ธรรมะปฏิบัติ (หลวงปู่ชา สุภัทโท)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Bhuddhaarmy, 30 สิงหาคม 2005.

  1. Bhuddhaarmy

    Bhuddhaarmy สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +20
    เห็นตามเป็นจริง<?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t75 stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:preferrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"> <v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><v:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></v:path><?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:lock aspectratio="t" v:ext="edit"></o:lock></v:shapetype><v:shape id=_x0000_i1025 style="WIDTH: 123.75pt; HEIGHT: 180.75pt; mso-wrap-distance-left: 15pt; mso-wrap-distance-top: 15pt; mso-wrap-distance-right: 15pt; mso-wrap-distance-bottom: 15pt" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata o:href=\"http://www.luangta.com/Salawatpa/picture/A-Cha/092bWaxworks.jpg\" src="file:///C:DOCUME~1ADMINI~1LOCALS~1Tempmsohtml1\01clip_image001.jpg"></v:imagedata></v:shape>

    เรามาปฏิบัติกันตามสบายนะ ตามสบายใจ คนมีปัญญาได้ประโยชน์หลายมีประโยชน์มาก สมัยก่อนการสวดมนต์ทำวัตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอุบายฝึกหัดผู้ใหม่นั่นเอง ถ้าเราเข้าใจในการปฏิบัติทุกคนแล้วก็ไม่มีอะไรโดยมากอยู่ตามป่าไม่ค่อยได้ทำวัตรกันหรอก สมัยท่านอาจารย์ทองรัตน์ปฏิบัติอยู่น่ะอยู่กันไปเฉยๆเรื่อยๆ วันพระรวมกันทำวัตรและก็มีการประชุมกันกิจวัตรนี้ ถ้าหากว่าเราทำอะไรมากไปแล้วมันยุ่ง แต่ถ้าอยากจะทำประจำ เจ้าของอยู่กุฏิของเราก็ทำได้ สวดมนต์ทำวัตรฝึกตัวเองตอนเช้าก็ดีตอนเย็นก็ดี เราทำของเราเองทำเป็นส่วนตัวเรา

    ผู้ปฏิบัตินี่ก็ไม่เหมือนกัน บางองค์นานๆพูดทีหนึ่งก็เข้าใจ บางองค์ก็ชอบจ้ำจี้จ้ำไชตอนเช้าตอนเย็น ชอบอย่างนั้น บางองค์ชอบเรียบๆ บางองค์ก็ชอบขู่เข็ญกิเลส สารพัดอย่าง การปฏิบัตินี้จึงเป็นอุบายเพื่อจะสั่งสอนจิตของเราให้สงบคำสอนของพระล้วนแล้วแต่เป็นอุบาย ให้เรารู้จักความประสงค์ของพระพุทธเจ้าของเรา ที่เรามาบวชในพุทธศาสนานี้ พระพุทธองค์ทรงมีพุทธประสงค์ อยากจะให้พุทธบริษัทนี้รู้จักข้อประพฤติปฏิบัติ เพื่อทรงพระธรรมวินัย คำสอนของท่านไว้ ให้พระศาสนาของท่านยืนยงคงทนอยู่ตลอดกาลนานนั่นเอง ผู้ปฏิบัติทุกคนทุกท่านก็ต้องอาศัยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญาเป็นกำลัง ท่านกล่าวว่าเป็นกำลังทั้ง ๕ สิ่ง ๕ อย่างนี้ท่านเรียกว่าพละ เป็นกำลังหรือพลัง พลังของจิต

    "ศรัทธา" แปลว่า ความเชื่อ ถ้าพูดง่ายๆก็ว่า ศรัทธานี้มีกันทุกคน แต่ว่ามันไม่ถึงศรัทธา ศรัทธามันเชื่อ แต่จิตเราไม่ค่อยจะเชื่อ มนุษย์ทั้งหลายไม่ค่อยจะเชื่อกัน พูดง่ายๆก็เรียกว่าบวชมานี้ยังไม่มีศรัทธา ผู้มีศรัทธาจะต้องเคารพคารวะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่เสมอ ระวังสิ่งที่ผิดจากพระธรรมวินัย ถ้ารู้จัก ผู้ปฏิบัติย่อมไม่กล้าทำ เพราะเชื่อว่าอันนี้มันผิด อันใดที่ผิดก็เรียกว่าอันนั้นเป็นอาบัตินั่นเอง อาบัติก็แปลว่าผิดไม่ใช่เป็นอย่างอื่น เรามาประพฤติปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากความผิด ถ้าเรายังมีความผิดอยู่ ก็ยังไม่มีความบริสุทธิ์สมบูรณ์ เมื่อยังไม่รู้จักพระพุทธเจ้า ก็ให้เอื้อเฟื้อศึกษาให้รู้อะไรที่ยังไม่รู้เราจะเมินเฉยเสียก็ไม่ได้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา เชื่อว่าผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก อย่างนี้ อะไรที่เรายังหลงผิดอยู่ ก็เรียกว่าอันนั้นเรายังไม่รู้จัก ไม่รู้จักเราก็เคารพอยู่ สังวรสำรวมอยู่ตลอดเวลา แล้วก็อาศัยคนอื่น อาศัยครูบาอาจารย์แนะนำพร่ำสอน อาศัยความรู้สึกนึกคิดในการปฏิบัติของเราเองด้วยเทียบเคียงกันไป ท่านเรียกว่าศรัทธา อย่าไปเห็นว่าเรามีศรัทธาเราจึงจะบวช แต่บวชแล้วไม่ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าของเรา นั่นเรียกว่าศรัทธายังไม่ถึงที่สุดนะ ศรัทธาก็ต้องพยายามทำ อันนี้ยังไม่เรียบร้อยแต่ใจก็พยายามอยู่เสมอ นี่เรียกว่า ศรัทธา ความเชื่อ ต้นตอก็เรียกว่าต้องเป็นผู้มีศรัทธา ถ้าปราศจากศรัทธาแล้ว มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

    ถ้ามีศรัทธาแล้วก็มีความเพียร เพียรเพื่ออะไร? เพียรเพื่อจะละข้อผิดอันนั้น พยายามแสวงหาทางที่ถูกอยู่เสมอ พระพุทธองค์ท่านสอนว่า เมื่อบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ให้ทำตัวเป็นพระภิกษุใหม่อยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าเก่า ให้เป็นผู้ใหม่อยู่เสมอ สยดสยองอยู่ต่อข้อปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอด้วยใจ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จิตก็ปรารภอยู่ว่าเราจะทำให้อะไรที่ตรงนั้นเรียบร้อย ได้โดยวิธีอย่างไร? เราจะมีความมักน้อยโดยวิธีอย่างไร? จะปฏิบัติอย่างไรถึงจะเป็นอย่างนั้น ให้เรารำลึกอยู่อย่างนี้เสมอ ให้รู้จักความผิดชอบเฉพาะตัวเราอยู่ทุกเวลานั่นเอง ที่ท่านเรียกว่าอัตโนโจทยัตนัง...จงเตือนตนด้วยตนเอง อันนี้สำคัญกว่า เพราะว่าตนที่สมมตินั้นก็อยู่ที่เรา นั่งเราก็เอาตนนั่ง นอนเราก็เรียกว่าตน อะไรก็เป็นตนทั้งนั้นแหละ เรานั่งอยู่เราคิดอย่างไร? ในเวลานี้เราทำอะไรอยู่? เรียกว่าเราตามดูตัวของเจ้าของเราพยายาม การกระทำเช่นนี้ท่านเรียกว่า "วิริยะ" คือเพียร เพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี ไม่ใช่เพียรอย่างอื่น เพียรละสิ่งที่ผิดปฏิบัติให้ความผิดหมดไป...ก็เหลือแต่ความที่ไม่ผิด ความที่ไม่ผิดมีอยู่ก็เรียกว่า...ของที่บริสุทธิ์เรียกว่าเป็นผู้เพียร วิริยะรัมภะ ปรารภความเพียร เราจะนั่ง จะยืน จะเดิน จะนอนอยู่ก็ตามมีความปรารภอยู่เสมอ ทำอย่างไรความอยากของเรา ซึ่งมีล้นเหลืออยู่ในใจนี้จะเบาลงไป จะเบาลงไป จะมักน้อย...จะสันโดษ จะมีความเห็นชอบตามธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าของเรา นั่นเรียกว่าปรารภความเพียรอยู่เสมอ...ไม่ลืม

    เมื่อมีความเพียรอยู่ก็มี "สติ" สติคือความระลึกได้เมื่อเราพูดอะไร ทำอะไรอย่างไรอยู่ เป็นผู้มีสติตื่นอยู่สะดุ้งอยู่เสมอ เมื่อเรามีสติรู้ง่าย มันก็รู้เร็ว เมื่อมีสติอยู่ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกันกับสัตว์บางอย่างเช่นแมลงมุมที่มันทำรังในอากาศ ใยมันผ่านไปผ่านมาเป็นรังขึงอยู่เมื่อเสร็จแล้วตัวมันก็หมกอยู่ตรงจุดกลางของรังอันนั้น เฉยอยู่ นิ่งอยู่สงบอยู่ด้วยมีสติอยู่ ถ้าแมลงวัน แมลงผึ้ง แมลงต่างๆมาผ่านใย มันก็มีความสัมผัสสะดุ้งรู้จัก แมลงมุมก็จะตื่นขึ้นรีบไปจับสัตว์นั้นไว้เป็นอาหาร เมื่อจับเสร็จแล้วก็รีบมาอยู่ยังจุดเก่า ทำความสงบระงับ มีสติ รู้อะไรจะมาถูกเข้าสัมผัส เมื่อไรแมลงมุมก็ตื่น เพราะว่าแมลงมุมอยู่ด้วยสติ ก็เพราะมันจ้องกินอาหาร มันระมัดระวังอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา เมื่อจับแล้วก็วิ่งมาอยู่ที่เก่า อย่างนี้เป็นวิสัยของแมลงมุมที่จับสัตว์กิน

    แมลงมุมนั้นก็เหมือนกันกับจิตของเรา จิตของเรานั้นอยู่จุดกลางของอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต มีความรู้สึกตื่นอยู่ไม่ว่าอะไรจะมาสัมผัสทางตา ตาเห็นรูป...ก็รู้สึก มีสติอยู่ หูฟังเสียงก็รู้สึก มีสติอยู่ ได้กลิ่นเหม็นหอมอะไร ก็มีความรู้สึก ลิ้นสัมผัสโอชารสต่างๆ ก็รู้สึก ธรรมารมณ์ที่เกิดกับใจ ก็รู้สึก นี่เรียกว่าสัมผัสสัมผัสครั้งแรกก็รู้สึกเฉยๆ รูปก็ดี รสก็ดี กลิ่นก็ดี เสียงก็ดี โผฏ-ฐัพพะก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี เมื่อกระทบก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น พอกระทบแล้วมีความรู้สึกต่อไปอีก ซึ่งมันจะเกิดกิเลส เกิดตัณหา เกิดราคะ เกิดโทสะ เกิดโมหะ ผู้ประพฤติปฏิบัตินี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้าเราระมัดระวังอยู่สังวรสำรวมอยู่ด้วยอินทรีย์ จะรู้จักตัวของเจ้าของรู้จักจิตของเจ้าของว่า จิตเจ้าของนี้เป็นไปในลักษณะอันใด? ก็รู้จักเมื่อเรารู้จักจิตของเจ้าของแล้ว เราก็จักสั่งสอนจิตของเจ้าของเท่านั้นแหละฉะนั้น ตัวสตินี้จึงเป็นตัวที่สำคัญมากที่สุด เมื่อมีสติแล้วเราสังวรสำรวมอยู่ ก็ดึงเอาปัญญามาพิจารณาว่า รูปนี่เป็นอย่างไร เสียงนี่เป็นอย่างไร มีอะไรไหม? ปัญญามาช่วยพิจารณา อันนี้เรียกว่าสติมีคุณค่า

    "สมาธิ" คือความตั้งใจมั่น สมาธินั่นก็เกิดมาจากสตินั่นแหละสติ-สมาธิ ถ้าพูดเรื่องสมาธิ ตามศัพท์สมาธิท่านหมายถึงความตั้งใจมั่น อย่างเราจะละอารมณ์สิ่งที่ชั่วสิ่งที่ไม่ดีน่ะ ไม่คืนคลายมันมั่นในข้อประพฤติของเราในข้อปฏิบัติของเรา สมาธิมีหลายขนาด ที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้ สมาธิที่นั่งแล้วหลับตากำหนดอันใดอันหนึ่งขึ้นมาเป็นอารมณ์ อย่างอานาปานสติที่เราอบรมกันนี้เอาลมหายใจเป็นอารมณ์ เป็นเครื่องหมาย เอาเป็นจุดเด่นที่สุด ทำไมถึงเอาเป็นอารมณ์เพราะว่าจิตนี้มีอารมณ์หลายอย่าง หูฟังเสียงก็เป็นอารมณ์หนึ่ง จมูกดมกลิ่นก็เป็นอารมณ์หนึ่ง มันหลายอารมณ์ สิ่งที่มันหลายๆ อารมณ์มันฟุ้งซ่านดังนั้นท่านจึงรวมจุดมากๆมาเป็นอารมณ์เดียว เราจะเลือกอันใดอันหนึ่งก็เอา

