ธรรมะจากเพจต่างๆ พระสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสายหลวงปู่มั่น, 6 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    วันนี้วันที่ ๑๐ มีนาคม เป็นวันคล้ายวันเกิดท่านพระอาจารย์วันชัย วิจิตฺโต แห่งวัดสังโฆญาณวิสุทธิโสภณหรือวัดภูสังโฆ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ท่านเจริญอายุวัฒนมงคลครบ ๖๘ ปี องค์หลวงตามหาบัว เคยกล่าวถึงท่านพระอาจารย์วันชัย ไว้ดังนี้

    “..ต่อไปนี้ท่านวันชัยละจะเป็นกำลังของศาสนาองค์หนึ่ง เราพูดชี้นิ้วไม่มีสอง ถ้าลงได้พูดแล้วนะ..” (จากพระธรรมเทศนาเรื่อง ‘กำลังสำคัญของศาสนา’ เมื่อ ๖ ก.ค.๒๕๔๒)

    “..เวลาเราเหลือน้อยลงทุกที อย่าได้ประมาท ให้เร่งภาวนากัน..” โอวาทธรรมคำสอนท่านพระอาจารย์วันชัย วิจิตฺโต

    _____________________

    ท่านพระอาจารย์วันชัย วิจิตฺโต ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๑ อดีตนักเรียนเตรียมทหารรุ่น ๘ และ จปร. รุ่น ๑๙ ท่านได้ทำงานรับราชการทหารอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นจึงออกบวช แล้วได้พบหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นครั้งแรกที่มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซ.จรัญสนิทวงศ์ ๓๗ ฝั่งธนบุรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

    หลวงตามหาบัวได้ให้คำแนะนำว่า “ไม่ควรอยู่เร่ ๆ ร่อน ๆ ควรจะอยู่กับครูบาอาจารย์” จากนั้นไม่นานท่านก็เดินทางไปศึกษากับหลวงตามหาบัว ที่วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
    “ถ้าเป็นน้ำก็แหวกลงไป แหวกจอกแหวกแหลงไป เห็นแล้วน้ำใสสะอาดซ่อนอยู่หลัง ความหมายมั่นสำคัญผิดนี่เอง แหวกความสำคัญทั้งหลายออก ออกให้หมด ธรรมทุกประเภท อนิจจังก็แล้ว ทุกขังก็แล้ว อนัตตาก็แล้ว แหวกออก ๆ จนไม่มีอะไรจะแหวก ถึงน้ำใสบริสุทธิ์ ถึงจิตดั้งเดิม ตัวจริงของจิตเป็นแบบนี้ ใสสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรเลยเจือปน ใสแท้ เห็นธรรม บรรลุธรรม เห็นกายก็จริง เห็นเวทนาก็จริง เห็นจิตจริง ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างจริงไปหมด ฝึกแล้วฝึกเล่า ภาวนาแล้วภาวนาเล่า ทุกข์แล้วทุกข์เล่า

    พยายามแหวกสิ่งที่คนทั้งหลายเขาละเลย ท่านเห็นอะไรท่านก็พินิจพิจารณาเป็นธรรม ได้ยินอะไรท่านก็พินิจพิจารณาเป็นธรรม ได้กลิ่นลิ้มรสได้สัมผัสอะไรก็พินิจพิจารณาอยู่อย่างนั้น ถึงเอียงซ้ายเอี้ยงขวามันก็ไม่เอียง ต้องปรับให้มันตรงอยู่เรื่อย ตรงความจริงอยู่เรื่อย ในที่สุดก็แหวกออกหมด เหลือแต่ความจริงของจิต ทางภาคปฏิบัติ ปฏิบัติไป ๆ เหมือนกับจะไม่เห็นฝั่งเห็นฝาอะไรเลย เหมือนกับไม่มีวันถึงไหน

    ถึงต้องถึง นักปฏิบัติไม่หยุดไม่ถอย ยังไงมันก็ต้องถึง เหมือนกับมืดสนิทจะไม่มีวันสว่างเลย เหมือนกับโง่ดักดานจนไม่มีวันรู้เลย ไม่ใช่ มันค่อยเปลี่ยนแปลงไป ๆ จากการประพฤติปฏิบัติของเรา เปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด จากชั่วเปลี่ยนไปดี จากมืดเปลี่ยนไปสว่างไปเรื่อย จากขุ่นมัวเปลี่ยนเป็นผ่องใสไป ๆ จากกิเลสก็เปลี่ยนเป็นธรรมขึ้นมา”

