค์อุปัชฌาย์ ท่านได้มีโอกาสถวายงานมาโดยตลอด ทั้งเป็นเลขาฯ สมุห์บัญชี และแพทย์ประจำของท่านได้เป็นหลักสำคัญในการสร้างเจดีย์ สร้างโรงพยาบาล และในหลวงก็พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ร่วมสร้างโรงพยาบาลผ่านท่านหมอ ๒๒ ล้านบาท

    ท่านพระอาจารย์บัณฑิต เป็นผู้ที่ใฝ่ใจในการศึกษาเล่าเรียนมาแต่เล็ก การเล่าเรียนทางโลกท่านเข้าเรียนมัธยมต้นที่โรงเรียนสวนกุหลาบ ท่านสอบเข้าคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯ จากนั้นท่านได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลของอ.ไชยวาน จ.อุดรธานี

    ชีวิตในวัยเยาว์ของท่านเนื่องจากบิดาของท่านมีศรัทธาในองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จึงทำให้ท่านมีโอกาสใกล้ชิดกับหลวงตาท่านมาแต่เด็ก ต่อมาวันหนึ่งบิดาของท่านตั้งใจจะให้ลูกได้บวชเณรอยู่กับองค์พระหลวงตามหาบัว แต่ปรากฏว่าองค์หลวงตาไม่รับพร้อมทั้งบอกว่าโน้นให้ไปโน้น ไปหาหลวงปู่เกล้า ปมุตโต วัดถ้ำเกีย จ.อุดรธานี เมื่อพ่อของท่านพาท่านไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่เกล้า หลวงปู่เกล้าก็ทักท่านว่า อดีตชาติเป็นหลานของหลวงปู่มาก่อน ส่วนแม่ของท่านเคยเป็นลูกสาวขององค์หลวงปู่และพ่อของท่านก็เคยเป็นลูกเขยมาแต่อดีตชาติ

    ในตอนที่ท่านเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่อ.ไชยวาน มีโอกาสเข้ากราบหลวงปู่บุญจันทร์ กมโล แห่งวัดป่าสันติกาวาส จ.อุดรธานี คราวนั้นหลวงปู่บุญจันทร์กล่าวกับท่านว่า “ดูซิพ่อแม่ครูอาจารย์มีแต่ละสังขารลงไปทุกวัน น้อยลงไปทุกที ทางโลกสร้างเท่าไหร่ไม่จบ ให้มาสร้างทางธรรม ตบท้ายที่ว่าให้อาจารย์หมอมาออกบวชมาสร้างทางธรรมซะ”

    ประโยคนี้ทำให้ท่านอาจารย์หมอบัณฑิตในขณะนั้นรู้สึกตื้นตันในหัวอกแต่ก็ยังไม่ตัดสินใจที่จะออกบวช ท่านเล่าให้ผมฟังว่าจิตใจมันเหมือนมีหอกมาปักคาอกไว้ วันที่คิดปลงได้ว่า “เราจะบวช” เหมือนกับว่าหอกเล่มนั้นหลุดจากอก

    ท่านพระอาจารย์บัณฑิต สุปัณฑิโต ได้บวชกับองค์หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี หลังจากที่บวชแล้วมีโอกาสเข้าศึกษาธรรมกับหลวงปู่บุญ จันทร์ กมโล, หลวงปู่หล้า เขมปัตโต , หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ, หลวงปู่ลี กุสลธโร ,พระอาจารย์อินทร์ถวาย เป็นต้น

    ในพรรษาที่สามหลังจากที่ท่านได้ปฏิบัติภาวนามาอย่างยิ่งแล้ว ในเช้าวันหนึ่งท่านได้เทศนาธรรมให้โยมมารดาของท่านฟัง โยมมารดาของท่านนึกว่าท่านธรรมแตก ถึงกับร้องห่มร้องไห้รีบโทรแจ้งพระอาจารย์อินทร์ถวาย เช้าวันนั้นพระอาจารย์อินทร์ถวายรีบมาโดยยังไม่ได้ฉันเช้าเพราะเป้นห่วงพระอาจารย์บัณฑิตเข้าไปสอบอารมณ์อยู่นาน พอพระอาจารย์อินทร์ถวายสอบอารมณืเสร็จก็บอกกับโยมแม่ของพระอาจารย์ว่า ลูกโยมนะผ่านแล้วมีแต่โยมแหละที่ยังบ้าอยู่ !

    ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพระอาจารย์บัณฑิต มีโอกาสปรนนิบัติรับใช้องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนอย่างใกล้ชิดรวมทั้งองค์หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป ท่านเป็นผู้ดูแลการสร้างพระธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์ และยังเป็นผู้ดูแลโครงการหอผู้ป่วยวิกฤติ ของโรงพยาบาลอุดรธานีอีกด้วย

    ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาท่านได้ประพฤติพรหมจรรย์ได้อย่างเยี่ยมยอดเป็นครูบาอาจารย์ที่ดี เป็นผู้ที่มีเมตตาและให้คติเตือนใจแก่ทุกคนเสมอ

    ผมขอไว้อาลัยแด่พระอาจารย์บัณฑิต สุปัณฑิโต พระสุปฏิปันโนที่กราบไหว้ได้สนิทใจพระแท้ที่หาได้ยากยิ่ง คำสอนของท่านจะคงอยู่ในใจของผมเสมอ…

    ขออนุโมทนาบุญข้อมูลประวัติ จากท่านพระอาจารย์นิคม ปัญญาธโร และ FB ของ Jaruvat Chanposri

