ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ันนี้แล้วครับ

    กำหนดการ พิธีทอดผ้ากฐินสามัคคีวัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี ประจำปี ๒๕๖๑

    วันอาทิตย์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๑
    – เวลา ๐๘.๐๐ น. พิธีถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร
    – เวลา ๑๓.๐๐ น. พิธีทอดผ้ากฐินสามัคคี

    หมายเหตุ : ปัจจัยที่เป็นบริวารองค์กฐินทั้งหมดจะนำสมทบทุนโครงการก่อสร้างเจดีย์บูรพาฐิตวิริยาประชาสามัคคี ในดำริของพระเดชพระคุณหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ต่อไป…

    ——————————————-
    ท่านที่มีกุศลเจตนาร่วมสร้างเจดีย์ ณ วัดเขาสุกิม สามารถร่วมโอนเงินเพื่อสมทบทุนก่อสร้างเจดีย์ได้ที่

    ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนศรีรองเมือง
    ชื่อบัญชี วัดเขาสุกิม
    เลขที่บัญชี ๑๔๘ – ๒ – ๖๙๖๘๔ – ๔

    ธนาคารทหารไทย สาขาหนองคล้า
    ชื่อบัญชี วัดเขาสุกิม
    เลขที่บัญชี ๓๙๘ – ๒ – ๓๙๗๒๓ – ๘

    ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
    วัดเขาสุกิม โทร. ๐๓๙ – ๔๙๕ – ๒๔๓

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    สิ้นแล้วประทีปแก้วแห่งเมืองเสลภูมิ
    หลวงปู่โฮม ปัญญาพโล
    ได้ละสังขารด้วยความสงบ
    วันที่28 ตุลาคม 2561
    เวลา7:12 น.
    ด้วยสิริอายุ 93 ปี 11 เดือน
    ที่ วัดป่าขวัญเมือง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
    กรรมอันใดที่ได้ล่วงเกินองค์หลวงปู่ด้วยกาย วาจา ใจ ระลึกได้ก็ดีไม่ระลึกได้ก็ดี
    ขอองค์หลวงปู่จงงดโทษในกรรมอันนั้นด้วยเทอญ
    ขอน้อมจิตกราบส่งองค์หลวงปู่สู่แดนพระนิพพาน
    *งดใช้คำว่า” สาธุ”*

    ได้ภาพและข้อมูลจากวัดประชาคมวนาราม-ป่ากุง

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    สิ้นแล้วประทีปแก้วแห่งเมืองเสลภูมิ พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ศิษย์ในองค์หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) จ.ร้อยเอ็ด

    หลวงปู่โฮม ปัญญาพโล วัดป่าขวัญเมือง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ได้ละสังขารอย่างสงบแล้ว ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 28 ตุลาคม 2561 เวลา 07.12 น.

    ขอน้อมถวายความอาลัย และน้อมส่งองค์หลวงปู่สู่พระนิพพาน

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “ความเป็นมาของชาวไทยชาวลาว ด้วยญาณทัศนะหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกัยประวัติศาสตร์ได้อย่างแนบสนิท น่าอัศจรรย์ใจ”

    (ปกิณกธรรมของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
    (จากหนังสือ รำลึกวันวาน)
    (บันทึกโดย หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ)

    ต่อไปจะได้เล่าเรื่อง “ชนชาวไทย ชนชาวลาว”

    ท่านพระอาจารย์เล่าว่า ชาวลาวฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ก็คือชาวนครราชคฤห์ หรือรัฐมคธ เช่นเดียวกับชาวไทย ไทยและลาวจึงเป็นเชื้อชาติเดียวกัน แต่หนีตายจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มาคนละสาย ลาวเข้าสู่แดนจีน จีนจึงเรียกว่า พวกฮวน คือ คนป่าคนเถื่อนที่หนีเข้ามา โดยชาวจีนไม่ยอมรับ จึงมีการขับไล่เกิดขึ้น (ประวัติศาสตร์ไทยเขียนไว้ว่า ไทยมาจากจีน เห็นจะเป็นตอนนี้กระมัง)

    ความจำเป็นเกิดขึ้น จึงมีการต่อสู้แบบจนตรอก ถอยร่นลงมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ตามสายญาติ คือ ไทย สู่สิบสองจุไทย สิบสองปันนา หนองแส และแคว้นหลวงพระบาง ปัจจุบันก็ยังมีคนไทยตกค้างอยู่

    พอถอยร่นลงมาถึงนครหลวงพระบาง เห็นว่าปลอดภัยแล้ว และภูมิประเทศก็คล้ายกับนครราชคฤห์ จึงได้ตั้งหลักปักฐานอยู่ที่นั่น และอยู่ใกล้ญาติที่สุวรรณภูมิด้วย คือ นครปฐม เป็นพวกที่มาตั้งอยู่ก่อน และพวกที่เข้ามาตอนหนีตายคราวนั้น