    ที่วัดเรานี้ก็สอนอานาปานสติ อานาปานสตินี้เป็นของง่าย เพราะอะไร เพราะมีอยู่แล้ว เรานั่งอยู่เราก็หายใจอยู่ เรายืนอยู่ก็หายใจอยู่นอนเราก็หายใจของเราอยู่ ดังนั้นก็กำหนดเอาสิ่งที่มีอยู่ใกล้ๆเป็นอารมณ์ หายใจเข้าหายใจออกเอาอันนี้เป็นอารมณ์ เพื่อจะให้จิตมั่นในอารมณ์ คืออานาปานสตินี้ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปหลายอย่าง อารมณ์มันมากแต่เราจะทำให้มันน้อย คือเป็นอารมณ์เดียว เราจึงยกลมขึ้น หายใจเข้า-ออกกำหนดว่า พุทโธ พุทโธ ไว้ในใจของเราเสมอ มีความระลึกอยู่ รู้อยู่ ตื่นอยู่ในพุทโธอันนั้น นี่เรียกว่าเป็นอารมณ์ เมื่อเราทำไป หายใจเข้าก็เป็นพุท หายใจออกก็เป็นโธ พุทโธนั่นก็หมายความว่าผู้รู้อยู่นั่นเอง เรารู้อยู่ด้วยสติของเราที่ตื่นอยู่ ถ้าเรารู้จักจิตของเจ้าของ มีสติอยู่ เราก็รู้จักว่าจิตของเจ้าของคิดอะไร? อะไรเป็นจิตก็เข้าไปเห็นชัด ผู้ที่มีอำนาจปรับเอาอารมณ์ทั้งหลายนั่นแหละเรียกว่าตัวจิต สมมติว่าจิตหรือใจ ตัวที่กำหนดรู้ ลมเข้าก็รู้จัก ลมออกก็รู้จักคนที่รู้ลมมันเข้ามันออกนั่นแหละคือตัวจิต เราสมมติว่าเป็นตัวจิตใครตามรู้อยู่เสมอ เราก็รู้จักว่าใครตามรู้อยู่ ผู้ตามรู้อยู่ก็เรียกว่าจิตอารมณ์นั้นก็เป็นอารมณ์ จิตนั้นเป็นตัวจิต นั่นคือผู้รู้ก็เป็นผู้รู้ อารมณ์ก็เป็นอารมณ์ เป็นคนละตอนคนละท่อน ท่านจึงให้ทำเป็นสมาธิ เมื่อเป็นสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแล้ว จะเห็นจิตของเจ้าของว่า เออ! จิตนี้เป็นอย่างหนึ่ง อารมณ์นี้เป็นอย่างหนึ่ง ผู้ที่รู้สึกอารมณ์มากระทบเป็นอย่างนั้นก็อย่างหนึ่ง สองอย่างนี้ถ้าหากว่าเราไม่เป็นสมาธิ ไม่ทำสมาธิให้มีอารมณ์เดียวยืนยันอยู่ เราก็ไม่รู้จักจิตของเจ้าของ จิตเจ้าของเศร้าหมองก็ไม่รู้เรื่อง จิตผ่องใสก็ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เพราะอะไร? เพราะเราไม่ได้สั่งสอนจิตของเรา

    พระพุทธองค์ท่านบอกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครตามดูจิตของตนคนนั้นจะพ้นจากบ่วงของมาร บ่วงของมารนั้นคืออะไร? คือรูปหนึ่ง เสียงหนึ่ง กลิ่นหนึ่ง รสหนึ่ง โผฏฐัพพะหนึ่ง ธรรมารมณ์หนึ่งอันนี้แหละเป็นบ่วงที่จะผูกจิตผู้ที่ไม่รู้ ให้เข้าไปในอำนาจของมันเข้าไปในอำนาจของความเกลียดหรือความรัก ถ้าหากว่าเรารู้จิตของเจ้าของเช่นนั้น ทั้งเรามีสติอยู่ เราก็รู้ว่าอันนี้เป็นอารมณ์ อันนี้เป็นจิต ถ้าเรามองเห็นว่าอารมณ์เป็นอารมณ์ จิตเป็นจิต เราก็แยกมันออกเป็นสองอย่าง เราก็รู้จักว่าจิตไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ อารมณ์นั้นท่านเรียกว่าโลก หลงอารมณ์ก็คือหลงโลก หลงโลกก็คือหลงอารมณ์ ใครเป็นคนหลง? จิตผู้รู้นั่นแหละมันหลง หลงตามอารมณ์ ที่ดีก็หลงไป ชั่วก็หลงไปตาม สุขก็หลงไป ทุกข์ก็หลงไป เอาตัวไปแทนเสียว่าเป็นตัวทุกข์ ความเป็นจริงนั้น จะทุกข์ก็เพราะมีอุปาทานยึดมั่นในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น เลยไปเป็นเจ้าของอารมณ์ ความเป็นจริงนั้นอารมณ์ก็เป็นอารมณ์ จิตก็เป็นจิต มันคนละอย่างกัน เมื่อเราเข้าไปยึดว่าอันนั้นดี อันนั้นสวยอย่างนี้เป็นต้น ไม่ใช่ว่าเห็นเฉยๆ เห็นแล้วมีอุปาทานมั่นหมาย ไปยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขานั้นเรียกว่าบ่วงของพญามารผูกไป ความพอใจก็ผูกไป ความไม่พอใจก็ผูกไป ความสุขก็ผูกไป ความทุกข์ก็ผูกไป ชั่วก็ผูกไป ดีก็ผูกไปอย่างนี้ก็เพราะว่าเราไม่รู้จักจิต ไม่รู้จักอารมณ์ ถ้าเรารู้จักจิตของเจ้าของแล้ว อารมณ์มันก็เป็นอารมณ์ จิตมันก็เป็นจิต เป็นคนละอย่างถ้าเราไม่รู้จักอันนี้ เราก็เข้าไปเป็นเจ้าของอารมณ์อันนั้น เราก็ต้องรับรองอารมณ์อันนั้นอยู่ ติดตามอารมณ์อันนั้นอยู่ ถ้าเราเห็นเช่นนี้ว่าอันนี้เป็นจิต อันนี้เป็นอารมณ์ เราก็ต้องรู้จักสอนจิตของเจ้าของ เมื่อเรามีความสงบอยู่ ถูกอารมณ์ขึ้นมาเราก็รู้จักว่าอันนี้เป็นอารมณ์ อันนี้เป็นจิต เปรียบง่ายๆคือมันอยู่ใกล้ชิดกัน เหมือนน้ำมันกับน้ำถ้ามันมีน้ำหนักต่างกัน จะเอาใส่ในขวดเดียวกันก็ได้ แต่ว่ามันไม่แทรกซึมเข้าหากัน จิตกับอารมณ์ก็เป็นอย่างนั้น ถ้ารู้จักว่าอันนั้นเป็นอารมณ์ อันนั้นเป็นจิต จะเห็นจิตเป็นจิต เห็นอารมณ์เป็นอารมณ์ สักแต่ว่าอารมณ์เท่านั้น

    อารมณ์นี้แหละท่านเรียกว่าโลก เราหลงโลกก็คือหลงอารมณ์หลงอารมณ์ก็คือหลงโลก เอาจิตกับอารมณ์ไปพัวพันกันจนแยกกันไม่ได้ แยกไม่ออกว่าอะไรเป็นจิต...อะไรเป็นอารมณ์ อารมณ์นี้ก็สักแต่ว่าอารมณ์ เห็นจิตก็สักแต่ว่าจิต เป็นธรรมธาตุอันหนึ่งเป็นอยู่อย่างนั้น เขาเป็นอยู่อย่างนั้น ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาเขาก็เป็นของเขาอยู่อย่างนั้น ถ้าหากว่าเราไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เราก็ไปสำคัญมั่นหมายว่า ทำไมมันเป็นอย่างนั้น ทำไมมันเป็นอย่างนี้ความเป็นจริงอันนี้เป็นของเก่าแก่ มันตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงให้ปฏิบัติ ให้พิจารณา ที่ท่านสอนว่า ให้ท่านทั้งหลาย หรือสูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันน่าตระการดุจราชรถ อันพวกคนเขลาทั้งหลายหมกอยู่แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ ท่านพูดตรงเข้าไปเลย เห็นโลกที่มันวุ่นวาย มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น โลกนี้ไม่ใช่ว่ามันวุ่นวายมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ที่เราเข้าไปหมายมั่นไม่พอใจกับมัน มันก็วุ่นวายซิ ถ้ารู้ตามเป็นจริงด้วยปัญญาแล้ว ก็เห็นว่าไม่วุ่นวาย แต่คนไม่มีปัญญาแล้ว ก็เข้าใจว่าที่นั่นมันวุ่นวาย พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสอย่างนั้น ให้มาดูโลกอันนี้...อันน่าตระการดุจราชรถ เพราะคนเขลาคือคนโง่ คือคนไม่รู้จัก คือคนหลงหมกอยู่ แต่ผู้รู้ทั้งหลายรู้แล้วไม่ข้องอยู่ ที่นั่นไม่วุ่นวายที่นั่นไม่ขัดข้องก็เพราะเห็นว่าของเขาเป็นของเขาอยู่อย่างนั้น พื้นฐานของการประพฤติปฏิบัติ พื้นฐานของความเห็นก็ต้องเป็นอย่างนั้น ให้รู้ ถ้าเราไม่รู้มันก็เป็นทุกข์ ไม่รู้ ก็เข้าไปยึดมั่นถือมั่นตลอดกาลตลอดเวลา

    อารมณ์มาทางตาก็มี หูก็มี จมูกก็มี ลิ้นก็มี กายก็มี เกิดมาทางจิตเฉยๆก็มี คือมีความรู้สึกเกิดขึ้นมาเดี๋ยวนั้น ทั้งๆในเวลานั้นตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่สัมผัสถูกต้องอะไร แต่ว่ามันเป็นธรรมารมณ์ เป็นธรรมเก่าที่เก็บไว้ ในเวลานั้นมันระเบิดขึ้นมาอยู่ที่ใจเพราะว่าในเวลานั้นไม่ได้ยิน ไม่ได้เห็น ไม่อะไรก็ตามทีเถอะ แต่ว่าอันนั้นมันมีอยู่เป็นของเก่า เป็นธรรมารมณ์ เป็นธรรมะ+อารมณ์นั่นเอง มันฝังแน่นอยู่ในใจเรียกว่า "อุปธิธรรม" เมื่อได้ช่องเมื่อไร มันก็ระเบิดขึ้นมา เกิดความยินดีเกิดความยินร้ายขึ้นมา อันนี้คือของเก่าที่มีอยู่แล้ว ในปัจจุบันนั้น ตาก็ไม่ต้องเห็น หูก็ไม่ต้องได้ยิน จมูกก็ไม่ได้กลิ่น ลิ้นก็ไม่ได้รส กายก็ไม่ถูกต้อง แต่ว่ามีอารมณ์ทางจิตเกิดขึ้นมาเฉยๆ ที่เกิดขึ้นมาที่จิตนั้น จิตก็ยังหลงของมันอยู่เรื่อยๆ ยังไปหลงรัก ยังไปหลงใคร่อยู่ในสถานที่นั้นอีก ถ้าเราเห็นเช่นนี้ ถ้าเราดูเช่นนี้ เราทำสมาธิเห็นชัดอยู่อย่างนี้ เราก็พยายามดูซิว่า เกิดแล้วมันก็ดับ ดับแล้วมันก็เกิด เกิดแล้วมันก็ดับ มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น