    • มรณภาพ

    เกิดเหตุเศร้าสลดกับชาวพุทธ เมื่อท่านพระอาจารย์บัณฑิต สุปัณฑิโต หรืออดีตนายแพทย์บัณฑิต สงวนแก้ว เจ้าอาวาสวัดป่าตอสีเสียด ถูกคนร้ายลอบยิงจากด้านหลังขณะกลับจากบิณฑบาต ก่อนถึงทางเข้าวัด ๑ กิโลเมตร บิดาท่าน ซึ่งก็บวชเป็นพุทธบุตรเช่นกัน “หลวงปู่สุข” เมื่อทราบข่าว พระลูกชายถูกคนใจร้ายดักยิงมรณภาพคาถนน ท่านก็รีบไปดู…เห็นผ้าเหลืองชุ่มเลือดห่มร่างพระลูกชาย…ไร้ชีวิตพระ…ผู้เป็นพ่อ อุ้มช้อนร่างลูก… ใครจะเข้าใจความรู้สึกของคนเป็นพ่อเท่า “พ่อ” และพ่อคนไหนจะเป็นได้เท่า “หลวงปู่สุข” เห็นจะยากนักแล้ว สมแล้วที่ท่านเป็นนักรบธรรม ในทัพพุทธศาสน์! ก็ในขณะ “ศพ” พระลูกชายแนบอก ด้วยใจอันชุ่มแล้วด้วยยางแห่งธรรมจากโอษฐ์พระพุทธองค์ ด้วยสติระลึกรู้-ตั้งมั่น และด้วยการเคี่ยวกรำในธรรมปฏิบัติสู่วิมุตติ พ่อพระผู้เป็นพ่อ กล่าวกับทุกคน และทุกตำรวจที่รายล้อมว่า.. “ในทางพระ ขออโหสิกรรมให้คนร้ายที่ยิงลูกชาย พระขออโหสิกรรม ไม่ขอจองเวร ขอให้จบกันในชาตินี้ ถือว่าชดใช้เวรกรรมแล้ว” ท่านพระอาจารย์บัณฑิต สุปัณฑิโต มรณภาพภายใต้ผ้ากาสาวพัสตร์ สิริอายุ ๔๘ ปี ๒๐ พรรษา โดยมีหลวงปู่สุข ซึ่งเป็นพระภิกษุผู้เป็นบิดานั่งกำมือของพระลูกชายอยู่ตลอดเวลา ท่ามกลางชาวบ้านจำนวนมากที่ทราบเรื่องเดินทางมามุงดู และต่างร้องไห้ด้วยความเสียใจ(คัดลอกจากข่าว…โดย เปลว สีเงิน)

    ผลการชันสูตรเบื้องต้น พบว่า ถูกยิงด้วยปืนไม่ทราบขนาดเข้าที่แผ่นหลังขวา ๑ นัด กระสุนฝังใน และแผ่นหลังซ้าย ๑ นัด กระสุนทะลุหน้าท้อง

    (รายละเอียดรูปคดีกรุณาหาอ่านตามข่าวเอานะครับ)

    • จากคำบอกเล่าของลูกศิษย์ใกล้ชิด
    ท่านพระอาจารย์บัณฑิต สุปัณฑิโต ท่านรู้องค์ล่วงหน้าก่อนมรณภาพ โดยพิจารณาจากเหตุการณ์หลายๆ อย่าง ดังนี้
    ๑. คืนก่อนท่านสิ้น ท่านเทศน์เรื่องกรรมยาวมาก
    ประมาณว่าผู้ใดทำกรรมใดไว้ ผู้นั้นจักต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
    ๒. เช้าวันเกิดเหตุ ท่านจับ “เจ้าเสือ” สุนัขที่วัดใส่กรง ไม่ให้ตามท่านไปออกรับบิณฑบาต
    ๓. ก่อนถึงจุดเกิดเหตุ ท่านบอกให้ลูกศิษย์
    ที่ปกติเดินตามหลังท่าน ให้เดินล่วงหน้าไปก่อน
    ๔. ปกติท่านจะให้ยาโยมแม่ อาทิตย์ต่ออาทิตย์
    แต่ครั้งสุดท้ายท่านให้ยาโยมแม่ไว้สำหรับกินทั้งปี

    • ธรรมะท่านพระอาจารย์ บัณฑิต สุปณฺฑิโต

    • “อย่าประมาท”

    ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไป เทคโนโลยี่จะเปลี่ยนไปแค่ไหนก็ตาม แต่ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันไม่เปลี่ยน ไม่เคยมีสิ่งใดหยุดยั้งมันได้ เพราะสิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งความทุกข์ ความพลัดพราก พวกเราได้ยินอย่างนี้เข้าใจมากแค่ไหน คนที่ไม่รู้ ไม่สนใจแค่ฟังผ่านๆไป อาภัพนะ เพราะอยู่ท่ามกลางธรรมะแต่ไม่เห็นคุณค่าของมัน ปล่อยจิตปล่อยใจให้วุ่นวายกับเรื่องของโลกภายนอก วิ่งหาที่พึ่งวัตถุภายนอก คิดว่ามันเป็นความสุข ซึ่งโง่ที่สุด ในทางธรรมถือว่าไม่ฉลาด การใช้ชีวิตที่ไม่ฉลาด ไม่มีธรรมะมาเทียบเคียง ซึ่งผู้ฉลาดทั้งหลายเขาเอาธรรมะมาเทียบเคียงว่าโลกกับธรรมต่างกันแค่ไหน อะไรเด่นกว่า หรืออะไรด้อยกว่า เอามาเทียบเคียงกัน จะเห็นได้ว่าพระธรรมมีคุณค่ามากกว่าสิ่งอื่นใดในโลก เห็นได้จากโลกบอกว่ามีความทุกข์ ธรรมะบอกว่าไม่มีความทุกข์ เพราะทำให้เราพ้นทุกข์ได้ พวกเราคิดดูโลกบอกไม่มีที่พึ่ง ไปไหนก็วุ่นวาย ธรรมะบอกมีที่พึ่งเป็นหลักได้จริงๆ โลกบอกว่ามาเกิด มาแก่ เจ็บตาย แต่ธรรมะบอกไม่ต้องมาเกิดอีกแล้ว ไม่มีเจ็บและไม่มีตาย นี่คือวิชาธรรมะก็เทียบดูว่ามีค่าขนาดไหน แล้วทำไมถึงจะปล่อยปละละเลย

    มาเอาธรรมเข้าไปอีก ธรรมะสูงส่งมากนะทำงานทางโลกก็ต้องเอาธรรมะเข้าไปกำกับ ทำอย่างไรจึงจะมีศีล มีธรรมะและพัฒนาให้ได้มากขึ้น พระพุทธเจ้าท่านล้วนสร้างบารมีกับโลกนะ ไม่เคยสร้างนอกโลก เพียรสร้างทุกวัน วันแล้ววันเล่า ๔ อสงไขยแสนมหากัป จนบรรลุธรรม ชี้ทางสั่งสอนแก่พวกเรา ยากแค่ไหนกว่าจะประกาศธรรมะขึ้นมาได้ พวกเราได้ยินได้ฟังแค่นี้คิดว่ามันง่ายนักหรือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พวกเราฟังสบายๆ หรือเปล่า กว่าจะได้มาไม่ใช่ของง่ายนะ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านพากเพียรพยายาม ลำบากลำบนแค่ไหน วงกรรมฐานของเราท่านลำบากแค่ไหน เพียรแค่ไหน กว่าจะพิสูจน์ให้แจ้งเพื่อความสุขของพวกเรา ส่วนท่านสบายแล้วละ ลำบากปกปักรักษาไว้เพื่อความสงบร่มเย็น ก็หวังว่าพวกเราจะเข้ามารับสิ่งเหล่านั้น ดังนั้นพวกเราก็เร่งรีบเข้า อย่าอยู่บนโลกจนลืมตัวลืมตน อย่าประมาท..”

