ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    อย่าพูดด้วยมานะทิฏฐิ ว่าเราดีกว่าเขา เรามีฐานะมั่นคงกว่าเขา เรามีความรู้ดีกว่าเขา เรามีหน้าที่การงานตำแหน่งดีกว่าเขา เรามีชาติตระกูลดีกว่าเขา เราเป็นผู้บังคับบัญชาเขา อยากพูดอย่างไร ก็จะพูดไปตามชอบใจ อยากพูดดุด่าอย่างไรกับใคร ก็ใช้อำนาจของตัวเองพูดไป โดยไม่เกรงกลัวต่อใครทั้งสิ้น โบราณว่า เท้าช้างเหยียบปากนก ก็เป็นในลักษณะนี้ นี่เรียกว่า คนหลงในมานะทิฏฐิของตัวเอง ถึงผู้น้อยเขาไม่มีโอกาสตอบโต้ก็ตาม แต่อย่าลืมว่าผู้น้อยก็มีหัวใจที่เต็มไปด้วยกิเลสเหมือนกัน มีความโกรธ ความเกลียดผู้ใหญ่ได้เหมือนกัน ถ้าเป็นไปในลักษณะอย่างนี้ สังคมของมนุษย์ที่เคยมีความรักต่อกัน ก็เริ่มจะร้าวฉานหรือแตกสลายไป

    (หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ วัดป่าบ้านค้อ จ.อุดรธานี)

    -ว่.jpg

    ที่มา ธรรมะของพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “ คำสอนที่พระอาจารย์มั่นเน้นที่สุดในครั้งนั้นคือเรื่อง สักขีภูโต คือ การเอาตัวเป็นพยานของตัว และอีกเรื่องหนึ่งที่ประทับใจท่านมาก คือ ความแตกต่างระหว่างตัวจิตและอาการต่างๆ ของจิต

    “ พูดถึงอาการทั้งหลายเหล่านี้ ท่านพระอาจารย์มั่นท่านบอกว่าเป็นอาการ เราไม่รู้อาการทั้งหลายก็นึกว่าเป็นความจริงทั้งหมด นึกว่าจิตเราทั้งหมด แต่มันเป็นอาการทั้งนั้น พอท่านบอกว่าเป็นอาการ เราสว่างเลยทีเดียว

    อย่างความดีใจอย่างนี้มันก็มีอยู่ในใจ แต่ว่ามันเป็นอาการ มันคนละอย่างคนละชั้นกัน อยู่กับตัวจิต ถ้าความเป็นจริงรู้แล้ว มันก็เลิก มันก็วาง เป็นสมมุติแล้วมันก็เป็นวิมุตติ มันเป็นอยู่อย่างนี้

    คนบางคนก็เอามารวมกันทั้งหมดเป็นตัวจิตเสีย ความเป็นจริงมันเป็นอาการกับผู้รู้ติดต่อกันอยู่ ถ้าเรารู้จักอันนี้แล้วก็เรียกว่ามันไม่มีอะไรมาก “

    หลวงปู่ชา สุภัทโท
    ( จากหนังสือบูรพาจารย์ )
    ขออนุโมทนาบุญท่านผู้มีส่วนเผยแพร่โอวาท
    ธรรมและภาพพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ขอจงเจริญ
    รุ่งเรืองในธรรมพบสุขอันเกษม สาธุ อนุโมทามิ
    นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ…

    .jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เราพาตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เข้าสู่บารมี
    ทสบารมี ทสอุปปารมี ทสปรมัตถปารมี
    ให้เต็มรอบเพียงใด เราก็จะพ้นภัยเกิดตายนั่นเอง
    การเกิดเป็นทุกข์ เราอย่าได้ถึงที่เกิดเลย
    การตายเป็นทุกข์ เราอย่าได้ถึงที่ตายเลย
    ขอให้ถึงธรรมะของพระผู้มีพระภาคเจ้า

