"ธรรมะแห่งความดับทุกข์ ดูความปรุงแต่ง"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย JitJailove, 5 กรกฎาคม 2012.

  1. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    หนังสือ "ธรรมะแห่งความดับทุกข์ ดูความปรุงแต่ง" (ฉบับภาษาไทย) - ตอนที่ ๑


    by Ajahn Surasak (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) on Tuesday, July 3, 2012 at 7:35pm ·

    โพสโดย แอดมิน กลม กลม


    หนังสือ "ธรรมะแห่งความดับทุกข์ ดูความปรุงแต่ง" (ฉบับภาษาไทย) - ตอนที่ ๑


    โดย พระครูเกษมธรรมทัต



    ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ขอความผาสุขความเจริญในธรรม จงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย

    ต่อ ไปนี้ก็พึงตั้งใจฟังธรรมะตามหลักคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาตมาจะได้แสดงถึงธรรมะแห่งความดับทุกข์ โดยการดูความปรุงแต่ง ขอให้ท่านทั้งหลายพึงตั้งในฟังด้วยดี เมื่อฟังแล้ว ก็ต้องพิจารณา วิเคราะห์ จะถูกหรือผิดนั้น ก็อย่าเพึ่งเชื่อทีเดียว ต้องฟังอย่างผู้พิจารณา และก็ต้องนำมาประพฤติปฏิบัติ


    จะดับทุกข์ได้ ต้องชำระจิตใจให้สะอาด โดยการละกิเลสออกไปจากใจ

    การ ที่เราปฏิบัติก็เพื่อที่จะทำความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นในใจ หรือว่าต้องการที่จะดับทุกข์ให้ตนเอง คือต้องการที่จะแก้ปัญหาทางจิตใจที่มีอยู่

    ปัญหาทางจิตใจก็คือว่า ใจของเรามีความทุกข์ เศร้าหมอง เร่าร้อน วิตก กังวล ฟุ้งซ่าน หงุดหงิด ก็เนื่องมาจากการที่เรามีกิเลส ใจมีกิเลสทั้งนั้น จึงต้องชำระจิตใจให้สะอาด โดยการละกิเลสออกไปจากใจ


    จะละกิเลสได้ ต้องเป็นผู้รู้ เห็นตนเองตามความเป็นจริง

    การ ที่จะละกิเลสออกไปจากจิตใจได้นั้น ก็ต้องเป็นผู้รู้ขึ้น ต้องทำใจของตนเองให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และให้มีปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในธรรม

    ธรรม ก็คือธรรมชาติที่ตนเองนั่นแหละ เห็นธรรมตามความเป็นจริง ก็คือเห็นตนเองตามความเป็นจริง เห็นตนเองตามความเป็นจริง คือเห็นตนเองไม่ใช่ตัวตน จึงเรียกว่าเห็นความจริง

    คำว่า “ตน” ก็เป็นเรื่องที่สมมุติพูดกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่ตัวตน

    คำ ว่า “เรา” คำว่า “ของเรา” คำว่า “เขา” ก็เป็นเพียงสมมุติเรียกกัน แต่ว่าปุถุชนนั้น ไม่ได้เรียกเฉยๆ กลับยึดถือเป็นจริงไปด้วย ยึดว่าเป็นเราจริงๆ เป็นของเราจริงๆ เป็นตัวเป็นตนจริงๆ

    แต่เมื่อ ปฏิบัติธรรมแล้ว จึงได้พบว่า ตัวก็ไม่ใช่เรา และที่เรียกว่า “เรา” ก็เป็นเพียงสมมุติ ในความเป็นจริงแล้ว “ตัว” หรือ “ตน” นี้ “ไม่ใช่เรา” และ “ไม่ใช่ของเรา” เป็นเพียงสักแต่ว่าสิ่งธรรมชาติที่เกิดดับ เปลี่ยนแปลง ตามเหตุปัจจัย


    ผู้รู้ ต้องลงมือปฏิบัติ

    การที่จะ ทำให้จิตใจมีความรู้ เป็นผู้เห็นแจ้ง เป็นผู้ละกิเลสได้ ก็ต้องลงมือปฏิบัติ ต้องเพียรพยายามปฏิบัติธรรม จึงเป็นเรื่องของการลงมือกระทำ เป็นเรื่องของการปฏิบัติ ไม่ใช่เป็นเรื่องของการอ่าน การฟัง การพูดไปเฉยๆ ธรรมะไม่ได้อยู่ในตำรา ไม่ได้อยู่ในครูอาจารย์ ไม่ได้อยู่ที่วัด ไม่ได้อยู่ที่ไหนอื่น แต่อยู่ในตน การรู้จักธรรมะก็คือการรู้ในตนเอง


    เริ่มด้วยการดูในตนเอง ดูกาย ดูใจ ที่กำลังเป็นไปในปัจจุบัน

    การ เริ่มต้นของการศึกษาธรรมะก็คือการมีสติ ฝึกการมีสติโดยฝึกมีสติอยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน ทำสติให้อยู่กับปัจจุบันธรรม ปัจจุบันธรรมที่ไหน ปัจจุบันธรรมที่กาย ที่ใจนี้เอง ไม่ใช่เรื่องอะไรมากมาย เป็นเพียงเรื่องของการตามดู รู้ทันกาย และจิตใจ ที่เป็นอยู่ภายใน

    การตามดู ตามรู้สิ่งที่กำลังปรากฏเป็นไปอยู่นี้ เรียกว่า การปฏิบัติธรรม

    ดัง นั้น การเริ่มศึกษาธรรมะนั้น สติจะต้องระลึกรู้เกาะอยู่กับกาย แลจิตใจของตนเองอยู่เสมอ การรู้ก็รู้ได้ทุกอิริยาบทนั่นแหละ เช่น กายจะอยู่ในท่าใดๆ ก็เอาสติไปตามรู้ได้หมด ไม่ว่ากายจะนั่งอยู่ กายจะยืนอยู่ กายจะเดินอยู่ กายจะนอนอยู่ กายจะเคลื่อนไหวคู้เหยียดอยู่ ก็ให้มีสติตามรู้กายนี้ไป