    • “ให้ความต้องการพ้นทุกข์ปักลงในจิตใจ”

    “..พวกเราก็ต้องฝังลึกเข้าไปในใจ ให้ลึกที่สุด ว่าจะอย่างไรก็จะไป จะออก จะพ้นทุกข์ให้ได้ เมื่อมีโอกาสเมื่อไร ก็จะออกจะไป ยังไงก็ต้องออกให้ได้ มันต้องปักลงไปในจิตในใจ การอธิษฐาน เปรียบเหมือนการตั้งเข็มทิศ ควรทำทุกครั้งเพื่อตอกย้ำการตัดสินใจ ให้อธิษฐานให้ถึงความสิ้นทุกข์จากวัฏสงสาร

    ทางธรรมนั้น ท่านว่าทำคุณงามความดีนั้นมันจะถึงกันหมด แต่พวกเราติดสมมุติกัน จึงคิดว่าอยากทำตรงโน้น อยากทำตรงนี้ คนละที่ คนละตอนกัน พวกเรายังติดซ้ายติดขวา ไม่อยู่ตรงกลาง อยู่ตรงนี้ก็คิดถึงตรงนั้น พอออกจากตรงนี้ไปแล้ว ก็ยังคิดถึงตรงนี้อยู่ “ให้อยู่กับปัจจุบัน” ให้ได้ พวกเรายังโลเล อย่างนั้นก็จะเอา อย่างนี้ก็จะเอา ไม่ทำจริงๆจังๆ แต่เมื่อปักใจแล้ว ก็ต้องทำไปด้วยความหนักแน่น เอาจริง ไม่ต้องห่วงซ้ายพะวงขวา เมื่อเราพิจารณาแล้วว่าอันนี้ดี ก็ทำลงไป ให้เราเห็นธรรมชาติของธรรมเปรียบเสมือนท่อนไม้อยู่ในแม่น้ำ ถ้าไม่ติดฝั่งซ้าย ฝั่งขวา (รัก ชัง) ถ้าไม่จม (ตาย) หรือ ไม่มีใครหยิบออกไปเสียก่อน (มีอุบัติเหตุให้ออกจากทาง) แม่น้ำย่อมไหลไปสู่มหาสมุทรฉันใด การปฏิบัติของเราก็เป็นฉันนั้น

    ให้เราดูตัวอย่างครูบาอาจารย์ ท่านยอมตายกันทั้งนั้น อย่างหลวงปู่ชอบที่ท่านเจอเสือทั้งข้างหน้าข้างหลัง แล้วท่านก็จิตรวม ท่านรู้ว่าธรรมนั้นเป็นที่พึ่ง ท่านจะรู้เลยว่าไม่มีอะไรจะสามารถทำอะไรท่านได้แน่ พวกเรารู้กันบ้างไหมว่าเรามานั่งฟังเทศน์กันอย่างนี้กี่ภพกี่ ชาติแล้ว ชาตินี้ให้ปฏิบัติให้จิตรวมให้ได้ อย่าเอาคำสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์มาทำเสียที่เรา ต้องทำให้มาก ให้อยู่เหนือโลก ออกจากโลก (วัฏสงสาร)ให้ได้..”

    • “วิธีการทำใจให้สงบ”

    ครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ท่านสวดมนต์ พวกเราฟังประวัติของท่าน อย่างหลวงปู่มั่นท่านสวดเป็นชั่วโมง สูตรต่างๆท่านจะยกขึ้นมาหมุนเวียนกันไป บางทีสูตรยาวๆ ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตรอย่างนี้ มหาสมัย รตนสูตรอย่างนี้ สูตรยาวๆ กาลามสูตร ท่านก็สวด เป็นชั่วโมง เราคงเคยได้ยินหลวงตาท่านเล่า ว่าท่านไปแอบฟังหลวงปู่มั่นท่านสวดมนต์ ท่านสวดของท่านเสียงของท่านก็ดังออกมา เป็นชั่วโมง ท่านถึงหยุดนั่นนะดูสิ ครูบาอาจารย์ที่มีคุณธรรมอันเลิศ ท่านก็ทำส่วนตัวของท่าน สูตรไหนบทไหนที่ท่านสบาย ท่านชอบท่านจะท่องบ่นและก็สาธยายให้ลึก จิตมันก็อยู่กับบทนั้นนะ บทธรรมอันนั้นนะ เสร็จแล้วท่านก็มาทำจิตทำใจ ท่านก็มานั่งภาวนา มันเสมือนเด็กน้อยได้รับการกล่อม กล่อม เสียงเห่กล่อมของบิดาของมารดา ไกวหูกไกวเปล แม่จะกล่อมเห่ไปตะล่อม เด็กก็หลับสบายเพราะเสียงกล่อม เสียงกล่อมนี้ก็เหมือนกันจิตใจที่ได้รับความกล่อมเกลาจากบทสวดมนต์ทั้งหลาย กล่อมจิตกล่อมใจ จิตใจมันก็สงบระงับมันไม่ฟุ้งซ่าน จากนั้นเราก็นั่งภาวนา กำหนดบริกรรมภาวนา จะเป็นบทไหนที่เราชอบก็ตาม ก็ตั้งสติให้อยู่กับคำบริกรรม อย่าให้พลั้งเผลอออกไป

    อันไหนที่เราทำแล้วมันถูกกับเรามันสบาย ก็ตั้งใจทำจริงๆ ระลึกๆอยู่กับคำบริกรรมอันนั้น ไม่ให้จิตมันส่งออกไปต่างๆ มันส่งออกไปก็ดึงมันมา ส่งออกไปก็รู้จัก รู้จักเรื่อง มันไปแล้วนะ อย่าไปเพลินกับมัน อย่าไปตามกับมัน ถ้ามันส่งออกไปข้างนอก นอกธรรมะ นอกคำบริกรรมที่เราตั้งเอาไว้นะ มีสติจดจ่อตลอด คำว่าสติก็คือความเอาใจใส่ ความจดจ่อตั้งใจ เอาใจไปตั้งเอาไว้ ใจคือความรู้ ผู้รู้ รู้สึกนี่แหละ เรารู้อยู่ รู้ ได้ยินในความรับรู้ร้อนหนาว เอาความรู้ไปตั้งไว้ ตั้งไว้กับคำบริกรรม ตั้งไว้กับบทธรรมอันนั้น อาศัยสติประคองเอาไว้ ประคองความรู้นั้นไว้ด้วยความเอาใจใส่ ตอนที่เราประคองความรู้อันนั้น อาการอันนั้นแหละท่านให้ชื่อว่าสติ ถ้าเราไม่ประคองความรู้อันนั้นไว้ ความรู้ไป แล้วแต่มันจะรู้ไง อาการของความรู้มันแล้วแต่มัน นั่นแหละลักษณะของความรู้ ไปรู้ตรงไหนแล้วแต่มัน เรื่องของมันฟุ้งออกไปเรื่อย ถ้าเราไม่มีสติดึงไว้ ท่านว่าเผลอสติ ท่านว่าเผลอสติ ไม่มีสติ พุ่งออกไปตามที่ต่างๆสารพัด ไม่รู้เรื่องรู้ราว พลั้งเผลอ เคยคิดเคยปรุงเคยอะไรต่างๆ มันก็ปรุงไปเรื่อยๆ ไม่รู้ถูกรู้ผิดไม่รู้เรื่องรู้ราว ทั้งที่เหตุปัจจุบันที่เราทำอยู่คือต้องการความสงบ ต้องการให้อยู่กับบริกรรม มันก็พุ่งออกไป

