ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “ธรรมแท้เป็นอกาลิโก มีอยู่ทุกกาลสถานที่”

    (ธรรมเทศนา หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต)
    (วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู)

    เอ้า ต่อนี้ไปตั้งใจฟังธรรมะ ธรรมะที่จะนำมาแสดงในวันนี้ก็ไม่ได้แบกเอาจากตู้พระไตรปิฎกที่ไหนมาแสดงดอก แม้ไปเทศน์อยู่กรุงเทพก็ไม่ได้แบกตู้พระไตรปิฎกไปเทศน์ ให้ถือว่าธรรมะมีอยู่ทุกเมื่อ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า “สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม” พระธรรมเราตรัสไว้ดีแล้ว หมายความว่า พระพุทธเจ้าชี้แนะแนวทางให้พวกเราทั้งหลายเข้าใจเรื่องของธรรม เพราะพระธรรมนั้นไม่ต้องไปหา ผู้ใดหาผู้นั้นชื่อว่าหิว ผู้ใดหาผู้นั้นชื่อว่าหลง ถ้ายังหาพระธรรมอยู่เรียกว่าหลง เพราะพระธรรมบอกว่า “อกาลิโก”

    อกาลิโก หมายถึงว่า ไม่มีกาลไม่มีเวลา ให้กาลให้ผลอยู่ทุกเมื่อ ไม่ว่าค่ำคืน ยืนนั่ง ไม่ว่าเราจะบวชหรือไม่บวช ไม่ว่าเราจะเข้าวัด อยู่ในบ้าน ถ้าปฏิบัติลงไปแล้วให้ผล ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติไม่มากก็น้อย ขอให้ลงมือทำ ท่านจึงเรียกว่า อกาลิโก

    เอหิปสฺสิโก ท่านทั้งหลายจงมาดูธรรมเถิด พระพุทธเจ้าบอกว่ามาดูธรรม อะไรเป็นธรรม กุสลาธมฺมา อกุสลาธมฺมา อะไรมันเป็นกุสลาธัมมา อะไรเป็นอกุสลาธัมมา อะไรเป็นบาป อะไรเป็นบุญ ถ้าไม่ใช่หัวใจของเรา นี่ตรงนี้ ตรงหัวใจนี้ เอหิปัสสิโก มาดูใจของตัวเองนี้ อย่าไปมัวพะวงหลงใหลดูใจคนโน้นคนนี้ ขาดทุนหมด พระพุทธเจ้าบอกว่า ชี้ให้มาดูหัวใจของเรานี่ เป็นธรรมหรือเปล่า เป็นวินัยหรือเปล่า เป็นดีหรือเปล่า เป็นชั่วหรือเปล่า เป็นบุญหรือเปล่า เป็นนรกสวรรค์หรือเปล่า ชี้ลงมาที่ใจเลย ทุกคนมีใจ

    [​IMG]

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เชื่อมเนื้อหาในประวัติหลวงปู่ตื้อ

    หลวงปู่บุญทัน ฐิตปัญโญ วัดป่าประดู่ ตำบล เมืองเก่า อำเภอ กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี ท่านเป็นศิษย์ยุคต้นของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และยังเป็นพระสหธรรมิกกับหลวงปู่ตื้อ หลวงปู่บุญทันท่านเป็นองค์หนึ่งที่มีบารมีด้านฤทธิ์สูงไม่ธรรมดารูปหนึ่งในสายพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น แต่ท่านมักจะ “ห้าม” ลูกศิษย์ลูกหาเรียนทางด้านนี้ ท่านว่า มันเป็นของเล่นทำให้เสียเวลาเว้นแต่เป็นบารมีเก่ามาเดิม หลวงปู่บุญทัน ฐิตปัญโญ ท่านเป็นชาวศรีสะเกษ ก่อนฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเล่าเรียนด้านวิชาอาคม คุณไสย ต่างๆจากแดนเขมร เช่น วิชาบิดไส้-บังฟัน-เสน่ห์ยาแฝด-เสกหนังเข้าท้อง-ผีพราย-เสือเสมิง ฝังรูปฝังรอย-ยาสั่งและสิ่งอาถรรพณ์ต่างๆ และศึกษาวิชาอาคมต่างๆจากฝั่งลาว โดยเรียนจากอาจารย์เตี้ย ซึ่งเป็นศิษย์ของสำเร็จลุน และหลวงปู่ก็มาฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น
    .
    หลวงปู่บุญทัน ท่านเล่าว่า ในระหว่างที่ท่านเร่งความเพียร อย่างหนัก ทำให้ท่านหลงสำคัญตนว่า ท่านสำเร็จหมดจากกิเลสแล้ว (ซึ่งจริงๆ แล้วท่านเข้าใจผิด เนื่องมาจากอาการวิปลาสจากการภาวนา หรือวิปลาสเนื่องมาจากวิปัสสนูปกิเลส)
    .
    จึงได้ออกติดตามหาหลวงปู่มั่น เพื่อจะแจ้งความในใจให้พระอาจารย์ ได้รับรู้ หลวงปู่บุญทันท่านเหาะไปในระดับยอดไม้
    หลวงปู่ตื้อไปยืนแหงนหน้าขึ้นไปบนท้องฟ้า ทำท่ารอดูหลวงปู่บุญทัน แล้วพูดเตือนท่านด้วยเสียงอันดังว่า
    โน่น พระอรหันต์ผีบ้า พระอรหันต์โลกีย์ พระอรหันต์เวียนตาย เวียนเกิด มาแล้ว โน่นเหาะมาแล้ว?
    .
    ก่อนที่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จะมรณภาพในปี พ.ศ. 2520 นั้นหลวงปู่บุญทันได้บอกกับพระลูกศิษย์ของท่านที่วัดป่าประดู่ในตอนเช้าของวันที่ 29 ธันวาคม 2519 ว่า เมื่อคืนนี้จารย์ครูฝั้น ท่านได้มาลาจะมรณภาพ ” การที่หลวงปู่บุญทันท่านเรียกพระอาจารย์ฝั้นว่า จารย์ครู ก็หมายถึงว่าท่านเคารพนับถือเป็นเหมือนครูบาอาจารย์ ที่สอนชี้แนะในทางปฏิบัติให้แก่ท่านนั้นเอง
    .
    และการมาบอกลานี้ก็มาในลักษณะที่ท่านส่งกระแสจิต มาบอก ในตอนที่หลวงปู่บุญทัน ท่านกำลังนั่งสมาธิอยู่ หลวงปู่บอกว่าเป็นธรรมเนียมของพระในสายของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่จะต้องมาบอกลากัน และแล้วพอในวันที่ 4 มกราคม 2520 ข่าวหลวงปู่ฝั้น มรณภาพก็แพร่กระจายออกไปทั่วประเทศ

    Cr. @เกียรติชัย เสนจันตะ

    .jpg
    .jpg
    .jpg

    ที่มา ธรรมะของพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “หลวงปู่กินรี จันทิโย เป็นครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อชา สุภัทโท ให้ความเคารพเลื่อมใสเทิดทูนบูชา”

    (จากธรรมประวัติ หลวงพ่อชา สุภัทโท)

    ๐ หลวงพ่อชาปรารภถึงครูบาอาจารย์หลวงปู่กินรี

    หลวงพ่อเดินทางไปยังวัดป่าหนองฮี ตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ซึ่งมี หลวงปู่กินรี จนฺทิโย เป็นประหนึ่งร่มโพธิธรรมอยู่ที่นั่น ศึกษา ประพฤติปฏิบัติอยู่กับท่านหลายวันได้กำลังใจคืนมา ขณะนั้นเป็นฤดูแล้ง เป็นช่วงเวลาที่เหมาะต่อ การหลีกเร้นภาวนาในป่าตามธรรมชาติ หลวงพ่อจึงกราบลาหลวงปู่กินรีออกจาริกธุดงค์ ต่อไป