    พระโยคาวจรท่านเห็นชัดว่า อันนี้เป็นธรรมธาตุอันหนึ่งเท่านั้นเรียกว่า ธรรมะ เกิดแล้วก็ดับไป ดับแล้วก็เกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป พระผู้มีพระภาคท่านให้เห็นจิตอันนี้เป็นของเกิดดับอยู่เท่านั้นมันไม่เป็นไปอย่างอื่นอีกถ้ารู้ชัดแล้ว มันก็เกิดดับของมันอยู่อย่างนั้นก็เหมือนโลกน่ะแหละ ถึงเวลาสว่างมันก็สว่าง ถึงเวลามืดมันก็มืด มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น แต่คนที่ยุ่งก็ไปให้โทษมันว่า มันมืดเร็วไปหรือมันสว่างเร็วไปอย่างนี้ ถ้ารู้ตามเป็นจริงแล้ว ก็เป็นเรื่องของมันเป็นอยู่อย่างนั้น อันนั้นเรียกว่าเราหลง พระพุทธเจ้าให้ประพฤติปฏิบัติเพื่อให้หายหลง พระโยคาวจรคือใคร? ก็คือพวกเรานี่เองแหละ ให้ศึกษาเข้าไปเห็นความจริง เมื่อจิตสงบมีสติอยู่ มีสัมปชัญญะอยู่ เป็นสมาธิมันก็เห็น ในที่สงบระงับ เมื่อเห็นอาการทั้งหลายเป็นเช่นนั้น ก็เกิดการวิเคราะห์วิจารณ์ขึ้นมา เพ่งสิ่งที่เกิดขึ้นมาอยู่นั้น เป็นอย่างนั้นอยู่เสมอ เมื่อเห็นอาการตามความเป็นจริงของมัน ก็รู้ว่ามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อเห็นชัดเช่นนั้น เราก็ไม่ต้องไปเพิ่มอะไรขึ้นอีก ไม่ต้องไปถอนอะไรมันอีก ปล่อยมันอยู่ตามเช่นนั้นเสมอ คนที่ไปเพิ่มอะไรเข้ามา ไปถอนอะไรออกไป ก็คือคนหลงอารมณ์ จึงเกิดยุ่งเกิดวุ่นวายเกิดความไม่สงบ

    พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าให้เห็นโลก คือเห็นโลกนี้ตามเป็นจริงอยู่ ท่านให้เห็นชัดด้วยปัญญาว่า มันเป็นอยู่อย่างนั้น ไม่มีทางจะแก้ไข ท่านให้แก้ไขตัวเราเอง ไม่ใช่ไปแก้ไขอย่างอื่น ถ้าเราไปแก้ไขอย่างอื่นนั้นก็เรียกว่า มันเป็นภายนอก นึกว่าเหตุมันเกิดมาจากนั้นเช่นเรามองดูรูปหรือเราฟังเสียง ก็เห็นว่ารูปนั้นเราไม่ชอบ หรือเสียงนั้นเราไม่ชอบ ก็นึกว่ารูปนั้นเป็นเหตุ เสียงเป็นเหตุ ความเป็นจริงเหตุไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้น เหตุอยู่ที่จิตของเจ้าของนี่เอง เพราะเราเข้าไปสำคัญมั่นหมายว่า มันเป็นอย่างนั้น มันเป็นอย่างนี้ ความจริงนั้นเหตุเกิดที่เรา แต่เราไปเข้าใจว่าเหตุเกิดอยู่ที่รูป เสียง กลิ่น เมื่อมันกระทบถูกต้อง มันเกิดจากความเห็นนี้เอง อันนั้นมันก็อยู่สภาพของมันอย่างนั้น มิแปรเป็นอย่างอื่น ฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสให้พุทธบริษัททั้งหลายมาดูโลกอันนี้ให้แจ้ง ให้รู้เรื่องตามความเป็นจริงของมัน ถ้ารู้ตามความเป็นจริงของมัน แล้วก็ไม่มีทางอะไรจะแก้ไขเห็นตามมันเสีย ปัญญารู้เท่าสังขาร ว่าสังขารนั้นเป็นจริงอย่างไร ให้รู้เท่าตามความเป็นจริงอย่างนั้นทุกอย่าง หูเราได้ยินก็ดี อายตนะทั้งหลายที่รวมอยู่นี้ มันเป็นสัจจธรรมทั้งนั้น คือความจริงทั้งนั้น แต่เราไม่รู้จักความจริงก็เลยกลายเป็นของปลอมไปเสีย เข้าไปปรุง ปรุงให้มันเป็นอย่างนั้น ปรุงให้มันเป็นอย่างนี้ ไปแต่งให้มันเป็นอย่างนั้น แต่งให้เป็นทุกข์ ก็เป็นทุกข์ ปรุงไปอย่างอื่นก็ไม่เป็น มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ถ้าเราเห็นสั้นๆเช่นนี้ เราก็รู้จักสั่งสอนจิตของเจ้าของแล้วว่าอันนี้เป็นอารมณ์ อันนี้มันเป็นจิต

    อารมณ์นี้ก็สักว่าอารมณ์ จิตนี้ก็สักว่าจิตเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา ผลที่สุดแล้วก็ไม่มีใครทำอะไรทั้งนั้น อารมณ์ก็เป็นเรื่องอนิจจัง จิตก็เป็นอนิจจัง ตัดผ่านไปเสียไม่ต้องข้องแวะไม่ต้องวิจัยมาก เพราะรู้ว่ามันเป็นอย่างนั้น เห็นอารมณ์ที่เกิดดับก็ดี เห็นอารมณ์ดีก็ตาม อารมณ์ชั่วก็ตาม ก็เรียกว่าเป็นอนิจจังทั้งนั้น ถ้าพูดให้ง่ายๆก็ว่า ตัวอนิจจังนี้แหละคือตัวพระพุทธเจ้าล่ะ ตัวสัจจธรรมล่ะตัวที่จะทำให้พระพุทธองค์ของเราให้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า สาวกทั้งหลายก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้าเห็นอนิจจังชัดเจน ก็เป็นพระสมบูรณ์นั่นเอง เห็นอนิจจังเป็นของไม่เที่ยง ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อุปาทาน มั่นหมายก็ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ คือมี ๕ กอง กองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขารกองวิญญาณ เราไปยึดมั่นถือมั่นว่าขันธ์ทั้ง ๕ นี้ เป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขาโดยใช่เหตุ ตามความเป็นจริงแล้วอันนี้มันเป็นขันธ์ ๕ รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่ใช่เราไม่ใช่เขา เรียกว่ามันเป็นกอง กองรูปก็เป็นกองหนึ่ง กองเวทนาก็คือกองสุข...กองทุกข์ นี่เป็นกองหนึ่ง สัญญานี้ก็เป็นกองหนึ่ง สังขารนี้ก็เป็นกองหนึ่ง วิญญาณนี้ก็เป็นกองหนึ่ง คนคนหนึ่งมีอยู่ ๕ ก้อนหรือมีอยู่๕ กอง เราจะอยู่ไปได้ด้วยขันธ์ ๕ นี้

    ผู้ที่จะมีความทุกข์มีความเดือดร้อน ก็เพราะยึดเอาก้อนนี้มาเป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขา ใครมันเป็นทุกข์? ขันธ์ ๕ นี้แหละเป็นทุกข์ เพราะเห็นขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขา คือไปยึดหมายสิ่งที่ไม่เป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขานี้แหละ มาเป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขา อันนี้มันตรงกันข้ามเลย สิ่งที่ไม่ใช่ตัวใช่ตน เราเข้าใจว่าตัวว่าตน สิ่งที่ไม่ใช่เราใช่เขา เราก็เข้าใจว่าเป็นเราเป็นเขา อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากหลักธรรมะ เมื่อผิดจากหลักธรรมะที่เกิดทุกข์ เพราะสิ่งทั้งหลายเป็นก้อนเป็นกองเฉยๆ กองรูปก็เป็นกองหนึ่ง กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงให้พิจารณาให้เห็นว่า ขันธ์ ๕ นี้เกิดแล้วก็ดับ มันเกิด-ดับ เกิด-ดับเท่านั้น หาอย่างอื่นนอกนั้นไม่มี ทุกข์เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สุขเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่ยั่งยืนถาวรอยู่ มันเป็นอยู่อย่างนั้น ท่านจึงสอนว่าขันธ์ทั้ง ๕ นี้ไม่เที่ยง แต่คนเราทั้งหลายมองไม่เห็น เราว่าเป็นของเที่ยง จึงขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา ที่ท่านเห็นธรรมะก็คือท่านเห็นตรงนี้ ที่ท่านตรัสรู้ธรรมะก็คือตรัสรู้ตรงนี้ ไม่ใช่รู้อย่างอื่น เห็นชัดเรื่องขันธ์ ๕ นี้ว่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา จิตก็ปล่อยวางเห็นแต่ว่าขันธ์ ๕ เกิดแล้วก็ดับไปเท่านั้น มันเกิด-ดับ เห็นสิ่งที่เกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา เมื่อเห็นเช่นนี้ก็ไม่รู้จะไปทำอะไรมัน นี่คือความเห็นที่ถูกต้อง

    เห็นง่ายๆ คิดง่ายๆว่ามันเกิด-ดับเท่านั้นแหละ วูบเดียวก็เกิดขึ้นมา วูบเดียวก็ดับไป หาสิ่งใดจะมาเกิด-ดับไม่มีนอกจากสุขกับทุกข์ ทุกข์มันเกิดแล้วก็ดับไป สุขเกิดแล้วก็ดับไป มันเป็นเรื่องเท่านี้เอง ถ้าเราไม่รู้เรื่องสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ก็เหมือนว่าเราจะไม่รู้ธรรมะ ถ้าเรารู้ธรรมะ ก็เห็นเรื่องทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นอยู่อย่างนี้ หมดทางที่จะแก้ไข เรียกว่าเห็นโลก เห็นโลกเป็นอย่างนั้น ถ้าเห็นแล้วก็ไม่ต้องแก้ไข ถ้าเห็นแล้วใจสบาย เห็นโลกตามเป็นจริงอย่างนั้นก็เรียกว่าบรรลุธรรมะ คือเห็นรูปเห็นนามนี้เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว เมื่อเห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เราก็เห็นออกจากตัวของเรา ออกจากตนของเรา ก็เลยเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน มีแต่ขันธ์ ๕

    ในสมัยหนึ่ง พระปุณมัณตนีบุตรจะออกไปธุดงค์ พระสารีบุตรซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระปุณมัณตนีบุตร ได้ถามปัญหาแก่ลูกศิษย์ของท่านว่าถ้ามีคนมาเรียนถามท่านว่า พระขีณาสพตายแล้วเป็นอะไร?พระปุณมัณตนีบุตรตอบว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดแล้วดับไป ท่านไม่เห็นว่าท่านเกิดแล้วท่านดับไป ตรงนั้นไม่มีท่านไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีเรา ไม่มีเขา ท่านก็เลยตอบคำถามพระอาจารย์ว่าพระขีณาสพตายแล้วไม่เป็นอะไร ท่านเห็นแต่เพียงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดแล้วดับไปเท่านั้นพระสารีบุตรก็พอใจในความเห็นของลูกศิษย์ ว่าอย่างนี้ไปได้แล้ว ท่านก็ปล่อยให้พระปุณ-มัณตนีบุตรไปธุดงค์ ท่านถามอย่างนั้นเพื่อสอบความเข้าใจของลูกศิษย์ เมื่อลูกศิษย์ตอบมาตามความเป็นจริงเช่นนั้นแล้ว มันหมด ตอบได้หมดที่จะเข้าใจว่าตัวว่าตนตรงนั้นไม่มี พระขีณาสพตายแล้วไม่เป็นอะไร พระขีณาสพก็คือผู้สิ้นไปแล้วสิ้นกิเลสทั้งหลายแล้ว ตายแล้วไม่เป็นอะไร พระปุณมัณตนีบุตรรู้แล้ว ท่านประสบมาแล้วว่าเป็นอย่างนั้น ท่านไม่เห็นว่ามีอะไร เห็นแต่เพียงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดแล้วดับไป ไม่มีใครเกิดไม่มีใครตาย

    อย่างพระโมกขราชเห็นสุญญตาธรรมเป็นธรรมที่ไม่ตาย ถ้าถึงจุดอันนั้นแล้วไม่ตาย ทำไมถึงไม่ตาย? มันไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ถ้าไม่มีคนก็ไม่มีใครจะตาย ไม่มีสัตว์ก็ไม่มีใครจะตาย เห็นชัดแล้วว่ามันพ้นจากตัวตนเราเขา เห็นแต่ธาตุ หรือกองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลมเห็นแต่ขันธ์ ๕ มีแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีคนไม่มีสัตว์ ตรงกับพราหมณ์ที่เข้าไปถามพระพุทธเจ้าว่า พระผู้เป็นเจ้าคนตายแล้วเกิดมีไหม? พระพุทธเจ้าท่านย้อนถามพราหมณ์ ใครจะมาเกิดมาตายอยู่ที่นี่ ถ้าพราหมณ์มีความเห็นเช่นนี้ ก็เหมือนกันกับที่ว่าลูกศรนั้นแทงหัวใจพราหมณ์ อยู่เท่านั้นแหละ ขวางอยู่ตลอดเวลาแต่ว่าเอามันออกยาก มันเห็นยาก คือมันติดสมมติ ถ้าเราเห็นสมมติเห็นวิมุตติตามความเป็นจริง แล้วมันก็สบายไม่มีใครเกิด ไม่มีใครแก่ไม่มีใครเจ็บ ไม่มีใครตาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณมันเป็นไปต่างหาก ถ้ามันเป็นเช่นนั้น อะไรจะเกิดที่ไหนมีไหม? ความโลภจะเกิดขึ้นมีไหม? ความโกรธจะเกิดขึ้นมีไหม? ความหลงจะเกิดขึ้นมีไหม?

