ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    วันนี้ ๔ กันยายน ๒๕๖๒ เป็นวันเจริญอายุวัฒนมงคล ๘๗ ปี ๖๕ พรรษา หลวงปู่ปรีดา(ทุย) ฉันทกโร วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬพ่อแม่ครูอาจารย์ผู้ทรงไว้ซึ่งข้อวัตรอันเด็ดขาดเข้มงวดแห่งปัจจุบันสมัย
    ลูกหลานน้อมกราบองค์หลวงปู่ด้วยความเคารพเหนือเศียรเกล้า
    สาธุๆๆ

    -๔-กันยายน-๒๕๖๒-เป็.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    สาเหตุของการต้องตั้ง “นโมฯ”

    “ได้มีโยมคนหนึ่ง”.. คือ..

    ” อาชญาขุนพิจารณ์ สุวรรณรงค์” เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชีอยู่ในอำเภอพรรณานิคม บุตรของพระเสนาณรงค์ เจ้าเมืองพรรณานิคมคนที่ ๔ และเป็นนายอำเภอพรรณานิคม คนแรกในรัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้นมัสการ
    ถามพระอาจารย์มั่นถึงเรื่อง “นโม” ว่าเหตุใดการ
    ให้ทานหรือการรับศีลจึงต้องตั้ง “นโม” ก่อนทุกครั้ง จะกล่าวคำถวายทาน และรับศีลเลยทีเดียวไม่ได้หรือ..?

    พระอาจารย์มั่นได้เทศน์ชี้แจงเรื่อง “นโม”
    ให้ฟังว่า… “เหตุใดนักปราชญ์ทั้งหลาย จะสวดก็ดี
    จะรับศีลก็ดี หรือจะทำการกุศลใดๆ ก็ดีจึงต้องตั้ง
    นโมก่อน จะทิ้งนโมไม่ได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ นโม
    ก็ต้องเป็นสิ่งสำคัญ จะยกขึ้นพิจารณา ได้ความปรากฏว่า น คือธาตุน้ำ โม คือธาตุดิน พร้อมกับบทพระคาถาขึ้นมาว่า มาตาเปติกสมฺภโว โอทนกุมฺมา สปจฺจโย สัมภวธาตุ ของมารดาบิดาผสมกันจึงเป็นตัวตนขึ้นมาเมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้วก็ได้รับข้าวสุกและขนมกุมมาสเป็นเครื่องเลี้ยงจึงเจริญเติบโตขึ้นมาได้ “น” เป็น ธาตุ ของมารดา โม เป็นธาตุของบิดา ฉะนั้น เมื่อธาตุทั้ง ๒ ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจน ได้นามว่า “กลละ” คือ น้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้ จิตจึงได้ปฏิสนธิในธาตุ “นโม” นั้น เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว “กลละ” ก็ค่อยเจริญขึ้นเป็น “อัมพุชะ คือ เป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น “ฆนะ” คือ แท่งและเปสี คือ ชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัว
    ออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็น ปัญจสาขา คือ แขน ๒ ขา ๒ หัว ๑ ส่วนธาตุ “พ” คือ ลม “ธ” คือ ไฟนั้น เป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจาก” กลละ” นั้นแล้ว กลละ ก็ต้องเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจากกลละนั้นแล้ว กลละ ก็ต้องทิ้งเปล่า หรือ สูญเปล่า ลม และไฟก็ไม่มี คนตายลมและไฟก็ดับหายสาบสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุ ทั้ง ๒ คือ นโม เป็น ดั้งเดิม ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย “น” มารดา”โม” บิดาเป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมา ด้วยการให้
    ข้าวสุก และขนมกุมมาสเป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอน ความดีทุกอย่าง ท่านจึงเรียกมารดาบิดา ว่า “ปุพพาจารย์” เป็นผู้สอนก่อนใครๆ ทั้งสิ้น มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อ บุตรธิดาจะนับจะประมาณมิได้ มรดกที่ท่านทำให้กล่าว คือ รูปกายนี้แลเป็นมรดกดั้งเดิมทรัพย์สินเงินทองอันเป็นภายนอก ก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้ว ก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลย เพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น “มูลมรดก” ของมารดาบิดาทั้งสิ้น จึงว่าคุณของท่านจะนับจะประมาณ มิได้เลย ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่ เราต้องเอาตัวเราคือ นโม ตั้งขึ้นก่อน แล้วจึงทำกิริยาหาได้แปล ต้นกิริยาไม่มูลมรดก นี้แลเป็นต้นทุนทำการฝึกหัดปฏิบัติตนไม่ต้องเป็นคนจน ทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ นโม เมื่อกล่าวเพียง ๒ ธาตุเท่านั้น ยังไม่สมประกอบ หรือยังไม่เต็มส่วน ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้ คือ เอาสระอะ จากตัว “น” มาใส่ตัว “ม” เอา สระโอจากตัว “ม” มาใส่ตัว “น” แล้วกลับตัวมะ มาไว้หน้าตัว โน เป็น มโน แปลว่าใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้ทั้งกายทั้งใจ เต็มตามสมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้ มโน คือ ใจนี้เป็นดั้งเดิมเป็น มหาฐานใหญ่ จะทำจะพูดอะไรก็ย่อมเป็นไปจากใจนี้ทั้งหมดได้ในพระพุทธพจน์ว่า