    อะไรที่มันผลักดันอยู่ในใจ นั่นแหละท่านให้ชื่อว่ากิเลส ตัวผลักดันนี่แหละ ตัวมันปรุงแต่ง ตัวมันพาเราคิดไปในที่ต่างๆ ทั้งหมดทั้งมวลที่เดือดร้อนอยู่นี้ ก็คือสิ่งนี้ที่มันผลักดันอยู่ในใจเรา รวมย่อลงสั้นๆ ท่านว่า โลภ โกรธ หลง มันจะคิดไปร้อยแปดพันเก้าก็ตามที ก็คือบริวารของความโลภ ความโกรธ ความหลง มันฝังอยู่ในใจเรามาเนิ่นนานจนคล่องชำนาญ เพราะเราเคยทำอย่างนี้มาหลายภพหลายชาติติดต่อกันเรื่อย ฉะนั้นการที่อยู่ดีๆ เราจะมาฝึกให้มันหยุดให้มันนิ่ง ก็เลยเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทำง่าย เป็นสิ่งที่ต้องฝืน ต้องสู้ ต้องอดทนจริงๆ ต้องตั้งใจจริงๆ เท่านั้น ต้องทำจริงๆ เห็นความสำคัญจริงๆ ของการประพฤติปฏิบัติของธรรมะที่เราจะระลึก เห็นคุณค่าจริงๆ เอาใจใส่ จะยากก็ทำ จะเหนื่อยก็ตามเถอะ ลำบากก็จะฝืนสู้ ไม่ปล่อยใจให้มันร่อนเร่ไปเหมือนเดิม เพราะรู้แล้วว่า ความคิดอ่านที่เราเคยคิดมานะมันไม่ได้เกิดประโยชน์หรอก มันไม่ใช่ที่พึ่งเราหรอก หรือคิดไปร้อยแปดพันเก้ามันฉลาดเฉลียวแค่ไหนว่ามันจะรู้เรื่องรู้ราวต่างๆ แค่ไหน มันก็เรื่องสังขาร เป็นเรื่องที่เราเอาจริงเอาจังไม่ได้ เป็นเรื่องที่ไม่น่าไว้ใจ เป็นเรื่องที่พกโทษก่อเกิดให้เราทั้งสิ้น

    ฉะนั้นต่อจากนี้ไป เราจะไม่ไปตามใจมันเหมือนเก่า และจะไม่ปล่อยจิตให้มันร่อนเร่ไปเหมือนว่าวขาด เชือกขาด พวกเราจงเห็น ถ้าสายว่าว ถ้าเชือกขาดมันเคว้งไปหมด แล้วแต่ลมจะพัดไปไหน นั่นแหละคือคนที่ขาดสติ ก็คนที่มีสตินั้นเหมือนสายว่าวประคองไว้ตลอด มันอยู่ในมือนะ ถึงมันจะพลิกไปพลิกมาตรงไหน ก็อยู่กับมือเรา นี่ว่าวตัวนั้นก็ไม่ไปไหน โต้ลมอยู่นั่นแหละ จิตเหมือนกัน ถ้ามีสติประคองอยู่กับธรรมะ อาศัยสติประคองไว้นี่ มันก็ต้องอยู่กับธรรมะ พอลมตีขึ้นเบื้องบนพอได้ระดับมันก็โต้ลมอยู่นั่น ไม่ตกนั่นแหละว่าวมันไม่ตก ติดลมบน ภาษาเขาว่าติดลมบน ไม่ตกแล้ว จิตเหมือนกัน ประคองอยู่กับบทธรรมเรื่อยๆ เรื่อยๆเข้า จิตก็สงบระงับตัวไปเรื่อยไปเรื่อย จากเดิมที่ฟุ้งซ่านจากเดิมที่วุ่นวาย อารมณ์ก็น้อยลงเรื่อยๆ ความเยือกเย็นก็เข้ามา อาการของความสุขความเบา อาการของความสบายทั้งหลายจะเกิดขึ้น ตอนนั้นให้รู้จัก อาการต่างๆมันจะเกิดขึ้นมายังไงก็รู้จักไว้ อย่าไปตื่นเต้นกับมัน อย่าไปหลงกับมัน มันจะเหาะเหินเดินฟ้า มันจะดำดินบินวน มันจะใหญ่เล็ก มันจะอะไรต่างๆให้รู้จัก ให้รู้จักเรื่องมันทั้งหมด เกิดขึ้นก็ให้รู้จัก รู้จักแล้วก็อย่าไปให้ความสำคัญอะไรหน้าที่เราคือเราจะเอาอยู่กับคำบริกรรม อยู่กับบทธรรมเราไป อย่าไปส่งอยู่กับอาการเหล่านั้น..”
    โอวาทธรรมท่านพระอาจารย์บัณฑิต สุปณฺฑิโต

    ขออนุโมทนาบุญกับข้อธรรมคำสอนที่บันทึกและโพสต์เผยแผ่จากเฟสบุ๊คเพจ : รอยธรรม สุปณฺฑิโต

    _/_ _/_ _/_

    -๑-มีนาคมเป็.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    กัณฑ์ที่ ๑๕ ธรรมโอวาทครั้งสุดท้าย(ปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้าย)

    “หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ”
    (๑-๓-๒๕๖๑)

    ..มาอยู่..นี้ไม่ได้มาหาลาภยศอะไร
    มาหาทางหนีจากความทุกข์…
    กรรม คือการกระทำ ทั้งบาป ทั้งบุญ
    ให้พิจารณา รู้ไหมบุญเป็นอย่างไร
    บาปเป็นอย่างไร

    คนที่ปฏิบัติหาทางออกจากกองทุกข์นั้น
    มันหายากแล้ว ให้ลูกหลานจำให้ดี จำได้ไหม
    ให้มีสติ มีอารมณ์อยู่กับพุทโธ
    พุทโธเอาให้ได้ ทำให้มันเป็นของดี จำได้ไหม