    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะเกิดขึ้นมาได้เพราะคน เพราะสัตว์ ถ้าท่านเห็นว่าพ้นไปจากสัตว์ พ้นไปจากคนแล้ว กิเลสจะเกิดกับอะไร? ไม่มีที่เกาะ ไม่มีกิเลส โลภ โกรธ หลง หมดไป เพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นกับสัตว์ กับมนุษย์ กับตัวกับตน กับเรากับเขา ท่านเห็นว่าไม่มีตัวไม่มีตัว ไม่มีเราไม่มีเขาแล้ว มันจะเกิดกับอะไร ท่านจึงว่าผู้ถึงที่สุดของธรรมะ มัจจุราชตามไม่ทัน ท่านเป็นผู้ที่ไม่ตาย จะตายแต่คนหรือสัตว์ ถ้าพ้นไปจากคนหรือสัตว์แล้ว ก็ไม่มีอะไรที่จะตาย ไม่มีอะไรที่จะเกิดจะดับอยู่ตรงนั้น ไม่มีแล้ว พระพุทธเจ้าของเรามีพุทธประสงค์อยากจะให้เราเห็นอย่างนั้นที่ปฏิบัติมานี้ อยากจะให้รู้อย่างนั้น อยากจะให้เป็นอย่างนั้น ให้พ้นจากความเกิด ความแก่ความเจ็บ ความตาย ทุกข์ก็ไม่มี ไม่มีทุกข์ ทุกข์ก็หมด ทุกข์ก็ดับอันนี้ท่านจึงว่าให้ปฏิบัติให้พ้นจากทุกข์ ถ้าเราไม่ยึดมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเรา เป็นเขา เป็นสัตว์เป็นบุคคลอยู่อย่างนี้ มันก็เกิด แก่เจ็บ ตายอยู่อย่างนั้นแหละ ไม่พ้น พระพุทธองค์ท่านให้เห็นอย่างนั้นท่านสอนอย่างนั้น ท่านให้รู้อย่างนั้น

    เดินไปก็ไม่มีอะไร มีแต่ขันธ์ ๕ มีแต่กองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ มีแต่เรื่องขันธ์ ๕ เท่านั้น เป็นไปตามสภาวะของมัน อันนี้ท่านเรียกว่า ให้เห็นออกจากตัวตน ไม่มีอะไรจะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้ที่ปล่อยวาง จะได้เห็นว่าเป็นสภาวะธรรมอันหนึ่งเท่านั้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มีแต่เรื่องเกิด-ดับไปทั้งนั้น อันนี้เป็นจุดหมายปลายทางที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ต้องการให้พวกพุทธบริษัททั้งหลาย ปฏิบัติให้เข้าไปรู้อย่างนั้น ให้เข้าไปเห็นอย่างนั้น ถ้าเข้าไปรู้อย่างนั้นท่านก็เรียกว่าเราเข้าไปรู้ธรรมะ เห็นธรรมะ เมื่อเห็นธรรมะก็เห็นพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นพระพุทธเจ้าก็เห็นธรรมะ อันนั้นเป็นเรื่องการปฏิบัติล้วนๆ ทางจิตของเรา <v:shape id=_x0000_s1026 style="MARGIN-TOP: 0px; Z-INDEX: 1; MARGIN-LEFT: 143pt; WIDTH: 183pt; POSITION: absolute; HEIGHT: 123pt; mso-wrap-distance-left: 15pt; mso-wrap-distance-top: 15pt; mso-wrap-distance-right: 15pt; mso-wrap-distance-bottom: 15pt; mso-position-horizontal: right; mso-position-horizontal-relative: text; mso-position-vertical-relative: line" alt="" type="#_x0000_t75" o:allowoverlap="f"><v:imagedata src="file:///C:DOCUME~1ADMINI~1LOCALS~1Tempmsohtml1\01clip_image002.jpg" o:title="0D7bHalfGrab"></v:imagedata><?xml:namespace prefix = w ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:word" /><w:wrap type="square"></w:wrap></v:shape>เรื่องการปฏิบัติที่เราแนะนำพร่ำสอนกันนี้ก็เรียกว่าเป็นศีลธรรม สอนเรื่องศีลธรรมนี้ สอนเรื่องตัวเรื่องตน เรื่องเราเรื่องเขา อย่าไปเบียดเบียนซึ่งกันและกัน เป็นตัวเราเป็นตัวเขา ถ้าสอนธรรมะล้วนๆก็เรียกว่า ไม่มีเราไม่มีเขา สอนเรื่องศีลธรรมนี้ก็ต้องมีเรามีเขาความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า มีพระพุทธประสงค์อยากจะให้สาวกทั้งหลายเป็นอย่างนั้น ให้รู้อย่างนั้น ให้เห็นอย่างนั้น ให้เป็นอยู่อย่างนั้น สงบจากสัตว์ สงบจากบุคคล จากตัว จากตน จากเรา จากเขา หมดกันแค่นั้น ในทางพุทธศาสนาของเราท่านสอนอย่างนั้น

    แต่ว่าพุทธบริษัทจะมีศรัทธา จะมาประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปตามทำนองนั้นลำบาก ยาก ไม่มีศรัทธาเพียงพอ ความเป็นจริงอย่างนักบวชเรา อย่างพวกเรานี้น่ะ ละฆราวาสวิสัยมาแล้ว ละบ้านละช่องมาแล้ว อะไรทั้งหมดๆเราก็ทิ้งมาแล้ว อยู่ในวิสัยของสมณะ จุดนั้นเป็นที่หมาย เป็นเป้าหมายของพวกเราทั้งหลาย เป็นเป้าหมายของผู้ประพฤติ เป็นเป้าหมายของผู้ปฏิบัติ ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้ละทิฏฐิมานะ ทิฏฐิคือความเห็น มานะคือความยึดในตน ฯลฯ การละนี้แหละคือทางที่จะสงบจริง เย็นจริง

    <ADDRESS> </ADDRESS><o:p> </o:p>

    <o:p> </o:p>

    เหนือเวทนา<v:shape id=_x0000_i1026 style="WIDTH: 121.5pt; HEIGHT: 184.5pt; mso-wrap-distance-left: 15pt; mso-wrap-distance-top: 15pt; mso-wrap-distance-right: 15pt; mso-wrap-distance-bottom: 15pt" alt="" type="#_x0000_t75"> <v:imagedata o:href=\"http://www.luangta.com/Salawatpa/picture/A-Cha/00EcMedGlod.jpg\" src="file:///C:DOCUME~1ADMINI~1LOCALS~1Tempmsohtml1\01clip_image003.jpg"></v:imagedata></v:shape>

    การฟังธรรมที่จะให้เกิดประโยชน์นั้น ต้องฟังด้วยความสงบ เพราะจิตนี้ ก็เหมือนกับเทปบันทึกเสียง ถ้ามีเสียงอะไรมาปะปนรบกวน เสียงก็ฟังไม่ชัด ความรู้ที่จะได้รับก็น้อย ถ้าฟังธรรมในที่สงบด้วยจิตสงบ ก็จะมีแต่เสียงธรรมะอย่างเดียวคำพูดก็สะอาดฟังง่าย

    การรับและปฏิบัติธรรมะย่อมชนะสิ่งทั้งปวง

    ธรรมะที่เกี่ยวเนื่องกับการประพฤติปฏิบัตินั้น เป็นธรรมะที่ให้ประโยชน์มาก เพราะไม่ใช่ธรรมะเพื่อการฟังอย่างเดียว แต่เป็นธรรมะ ที่นำไปสู่การประพฤติปฏิบัติโดยตรง การประพฤติปฏิบัติที่จะให้ถูกต้องนั้น ต้องรู้จักและเข้าใจเรื่องของกายกับใจเพราะกายกับใจนี่แหละที่พาให้สุขพาให้ทุกข์มันเกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ดังนั้น การปฏิบัติจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง

    ถ้าหากได้ฟังธรรมแล้ว แต่ไม่นำ มา ปฏิบัติ ก็เปรียบเสมือนว่า ได้เพียงเปลือกไม้เท่านั้น ยังไม่ได้ลิ้มรสผลของมันว่าเปรี้ยวหรือหวานอย่างไร การฟังธรรมโดยไม่นำมาปฏิบัติก็เหมือนกับการได้จับ หรือถือผล ไม้เท่านั้น ยังไม่ได้กิน ไม่ได้ลิ้มรส มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะได้แต่ถือเอาไว้ แต่ไม่รู้จักรสชาดหรือความเอร็ดอร่อยของมัน จะรู้ได้จริงก็ต่อเมื่อได้ลองรับประทานผลไม้นั้นด้วยตนเอง ซึ่งเมื่อรู้รสด้วยตนเองแล้วก็เป็นพยานในตัวเองได้ ถ้ายังไม่รู้เองเห็นเองอย่างนี้ก็เท่ากับมีแต่พยานภายนอก คือคนที่เขาให้ผลไม้ แล้วก็เชื่อไปตามที่เขาว่า ซึ่งไม่ใช่ความเชื่อของตนเอง

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงบอกว่า คนที่เชื่อแต่คนอื่นนั้นท่านไม่สรรเสริญ ท่านทรง สรรเสริญบุคคลที่รู้เป็นปัจจัตตัง คือรู้เฉพาะตนเอง เปรียบเหมือนอย่างคนที่ได้ลิ้มรสผลไม้ด้วยตนเอง ฉะนั้นเพราะ ถ้าได้ลิ้มรสด้วยตนเองแล้ว จะไม่ต้องไปถามผู้อื่นว่า เปรี้ยวหรือหวานอย่างไรความสงสัยทั้งหลายก็หมดไป เพราะได้รู้ประจักษ์ในความจริงแล้ว รู้อย่างทั่วถึงนี้ คือคนที่รู้ธรรมะแล้ว ผู้บรรลุถึงธรรมะก็คือบุรุษที่บรรลุถึงความเปรี้ยวหวานของผลไม้นั่นเอง

    การแสดงธรรมก็เพื่อให้รู้สิ่งต่างๆสี่ประการ คือให้รู้จักทุกข์ รู้จักเหตุเกิดของทุกข์ รู้จักความดับทุกข์ ให้รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ เมื่อรู้แจ่มแจ้งทั้งสี่ประการนี้แล้วมันก็หมดเพราะทุกข์เราก็รู้ เหตุของทุกข์เราก็รู้ ความดับทุกข์เราก็รู้ข้อประพฤติปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์นี้เราก็รู้ เมื่อรู้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งทั้งสี่ประการอย่างนี้แล้ว ก็เรียกว่าจบปัญหา ความสงสัยทั้งหลายก็หมดไป

    สิ่งทั้งสี่ประการนี้เกิดอยู่ที่ไหน? ก็เกิดอยู่ที่กายกับใจของเรานี่เองไม่อยู่อื่นไกลหรอก แต่ทำไม่พระพุทธองค์จึงทรงแยกแยะธรรมะออกให้กว้างก็เพื่อจะอธิบายสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ให้ละเอียดเป็นอย่าง ๆออกไป เพื่อให้เรานำมากำหนดพิจารณา

    ท่านทรงแนะนำ ให้พิจารณาร่างกายออกเป็นอย่างๆ เช่นพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ให้แยกแยะร่างกายออกมา เพื่อทำให้เห็นตามความเป็นจริงของร่างกาย อย่างชำนิชำนาญ ให้รู้ยิ่งตามความเป็นจริงของสังขารอันนี้ เพราะถ้าไม่รู้ตามเป็นจริงนี้แล้ว เราก็จะไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุของทุกข์ ไม่รู้จักความดับทุกข์ ไม่รู้ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ถ้าไม่รู้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ก็ไม่รู้ ข้อปฏิบัติ แล้วการฟังเทศน์ฟังธรรมทั้งหลายก็ย่อมไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด

    เมื่อใดเห็นธรรมเมื่อนั้นเห็นพระพุทธเจ้า

    ธรรมะนั้นอยู่ที่ไหน? พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมะมีอยู่ทุกที่ ทุกแห่ง มีธรรมะอยู่ทุกที่ทุกสถาน จะเป็นรูปมันก็เป็นธรรมะ จะเป็นนามมันก็เป็นธรรมะ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควรเข้าใจว่า เราทั้งหลายนั้นเกิดอยู่กับธรรมะ ใกล้ชิดธรรมะอยู่ตลอดเวลา