    ระลึกรู้กาย ทั้งกายภายนอก และกายภายใน- การเห็นเป็นสัณฐาน ทรวดทรง เป็นท่าทาง เป็นรูปร่างของกาย เรียกว่าดูแบบภายนอก- การเข้าไปรู้ถึงความรู้สึกภายในกายที่เคลื่อนไหวอยู่ ที่มีความไหว ความตึง ความกระเพื่อมอยู่ทุกส่วนของกาย เรียกว่าดูภายใน

    จะต้องมีสติสัมปชัญญะ ระลึกรู้ทั่วพร้อมกายทั้งหมด ทั้งกายภายนอก และกายภายใน ไม่ได้เจาะจงรู้เพียงที่ใดที่หนึ่งของกาย

    การ ระลึกรู้แค่กายเท่านั้นยังไม่พอ จะต้องรู้เข้าไปถึงจิตใจของตนเองด้วย เช่น กำลังคิดนึก กำลังรู้สึกปรงแต่ง ให้เกิดความรัก ความชัง เกิดความสงบ ความไม่สงบ ความสบาย ความไม่สบายเหล่านี้ ก็ต้องมีสติระลึกความรู้ ตามพิจารณา ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นเรื่องเกินวิสัยที่เราจะทำได้ เพราะเราไม่ได้ไปคว้าเอาธรรมะนอกโลก

    ความรู้สึกทางกาย ทางใจนี้แหละเป็นธรรมะ เป็นสิ่งที่ต้องศึกษาพิจารณา ก็ไม่ต้องไปค้นธรรมะที่ไหนเลย ค้นธรรมะในตัวเอง ทุกคนก็มีตัว มีกาย มีใจอยู่ การปฏิบัติธรรมก็ต้องปฏิบัติได้ เพราะว่ามีตัวอยู่ มีชีวิตจิตใจอยู่ ไม่ใช่คนตาย คนตายก็หมดโอกาส เพราะฉะนั้น เรายังเป็นๆอยู่ ก็ต้องปฏิบัติได้


    ดูปัจจุบันธรรมที่กาย-ใจ จนเป็นมหาสติ ความสงบ สมาธิ จะเกิดขึ้นเอง

    การ ปฏิบัติจึงไม่ใช่เรื่องว่าเราจะต้องจดจำอะไรมากมาย แต่เป็นเรื่องการมีสติคอยดูกาย ดูใจในปัจจุบันนี้เท่านั้น ดูกายที่กำลังเป็นไปในปัจจุบัน และดูจิตใจที่กำลังเป็นไปในปัจจุบัน

    อย่าง นี้เรียกว่าการปฏิบัติธรรม เจริญสติจนเป็นมหาสติ คือสติที่ใหญ่ มีกำลัง สมาธิก็เกิดขึ้น สมาธิเกิดขึ้นได้จากการมีสติเท่าทันนี้แหละ ถ้ามีสติเท่าทันต่อสภาวะธรรมทางกายและทางใจ สมาธิ และความสงบในจิตใจก็จะเกิดขึ้นเอง

    จิตใจของเราที่ไม่สงบนั้นก็เพราะ ขาดสติ เมื่อไม่มีสติตามดูรู้ทัน จิตก็ปรุงแต่ง ปรุงแต่งในเรื่องที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็น หรือในเรื่องที่ได้คิดไว้ ได้รู้ไว้ ปรุงแต่งในเรื่องต่างๆเหล่านั้น จิตก็วุ่นวายสับสน สร้างความทุกข์ต่อจิตใจของตนเอง หรือบางที ปรุงแต่ง วิตกกังวลไปในเรื่องต่างๆ ในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น เหล่านี้ก็ทำให้เป็นทุกข์เกิดขึ้นมาในจิตใจ นั่นเพราะขาดสติ

    ถ้าเรา มีสติระลึกรู้ทันความคิดความนึก เมื่อเสียงดังมา สติระลึกได้ยินเสียง จิตเป็นอย่างไร จิตกระเพื่อม จิตหวั่นไหว จิตไม่พอใจ หรือจิตวางเฉย ก็ระลึกรู้ สติก็เกิดขึ้น สติต้องทำหน้าที่ระลึกรู้สภาพธรรมต่างๆ ที่มาปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ วนเวียนอยู่ในตัวนี้แหละ รวมเรียกว่ารู้ในกาย ในใจ

    พยามรู้ในกาย ในใจ ไม่ได้รู้ออกไปข้างนอก ไม่ได้ไปรู้ ไม่ได้ไปเพ่งที่คนอื่น แต่เพ่งรู้เข้ามาในตนเอง

    แม้ ตาต้องสัมผัสกับรูปภายนอก หูต้องสัมผัสกับเสียงภายนอก จมูกต้องสัมผัสกับกลิ่น ลิ้นต้องสัมผัสกับรส แต่การปฏิบัติธรรมนั้น เราต้องดูปฏิกิริยา ดูสภาวะความมีความเป็น ที่ปรากฏสัมผัสสัมพันธ์ เกิดขึ้นอยู่ภายในตัวเอง นี่คือการปฏิบัติธรรม


    (มีต่อตอนที่ ๒)
     
  2. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    หนังสือ "ธรรมะแห่งความดับทุกข์ ดูความปรุงแต่ง" (ฉบับภาษาไทย) - ตอนที่ ๒


    by Ajahn Surasak (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) on Tuesday, July 3, 2012 at 7:54pm ·

    โพสโดย แอดมิน กลม กลม


    หนังสือ "ธรรมะแห่งความดับทุกข์ ดูความปรุงแต่ง" (ฉบับภาษาไทย) - ตอนที่ ๒


    โดย พระครูเกษมธรรมทัต



    รับรู้ เฝ้าดู พิจารณา สิ่งที่เกิดขึ้นในกาย-ใจ ด้วยความปล่อยวาง : เห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริง

    การ ได้ศึกษาธรรมะ คือการที่จะได้ชำระจิตใจให้สะอาดให้บริสุทธิ์ เป็นการที่จะดับทุกข์ให้ตัวเอง ก็ทำกันอยู่อย่างนี้ให้ชำนาญ จนสติสัมปชัญญะมีความคล่องตัว รู้ทั่วถึงไปทุกส่วนของกาย และรู้ทั่วถึงไปทุกส่วนของจิตใจด้วยความปล่อยวาง ด้วยความเป็นปรกติ ด้วยความไม่เอาอะไร