    การสร้างบ้านแปลงเมืองเป็นมาโดยราบรื่น โดยให้ชื่อว่า “กรุงศรีสัตตนาคนหุต” (เมืองล้านช้าง) จนถึงพระเจ้าโพธิสารเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์มีราชโอรส 2 พระองค์ ชื่อเสียงท่านไม่ได้บอกไว้ พอเจริญวัย พระเจ้าโพธิสารทรงเห็นว่า เมืองปัจจุบันคับแคบ มีภูเขาล้อมรอบ ขยายขอบเขตยาก การเกษตรกรรมทำนาไม่เพียงพอ และเพื่อเป็นการขยายอาณาจักรด้วย จึงส่งราชโอรสองค์ใหญ่ ไปตามลำแม่น้ำโขง มาถึงเวียงจันทน์ จึงได้ตั้งบ้านเรือนขึ้น มีเมืองหลวงชื่อว่า “กรุงจันทบุรีศรีสัตตนาคนหุต”

    ส่วนพระราชโอรสองค์น้อง ได้ไปตามลำน้ำน่าน มาตั้งบ้านเมืองอยู่ที่สุโขทัย โดยมีเมืองหลวง ชื่อว่า “กรุงสุโขทัย” ท่านพระอาจารย์แปลให้ฟังด้วยว่า “สุโขทัย” แปลว่า “ไทยเป็นสุข” เหตุที่อยู่ที่นี้เพราะปัจจัยในการครองชีพเอื้ออำนวย และใกล้ญาติทางนครปฐม ไปมาหาสู่ก็สะดวก ท่านว่าอย่างนี้

    นครปฐมก็มีเมืองหลวง คือ “ทวาราวดีศรีอยุธยา” ที่เรียกว่า ยุคทวาราวดี นั่นเอง เวียงจันทน์จึงเป็นพระเจ้าพี่ สุโขทัยเป็นพระเจ้าน้อง นครปฐม สุโขทัย หลวงพระบาง เวียงจันทน์ ก็คือ ชนชาติชาวราชคฤห์ในครั้งพุทธกาลนั่นเอง

    การอพยพหนีตายคราวนั้น บางพวกลงเรือข้ามทะเล ไปขึ้นฝั่งที่นครศรีธรรมราชก็มี ซึ่งมีพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชเป็นสักขีพยานว่า ชาวใต้ทั้งหมดก็เป็นชนชาติรัฐมคธในครั้งพุทธกาล เหมือนกันกับชาวพม่า มอญ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ ก็คือ ชาวโกศล ในครั้งพุทธกาลนั้นเอง

    -ความเป็นมาของชาว.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เสร็จสิ้นพิธีทอดผ้ามหากฐิน วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี ประจำปี ๒๕๖๑ น้อมบูชาพระเดชพระคุณหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย

    และเพื่อนำเงินบริวารกฐินสมทบทุนก่อสร้างเจดีย์บูรพาฐิตวิริยาประชาสามัคคี

    ขอเชิญร่วมอนุโมทนาบุญร่วมกันทุกท่านทุกคนครับ

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    » พระอัญญาโกณฑัญญะ หายไปไหนหลังจากบรรลุอรหันต์?