    ถ้าเราเข้าใจเช่นนี้แล้ว ก็จะเข้าใจต่อไปอีกว่า เราไม่ได้ห่างไกลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย เราอยู่ใกล้ชิดกับพระองค์อยู่ตลอดเวลา แต่ทำไมเราจึงยังไม่เห็นท่าน ก็เพราะเรายังไม่ค่อยได้สนใจปฏิบัตินี่เอง เพราะธรรมะคือ พระพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าคือธรรมะ

    พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์..ให้ท่านทำให้มาก เจริญให้มาก ปฏิบัติให้มาก ใครเห็นเราคนนั้นเห็นธรรม ใครเห็นธรรมคนนั้นก็เห็นเรา" ซึ่งแสดงว่า เราไม่ห่าง ไกล จากพระพุทธ เจ้าไม่ห่างไกลจากพระธรรมเพราะ พระพุทธเจ้า ก็ คือ พระธรรมะ และ ธรรมะก็คือพระพุทธเจ้า

    เมื่อเจ้าฟ้าชายสิทธัตถะทรงถือกำเนิดขึ้นมาในโลกครั้งแรก ก็ยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะเหตุใด? เพราะในตอนนั้นท่านยังไม่ตรัสรู้ธรรม ต่อเมื่อท่านทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ด้วยการประพฤติปฏิบัติของท่าน คือรู้สัจจธรรม รู้จักทุกข์ รู้จักเหตุเกิดแห่งทุกข์ รู้ความดับทุกข์ รู้จักข้อประพฤติปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ท่านจึงทรงเป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    เมื่อเข้าใจธรรมะพระธรรมก็อยู่ที่ใจเรา

    ฉะนั้นเมื่อเราถึงธรรม เราจะนั่งอยู่ที่ไหน เราก็รู้ธรรมะ เมื่อเราเข้าใจในธรรมะ พระพุทธเจ้าก็อยู่ที่ใจของเรา พระ-ธรรมก็อยู่ที่ใจของเรา ข้อประพฤติปฏิบัติให้เกิดความเฉลียวฉลาดก็อยู่ที่ใจ ของเราเรียกว่า เราเป็นผู้ปฏิบัติพร้อมด้วย กาย วาจา จิต เช่นนี้แล้ว เราจะเป็น ผู้มองความดี ความชั่วทั้งหลายด้วยความถูกต้อง คือถูกต้องตามสัจจธรรม ตามที่สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่านี่คือความจริง หรือมันเป็นความจริงของโลก

    ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงทิ้งโลก คือทิ้งทั้งสรรเสริญทิ้งทั้งนินทา ใครจะนินทาท่านก็ทรงรับว่ามันเป็นอย่างนั้น ใครจะสรรเสริญท่านก็ทรงรับว่ามันเป็นอย่างนั้น เพราะทั้งสองอย่างนี้มัน เป็นเรื่องของโลกทั้งนั้น จิตใจของท่านก็ไม่ทรงหวั่นไหวเพราะอะไร?...ก็เพราะท่านรู้จักทุกข์ ก็สิ่งทั้งสองนี้ทำให้ท่านทรงเกิดทุกข์ หากท่านไปทรงเชื่อเข้าทุกข์มันก็เกิดเท่านั้น แหละ

    เมื่อทุกข์เกิด จิตก็กระสับกระส่าย ไม่สบายอกไม่สบายใจ เมื่อจิตวุ่นวาย จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ก็มีแต่ความกระสับกระส่าย กระวนกระวาย นั่นคือทุกข์

    อะไรเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด? ก็เพราะเราไม่รู้ตามความ เป็นจริงอย่างนั้นทุกข์มันก็เกิด แล้วจะดับทุกข์นั้นอย่างไรก็ไม่รู้จักไม่รู้จักวิธีดับอย่างถูกต้อง คิดเอาเองว่า ควรแก้ทุกข์อย่างนี้ อย่างนั้น ทุกข์ก็ยิ่งเกิดทวีขึ้นมาอีก

    เมื่อใดมองเห็นสัจจธรรมก็จะพ้นทุกข์

    ดังนั้นท่านจึงสอนว่า ให้รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คือ น้อมธรรมะอันนี้เข้ามาในใจของเรา ให้มองเห็นว่าเป็นสัจจธรรมพิจารณาให้ละเอียด ให้เห็นจริง จนเป็นพยานของตนเองได้ พระพุทธเจ้าท่านทรงสรรเสริญบุคคลเช่นนี้บุคคลที่เป็นอิสระ ไม่รับทั้งดี ไม่รับทั้งชั่ว เพราะทั้งดีและชั่วเป็นเรื่องของโลก เมื่อเป็นเรื่องของโลกมันเป็นอารมณ์ ถ้าหวั่นไหวไปตามอารมณ์ ใจเรามันก็เป็นโลก คลำโลกอยู่ตลอดเวลา ก็เรียกว่า ไม่รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ทุกข์มันก็ยิ่งกำเริบขึ้นมาเท่านั้น

    เมื่อเราเข้าใจเช่นนี้แล้ว ก็จะรู้ว่าเรายังไม่ชนะใจตัวเองเรายังชอบเอาชนะคนอื่น มันก็แพ้ตัวเองเท่านั้น แต่ถ้าเราเอาชนะตัวเอง มันก็จะชนะทั้งตัวเอง ชนะทั้งคนอื่น ชนะทั้งอารมณ์ ชนะทั้งรูป ทั้งเสียง ทั้งกลิ่น ทั้งรส ทั้งโผฏฐัพพะเป็นอันว่าชนะทั้งหมด อันนี้พูดถึงเรื่องภายนอกมันเป็นอย่างนั้น แต่เรื่องภาย นอก มันก็ทำให้มาเป็นเรื่องภายในด้วยบางคนก็รู้แต่ภายนอกไม่รู้ภายใน เช่น ท่านพูดคำๆหนึ่งว่าให้เห็นกายในกาย ให้รู้กายแล้วก็ยังไม่พอ ให้รู้กายในกายอีก ให้พิจารณากาย แล้วก็ให้พิจารณากายในกาย แล้วก็ให้พิจารณาจิต และพิจารณาจิตในจิตอีก เป็นต้น

    ถ้าเราเป็นผู้ห่างเหินจากการภาวนาแล้ว ก็จะเก้อเขินหรือไม่เข้าใจ รู้กายทำไม? กายในกายคืออะไร? ที่ให้รู้จิต? จิตนี้มันคืออะไร? ของในจิต นั้นมันคืออะไร ก็เลยไม่รู้เรื่องเพราะเป็นผู้ไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุของทุกข์ ไม่รู้จักความดับทุกข์ไม่รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ สิ่งที่ควรดับทุกข์ ไม่ดับมัวไปสนใจในสิ่งที่มันไม่ดับ เช่นว่าเราคันที่ศีรษะอย่างนี้แล้วเราไปเกาที่ขา มันก็ไม่ถูกจุดของมัน มันก็ไม่หาย นี้เรียกว่าไม่รู้จุดที่จะให้มันระงับความคัน มันก็เป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับเมื่อความทุกข์เกิดขึ้นมาก็ไม่รู้จักดับมันข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์ก็ไม่รู้จักกัน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเราทั้งหลายเก้อเขินมากเหลือเกินเพราะความที่ไม่รู้จัก

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร เช่น ร่างกายเรานี้ ร่างกายที่เราเอามานั่งประชุมรวมกันอยู่นี้ ที่มองเห็นได้ด้วยตานั้น ถ้าเห็นแต่รูปร่างกายเช่นนี้อยู่เพียงเท่านี้ มันจะเป็นเหตุให้ระงับความทุกข์หรือระงับเหตุให้เกิดความทุกข์นั้นไม่ได้เลย ทำไม?ก็เพราะว่าเราเห็นแต่กายข้างนอก เรายังไม่เห็นกายข้างใน เมื่อเห็นแต่ข้างนอก ก็เห็นแต่ว่าเป็นของสะสวย เป็นแก่นสารไปหมดทุกอย่าง

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทรงบอกว่าแค่นี้ไม่พอที่เห็นข้างนอกอย่างนี้ เด็กๆมันก็เห็นได้ สัตว์ทั้งหลายมันก็เห็นได้ มันไม่ยาก พอเห็นแล้วมันติด เห็นแล้วมันก็ไม่รู้ เห็นแล้วมันก็ตะครุบๆ แล้วมันก็กัดเรา เท่านั้นแหละมันเป็นเสียอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจึงให้พิจารณากายไปในกาย อะไรที่มีในกายก็ค้นหาดูซิว่ามีอะไรในกาย ให้เห็นว่าของในกายเรานี้มันมีอะไรอยู่บ้างที่เราเห็นกายภายนอกนั้น มันไม่ชัดเจน เห็นผม เห็นขน เห็นเล็บ เห็นอะไรทั้งหลาย ก็มีแต่ของที่สะสวยไปทั้งนั้น มันเป็นเครื่องย้อมใจเรา เพราะฉะนั้นท่านจึงว่าเห็นไม่ชัด เห็นกายก็ไม่ชัด ท่านจึงให้มองข้างในให้เห็นภายในกาย

    แล้วก็ต้องมองเข้าไปอีกว่า กายที่อยู่ในกายนี้มีอะไรอยู่บ้าง ที่กายเนื้อกายหนังนี้มีอยู่อย่างนี้ ในกายนั้นมันมีอะไรบ้างพิจารณาดูให้แยบคายเข้าไปเถอะ เราก็จะเห็นว่าในกายนี้มันมีอะไรหลายๆอย่างสารพัด ค้นเข้าไปดูแล้วก็แปลกใจทั้งนั้นแหละ เพราะแม้แต่ของที่อยู่ในตัวของเรา เราก็ไม่เคยเห็นเลยแต่เราก็เดินเราก็อุ้มมันไป นั่งรถก็อุ้มมันไปทั้งนั้นแหละ แต่เรายังไม่รู้จักมันเลยว่ามันเป็นอะไร เป็นอย่างไร เหมือนเรารับ ของฝากเขามา เขาเอาห่ออะไรให้เรา เราก็ไม่รู้จับได้ก็ยัดใส่ตระกร้าเดินมาเลย ไม่ได้เปิด เมื่อไปเปิดดูแล้วจึงเห็นมีแต่อสรพิษทั้งนั้น

    กายเรานี้ก็เหมือนกัน เราเห็นแต่เปลือกนอก เราก็เห็นว่าสวยว่างามอะไรสารพัดอย่าง จนลืมตัวลืมตน ลืมอนิจจัง ลืมทุกขัง ลืมอนัตตา ลืมอะไรๆทั้งนั้น ถ้าเรามองเข้าไปข้างในนั้นมันไม่น่าดูเลยนะกายของเรานี้ ถ้าเอาของที่สะอาดมาใส่มันก็สกปรก

    นี้เรื่องภายนอกก็สกปรกภายนอก ส่วนเรื่องภายในก็สกปรกภายในเหมือนกัน เรื่องภายในมันก็ยิ่งน่าดูยิ่งกว่านั้นอีก ดูเข้าไปข้างในสิ ในกายของเรามีอะไรบ้าง

    ถ้าเราดูตามความเป็นจริง ดูตามสัจจธรรมโดยไม่เข้า ข้างตัวแล้ว มันเห็นสิ่งที่น่าสลดน่าสังเวช น่าอะไรๆหลายๆอย่าง มันน่าจะเกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย คำว่า "เบื่อหน่าย"ไม่ใช่ไปเกลียดไปโกรธมันนะ แต่เป็นความกระจ่างของจิตเราเอง เป็นความปล่อยวาง เห็นว่าอันนี้ไม่มีสาระประโยชน์อะไรเลย ไม่เป็นแก่นไม่เป็นสารอะไรเลย เราเห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็น ธรรมชาติเป็นธรรมดา เรื่องของเขา เขาก็ตั้งของ เขาอยู่อย่างนั้น ใครจะไปอยากให้เขาเป็นอย่างไร เขาก็เป็นของเขาอยู่อย่างนั้นเอง เราจะร้องให้ก็ดี เราจะหัวเราะก็ตาม สังขารนี้ก็เป็นอย่างนี้สิ่งที่ไม่เที่ยงมันก็ไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่สวยมันก็ไม่สวย มันเป็นอยู่อย่างนั้นแหละ ถึงคนจะรู้ ถึงคนจะไม่รู้มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น

    ดังนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ท่านจึงว่าเมื่อเราเห็นรูป เสียง กลิ่นรส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เกิดขึ้นมาแล้ว ควรปล่อยเขาไปเสีย เมื่อหูได้ยินเสียงก็ปล่อยเขาไปเสีย เมื่อจมูกได้กลิ่นก็ปล่อยเขาไปเสีย เมื่อรสมันเกิดขึ้นกับลิ้นของเราก็ปล่อยมันไปเสีย เมื่อโผฏฐัพพะที่ถูกต้องด้วยกายเกิดขึ้นมา ชอบใจไม่ชอบใจก็ปล่อยเขาไปเสีย ให้กลับไปที่เดิมของเขาเสีย เรื่องธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจของเรานี้ มันไม่ต้องอาศัยอะไร ไม่ต้องอาศัยสัมผัสอะไร มันสัมผัสขึ้นที่ใจของมันเอง เรียกว่า ธรรมารมณ์ หรือธรรมะกับอารมณ์ เป็นส่วนดีก็เรียกว่ากุศล เป็นส่วนที่ชั่วก็เรียกว่าอกุศล สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ให้ปล่อยไปตามเรื่อง ของเขาเสีย เรียกว่าเรารู้มัน อย่างนี้แล้วสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี สารพัดอย่างอยู่ในรูปอันเดียวกัน การทำใจให้สงบเช่นนี้เรียกว่า การภาวนา

    จิตกับภาวนา

    การภาวนาคือการทำให้สงบ เมื่อสงบแล้วก็คือทำให้รู้การทำให้สงบหรือทำให้รู้นี้ต้องลงมือปฏิบัติกายกับจิตสองอย่างนี้ ไม่ใช่อื่น ความเป็นจริงสิ่งที่กล่าวนี้มันเป็นสิ่งละสิ่ง เช่นรูปก็เป็นส่วนหนึ่ง เสียงก็เป็นส่วนหนึ่ง กลิ่นก็เป็นส่วนหนึ่ง รสก็เป็นส่วนหนึ่ง โผฏฐัพพะก็เป็นส่วนหนึ่ง ธรรมารมณ์ก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ละอย่างนี้ก็เป็นคนละส่วนๆอยู่ แต่ท่านก็ให้เรารู้จักมันเสีย แยกสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ออก สรุปเป็นสุขทุกข์บ้างสุขเกิดขึ้นมาก็เป็นทุกเวทนา ทุกข์มันเกิดขึ้นมาก็เรียกทุกขเวทนา เรื่องสุขกับทุกข์ท่านก็จัดไว้เพื่อให้แยกมันออกจากจิต จิตก็คือผู้รู้ เวทนานั้นคืออาการที่มันสุขหรือทุกข์ ชอบใจไม่ชอบใจเป็นต้น เมื่อจิต ของเราเข้าไปเสวยในอาการเหล่านั้น เรียกว่าจิตของเราเข้าไปยึดหรือหมายมั่น หรือสำคัญมั่นหมายในความสุขนั้น ในความทุกข์นั้นนั่นเอง การที่เราเข้าไปหมายมั่นนั้นก็คือเรื่องของจิต อาการที่มันสุขหรือทุกข์นั้นคืออาการของ เวทนา ที่เป็นความรู้นั้นเรียกว่าจิตของเรา ที่ชื่อว่าสุขหรือทุกข์นั้นมันเป็นเวทนา ถ้ามันสุขก็เรียก ว่าสุขเวทนา ถ้ามันทุกข์ก็เรียกว่าทุกขเวทนา

    การแยกจิตกับเวทนา

    ที่ว่าจิตกับเวทนานั้น ท่านให้เรารู้จักแยกมันออกจากกันคำที่ว่าแยกออก ไม่ใช่ว่าเอาไปทิ้งไว้คนละอย่าง คนละทีแต่ให้เราแยกโดยวิธีที่ทำจิตเราให้สงบ เช่น คนที่ทำสมาธิให้ถึงที่เป็นต้น เมื่อจิตสงบแล้วก็พิจารณาแยกมันเสีย เพราะความสงบนั้นมันล้นเหลือ สุขนี้มันก็เข้าไปไม่ได้ เข้าไม่ถึง ทุกข์นี้ก็เข้าไปไม่ถึง นี้คือที่ว่าเวทนามันแยกอย่างว่าเรานั่งสมาธิ ถ้าความสงบมันเข้ามาก่อน เวทนาเกิดทีหลัง เวทนามันก็เดินเข้าไม่ถึงจิตก็ไม่รับรู้เวทนา มันแยกกันอยู่ในตัวของมันเอง กับกายนั้นพิจารณาให้รู้ว่า จิตที่เห็นเวทนานั้น เราเข้าไปยึดไหม? ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นมานั้น เราเข้าไปยึดไหม? เราก็จะรู้ว่าจิตของเรามันเป็นเช่นนี้ จะรู้ว่าสุขมันเป็นอย่างนี้ ทุกข์มันเป็นอย่างนี้ เวทนา มันเป็นอย่างนี้ มันก็เป็นคนละเรื่องกันอยู่

    จะเปรียบก็คล้ายกับว่า น้ำมันกับน้ำท่ามันปนอยู่ในขวดเดียวกันก็ปนได้ แต่มันแยกที่อยู่กัน มันจะร่วมขวด กัน ก็ได้แต่มันไม่ซึมซาบเข้าด้วยกัน แม้จะปะปนกันอยู่ น้ำมันก็เป็นน้ำมัน น้ำท่าก็เป็นน้ำท่า ทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้นเพราะว่ามันมีน้ำ หนักต่างกัน มันจึงแยกกันอยู่อย่างนั้น นี้ก็เหมือนกันฉันนั้น

    ถ้าปกติของจิตเราก็ไม่สุขไม่ทุกข์ เมื่อเกิดเวทนาเข้ามาก็เกิดสุขทุกข์อย่างนี้ ถ้าเรามีสติอยู่ก็จะรู้ว่า อันนี้เรียกว่าสุขที่เป็นสุขนั้นมันก็สุขอยู่ แต่จิตรู้ว่าสุขนั้นไม่เที่ยง มันก็ไม่ไปหยิบเอาสุขอันนั้น สุขนั้นมีอยู่ที่ไหน มีอยู่ แต่มันอยู่นอกจิตไม่มีฝังอยู่ในดวงจิต แต่ก็รู้ได้ชัดเจนหรือเมื่อทุกข์เกิดขึ้นมา ถ้ามันแยกเวทนาได้ มัน ไม่รู้จักทุกข์หรือ? รู้ มันรู้จักทุกข์แต่ว่าจิตมันก็เป็นจิต เวทนามันก็เป็นเวทนา จิตนั้นจะไม่ไปยึดทุกข์มาแบกไว้ว่าทุกข์ ว่านี้มันเป็นทุกข์ นี่ก็เพราะเราไม่ไปยึดให้เกิดเป็นความสำคัญมั่นหมาย

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทรงแยกด้วยความรู้ท่านทรงมีทุกข์ไหม? อาการของทุกข์นั้นท่านทรงรู้มัน แต่ท่านไม่ไป สำคัญมั่นหมายมัน ท่านทรงรู้อย่างนี้ก็เรียกว่าท่านทรงแยกทุกข์ออก แยกเวทนาออก ความสุขตามธรรมชาติรู้ไหม?ความสุขนั้นมีแต่ท่านทรงรู้ว่า สุขนั้นเป็นพิษถ้าเราไม่รู้จักมันท่านก็ไม่ไปสำคัญมั่นหมายสุขนั้นว่าเป็นตัวเป็นตน สุขนั้นมีอยู่หรือ? มันมีอยู่ด้วยความรู้ แต่ไม่มีอยู่ในจิตใจของท่าน เช่นนี้ก็รู้ได้ว่า ท่านแยกสุข แยกทุกข์ออกจากจิตของท่าน แยกเวทนาออกจากจิตของท่าน ทั้งที่มีอยู่ด้วยกันนั่นแหละ

    คำที่กล่าวว่าพระพุทธองค์ และพระอริยเจ้าของเราท่านตัดกิเลสแล้ว ท่านฆ่ากิเลสแล้วนี้ ไม่ใช่ท่านไปฆ่ากิเลสหรอกถ้าท่านฆ่ากิเลสหมดแล้ว เราก็คงไม่มีกิเลสน่ะสิ เพราะท่านฆ่าไปหมดแล้ว ความจริงท่านไม่ได้ฆ่ามันแต่ท่านรู้แล้ว ท่านก็ปล่อยมันไปตามเรื่องของมัน ใครโง่มันก็ไปจับเอาคนนั้นแหละ ท่านรู้เฉพาะใจของท่านว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นพิษ ท่านก็เขี่ยมันออกไป สิ่งที่ทำให้ท่านเกิดทุกข์ ท่านก็เขี่ยมันออกไปไม่ได้ฆ่ามันหรอก คนที่ไม่รู้ว่าท่านเขี่ยออก กลับเห็นว่า ดีก็ไปตะครุบเอา เออ..อันนี้ดีนี่ ก็ตะครุบเอา ความเป็นจริงพระ-พุทธเจ้าท่านทิ้ง

    อย่างสุขยังงี้ท่านก็เขี่ยออก เราก็เห็นว่าดี ก็ตะครุบเอาเลย จับใส่ย่ามไปเลยว่าของดีของเรา ความเป็นจริงนั้นท่านรู้เท่ามัน เมื่อสุขเกิดขึ้นมาท่านก็รู้ว่ามันเป็นสุข แต่ท่านไม่มีสุขท่านก็รู้อยู่ว่าอันนี้ มันเป็นสุข แต่ท่านไม่ไปสำคัญมั่นหมายว่ามันเป็นตัวเป็นตนว่าเป็นของเขาว่าเป็นของเราทั้งนั้น อย่างนี้ท่านก็ปล่อยมันไปทุกอย่างก็เหมือนกัน

    ความเป็นจริงสุขเวทนา ทุกขเวทนากับจิตของเรานั้นมันเป็นคนละอย่างกัน อย่างเดี๋ยวนี้เรานั่งอยู่นี่มันก็สบายนะ แต่ถ้ามีไม้สักท่อนหนึ่งที่เราอยากได้ เราไปแบกมัน มันก็หนักนะท่อนไม้นี้มันก็คือเวทนานี่แหละ ตัวความอยากได้ท่อนไม้คือตัวจิตของเรา ที่เข้าไปแบกท่อนไม้มันก็หนักใช่ไหม? มันหนักถ้าคนมี ปัญญาแม้หนักเขาก็ไม่ทุกข์ รู้จักปล่อยมัน เมื่อมันหนักเต็มที่เขาก็ปล่อยมัน ถ้าท่อนไม้นั้นมันมีประโยชน์จะเอาไปใช้ประโยชน์ก็ให้รู้ทันมัน หากรู้อย่างนั้นมันก็ค่อยยังชั่ว ไม้มันจะได้ไม่ทับตายอย่างนี้ จิตนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น

    ทุกข์สุขมีโทษเสมอกัน

    อาการ ของจิตคือสุขเวทนา ทุกขเวทนาสารพัดอย่างนั้นมันเป็นอารมณ์มันเป็นส่วนโลก ถ้าจิตรู้แล้วงานที่เป็นสุขท่านก็ทำได้ งานที่เป็นทุกข์ท่านก็ทำได้ เพราะอะไร? ก็เพราะท่านรู้จักสุข รู้จักทุกข์ตามที่เป็นจริง ถ้าคนที่ไม่รู้จักสุขไม่รู้จักทุกข์นั้นก็จะเห็นว่าสุขกับทุกข์นั้น มันคน ละ ระดับมันคนละราคากัน

    ถ้าผู้รู้ทั้งหลายแล้ว ท่านจะเห็นว่า สุขเวทนากับทุกขเวทนา มันมีราคาเท่าๆกัน ถ้าไปยึดในสุขนั่นก็คือบ่อเกิดของทุกข์ ทุกข์มันก็จะเกิดขึ้นมาเพราะอะไร? นี้เพราะว่าสุขมันก็ไม่เที่ยงมัน แปรไปมา เมื่อสุขนี้มันหายไป ทุกข์มันก็เกิดขึ้นมาดังนี้เป็นต้น

    พระพุทธองค์ท่าน ทรงรู้ว่าสุขทุกข์นี้มันเป็นโทษสุขทุกข์จึงมี ราคาเท่ากัน ดังนั้นเมื่อสุขทุกข์เกิดขึ้น ท่านจึงปล่อยวางได้ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันมีราคาเสมอเท่ากันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นจิตใจของท่านจึงเป็นสัมมาปฏิปทา เห็นสิ่งทั้งสองนี้มีทุกข์โทษเสมอกัน มีคุณประโยชน์เสมอกันทั้งนั้น และสิ่งทั้งสองนี้ก็เป็นของที่ไม่แน่นอน ตกอยู่ในลักษณะของ ธรรมะว่าไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ เกิดแล้วดับไปทั้งหมดเป็นอย่างนี้ เมื่อท่านเห็นเช่นนี้สัมมาทิฐิก็เกิดขึ้นมา เป็นสัมมามรรค จะยืนจะเดินจะนั่ง จะนอนก็ตาม หรือความรู้สึกนึกคิดทางจิตนั้นจะเกิดขึ้นมาก็ตาม ท่านก็รู้ว่าอันนี้เป็นสุข อันนี้เป็นทุกข์เสมอเลยทีเดียวท่านไม่ได้ยึด