    เพราะฉะนั้น เวลาสติสัมปชัญญะรับรู้สิ่งใด ก็ปล่อยวางสิ่งนั้น รู้แล้วก็ปล่อย รู้แล้วก็วางไป รู้แล้วก็เท่านั้นเอง แค่นั้นเอง สิ่งใดๆ เกิดขึ้นในตัวเอง ก็รับรู้ แล้วก็ผ่านไปๆ แต่ก็ต้องพิจารณาอยู่ ต้องมีความสังเกต มีการพิจารณา พิจารณาความเปลี่ยนแปลง พิจารณาความเกิด ความดับ ความหมดไป ความสิ้นไป และความบังคับบัญชาไม่ได้ของสิ่งเหล่านั้น เรียกว่ามีการพิจารณา มีสติสัมปชัญญะ พิจารณาสอดส่องในธรรม เห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่าสักแต่เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา

    นี่! ทำอยู่อย่างนี้ ระลึกไป พิจารณาไป สังเกตไป ปล่อยวางไป ประคับประคองไป ทำให้พอดี ถ้าตึงไป หย่อนไป เผลอไป จะคิดออกไปข้างนอก ก็คอยดู คอยรู้ คอยปรับ คอยน้อมเข้ามาหาอยู่ในตนเองนี่แหละ ถ้าเผลอไผลออกไป เพลินออกไป คิดออกไป ก็ฉุกรู้ขึ้นมาว่า อ้อ! นี่คิด นี่นึก นี่ปรุงแต่ง นี่ชอบ นี่ไม่ชอบ สงบดี มีความสงบ มีความไม่สงบ มีความเคลื่อนไหวในกาย มีความกระเพื่อมๆ ไหวตึงหย่อน เย็นร้อน มีได้ยินเสียง มีรู้กลิ่น มีสัมผัส ก็เพียรระลึกรู้อยู่อย่างนี้

    ทุกข์เพราะปรุงแต่ง : ไม่ปล่อยวาง ไม่เห็นความเป็นเหตุ เป็นปัจจัย

    สื่อ สัมผัสก็อยู่แค่ที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ คือมีความรู้สึกเกิดขึ้นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นในจิตใจ เป็นสายสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นปัจจัยกันอยู่ เพราะมีสิ่งนี้ จึงเกิดสิ่งนี้ พอสิ่งนี้หมดไป สิ่งนี้ก็ดับไป เราจะเห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัย เห็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน เช่น มีเสียงมากระทบ ได้ยินเกิดขึ้น จิตรู้สึกอย่างไร หรือบางทีก็มีเย็น มีตึง มีไหวมากระทบ รู้สึกปวด รู้สึกเจ็บที่กาย จิตหวั่นไหวไหม จิตปล่อยวางไหม จิตเป็นทุกข์ไหม เพราะอย่างไร ทำไมจึงทุกข์ แล้วจะพบว่า อ้อ ! เราทุกข์เพราะปรุงแต่งต่างหาก

    จิตปรุงแต่ง คิดนึก ปรุงแต่งอย่างนี้ อย่างนี้ พอปรุงแต่งแล้วก็เป็นทุกข์ใจ ปรุงในทางให้กลัว จิตก็กลัว เขาเรียกว่าปรุงแต่ง เช่น อยู่คนเดียวในที่เปลี่ยน ก็ปรุงวาจะมีสิ่งน่ากลัวตรงนั้นมาเป็นอย่างนั้น มาทำอย่างนี้ จะโผล่มาให้เห็นอย่างนั้น อาศัยสัญญาความจำที่จดจำไว้ ปรุงแต่ง แล้วก็กลัว ถ้าไม่ปรุงแต่งก็จะไม่กลัวอะไร

    ตัวอย่างเช่น คนสองคนไปในที่เดียวกัน คนหนึ่งไม่กลัว อีกคนหนึ่งกลัว คนที่กลัว คือคนที่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนว่าที่นั้นน่ะ โอ้โห! มีงูนะ มีงูใหญ่ คือจำไว้ก่อนแล้ว ฟังไว้ในใจแล้ว เวลาไปอยู่ในที่นั้น ก็คอยระแวง คอยคิด คอยนึกกลัว ส่วนคนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง ก็ไม่กลัวอะไร เพราะไม่คิดว่าจะมีอะไร ก็ไม่เกิดการปรุงแต่ง

    แต่ในชีวิตจริงของคนเรานั้น เราไม่สามาราจะเล่าเรื่องผี แล้วเราก็อยากฟัง ฟังแล้วก็มาปรุงแต่งให้กลัว

    เราจึงเลือกไม่ได้ ห้ามไม่ได้ที่จะพบกับอารมณ์ไม่ดี แต่เราสามารถระมัดระวังจิตของเราได้ โดยดูความปรุงแต่งในจิตใจของเรานี้

    ลองสังเกตในใจของตัวเองว่า คิดนึกหรือเปล่า ปรุงแต่งไหม

    ลอง ดูว่าเป็นจริงไหมว่าใจปรุงแต่ง ปรุงแต่งว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น จะต้องเป็นอย่างนี้ ก็เกิดกลัวทั้งๆที่ยังไม่มีอะไร ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นจริงๆ แต่ก็กลัวเสียแล้ว แสดงว่า ความกลัวนั้นอยู่ในจิตที่ปรุงแต่ง คิดไปเอง นึกไปเอง

    หรือจิตมีราคะ จิตที่มีราคะ คือจิตที่มีความต้องการ มีความยินดีพอใจในกามคุณอารมณ์ เกิดมีความกำหนัดยินดี เกิดขึ้นในจิตใจหรือในกาย ความรู้สึกทางกายก็มาจากจิตนั้นแหละ จิตเกิดขึ้นก่อน จิตที่มีราคะเกิดขึ้นก่อน กายก็เป็นไป เป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน

    จิตที่ มีราคะมีเหตุเกิดจากสิ่งใด ก็เกิดจากการปรุงแต่งนั้นแหละ เกิดจากการคิดนึก เกิดจากการปรุงแต่งสร้างสรรค์ ประดิษฐ์เรื่องในความรู้สึกให้เกิดความพึงพอใจ การสร้าง การประดิษฐ์ขึ้นมา เรียกว่าเกิดความดำริ ทำให้เกิดเป็นความหมาย เป็นมโนภาพ เป็นเรื่องเป็นเหตุการณ์ เป็นอะไรต่างๆ ในมโนภาพของจิต จิตก็เกิดราคะขึ้น เกิดความกำหนัดยินดี แล้วก็เป็นทุกข์เอง จิตใจก็ไม่สบายเอง เดือดร้อนเอง วุ่นวายเอง ทั้งกาย ทั้งจิตใจ

