ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “คนโง่เอาใจไว้ที่ปาก คนฉลาดเอาปากไว้ที่ใจ”

    (คติธรรม ครูบาพรหมา พรหมจักโก)
    วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน

    คนโง่เอาใจไว้ที่ปาก คนฉลาดเอาปากไว้ที่ใจ, คนฉลาดเอาปากไว้ที่ใจจะปากหนัก (ไม่ค่อยจะพูดมาก) คนโง่เอาใจไว้ที่ปาก ใจมันไม่อยู่ที่ตัวใจมันไปอยู่ที่ปาก มันจึงพูดไปวันยังค่ำ คนฉลาดเอาปากไว้ที่ใจ ความสำคัญของตัวเองที่จะเข้าใจกันไว้

    ตัวของคนเราแต่ละคนมีความสำคัญๆ อย่างไร ? สุดแท้แต่จะพิจารณา ความคิดพิจารณาต่างๆ กันตามทัศนะของใครของมัน ความสำคัญที่ตัวเอง ส่วนมากผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา และอบรมมักจะสำคัญมั่นหมายตนเองว่า เป็นผู้รู้ เป็นผู้เก่งกว่าเขา เป็นผู้ที่มีมั่งมีกว่าเขา เป็นผู้ที่มียศถาบรรดาศักดิ์สูงกว่าเขา เห็นคนอื่นเป็นคนต่ำต้อยไปเสียหมดเห็นหน้าคน เป็นหน้าสัตว์ไปเสียหมด ! ความสำคัญอย่างนี้เป็นความสำคัญเข้าใจผิดๆ อย่างมากที่สุด

    เพราะเป็นเหตุให้เกิดมานะ จองหอง ทะนงตัว เป็นไฝฝ้า หรือเป็นรั้วปิดบังความดี จะทำความดีไม่ได้ แล้วก็จะไม่ได้ความร่วมมือจากใคร ๆ ก็ไม่สอนอีกแล้ว การทะนงตัวการมีทิฐิมานะ ใครเห็นแล้วรู้แล้วก็ปล่อยเลยตามเลย ตายก็ปล่อยให้ตายไป ภาษาธรรมะว่าเป็นไฝฝ้าปิดบังความดี ความจริงน่าจะได้ดีแต่ก็ดีไม่ได้ การมีทิฐิมานะ การทระนงตัว ความจองหองมันไปปิดบังเอาไว้หมด ถือตัวเป็นใหญ่ ว่าเป็นผู้รู้ มั่งมี ผู้ดี มียศสูงศักดิ์ กว่าเขา สำคัญว่าคนอื่นต่ำต้อยกว่า เป็นความสำคัญผิด เป็นเหตุให้เกิดมานะทิฐิ จองหอง เป็นไฝฝ้าปิดหูบังตาไม่ได้บรรลุความดี

    ผู้ใดเป็นดังนี้ คนทั้งหลายจะต้องตีตัวออกห่าง ใครๆ ก็ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เรื่องนี้จึงอยากฝากให้ทุกคนจงคิดพิจารณาเห็นความสำคัญที่ตัวเอง ๆ ที่สำคัญว่าถ้าเราได้ดี ทำดี มันจะดีไปเสียทุกอย่าง ถ้าคิดผิดทาง สำคัญมั่นหมาย ตัวเรารู้ตัวเราดี ตัวเรามีอะไร ๆ ที่ยิ่งกว่าคนอื่น เห็นคนอื่นต่ำต้อยกว่า เป็นการสำคัญผิด เป็นเหตุให้เกิดมานะทิฐิจองหอง ไม่ยอมลดข้อให้ใครในที่สุดจะมีความได้อย่างไร

    ใครคนใดที่เป็นอย่างนี้ ยากที่ใครจะชอบ ใครอยู่ใกล้ก็จะตีตัวออกห่างและไม่คิดจะอยู่ใกล้ แล้วเขาจะกลายเป็นคนที่เป็นปัญหาของสังคม เป็นที่น่ารังเกียจ ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย ภาษาธรรมะเรียกว่า “เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองหมักดองอยู่ในสันดานของเขา คนดีสละละเสียซึ่งความมั่นหมาย”