    พระบรมศาสดาของเรานั้น เมื่อตรัสรู้มาใหม่ๆท่านเทศนาเรื่อง กามสุขัลลิกานุโยโค อัตตกิลมถานุโยโค ภิกษุทั้งหลาย กามสุขัลลิกานุโยโคนั้นทางมันหย่อน อัตตกิลมถานุโยโคนั้นทางมันตึง อันนี้ที่มันเล่นงาน ท่านมาตลอดทาง จนถึงวันที่ท่านตรัสรู้ธรรมะ เพราะทีแรกท่านไม่ได้ปล่อยมัน พอท่านทรงจับตรงนี้ได้ก็ทรงปล่อยวาง แล้วจึงได้แสดงปฐมเทศนาให้สาวกฟังเลยว่า กามสุขัลลิกานุโยโคนั้น สมณะอย่าพึงเดินไปอันนั้นไม่ใช่ทาง ของสมณะ คือใครไปติดใครไปติดไปสำคัญมั่นหมายอยู่ในกามนี้มันก็วุ่นวาย ความสงบไม่มีในที่นั้น สมณะเกิดขึ้นไม่ได้ ท่านว่าทางนี้อย่าเดิน

    ส่วนอัตตกิลมถานุโยโคนั้น ทางนี้มันก็เหี้ยมโหดรุนแรงทางนี้ก็อย่าเดินไป สมณะไม่อยู่ที่นี่ ความสงบไม่มีอยู่ที่นี่สมณะไม่เคยเกิดในทางนี้ ความสงบไม่อยู่อย่างนี้ คือทั้งสุขและทุกข์นี้ สมณะอย่าเดินไป สุขก็อย่าลืมตัว ทุกข์ก็อย่าเดินไปให้รู้ทันมัน มันจะเกิดทุกข์ก็ให้รู้ว่าจะเกิดทุกข์ เมื่อรู้จักทุกข์ก็รู้ทางที่จะให้เกิดทุกข์ และรู้จักความดับทุกข์หรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติ นี้คือการภาวนานี้เอง

    สุขทุกข์เป็นเพียงสักว่าเท่านั้น

    พูดง่ายๆก็เรียกว่าเราต้องเป็นผู้มีสติคือ มีความรู้ความระลึกอยู่เสมอ อยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้เราคิดอะไรอยู่ เราทำอะไรอยู่เรามีอะไรอยู่เดี๋ยวนี้ เราดูอย่างนี้ มีสติอยู่เสมอว่า เราอยู่อย่างไรเรารู้ตัวอยู่ว่าขณะนี้เรามีอะไรอยู่ กำลังคิดอะไรกำลังสุข หรือกำลังทุกข์ ผิดหรือถูกอยู่เดี๋ยวนี้ ที่เราปรารภสิ่งทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ปัญญามันก็เกิดขึ้นมาแล้วนั่น ระลึกได้อยู่ รู้ได้ อยู่มันก็วิ่งไปหาปัญญา ปัญญาก็เกิดขึ้นมา เราก็วิพากษ์ วิจารณ์พิจารณา เราจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน อยู่ก็ตามที มีความรู้อยู่อย่างนั้นตลอดเวลา มันก็รู้จักผิด รู้จักถูก รู้จักพอดีรู้จักไม่พอดี เมื่ออารมณ์ที่พอใจเกิด ขึ้นมาอยู่นี้เราก็รู้จัก เราไม่ไปสำคัญมั่นหมายมัน มันสักแต่ว่าสุข เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมามันเป็นอัตตกิลมถานุโยโค เราก็รู้ว่า เออ...อันนี้ไม่ใช่ทางของสมณะ เรียกว่า สักว่าทุกข์ สักว่าสุข เป็นของ "สักว่า"เท่านั้นอย่างนี้ก็เรียกว่า เราสามารถแยกจิตกับเวทนาออกจากกันได้แล้ว ถ้าจิตเราฉลาด เราก็ไม่ไปยึดแต่วาง เป็นผู้รู้เฉยๆรู้เท่าแล้วปล่อยไปตามสภาวะอันนั้น ลักษณะของจิตกับเวทนาทั้งหลายก็เป็นอย่างนี้

    แม้ว่าเราเจ็บป่วยขึ้นมา เราก็ยังรู้สึกว่าเวทนามันก็เป็นเวทนา จิตมันก็เป็นจิต เป็นคนละอย่างกันอยู่ รู้จักเจ็บไหม?รู้จัก รู้จักสบายไหม? รู้จัก แต่เราไม่ไปอยู่ในความสบายและความไม่สบายนั้น อยู่แต่ในความสงบ สงบอย่างไร สงบจากความสบายนั้น สงบจากความทุกข์นั้น อันนี้ชี้ให้เห็นอย่างนี้เพราะมันไม่มีตัวตน จะอยู่อย่างไรก็ไม่ได้ มันก็ต้องอยู่อย่างนี้แหละ คือหมายความว่าท่านไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ท่านรู้ว่ามันทุกข์อยู่เหมือนกัน แต่ท่านไม่ไปแบกมันไว้เวทนานั้นมันไม่เกิด

    อย่างนี้ ถ้าหากว่าปุถุชนเราก็จะว่ามันเป็นเรื่องแปลกแต่จะเป็นปุถุชนก็ช่างเถอะ ให้เรามุ่งไปตรงนั้นเลยทีเดียว มันมีอยู่อย่างนั้น จิตมันก็เป็นส่วนจิตอยู่อย่างนั้น เราพบสุขทุกข์ก็ให้เห็นว่ามันเป็นส่วนสุขทุกข์อยู่อย่างนั้น ไม่มีอะไรกับมัน มันแยกกันอยู่ ไม่ใช่ว่ามันปนกันอยู่ ถ้ามันปนกัน เราก็ไม่รู้ทั่วถึงมันเท่านั้นแหละ ความเป็นจริงลักษณะอันนี้มันแยกกันอยู่นี้คือเรื่องของกายกับจิต แม้ว่ามันจะรวมกันอยู่อย่างนี้ก็ตามอย่างว่าบ้านเรากับเราที่อยู่ในบ้าน มันก็เนื่องกันอยู่อย่างนั้นแหละ ถ้าบ้าน ของเรามีอันเป็นไป จิตเราก็เป็นทุกข์ เพราะถือเป็นเจ้าของ ความจริงก็มันคนละคนนี่ อันหนึ่งมันเจ้าของบ้านอันหนึ่งมันบ้าน มันเป็นอยู่อย่างนั้นเองของมัน มันไม่ใช่อันเดียวกัน ดังนั้นจิตก็ดี เวทนาก็ดี ถึงเราจะพูดแยกมันออกอย่างนี้ก็ตาม แต่ความจริงมันก็แยกของมันอยู่แล้ว คือเพียงเรามารู้ตามเป็นจริงของมันเท่านั้น มันรู้จักแยกของมันเอง มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว ที่ไปเห็นว่ามันไม่แยกก็เพราะว่าเราไปยึดมั่นถือมั่นมัน ด้วยเราไม่รู้ตามเป็นจริง มันก็คุมกันอยู่อย่างนั้นแหละ

    ก็เหมือนช้อนที่เราซดแกงนั่นแหละ แกงมันก็เป็นอย่างหนึ่ง ถ้าคนเรารู้จักว่าอันนี้เป็นแกง อันนี้เป็นช้อนมันก็สบายนะเอาซดน้ำแกงแล้วก็เอามันวางไว้ มันก็สบาย ถ้าเราไปแบกช้อนอยู่มันก็ลำ บากสิ ไม่เห็นช้อนเป็นช้อน ไม่เห็นแกงเป็นแกงไม่เห็นเวทนาเป็นเวทนา ไม่เห็นจิตเป็นจิตมันก็ยุ่งเท่านั้นแหละ

    การปฏิบัติทั้งหมดเป็นเรื่องของจิต

    ถ้าเราคิดกันได้เช่นนี้ จะยืนมันก็แยกกันอยู่ จะเดิน จะนั่ง จะนอน มันก็แยกกันอยู่ มันก็มีสุขทุกข์สลับซับซ้อนกันอยู่ทุกเวลานั่นเอง ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงทรงให้เราภาวนาการปฏิบัติภาวนานี้เป็นของสำคัญ รู้เฉยๆไม่พอหรอก รู้เกิดจากการปฏิบัติที่จิตสงบ กับรู้ที่เราเรียนมานั้น มันไกลกันอยู่มากทีเดียว มันไกลกันมาก รู้ในการศึกษาเล่าเรียนนั้นมันไม่ใช่จิตของเรารู้ รู้แล้วมันตะครุบไว้ เก็บไว้ทำไม? เก็บไว้เพื่อให้มันเสีย เสียแล้วก็ร้องให้ ถ้าเรารู้แล้วก็มีการปล่อยวาง รู้ ว่ามันเป็นอย่างนั้น เราก็ไม่ลืมตัว เมื่อถึงคราวทุกข์เจ็บไข้มาเราก็ไม่หลง บางคนคิดว่า เออ..ปีนี้ฉันเป็นไข้ตลอดปีนะ ไม่ได้ภาวนาเลย นี้คือคำพูดของคนที่โง่ที่สุดเลย คนเป็นไข้ คนจะตายนี้ มันควรจะรีบภาวนายิ่งขึ้น อันนี้ยิ่งไปพูดว่าเราไม่มีเวลาภาวนาเสียแล้ว ความเจ็บมันก็เกิดขึ้นมา ความทุกข์มันก็เกิด ขึ้นมา ความไม่ไว้ใจในสังขารเหล่านั้นมันก็มีมาแล้ว ก็ยังเข้าใจว่าเรายังไม่ได้ภาวนา พระพุทธองค์ท่านไม่ตรัสอย่างนั้น ท่านตรัสว่านั่นแหละมันกำลังถูกที่ ที่เราปฏิบัติละ จวนจะเจ็บจะไข้จะตาย ยิ่งเร่งยิ่งรู้ยิ่งเห็นสัจจธรรม มันเกิดเดี๋ยวนั้นแหละ ถ้าเราไปคิดเช่นนั้น มันก็ลำบากนะ

    บางคนก็คิดว่าไม่มีโอกาส มีแต่การงานทั้งนั้น ไม่มีโอกาสที่จะภาวนา เคยมีอาจารย์<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:smarttags" /><st1:personName w:st="on" ProductID="หลายคนมาที่นี่ อาตมาถามว่าทำอะไร">หลายคนมาที่นี่ อาตมาถามว่าทำอะไร</st1:personName> เขาตอบว่าสอนเด็ก มีงานมากสารพัดอย่าง วุ่นไม่มีเวลาจะภาวนา อาตมาถามว่าเมื่อสอนเด็กนักเรียนน่ะ คุณมีเวลาหายใจไหม? มีครับ อ้าว...ทำไมมีเวลาหายใจล่ะ? ที่ว่าสอนเด็กอยู่งานมันยุ่ง นี่คุณ<st1:personName w:st="on" ProductID="ห่างไป ไกลไป">ห่างไป ไกลไป</st1:personName>

    ความเป็นจริงเรื่อง ปฏิบัติ มันเป็นเรื่องของจิต เรื่องความรู้สึกไม่ใช่เรื่องที่จะต้องไปวิ่งไปเต้นอะไรมากมาย เป็นเรื่องความรู้สึกเท่านั้น ลมหายใจนั้นเราทำงานอยู่เราก็หายใจเรื่อยไปเราพยายามแต่เพียงให้มีสติให้รู้เท่านั้น พยายามเรื่อยๆเข้าไป ให้เห็นชัดเข้าไป การภาวนาก็เหมือนกันฉันนั้นถ้าเรามีความรู้สึกอยู่อย่างนี้ จะทำงานอะไรอยู่ก็ตามเถอะมันจะยิ่งทำให้การทำงานเหล่านั้นทำอย่างรู้ผิดชอบอยู่เสมอ นี้ให้คุณเข้าใจเสียใหม่ อาตมาบอกเขาอย่างนี้ เวลาที่จะภาวนานั้นมันเยอะ คุณเข้าใจไม่ถึงเฉยๆหรอก นอนอยู่ก็หายใจได้ใช่ไหม? อยู่ที่ไหนก็หายใจได้ ทำไมมันจึงมีเวลาล่ะ ถ้าคุณคิดอย่างนี้ ชีวิตของคุณก็มีราคาเท่ากับลมหายใจ แล้วมันจะอยู่ที่ไหนก็มีเวลา ความรู้สึกนึกคิดมันเรื่องของนามธรรม ไม่ใช่เป็นเรื่องของรูปธรรม