    นี่น่ะ! ที่จริงจิตมันหาเรื่องให้ตัวเองแท้ๆ จิตคอยแต่จะหาเรื่องเอาทุกข์ใส่ใจตัวเองด้วยการปรุงแต่ง ปรุงแต่งไปให้เกิดความกลัว ความกลัวก็เกิด ปรุงแต่งไปให้เกิดความวิตกกังวลห่วงใย ความวิตกกังวลความห่วงใยก็เกิด ความกลัวอย่างนั้น ความวิตกห่วงใยอย่างนี้ ก็เกิดมาจากจิตที่คิดปรุงแต่งทั้งสิ้น

    จึงต้องเฝ้าดูที่จิตของตัวเอง พอปรุงขึ้นมาว่าจะเป็นอย่างนั้น จะคิดอย่างนี้ ก็รู้ทัน รู้ที่ความนึกคิดนั้นแหละ รู้ที่กำลังปรุง ปรุงแต่งก็รู้... รู้... รู้... การที่มีสติเข้าไปรู้นี้ ความปรุงแต่งจึงไม่ขยายตัว

    ความปรุงแต่งนี้ เป็นเหมือนโรงผลิต เป็นโรงงานผลิตอะไรต่างๆ ถ้าเราทำลายโรงงานผลิตเสียแล้ว คือเข้าถึงรังผลิต ทำลายวรังผลิตเสียแล้ว มันก็ผลิตอะไรออกมาไม่ได้ จิตนี้ก็เหมือนกัน ที่มันกลัว ก็เพราะเกิดการผลิตขึ้นจากในใจ แต่ถ้าเรารู้ทันก็จะไม่ผลิต ไม่สร้างอะไรออกมา ก็จะไม่กลัวอะไร

    ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ความวิตกกังวล หรือความกำหนัดยินดีในกามก็ตาม ล้วนเกิดจากการปรุงแต่งทั้งสิ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัย

    ความ โกรธ ความแค้น ความอาฆาตมาดร้ายก็เกิดจากการปรุงแต่งในจิตเช่นกัน เช่นปรุงว่า เขาว่าอย่างนั้น เขาไม่ดีอย่างนี้ เขาเป็นอย่างนั้น เขาทำไม่ดีต่อเราอย่างโน้น เขาพูดไม่ดี เขาอะไรต่างๆนานา

    เมื่อมี สิ่งเหล่านี้ปรุงอยู่ในจิต ก็จะเกิดความโกรธแค้น เกิดเป็นความทุกข์ ความทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาในใจนั้น ก็มีเหตุมาจากการปรุงแต่งในจิตทั้งหมด


    ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ : ดับที่เหตุด้วยการหยั่งรู้ตรงไปที่จุดของจิตใจที่กำลังปรุงแต่ง

    ถ้าหาก เรารู้ คำว่า “เรา” ก็คือ สติ

    ถ้า สติสัมปชัญญะเข้าไประลึก ไปรู้ในจิตที่กำลังปรุงอยู่ คือมีทุกข์เสียแล้ว เพราะกำลังผลิตอยู่ แล้วก็ทุกข์อยู่วนเวียนอยู่ในจิตใจอย่างนั้น ก็ให้รู้ไปทั้งการตรึกนึก รู้ไปทั้งความทุกข์ที่เกิดขึ้น

    รู้ทั้งความไม่สบายใจก็ดี ความโกรธก็ดี ความแค้นก็ดีที่เกิดขึ้น ให้รู้ไปทั้งหมด แล้วถ้ายังปรุงอยู่ เราก็รู้อีก

    เรา จะพบว่า เมื่อขณะที่สติสัมปชัญญะเข้าไปหยั่งรู้... หยั่งรู้... หยั่งรู้อาการของความทุกข์ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความแค้น ก็จะสลายตัวลง และเมื่อมีอาการจางลง คลายลง ก็รู้อีก สติสัมปชัญญะต้องรู้อาการที่คลาย ที่จาง หรือที่วูปไป ที่หายไป ว่างไป ต้องรู้อาการนั้นด้วย

    นี้เรียกว่าเห็นธรรมะ เห็นสัจธรรมของธรรมชาติที่ ที่เกิดที่ดับ ที่แปรเปลี่ยนไป ศึกษาธรรมะคือศึกษาสิ่งเหล่านี้

    ความ ปรุงแต่งต่างๆ ความไม่ชอบใจ ความโกรธ ความแค้น ความทุกข์ใจ เป็นสภาวะทั้งหมด สิ่งเหล่านี้คือธรรมะ ธรรมะมีทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล ฝ่ายกุศลก็เป็นธรรมะ คือเป็นธรรมชาติที่เกิดดับ ไม่ใช่ตัวตน

    การเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น หมดสิ้นไป หาใช่ตัวตนเราเขาไม่ บังคับบัญชาอะไรไม่ได้อย่างนี้ เรียกว่าได้ปฏิบัติธรรม ได้เห็นธรรมะ

    การ ปฏิบัติธรรมจึงไม่ใช่เรื่องที่เกินวิสัย แต่เป็นเรื่องที่อยู่กับตัว อยู่กับจิตใจ ทุกคนที่มีจิตมีใจมีกิเลสจึงสามารถปฏิบัติได้ โดยเราจะต้องนึกให้กำลังใจกับตัวเราเองอย่างนี้ว่า - ก็ทีกิเลสยังเกิดขึ้นได้ สติปัญญาทำไมจะเกิดขึ้นไม่ได้- เมื่อมีทุกข์ ทุกข์ยังมีได้ ความดับทุกข์ทำไมจะมีไม่ได้- เมื่อมีความหลง ก็ต้องมีปัญญา ความหลงยังมีได้ ปัญญาทำไมจะมีไม่ได้- ความไม่สบายใจมีได้ ความสิ้นความไม่สบายใจก็ต้องมีได้