    เราทุกคนต่างรู้จักพระอัญญาโกณฑัญญะ โดยทราบว่าท่านเป็นภิกษุรูปแรก และ ผู้แรกที่บรรลุธรรม แต่ว่าเราไม่ค่อยทราบกันเลยว่าท่านหายไปไหนหลังจากบรรลุอรหันต์แล้ว
    เราลองมาอ่านประวัติของท่านกันครับ
    ::::::::::::::::::
    • อดีตชาติ
    ในอดีตกาลสมัยพระพุทธเจ้านาม “ปทุมุตตระ” พระอัญญาโกณฑัญญะได้เกิดเป็นบุตรชายเศรษฐี วันหนึ่งท่านได้เห็นพระพุทธเจ้าสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งว่า เป็นเลิศด้าน “บรรลุธรรมก่อนใคร ๆ ในพระศาสนา”
    ท่านคิดว่า “ภิกษุนี้ยิ่งใหญ่มาก เพราะถ้าไม่นับพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ไม่มีใครจะบรรลุธรรมก่อนภิกษุนี้เลย ถ้าตัวเราจะสามารถบรรลุธรรมก่อนใคร ๆ ในสมัยพระพุทธเจ้าพระองค์ใดในอนาคตก็จะเป็นการดีหนอ”
    เขาคิดได้แล้วจึงกราบทูลพระพุทธเจ้าขอถวายทาน ๗ วันติดต่อกัน และ เอ่ยวาจาตั้งความปรารถนาว่าจะเป็น ภิกษุผู้บรรลุธรรมก่อนใครๆในอนาคต
    พระพุทธเจ้าปทุมุตตระได้สดับแล้ว ตรัสว่า ความปรารถนาของเขาจะเป็นจริงในอนาคตกาล ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่า “โคตมะ”
    ::::::::::::::::::
    • ชาติสุดท้าย
    ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ประจำศากยวงศ์ นามว่า “โกณฑัญญะ” ท่านได้รับเลือกเป็นพราหมณ์ทำนายพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งท่านเป็นเพียงผู้เดียวที่ทายว่าต่อไปเจ้าชายจะได้เป็นพระพุทธเจ้า
    จากนั้นท่านก็ได้ลาออกจากราชสำนักและไปบวชเป็นฤาษี ต่อมาเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ออกบวช ท่านก็ได้ออกบวชตามพร้อมพวกอีก ๔ คน (เรียกว่า ปัญจวัคคีย์ – พวก๕) คอยติดตามปรนนิบัติพระโพธิสัตว์
    แต่ภายหลังก็ได้ทิ้งไปเพราะคิดว่าพระองค์ละความเพียรแล้ว จนพระโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ได้กลับมาเทศน์สอนปัญจวัคคีย์เป็นพวกแรก และ พระโกณฑัญญะนี้เองก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน เป็นบุคคลแรกที่มีดวงตาเห็นธรรม
    ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า “อญฺญา สิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ – โกณฑัญญะรู้ทั่วแล้วหนอ” ซึ่งทำให้ท่านได้รับชื่อนำหน้าว่า “อัญญา (รู้)” ตั้งแต่นั้นมา ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ และ มีที่นั่งพิเศษ
    ต่อมาขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดเชตวัน ท่านได้ยกย่องพระอัญญาโกณฑัญญะว่า “เป็นเลิศ (เอตทัคคะ) ด้านผู้รู้ราตรีนาน (รัตตัญญู)” คือ เป็นเลิศกว่าผู้อื่นด้านบรรลุธรรมก่อนใคร ๆ
    เนื่องจากท่านบวชเป็นคนแรกท่านจึงมีพรรษาสูงที่สุด ภิกษุทุกรูปจึงต้องทำความเคารพ ที่นั่งของท่านนั้นก็พิเศษว่าภิกษุอื่น คือได้นั่งใกล้พระพุทธเจ้า โดยที่เวลาพระพุทธประทับ พระอัครสาวกจะนั่งเบื้องซ้าย-ขวา และ ข้างหลังอัครสาวกจะเป็นที่นั่งพิเศษเฉพาะของท่าน
    ::::::::::::::::::
    • ทูลลาพระพุทธเจ้าไปอยู่ป่า
    ท่านอัญญาโกณฑัญญะมีความเห็นว่า การที่ท่านมีพรรษาสูงสุดนั้นได้สร้างความลำบากให้กับหมู่คณะ คือ ทุก ๆ คนต้องทำความเคารพท่าน ไม่เว้นแม้แต่อัครสาวก
    อีกทั้งท่านมีความยินดีในความวิเวก ไม่ปรารถนาอยู่ใกล้บ้านผู้คน ท่านจึงได้กราบทูลลาพระพุทธเจ้าไปจำพรรษายัง “ริมสระมันทากินี”
    ท่านได้อยู่ที่ริมสระมันทากินีนี้ถึง ๑๒ ปี ในป่านี้เป็นที่อยู่ของช้างตระกูล”ฉัททันต์” ๘,๐๐๐ เชือก ในกาลก่อนช้างฝูงนี้เคยปรนนิบัติพระปัจเจกพุทธเจ้า ทำให้ช้างนี้มีความสามารถในการดูแลพระสงฆ์
    เมื่อช้างเห็นพระอัญญาโกณฑัญญะเดินทางมา ก็ดีใจที่จะได้ปรนนิบัติพระอีกครั้ง จึงพากันปัดกวาดเช็ดถูที่พัก ทำความสะอาดทางเดินจงกรม เสร็จแล้วพวกช้างก็ประชุมแบ่งเวรความรับผิดชอบ จัดลำดับว่าใครจะต้องเตรียมน้ำบ้วนปากและไม้สีฟัน เป็นต้น
    สระนี้กว้าง ๕๐ โยชน์ น้ำใสเหมือนผลึกไม่มีสาหร่ายจอกแหน ในสระนั้นมีดอกบัวขาว ถัดจากบัวขาวเป็นดอกบัวแดง โกมุทแดง โกมุทขาว บัวเขียวเป็นต้น รอบๆสระมีดงข้าวสาลี มีไม้เถาเช่น ฟักทอง น้ำเต้า และ ฟัก นอกจากนั้นยังมีดงอ้อย ดงกล้วย ดงขนุน ป่าชมพู่ และ ดงมะขวิด
    กล่าวโดยย่อคือ ผลไม้ที่ชื่อว่ากินไม่ได้นั้น ไม่มี
    เวลาดอกไม้บาน ลมจะพัดเอาเกสรไปรวมกับหยาดน้ำบนใบบัว เมื่อตะวันขึ้น หยดน้ำก็จะถูกแสงอาทิตย์เผาจนกลายเป็นก้อนเหมือนน้ำตาลเคี่ยว และช้างก็นำก้อนน้ำตาลนี้มาถวายพระเถระ