    ท่านพระอาจารย์วันชัย วิจิตฺโต แห่งภูสังโฆ พระดี ที่หลวงตามหาบัวฯ บอกว่า “ครองแต่ธรรมเต็มหัวใจ”
    บางส่วนจากคำเทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด “ท่านวันชัยครองแต่ธรรมเต็มหัวใจ” เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๑
    “…ทางนั้นก็มีวัดภูสังโฆกับวัดผาแดง ธรรมลีอยู่ที่นั่น มีแต่พระมากๆ ทั้งนั้นละอยู่ที่นั่น เราไม่ค่อยได้ไปไหนละเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยไปไหน ไปตามจุดที่จำเป็น ๆ เท่านั้นละ ที่จะไปเยี่ยมวัดนั้นวัดนี้ไม่ค่อยได้ไป ธุระของเรามีมากต่อมาก วันหนึ่งๆ ไม่ว่างนะ ท่านวันชัยก็ดี มีหลักใจเรียบร้อยแล้ว ท่านพูดเรื่องจิตตภาวนาให้ฟังทุกอย่างๆ เราก็เพียงคอยเพียงคอยแนะๆ เท่านั้น ก็ผ่านไปได้ล่ะ เรียกว่าผ่าน ผ่านได้แล้วท่านวันชัย ผ่านโดยสมบูรณ์ ไม่มีอะไรล่ะกิเลสตัณหาตัวไหนไม่มี เรียกว่าขาดสะบั้นไปเลยละ ครองแต่ธรรมเต็มหัวใจ ถ้าธรรมครองใจแล้วสบายมาก ถ้ากิเลสครองใจเป็นไฟไปเลย มันต่างกัน…”

    “คนเราโลภ โกรธ หลง มาตั้งแต่เกิด จนแก่ จนตาย ไม่เห็นมีอะไรดี กิเลสมันร้าย เราไม่ได้ไปร่ำไปเรียน กิเลสมันก็ติดตัวเราตั้งแต่เกิด ก็เพราะความหลงผิด ในตัวตนนั่นเอง” โอวาทธรรมคำสอนท่านพระอาจารย์วันชัย วิจิตฺโต

    เนื้อหาข้อธรรม และรูปภาพคัดลอกมาจากอินเตอร์เน็ต ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ

    _/_ _/_ _/_

    Cr : ท่องถิ่นธรรม พระกรรมฐาน

    -๑๐-มีนาคม-เ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  2. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “เอาพุทโธมาเป็นที่พึ่งแหละ ว่างจากงานก็ “พุทโธ” ให้ต่อเนื่อง อย่าให้อารมณ์ทางโลกมาแทรก พุทโธ คือพระบรมศาสดา พุทโธแล้วไปสวรรค์ไปนิพพานได้ ใครด่าก็อย่าไปด่าตอบ พุทโธ ๆ ๆ เอาไว้”

    โอวาทธรรมคำสอน
    หลวงปู่สวัสดิ์ ปิยธัมโม
    วัดป่าคูขาด ต.หนองเรือ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  3. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  4. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    “พระ” แปลว่า..ประเสริฐ การยืน การเดิน การนั่ง การนอนของพระ ล้วนแล้วเป็นของประเสริฐ เพราะใจของพระเป็นใจที่ประเสริฐ ความประพฤติของพระเป็นความประพฤติที่ถูกต้องตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ที่เป็นหลักธรรมอันประเสริฐ หลักวินัยอันประเสริฐ

    คติธรรมคำสอน
    หลวงตามหาบัว ญานสัมปันโน
    วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

    -แปลว่า-ประเสริฐ-การย.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  5. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ” คนเราเกิดมา มาแต่ตัว อย่านำความชั่วติดตัวตามไป จงฝักใฝ่ในกุศล เป็นทรัพย์ของตนเครื่องประกันตัว

    ตายแล้วจากโลกนี้ ย่อมเสวยความดีที่ทำแล้ว ชีวิตและร่างกายสาบสูญไป แต่จิตใจย่อมคงอยู่ ผู้เสวยบุญกรรมจิตใจไม่สาบสูญ แต่จิตใจย่อมคงอยู่ การทำบุญจึงไม่เสียผล ความสร้างกุศลไว้เนื่องๆ เพราะชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ย่อมแปรผัน อย่างเราท่านที่แลเห็นเป็นพยาน ”

    โอวาทธรรมคำสอน
    ท่านพ่อลี ธัมมธโร
    วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

    -มาแต่ตัว-อย.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  6. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    พระญาณวิศิษฏ์ (หลวงพ่อทอง จันทสิริ) เจ้าอาวาสวัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ละสังขารแล้ววันนี้

    -หลวงพ่อทอ.jpg
    พระญาณวิศิษฏ์ (หลวงพ่อทอง จันทสิริ) เจ้าอาวาสวัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ได้มรณะภาพลงด้วยอาการสงบที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อเช้าตรู่วันนี้ (๑๖ มีนาคม ๒๕๕๙) เวลาประมาณ ๐๔.๑๐ น

    สิริอายุรวม ๘๓ ปี ๑๐ เดือน ๑๔ วัน พรรษา ๖๓

    *** สำหรับกำหนดการจัดงานและรายละเอียดต่างๆ ทางวัดอโศการาม จะแจ้งให้ทราบต่อไป ***

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  7. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    คนดีมีศีลธรรมในใจนั้นหายากยิ่งกว่าเพชรนิลจินดาเป็นไหนๆ ได้คนดีเพียงคนเดียวย่อมมีคุณค่ามากกว่าเงินเป็นล้านๆ เพราะเงินเป็นล้านๆไม่สามารถทำความร่มเย็นให้แก่โลกได้อย่างถึงใจ เหมือนได้ คนดีมาทำประโยชน์คนดีแม้เพียงคนเดียวยังสามารถทำความเย็นใจให้แก่โลกได้มากมายและยั่งยืน เช่น พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายเป็นตัวอย่าง