    มโนปุพฺพงฺ คมา ธมฺมา มโนเสฎฐา มโมยา ธรรมทั้งหลายมีใจ ถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ

    พระบรมศาสดา
    จะทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติออกไปจากใจ คือ มหาฐานนี้ทั้งสิ้น เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้สึก นโมแจ่มแจ้งแล้ว มโน ก็สุดบัญญัติ คือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น สมบัติทั้งหลาย ในโลกนี้ต้องออกไป จาก นโม ทั้งสิ้น ของใครก็ก้อนของใครต่างคนต่างถือเอาก้อน อันนี้ ถือเอาเป็นสมบัติ บัญญัติตามกระแสแห่งน้ำ โอฆะ จนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติด้วยการไม่รู้เท่า ด้วยการหลงถือว่าตัว เป็นเราเป็นของเราไปหมด”

    ัครธรรมาจารย์

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ
    **************************
    เทิดไว้เหนือเศียรเกล้า ด้วยเกล้า สาธุ
    **********************************

    -น.jpg

    ที่มา ธรรมะพระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ⭐️⭐️⭐️ อีก 8 วัน ปิดยอดรับบริจาค ⭐️⭐️⭐️

    ยอดปัจจัยถวายวัดต่างๆ ณ วันที่ 4 กันยายน 2562 จำนวน 11,378.87 บาท (ปิดยอดรับบริจาค วันที่ 12 กันยายน 2562 เวลา 15.00 น.)

    1f4e3.png 1f4e3.png 1f4e3.png ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยตามกำลังศรัทธา เพื่อถวายวัดต่างๆ ในโครงการธรรมะสัญจร ครั้งที่ 11 จำนวน 12 วัด จัดโดยชุมนุมพุทธธรรมกรรมฐาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในระหว่างวันที่ 13-16 กันยายน พ.ศ.2562 ณ จังหวัดหนองคาย-อุดรธานี-สกลนคร

    1. วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี (หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก)
    2. วัดป่าภูก้อน อ.นายูง จ.อุดรธานี
    3. วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี , พระอาจารย์บุญทวี สีตจิตโต)
    4. วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี (หลวงปู่เสน ปัญญาธโร)
    5. วัดภูสังโฆ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี (พระอาจารย์วันชัย วิจิตโต)
    6. วัดป่าสีห์พนม อ.สว่างแดนดิน จ.อุดรธานี (หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม)
    7. วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร (หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ)
    8. วัดป่าภูริทัตตถิราวาส (หนองผือนาใน) อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
    9. วัดถ้ำเจ้าผู้ข้า อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร (หลวงปู่แก้ว สุจิณโณ)
    10. วัดท่าวังหิน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร (พระอาจารย์เชาวรัตน์ กัมมสุทโธ)
    11. วัดป่าหนองไผ่ อ.เมือง จ.สกลนคร (หลวงพ่อสุธรรม สุธัมโม)
    12. วัดป่านาคนิมิตต์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร (หลวงปู่อว้าน เขมโก)

    1f449.png 1f449.png 1f449.png ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมทำบุญถวายวัดต่างๆ จำนวน 12 วัด ร่วมกับชุมนุมพุทธธรรมกรรมฐาน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ที่ : ธนาคารกรุงไทย สาขายิ่งเจริญปาร์ค ประเภทออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 452-065864-0 ชื่อบัญชี นางสาวศิริรัฐ ทุมจันทร์

    1f449.png 1f449.png 1f449.png กำหนดการจัดโครงการ : https://www.facebook.com/1376384156019597/photos/a.1376385866019426/2385484105109592/?type=3&theater

    ☎️☎️☎️ สอบถามรายละเอียด โทร. 086-4017809 , 094-0671743

    -อีก-8-วัน-ปิดยอดรับ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...