    แต่ตรงกันข้าม ถ้าใครมาเห็นความสำคัญที่ตัวเองด้วยการพินิจพิจารณาตามหลักที่ว่า “อัตตัญญุตา” คือ ความรู้จักตนเองว่า มาด้วยชาติ ว่ามาด้วยตระกูลๆ ไหน ? สูงหรือต่ำอย่างไร ? ว่าด้วยยศศักดิ์ เรามียศ มีวิทยฐานะอย่างไร เป็นกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน เป็นครูบาอาจารย์ เป็นมหาเปรียญ เป็นเจ้าคุณ หรือพระครู หรือเป็นลูกวัดเขา เป็นลูกน้องเขา อะไรเหล่านี้เป็นต้น แล้วมาตั้งตัวตั้งตนอยู่ดี ตามฐานะของตน อยู่พอดิบพอดี กิริยาเป็นระเบียบเรียบร้อย ละมุนละไมมีศีลาจารวัตร งดงาม ใครเห็นก็น่าดูน่ารัก พูดจาปราศรัยออกมาใครได้ยินก็น่าฟัง น่าเอ็นดู พวกเด็ก ๆ ก็มีความเคารพ มิตรสหายก็มีความรักใคร่ ผู้หลักผู้ใหญ่มีความกรุณาเอ็นดู คนที่วางตัวอย่างนี้ สำคัญมั่นหมายตัวอย่างนี้นับว่าเป็นคนดี ไม่มีข้าศึกศัตรูที่ไหนมา เด็ก ๆ ก็มีความเคารพ มิตรสหายรุ่นเดียวกัน หรือต่างรุ่นก็รักใคร่ ผู้ใหญ่ก็ให้ความเอ็นดู เขาก็จะได้อยู่เย็นเป็นสุข ไม่อยู่ร้อนนอนทุกข์ เป็นคนดีมีชื่อเสียง ใครเขาก็สรรเสริญเยินยอด้วยความจริงใจ

    “อัตตัญญูตา” คือ ความรู้จักตน และก็ประพฤติปฏิบัติให้สมกับฐานะของตัว ว่าฐานะของเราเป็นอย่างไร? และวัด บ้าน โรงเรียน สถานที่ราชการ เราควรวางตัว ทำตัวอย่างไร มันมีคนพร้อมหมด เช่น พระเณร ก็มี ชาวบ้าน นักเรียนก็มี ทหารตำรวจ นายสิบนายพัน ปริญญาตรี โท เอก ก็มี นี่เป็นวิทยฐานะและใครก็ไม่ได้ถือตัวว่าเรามีวิทยฐานะอย่างไร อ้นนี้ขอฝากไว้เป็นข้อคิด อยู่พอเหมาะพอดีมีศีลาจารวัตรอันงดงาม สงบเสงี่ยมเจี่ยมตัว การพูดจาปราศัยก็พูดเฉพาะที่จะเป็น ที่ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องพูด การที่จะพูดจาอะไรจะต้องนึกคิดพิจารณาเสียก่อน ใช้สติสัมปชัญญะไตรตรองให้รอบคอบเสียก่อนว่าสมควรหรือไม่ อย่างนี้เป็นการดี จะทำอะไร อย่าให้ขาดสติสัมปชัญญะ อย่าทำอะไรเหมือนคนตาบอด อย่าให้เข้าทำนองที่กล่าวว่า “คนโง่เอาใจไว้ที่ปาก” คือ คิดอะไรก็ไหลออกปากทันที จะไม่ดี

    ส่วน “คนฉลาดเขาเอาปากไว้ที่ใจ” คือ เวลาเขาจะพูด เขาจะคิดไตร่ตรอง ย้อนแล้วย้อนอีกว่าจะมีผลดี ผลเสีย และมีผลกระทบทั้งส่วนตนเองและคนรอบข้าง อย่างไร หรือไม่ ? ซึ่งเขาจะกลั่นกรองเสียก่อนจึงพูดออกมา อันนี้ให้จำใส่ใจเอาไว้ นี้คือ “อัตตัญญุตา” คือการรู้จักวางตนหรือทำตนอย่างไร ?