    คนดีแต่ละคนมีคุณค่ามากกว่าเงินเป็นก่ายกองและเห็นคุณค่าแห่งความดีของตนที่จะทำต่อไปมากกว่าเงิน แม้จะจนก็ยอมจน ขอแต่ให้ตัวดีและโลกมีความสุข

    แต่คนโง่ชอบเงินมากกว่าคนดีและความดี ขอแต่ได้เงินแม้ตัวจะเป็นอย่างไรไม่สนใจคิดถึงจะชั่วช้าลามกหรือแสนโสมมเพียงไรก็ตาม ขนาดนายยมบาลเกลียดกลัวไม่อยากนับเข้าบัญชีผู้ต้องหา กลัวจะไปทำลายสัตว์นรกด้วยกันให้เดือดร้อนชิปหายก็ไม่ว่า ขอแต่ได้เงินก็เป็นที่พอใจ ส่วนจะผิดถูกประการใด ถ้าบาปมีค่อยคิดบัญชีกันเองโดยเขาไม่ยุ่งเกี่ยวคนดดีกับคนชั่วและสมบัติเงินทองกับธรรม คือคุณงามความดีผิดกันอย่างนี้แล ใครมีหูมีตาก็รีบคิดเสียแต่บัดนี้ อย่าทำให้สายเกินไป จะหมดทางเลือกเฟ้น การให้ผลก็ต่างกันสุดแต่กรรมของตนจะอำนวย จะทักท้วงหรือคัดค้านไม่ได้ กรรมอำนวยให้อย่างใดต้องยอมรับเอาอย่างนั้น

    ฉะนั้นสัตว์โลกจึงต่างกัน ทั้งภพกำเนิด รูปร่าง ลักษณะ จริต นิสัย สุข ทุกข์ อันเป็นสมบัติประจำตัวของแต่ละราย แบ่งเบาแบ่งหนักกันไม่ได้ ใครมีอย่างไรก็หอบหิ้วไปเอง ดีชั่ว สุขทุกข์ก็ยอมรับ ไม่มีอำนาจปฏิเสธได้ เพราะไม่ใช่แง่กฎหมาย แต่เป็นกฎของกรรม

    ________________

    โอวาทธรรมคำสอน
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  8. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  9. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    *** วันที่ 20 มีนาคม 2559 น้อมรำลึก 159 ปี ชาตกาล พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) จอมปราชญ์แห่งเมืองดอกบัวงามอุบลราชธานี ***

    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มีนามเดิมว่าจันทร์ เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2399 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2400) ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง เป็นบุตรคนโตของหลวงสุโภร์ประการ (สอน) กรมการจังหวัดอุบลราชธานี กับนางแก้ว เมื่ออายุย่าง 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในเดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. 2411 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2412) ณ วัดบ้านหนองไหล เจ้าอธิการโสดาเป็นพระอุปัชฌาย์ ถึงเดือน 4 จึงย้ายไปอยู่วัดศรีทอง (ปัจจุบันคือวัดศรีอุบลรัตนาราม) อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เพื่อศึกษากับพระอาจารย์ม้าว เทวธมฺมี จนอายุย่าง 19 ปี ก็จำเป็นต้องลาสิกขาเพื่อตามไปไถ่ตัวบิดาที่ถูกเกณฑ์ไปปราบทัพฮ่อ

    ท่านได้อยู่ช่วยงานมารดาบิดาอยู่ 3 ปี พระอาจารย์ม้าวก็ให้คนมาตามไปบวชอีกครั้ง ท่านยินยอม จึงได้อุปสมบทเมื่อวันศุกร์ ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2420 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู พระอาจารย์ม้าวเป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการสีโห วัดไชยมงคล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ บวชแล้วจำพรรษาที่วัดไชยมงคลเพื่อช่วยงานของพระกรรมวาจาจารย์ เฉพาะเวลาเรียนมูลกัจจายน์จึงเดินมาเรียนที่วัดศรีทอง เรียนได้ 2 ปี พระอาจารย์ม้าวอาพาธหนักจนไม่สามารถสอนได้ จึงให้ท่านไปศึกษาต่อที่กรุงเทพมหานคร

    เมื่อถึงกรุงเทพฯ พระอาจารย์อ่อนซึ่งเป็นศิษย์พี่ได้นำท่านไปฝากศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระปลัดผา วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อพระอริยมุนี (เอม อายุวฑฺฒโน) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ มรณภาพ พระปลัดผาได้พาท่านไปฝากตัวศิษย์ของพระมหาอ่อน อหึสโก วัดบุปผาราม จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ขณะบวชได้ 9 พรรษา ท่านตั้งใจว่าตั้งแต่พรรษา 10 เป็นต้นไปจะมุ่งด้านวิปัสสนาธุระแทน ในพรรษาที่ 10 นั้น ท่านจึงกลับไปอยู่วัดศรีทองเพื่อปรนนิบัติและฝึกปฏิบัติธรรมกับพระอาจาร์ม้าวต่อ