    เพียงแต่ว่าเราต้องคลำไป การปฏิบัติธรรมก็คือ ต้องค่อยๆศึกษาพิจารณาไป ให้เข้าถึง ให้แยบคายขึ้นตามลำดับ

    ฉะนั้น การปฏิบัติธรรมก็คือ มีสติสัมปชัญญะเข้าไปรู้ เข้าไปจับความปรุงแต่งให้ทัน เห็นเป็นตัวผลิต เหมือนกับเห็นโรงงานผลิตเครื่องใช้ไม้สอยอาหารเครื่องอุปโภคบริโภค แล้วเราเข้าไปทำลายรังของโรงงานได้ทัน แบบมีโรงงานที่ผลิตยาเสพติด ถ้าเข้าไปทำลายที่ผลิตเสียแล้ว ก็ไม่มียาออกมาขาย มีไม่ได้ เพราะไม่มีที่ผลิต ฉะนั้น ถ้าไปจับได้ทันตรงที่ผลิต มันก็ผลิตไม่ได้ เพราะตำรวจได้ทำลายรังที่ผลิตเสียแล้ว ไปทำลายเครื่องไม้เครื่องมือ ทำลายคนผลิต ยาก็ไม่มีออกมา แต่ทุกวันนี้ ทำลายไม่ถึง ไม่ถึงที่ผลิต ทำได้บ้างเล็กๆ น้อยๆ ได้บางแห่ง ไม่ได้ทั้งหมด

    จิตใจนี้ก็เช่นกัน ที่ผลิตและสร้างปัญหาเป็นทุกข์เป็นโทษขึ้นมา ก็เกิดมาจากความปรุงแต่งในจิตใจด้วยความหลงด้วยความยึดมั่นถือมั่น

    และก็ด้วยกิเลสนั้นแหละที่สร้าง ที่ผลิตความโลภ ความโกรธ ความหลง ความยึดมั่นถือมั่น ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดการปรุงแต่ง

    ปรุง แต่งก็คือ การตรึก การนึก ซึ่งจะเรียกว่าผลิต คือถ้าเป็นการสร้างวัตถุสิ่งของ เขาเรียกว่าผลิต แต่ว่าในจิตใจท่านใช้คำว่าปรุงแต่ง ปรุงแต่งเหมือนกับเราทำอาหาร เราก็ต้องปรุงแต่ง ปรุงแต่งรสชาติเราปรุงแต่งอย่างไร ก็ต้องเอาสิ่งโน้นใส่ เอาสิ่งนี้ใส่ กวนไปกวนมา ปรุงแต่งทั้งหมด จึงจะได้รสชาติอาหารต่างๆ เป็นแกงส้ม แกงเขียวหวาน เป็นแกงอะไรต่ออะไร แล้วแต่ว่าจะเอาอะไรมาปรุง จึงเกิดเป็นอาหารต่างๆ

    จิตนี้ก็เช่นกัน เกิดเป็นทุกข์ เกิดโทษ เกิดภัย เกิดความเดือดร้อน เกิดราคะ โทสะ โมหะขึ้นมา เพราะมีการปรุงแต่งเกิดขึ้นในจิตใจ คือการตรึก การนึก สร้างสรรค์ผลิต ถ้าหากดูทัน รู้ตรงเข้าไปถึงจุดของจิตใจที่กำลังปรุงแต่งอยู่ ความปรุงแต่งก็จะสลายตัว... สลายตัวได้คือ พอจะผลิตจะปรุงขึ้นมาก็รู้ทัน... รู้ทัน... แล้วก็สลายไป เมื่อสลายไป ก็ไม่เกิดอะไรขึ้น หรือถ้าเกิดขึ้นมาแล้ว เหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดการสืบสายต่อเนื่องยืดยาวก็ถูกตัดขาดลง อาการที่เป็นอยู่จึงคลายตัวลงไป หรือแสดงอาการดับวูปลงไปให้เห็น


    ต้องเพียรระลึกสภาวะปัจจุบันอยู่เสมอ อย่าหยุด

    ถ้า เรามีสติสัมปชัญญะที่คมกล้าจริงๆ สภาวะจะแสดงความดับทันทีให้เห็นได้ จะรู้สึกว่ามัน... วูป... ลงไป สลาย... ลงไป หรือเบาลงมา จะเห็นมันจางลง ความโกรธก็ดี ความกลัวก็ดี ราคะก็ดี จะจางลงๆ ก็ยังต้องระลึกอยู่

    แต่ มันก็ไม่หยุดยั้งนะ จิตนี้ก็คอยจะปรุงอีก พอใจเบาก็ปรุงได้อีก พอไปสัมผัสอย่างนี้ ก็ปรุงว่าจะดีอย่างนั้น เป็นอย่างนั้น ปรุงว่านี่เราได้พบสัจธรรมแล้ว เราบรรลุแล้ว เหล่านี้ก็เกิดจากการปรุงแต่งทั้งสิ้น เกิดได้เหมือนกัน ก็ต้องรู้ทันอีก ยังไม่ถึงที่สุดแต่ปรุงแต่งไปเสียก่อน ก็กลับกลายเป็นไม่เห็นอะไร ไม่รู้อะไรจริง ก็ถูกหลอกถูกลวงได้

    ตอนแรกถูกลวงไปในทางให้เป็นทุกข์ ให้รู้สึกว่าไม่สงบ วุ่นวายด้วยกิเลสชนิดต่างๆ ต่อมาถ้าเกิดสงบดี ก็ปรุงแต่งหลอกล่อไปในทางดี ก็อาจจะไม่รู้ตัวว่า อ้าว! นี่ถูกปรุงแต่งอยู่ให้เห็นเป็นอย่างนั้น เห็นเป็นอย่างนี้ ปรุงมากๆ ก็เห็นเป็นนิมิต เห็นเป็นภาพ

    ที่มีภาพขึ้นมาก็คือปรุงแล้ว ปรุงแต่งเห็นภาพดี ภาพสวยงาม ก็ทำให้เคลิบเคลิ้ม ทำให้พอใจ ทำให้ติดใจ เกิดความสุขสงบขึ้นมาในใจ ก็ยินดีพอใจ ปรุงแต่งด้วยความยินดีพอใจ ก็เรียกว่าติดกับเหมือนกัน หลอกอย่างนั้นไม่ได้ ก็มาหลอกอย่างนี้ หลอกในทางร้ายไม่ได้ ก็มาหลอกในทางดี ถ้าเรารู้ไม่ทันก็หลงไปอีก เพลินเพลินไปอีก เลยไม่รู้ปัจจุบัน ไม่รู้สภาวะปัจจุบัน ไม่รู้จิตที่กำลังเป็นไปในปัจจุบัน เพราะไปเคลิบเคลิ้มหลงใหลในนิมิตบ้าง ในมโนภาพ ในความหมาย ในความสงบบ้าง