    ครั้นย่างเข้าฤดูฝนในปี พ.ศ.๒๔๙๐ ซึ่งเป็นพรรษาที่๙ ของหลวงพ่อ ท่านได้ย้อนกลับมา จำพรรษากับหลวงปู่กินรี จันทิโย ที่วัดป่าหนองฮี

    หลวงปู่กินรีเป็นครูบาอาจารย์ที่มีปฏิปทาเรียบง่ายน่าเคารพบูชา ชอบใช้ชีวิตโดดเดี่ยว มั่นคงในข้อปฏิบัติ มักน้อยสันโดษ บริขารเครื่องใช้ของท่าน ล้วนแต่เป็นของปอนๆ เรียบง่าย และส่วนใหญ่ท่านทำใช้เอง แม้ไม่สวยงาม แต่มันจะถูกใช้จนสึกกร่อนไปตามกาลเวลา

    อุปนิสัยพิเศษอย่างหนึ่งของหลวงปู่ คือ ความขยันในการงานทุกอย่างที่พระจะพึงทำได้ ท่านไม่เคยอยู่นิ่งเฉย นอกจากขณะทำสมาธิภาวนาเท่านั้น แม้ในวัยชรา หลวงปู่ก็ยังรักษาปฏิปทา นี้ไว้อย่างมั่นคง

    หลวงพ่อชาได้เล่าถึงปฏิปทาของหลวงปู่กินรีว่า

    ในพรรษาที่อยู่กับหลวงปู่นั้น ท่านเองทำความเพียรอย่างหนัก เดินจงกรมทั้งวัน ฝนตก แดดออกอย่างไรก็เดินจนทางจงกรมเป็นร่องลึก

    แต่หลวงปู่กลับไม่ค่อยเดิน บางครั้งเดินเพียงสองสามเที่ยวก็หยุด แล้วไปเอาผ้ามาปะ มาเย็บ หรือไม่ก็นั่งทำนั่นทำนี่ เราประมาท คิดว่าครูบาอาจารย์จะไปถึงไหนกัน เดินจงกรมก็ไม่เดิน นั่งสมาธินาน ๆ ก็ไม่เคยนั่ง คอยแต่จะทำนั่นทำนี่ตลอดวัน แต่เรานี่ปฏิบัติไม่หยุดเลย ถึงขนาดนั้นก็ยังไม่รู้ไม่เห็น อะไร ส่วนหลวงปู่ปฏิบัติอยู่แค่นั้น จะไปรู้เห็นอะไร เรามันคิดผิดไป หลวงปู่ท่านรู้อะไร ๆ มากกว่าเราเสียอีก คำเตือนของท่านสั้น ๆ และไม่ ค่อยมีให้ฟังบ่อยนัก เป็นสิ่งที่ลุ่มลึกแฝงไว้ด้วยปัญญาอันแยบคาย ความคิดของครูบาอาจารย์ กว้างไกลเกินปัญญาของเราเป็นไหนๆ ตัวแท้ของการปฏิบัติ คือ ความพากเพียรกำจัดอาสวะ กิเลสภายในใจ ไม่ใช่ถือเอากิริยาอาการภายนอกของครูอาจารย์มาเป็นเกณฑ์

    ในปีนั้นจีวรของหลวงพ่อเก่าคร่ำคร่า จนผุขาดเกือบทั้งผืน แต่ท่านไม่ยอมออกปากขอใคร หลวงปู่กินรีก็มองดูอยู่เงียบๆ ไม่ว่ากระไร

    วันหนึ่งหลวงพ่อนั่งปะชุนจีวรอยู่ ขณะเย็บผ้าคิดอยากให้เสร็จเร็ว ๆ จะได้หมดเรื่องหมด ราว แล้วไปนั่งภาวนา เดินจงกรมให้เต็มที่สักที หลวงปู่กินรีเดินมาหยุดยืนดูอยู่ใกล้ ๆ หลวงพ่อ ก็ยังไม่รู้ เพราะจิตกังวลอยากเย็บผ้าให้เสร็จเร็ว ๆ เท่านั้น

    หลวงปู่ถามว่า “ท่านจะรีบร้อนไปทำไมเล่า”
    “ผมอยากให้เสร็จเร็ว ๆ” “เสร็จแล้วท่านจะไปทำอะไร” หลวงปู่ถามอีก “จะไปทำอันนั้นอีก” “ถ้าอันนั้นเสร็จ ท่านจะทำอะไรอีก” หลวงปู่ถามต่อ “ผมจะทำอย่างอื่นอีก” “เมื่ออย่างอื่นของท่านเสร็จ ท่านจะไปทำอะไรอีกเล่า ?”

    หลวงปู่กินรี ให้ข้อคิดว่า

    “ท่านรู้ไหม นั่งเย็บผ้านี่ก็ภาวนาได้ ท่านดูจิตตัวเองสิว่า เป็นอย่างไร แล้วก็แก้ไขมัน ท่านจะรีบร้อนไปทำไมเล่า ทำอย่างนี้เสียหายหมด ความ อยากมันเกิดขึ้นท่วมหัว ท่านยังไม่รู้เรื่องของตัวเองอีก”

    คำพูดสั้น ๆ แต่มีความหมายและเจือความปรารถนาดีของหลวงปู่ ทำให้หลวงพ่อหูตา สว่างขึ้น ท่านปรารภให้ฟังว่า “เรานึกว่าทำถูกแล้ว อุตสาห์รีบทำ อยากให้มันเสร็จเร็ว ๆ จะได้ภาวนา แต่ที่ไหนได้ เราคิดผิดไปไกลทีเดียว”

    อยู่ต่อมา หลวงปู่กินรีปรารภกับญาติของท่านว่า มีพระรูปหนึ่งมาอยู่ด้วย จีวรขาดหมดแล้ว ช่วยตัดจีวรใหม่ถวายท่านด้วย พอดีมีคนเอาผ้าฝ้ายด้ายดิบเนื้อหนามาถวาย หลวงปู่กินรีจึงให้แม่ชี ช่วยกันตัดเย็บถวายหลวงพ่อชา หลวงพ่อเล่าถึงความรู้สึกตอนนั้นว่า “ดีใจที่สุด ใช้อยู่ตั้งหลายปีก็ยังไม่ขาด ใส่ใน ครั้งแรกดูกระปุกกระปุย เพราะผ้าหนาและแข็งกระด้าง ยิ่งใส่สังฆาฏิซ้อนเป็นสองชั้น ยิ่งดูตัวเองอ้วนใหญ่ เวลาเดินดังสวบสาบ ๆ เพราะผ้ามันแข็ง ใส่ไปตั้งปีสองปีผ้าจึงอ่อน แต่เราก็ไม่เคยบ่น ได้อาศัยผ้าผืนนั้นมาเรื่อย ยังนึกถึงบุญคุณของท่านอยู่เสมอ”

    เมื่อปัญหาเรื่องเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งทำให้ใจเร่าร้อนกระสับกระส่ายถูกดับลงด้วยการภาวนา และหยาดน้ำใจจากครูอาจารย์ผ่านไปไม่นาน ศัตรูคู่ปรับเก่า ที่หลวงพ่อเคยออกปากในทำนองว่า ยากยิ่งสิ่งเดียวได้หวนกลับมาย่ำยีจิตใจอีกครั้ง