    พ.ศ. 2431 พระยามหาอำมาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ) และเจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์) ร่วมกันสร้างวัดมหามาตยารามขึ้นที่นครจำปาศักดิ์ขึ้นถวายคณะสงฆ์ธรรมยุต พระอาจารย์ม้าวจึงมอบหมายให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาส และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่ พระครูวิจิตรธรรมภาณี เจ้าคณะใหญ่เมืองนครจำปาศักดิ์ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 แล้วกลับไปปกครองคณะสงฆ์เมืองจำปาศักดิ์

    เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ทำให้สยามเสียดินแดนลาวแก่สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ท่านพ้นจากตำแหน่งเจ้าคณะเมืองจำปาศักดิ์ จึงย้ายมาอยู่วัดวัดสุปัฏนารามวรวิหาร อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ต่อมาท่านได้นำคณะศิษย์มาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดพิชยญาติการามวรวิหาร อยู่ได้ 1 พรรษา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงมอบหมายให้ไปอยู่วัดเทพศิรินทร์เพื่อช่วยงานหม่อมเจ้าพระศรีสุคตคัตยานุวัตร และมีรับสั่งให้ท่านเข้าสอบอีกครั้งในปี พ.ศ. 2437 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค แล้วได้รับพระบรมราชานุญาตให้ออกไปจัดการศึกษาภาษาไทยและอักษรไทยที่เมืองอุบลราชธานี

    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ อาพาธด้วยโรคชรา ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 สิริอายุ 75 ปี 121 วัน ได้รับพระราชทานไตรแพรครอง 1 ไตร โกศโถและชั้นรอง 2 ชั้น ฉัตรเบญจาตั้ง 4 คันประกอบศพเป็นเกียรติยศ ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ศกนั้น ณ วัดบรมนิวาส

    -20-มีนาคม-2559-น้อมรำลึ.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  10. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    *** พระธุดงค์กรรมฐาน ***

    พระธุดงค์กรรมฐาน ที่เรียกสั้นๆ ว่า “พระกรรมฐาน” หรือ “พระป่า” หมายถึง พระภิกษุผู้มีข้อวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดเข้มงวด เป็นไปเพื่อกำจัดกิเลส และเป็นอิสระเหนือเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวง

    มีชีวิตอย่างเรียบง่าย มีปัจจัยเครื่องอาศัยจำกัด มุ่งปฏิบัติฝึกหัดอบรมจิตใจให้เข้าถึงความสงบและเกิดปัญญา ด้วยการบำเพ็ญภาวนาสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน

    ข้อวัตรเหล่านี้จะเป็นบันไดนำไปสู่ความบริสุทธิ์บริบูรณ์ในศีล สมาธิ และปัญญา อันเป็นมรรคาแห่งการดับทุกข์

    เส้นทางอันสงบของพระธุดงค์กรรมฐาน มุ่งไปสู่ความเป็นอิสระจากพันธนาการแห่งชีวิต ละความเป็นอยู่ที่เต็มไปด้วยความห่วงกังวลและวุ่นวายเร่าร้อนแบบโลกๆ มาดำรงเพศบรรพชิต

    มีชีวิตเสมือนนกน้อยอาศัยรังเล็กๆในป่าเป็นที่พำนักหลับนอนจะโผผินบินไป ณ แห่งใดก็สะดวกและอิสระ เพราะไม่มีสัมภาระมากมาย
    จะมีอยู่ก็เพียงแต่ปีกและขนเท่านั้น ติดไปกับตัว พร้อมที่จะบินไปในโลกกว้างได้อย่างเสรี

    ชีวิตพระป่าก็เช่นเดียวกัน มีเพียงบาตร จีวรและกุฏิหลังเล็กๆในราวป่าเป็นที่อยู่อาศัย

    ส่วนบริขารเครื่องใช้สอยส่วนตัวก็มีเท่าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเท่านั้น

    จึงกล่าวได้ว่า เป็นวิถีชีวิตเบาสบาย ปราศจากความห่วงกังวล ดิ้นรนแสวงหา และความผูกมัดอยู่กับสิ่งใด

    ภาพพระภิกษุห่มจีวรเหลืองหม่น สะพายบาตร แบกกลดและกระบอกน้ำ จาริกรอนแรมไปสู่สถานที่สงบสงัดต่างๆ เช่น ขุนเขา ถ้ำ เงื้อมผา ป่าดงดิบ ป่าช้า และริมธาร นั่นคือ พระธุดงค์กรรมฐาน ผู้มีอิสระดุจนกน้อย ท่องธุดงค์ไปในขุนเขาลำเนาไพรอย่างเสรี
    โดยมีจุดหมายอยู่ที่การแสวงหาประสบการณ์ทางธรรม เพื่อฝึกฝนตนให้มีความเข้มแข็งอดทน พากเพียร และเพื่อสร้างสมอบรมปัญญาด้วยการพิจารณาสภาวธรรม ที่มีอยู่ในตนเองและในธรรมชาติให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรม จนสามารถละทิ้งความยึดมั่นในอัตตาตัวตนลงได้ มีอิสระอยู่เหนือการย่ำยีจากกิเลสทั้งปวง …