    -หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใ.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ปกติหลวงปู่จะนั่งสมาธิทุกวัน วันหนึ่ง หลวงปู่ก็นั่งสมาธิจนเกือบจะตีหนึ่ง ได้ยินเสียงเหมือนเสียงระเบิดดังตึ้ม เห็นแสงวูบขึ้นไปสูงกว่าตึกสว. ห้าชั้น วูบขึ้นไปสว่างจ้า จิตของเราก็จดจ้องไป ก็เห็นคนสองคนยืนเคียงคู่กันตรงไปไฟวูบขึ้นไป แล้วคนสองคนก็ขยายตัวออก ยืนเคียงไหล่กัน สูงขึ้นไปเท่ากับตึกสว ไฟก็พุ่งออกตามร่างกาย ลามไปตามเนื้อตามตัว

    หลวงปู่คิดสงสารก็เลยถามไปว่า กรรมอะไรจึงได้มาเป็นอย่างนี้

    เขาก็เลยเล่าให้ฟังว่า ในอดีตชาติ เขาเป็นทายกวัดในคราวที่วัดบวรสร้างโบสถ์ใหม่ ๆ เขาไปสั่งกระเบื้องมุงหลังคาโบสถ์ เขาตีราคากันแผ่นละ ๑๒ บาท ทางวัดจ่าย ๑๒ บาท แต่เขาเอาไปจ่ายค่ากระเบื้อง ๖ บาท อีก ๖ บาทแบ่งกันใช้สองคน

    หลวงปู่จึงว่า โอ เป็นแบบนี้มันแก้กันไม่ได้หรอก ก็ต้องใช้กรรมไป เขาก็ร้องไห้ครวญครางอยู่ที่วัดบวรนี่ล่ะ

    หลวงปู่จึงมาพิจารณา เอาของสงฆ์มานี่มันบาปจริง อย่างที่คนโบราณเขาพูด ไม่ใช่ว่าเขาพูดหลอกหลวง มันบาปจริง ๆ เป็นเปรตจริง ๆ สองร้อยกว่าปีมาแล้วยังเป็นเปรตอยู่เลย เพราะฉะนั้นให้พวกเราเข้าใจว่า ว่าบาปมีอยู่จริง ไม่ใช่มีแต่บุญนะ บุญมีจริง บาปก็มีจริง สิ่งไหนที่ไม่ถูกต้องก็คือสิ่งที่ผิดศีลห้า พวกเราอุบาสกอุบาสิกาผู้ถือศีลห้าศีลแปด ก็คือผู้ปลดเปลื้องจากการกระทำความชั่ว สิ่งไหนที่เป็นของดี เราก็ปฏิบัติ

    เมื่อเราเข้าใจอย่างนี้ ก็ไม่เป็นบาปเป็นกรรม สิ่งที่เป็นบาปเป็นกรรมก็มาจากความโลภความโกรธความหลง เมื่อเป็นบาปเป็นกรรมแล้วมันก็แก้กันไม่ได้ อย่างนี้ล่ะ อยู่เป็นเปรตมาเป็นร้อยปี ที่เป็นหมื่นปีพันปีก็มี พวกเราเมื่อรู้แล้วก็ให้มีความเกรงกลัวละอายต่อบาป มีหิริ โอตตัปปะ ให้เกรงกลัวต่อความชั่วทั้งปวงในจิตในใจตลอดไป
    (โอวาทธรรม หลวงปู่ไม)

    .jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    1f56f.png 1f56f.png 1f56f.png 1f315.png วันวิสาขบูชา 1f315.png 1f56f.png 1f56f.png 1f56f.png

    วันวิสาขบูชาปีนี้ ตรงกับวันเสาร์ ที่ 18 พฤษภาคม 2562

    ความหมายของวันวิสาขบูชา

    คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า “การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ” ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

    การกำหนดวันวิสาขบูชา

    วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

    อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้น ๆ

    ประวัติวันวิสาขบูชาและความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

    วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่…

    วันวิสาขบูชา

    1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

    เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า “สิทธัตถะ” แปลว่า “สมปรารถนา”

    เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า “พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย” แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส

    วันวิสาขบูชา

    2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ

    หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

    สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ

    – ยามต้น : ทรงบรรลุ “ปุพเพนิวาสานุติญาณ ” คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
    – ยามสอง : ทรงบรรลุ “จุตูปปาตญาณ” คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
    – ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ “อาสวักขญาณ” คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา

    วันวิสาขบูชา

    3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

    เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

    เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด” หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น

    ประวัติความเป็นมาของวันวิสาขบูชาในประเทศไทย

    ปรากฏหลักฐานว่า วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา นั่นคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกา พระองค์อื่นๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา

    ส่วนการเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะเป็นเพราะประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศลังกาอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากมีพระสงฆ์จากลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย

    สำหรับการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกไว้ในหนังสือนางนพมาศ สรุปได้ว่า เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนคร ด้วยดอกไม้ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ

    หลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากขึ้น ทำให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญ ทำกุศล โดยทั่วหน้ากัน การรื้อฟื้นพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาในครานี้ จึงถือเป็นแบบอย่างถือปฏิบัติในการประกอบพิธี วันวิสาขบูชา ต่อเนื่องมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

    วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ

    วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระศาสดา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้

    และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ที่ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณา และได้กำหนดวันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา

    โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน

    วันวิสาขบูชา

    การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา

    การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา จะแบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่

    1. พิธีหลวง คือ พระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ประกอบในวันวิสาขบูชา
    2. พิธีราษฎร์ คือ พิธีของประชาชนทั่วไป
    3. พิธีของพระสงฆ์ คือ พิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจ

    กิจกรรมในวันวิสาขบูชา

    กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

    1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
    2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
    3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
    4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
    6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
    7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
    8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

    หลักธรรมที่สำคัญในวันวิสาขบูชา ที่ควรนำมาปฏิบัติ

    ในวันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่นในหลักธรรม ซึ่งหลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่

    1. ความกตัญญู

    คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้ง บิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ

    ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป

    2. อริยสัจ 4

    คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

    – ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือ ความยากจน เป็นต้น

    – สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก “ตัณหา” อันได้แก่ ความอยากได้ต่าง ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    – นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้

    – มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ

    3. ความไม่ประมาท

    คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้นในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ

    วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิต

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เรื่อง “ในหลวงร.๙ ทนลำบากเพื่อโปรดเวไนยสัตว์”

    (วิสัชนาธรรมโดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    ในหลวง :”เขาพูดกันว่า ผมปรารถนาพุทธภูมิ เป็นความจริงไหมครับ”

    หลวงพ่อ : “เรื่องปรารถนาพุทธภูมินี่ พระองค์ปรารถนามานานแล้ว แต่เวลานี้บารมีก็เป็นปรมัตถบารมีแล้ว เหลือเพียง ๕ ชาติ ก็จบกิจ”

    ในหลวง : “ต้อง ๕ ชาติหรือ ผมนึกว่าชาติเดียวนี้ก็เต็มทีแล้วนะครับ ชาตินี้ชาติเดียวก็เต็มที”

    หลวงพ่อ : “ที่พระองค์ปฏิบัติมานี่มันเลยแล้ว ไม่ใช่ไม่สำเร็จ พุทธภูมินี่ต้องบำเพ็ญบารมีกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านเป็นวิริยาธิกะ ต้องบำเพ็ญถึง ๑๖ อสงไขยแสนกัปป์ พระองค์บำเพ็ญมาแล้ว ๑๖ อสงไขย ยังขาดอีกแสนกัปป์ จึงต้องเกิดอีก ๕ ชาติ พระองค์บำเพ็ญมาตั้ง ๑๖ อสงไขยแล้ว ถ้าจะเป็นอรหันต์ชาตินี้ ก็ควรจะได้ถ้ากลับ”(ถ้าลาพุทธภูมิ)

    ในหลวง : “โลกนี้มันเต็มไปด้วยความเบื่อ แต่ทำไปนี่ทำไปด้วยความเมตตา”

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ แสดงพระธรรมเทศนา
    ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
    เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ทรงมีพระราชปุจฉาธรรมกับพระราชพรหมยาน

    [​IMG]