    นอกจากรู้จักตน ตั้งตนให้อยู่พอเหมาะพอดี แล้วก็จงพยายามพัฒนาตนเองให้เป็นที่พึ่งของตัวเองได้ด้วย อย่าได้คอยแต่จะพึ่งพาอาศัยคนอื่น เช่นว่าเราเป็นเด็กไม่รู้เดียงสา ตอนนั้น เราก็จะพึ่งพาอาศัยพ่อแม่เราอยู่ พอโตขึ้นมาเราก็พึ่งครูอาจารย์ เมื่อมีงานการอะไรเราก็พึ่งเจ้าของกิจการ และเพื่อน มิตรสหาย แต่ผู้ที่เป็นที่พึ่งของเราอย่างนั้นเป็นได้บางอย่าง และชั่วครั้ง ชั่วคราว พึ่งได้ตามแต่เขาจะกรุณา เช่นพ่อแม่ เราพึงท่านได้ ท่านให้ความอุปการะคุณเลี้ยงดูทุกอย่างก็แต่ในช่วงที่ท่านยังแข็งแรงหรือเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อไม่อยู่ในฐานะดังกล่าวแล้ว เราก็ไม่สามารถพึ่งได้

    ครูอาจารย์ก็เหมือนกันเป็นที่พึ่งของเราก็ได้เพียงการแนะนำพร่ำสอน ถ้าเราเป็นนักเรียนที่ถูกดื้อถือรั้น สอนสั่งไม่ปฏิบัติตาม ครูอาจารย์ก็จะเอาเราคือ จะไม่เมตตา หรือถ้าท่านเมตตาก็เป็นได้ช่วงหนึ่งแห่งชีวิตของเราเมื่อยังเป็นนักเรียน แต่เมื่อเราจบมาแล้ว ๆ เรายังจะต้องพึ่งครูตลอดไปคงไม่ได้

    ส่วนรายอื่น ๆ ก็เช่นกัน มีเพื่อน มิตรสหาย เจ้านายที่ทำงาน หรือผู้คนรอบข้างในสังคม ถ้าเราปฏิบัติตัวเป็นคนดี ใคร ๆ เขาก็อยากคบค้าสมาคม หรือเป็นที่พึ่งพาอาศัย ในยามที่เราเดือดร้อน บางคนแม้แต่คำแนะนำเขาก็ไม่อยากช่วยเหลือเพราะเราไม่เป็นคนดีนั่นเอง ดังนั้นการพึ่งที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุดในชีวิตก็คือ “การทำตัวเองให้ดี และก็พึ่งตัวเอง”

    ข้อสำคัญที่สุดคือ การรู้จักตนเอง ควรที่จะได้นึกเน้นให้มันลึกเข้าไป พยายามฝึกหัดดัดสันดานของตัวเอง พยายามปกครองตนเองให้มันได้ ให้ตนเองเป็นที่พึ่งของตนเองได้จริงๆ

    เมื่อเรารู้แล้วอย่างนี้ว่าเราจะทำอย่างไร? เราก็พินิจพิจารณาความสำคัญที่ตัวของเราเอง จึงขอฝากไว้เป็นที่พิจารณาว่าตัวของเราเป็นสิ่งที่สำคัญ อะไรที่ไหน ทุกสิ่งทุกอย่าง ร้ายดีถี่ห่างอยู่ที่ตัวของเราทั้งหมด เขาจะรักเรา หรือว่าชังเราก็อยู่ที่ตัวของเรานี่แหละ

    จงมองดูที่ตัวของเราให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ถ้าหากว่าจะติคนอื่นก็ขอให้ติตัวเราเสียก่อน จะโทษคนอื่นก็จงโทษตัวเราก่อน ถ้าตัวเราดีแล้วใครเล่าเขาจะมาติ มาด่า มาว่าเรา ทำร้ายเรา ก็ไม่มี

    สิ่งต่างๆ ที่มันเกิดขึ้น กับเราเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากตัวของเรานี่เอง จงพยายามโทษที่ตัวเอง จงอย่าลืม “ คนโง่เอาใจไว้ที่ปาก คนฉลาดเอาปากไว้ที่ใจ” จงพยายามฝึกหัดดัดสันดานตัวเองเข้าไว้ ให้เด็กเห็นเกิดความเคารพรัก ให้เพื่อน ๆ เห็นก็รักใคร่ ให้ผู้ใหญ่เห็นก็เอ็นดู นี้จึงนับว่าได้ทำตัวเองให้มีคุณค่าของความเป็นคนขึ้นมา

    [​IMG]