    __________________

    จาก : ตามรอยพระโพธิญาณ ชีวิตพระกรรมฐานใน “ป่าพง” หน้า๗-๘

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  11. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  12. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  13. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เมื่อราวๆ สี่สิบปีที่แล้ว
    หลวงพ่อชามอบหมายให้พระลูกศิษย์ไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษ
    สมัยนั้นหลวงพ่อสุเมโธยังอยู่ในวัยหนุ่มและมีอายุพรรษาไม่มากนัก
    เมื่อต้องรับภาระหนักอย่างนี้ ท่านก็เกิดความลังเลสงสัย
    ไม่แน่ใจว่าวิถีชีวิตแบบพระวัดป่าจะดำรงอยู่ในต่างประเทศได้หรือไม่
    เพราะสภาพแวดล้อมดูจะไม่เอื้ออำนวยและคนส่วนใหญ่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา

    หลวงพ่อชาถามท่านสั้นๆ ว่า “ที่อังกฤษมีคนดีอยู่บ้างไหม”
    ครั้นได้รับคำตอบว่าพอมีอยู่ หลวงพ่อชาก็ให้ข้อคิดว่า
    “ที่ไหนมีคนดี ที่นั่นพระก็อยู่ได้”

    ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์
    หลวงพ่อชาน่าจะเป็นพระภิกษุรูปแรกที่ออกเดินบิณฑบาตในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
    แม้จะมีเสียงทักท้วงจากลูกศิษย์ชาวตะวันตกหลายคนที่เกรงว่าจะผิดกฎหมายและคงไม่มีคนใส่บาตร หลวงพ่อก็ยังคงยืนยันในเจตนาเดิม
    ท่านบอกว่า “บิณฑบาตเอาคน ไม่ได้บิณฑบาตเอาอาหาร”

    วันเวลาผ่านไปหลายสิบปี ไม่ว่าจะไปอยู่ในประเทศใดก็ตาม
    ลูกศิษย์ของหลวงพ่อชาก็ยังคงปฏิบัติตามคำสอนของท่าน
    เพียงแต่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสถานที่นั้นๆ
    อย่างในช่วงที่อากาศเย็นจัดก็อนุญาตให้สวมรองเท้าและเครื่องกันหนาวออกบิณฑบาตได้
    เวลาบิณฑบาตในเมืองที่อยู่ไกลมากอาจต้องมีรถรับส่ง
    หรือในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ต้องใช้วิธียืนอยู่ที่มุมถนนไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมง
    จึงจะมีคนกล้าเข้ามาซักถามและใส่บาตร

    ดังภาพของพระภิกษุวัดป่าอภัยคีรี ในเขตเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
    พระอาจารย์ปสันโนซึ่งเป็นเจ้าอาวาสยังคงนำพระออกบิณฑบาตในเมืองเล็กๆ ใกล้วัด
    และมีชุมชนชาวเอเชียและชาวตะวันตกจำนวนหนึ่งที่ยินดีใส่บาตรยามเช้า

    ในเมืองนอกอาจจะมีคนใส่บาตรไม่มากเท่าเมืองไทย
    แต่การออกบิณฑบาตคือการรักษาไว้ซึ่งอริยประเพณี
    เป็นการเปิดโอกาสให้คนได้พบเห็นสมณะอันเป็นมงคลประการหนึ่ง
    เป็นช่องทางให้ผู้ที่สนใจในธรรมสามารถเข้ามาพบปะพูดคุยกับพระ
    และนำไปสู่ความเลื่อมใสศรัทธาและการประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนต่อไป

    หลวงพ่อชาได้วางแนวทางการเผยแพร่ธรรมะด้วยการปฏิบัติให้คนเห็น
    แล้วคนที่มีปัญญาก็จะเกิดศรัทธาเอง เพราะชื่นชมในการกระทำที่ดีงาม
    คำสอนของหลวงพ่อเป็นที่ประจักษ์ด้วยความเจริญรุ่งเรืองของวัดป่าในดินแดนตะวันตก
    ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ

    ______________

    Credit ภาพถ่าย พระอาจารย์สุทันโต วัดป่าอภัยคีรี และวัดป่าจิตตวิเวก
    www.abhayagiri.org
    www.cittaviveka.org

    -สี่สิบปีที่แล.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  14. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ด้วยตัวเรานี้เองตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่น เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลยมนุษย์ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นไว้เพื่อให้ตัวเองวิ่งตามแต่ก็ตามไม่เคยทันการแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้นเป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อยเหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็ก ๆ เพียงตัวเดียวมนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่งซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือดวงจิตที่ผ่องแผ่ว เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรนเรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา เรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้ภาระที่ต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องที่ใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้วในหมู่ชนที่เพ่งแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลาไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตาเขาพากันบ่นว่าหนักและเหน็ดเหนื่อย พร้อมๆกันนั้นเขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง

    -ไม่มี.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  15. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    วันนี้เป็นวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันคล้ายวันนิพพานของพระนางพิมพาภิกษุณีเถรี หรือ อีกพระนามหนึ่งคือ พระภัททากัจจานาเถรี พระเอตทัคคะผู้เป็นเลิศในอภิญญาใหญ่กว่าภิกษุณีทั้งปวง พระนางพิมพาเถรี เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ พระอารามภิกษุณี กรุงสาวัตถี ในพรรษาที่ ๔๓ แห่งพระสมเด็จผู้มีพระภาค

    ***********************

    พระประวัติย่อ

    พระนางพิมพาเถรีภิกษุณี พระองค์ประสูติวันเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) ซึ่งนับพระนางเป็น ๑ ในสหชาติทั้ง ๗ ของพระพุทธเจ้าซึ่งประกอบด้วย
    ๑.พระภัททากัจจานาเถรี หรือ พระนางยโสธรา
    ๒.พระอานนท์ หรือ เจ้าชายอานนท์
    ๓.พระฉันนเถระ หรือ นายฉันนะ
    ๔.พระกาฬุทายีเถระ หรือ กาฬุทายีอำมาตย์
    ๕.ม้ากัณฑกะ
    ๖.ต้นมหาโพธิ์
    ๗.ขุมทรัพย์ทั้งสี่
    พระนางยโสธราทรงเป็นป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ และพระมารดามีพระนามว่าพระนางอมิตาเทวี ประสูติในตระกูลศากยะแห่งโกลิยวงศ์ กรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ เมื่อแรกประสูติพระญาติทั้งหลายได้ทรงถวายพระนามว่า “ภัททากัจจานา” เพราะพระสรีระของพระองค์ มีพระฉวีวรรณสีเหมือนทองคำอันบริสุทธิ์ พอมีพระชนม์ ๑๖ พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อมีพระชนม์ ๒๙ พรรษาได้ ประสูติพระราชโอรส โดยพระเจ้าสุทโธทนะให้พระนามว่าพระราหุล
    ครั้นเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช พระนางยโสธราทรงเกิดความเศร้าโศกพระทัยยิ่งนัก ได้ทรงละเว้นการตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับนานาประการ ทรงมีจิตผูกพัน และมีความรักอันลึกซึ้งต่อพระองค์ แม้วัฒนธรรมอินเดียในยุคนั้นจะถือว่าหญิงไม่มีสามีจะถือว่าไม่มีเกียรติ และหญิงนั้นสามารถมีสามีใหม่ได้ แต่พระนางก็ไม่สนพระทัยในชายอื่น พระนางยังคงทรงเฝ้ารอพระสวามีของพระนางเพียงพระองค์เดียว จนกล่าวได้ว่า…
    “..คราใดที่พระนางได้ยินข่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงนุ่งห่มผ้าย้อมฝาด พระนางก็เปลี่ยนชุดทรงมานุ่งห่มผ้าย้อมฝาดด้วย
    คราใดที่พระนางได้ยินข่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะบรรทมบนพื้นไม้ พระนางก็บรรทมบนพื้นไม้ด้วย
    คราใดที่พระนางได้ยินข่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงอดพระกระยาหาร พระนางก็ทรงอดพระกระยาหารด้วย
    ไม่ว่าจะได้ข่าวว่าพระสวามีทรงปฏิบัติตนอย่างไร พระนางพิมพาก็ทรงปฏิบัติตนเยี่ยงนั้น..”
    และเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ในวันแรกพระนางมิได้ทรงออกไปถวายการต้อนรับ แต่ในวันที่สองขณะที่พระพุทธองค์เสด็จออกทรงรับบาตร พระนางยโสธราทรงชี้ให้พระราหุลได้ทอดพระเนตรพระบิดาของพระองค์แต่มิได้ออกไปทรงบาตร ทรงเก็บตัวอยู่ในพระตำหนัก และในวันที่สองเมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับภัตตาหารในพระราชวังเสร็จ พระองค์จึงเสด็จไปโปรดพระนางในพระตำหนัก เมื่อพระนางได้ทรงพบถึงกับเข้ามากอดพระบาทร่ำไห้รำพันอย่างน่าสงสาร แต่พระพุทธองค์ก็ทรงเทศนาให้พระนางดำรงพระสติไว้ได้ และเมื่อพระพุทธเจ้าทรงเทศนาพระประยูรญาติแล้ว พระนางก็รับสั่งให้ราหุลราชโอรสตามเสด็จพระพุทธเจ้าเพื่อทูลขอราชสมบัติ พระพุทธเจ้าจึงทรงบรรพชาราหุลเป็นสามเณรและให้เสด็จติดตามพระองค์ไปด้วย
    หลังจากที่พระนางอยู่ในพระตำหนักได้ ๓ ปี พระเจ้าสุทโธทนะก็เสด็จสวรรคต และได้ทำพิธีให้เจ้าชายมหานามะขึ้นครองราชย์สมบัติสืบแทน พระนางยโสธราพิมพาจึงออกผนวชกับมาตุคาม ๑,๑๐๐ คน ประมาณพรรษาที่ ๕ แห่งพระผู้มีพระภาค ขอบรรพชาในสำนักของพระศาสดา พระนางยโสธราพิมพาไปยังสำนักของพระเถรี ได้รับคุรุธรรม ๘ ประการ บวชแล้ว เมื่อมีพระชนมายุ ๔๐ พรรษา มีพระนามว่า “พระภัททากัจจานาเถรี”
    พระภัททากัจจานาเถรี (พระนางพิมพาเถรี) ต่อมารับกรรมฐานจากพระพุทธเจ้าและเจริญวิปัสสนายังไม่ทันถึง ๑๕ วัน ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านเป็นผู้ช่ำชองชำนาญในอภิญญาทั้งหลายระลึกชาติได้ถึงอสงไขยหนึ่งยิ่งด้วยแสนกัปโดยการระลึกถึงเพียงครั้งเดียว เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะต่างๆตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกาผู้บรรลุอภิญญาใหญ่