    (มีต่อตอนที่ ๓)
     
  3. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    หนังสือ "ธรรมะแห่งความดับทุกข์ ดูความปรุงแต่ง" (ฉบับภาษาไทย) - ตอนที่ ๓


    by Ajahn Surasak (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) on Tuesday, July 3, 2012 at 8:35pm ·

    โพสโดย แอดมิน กลม กลม


    หนังสือ "ธรรมะแห่งความดับทุกข์ ดูความปรุงแต่ง" (ฉบับภาษาไทย) - ตอนที่ ๓


    โดย พระครูเกษมธรรมทัต



    มีสติสัมปชัญญะ ระลึกรู้ความปรุงแต่งที่กำลังเป็นไปในปัจจุบัน อย่างปรกติ ด้วยความปล่อยวาง

    ดัง นั้น เราจะต้องเห็นความปรุงแต่งอยู่เสมอ แม้ในขณะที่จิตใจกำลังสงบสบาย กำลังว่าง ก็ใช่ว่าจะคงที่ ความว่างในจิตใจไม่ได้คงที่ เดี๋ยวก็เอาอีกแล้ว มีสัญญา ความจำ มีตรึกมีนึกขึ้นมาได้เรื่อยๆ... เรื่อยๆ... การปฏิบัติจึงไม่มีการหยุดยั้ง ต้องรู้เรื่อยไป... รู้เรื่อยไป... สัมผัสรู้จิตรู้กายเรื่อยๆไป แล้วก็ปรับไปเรื่อยๆ ให้มีความพอดีอยู่เรื่อยๆ ให้เป็นปรกติอยู่เรื่อยๆ ให้ปล่อยวางอยู่เรื่อยๆ แล้วก็ให้เป็นปัจจุบันอยู่เรื่อยๆ

    เรื่องของปัจจุบันเป็นเรื่องสำคัญ ต้องระลึกรู้ให้เห็นเป็นปัจจุบัน เป็นปัจจุบันที่สั้นที่สุดเข้าไว้ เช่น กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังรู้กลิ่น กำลังรู้รส กำลังรู้สึกสัมผัส กำลังเย็น กำลังร้อน กำลังตึง กำลังหย่อน กำลังไหว กำลังคิด กำลังนึก กำลังพอใจ กำลังไม่พอใจ กำลังปรุงแต่งอยู่ นี้เรียกว่า รู้เฉพาะปัจจุบัน

    สติ สัมปชัญญะที่จะรู้ปัจจุบันได้ดีต่อเนื่องก็คือ จะต้องมีการปล่อยวางไปด้วย จึงจะเป็นปัจจุบัน เป็นปัจจุบันๆขึ้น เพราะว่าสภาวะนั้น เกิดขึ้นเป็นปัจจุบันๆ ต่อเนื่องๆกันอย่างรวดเร็ว ถ้ามัวไปยึดไปเกาะติดในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอยู่ ก็จะไปตามอารมณ์นั้น ทำให้ไม่เห็นปัจจุบันอันต่อๆมา ถ้าไปยึดติดกับอดีตก็เป็นอดีตไปด้วยกัน ถ้ายังไม่เกิดขึ้นก็เป็นอนาคต สิ่งที่อยู่ตรงหน้า อยู่เฉพาะหน้า อยู่เฉพาะจิตใจ อยู่เฉพาะปัจจุบัน จึงมองไม่เห็น

    เหมือนเรานั่งอยู่ นี้ คนที่นั่งอยู่ตรงหน้า เข้ามาหาตรงหน้า ถ้าเราไม่ดูเข้ามาใกล้ๆ เงยหน้าไปดูแต่ที่อื่น เหลียวไปดูที่อื่น ก็ไม่เห็นคนตรงหน้านี้ สภาวะที่เกิดขึ้นเป็นปัจจุบันนี้จึงไม่เห็น เพราะว่ามัวตามไปดูอารมณ์ที่เก่าที่ผ่านไปแล้ว อารมณ์ที่ผ่านไปแล้ว ถ้าไม่สลัดออก ไม่ปล่อย ไม่วาง ก็จะไม่เห็นอารมณ์ ไม่เห็นสภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า และอารมณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็พะวงหา ไม่ปล่อย บางทีเราปฏิบัติ เราก็มัวไปใฝ่หา ไปค้นหาสภาวะอย่างเอาจริงเอาจัง แต่สิ่งที่อยู่ใกล้ๆ กลับไม่เห็น เพราะเราไปค้นเกินไป มันเลยเลยไปเลย

    ฉะนั้น ต้องหัดดูเข้ามาให้กระชั้นๆ หัดมองเข้ามาใกล้ๆตัว หัดรู้เข้ามาที่ใกล้ๆสิ่งที่วางอยู่ตรงหน้า สิ่งที่เป็นไปอยู่เฉพาะหน้า

    “สิ่งทั้งหลายยังคงอยู่ตรงนั้น เราให้มันเป็นนั่นมันเป็นนี่ จิตไม่พ้นพันธนาชั่วตาปี ไร้นาทีเที่ยงแท้แต่มีจริง”

    สิ่งทั้งหลายยังคงอยู่ตรงนั้น จงดูในสิ่งที่มี ที่เป็นอยู่เฉพาะหน้า เป็นปัจจุบันอารมณ์ แล้วสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า ก็ไหลไป ผ่านไป

    ทำ ตัวให้เหมือนกับเข็มชี้ เป็นเหมือนเข็มที่จะต้องตั้งอยู่ในจุดตรงเสมอ แม้มีอะไรถ่วงไป ก็กลับตีขึ้นมาอยู่ปัจจุบัน สติสัมปชัญญะจึงต้องตีกลับเข้ามาสู่ปัจจุบันไว้