    คืนหนึ่ง ขณะหลวงพ่อชาพากเพียรภาวนาอยู่ตามลำพัง อารมณ์แห่งกามราคะได้เกิดขึ้น คืนนั้นไม่ว่าจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ หรือพลิกยุทธวิธีใดๆ ก็ไม่สามารถกำราบกิเลสมาร ลงได้ “รูปลักษณ์ของอวัยวะเพศหญิง” ปรากฏเป็นมโนภาพเด่นชัดตลอดเวลา เกิดความรู้สึกทางธรรมชาติของบุรุษอย่างรุนแรง จนแทบภาวนาต่อไปไม่ได้ ต้องอดทนต่อสู่กับความรู้สึกและ มโนภาพนั้นอย่างยากเย็น หลวงพ่อเปรียบเทียบว่า จิตใจถูกกิเลสย่ำยี อย่างหนัก พอๆ กับครั้งที่เกิดความกลัวใน คราวอยู่ ป่าช้าครั้งแรกนั่นเอง การต่อสู้กับราคะดำเนินไปอย่างดุเดือด ขับ เคี่ยวรุกไล่กันอยู่ถึง ๑๐ วัน ความรู้สึกและมโนภาพ นั้นจึงได้เลือนหายไป หลังการต่อสู้กับกามราคะในวันนั้น หลวงพ่อ ยิ่งบากบั่นเร่งภาวนาหนักขึ้น เพื่อสร้างเกราะ และ ภูมิคุ้มกันภัยให้มั่นคง ศรัทธาและกำลังใจกล้าแกร่ง ขึ้นตามลำดับ

    คืนหนึ่งในพรรษานั้น หลังทำความเพียรเป็นเวลาพอสมควร หลวงพ่อได้ขึ้นไปพักผ่อนบน กุฏิ กำหนดสติเอนกายลงนอน พอเคลิ้มไปเกิดนิมิตเห็นหลวงปู่มั่น เดินเข้ามาหยุดยืนอยู่ใกล้ ๆ แล้วส่งลูกแก้วให้ลูกหนึ่ง พร้อมกับกล่าวว่า

    “ชา เราขอมอบลูกแก้วนี้แก่ท่าน”

    มันมีรัศมี สว่างไสวมากนะ ในนิมิตนั้น ปรากฏว่าตนได้ลุกขึ้นนั่ง พร้อมกับยื่นมือไปรับลูกแก้วจาก หลวงปู่มั่นมากำไว้ พอรู้สึกตัวตื่นขึ้นแปลกใจมาก ที่พบตัวเองนั่งกำมืออยู่ดังในความฝัน จิตใจ เกิดความสงบระงับผ่องใส พิจารณาสิ่งใดไม่ติดขัด มีความปลื้มปิติตลอดพรรษา หลวงพ่อได้อยู่ร่วมศึกษาปฏิบัติและอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่กินรีเรื่อยมา กระทั่งถึงฤดูแล้ง ของปี พ.ศ.๒๔๙๙๑ หลวงพ่อจึงได้กราบลาครูบาอาจารย์จาริกต่อไป ก่อนจาก หลวงปู่กล่าวตักเตือนศิษย์สั้น ๆ ตามอัธยาศัยของท่านว่า “ท่านชา อะไรๆ ในการปฏิบัติ ท่านก็พอสมควรแล้ว แต่อยากให้ระวังเรื่องการเทศน์นะ”

    [​IMG]

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรียกเมนูด่วน

    หลวงพ่อคำพอง ติสโส

    วัดถ้ำกกดู่ ตำบลโนนหวาย อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

    จากหนังสือ ติสฺสตฺเถรานุสรณ์

    จัดพิมพ์เพื่อแจกเป็นธรรมทานในงานประชุมเพลิงศพ

    พระครูสุวัณโณปมคุณ (หลวงพ่อคำพอง ติสฺโส)

    ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

    (๑) ชีวิตเยาว์วัย (พ.ศ. ๒๔๖๕–๒๔๘๕)

    หลวงพ่อเกิดเมื่อเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอ ที่บ้านกุดตะกร้า ต.สงเปลือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับ จ.ยโสธร) โยมพ่อ ชื่อบุญนาค โยมแม่ชื่อหลุน นามสกุล สงเคราะห์ อาชีพทำนา มีบุตร และบุตรธิดารวม ๘ คน หลวงพ่อเป็นคนที่สอง ดังนี้

    ๑. นางทองคำ สงเคราะห์ (ถึงแก่กรรม)

    ๒. หลวงพ่อคำพอง ติสโส

    ๓. นางแก้ว โสดาหนู

    ๔. นายทุมมี สงเคราะห์

    ๕. นายสีปู สงเคราะห์ (ถึงแก่กรรม)

    ๖. นายสุบิน สงเคราะห์

    ๗. นางแหวน สีโท (ถึงแก่กรรม)

    ๘. นายปิ่น สงเคราะห์

    พ.ศ. ๒๔๗๓ หลวงพ่ออายุได้ ๙ ขวบ โยมพ่อได้อพยพครอบครัวไปอยู่ที่บ้านกุดฉิม ต.นามะเฟือง อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี ซึ่งน้ำไม่ท่วมและไม่แห้งแล้งเหมือนที่บ้านกุดตะกร้า อพยพโดยเกวียนเล่มเดียว จากบ้านตะกร้าถึงบ้านกุดฉิม รวม ๑๘ คืน ทำมาหากินอยู่ที่นี่ได้ ๕ ปี (อ.หนองบัวลำภู ปัจจุบันเป็น จ.หนองบัวลำภู)

    พ.ศ. ๒๔๗๘ โยมพ่อได้ย้ายมาที่บ้านกุดเต่า ต.บ้านขาม อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี ซื้อที่ทำกินไว้ประกอบอาชีพทำนาเช่นเดิม

    พ.ศ. ๒๔๘๓ หลวงพ่ออายุได้ ๑๘ ปี โยมแม่ก็ตาย เนื่องจากป่วยเป็นไข้มาลาเรีย โยมพ่อรับภาระเลี้ยงดูบุตรและธิดาที่เหลือทั้งหมด

    หลวงพ่อได้ช่วยโยมพ่อโยมแม่ทำมาหากินมาตลอด ไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน จึงอ่านหนังสือไม่ออก

    หลวงพ่อต้องรับภาระแทนโยมแม่ในการดูแลเลี้ยงน้อง และช่วยโยมพ่อทำมาหากินอย่างขยันขันแข็ง มีนิสัยโอบอ้อมอารีชอบช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เห็นเพื่อนมนุษย์เป็นมิตร ไม่มีศัตรู เป็นที่ชอบพอของชาวบ้านในหมู่บ้าน จนวันหนึ่งมีผู้หญิงมาชอบพอท่าน ไปพักที่บ้านถึง ๑๕ วัน พอหลวงพ่อทราบเรื่อง จึงหนีออกจากบ้านไปฝึกมวยที่ อ.หนองบัวลำภู

    ช่วงอายุ ๑๘ ปีนี้ หลวงพ่อได้หันเหชีวิตไปฝึกซ้อมมวยไทยกับครูสมพงศ์ เวชประสิทธิ์ ที่ อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี ติดตามครูสมพงศ์ ขึ้นชกตามเวทีต่างๆ รวมทั้งเวทีราชดำเนิน สมัยยังล้อมรั้วด้วยสังกะสีเก่าๆ จนกระทั่งครั้งสุดท้ายขึ้นเวทีชกกับศิษย์ครูเดียวกัน (ครูพยัคฆ์ เทียมคำแหง ซึ่งหลวงพ่อเคยฝึกอยู่ด้วย) ที่เวที อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ไม่มีใครแพ้ชนะ กรรมการยกมือให้เสมอกัน