    แม้แต่รากบัว กับ เหงาบัวนั้น ช้างก็นำมาถวาย ส่วนเมล็ดบัวนั้น ช้างก็ได้ปรุงเมล็ดบัวเข้ากับน้ำตาลถวาย ช้างยังได้นำอ้อยวางบนแผ่นหินแล้วใช้เท้าเหยียบจนน้ำหวานไหลออกมาขังเต็มแอ่ง น้ำอ้อยนี้โดนตากแดดจนแห้งกลายเป็นดั่งนมก้อน ซึ่งนมก้อนนี้ช้างก็นำมาถวาย แม้แต่ผลไม้ต่าง ๆ ในป่าเช่น ขนุน กล้วย มะม่วง ช้างก็นำมาถวาย
    ::::::::::::::::::
    • ทราบว่าสิ้นอายุขัย กลับไปทูลลาพระพุทธเจ้า
    เช้าวันหนึ่งท่านได้ตรวจและทราบว่า อายุขัยท่านกำลังจะหมดลงแล้ว ท่านจึงคิดว่า “เราควรนิพพานที่ไหนหนอ … ก็ช้างนี้ได้ดูแลเราถึง ๑๒ ปี เราควรไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อขอนิพพานที่ใกล้ๆช้างนี้”
    ว่าแล้วท่านก็เหาะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระวิหารเวฬุวัน ด้วยความที่ท่านไม่ได้พบพระพุทธเจ้าเป็นเวลานาน ท่านจึงได้หมอบลงแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า เอาศีรษะแนบกับพระบาท จูบพระบาททั้งสองด้วยปาก นวดเฟ้นด้วยมือทั้งสอง พร้อมทั้งประกาศนามว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ชื่อโกณฑัญญะ”
    เหตุที่ท่านต้องประกาศนามนั้น เพราะท่านจากไปนาน คนทั้งหลายจำท่านไม่ได้ คนบางจำพวกที่ไม่รู้จัก อาจจะคิดไม่ดีว่าพระแก่นี้เป็นใครกัน ซึ่งจะเป็นบาปแก่คนเหล่านั้น ท่านจึงต้องประกาศนามให้ผู้คนเลื่อมใส จะเป็นเหมือนการปิดทางอบาย และ เปิดทางสุคติให้แก่คนทั้งหลายนั้นเอง
    ว่าแล้วท่านก็ทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อายุสังขารของข้าพระองค์สิ้นแล้ว ข้าพระองค์จักนิพพาน”
    ตรัสถามว่า “โกณฑัญญะ ท่านจะนิพพานที่ไหน”
    กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างทั้งหลายที่เป็นอุปฐากของข้าพระองค์นั้น ได้ทำกิจที่ทำได้ยาก ข้าพระองค์จะนิพพานใกล้ๆช้างเหล่านั้น”
    พระศาสดาทรงอนุญาต (ด้วยการนิ่ง ไม่ตรัสอนุญาต หรือ ห้าม) และพระเถระก็ได้ทำประทักษิณและกราบทูลว่า …
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเห้นครั้งนั้นเป็นการเห็นครั้งแรกของข้าพระองค์ การเห็นครั้งนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย”
    ฝูงชนพากันร่ำไห้คร่ำครวญ พระเถระถวายบังคมและได้จากไปยังริมสระน้ำมันทากินี โดยก่อนจาก ท่านได้ให้โอวาทว่า
    “ท่านทั้งหลาย อย่าเศร้าโศกเลย อย่าคร่ำครวญเลย จะเป็นพระพุทธเจ้าหรือพุทธสาวก สังขารที่เกิดขึ้นแล้ว ที่จะไม่แตกทำลายนั้นไม่มี”
    ::::::::::::::::::
    • หมู่ช้างจัดพิธีศพให้อย่างยิ่งใหญ่
    เมื่อถึงที่ริมสระ ท่านเข้าไปยังที่พัก นั่งเข้าผลสมาบัติตลอด ๓ ยาม ออกจากสมาบัติในเวลาใกล้สว่าง และ นิพพาน
    ช้างที่เฝ้าเวรอยู่ด้านหน้าไม่รู้ว่าท่านได้นิพพานแล้ว แต่ก็ยังคงเตรียมน้ำบ้วนปาก ไม้สีฟัน และ ผลไม้ รออยู่ที่ท้ายทางจงกรม แต่ว่าไม่เห็นพระเถระออกมาจากที่พักจึงเดินเข้าไปดู ช้างเขย่าประตูและมองดูก็เห็นว่าท่านกำลังนั่งอยู่ ช้างลองเอางวงเหยียดออกไปลูบคลำดูก็พบว่าท่านไม่หายใจแล้ว
    บัดนั้นเอง ช้างก็เอางวงสอดเข้าไปในปากส่งเสียงร้องเสียใจดังลั่นป่า ช้างอื่นๆทั้ง ๘,๐๐๐ เชือก ต่างก็ส่งเสียงร้องเสียใจพร้อมๆกัน
    ช้างทั้งหลาย ได้ยกร่างพระเถระขึ้นไว้บนกระพองของหัวหน้าโขลง ต่างเอางวงถือกิ่งไม้ที่มีดอกไม้บานสะพรั่ง แห่ร่างของพระเถระไปทั่วทั้งป่าหิมวันต์ และ กลับมาวางยังที่เดิม
    ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราช(พระอินทร์) ได้ปรึกษากับวิษณุกรรมเทพบุตร(เทพแห่งการช่าง)ว่า
    “พ่อ พี่ชายของเรานิพพานแล้ว เราจะกระทำสักการะ เธอจงเนรมิตเรือนยอด”
    วิษณุกรรมเทพบุตรจึงเนรมิตเรือนยอดอันสวยงาม จัดวางร่างพระเถระให้อยู่ในเรือนยอดนั้น
    จากนั้นบรรดาช้างก็พากันยกเรือนยอดเวียนรอบป่าอีกครั้ง เหล่าเทวดาก็รับเรือนยอดต่อจากช้าง และค่อย ๆ ส่งต่อไปตามสวรรค์ชั้นต่าง ๆ จนถึงพรหมโลก และค่อย ๆ ส่งเรือนยอดกลับลงมายังช้างอีกครั้ง
    ร่างของพระอัญญาโกณฑัญญะได้รับการทำพิธี จนรุ่งอรุ่ณของวันต่อมาเมื่อไฟได้ดับลงแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงเสด็จมา ท่านได้เนรมิตเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นมา และบรรจุพระธาตุของท่านอัญญาโกณฑัญญะไว้ในนั้น
    :::::::::::::::::
    Credit : ตรัง สุวรรณศิลป์ | Being Buddhist Blog
    อ้างอิง :
    – ม.มู.มหาสัจจกสูตร ข้อ ๔๒๖, องฺ. อ.๑/๑/๒๔๑, เถร.อ.๓/๔๙๑ ๔๙๕-๖, สํ.อ.๑/๒/๓๓๙-๓๔๔
    – อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค วังคีสสังยุต โกณฑัญญสูตรที่ ๙, อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค ๙. – -อัญญาโกณฑัญญเถราปทาน (๗)
    – หนังสือ ๘๐ พระอรหันต์ ฉบับสมบูรณ์ โดย ธรรมสภา