    ที่มา ธรรมะพระป่ากรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น
     
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    การพิจารณาสติปัฏฐานสี่ เราจะเรียงลำดับมาใช่ไหม กายเสียก่อน เวทนาเสียก่อน จิต แล้วก็ธรรมใช่ไหม ไม่ใช่อย่างนั้น จะพิจารณาอะไรก็ได้ ถ้าเรามีความถนัดตรงไหน ก็ยึดสติปัฏฐานนั้นมาพิจารณา

    แต่ถึงยังไงก็ตาม ในเมื่อเราสติอยู่ในกายเห็นชัดเจน สติของเราแน่วแน่ สติของเราดี เห็นกายกำหนดตรงไหน จับจุดนั้นไม่ขยับเขยื้อน สติเราจับที่ตรงไหนอยู่ที่ตรงนั้น ไม่คลาดเคลื่อน เห็นอยู่ตลอด เมื่อเราพิจารณาจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน จะเห็นได้ชัด

    แต่ถ้าหากเราพิจารณากายยังเลือนๆลางๆ จับผิดจับถูก จะพิจารณาเวทนาก็ยังพอไหว แต่พิจารณาจิตตากับพิจารณาธัมมาจะจับไม่ได้เลย เพราะขนาดกายหยาบๆยังพิจารณาตะครุบหน้าตะครุบหลัง แล้วจะพิจารณาถึงจิตตา ธัมมา ซึ่งละเอียดกว่าไม่ได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงให้พิจารณาส่วนหยาบเสียก่อน

    หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
    พระธรรมเทศนา “ธรรมะอนัตตา”
    แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๘

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “พบพระอาจารย์มั่น ผู้ชี้ทางสว่าง”

    (ธรรมประวัติ หลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล)

    ครูบาอาจารย์เฒ่าได้ติดตามสืบหาจนได้พบหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ขณะนั้นท่านพำนักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ซึ่งแต่ก่อนเป็นป่าที่เหมาะในการภาวนามาก จึงได้ไปกราบท่านขอพักอยู่กับท่าน ๓-๔ วันเพื่อขอรับฟังโอวาทจากท่าน หลวงปู่มั่นได้เมตตาให้อุบายในการปฏิบัติ และไล่ให้ไปปฏิบัติเอง ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ได้กราบลาหลวงปู่มั่น ออกปฏิบัติตามคำแนะนำตามลำพัง ยิ่งปฏิบัติไปในความรู้สึกมีแต่ความหนักไปหมด นั่งก็หนัก ยืนก็หนัก นอนก็หนัก แก้ไม่ตก จึงคิดถึงหลวงปู่มั่นขึ้นมาและกลับไปกราบท่านอีกครั้งหนึ่ง เมื่อไปกราบหลวงปู่มั่น ท่านก็ถามว่า

    “เป็นจั่งได๋การปฏิบัติ”

    ครูบาอาจารย์เฒ่าบอกว่า ไม่รู้จะเอาอะไรมาบอกกับหลวงปู่มั่น เพราะไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้น มีแต่หนักอย่างเดียว เดินก็หนัก นอนก็หนัก นั่งก็หนัก

    หลวงปู่มั่นพูดเป็นเชิงดุว่า

    การปฏิบัติอยากแต่ให้มันสงบ
    เอาแต่ตัณหาเข้าไปทำ_มันจะเห็นอะไร”

    แล้วหลวงปู่มั่นท่านได้ไล่ให้ไปปฏิบัติอีก

    ด้วยวิสัยที่ดุดัน เอาจริงเอาจังเป็นทุนอยู่แล้ว เมื่อท่านได้ยินหลวงปู่มั่นท่านดุ เหมือนกับว่า ท่านให้กำลังใจ จึงได้สะพายบาตรแบกกลดมุ่งหน้าสู่ป่าหนาดงทึบ คราวนี้เอาจริงยิ่งกว่าเดิม ทั้งเดินจงกรมนั่งสมาธิทั้งคืนทั้งวัน ให้เวลาในการพักผ่อนน้อย ฉันก็ลดน้อยลง จนมีอยู่วันหนึ่งขณะเดินจงกรมอยู่อาการที่ว่า “หนัก” ไม่รู้หายไปไหน กลับมีแต่ความเบากายเบาใจ เดินไปทางไหนเหมือนกับจะปลิวไป ไม่สามารถจะเล่าให้ใครฟังถูก ปฏิบัติติดต่ออยู่นาน อาการเบานั่นก็ยังเหมือนเดิม จึงคิดว่า

    “นี่หรือ ที่ครูบาอาจารย์มั่นบอกว่าอาการของจิตสงบ”