    ผลการชกที่เสมอกันนี้ สร้างความผิดหวังให้กับหลวงพ่อเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ชกมวยมาไม่เคยเสมอเลย ถ้าแพ้ก็ให้แพ้ ชนะก็ให้ชนะกันไป ปีนั้นเลยตั้งใจว่าจะฝึกให้เก่งขึ้นอีก ทราบข่าวครูมวยที่ไหนดีก็จะเข้าไปฝึกฝนอยู่ด้วย

    (๒) มูลเหตุของการบวช (พ.ศ. ๒๔๘๕)

    ปีนั้นจวนเข้าพรรษา โยมพ่อรับสร้างกุฎีพระมา ๑ หลัง ได้เรียกหลวงพ่อมาช่วยสร้างกุฎี หลังจากนั้นโยมพ่อและโยมลุงปรึกษากัน ขอให้หลวงพ่อบวชที่วัดหลวงปู่ขัน ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าของหลวงพ่อ แต่หลวงพ่อยังไม่ได้รับปากในเรื่องนี้แต่อย่างใด

    วันหนึ่งในระหว่างนั่งเหลาไม้ทำงานบ้านอยู่ ก็มาคิดนิยายเก่าๆ ที่เคยได้ยินเขาเล่นและอ่านสืบๆ ต่อมา เช่น รามเกียรติ์ สิงหลชัย ลักษณวงศ์และประวัติพระพุทธเจ้า เป็นต้น มาพิจารณาดู

    ทศกัณฑ์ในรามเกียรติ์นี่ ถึงจะเก่งวิเศษวิโสเท่าไหร่ก็ตาม พระราม พระลักษณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีศีลธรรมเป็นที่ตั้ง ในที่สุดทศกัณฑ์ก็ต้องตาย

    พระลักษณวงศ์ถือแต่ศีลอย่างเดียว สู้กับยักษ์มืดฟ้ามัวดิน เป็นหมื่นเป็นแสนได้ยังสู้ไหว คนเดียวเท่านั้น

    เอ…..เรานี่ กำปั้นหุ้มนวมจะไปสู้กับคนทั้งโลกไหวหรือ มันต้องอาศัยศีลธรรมเข้าช่วยถึงจะได้

    (๓) ออกบวช (พรรษาที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๘๖)

    พอตัดสินใจแล้วก็ไปบอกโยมพ่อโยมลุงว่า “ผมจะบวช”

    พ.ศ. ๒๔๘๖ เดือน ๕ ก็ไปอยู่วัด หลงปู่ขันให้ช่วยสร้างกุฎี เลื่อยไม้ ประกอบการงานในวัด กินข้าวเพียงมื้อเดียว ซึ่งมีความเหน็ดเหนื่อยเป็นธรรมดาของเด็กที่ยังไม่ได้รับการฝึกฝน

    วันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ เดือน ๖ อายุ ๒๑ ปี หลวงพ่อก็อุปสมบทที่วัดมหาชัย ต.หนองบัว อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี โดยมีพระครูพิศาลคณานุกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ (วัดนี้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานภาคอีสานเคยมาพักเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖) พระอธิการจันทร์ จันทธัมโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    พรรษาแรก ตั้งใจทำความเพียรอยู่กับหลวงปู่ขัน นั่งภาวนาแข่งกับพระที่วัด ใครนั่งได้ตลอดแจ้ง (ตลอดคืน) อดข้าวแข่งกัน ใครจะอดได้นาน

    อดข้าวอยู่ได้ ๗ วัน ภาวนาตลอดคืนได้ ๒-๓ คืน ก็เพลีย สู้ไม่ไหว แต่ก็อยู่ได้ตลอดพรรษา

    (๔) พบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ (พรรษาที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๗)

    หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อจิตใจวุ่นวายไม่อยากอยู่วัด เนื่องจากหลวงปู่ขัน เจ้าอาวาส ชวนสึกออกไปทำมาหากินด้วยกัน จึงลาจากวัดออกเดินทางด้วยเท้าไปพร้อมกับศิษย์มุ่งหน้าไปนมัสการพระธาตุพนม จ.นครพนม จนครบ ๑๕ วัน แล้วย้อนกลับมา จ.สกลนคร ถึงบ้านโนนงาน บ้านหนองบ่อ อ.นาแก จ.นครพนม แดดร้อนจัดและฉันน้ำกับลูกศิษย์อยู่ ระหว่างนั้นมีพระบ้านฉันน้ำด้วย เล่าให้หลวงพ่อฟังว่า

    “หลวงปู่มั่น อยู่บ้านนามน เป็นพระอรหันต์ แต่ด่าคนเก่ง”

    หลวงพ่อฟังแล้วมานั่งคิด ๆ ดูคำว่า “หลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่น” นี่ไม่ใช่พระเล็กพระน้อย เป็นพระผู้ใหญ่ คงมีอายุพรรษาใหญ่โตแล้ว ยังไม่เคยเห็นท่าน เขาว่า “ด่าคน” นี่มันจะเป็นไปได้หรือ ด่าล่ะ คงด่า แต่คงมีเหตุผลน่า จะไปด่าปู้ยี่ปู้ยำนี่คงเป็นไปไม่ได้ ท่านจะไปด่าโดยเสียจรรยามารยาทนี่ คงเป็นไปไม่ได้

    เอ้า……ไปหาหลวงปู่มั่น ออกเดินทางไปบ้านกกดู่ ระหว่างทางพบพระอาจารย์วัน อุตตโม ได้เดินทางไปด้วยจนถึงเสนาสนะป่าบ้านนามน ต.ตองโขบ อ.เมือง จ.สกลนคร เวลาประมาณ ๕ โมงเย็น เข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น เรียนให้ทราบถึงเจตนาของการเดินทางมาหาท่าน ท่านว่ากุฎิยังไม่มี ไปอยู่กับท่านกงมา (พระอาจารย์กงมา ปริปุณโณ) บ้านโคก ค่ำลงก็มาฟังธรรมหลวงปู่ เทียวไปเทียวมา ไม่ไกลหรอก

    ขณะนั้นหลวงปู่มั่นอายุได้ ๗๕ ปี ท่านได้เทศน์โปรดกัณฑ์แรกสั้น ๆ ว่า “นะน้ำ โมดิน นะแม่ โมพ่อ กัมมัฏฐานห้า แขนสอง ขาสอง หัวหนึ่ง รวมเป็นปัญจกัมมัฏฐาน นี่เป็นมูลมรดกกัมมัฏฐาน” หลวงพ่อเดินทางไปฟังเทศน์หลวงปู่มั่นกับพระอาจารย์กงมาทุกคืนโดยไม่ขาดเลย

    วันหนึ่งหลวงปู่มั่น ได้กล่าวทักขึ้น “อ้าว ท่านคำพอง มานั่งฟังเทศน์อยู่ทำไม จวนจะคัดเลือกทหารแล้วไม่ใช่หรือ ประเดี๋ยวจะผิดกฎหมายนะ ไปเสียก่อน หากคัดเลือกทหารแล้วไม่ถูกค่อยกลับมา” (หลวงพ่อบวชก่อนคัดเลือกทหารและมิได้กราบเรียนให้หลวงปู่มั่นทราบแต่อย่างใด)

    หลวงพ่ออยู่ฟังเทศน์หลวงปู่มั่นทุกคืนได้ ๓ เดือน. ก็กราบลาหลวงปู่มั่นไปคัดเลือกทหาร เดินทางด้วยเท้าจากบ้านนามนไปยัง จ.สกลนคร และต่อไปถึง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร มีรถยนต์รับหลวงพ่อไปส่งที่ จ.อุดรธานี สมัยนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ขาดแคลนน้ำมัน รถยนต์ใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิง

    หลังจากคัดเลือกทหารแล้วไม่ถูก ก็ตั้งใจจะกลับไปหาหลวงปู่มั่นอีก และเก็บของเครื่องใช้ หลวงปู่อ่อนศรี สุเมโธ (ศิษย์หลวงปู่มั่นอีกองค์หนึ่ง) ได้ชวนหลวงพ่อไปอยู่ด้วย ที่วัดบ้านกลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ท่านจึงจำพรรษาอยู่ที่นี่ ๑ พรรษา

    (๕) พบพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี (พรรษาที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๘๘)

    ออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อก็ออกธุดงค์ไปตามป่าเขา ถ้ำ ป่าช้า อยู่ที่ถ้ำเมฆจนถึงเดือน ๓ ก็ออกเดินทางไปพระบาทบัวบกบัวบาน เลยไปถึงถ้ำพระ จ.อุดรธานี และเดินต่อไปถึงถ้ำทาสี และถ้ำผาปู่ จ.เลย

    ย้อนกลับมา จ.หนองคาย พบหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (ศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) จำพรรษาเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าอรัญวาสี อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย อยู่ฟังเทศน์กับหลวงปู่เทสก์จนครบ ๓ เดือน

    (๖) ความเจ็บความตายที่ถ้ำพระ (พรรษาที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๘๘)

    พ.ศ. ๒๔๘๘ ได้เวลาจวนเข้าพรรษา กราบลาหลวงปู่เทสก์ ได้ปฏิบัติธรรมที่ถ้ำพระ ห่างจากวัดบ้านกลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ของหลวงปู่อ่อนสี ไปประมาณ ๕-๖ กม.

    เกิดเป็นไข้มาลาเรียอยู่ในถ้ำองค์เดียว นอนหนาว ๆ ร้อน ๆ เพราะพิษไข้มาลาเรียอยู่ตลอดเวลา ไม่รู้จะมองหาใคร ก็เลยบอกกับตนเองว่า “เรากับถ้ำต้องเป็นผีคู่กัน” ปิดประตูถ้ำแล้วก็นอน ทั้งนอนทั้งลุกเป็นอย่างนี้ตลอดทำไปทำมาพอเจ็บเข้ามาก ๆ ก็ไม่รู้ว่าไปถึงไหน ความรู้สึกดับวูบไป ไม่รู้สึกตัวอยู่อย่างนี้ตลอด ๕-๖ วัน

    พอไข้ทุเลาลง จำไม่ได้ว่าไปอยู่ที่ไหน ทำอะไร มองขึ้นไปข้างบนเห็นเพดานถ้ำ ก็เลยถามตนเองว่า

    “เรามาแต่ไหน มาทำไม มาทำอะไร”

    คิดทวนหน้าทวนหลัง คิดได้ว่า

    “เรามาภาวนาที่นี่ อยู่ที่นี่ เอ๊ะ….นี่เราเป็นไข้มานี่ เป็นมาหลายวัน จนรู้สึกตัวนี่”

    พอจวนสว่างก็รู้สึกไข้หายหมด

    พอไข้หายก็ลองเดินจงกรมดูที่หน้าถ้ำ เห็นว่าพอเดินได้ พอบิณฑบาตได้ ก็อุ้มบาตรลงไปบิณฑบาตเลย แล้วกลับขึ้นมาฉันเป็นมื้อแรก หลังจากป่วยด้วยพิษไข้มาลาเรียมา ๕-๖ วัน

    หลังจากนั้นไม่นานก็เป็นวันอุโบสถ (วันพระ) จึงลงไปจากถ้ำไปเข้าอุโบสถกับหลวงปู่อ่อนศรี

    (๗) อยากสวดปาฏิโมกข์ได้ (พรรษาที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๘๘)

    วันนั้นหลวงปู่อ่อนศรีเป็นหัวหน้านำลงอุโบสถ ท่านบ่นถึงเรื่องที่ท่านไม่สบายอยู่ และพระลูกวัดสวดปาฏิโมกข์ไม่ได้ (สวดวินัยสงฆ์ ๒๒๗ ข้อเป็นภาษาบาลี สวดองค์เดียวให้พระที่ลงอุโบสถฟัง ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง จึงจะครบทุกข้อที่พระพุทธองค์บัญญัติ) ท่านบอกว่า

    “เรานี่เลี้ยงลูกศิษย์ลูกหามาทำไม เลี้ยงมาแล้วทำไมไม่ช่วยเราสวดบ้าง จะให้ไอ้เฒ่านี้สวดไปถึงไหน เราจะตายอยู่แล้ว คนอื่นทำไมไม่เรียนกันบ้าง ศึกษากันบ้าง”

    คำพูดนี้มันเสียบเข้าไปในหัวใจหลวงพ่อ

    “เมื่อไหร่หนอเราจะอ่านหนังสือออกบ้าง ถ้าเราอ่านหนังสือออก เราจะสวดปาฏิโมกข์ถวายท่าน แต่เราก็ยังอ่านไม่ออก”

    พอลงอุโบสถเสร็จหลวงพ่อท่านขอหนังสือปาฏิโมกข์จากท่านเล่มหนึ่ง บอกท่านว่า

    “จะเอาไปบูชา”

    ท่านไม่อยากให้ ท่านว่า “จะเอาไปกินสิงกินแสงอะไร เขียนชื่อเจ้าของก็ไม่ได้ จะเอาไปทำอะไร”

    หลวงพ่อยืนยันว่า “จะเอาไปบูชา”

    ท่านก็เฉย ขออยู่ ๒-๓ ครั้ง ท่านโมโห หรือว่าอย่างไรก็ไม่รู้ ท่านให้เหมือนประชด ทิ้งหนังสือเพล๊ะ

    “เอ้า ไปกินขี้ไต้ไปเสีย” ว่างั้น

    ได้หนังสือแล้วกราบลาท่าน ๓ ครั้ง สะพายย่ามกับบาตรขึ้นเขาไป

    (๘) เหตุอัศจรรย์ที่ถ้ำพระ (พรรษาที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๘๘)

    พอขึ้นมาถึงถ้ำพระไม่รู้จะทำอย่างไรเอาหนังสือปฏิโมกข์วางไว้บนหัวนอน แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า

    “ถ้าหาก….ข้าพเจ้า จะได้สืบพระพุทธศาสนา ยังจะเป็นครูบาอาจารย์ ยังจะเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของหมู่คณะ และจะยังรักษาพระธรรมวินัย ขอให้ข้าพเจ้าอ่านหนังสือออกด้วยเถิด ข้าพเจ้าอยากได้ หากเป็นไปไม่ได้ ข้าพเจ้าไม่สามารถจะคุ้มครองพระธรรมวินัย ไม่สามารถรักษาหมู่คณะได้ ก็ขออย่าให้ข้าพเจ้าได้ หากจะเป็นไป ก็ขอให้ข้าพเจ้าได้”

    จบคำอธิษฐาน ทำสมาธิทำใจให้เป็นกลางอย่างเด็ดขาด ไม่อยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น

    พลัน…..ก็ปรากฏภาพนิมิตในสมาธิ

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ด้านหน้าท่ามกลางแสงฉัพพรรณรังสีสาดสว่างทั่วถ้ำ ประทับอยู่ด้านหน้าตู้พระไตรปิฎก พระองค์ยื่นหนังสือสามเล่ม มอบกับหลวงพ่อ คือ พระสูตร ๑ พระวินัย ๑ พระปรมัตถ์ ๑ แล้วพระองค์เสด็จกลับขึ้นไปบนฟ้า แสงฉัพพรรณรังสีกระจายเต็มท้องฟ้าลับหายจากสายตาไป