    นี่ไม่ได้พูดเล่นนะ ให้จับลมกับกายนี้
    กายนี้ให้เห็นเป็นกายพระธรรมให้ได้

    มีหูฟังแล้วก็ให้มันเป็นพระธรรม
    ตาให้เห็นเป็นตาพระธรรม
    กายให้เห็นเป็นกายพระธรรม
    ใจก็ให้เป็นใจพระธรรม

    ทำให้มันได้ ให้มีพุทโธ อยู่กับกายนี้ใจนี้
    จำไว้ที่ใจ จำได้ไหม จำดีๆ อย่าไปลืมนะ

    ไม่ต้องไปรู้ที่อื่น มันอยู่ในกายนี้
    กายนี้แหละมันเป็นทุกข์ อยู่ทุกวันนี้
    สังขารจะแตก จะตายก็ ก็ให้รู้จำได้ไหม
    สมุปโยโค ก็ให้รู้ จะต้องจากกัน ไม่ต้องตกใจ
    ให้พิจารณาเดี๋ยวนี้ จำได้ไหม

    จำให้ดีๆให้รู้อยู่กับกายกับใจ
    อย่าไปลืม ให้รู้จริงๆ อย่าทำเล่นไม่ได้นะ
    กามก็ดี ตัวกามนี้ จับมันให้อยู่ จับมันมัดไว้
    ให้ตาย จำได้ไหม ไม่ว่าสัตว์ว่าคน
    หากาม แสวงหากาม
    มันเดือดร้อน วุ่นวายเพราะกามนี้แหละ

    ชาย หญิง สัตว์ผู้ เมีย ต่างก็ยินดีกันและกัน
    มัวเมากันอยู่ อย่างนี้ให้มันเป็นธรรมโม
    อย่าให้เป็นธรรมเมา ให้ออกจากกาม

    หาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ให้จำไว้ จำไว้ให้มันดี ปฏิบัติให้มันรู้
    กามมันตายแล้วมันก็สบาย
    ให้เป็นธรรมโม อย่าให้เป็นธรรมเมา

    “จำให้ดีๆนะ ปฎิบัติให้มันรู้ จำได้ไหม
    อย่าไปลืมนะ
    ไม่ต้องพูดมาก พูดมากไปไม่ไช่ธรรมะ มันเป็นธรรมเมา”

    ผู้โพสต์คัดตัดตอนบางส่วนจาก
    “จากหนังสือโครงการหนังสือบูรพาจารย์
    เล่ม ๓ หน้า ๓๘๑-๓๘๒
    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่
    เรียบเรียงโดย : รศ.ดร ปฐม-รศ.ภัทรา นิคมานนท์
    ผู้บันทึก/พระบุญเหลือ ฐิตวีโร

    จุดประสงค์ธรรมทาน
    เพื่อเตือนใจในการปฏิบัติ เข้าใจในบาป บุญ คุณ โทษ
    และระลึกถึงแนวคำสอนที่ถูกต้องของจริง
    ข้อปฏิบัติของครูบาอาจารย์

    แม้ท่านนิพพานนานแล้ว เพื่อเป็นบทเตือนใจแก่คนรุ่นหลัง
    ผู้โพสต์พิมพ์ใหม่จากบทความคำสอน
    แชร์ได้ ไม่ต้องขออนุญาต เพราะเป็นของครูบาอาจารย์
    หากตกหล่นประการใด ขออภัย สาธุชน ณ โอกาสนี้ครับ
    ขอขอบคุณผู้มีส่วนเผยแพร่
    เจ้าของรูปประกอบในธรรม และผู้กด Like กดแชร์ ทุกท่าน

    -๑๕-ธรรมโอวาทคร.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ~ ปัญญา เกิดแต่การสังเกตุหาเหตุหาผล
    ~ รู้แต่ผลไม่รู้เหตุก็ใช้ไม่ได้
    ~ รู้แต่เหตุไม่รู้ผลก็ใช้ไม่ได้
    ~ ต้องรู้พร้อมทั้งเหตุทั้งผล

    โอวาทธรรม
    ( ท่านพ่อลี ธัมมธโร )

    …..สาธุธรรมอันประเสริฐ…..

    -เกิดแต่การสังเกต.jpg

    ที่มา ธรรมะพระป่ากรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น
     
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    โอวาทธรรม : หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร

    “ตัดความปรารถนาพุทธภูมิ”

    ( ๒/๓/๒๕๖๑)

    ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ หลวงปู่หลุยมีอายุ ๖๓ ปี
    อายุพรรษา ๔๐ ท่านคิดว่า
    “ทางด้านสมถะของท่านก็ได้เป็นไปพอตัวแล้ว
    จิตมีแต่จะเสวยสุขต่อไป
    ถ้าหากไม่ฝึกปรือ ให้มันอ่อนลง
    ควรแก่การแก่งาน ให้พิจารณาให้ถ่องแท้
    ใช้ไตรลักษณ์ไปกำกับหรือฟอกเช็ดจิต
    อย่างที่ท่านเคยกล่าวอยู่เสมอ
    ก็อาจจะเปล่าประโยชน์..”

    หลวงปู่ได้รำพึงกับองค์ท่านเองว่า
    การบำเพ็ญทางจิตของท่าน
    เป็นเพียงอยู่ระดับนี้แล้ว
    ถ้าหากมรณะภาพไป ก็

    “คงจะกลายเป็น พรหมลูกฟัก
    หรือไปเกิดเป็นพรหมต่อไปอย่างน่าเสียดาย
    ที่ชาตินี้เกิดมาเป็น มนุษย์พบพระพุทธศาสนาแล้ว

    ความปราถนาลี้ลับที่คิดว่าควรจะรู้ด้วยตัวเอง
    ไม่ต้องการจะรู้ธรรมจากผู้ที่มาสอนให้
    ไม่ต้องการเป็นสาวกใคร นั้นก็อ่อนละลายลง..”