    ดังนั้นเพียงแต่ให้มีสติอย่างเดียวเท่านั้น ก็จะรู้จักความผิดชอบอยู่ตลอดกาล ทั้งการยืน เดิน นั่ง นอนเหล่านั้นเวลามันเยอะไป เราไม่ฉลาดในเรื่องเวลาของเราเอง อันนี้ให้คุณเอาไปพิจารณาดูมันเป็นอย่างนี้

    เมื่อแยกจิตและเวทนาออกได้ก็มีความฉลาดในจิต

    เรื่อง เวทนานี้เราจะหนีมัน ไปไหนไม่ได้ เราต้องรู้มันเวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา สุขก็สักแต่ว่าสุข ทุกข์ก็สักแต่ว่าทุกข์มันเป็นของสักว่าเท่านั้นแหละ แล้วเราจะไปยึดมั่นถือมั่นมันทำไม ถ้าจิต เราฉลาดแล้ว เพียงคิดเท่านี้มันก็แยกเวทนาออกไปจากจิตได้ เวทนานี้สักว่าเวทนา มันก็เห็นสักว่าเท่านั้น ทุกข์มันก็สักว่าทุกข์ สุขมันก็สักว่าสุข มันก็แยกกันเท่านั้นแหละแล้วมันมีอยู่ไหม? มีแต่มันมีอยู่นอกใจมันมีด้วยความไม่ยึด มั่นถือมัน ไม่ได้ไปทำความสำคัญมั่นหมายกับมันมีแล้วมันก็คล้ายๆกับว่ามันไม่มีเท่านั้นเองแหละ

    นี้เรียกว่าการแยกเวทนาออกจากจิต เพราะรู้ว่าจิตมันเป็นอย่างไร เวทนามันเป็นอย่างไร จิตก็คือตัวที่เข้าไปรู้ในสุขเป็นตัวที่ละเอียดเข้าไป แล้วตามเข้าไปให้รู้ว่าสุขนั้นมันแน่หรือเปล่า ทุกข์นั้นมันแน่หรือเปล่า เมื่อเราตามเข้าไปเช่นนี้ปัญญามันก็เกิดขึ้นที่จิต มันก็แยกสุขทุกข์ ออก สุขมันก็กลายเป็นว่าสักว่า ทุกข์มันก็กลายเป็นว่าสักว่า ไม่เห็นมีอะไร อะไรมันก็เป็นของสักว่าเท่านั้น เรามีความรู้อยู่อย่างนี้ตลอดต้นจนปลายเท่านั้น จิตของเรามันก็ปล่อยวาง แต่ไม่ใช่ปล่อยวางด้วยความไม่รู้นะ มันวาง และก็รู้อยู่ ไม่ใช่วางด้วยความโง่ ไม่ใช่วางเพราะไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น คือวางเพราะรู้เห็นตามความเป็นจริงว่ามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น นี้เรียกว่าเห็นธรรมชาติหรือเห็นของธรรมดา

    เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้วเราก็เป็นผู้ชำนาญในจิต รู้จักตามรักษาจิต ฉลาดในจิตของตน ฉลาดในการรักษาจิตของตนเพราะฉะนั้นเมื่อฉลาดในจิต ก็ต้องฉลาดในอารมณ์ เมื่อฉลาดในอารมณ์ ก็ย่อมฉลาดในโลก อย่างนี้เป็นต้น นี้เป็นโลกวิทูพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลก อยู่ท่ามกลางสิ่งที่มันยุ่งยาก ท่านก็รู้ในสิ่งที่มันยุ่งนั้นแหละ โลกนี้เป็นของวุ่นวาย ทำไมพระพุทธเจ้าท่านจึงทรงรู้แจ้งโลกได้? นี้ให้เราเข้าใจว่าธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ไม่มีอะไรที่จะเหนือความสามารถของพวกเราทั้งหลายนั่นเอง

    เพราะฉะนั้นถ้าเรารู้จิตเป็นจิต เวทนาเป็นเวทนาเท่านี้มันก็แยกกันออกเป็นคนละอย่างคนละตอน จิตมันก็พ้นได้สบาย อารมณ์มันก็เป็นอย่างนั้นของมันเอง เกิดแล้วก็ดับไปเท่านั้น มันเกิดแล้วก็ดับไป ดับแล้วก็เกิดแล้วก็ดับ มันก็เป็นอยู่เท่านั้น เรารู้แล้วเราก็ปล่อยให้มันไปตามเรื่องของมันอยู่อย่างนั้น อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้รู้เห็นตามที่เป็นจริง อันนี้ปัญหามันก็จะจบลงที่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นแม้เรา จะยืนจะเดิน จะนั่ง จะนอน ก็ขอให้มีการประพฤติปฏิบัติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดกาล

    ความสงบเป็นบ่อเกิดของปัญญา

    เรื่องที่ถึงคราวนั่งสมาธิเราก็ทำไป ให้เข้าใจว่าการทำสมาธิก็เพื่อให้เกิดความสงบ ความสงบนั้นมันจะเพาะกำลังให้เกิด เท่านั้นแหละ ไม่ใช่ว่านั่งสมาธิ เพื่อจะตามไปเล่นอะไรมากมายหรอก ดังนั้นการทำสมาธิก็ต้องให้มันสม่ำเสมอ การทำวิปัสสนา ก็คือการทำสมาธินั่นเองแหละบางแห่งเขาก็ว่า บัดนี้เราทำสมาธิ ต่อไปเราจึงจะทำวิปัสสนา บัดนี้เราทำสมถะเป็นต้น อย่าให้มันห่างกันอย่างนั้นสิ สมถะนี้แหละ คือบ่อเกิดของปัญญา ปัญญานี้ก็คือผลของสมถะ จะไปถือว่าบัดนี้เราทำสมถะ ต่อไปเราจะทำวิปัสสนาอย่างนั้น มันแยกกันไม่ได้ หรอก มันจะแยกกันได้ก็แต่คำพูด เหมือนกับมีดเล่มหนึ่งนะคมมันก็อยู่ข้างหนึ่ง สันมันก็อยู่อีกข้างหนึ่งนั่นแหละ มันแยกกันไม่ได้หรอก ถ้าเราจับด้ามมันขึ้นมาอันเดียวเท่านั้นมันก็ติดมาทั้งคมทั้งสันนั่นแหละ

    ความสงบนั้นมันก็ให้เกิดปัญญาในตรงนั้น ให้เข้าใจว่ามันเป็นท่อนฟืนดุ้นเดียวกันนั่นแหละ มันมีมาจากไหนล่ะ?มันไม่มีพ่อแม่เกิดมานะธรรมะจะเกิดขึ้นที่ไหน? ศีลก็คือพ่อแม่ของธรรมะนี้คือสงบหมายความว่า ความผิดทางกายทางใจมันไม่มี เมื่อไม่มีมันก็เป็นศีล และมันก็ไม่เดือดร้อนเพราะมันไม่มีความผิด ทีนี้เมื่อไม่เดือดร้อน ความสงบระงับมันก็เกิดขึ้นมา นี้ คือจิตเกิดความสงบขึ้นมาแล้ว ในตัวของมันเอง

    ศีลสมาธิปัญญาเป็นทางเดินสู่พระนิพพาน

    <v:shape id=_x0000_s1027 style="MARGIN-TOP: 0px; Z-INDEX: 2; MARGIN-LEFT: 80pt; WIDTH: 120pt; POSITION: absolute; HEIGHT: 188.25pt; mso-wrap-distance-left: 15pt; mso-wrap-distance-top: 15pt; mso-wrap-distance-right: 15pt; mso-wrap-distance-bottom: 15pt; mso-position-horizontal: right; mso-position-vertical-relative: line" alt="" type="#_x0000_t75" o:allowoverlap="f"><v:imagedata src="file:///C:DOCUME~1ADMINI~1LOCALS~1Tempmsohtml1\01clip_image004.jpg" o:title="0CFbFrontPhoto"></v:imagedata><w:wrap type="square"></w:wrap></v:shape>อันนี้ท่านจึงว่า ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญา ก็ดี มันเป็นทางของพระอริยเจ้า จะดำเนินเข้าไปสู่พระนิพพาน มันเป็นอันเดียวกัน

    ถ้าพูดให้สั้นเข้ามา ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี มันเป็นอันเดียวกัน ศีลก็คือสมาธิ สมาธิก็คือศีล สมาธิก็คือปัญญา ปัญญาก็คือสมาธิ ก็เหมือนมะม่วงใบเดียวกันนั่นแหละเมื่อมันเป็นดอกขึ้นมามันก็ดอกมะม่วง เมื่อเป็นลูกเล็กๆก็เรียกว่าผลมะม่วง เมื่อมันโตขึ้นมามันก็เรียกว่า มะม่วงลูกโต มันโตขึ้นไปอีกก็เป็นมะม่วงห่าม เมื่อมันสุกก็คือมะม่วงสุก มันก็มะม่วงลูกเดียวกันนั่นแหละ มันเปลี่ยนๆๆๆไป มันจะโตมันก็โตจากเล็ก เมื่อมันเล็กมันก็เล็กไปหาโต จะว่ามะม่วงคนละใบก็ได้ จะว่าใบเดียวกันก็ถูก

    ศีลก็ดี ปัญญาก็ดี มันก็เกี่ยวเนื่องกันอยู่อย่างนั้น ผลที่สุดแล้วก็ต้องเป็นมรรค เดินทางเข้าไปสู่กระแสของพระ-นิพพานมะม่วง ตั้งแต่เป็นดอกมาเป็นต้น มันก็ดำเนินไปถึงที่มันสุกก็พอแล้ว นี่ให้เราเห็นเช่นนี้ ถ้าเราเห็นเช่นนี้เราก็ไม่ว่ามัน เขาจะเรียกให้เป็นอะไรก็ช่างมัน เมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะแก่ จะเป็นอะไรไปก็ตาม พิจารณาไปเถอะ

    บางคนก็ไม่อยากจะแก่ แก่แล้วก็น้อยใจ งั้นก็อย่ากิน มะม่วงสุกสิ จะอยากให้มะม่วงสุกทำไมล่ะ เมื่อสุกไม่ทันเราก็เอามันไปบ่มไม่ใช่หรือ? ถึงเราจะแก่ก็ไม่ต้องบ่นน้อยใจ บางคนก็ร้องให้กลัวว่ามันจะแก่ตาย ยังงั้นมะม่วงสุกก็ไม่ต้องกินสิกินดอกมะม่วงดีกว่า นี้แหละถ้าเราคิดอย่างนี้มันก็เห็นธรรมะกระจ่างออกมา เราก็สบายมีแต่จะตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติไปเท่านั้น

    <o:p> </o:p>

    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 98%; mso-cellspacing: 3.7pt; mso-padding-alt: 0in 0in 0in 0in" cellSpacing=5 cellPadding=0 width="98%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0in; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0in; PADDING-BOTTOM: 0in; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0in; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent">
    ภพ-ชาติ สัมมาทิฏฐิ<o:p></o:p>
    </TD></TR><TR style="mso-yfti-irow: 1; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0in; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0in; BACKGROUND: #339900; PADDING-BOTTOM: 0in; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0in; BORDER-BOTTOM: #ece9d8"><v:shape id=_x0000_i1027 style="WIDTH: 0.75pt; HEIGHT: 1.5pt" alt="" type="#_x0000_t75"></v:shape><o:p></o:p>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    <o:p> </o:p>

    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 95%; mso-cellspacing: .7pt; mso-padding-alt: 0in 0in 0in 0in" cellSpacing=1 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0in; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0in; PADDING-BOTTOM: 0in; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0in; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent">ภพ-ชาติ สัมมาทิฏฐิ อบรมพระภิกษุสามเณร ณ วัดหนองป่าพง<o:p></o:p>

    <o:p></o:p>

    ปรารถนา ภพ ชาติ เพราะติดอุปทานทำให้ทุกข์เกิด เกิดดับ ภพ ชาติ เป็นเรื่องขณะจิตที่เกิด ดับ ไม่ไช่ร่างกายอย่างเดียว ปราถนาอยากเกิดไม่อยากตาย คือคนหลงโลก พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ ไม่มี ภพ ชาติ ไม่มีสุขมีทุกข์ นักบวชละหมดทุกอย่างที่เป็นของชาวโลก ธรรมะนี้ต้องปฏิบัติเอาเองแล้วจะเห็นเอง เป็น ปัจจัตตัง หลบไม่ปฏิบัติข้อวัตร เ ป็นคนโง่ที่สุด ให้ปรารภความเพียรอยู่เสมอไม่ตามอารมณ์ ปฏิบัติให้ติดต่อ ศีล สมาธิ ปัญญาจะดีขึ้น อย่าสงสัยมาก แต่ปฏิบัติให้มาก อย่าประมาท<o:p></o:p>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     

แชร์หน้านี้

Loading...