    หลังจากนั้นอีก ๒-๓ วัน ขณะที่หลวงพ่อทำสมาธิภาวนาจนจิตสงบเป็นสมาธิแน่วแน่ จะเป็นเพราะแรงอธิษฐานหรืออะไรไม่ทราบ มาดลบันดาลให้หลวงพ่อเห็นเป็นตัวหนังสือคล้าย ๆ กับที่เขียนไว้บนฝาผนังเป็นแถว ๆ แถวนี้อ่านอย่างนี้ ตัวนี้อ่านอย่างนี้ อ่านไปอ่านไปก็หมดให้เห็น แต่จำได้ว่า ตัวนี้อ่านอย่างนี้ ตัวนั้นอ่านอย่างนั้น ก็จำไว้

    ทีหลังอยากจะได้ต่อไปอีก ก็ขออีก ได้ยินในหู เสียงให้อ่านอย่างนั้น อ่านตามเสร็จก็หมดไป หมดปัญญาที่จะอ่านอีก ก็อาศัยคำอธิษฐานว่า “ขอให้ข้าพเจ้ารู้” ก็ได้ยินเสียงอ่านอีก ว่ากันไปเรื่อย ๆ นานเข้า ๓-๔ วัน ตัวเก่าที่เคยอ่านไว้ ก็จำไว้ได้ว่า ออกเสียงอย่างนี้เป็นตัวนี้ อันนี้เป็นตัว ก.ไก่ เหมือนกัน เพราะอ่านออกเสียง ก. เหมือนกัน ตัวที่อ่านไม่ได้ ก็มีเสียงมาบอก ตกลงอ่านไป สวดไป ราวสักเดือนหนึ่ง ก็จบปาฏิโมกข์

    (๙) สอบทานการสวดปาฏิโมกข์ (พรรษาที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๘๘)

    เมื่อสวดปาฏิโมกข์ด้วยเหตุอัศจรรย์ที่ถ้ำพระ หลวงพ่อก็ถือหนังสือ สะพายบาตรลงมาหาหลวงปู่อ่อนศรี เพื่อให้ท่านช่วยสอบทานให้ว่าถูกต้องเป็นความจริงไหม พอจะสวดให้ท่านฟัง ท่านก็ว่าเอา

    “พระผีบ้า มาสวดอุตริเอาอะไร หนังสือก็อ่านไม่ออกสักตัว จะมาอ่านปาฏิโมกข์ได้อย่างไร”

    หลวงพ่อก็เฉย แต่ตั้งใจว่า ถ้าท่านไม่อ่านทานให้ก็จะไม่ขึ้นเขาขึ้นถ้ำ จะนอนเฝ้าอยู่ที่วัดล่างนี้จนกว่าท่านจะสอบทานให้

    ค่ำลงก็ไปนวดท่าน เล่าให้ท่านฟังและขอให้หลวงปู่สอบทานให้พรุ่งนี้ ท่านก็นอนเสีย ท่านไม่พูด หันไปพูดเรื่องอื่น นวดไปนวดมาจนถึงเที่ยงคืน ท่านก็บอกให้เลิก เลิกมาแล้วหลวงพ่อก็ยังมานั่งคิดว่า ท่านจะสอบทานให้หรือเปล่าหนอ คิดทวนหน้าทวนหลังอยู่อย่างนั้น

    พอรุ่งเช้าฉันข้าวแล้วไปกราบท่านอีก ให้ท่านสอบทานให้ ทนฟังหลวงพ่ออ้อนวอนไม่ได้ ท่านก็ว่า “เอามาได้จริงๆ หรือ”

    หลวงพ่อถือหนังสือไปกราบลงถวายท่าน หลวงพ่อสวด ท่านก็อ่านสอบทานให้ ตัวไหนผิดท่านก็บอกให้ ตัวไหนลงไม่ถึงฐานอย่างตัว ถ. ถุง ตัว ฐ. ฐาน ตัว ณ เณร เป็นต้น เสียงออกจมูกไม่ค่อยถึงฐาน ท่านก็บอกว่าฐานไม่ถึง

    หลังจากนั้น พอมีผู้รับรองว่าอ่านถูกต้อง ก็บอกกับตนเองว่า “ทีนี้ล่ะ เราจะอ่านเจ็ดตำนาน อ่านสัมพุทโธ โยจักขุมา ไปสวดกับเขาบ้าง เราอ่านหนังสือออกแล้วทีนี้”

    ตกลงตั้งแต่นั้นมาอ่านหนังสือออกได้เรื่อยมา

    (๑๐) เทศนาธรรม (พรรษาที่ ๓-๔ พ.ศ. ๒๔๘๘–๒๔๘๙)

    นับตั้งแต่พรรษา ๓-๔ ขึ้นมา การบรรยายธรรมนี่แม้ในงานใหญ่ ๆ ต่อหน้าครูบาอาจารย์ ก็มักจะถูกให้ทำงานในเรื่องนี้มาตลอด ได้รับนิมนต์ไปบรรยายธรรมต่อหน้าครูบาอาจารย์ให้กับประชาชนและญาติโยม จะดีหรือไม่ก็ไม่รู้สมัยนั้นเพราะไม่ได้คำนึงถึงเรื่องความเป็นอยู่

    (๑๑) กลับไปหาพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี (พรรษาที่ ๓-๔ พ.ศ. ๒๔๘๘–๒๔๘๙)

    ออกพรรษาแล้ว กราบลาหลวงปู่อ่อนศรี ออกธุดงค์จากวัดบ้านกลาง จ.อุดรธานี มุ่งหน้าไปสู่วัดป่าอรัญวาสี อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ไปกราบหลวงปู่เทสก์ และท่านได้ชวนให้หลวงพ่อจำพรรษาอยู่ด้วย ฟังเทศน์และปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่เทสก์ ในระหว่างนั้นหลวงปู่นิมิตเห็นภูเขาเล็กลูกหนึ่งที่ อ.ท่าแฉลบ จ.จันทบุรี

    พอออกพรรษาหลวงปู่ก็ปรารภกับหลวงพ่อว่า “วัดนี้ (วัดอรัญวาสี) มีเสนาสนะมาแต่เดิม ล้วนเป็นของครูบาอาจารย์ที่ท่านทำไว้ให้เราอยู่ทั้งนั้น (หลวงปู่มั่นเคยมาจำพรรษาที่นี่) ตัวเรานี้น่าละอายใจแท้ มานอนกินของเก่าเฝ้าสมบัติเดิมของครูบาอาจารย์แท้ๆ”

    ท่านบอกว่ากับหลวงพ่อว่า “หลวงปู่มั่นท่านอยู่ที่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ จ.สกลนคร ให้ไปอยู่ปฏิบัติธรรมกับท่านที่นั่น ตัวผมจะขอออกไปเที่ยววิเวกสักพัก”

    (๑๒) กลับไปหาพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (พรรษาที่ ๔-๗ พ.ศ. ๒๔๘๙–๒๔๙๒)

    พ.ศ. ๒๔๘๙ หลวงพ่อได้กลับไปหาหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ที่ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติรับใช้หลวงปู่อยู่ ๔ พรรษา

    ในระยะที่อยู่กับหลวงปู่มั่น หลวงพ่อได้มีโอกาสได้พบเห็นสิ่งต่าง ๆ ล้วนเป็นอุบายธรรมทั้งสิ้น

    ได้เห็นหลวงพ่อครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ท่านมารวม ๆ กันอายุพรรษามาก ๓๐ ปีก็มี ๔๐ ปีก็มี เห็นท่านประพฤติปฏิบัติหลวงปู่มั่น เช่น พอถึงเวลาเข้าวัด ก็ช่วยกับอาบน้ำถูเนื้อถูตัวหลวงปู่มั่น เสร็จแล้วจัดที่นั่งที่นอน เตรียมไว้ให้หลวงปู่