    หลวงปู่บอกว่า

    “เพราะยิ่งได้เห็นได้ฟังจากท่าน พระอาจารย์มั่น
    นั้น ท่านยังต้องเกิดเป็นสุนัขเป็นอสงไขยชาติ
    ด้วยระหว่างที่เกิดชาติหนึ่งๆนั้น

    เกิดไปพบนางสุนัขตัวใหม่ เกิดผูกพันรักใคร่ขึ้น
    ก็ตั้งจิตปรารถนาที่จะพบกันในชาตินั้นต่อๆกันไป
    จึงเวียนกลับมาเกิดเป็นสุนัขไม่มีที่สิ้นสุด”

    (ท่านผู้อ่านคงยังจำเรื่องของหลวงปู่มั่นได้
    ตอนที่ท่านบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสาริกา จังหวัดนครนายก
    ท่านต้องสลดใจเป็นอย่างมาก

    ที่ในอดีตท่านเกิดเป็นสุนัขนับชาติไม่ถ้วน
    ทำให้ท่านไม่ปรารถนาที่จะเกิดอีก
    และได้ปล่อยวางความปรารถนาพุทธภูมิ

    ในช่่วงนั้น_โปรดอ่านในหนังสือ
    โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม๑ :
    หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ประวัติ ข้อวัตรและปฎิปทา)

    เมื่อหลวงปู่พิจารณาเห็นชัดดังกล่าวแล้ว
    ท่านจึงตัดสินใจ ว่า

    “ควรจะตัดภพตัดชาติ หาทางตัดภพตัดชาติ มุ่งไปสู่
    ที่สุดจิตเสียโดยเร็ว”

    หลวงปู่เล่าว่า การตัดความปรารถนานั้น ต้องตัดในเวลา
    ที่จิตเข้าสู่ อัปปนาสมาธิที่ลึกที่สุด แล้วถอนขึ้นมา

    (อยู่ในระดับอุปจารสมาธิ) แล้ว

    กำหนดจิตตัดว่า “ที่เราได้เคยปรารถนาพระอนุตรสัมมา
    สัมโพธิญาณนั้น เราขอลาแล้ว เราขอตัดขาดแล้ว
    เราไม่ต้องการ เราต้องการมุ่งลัดตัดตรง
    ไปสู่ที่สุดของจิตโดยเร็ว”

    ตั้งความปรารถนาย้ำแน่นตลอดกาล

    ประกอบกับในระยะนั้น “คู่บารมี” ของหลวงปู่ที่มาเป็นประดุจ
    อนุสัย ก่อกวนกิเลสอยู่ตลอดให้รำลึกถึง
    ก็ได้สิ้นชีวิตมาหลายปี
    ความรู้สึกที่คล้ายๆกับว่าหนามปักจิตอยู่
    ยอกจิตอยู่
    มันเหมือนมาสะกดจิตอยู่

    ก็ถูกบ่งหายไป ระลึกได้แค่ความเมตตา ความสงสาร
    ว่าเธอนั้นยังไม่พบทางอันเกษม
    ไม่มุ่งไปหาทางอันดี
    มีแต่ความอาลัย อาวรณ์ถ่ายเดียว

    หลวงปู่บอกว่า แม้ในภายหลัง
    เมื่อท่านไปจำพรรษาที่ถ้ำเจ้าผู้ข้า
    อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ (วิญญาณ)เธอผู้นั้น
    ก็ยังแวะเวียนมากราบนมัสการด้วย
    ความเคารพอยู่ ซึ่งท่านได้เมตตา
    สั่งสอนให้รีบลัดตัดเข้าสู่ทางเกษมโดยเร็ว

    ผู้โพสต์คัดตัดตอนบางส่วนจาก
    “จากหนังสือโครงการหนังสือบูรพาจารย์
    เล่ม ๘ หน้า ๓๙๔-๓๙๖
    หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย
    เรียบเรียงโดย : รศ.ดร ปฐม-รศ.ภัทรา นิคมานนท์

    จุดประสงค์ธรรมทาน
    เพื่อเตือนใจในการปฏิบัติ เข้าใจในบาป บุญ คุณ โทษ
    และระลึกถึงแนวคำสอนที่ถูกต้องของจริง
    ข้อปฏิบัติของครูบาอาจารย์

    แม้ท่านนิพพานนานแล้ว เพื่อเป็นบทเตือนใจแก่คนรุ่นหลัง
    ผู้โพสต์พิมพ์ใหม่จากบทความคำสอน
    แชร์ได้ ไม่ต้องขออนุญาต เพราะเป็นของครูบาอาจารย์
    หากตกหล่นประการใด ขออภัย สาธุชน ณ โอกาสนี้ครับ
    ขอขอบคุณผู้มีส่วนเผยแพร่
    เจ้าของรูปประกอบในธรรม และผู้กด Like กดแชร์ ทุกท่าน

    -หลวงปู่หลุย-จ.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร

    1.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
    2.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
    3.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
    4.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
    5.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
    6.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
    7.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
    8.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
    9.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
    10.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

    ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

    สูตรนี้ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาละมะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาละมะนั้นเป็นชาวเกสปุตตะนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก 10 ข้อ

    -10-ห.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    คนพิการกายอย่างเด็กนี้ มิได้เป็นพิษเป็นภัยกับใคร แต่ถ้าคนพิการใจมากๆ ย่อมสร้างความวุ่นวายยุ่งยากแก่มนุษย์และสัตว์ ให้ได้รับความเดือดร้อนมากทีเดียว

    -:- ธรรมโอวาท -:-
    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ๏ บุพเพสันนิวาส รอยอดีตของหลวงปู่หลุย จันทสาโร ๏

    “…หลวงปู่ท่านแวะมาที่หล่มสัก ด้วยโยมมารดาของท่านมีพื้นเพภูมิลำเนาอยู่ที่นั้น จึงยังมีบ้านญาติบ้านพี่บ้านน้อง คนคุ้นเคยอยู่มาก ท่านมาถึงได้ทราบว่า บ้านญาติคนหนึ่งมีงานศพ นิมนต์พระไปสวดมนต์ ท่านก็ได้รับนิมนต์ไปในงานสวดมนต์นั้นด้วย

    หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ท่านไม่เคยคิดเลยว่า การแวะไปเยี่ยมญาติและสวดมนต์ในครั้งนั้น จะทำให้ท่านถึงกับซวดเซลงแทบจะล้มลงทั้งยืน

    ล้ม…ล้มอย่างไม่มีสติสตังเลยทีเดียว

    ท่านเล่าให้เฉพาะผู้ใกล้ชิดฟังว่า วันนั้นท่านกำลังสวดมนต์เพลินอยู่ ระหว่างหยุดพักการสวด เจ้าบ้านก็นำน้ำปานะมาถวายพระแก้คอแห้ง บังเอิญตาท่านชำเลืองมองไปในหมู่แขกที่กำลังนั่งฟังสวดมนต์อยู่ เพียงตาสบตา ท่านก็รู้สึกแปล๊บเข้าไปในหัวใจ เหมือนสายฟ้าฟาด แทบจะไม่เป็นสติสมประดี

    ท่านกล่าวว่า เพียงตาพบแว้บเดียว ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ท่านก็เซแทบจะล้ม เผอิญขณะนั้นท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้รับนิมนต์ไปด้วย ท่านคงสังเกตถึงอาการ หรือว่าท่านอาจจะกำหนดจิตทราบเหตุการณ์ก็ได้ ท่านจึงเข้ามาประคองไว้ เพราะมิฉะนั้นหลวงปู่คงจะล้มลงจริง ๆ

    ฝ่ายหญิงที่นั่งอยู่ทางด้านโน้นก็เป็นลมไปเช่นกัน คงจะเป็นอำนาจความเกี่ยวข้องแต่บุพชาติมา ที่มาบังคับให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้น…