    สมเด็จพระนางพิมพาภิกษุณีเถรี ขณะมีพระชนมายุได้ ๗๘ พรรษา พระองค์ทรงได้ตรวจพิจารณาดูสังขารขันธ์วาระนิพพานของตนเองได้มาถึงกาลแล้ว จึงได้เสด็จไปกราบทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งกราบขอขมาโดยการระลึกชาติเป็นลำดับ ๆ ที่เคยได้ร่วมบำเพ็ญบารมีร่วมกับพระโพธิสัตว์เจ้าในภพชาติต่าง ๆ ที่เคยทำให้พระพุทธองค์ในอดีตชาตินั้น ๆ ต้องหนักใจ และบางชาติถึงกับต้องเสียสละชีวิตลงในชาตินั้น ๆ
    สมัยนั้น มนุษย์และเทวดาแต่บรรดาที่ยังเป็นปุถุชนตัดความรักอาลัยไม่ขาดไปจากขันธสันดาน เมื่อได้ทราบว่าสมเด็จพระนางเจ้าดับขันธ์เข้าสู่อมตมหานฤพานแล้ว ต่างก็พากันโศกาดูรร่ำไห้เสียงเซ็งแซ่ควรจะสงสาร ส่วนท่านที่เป็นอรหันตอริยบุคคลมีองค์สมเด็จพระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น ก็บังเกิดธรรมสังเวชในหฤทัยทุกถ้วนหน้า คราทีนั้นสมเด็จพระอมรินทราธิราชเจ้าจอมสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ จึงทรงมีเทวโองการให้อัญเชิญพระศพมาชำระสระสรงด้วยอุทกวารี แล้วสมเด็จพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้เป็นใหญ่ จึงถวายผ้าเนื้อละเอียดให้หุ้มห่อบรมศพแห่งพระเถรี เหล่าเทวดาและมนุษย์ที่มีศรัทธาเลื่อมใสก็ปลดเปลื้องเครื่องประดับออกจากกาย ถวายให้เป็นเครื่องประดับพระศพกันมากมายหนักหนา มีคำที่พระโบราณาจารย์พรรณนาไว้ว่า พระบรมศพของสมเด็จพระนางพิมพาเถรีภิกษุณีเจ้าในวันนั้น ทรงไว้ซึ่งความงามโสภายิ่งกว่าเทพอัปสรสวรรค์ทุกชั้นฟ้าเสียอีก
    ลำดับนั้น ท่านท้าวสุทธาวาสมหาพรหมผู้วิเศษ ซึ่งด่วนจรมาแต่สุทธาวาสพรหมโลกด้วยศรัทธาเลื่อมใส ก็อธิษฐานใจเนรมิตด้วยพรหมฤทธิ์ ให้เป็นหีบทองเข้ารองรับพระศพใส่ไว้เป็นอันดี ฝ่ายสมเด็จท้าวโกสีย์อมรินทราธิราช ก็เนรมิตด้วยเทพฤทธิ์ ให้บังเกิดเป็นเมรุทองมียอดได้ ๕๐๐ ยอด มีสัณฐานงดงามรุ่งเรืองเลื่อม พรรณรายกอปรไปด้วยเครื่องประดับอันวิจิตร นอกจากพรหมและเทวดาจักเนรมิตด้วยฤทธิ์แห่งตนแล้ว บรรดามนุษย์ทั้งหลายต่างก็พากันตกแต่งประดับประดาด้วยฉัตรธงเป็นอาทิ แล้วก็อัญเชิญพระบรมศพขื้นสู่พระเมรุทองประโคมด้วยดุริยดนตรีเสียงพิลึกกึกก้องโกลาหล
    สมเด็จพระทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสแก่องค์อมรินทราธิราชซึ่งประทับยืนอยู่ในขณะนั้นว่า เราตถาคตจะประทานเพลิงศพเจ้าพิมพาก่อนผู้อื่นใดในกาลบัดนี้ สมเด็จท้าวโกสีย์ผู้ใหญ่ในไตรตรึงษ์สรวงสวรรค์ ได้สดับพระพุทธฎีกาดั่งนั้น ก็มิได้ทรงรอช้าให้เสียเวลา น้อมนำเอาเพลิงอันเกิดแต่แว่นแก้วมณีเข้าทูลถวายทันที สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับเอาเพลิงมาแต่หัตถ์ท้าวโกสีย์ แล้วก็ทรงประทานเพลิงต่อจากนั้น จึงพระพรหมเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ต่างก็เข้าถวายเพลิงเป็นลำดับไปในภายหลัง เพลิงที่มนุษย์และเทวดาถวายก็ดี เตโชธาตุที่บังเกิดขึ้นเองก็ดี ทั้งสองสิ่งนี้ได้รวมกัน เผาผลาญบรมศพสมเด็จพระนางพิมพาภิกษุณีเจ้าให้เป็นเถ้าถ่านละเอียดจุณวิจุณ แต่มาตรว่าพระอังคารก็มิได้เหลือหลง ยังคงมีแต่พระธาตุซึ่งมีพรรณอันงามดุจดอกมณฑาเท่านั้น
    ครั้นการถวายพระเพลิงบรมศพพระนางซึ่งมีคุณใหญ่ เสร็จสิ้นลงเรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระเจ้าปเสนทิโกศลมหาราช จึงทรงกราบทูลองค์พระจอมไตรโลกนาถขึ้นในขณะนั้นว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมเด็จพระนางพิมพาเถรีภิกษุณีเจ้าท่านดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานครั้งนี้ ปรากฏว่ามีมนุษย์และเทวดาอินทร์พรหมยมยักษ์ พากันมาสักการบูชาและถวายพระเพลิงมากมายยิ่งหนักหนา ควรจะเห็นว่ามากกว่าพระอรหันต์สาวกที่ดับขันธ์เข้าสู่นิพพานไปแล้วทั้งปวง เมื่อเป็นเช่นนี้บรมธาตุอันมีพรรณงามดุจดังดอกมณฑา แห่งสมเด็จพระนางพิมพา เถรีที่เหลือปรากฏอยู่นี้ ควรจักนำไปประดิษฐานไว้ ณ ที่ใด พระเจ้าข้า” สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงเสาวนาการพระราชปุจฉาดังนั้น จึงทรงมีพระพุทธฎีกาดำรัสสั่งองค์ราชาธิบดีปเสนทิโกศล ให้ทรงสร้างพระสถูปเจดีย์ ณ สถานที่อันควรแห่งหนึ่งในกรุงสาวัตถี เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุสีดอกมณฑา แห่งองค์พระพิมพาเถรีภิกษุณีเจ้า เพื่อให้เหล่าเทวดาอินทร์พรหมและมนุษย์ ที่มีน้ำใจเคารพเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาได้กระทำคารวะสักการบูชาสืบต่อไปชั่วกาลนาน