    หลวงพ่อมาคิดดูว่า “เอ….. พระอายุพรรษาตั้งสามสิบพรรษา สี่สิบพรรษา น่าจะไปอบรมสั่งสอนญาติโยม หรือน่าจะไปเผยแผ่ศาสนาให้กับประชาชน คนที่เขายังตกต่ำในความรู้ความฉลาด เขาจะได้รับแสงสว่างบ้าง”

    เวลาดูเข้าไปนาน ๆ แล้ว โอโฮ้……มันไม่ใช่เรื่องอย่างนั้น มันเป็นเรื่องของส่วนภายใน ภายในด้านการปฏิบัติที่ยังเหลืออยู่ เกี่ยวกับสมาธิ เกี่ยวกับคลื่นภายในหัวใจ คือมันเกิดขึ้นแล้วคนไม่ช่ำชองแก้ไม่ได้ เป็นมลทินอยู่นั่นเอง

    ถ้าผู้ปฏิบัติเกิดความรู้ความเห็น เกิดความสงสัยขึ้นมา ในเรื่องของความเห็น ความรู้ในด้านการปฏิบัตินั้น ไม่เหมือนกับเรารู้เราเห็นกันอยู่ในโลกนี้ อันนี้เป็นปัจจัตตังโดยเฉพาะผู้นั้นคือรู้เองเห็นเอง

    รู้แล้วไปให้คนอื่นแก้ ถ้าไม่รู้ด้วยกันจะแก้ไม่ได้ คนอื่นเขาพูดไม่ถูกจุด

    ทีนี้อย่างครูบาอาจารย์ท่านชำนาญ ท่านผ่านเรื่องนี้มามาก คือ เรื่องที่เรารู้เราเห็น ท่านผ่านมาก่อนแล้ว อย่างเราไม่เคยเจอก็เข้าใจว่าถึงแล้ว สิ้นสุดแล้ว ก็เลยเอาเพียงแค่นั้นไปปักใจลง เชื่อมั่นในอุบายเพียงแค่นั้น เข้าใจว่าหมดหนทางที่จะไปอีกไม่มีแล้ว

    มันเกิดความสงสัย เมื่อไปถามครูบาอาจารย์ว่า ภาวนาไปมันปรากฏเรื่องอะไรขึ้นมาในจิตใจ เห็นอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นมา หลวงปู่ท่านก็ชี้แนะว่า “อย่างนั้นไม่ใช่ความพ้นทุกข์ ไม่ใช่ดับทุกข์ โดยสนิท ต้องเข้าไปอีก ต้องปฏิบัติอย่างนั้นต้องรู้อย่างนั้น แล้วต้องไปละสิ่งนั้นแล้วค่อยก้าวหน้าไปเรื่อยๆ”

    ไปดูแล้ว…..โอ ข้อวัตรปฏิบัติจำพวกภายนอก เช่นเคารพนบน้อมในข้อวัตรปฏิบัติ ไม่เผลอไม่พลาดมีสัจธรรมถึงเวลาแล้วต้องปฏิบัติ

    ไม่ใช่เพียงแค่นี้ ยังลึกลงไปกว่านี้อีกไปดูเข้าแล้ว อ๋อ…..อย่างนี้เอง ครูบาอาจารย์ที่มีอายุพรรษามากไปอยู่กับหลวงปู่มั่นกันเยอะ ท่านไม่ยอมถอนตัวไปง่าย ๆ ก็เพราะยังมีเรื่องให้ศึกษาอีกมากทั้งภายในและภายนอก

    จึงค่อยเชื่อมั่นว่า อ้อ…..อย่างนี้เอง ที่ครูบาอาจารย์ท่านยังไม่กล้าออกไปสร้างวัดสร้างวา ไปสั่งสอนญาติโยม ไปสั่งสอนหมู่พวกโดยเอกเทศ เพราะตนนั้นยังไม่พอ ที่จะให้ถึงที่สุดของการปฏิบัติ ท่านจึงมาศึกษาอบรมกันอยู่ทุกเวลา

    หลวงพ่ออยู่ปฏิบัติรับใช้หลวงปู่มั่น มีโอกาสถวายการบีบนวดประจำ ได้สดับตรับฟังธรรม เห็นจริยาวัตรปฏิปทาครูบาอาจารย์เป็นแบบอย่างของการปฏิบัติฝึกฝนอบรมตน ข้อสงสัยในการปฏิบัติก็ได้รับการชี้แนะแก้ไขจนหายข้องใจ นับว่าเป็นวาสนาบารมีเป็นอย่างยิ่ง

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ังขาราธิษฐาน

    เมื่อตรัสรู้แล้ว ทรงประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขในที่
    ต่าง ๆ ใกล้กับโพธิพฤกษ์อยู่หลายสัปดาห์ ทรงดำริถึงพระธรรมที่ได้ตรัสรู้ว่าเป็นของลุ่มลึก

    ในชั้นแรกทรงมีความขวนขวายน้อยว่าจะไม่ทรงแสดงธรรมนั้น เพราะเห็นว่าคนเป็นอันมากจะไม่เข้าใจ แต่ก็ทรงพิจารณาดูหมู่สัตว์เห็นว่า หมู่สัตว์นั้นมีต่าง ๆ กัน

    ผู้ที่จะตรัสรู้ได้ก็มีอยู่ เทียบด้วยดอกบัวสามเหล่าที่จะบานได้ ผู้ที่ตรัสรู้ไม่ได้ก็มี อันเทียบกับดอกบัวอีกชนิดหนึ่งที่จมอยู่ก้นสระ ไม่มีหวังจะบาน

    และท่านแสดงว่า ้าวสหัมบดีพรหม ได้มากราบทูลอาราธนา ทรงพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ดั่งกล่าวนั้น ก็ทรงรับอาราธนาของพรหม เรื่องนี้ถอดความได้ว่า ทรงเกิดพระกรุณาขึ้นแก่สัตว์โลก พระกรุณานั้นเองทำให้ทรงตกลงพระหฤทัยว่าจะทรงแสดงธรรมสอน

    เมื่อตกลงพระหฤทัยดั่งนี้ ก็ทรงทำ ังขาราธิษฐาน คือ ตั้งพระหฤทัยว่าจะทรงดำรงพระชนมชีพอยู่จนกว่าจะประกาศพระพุทธศาสนาตั้งลงได้โดยมั่นคง มีพุทธบริษัทบริบูรณ์ ฯ

    พระองค์ทรงจำแนกหมู่สัตว์ที่จะรับพระสัทธรรมได้และไม่ได้นั้นมีอยู่ ๔ จำพวก เปรียบกับ ัวสี่เหล่า คือ

    ๑. อุคฆฏิตัญญู คือ พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว
    เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที

    ๒. วิปจิตัญญู คือ พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติมจะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า
    เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ ซึ่งพร้อมจะบาน

    ๓. เนยยะ คือ พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิเมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธาปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า
    เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อย ๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง

    ๔. ปทปรมะ คือ พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน

    Cr. ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่๑๙ และเพจพุทธะ 1f56f.png 1f33a.png 1f64f.png

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “ธรรมที่หลวงปู่มั่นกล่าวอบรมหลวงปู่กินรี”

    (จากธรรมประวัติ หลวงปู่กินรี จันทิโย)