    …ท่านบอกว่าในหัวอกเหมือนจะมีอะไร แต่ภายหลังได้พิจารณากลับมา และเมื่อท่านพระอาจารย์สิงห์ได้อธิบายให้ท่านทราบในภายหลังว่า การครั้งนี้เป็นนิมิต เนื่องจากบุพเพสันนิวาสท่านและสุภาพสตรีผู้นั้นเคยเป็นเนื้อคู่เกี่ยวข้องกันต่อมาช้านาน เคยบำเพ็ญบารมีคู่กันมาโดยเฉพาะเมื่อภายหลัง หลวงปู่ได้สารภาพถึงความในใจที่ตั้งปรารถนาพุทธภูมิ ท่านพระอาจารย์สิงห์ก็อธิบายว่า เธอผู้นั้นก็คงได้ปรารถนาบำเพ็ญบารมีคู่กันมาเช่นกัน

    ท่าน(พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม) ก็เลยเล่าว่า ครั้งหนึ่ง หลวงปู่อีกองค์หนึ่งก็เช่นกัน ระหว่างที่มากรุงเทพฯเดินบิณฑบาตอยู่แถววัดสระปทุม ได้พบสตรีคนหนึ่ง นั่งรถสามล้อผ่านไป (สมัยนั้นในกรุงเทพฯมีรถสามล้อเป็นยานพาหนะด้วย) ท่านบอก เพียงตาสบตาเท่านั้น ความรู้สึกมันปล๊าบไปทั้งตัว แทบจะวิ่งตามเขาไป

    คราวนั้นพระเถระผู้ใหญ่ต้องให้สติและขังท่านไว้ในโบสถ์ พิจารณาดับความรู้สึกกันอยู่นาน ด้วยการเจริญอสุภะจึงสำเร็จ คราวนั้นหลวงปู่องค์นั้นท่านก็เล่าว่า ไม่รู้จักผู้หญิงคนนั้นมาก่อน แล้วก็ไม่รู้ว่าเขาอยู่ที่ไหนด้วยซ้ำ เขาจะไปที่ไหน อย่างไร ก็ไม่ทราบ แต่ใจมันวิ่งเตลิดตามเขาไป พิจารณาแล้วก็ได้ความเช่นกัน ว่าเป็นคู่ที่เคยมีบุพเพสันนิวาสกันมาแต่ชาติก่อน อำนาจกรรมนั้นจึงมาประจักษ์ แต่หากว่าบุญบารมียังมีในเพศพรหมจรรย์ ท่านจึงปลอดภัยไปจากกรรมนี้ได้

    สำหรับกรณีของหลวงปู่ก็เช่นกัน แต่ของท่านนั้น เนื่องจากเป็นการปรารถนาพุทธภูมิเคียงคู่กันมา จึงมีอำนาจรุนแรงมาก และเนื่องจากว่า ฝ่ายหญิงมิได้พบกันแล้วก็ห่างกันไปแบบในกรณีของหลวงปู่องค์นั้น ต้องพบประจันหน้ากันอีกหลายครั้ง เนื่องด้วยผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้คุ้นเคยกันประหนึ่งญาติ และมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาหลายชั้น ตั้งแต่ครั้งบิดามารดา ต้องพบเห็นกัน ไม่ใช่ว่าเป็นการพบกันแล้วก็ผ่านจากไป เช่นนั้นอาจจะเป็นกรณีที่ง่ายหน่อย แต่การนี้หลังจากพบครั้งแรกแล้วนั้น ก็ยังต้องเห็นกันอีก กรณีจึงแตกต่างจากพระเถระครูบาอาจารย์ฝ่ายกัมมัฏฐานองค์อื่น ในชาตินี้ นอกจากที่ว่า ชั้นบิดามารดารู้จักคุ้นเคยกันประหนึ่งญาติพี่น้อง อาจจะเคยเห็นกันในสมัยวัยเด็ก

    แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายหญิงได้ถูกส่งตัวเข้ามารับการศึกษาในพระนครเสียตั้งแต่ยังเด็ก ได้รับการศึกษาชั้นสูง จึงแทบมิได้พบหน้ากันอีก เมื่อมาพบฝ่ายหญิงนั้น ท่านอยู่ในเพศบรรพชิตแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งเป็นกุลสตรีแสนสวย เป็นรอยแห่งอดีตที่มาพบพานกัน

    ความจริงท่านไม่เคยเล่าถึงรูปลักษณ์ของ “รอยอดีต” ของท่าน แต่บังเอิญผู้เขียนเกิดทราบขึ้นมาเอง

    วันนั้นเป็นเวลาที่มีการสนทนาธรรมกัน และหลวงปู่กำลังเทศนาอธิบายถึงแรงกรรม โดยเฉพาะกรรมเกี่ยวกับบุพเพสันนิวาส ที่พระเณรจะต้องประสบและจะต้องมีกำลังใจอย่างมากที่จะเอาชนะให้ได้ในที่สุด สุดท้ายวันนั้นท่านได้ยกกรณีของท่านขึ้นมาว่า องค์ท่านเองยังแทบเป็นลม ฝ่ายท่านนั้นพระเถระต้องเข้าประคองฝ่ายหญิงเป็นลม ญาติผู้ใหญ่และมารดาต้องเข้าประคอง ขณะฟังไม่ทราบว่าเพราะอะไร ผู้เขียนรู้สึกสว่างวาบขึ้นในใจ เข้าใจนึกถึงชื่อเธอขึ้นมา กราบเรียนท่านโดยเอ่ยชื่อเธอ…ว่าใช่ไหมสุภาพสตรีท่านนั้น

    หลวงปู่ค่อนข้างจะตกใจที่ทำไมศิษย์เกิดรู้จักขึ้นมาได้ แต่ท่านก็อึ้งและยอมรับว่าเข้าใจถูกแล้ว ฉะนั้นการพรรณนารูปร่างลักษณะของเธอ ซึ่งผู้เขียนเผอิญรู้จัก และมีความเคารพนับถือ…นับถือในอัจฉริยะของเธอ จึงเป็นการบรรยายจากผู้เขียนฝ่ายเดียว หลวงปู่ท่านมิได้เล่ารายละเอียดเหล่านั้น ผู้เขียนเพียงแต่ช่วยวาดภาพให้ท่านผู้อ่านได้นึกถึงเรื่องและเข้าใจตามไปด้วยเท่านั้น ว่าเป็นการยากลำบากและต้องการพลังใจอันเด็ดเดี่ยวเพียงใด ที่หลวงปู่ท่านจะสามารถตัดกระแสความผูกพันจากรอยอดีต โดยเฉพาะผู้ที่เป็นคู่บารมีมาสำหรับการปรารถนาพุทธภูมิ