    -หายไป.jpg

    ที่มา ธรรมะของพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    คนเราเกิดมาใช้ชาตินี้
    อาศัยพ่อ อาศัยแม่เกิด
    แต่หลังชาตินี้ คือชาติต่อไป
    พ่อแม่ไม่ได้ตามเราไปด้วย
    เราอาศัยกันได้เพียงแค่ชาตินี้
    ภพหน้าชาติหน้าสิ่งที่จะติดตาม
    เราไปคือกรรม ไม่ใช่พ่อแม่
    กรรมคือสิ่งที่เราทำไว้นั่นเอง
    ถ้าทำกรรมดีไว้ ก็ไปเกิดในที่ดี
    ถ้าทำกรรมไม่ดี ก็ไปเกิดในที่ไม่ดี
    กรรมตัวนี้แหละจะพาเราไปเกิด
    เพราะเราไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ
    ที่เรามาเกิดมาตาย ไม่จบไม่สิ้น
    แต่ถ้าเรามาภาวนาแล้ว เราจะรู้
    เราจะเริ่มเห็นต้นสายปลายเหตุของชีวิต
    ทีนี้เราสามารถทำให้มันสั้นเข้ามาได้
    ถ้าใครทำได้ถึงพระอริยบุคคลขั้นต้นแล้ว
    คนนั้นจะได้เกิดอีกเพียงไม่เกิน ๗ ชาติเท่านั้น
    หรือใครที่มีบุญมากพอ ก็ปฏิบัติจนถึงพระนิพพานเลย

    – โอวาทธรรมคำสอน –
    หลวงพ่อทองพูน กาญจโน
    วัดป่าภูกระแต อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เวลาเดินจงกรมในที่มืดแต่ให้มันมองเห็น สมมุติว่ามีงูผ่านมากลางคืน มันจะมองเห็นผิดปกติมันจะเป็นเงาดำๆ เพราะเคยเจองูเสมอที่ทางเดินจงกรมตอนกลางคืน ไม่มีไฟ เราเดินไปเวลางูมันออกมาเราจะเห็นทั้ง ๆ ที่เดือนมืดนะ เพราะอากาศมันโล่งพอมองเห็น นี่สำหรับเดินจงกรมกลางคืน คือจะเดินกี่ชั่วโมงไม่มีกำหนด ถ้านักภาวนาไปหาคอยกำหนดเวล่ำเวลาอยู่แล้วมันก็ไม่ทันกับกิเลสซึ่งไม่มีเวลา กิเลสเหยียบอยู่บนหัวใจคนหัวใจสัตว์โลกมีกำหนดเวลาเมื่อไร ท่านจึงเรียกว่า อกาลิโก เช่นเดียวกันกับธรรม ธรรมก็ อกาลิโก หาเวล่ำเวลาไม่ได้

    กิเลสที่เหยียบย่ำทำลายอยู่บนหัวใจสัตว์โลกก็ไม่มีเวล่ำเวลา ไม่มีคำว่าสั้นว่ายาว ถ้าว่าทางก็ไม่สามารถจะคำนวณได้ว่ายาวเท่าไร มันเหมือนขอบด้ง เราไปวัดดูซิขอบด้งเป็นอย่างไร ความยาวมันยาวไปถึงไหน ก็มันวนอยู่นี่ ขอบด้งเป็นวงกลม วัฏฏะแปลว่าอะไร แปลว่าเครื่องหมุน หมุนอยู่นี้เหมือนกัน มันก็หมุนกลมละซี วัฏจักรวัฏวนมันหมุน ทีนี้ก็เลยไม่ทราบว่ามันสั้นมันยาว ทางเดินของวัฏจักรวัฏจิตที่มีกิเลสอยู่บนหัวใจนั่นพาให้หมุนๆ ไม่ให้ออกนอกโลกไปได้