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    -: สัญญา กับ ปัญญา :-
    .
    ถาม : เวลาโลกธรรมทั้ง ๘ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ผู้ที่ได้สดับแล้วเช่นข้าพเจ้าก็จำได้ว่า โลกธรรมทั้ง ๘ นี้ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ทำไมในเวลาโลกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ใจข้าพเจ้าจึงยินดียินร้ายไปตามโลกธรรมทั้ง ๘ นั้น

    ตอบ : ผู้ที่สดับฟังที่จำทรงปริยัติธรรมไว้ได้มากนั้น เป็นแต่จำเรื่องราวในพระพุทธศาสนาที่จะนำมาประพฤติปฏิบัติแต่ยังไม่ได้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติอย่างพระอริยสาวก จึงละความยินดียินร้าย ในธรรมทั้ง ๘ ไม่ได้
    .
    ถาม : ข้าพเจ้าก็ปฏิบัติอยู่ คือเป็นผู้มีศีล มีธรรม และรู้เรื่องราวเข้าใจในคำสอนทั้งหลาย แต่ทำไมจึงละความยินดียินร้ายในโลกธรรมไม่ได้

    ตอบ : ท่านรู้แต่ชั้นสัญญา ไม่รู้เห็นในชั้นปัญญา แต่สำคัญตนว่ารู้แล้ว เพราะนึกถึงธรรมเหล่าใดที่ได้จำทรงไว้ ก็ได้ความแจ่มแจ้งในชั้นสัญญา ไม่ใช่รู้เห็นตามความเป็นจริงซึ่งเป็นชั้นปัญญาเหมือนอย่างพระอริยสาวกที่ท่านได้เห็นความจริงคือ ไตรลักษณ์หรืออริยสัจ และได้ทำกิจตามหน้าที่ของอริยสัจทั้ง ๔ ด้วย จึงละความยินดียินร้ายในโลกธรรมทั้ง ๘ ไม่ได้
    .
    ถาม : ไตรลักษณ์และอริยสัจจ์นั้นข้าพเจ้าเข้าใจดี และอธิบายให้คนอื่นฟังอีกก็ได้ ทำไมจึงว่าข้าพเจ้าไม่รู้ หรือจะให้ข้าพเจ้าเทศน์ไตรลักษณ์และอริยสัจจ์ ๔ ให้ท่านฟังสักกัณฑ์ใหญ่ก็ได้

    ตอบ : ข้าพเจ้าพูดถึงชั้นปัญญาของพระอริยสาวก ท่านก็พูดแต่ชั้นสัญญาอีกร่ำไป ท่านจงใคร่ครวญพิจารณาดูเองเถิด ถ้าความรู้ความเห็นของท่านไม่ใช่ชั้นสัญญา เป็นชั้นปัญญาแล้ว ก็คงละความยินดียินร้ายในโลกธรรมทั้ง ๘ ได้เหมือนอริยสาวก ที่ไหนจะเป็นปุถุชน
    .
    ถาม : ข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่า ความรู้ชนิดไหนเป็นชั้นปัญญา เพราะข้าพเจ้านึกถึงธรรมทั้งหลายที่จำทรงไว้นั้น ก็ได้ความในคำสอนทั้งหลายอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง จึงสำคัญว่าเป็นชั้นปัญญา

    ตอบ : ความจำทรงทั้งหลายไว้ได้มาก นี่เรียกว่าชั้นปริยัติ และนำคำสอนมาประพฤติปฏิบัติเจริญจรณะ ๑๕ จนแก่กล้าบริบูรณ์ขึ้นอีกแล้ว นี่เรียกว่าชั้นปฏิบัติ เมื่อวิชชาและวิมุตติเกิดขึ้น นี่เรียกว่าชั้นปฏิเวธ
    .
    ถาม : ข้าพเจ้าเข้าใจผิด และเป็นผู้ประมาทมาก ไม่ได้เจริญจรณะทั้ง ๑๕ ให้บริบูรณ์ ขึ้นในตน จึงไม่ถึงวิชชาและวิมุตติ ความศึกษาของข้าพเจ้า นั้นคงเป็นหมันเสียแล้ว