    “รอยอดีต” ของท่านเป็นกุลสตรีที่ได้รับการศึกษามาอย่างดี จบการศึกษาชั้นมัธยมบริบูรณ์จากโรงเรียนสตรีที่มีชื่อทางภาษาต่างประเทศ นาน ๆ เมื่อกลับไปเยี่ยมบ้าน ก็กลับไปแบบหญิงสาวสมัยใหม่ รูปสวย นัยน์ตาโตงาม มีคนหลายคนที่เล่าว่า เวลาที่เห็นเธอกลับไปเยี่ยมบ้านนั้น เสมือนหนึ่งเห็นเทพธิดาล่องลอยอยู่ในฟ้า ขี่ม้าเก่ง แต่งตัวสวย แบบสาวชาวกรุงแท้ ผมสวย หน้าสวย

    ความจริงแล้ว เจ้าแม่นางกวยมารดาของท่านนั้น ก็เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่มากในเรื่องแต่งตัวงาม ผมของท่านจะจับหย่ง ใช้ขี้ผึ้งจับจอนให้งดงาม เป็นที่เลื่องลือกันทั้งหมู่บ้าน และมีชาวบ้าน มีเพื่อนบ้านใกล้เคียง ผู้ที่เป็นหญิงสาวมักจะมาขอเรียนการทำผมที่ทำไมจึงจะสวยได้อย่างเจ้าแม่นางกวย กลายเป็นที่พูดกันว่า ท่านเป็นประหนึ่งผู้ทำผมให้กับหญิงสาวทั้งหมู่บ้าน แต่นั้นก็เป็นแบบผมในสมัยของท่าน

    กุลสตรีท่านนี้ เป็นแบบสาวสมัยใหม่ ผมงามแบบผมท่าน ขี่ม้าเก่ง และไม่ได้แต่งตัวแบบหญิงสาวชนบท สวมกางเกงขี่ม้าใส่รองเท้าท็อปบู๊ต ต่อมาภายหลัง หลังจากที่ต้องจากกันแล้ว เมื่อเธอกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานคร เธอก็ได้มามีชื่อเสียงอย่างมาก และเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับผู้ที่รักหนังสือทั้งหลาย เข้าใจว่า ผู้ที่มีอายุประมาณ ๕๐ ปีขึ้นไปนั้นจะต้องเคยได้ยินชื่อของเธอมามาก

    หลวงปู่จึงเล่าภายหลังว่า ท่านรู้สึกเหมือนกับว่า หัวอกแทบจะระเบิด อกกลัดเป็นหนอง แต่ใจหนึ่งก็คิดมุ่งมั่นว่า จะต้องบำเพ็ญเพศพรหมจรรย์ต่อไป

    ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เข้าใจในความรู้สึกของหลวงปู่ผู้เป็นศิษย์ใหม่ได้ดี ท่านจึงจัดการพาตัวหลวงปู่รีบจากหล่มสักมาโดยเร็วที่สุดหลวงปู่กล่าวว่า ไม่ใช่เป็นการพาตัวมาอย่างธรรมดา แต่เป็นการควบคุมนักโทษผู้นี้ให้หนีออกมาจากมารที่รบกวนหัวใจแต่โดยเร็ว

    หลวงปู่กล่าวว่า เป็นการเคราะห์ดีอย่างยิ่งที่บังเอิญเจ้าภาพที่หล่มสักนั้นได้นิมนต์ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ไปร่วมในงานศพในครั้งนั้นด้วย หากไม่มีพระเถระช่วยให้สติปรับปรุงแถมยังคอยควบคุมตัว ท่านว่า ไม่ทราบว่าจะรอดพ้นปากเหยี่ยวปากกามาได้หรือไม่

    ท่านได้เห็นจริงในตอนนั้นว่า มาตุคามเป็นภัยแก่ตนอย่างยิ่ง เมื่อพระอานนท์กราบทูลถามสมเด็จพระพุทธองค์ว่า ควรปฏิบัติต่อมาตุคามเช่นใด พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า “ไม่ควรมอง ถ้าจำเป็นจะต้องมอง ก็ไม่ควรพูดด้วย ถ้าจำเป็นจะต้องพูดด้วย ก็ให้ตั้งสติ” ท่านตรัสบอกขั้นตอนปฏิบัติต่อมาตุคามเป็นลำดับ ๆ ไป แต่นี่หลวงปู่เพียงโดนขั้นแรก มอง ก็ถูกเปรี้ยงเสียแล้ว ถ้าเป็นนักมวยก็ขึ้นเวทียังไม่ทันจะเริ่มต่อย ก็ถูกน็อค

    ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม นี้เป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของท่านพระอาจารย์มั่น ต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็นที่ พระญาณวิศิษฏ์ ท่านได้เห็นพระรุ่นน้องแสดงกิริยาดูน่ากลัวว่าจะพ่ายแพ้อำนาจของกิเลส ถ้าเป็นนักสู้ ก็เป็นนักสู้ที่ยินยอมจะให้เขายกกรีธาพาเข้าสู่ที่ประหารชีวิตแต่โดยดี ไม่พยายามฝืนต่อสู้แต่อย่างใด

    ท่านจึงควบคุมนักโทษ “ซึ่งเป็นนักโทษหัวใจ” ผู้นั้น รีบหนีออกจากหล่มสักโดยเร็ว ออกมาจากสถานที่เกิดเหตุคือเมืองหล่มสักโดยเร็วที่สุด เที่ยววิเวกลงมาตามป่าตามเขา และเร่งทำตบะความเพียรอย่างหนัก

    ท่านพระอาจารย์สิงห์สนับสนุนให้หลวงปู่อดนอน อดอาหาร เพื่อผ่อนคลายความนึกคิดถึงมาตุคาม ให้เร่งภาวนาพุทโธ…พุทโธถี่ยิบ และนั่งข่มขันธ์ แต่ความกลับกลายเป็นโทษ เคราะห์ดีท่านไม่ตามนิมิต ซึ่งแทนที่จะยอมสิโรราบตามเคราะห์กรรมที่มีอยู่เช่นนั้น เพราะเคยมีกรรมต่อกันมาเช่นนั้น ทำให้พอเห็นก็มืออ่อนเท้าอ่อน ยอมตายง่าย ๆ ท่านกลับเข้าหาครู เชื่อครู เล่านิมิตถวาย ท่านพระอาจารย์สิงห์ท่านได้โอกาส จึงได้อบรมกระหน่ำเฆี่ยนตีทันควัน…”

    ____________________

    จาก : หนังสือ จันทสาโรบูชา โดย คุณหญิงสุรีย์พันธุ์ มณีวัต

    -บุพเพสันนิวาส-รอยอดีต.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...