    และได้กลับไปหาหลวงปู่มั่นอีกครั้ง

    เมื่อกลับไปกราบหลวงปู่มั่นคราวนี้ ท่านไม่ดุเหมือนเมื่อก่อนและกราบเรียนท่านว่า “ขะน้อยเห็นแล้วจิตสงบ”

    “มันเป็นจังได๋ จิตสงบ” หลวงปู่มั่นถาม

    “จิตสงบนั้นมันเบากายเบาใจ ในอิริยาบถได๋มันกะเบา บอกบ่ถืก”

    ครูบาอาจารย์เฒ่าเล่าให้หลวงปู่มั่นฟังถึงอาการต่างๆ ที่ได้ประสบจากการทำความเพียรจนหมดสิ้น

    คราวนี้หลวงปู่มั่นท่านได้แนะนำแนวทางปฏิบัติต่อ โดยท่านให้พิจารณาขันธ์ ๕ ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาให้เห็นแล้วให้ย่อเข้ามา คือ กายกับใจ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นของไม่มีตัวตน แยกมันให้ออก

    หลังจากได้คำอธิบายจากหลวงปู่มั่นแล้ว ก็กราบลาท่านอีก ได้ออกปฏิบัติเอง แล้วก็ได้นำอุบายที่หลวงปู่มั่นให้ มาพิจารณากลับไปกลับมา อยู่เป็นเวลานานหลายเดือน จนก่อนเข้าพรรษาที่ ๓ ก็ปรากฏสภาวะทุกอย่างลงตัว เกิดปีติขึ้นในจิตใจ สว่างโร่ทั้งกลางวันกลางคืน เห็นทุกสิ่งทุกอย่างไม่แตกต่างกันอย่างไร โลกทั้งโลกไม่สงสัยอะไร คิดอยู่ในใจว่า ถ้าจะมีปัญหาร้อยแปดพันปัญหา ก็ไม่สงสัย อาการของจิตใจในขณะนั้นนิ่งมาก ไม่มีอะไรทำให้หวั่นไหวได้อีกต่อไป ยิ่งในอาการดังกล่าวยากที่จะบรรยายถ่ายทอดให้คนอื่นรู้ได้ นอกจากตัวเอง ที่เรียกว่า “ปัจจัตตัง”

    ท่านได้ธุดงค์ไปรูปเดียว ไปตามป่าบ้าง ภูเขาบ้าง ไปถ้ำใดเข้าได้หมด ด้วยความอาจหาญ ไม่คิดกลัวสัตว์ร้าย หรือสิ่งต่างๆ จะมาทางไหนก็ไม่กลัว จะบอกว่าทั้งความกลัวและความสงสัยต่างๆ ไม่เป็นเรื่องหนักใจอีกต่อไปก็ไม่ผิด

    ลูกศิษย์รูปหนึ่งเคยได้ยินครูบาอาจารย์เฒ่าพูดอยู่เสมอว่า

    “คำสอนถึงจะมีมากมายสักเพียงไร ก็ไม่เท่าการปฏิบัติให้เห็นเอง”

    จึงได้ถามครูบาอาจารย์เฒ่าไปว่า

    “ที่ว่าคำสอนไม่เท่าการปฏิบัติ มันเป็นอย่างไร ครับ”

    ครูบาอาจารย์เฒ่าตอบว่า

    “การที่ฟังจากคนอื่นพูด เป็นได้แค่แนวทางเท่านั้น ผู้อื่นไม่สามารถบอกผลการปฏิบัติเป็นคำพูดได้ สิ่งที่เกิดนั้นมันจะเกิดขึ้นเอง หากมีการปฏิบัติด้วยการทำกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์ ศีล สมาธิ ปัญญา จึงจะเกิดเอง เรื่องอารมณ์เล็กๆ น้อยๆ อย่าข้าม ถ้าศีลบริสุทธิ์ สมาธิและปัญญาจะก้าวหน้า นั่งสมาธิบางทีก็มีคำถามและคำตอบขึ้นมาพร้อม ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ เข้าป่าเป็นพระกรรมฐานไม่ได้ ผีหักคอบ้าง เสือกินบ้าง พระที่ศีลไม่บริสุทธิ์ เสือกัดตาย ตามถ้ำตามเขาเห็นกระดูกกองถมไป”

    [​IMG]

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...