    ก็เหมือนกับสิ่งต่างๆ ที่ถูกโลกดึงดูดนั่นเอง มันก็อยู่ในนี้ออกไปไม่ได้ ถ้าอันไหนที่มันกระเด็นออกไปโน้น ออกไปอวกาศแล้วก็ไม่มีอะไรกดถ่วงมันได้ นี่เป็นข้อเทียบเคียง เพราะฉะนั้นที่บอกไว้ในหนังสืออวกาศของจิตของธรรมก็เทียบกันอย่างนี้เอง คือจิตถ้าอยู่ในความดึงดูดของธรรมชาตินี้แล้ว มันก็อยู่ในสามภพนี่แหละ เพราะเป็นสถานที่ดึงดูดจิตไม่ว่าจิตวิญญาณดวงใด ฟังให้ดีนะผู้มาฟัง นี่เทศน์ตั้งใจเทศน์จริงๆ ไม่ได้เทศน์เล่นๆ นะ

    ทั้งสามโลกธาตุนี่เป็นที่อยู่ของสัตว์โลกที่มีธรรมชาตินี้เป็นเครื่องดึงดูด หรือเป็นเครื่องบังคับอยู่ตลอดหมดทุกดวงวิญญาณ เว้นเฉพาะวิญญาณของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่อยู่ในความดึงดูด วิญญาณนั้นออกอวกาศแล้วไม่เข้ามาอยู่ในวงดึงดูด เวลาจิตจะถอนตัวจากกิเลสความดึงดูดนี้ มันก็เหมือนกับวัตถุต่างๆ ที่จะให้ออกนอกโลกอันนี้นั่นแล

    วิญญาณทุกดวงๆ ไม่มีคำว่าว่างจากสิ่งเหล่านี้ที่จะไม่กดขี่ไม่มีเลย ต้องมี มีมากมีน้อยต่างกัน คำว่ามีมากมีน้อยก็เพราะผู้ได้ทำการชำระมามากน้อยต่างกัน เจ้าของจะรู้ไม่รู้ จำได้ไม่ได้ก็ตาม คือการสร้างความดีนั้นแหละเป็นการชำระซักฟอกสิ่งที่หุ้มห่อจิตใจให้เบาบางลง ธรรมชาตินี้หุ้มห่อมากเท่าไรก็ยิ่งมีน้ำหนักมาก เป็นธรรมชาติที่กดถ่วงได้มาก ดังพระพุทธเจ้าท่านทรงเล็งญาณดูสัตวโลก ท่านเล็งจริงๆ ญาณคือความหยั่งทราบ หมายถึงความรู้ที่ละเอียดสุดหยั่งทราบตลอดทั่วถึง การเล็งญาณดูสัตวโลกในบาลีท่านว่า ภพฺพาภพฺเพ วิโลกานํ ทรงเล็งตอนปัจฉิมยามว่า สัตว์โลกผู้ใดจะมีอุปนิสัยข้องตาข่ายแห่งญาณของพระองค์ และจะมีชีวิตไปไม่ยั่งยืนนาน ก็เสด็จไปโปรดคนนั้นก่อน นี่เรียกว่าผู้มีความเบาบาง

    จิตของสัตว์โลกย่อมมีความหนาบางต่างกัน คนเราจึงมีหยาบมีละเอียดต่างกัน มีความดีหนักเบา มีความชั่วหนักเบาต่างกัน ท่านจึงไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามวาสนาของกันและกัน อันนี้เป็นแต่เพียงร่างอันหนึ่งที่แสดงผลของกรรมของตัวเองออกมาเป็นครั้งเป็นคราว ระยะนี้ได้เสวยผลเป็นอันนี้ออกมา เป็นคนเป็นสัตว์ชนิดต่างๆ เป็นไปตามวาระๆ หมดวาระนี้ก็เข้าสู่วาระนั้น ออกจากนี้ไปสู่วาระนั้น ตามอำนาจแห่งวิบากกรรมดีชั่วที่ทำมามากน้อยต่างกัน ถ้าจิตได้เคยชำระได้เคยอบรมมาก็ค่อยเบาบางๆ เบาบางมากน้อยเพียงไรก็ย่นวัฏวน คือการเกิดตายของตัวเองให้สั้นเข้ามาๆ เช่น จะเกิดอีกหมื่นชาติก็จะลดหมื่นชาติเข้ามาถึง ๙,๙๙๙ ชาติ ย่นลงมาเป็น ๙๘… ๙๗… ๙๖… เข้ามาเรื่อยๆ จนกระทั่งเข้าถึงความแน่นอน

