ความหมายของบุญและบารมี
คำว่า บุญ แปลกตามศัพท์ว่า ชำระ ฟอก ล้าง ท่านแสดงว่า แบ่งเป็น ๒ ก่อน คือ บุญที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ความดีต่างๆ เรียกว่าเป็นบุญเพราะเป็นเครื่องชำระฟอกล้างความชั่ว ๑ บุญที่เป็นส่วนผล คือ ความสุขดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า "ท่านทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย เพราะคำว่าบุญนี้ชื่อของ ความสุข" ดังนี้๑
คำว่า บารมี มาจากคำบาลีว่า "ปารมี" มีคำแปลที่นักภาษาศาสตร์ได้ให้ไว้หลายอย่าง จะแสดงแต่บางอย่าง คือ แปลว่า อย่างยิ่ง มาจากคำว่า "ปรมะ" ที่ภาษาไทยเรามาใช้ บรม และคำว่าบรมที่แปลว่าอย่างยิ่งนี้ก็มีใช้ทั้ง ๒ ทาง ดีอย่างก็บรม หรือไม่ดีอย่างยิ่งก็บรม เช่นคำว่่า นิพพาน เป็นบรมสุข คือ สุขอย่างยิ่ง จึงเป็นคำกลางๆ ใช้ได้ทั้ง ๒ ทาง ดั่งนี้ คำว่า บารมี มาจาก คำว่าปรมะ แล้วมาเป็น ปารมี ไทยเรียกว่า บารมี แต่ว่ามีความหมายถึงส่วนที่ดีเท่านั้น ไม่หมายเป็นกลางๆ เหมือนอย่างคำว่า ปรมะ
เพราะฉะนั้น คำว่า ปารมี จึงมีความหมายที่แปลอีกอย่างหนึ่งว่าเลิส อย่างยิ่ง ก็คือเลิสหรือประเสริฐ อีกอย่างหนึ่ง บารมีแปลว่าถึงฝั่งอันหมายความว่านำให้ถึงฝั่ง คือจากฝั่งนี้ไปสู่ฝั่งโน้น อันหมายความว่านำจากฝั่งนี้คือ ไปสู้ฝั่งโน้นคือ โลกุตตระ เหนือโลก พ้นโลก อัน หมายถึงนิพพาน
ธรรมะดีดี จากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Surachai Mankong, 6 กันยายน 2009.
-
-
วิธีสร้างบารมี
ความดีดังที่กล่าวมานั้น คือ บุญ ส่วนความชั่วที่ตรงกันข้าม คือ บาป คำว่าบุญ แปลตามศัพท์ว่า ชำระ ฟอก ล้าง ท่านแสดงว่า แบ่งเป็น ๒ ก่อน คือบุญที่เป็นส่วนสาเหตุ ได้แก่ ความดีต่างๆ เรียกว่าเป็นบุญเพราะเป็นเครื่องชำระฟอกล้างความชั่ว ๑ บุญที่เป็นส่วนผล คือความสุขดังที่พระพุทธเจ้าตรัส ไว้แปลความว่า "ท่านทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลยเพราะคำว่าบุญนี้เป็นชื่อของความสุข" ดั่งนี้ ๑ บุญที่เป็นส่วนเหตุคือความดีนั้น เกิดจากการกระทำ ถ้าอยู่เฉยๆ ไม่ทำก็ไม่เกิดเป็นบุญขึ้นการกระทำบุญเรียกว่า บุญกิริยา จำวัตถุ คือสิ่งเป็นที่ตั้ง หรือเรื่องของการกระทำ ซึ่งเรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ แปลว่า สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการกระทำบุญ หรือเรื่องแห่งการกระทำ บุญ ทางพระพุทธศาสนาท่านแสดงไว้โดยย่อ ๓ อย่างคือ
(๑)ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
(๒)สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศิล
(๓)ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
บุญคือความดีทั้ง ๓ ข้อ เรียกว่าเป็นบุญ เพราะเครื่องชำระล้างความชั่ว ตลอดถึงรากเหง้าของความชั่ว รากเหง้าของความชั่วนั้นโทสะ คิดประทุษร้าเขา ๑ โมหะ หลงไม่รู้จริง ๑ ชำระล้างได้อย่างไรจักแสดงต่อไปโดยย่อ