    ด้วยประการฉะนี้ วันนี้จึงเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ให้ระลึกถึงคุณงามความดีเป็นสังฆานุสติอีกวันหนึ่ง

    -๑๕.jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  16. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  17. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    เชิญร่วมงานแสดงมุทิตาสักการะแด่ “พระครูสุชีพภาวนาภิวัตร” ( หลวงพ่อเข็ม สุชีโว) เจ้าอาวาสวัดห้วยซันเหนือ( วัดป่าโนนนิเวศน์) ในวาระที่ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูเทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอทุ่งศรี – สำโรง(ธ) และงานทักษิณานุปทานประจำปี 18-19 เมษายน พ.ศ.2559 ในวันที่ 18-19 เมษายน 2559

    *************************

    กำหนดการ

    -:- วันจันทร์ 18 เมษายน พ.ศ. 2559 -:-

    เวลา 08.00 น จัดตั้งขบวนแห่สัญญาบัตรพัดยศ ใบตราตั้งเจ้าคณะอำเภอที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอำเภอนาจะหลวย
    เวลา 13.30 น. พระสงฆ์สมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา
    เวลา19.30 น. พระสงฆ์ทั้งหมดร่วมเจริญพระพุทธมนต์ที่ศาลาการเปรียญ
    เวลา20.30 น. ฟังพระธรรมเทศนาและสวดอิติปิโสสลับกับฟังพระธรรมเทศนาตลอดทั้งคืน

    -:- วันอังคาร 19 เมษายน พ.ศ.2559 -:-
    เวลา 07.30 น. พระสงฆ์ทั้งหมดออกรับบิณฑบาตรอบศาลาการเปรียญ
    เวลา09.30 น ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ทั้งหมดสวดทักษิณนุปาทาน- อนุโมทนาเป็นเสร็จพิธี

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  18. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  19. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
  20. ธรรมะสายหลวงปู่มั่น

    ธรรมะสายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2017
    โพสต์:
    15,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +375
    ” ทำดีให้เท่าเขาเสียก่อน
    แล้วค่อยมาวิพากวิจารณ์
    มึงไม่ใช่เขา
    ไม่อยู่ในสถานะการณ์เหมือนเขา
    อย่าพึ่งด่วนสรุปว่าเขาไม่ดี ”

    คติธรรมคำสอน
    หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร
    วัดป่าประชาชุมพล อ.เมือง จ.อุดรธานี

    .jpg

    ที่มา พระกรรมฐาน สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...