    การแสวงหาธรรมปฏิบัติได้เกิดขึ้น เป็นช่วงตอนปลายของทศวรรษแรกของการอุปสมบท ด้วยการเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนพระกรรมฐาน กับท่านพระอาจารย์ “หลวงพ่อทองรัตน์ กนฺตสีโล” ที่สำนักบ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นจุดเกิดและเป็นก้าวแรก ที่ท่านรับเอาพระกรรมฐาน เข้าไว้ในจิตของท่าน หลวงปู่ได้ศึกษาการปฏิบัติ ภาวนากับครูอาจารย์ระยะหนึ่ง ท่านก็เดินทางกลับมาอยู่ที่วัดบ้านเกิดและไปกราบครูอาจารย์ร่วมธุดงค์ ไปมาหาสู่อยู่เสมอ ท่านได้นำเอาข้อปฏิบัติ พระธรรมกรรมฐานมาอบรมสั่งสอนชาวบ้านหนองฮี ได้สงเคราะห์โยมมารดาและญาติด้วยการบวชชี และได้จัดตั้งสำนักสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีในบ้านเกิด ชื่อว่า “สำนักสงฆ์เมธาวิเวก”

    ในระหว่างที่หลวงปู่ไปมาหาสู่เพื่อคารวะ และปฏิบัติธรรมในสำนักของพระอาจารย์ทองรัตน์นั้น ท่านอาจารย์ทองรัตน์ได้พาหลวงปู่เดินทางไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานผู้มีชื่อเสียงและเกียรติคุณเลื่องลือโด่งดังมาก ในขณะที่หลวงปู่มั่นธรรมจารย์ผู้มีปรีชาสามารถ พำนักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร เพื่อรับโอวาทจากท่าน หลวงปู่มั่นท่านได้อบรมสั่งสอนธรรมแก่หลวงปู่กินรี ดังนี้

    ข้อปฏิบัติธรรมกรรมฐานนั้น ซึ่งมีรากฐานอยู่ที่ การกระทำศีล ให้สมบูรณ์บริบูรณ์พร้อมๆ ไปกับการเจริญ สมาธิ ภาวนา เพื่อจะทำจิตให้สงบระงับจากอารมณ์ทั้งปวง เพราะความที่จิตปลอดจากอกุศล ว่างเว้น จากอารมณ์ อันเกิดจากการสัมผัสทางอายตนะ คือ ที่ตั้งแห่งการกระทบมี ๖ คู่ อันได้แก่
    ตากับรูป
    หูกับเสียง
    จมูกกับกลิ่น
    ลิ้นกับรส
    กายกับการสัมผัสทางกาย
    และใจที่กระทบกับอารมณ์ในภายในที่ทำให้เกิด เวทนาความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้ดี รู้ชั่ว รู้สวย รู้ไม่สวย รู้น่ารัก รู้ไม่น่ารัก ทั้งหลายแล้ว จิตใจก็ย่อมจะตั้งมั่นอยู่ใน อารมณ์อันเดียว อารมณ์นั้นก็ได้แก่พระกรรมฐาน หมายถึง การเอาพระกรรมฐานเข้ามาตั้งไว้ในใจความตั้งมั่นของจิตในลักษณะการเช่นนี้ ย่อมจะทำจิตให้สงบอย่างเดียว เป็นความสงบที่สะอาดและบริสุทธิ์ผุดผ่องใส

    หลังจากนั้นแล้วจึงหันมาพิจารณาธาตุ ทั้ง ๔ อันได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม และพิจารณาขันธ์ทั้ง ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้รู้ว่าธาตุขันธ์และรูปนามทั้งหลายเหล่านี้ แท้จริงก็คือบ่อเกิดของความทุกข์โศกร่ำไรรำพันนานาประการทั้งปวงนั่นเอง หลวงปู่มั่นท่านได้อบรมสั่งสอนข้อธรรมแก่หลวงปู่กินรีเป็นประจำ และเมื่อท่านพบหน้าหลวงปู่กินรี ท่านมักจะเอ่ยถามไปว่า

    “กินรี ได้ ที่อยู่แล้วหรือยัง ? ”

    คำถามของหลวงปู่มั่นนั้นมิได้หมายถึงที่อยู่ในวัดปัจจุบัน แต่ท่านถามถึงส่วนลึกของใจว่ามีสติตั้งมั่นหรือยัง ถ้ายังท่านก็จะกล่าวอบรมต่อไป ซึ่งส่วนมากหลวงปู่มั่นท่านจะเน้นให้เห็นถึงว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ เพราะเกิดจากอวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้งในความเป็นของไม่เที่ยง ในความเป็นของเสื่อมโทรมของธาตุขันธ์ทั้งหลาย เป็นเหตุ และเพราะความไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงว่า มันมิใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ไม่รู้จักความไม่เที่ยง ไม่รู้จักความเป็นทุกข์และไม่รู้ความเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตนตามความเป็นจริงแล้ว อาสวะกิเลส คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ย่อมครอบงำจิตของคนๆ นั้นให้มืดมัว เร่าร้อนและเป็นทุกข์ได้ในที่สุด

    หลวงปู่มั่นท่านอบรมสั่งสอนหลวงปู่กินรีต่อไปว่า การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นมีรากฐานสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติศีลเป็นเบื้องต้น และทำ สมาธิ ในท่ามกลาง เพื่อจะให้เกิดปัญญา ความรู้แจ้งแทงตลอดในธาตุขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นได้ในที่สุด และเพื่อจะให้รู้ความจริง ก็ต้องหมั่นพิจารณาว่า ร่างกายของเราที่ปั้นปรุงขึ้นมา จากธาตุทั้ง ๔ นี้ ประกอบอยู่ด้วยธาตุอีกอย่างหนึ่งซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๔ อย่าง ได้แก่

    เวทนา คือ ความรู้สุข รู้ทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์
    สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ในอายตนะทั้งหลายที่มากระทบแล้วรู้สึกแล้ว สังขาร คือ ความไกลเวียนปรุงเปลี่ยนไม่หยุดอยู่ของนามธาตุนั้น วิญญาณ คือ ความรู้สึกได้ รวมเป็น ๔ อย่างด้วยกัน เรียกว่า นามขันธ์

    เมื่อรวมเข้ากับธาตุ ๔ คือ รูปขันธ์ด้วยแล้วจึงเป็นขันธ์ รวมย่อแล้วเรียกว่า กายกับใจนี้เป็นสิ่งที่ไม่ยืนยงคงที่ ไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไรเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ร่างกายเนื้อหนังของเรานี้เป็นของไม่สวยไม่งาม สกปรกโสโครกโดยประการทั้งปวง การภาวนาที่ถูกต้องจะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ นักภาวนาเมื่อรู้เห็น ซึ่งสภาพตามเป็นจริง อย่างนี้แล้ว ย่อมจะมีความสะดุ้งกลัวต่อภัยและความเป็นโทษทุกข์ของสังขาร ไม่อยากประสบพบเห็นกับความทุกข์ทรมารเหล่านี้อีกแล้ว เมื่อนั้นจิตก็ย่อมจะคลายจากความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ย่อมคลายความกำหนัดรักใคร่ชอบใจ ในสิ่งอันเป็นที่ตั้ง แห่งความรักใคร่ชอบใจ เมื่อจิตมีความเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดเช่นนี้แล้ว ทุกข์ทั้งปวงก็ย่อมดับลงได้โดยแท้ ข้อที่ว่าทุกข์ทั้งปวงดับลงนี้เป็นเพราะอวิชชา คือความไม่รู้ ความเป็นจริงในธรรมดับไปนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้รู้ความเห็นในธรรมที่เรียกว่า ปัญญา นั้น เจริญถึงที่สุด ผลที่ได้รับก็คือ “ปัญญาอันสงบระงับและแจ่มแจ้ง”

    [​IMG]

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...