    ตอบ : เมื่อท่านรู้ตัวได้เช่นนี้เป็นความดีสำคัญทีเดียว จะได้ตั้งใจเจริญจรณะ ๑๕ ให้แก่กล้าบริบูรณ์ จะได้ถึงซึ่วิชชาและวิมุตติ
    .
    ถาม : จะทำในใจแยบคายได้อย่างไร จึงจะไม่ประมาทและมีความเพียรตั้งใจเจริญจรณะ ๑๕ ให้บริบูรณ์ขึ้น

    ตอบ : ความไม่ประมาทก็มีอยู่ในจรณะ ๑๕ คือ ศรัทธา ศีล วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ก็พอครบสิกขา ๓ อยู่แล้ว แต่ท่านไม่เจริญให้มากขึ้น จึงไม่มีบริบูรณ์ในตน
    .
    ถาม : ข้อนั้นจริงอยู่ แต่ข้าพเจ้าคิดว่าจะต้องทำในใจให้แยบคายอย่างไรอีก เพื่อให้มีกำลังใจแข็งแรงและพากเพียรให้ยิ่งขึ้นของท่านจงแนะนำให้ข้าพเจ้ายินดีในความไม่ประมาท และเห็นภัยในความประมาท

    ตอบ : ต้องพิจารณาให้เห็นภัยในสังสารวัฏฏ์ หรือพิจารณาเห็นภัยในทุคติและกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานว่า ผู้ที่ประมาทแล้วนั้นต้องเวียนเกิดในวัฏฏะ ๓ เป็นเขตแดนแห่งมัจจุราชคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ตายแล้วไปเกิดๆ แล้วแก่เจ็บตาย ไม่มีที่สุดเวียนอยู่ใน ๓ ภพ ๓ ภพนั้นลำบากมาก เพราะประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ สมัยใดเสพสัตบุรุษและฟังธรรมก็ทำกรรมเป็นบุญ จึงได้เกิดสุคติ สมัยใดเสพอสัตบุรุษก็ทำกรรมเป็นบาปเพราะผู้ที่ยังละอาสวะไม่ได้ก็ทำกรรมเป็นบาป ต้องไปเกิดในทุคติและกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เสวยทุกขเวทนาหยาบกล้าเผ็ดร้อน เหลือที่จะพรรณนา เพราะยังไม่ปิดประตูอบาย คือยังไม่บรรลุโสดาปัตติผล เราจะประพฤติปฏิบัติได้ในเวลายังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ถ้าความตายมาถึงเข้าก็ไม่มีโอกาสที่จะทำความดีได้ และลมหายใจก็ไม่ได้นัดกับเราว่า จะหยุดลงวันใด เพราะฉะนั้นเราจึงควรพากเพียรให้ถึงซึ่งมรรคและผล จะได้พ้นภัยในอบายและภัยในสงสารวัฏฏ์ ดังพระพุทธสุภาษิตในภัทเทกรัตตสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ หน้า ๓๔๙ ว่า

    อชฺเชว กิจฺมาตปฺปํ ควรรีบทำความเพียรในวันนี้ทีเดียว
    โก ชญฺญา มรณํ สุเว ใครเล่าจะรู้ว่าความตายจะมีมาในวันพรุ่งนี้
    น หิ โน สงฺครนฺเตน ความผลัดเพี้ยนด้วยพญามัจจุราช
    มหาเสเนน มจฺจุนา ผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่ได้เลยทีเดียว
    .
    ถาม : ข้าพเจ้าฟังท่านบรรยายภัยในสังสารวัฏและภัยในอบายทำให้ข้าพเจ้าสะดุ้งกลัวและตั้งใจละความประมาท เจริญความไม่ประมาทให้สมบูรณ์ขึ้นในตน เพื่อถึงซึ่ง มรรคและผล

    ตอบ : สาธุ ข้าพเจ้าขออนุโมทนาความตั้งใจชอบเช่นนั้นของท่านด้วย
    .
    ี่มา ธัมมานุธัมมปฏิบัติ ปฏิปัตติวิภาค
    พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ถาม
    ท่านพระอาจารยมั่น ภูริทัตโต ตอบ

    -กับ-ปัญญา.jpg

    ที่มา เมตตาธรรม ศิษย์พระธุดงค์กรรมฐาน สายหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...