    ดังท่านแสดงไว้ผู้สำเร็จขั้นอริยภูมิแล้วตั้งแต่พระโสดาขึ้นไป นั่นเป็นขั้นแห่งความแน่นอนของภพชาติแล้ว คือย่นเข้ามาสู่กฎแห่งความแน่นอนแล้ว ทีนี้จะไม่เปลี่ยนเป็นอื่นไปได้ โสตะๆ แปลว่ากระแส ที่ว่าสำเร็จพระโสดาบันคือผ่านเข้ากระแสแห่งพระนิพพานหรือเข้าถึงกระแสพระนิพพานแล้ว และเข้าถึงความแน่นอนแล้ว จะเกิดอีกเพียง ๗ ชาติเป็นอย่างมาก คือ ผู้สำเร็จพระโสดาบันแล้วอย่างมากการเกิดตายไม่เลย ๗ ชาติ

    หลวงปู่ใหญ่พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด
    ๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๙

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ตั้งเเต่เด็กหลวงปู่ไม่เคยด่าใคร ว่าให้ใคร แม้จะไม่ชอบ ไม่พอใจ หลวงปู่ก็ไม่เคยว่าให้ใครเลย ไม่รู้ทำไม ไม่ชอบ แม้จะปริปากว่าก็ไม่เคย เป็นขันติบารมี แต่ชอบทำให้ทุกๆคนมีความสุข ตอนเด็กๆจึงมีเพื่อนมาก

    สมัยก่อนหลวงปู่ตื้อท่านเทศน์สอน อยู่วัดอโศการาม มีคุณหญิงคนหนึ่ง ชอบมาเล่าว่าตัวเองภาวนาดี ได้เป็นถึงพระโสดาบัน มาเล่าทุกๆวัน จนหลวงปู่ตื้อ อยากลอง จึงลองด่าผู้หญิงคนนี้ดู ” เป็นโซดาหรือเป็นโสดา ” เพียงพูดแค่นี้ ผู้หญิงคนนั้น เดือดปุดๆเหมือนโซดาเลย นักปฎิบัติ ถ้าอยากรู้ว่าดีแค่ไหนลองด่าดู ถ้ายังเดือดอยู่ ควบคุมความโกรธตัวเองไม่ได้เเล้วจะผ่านได้ยังไง

    โอวาทธรรมคำสอนพ่อแม่ครูบาอาจารย์
    หลวงปู่ไพบูลย์ สุมังคโล
    วัดป่าอนาลโยทิพยาราม อ.เมือง จ.พะเยา

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “นะโม โพธิสัตว์โต อาคันติ มายะ อิติภะคะวา”

    นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา” เป็นคาถาหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด โดยมีคติความเชื่อสืบต่อกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่า “อานุภาพแห่งพระคาถานี้ ประมาณมิได้เลย ภาวนาก่อนออกเดินทาง เป็นแคล้วคลาดปลอดภัย ภัยอันตรายไม่กล้ำกลาย”

    อุปเท่ห์ หรือการใช้คาถาบทนี้ คือ ให้สวดภาวนา พระคาถา ก่อนขึ้นรถ ลงเรือ ติดต่อค้าขาย จักเกิดสิริมงคล โชคลาภมากมาย ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ท่านว่าให้หมั่นสวด เจริญภาวนา พระคาถา หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืดนี้เถิด จักบังเกิดสิ่งอัศจรรย์แก่ตนเองและครอบครัว

    ขณะเดียวกันยังมีคติความเชื่อด้วยว่าพุทธคุณคาถานั้น หากท่องเป็นประจำจะคุ้มครองให้เราแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ เช่นเดียวกับการแขวนพระหลวงปู่ทวด โดยก่อนท่องคาถาบทหลวงปู่ทวดให้เริ่มต้นด้วยการตั้งนะโม ๓ จบ แล้วก็ระลึกถึงคุณพระ เป็นการขอพรบารมี

    ทั้งนี้ หากถอดคำแปลคาถาหลวงปู่ทวด แยกออกมาแต่ละตัว มีความหมายที่น่าสนใจ ดังนี้

    “นะโม” หมายถึง พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นใหญ่กว่ามนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง

    นอกจากนี้แล้ว “นะโม” แปลว่า “นอบน้อม” ดังคำแปลที่แปลไว้ต้นหมวดพุทธว่า “ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า” ทั้งนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถร ท่านได้ชี้แจงไว้ในหนังสือมุตโตทัย ถึงที่มาที่ไปของ “นะโม” สรุปพอสังเขปได้ว่า

    นะ คือ ธาตุน้ำ ซึ่งมาจากแม่
    โม คือ ธาตุดิน ซึ่งมาจากพ่อ

    ทั้งสองธาตุนี้ผสมกันจึงเกิดเป็นตัวเรา โดยมีธาตุไฟและธาตุลมเข้ามาอาศัยภายหลัง นะโม จึงสำคัญเพราะเป็นธาตุตั้งต้น และเมื่อครั้งหมดธาตุลมและธาตุไฟ ทุกอย่างก็จะสลายคืนธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้จึงเห็นได้ว่า “นะโม” นอกจากจะแปลตรงตัวว่า “นอบน้อม” แล้วยังมีความหมายเชิงลึกเช่นนี้อีกด้วย

    อย่างไรก็ตาม หากคำว่าผวน “นะโม” จะได้ว่า “มโน” แปลว่า “ใจ” ตรงนี้ก็ต้องยกพุทธพจน์ว่า “มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฎฺฐา มโนมยา” หมายถึง “ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจนั่นเอง”

    “โพธิสัตโต” ก็คือ พระโพธิสัตต์ ในที่นี้หมายถึง หลวงปู่ทวด ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ มีเมตตาต่อสรรพสัตว์

    “อิติภะคะวา” กร่อนมาจากบทสรรเสริญพระพุทธคุณ ที่ว่า “อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ” ซึ่งแปลความได้ดังนี้

    อิติปิ โส ภะคะวา หมายถึง เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

    อะระหัง หมายถึง เป็นผู้ไกลจากกิเลส

    สัมมาสัมพุทโธ หมายถึง เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง

    วิชชาจะระณะสัมปันโน หมายถึง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

    สุคะโต หมายถึง เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

    โลกะวิทู หมายถึง เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

    อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ หมายถึง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

    สัตถาเทวะมนุสสานัง หมายถึง เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    พุทโธ หมายถึง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม

    ภะคะวาติ หมายถึง เป็นผู้มีความเจริญจำแกธรรมสั่งสอนสัตว์

    ในการท่องคาบทอิติปิโสฯ นั้น หากท่องจากข้างหลังมาข้างหน้า จะเรียกว่า “บทอิติปิโสฯ แบบ ปฏิโลม” หรือท่องถอยหลัง มีคติความเชื่อว่า พุทธคุณจะเหนือกว่าท่องตามปกติ การท่องถอยหลังมีดังนี้

    “ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา นุส มะ วะ เท ถา สัต ถิ ระ สา มะ ทัม สะ ริ ปุ โร ตะ นุต อะ ทู วิ กะ โล โต คะ สุ โน ปัน สัม ณะ ระ จะ ชา วิช โธ พุท สัม มา สัม หัง ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ ฯวิช โธ พุท สัม มา สัม หัง ระอะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ”

    อย่างไรก็ตาม คาถาหลวงปู่ทวดที่ว่า “นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา” จะใกล้เคียงกับคาถาขอขมาพระโพธิสัตว์กวนอิมที่ว่า “นะโมโพธิสัตโต นะโมพุทธายะ อิติสุขะโต อะระหังพุทโธ อาคันติมายะ นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ พุทธะรัตตะนัง ปะถะวีคงคา ธัมมะรัตตะนัง พระภุมมะเทวา อิติภะคะวา สังฆะรัตตะนัง ขะมามิหัง”

    นอกจากนี้แล้ว เพื่อเพิ่มความเข้มขลังของคาถาหลวงปู่ทวด ยังมีการเพิ่มคาถาหัวใจพระเจ้า ๕ พระองค์ไว้ด้านหน้าและด้านหลัง กลายเป็น “คาถาหลวงปู่ทวดเปิดโลก” คือ “นะ เปิด โม เปิด พุท เปิด ธา เปิด ยะ เปิดโลกด้วย นะโมโพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภควา ยะธาพุทโมนะ” ทั้งนี้ในส่วนของคาถาบทหลังนั้น เป็นการท่องคาถาพระเจ้า ๕ พระองค์แบบถอยหลังที่ว่า “ยะ ธา พุท โม นะ”

    คาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ หรือ คาถาแม่ธาตุใหญ่ ที่ว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” ซึ่งมีพุทธคุณเหนือยันต์ทั้งปวง รวมทั้งความเชื่อสืบต่อกันว่า “ผู้ใดที่ท่องหรือบริกรรมพระคาถาบทนี้ ด้วยจิตอันสงบและมั่นคงแล้ว จะมีพุทธคุณคุ้มครองครอบจักรวาล” หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ “มีพุทธคุณครบทุกด้าน เช่น เมตตามหานิยม แคล้วคลาด ป้องกันภัย มหาเสน่ห์ มหาอุด รวมทั้งไล่ภูตผี และใช้กันเสนียดจัญไรได้อีกด้วย

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -โพธิสัตว์โต-อาคันต.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ขอเชิญร่วมนมัสการและรับฟังพระธรรมเทศนา พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม วัดป่าหนองไผ่ อ.เมือง จ.สกลนคร ในวันศุกร์ ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 เวลา 17.00-19.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 ตึกสถาบันคอมพิวเตอร์ (ใกล้ประตูทางออกฝั่งห้างบิ๊กซี) มหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก)

    จัดโดย : กลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

    ๏ กำหนดการ ๏

    -:- วันศุกร์ ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 -:-

    เวลา 17.00 น. สวดมนต์ทำวัตรเย็น ณ ห้องประชุมชั้น 2 ตึกสถาบันคอมพิวเตอร์
    เวลา 17.45 น. ประธานฝ่ายฆราวาส จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ,ไหว้พระ , รับศีล , แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ โดย พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม วัดป่าหนองไผ่ อ.เมือง จ.สกลนคร
    เวลา 19.00 น. พิธีทำวัตรขอขมา , ถวายจตุปัจจัยไทยทาน , รับพร
    เวลา 19.30 น. เสร็จพิธี.

    **************************

    สอบถามรายละเอียด โทร. 086-4017809

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...