    ฉะนั้น ความปล่อยวาง ความไม่เอาอะไร จะต้องควบคู่ไปกับสติสัมปชัญญะ จึงจะทำให้การระลึกรู้เป็นไปในปัจจุบันอารมณ์ นี้คือการปฏิบัติธรรม

    ก็ ให้ฝึกหัดทำอยู่อย่างนี้ ยืนก็รู้ เดินก็รู้ นั่งก็รู้ รู้อะไร ก็รู้ภายในตัวเอง รู้ความรู้สึก ความรู้สึกในกายในใจที่กำลังเคลื่อนไหว รู้ไปรู้มา รู้เรื่อยๆไป นี้เป็นการปฏิบัติธรรม เรียกว่าการเจริญกรรมฐาน

    แล้ว ก็จะพบได้ว่า เออ! เมื่อเราทำไปแล้ว จิตใจเมื่อมีสติสัมปชัญญะถูกต้องเป็นปัจจุบัน ก็จะพบความสงบ ความโปร่งเบา ความปลอดโปร่งในจิตใจก็จะเกิดขึ้น จะพบว่า ขณะใดที่เผลอสติ ขณะใดที่ไม่มีสติ ไม่เพียรพยายามกำหนดรู้ กิเลสทั้งหลายก็จะกลุ้มรุมจิตใจ นั่นเพราะจิตปรุงแต่งไปต่างๆนานา แล้วไม่รู้ตัว ไม่เท่าทัน

    เหมือน...ไฟ กำลังไหม้บ้าน แต่ไม่ได้ดู ไม่ได้รู้ เพราะเรามัวออกนอกบ้านไป บ้านคือในใจของตนเองนี้แหละ ไฟไหม้อยู่ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นเสมือนไฟที่ไหม้อยู่ เรามัวแต่ออกไปดูภายนอก มัวแต่ดูภายนอกก็เลยดับไฟไม่ได้ ยิ่งเราดูภายนอกมากเท่าไหร่ ยิ่งไปเสริมไฟภายในมากเท่านั้น ดูคนโน้นว่าอย่างนั้น ดูคนนี้ว่าอย่างนี้ แล้วไฟในใจของเราก็จะเกิดมากขึ้น มากขึ้น

    เพราะฉะนั้น เราต้องทิ้งภายนอก กลับมาแก้ปัญหาภายในใจของเรา ตามเกาะติดสถานการณ์ ตามดูรู้ทันจิตให้ทันควันกัน จิตจะคิด ก็รู้ทัน จิตจะนึก ก็รู้ทัน จิตนะพอใจ จิตจะไม่พอใจ จิตปรุงแต่ง ก็รู้ทัน แม้เวลาเผลอไปก็ให้รู้ว่าเผลอไป เวลามีสติขึ้นมา ก็หัดรู้ว่ากำลังมีสติ เป็นผู้เห็นความเผลอกับความมีสติแตกต่างกัน

    จึงต้องตีกรอบเข้ามา
    สติระลึกเข้ามาที่สติ
    สติระลึกเข้ามาที่ปัญญา
    ปัญญาพิจารณาตัวปัญญา พิจารณาสติ


    ก็เป็นมหาสติ เป็นมหาสติปัญญารอบรู้ทั่วถึง นี่! วนเวียนอยู่ในตัว ในกาย ในใจนี้ เรียกว่าได้ปฏิบัติธรรม


    ธรรมะแห่งความดับทุกข์ : เจริญสติ เจริญสมาธิ จนรู้จัก รู้แจ้ง ในตนเอง

    ผู้ ปฏิบัติก็จะพบกับสัจธรรม อย่างน้อยก็จะพบว่าธรรมะนี้ประเสริฐ สามารถคลี่คลายความทุกข์ในตัวเองได้ เห็นแน่ชัดว่า การปฏิบัติธรรมนี้ เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ได้ เพราะเมื่อลงมือปฏิบัติเจริญสติสัมปชัญญะแล้ว จิตใจก็มีความสุขสงบ คลายออกจากความทุกข์ได้

    และจะมีข้อยืนยันเป็น หลักธรรม หลักธรรมะนั้นแหละ จะยืนยันให้กับตัวเราเองว่า ต้องปฏิบัติอย่างนี้ ทำให้เรารู้ว่าความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นเป็นของแท้ เป็นธรรมที่ดับทุกข์ได้จริง แม้ว่าเรายังดับทุกข์โดยสิ้นเชิงไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อเราได้รับกระแส คือเราพอปฏิบัติได้บ้าง สามารถดับทุกข์ให้ตัวเองได้บ้าง ก็จะเกิดความรู้ว่าเป็นข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ถ้าเราทำไปอย่างนี้ก็จะดับทุกข์ได้ อย่างน้อยก็ดับทุกข์ คลี่คลายความทุกข์ในปัจจุบันนี้ได้ ไม่ต้องไปเอาอะไรมากมาย ให้ปัจจุบันจิตใจตัวเองสามารถคลายทุกข์ เบาจากความทุกข์ มีความสุข มีความสงบ มีความรู้ตื่นอยู่ เป็นปัจจุบัน เป็นขณะๆก็พอใจแล้ว

    เพราะ ฉะนั้น เราเป็นชาวพุทธ ก็ถือว่าเรามาถูกทางแล้ว เรามาปฏิบัติในพระพุทธศาสนานี้ ถูกทางตรงที่เราพิสูจน์ได้ว่า การปฏิบัติธรรม สามารถคลี่คลายความทุกข์ให้เราได้จริง เรื่องอื่นจึงไม่สำคัญ เรื่องภพชาติ นรก สวรรค์ จะมีจริงหรือไม่ ไม่สำคัญ ไม่ต้องไปรู้ก็ได้ ถึงจะรู้ ก็ไม่ใช่ว่าจะดับทุกข์ได้ รู้ว่าตัวเองเกิดกี่ชาติๆ ก็ดับทุกข์ไม่ได้ รู้ว่ามีนรก มีสวรรค์ มีนางฟ้า มีเทวดาอยู่กันอย่างไร มีนรกอยู่กี่ขุมอย่างไรๆ ถึงจะไปเห็น ก็ใช่ว่าจะดับทุกข์ได้

    จึงไม่ต้องไปเห็นอย่างนั้น แต่ต้องเห็นในตัวเองดังที่กล่าวมาแล้ว คือเห็นความปรุงแต่งในจิตใจ เห็นกาย เห็นใจ เห็นความรู้สึกในกาย ในจิตใจเสมอๆ นี้แหละคือการที่จะดับทุกข์ได้ ปัญหาทั้งหลาย อยู่ที่การดับทุกข์

    พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนเรื่องอะไร อื่น นอกจากทุกข์และความดับทุกข์ ปฏิบัติให้รู้จักทุกข์ แล้วดับทุกข์ได้ก็พอแล้ว เรื่องโลก เรื่องชาติหน้า ชาติหลัง นรก สวรรค์ ไม่สำคัญเท่ากับการรู้จักทุกข์ รู้จักทุกข์ ละเหตุแห่งทุกข์ เข้าถึงความดับทุกข์ ถ้าเจริญข้อปฏิบัติได้เต็มที่ ก็หมดปัญหา หมดความสงสัย ถึงไม่มีฤทธิ์ไม่มีเดช ไม่มีตาทิพย์ หูทิพย์ ไม่ได้ไปรู้วารจิตของใคร ไม่ได้มีวิชาอาคมอะไร ก็ไม่สำคัญ ขอให้จิตสะอาด จิตบริสุทธิ์ ขอให้ดับทุกข์ให้ตัวเองได้เท่านั้น

    เพราะว่าไม่มีอะไรเหนือกว่าการ ดับทุกข์ ไม่มีปัญหาใดจะเทียบเท่ากับความทุกข์ ปัญหาทั้งหลายก็รวมอยู่ในเรื่องของความทุกข์ ดังนั้นสิ่งที่ควรได้ควรถึง ก็คือความดับทุกข์

    มียศ มีลาภ มีสุข มีสรรเสริญ ก็แค่นั้นเอง ถ้าดับทุกข์ให้ตัวเองไม่ได้ ก็ยังทุกข์อยู่ มียศก็ทุกข์กับยศได้ มีลาภก็ทุกข์กับลาภได้ มีสรรเสริญก็ทุกข์กับสรรเสริญได้ ถ้าหากว่าไม่มีธรรมะ เมื่อเสื่อมลาภก็เป็นทุกข์ เมื่อเสื่อมจากยศ เสื่อมจากสรรเสริญ ได้รับนินทาก็เป็นทุกข์ แต่ว่าถ้าถึงธรรมะแล้ว สิ่งอื่นก็ไม่สำคัญ

    ฉะนั้น จะต้องตั้งเป้าหมายไว้ให้ถูกต้องว่า หน้าที่ของชีวิตที่แท้จริง อยู่ที่การปฏิบัติให้เข้าถึงความดับทุกข์ แม้เรามีหน้าที่อย่างอื่น ก็ทำไปตามหน้าที่ แต่ว่าหน้าที่ของชีวิตจริงๆต้องอยู่ที่การปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์

    เรา มีหน้าที่เป็นสามี เป็นภรรยา เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นครู เป็นอาจารย์ ก็ทำไปตามหน้าที่นั้นๆ แต่ต้องรู้ว่า หน้าที่ที่สำคัญของชีวิตอีกอันหนึ่งก็คือ การดับทุกข์ให้ตัวเอง เรายังอยู่ในโลก อยู่ในสังคม ก็จำเป็นต้องทำหน้าที่ทางโลกไปตามสมมุติ จะไปทิ้งหน้าที่ทุกอย่างไม่ได้ นั่นเป็นการปฏิบัติธรรม เมื่อยังต้องอยู่กับความถูกต้องของโลก ก็ต้องทำไป คือต้องทำไปตามหน้าที่ของการมีหน้าที่นั้นๆ แต่สิ่งที่เราจะต้องเอาจริงเอาจัง ต้องสนใจ ต้องเล็งเป้าหมายไปให้ถึงก็คือการเรียนรู้สภาพธรรมในตัวเอง โดยการเจริญสติเจริญสมาธิให้รู้แจ้งในตนเอง จึงจะดับทุกข์ได้ ดับทุกข์ได้จากการที่เรารู้จัก-รู้แจ้งในตัวเอง และปล่อยวาง

    ความปล่อยวางก็มาจากการที่เราต้องรู้แจ้งแทงตลอดในตัวเอง จึงต้องให้ความสำคัญต่อความปล่อยวาง

    การ ปฏิบัติก็ไม่ใช่ว่าจะสุดวิสัยจนเกินเอื้อม เพราะว่าสิ่งที่เราจะทำ ก็อยู่กับตัวเรา การงานต่างๆภายนอกยังอาจจะไกลกว่าด้วยซ้ำ แต่การงานภายใน การงานของการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์นั้น อยู่กับตัวเสมอ ไปไหนก็ไปกับเราด้วย นั่งอยู่ตรงไหน เดินอยู่ตรงไหน ยืนอยู่ตรงไหนก็มีตัวอยู่อย่างนี้ มีกายมีใจ มีตา หู จมูก ลิ้น มีเห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส มีความตรึกนึก ปรุงแต่ง ก็ให้ทำหน้าที่ปฏิบัติตามดูตามรู้สิ่งเหล่านี้ ดูสิ่งเหล่านี้ไปทุกวันทุกเวลา เฝ้าดู เฝ้ารู้ เฝ้าติดตามไป

    นี่คือ เป้าหมาย คือหน้าที่ที่เราจะต้องทำในชีวิตที่เกิดมา ดับทุกข์ได้ก็ตรงนี้ ดับทุกข์ด้วยการรู้จักตัวเอง รู้จักพิจารณาตัวเอง ไม่ใช่ดับทุกข์ด้วยการมีเงิน มีทอง มีทรัพย์มากมาย มียศ มีบริวาร มีคนสรรเสริญ มีคนชอบอกชอบใจเรามากก็ไม่ใช่ว่าดับทุกข์ได้ตรงนั้น


    เฝ้ารู้ เฝ้าดู กาย-จิต จากบัญญัติ สู่ปรมัตถ์

    ถ้าเราปฏิบัติใหม่ๆ ยังจับไม่ถูก ก็เฝ้าดู เฝ้ารู้เฉพาะที่ไปก่อนก็ได้ หรือมีรูปแบบ มีสมมุติเข้ามาก่อนก็ได้

    ใน เบื้องต้น เรื่องของแบบฝึกหัด มีหลากหลายแตกต่างกันออกไปในเรื่องของสมมุติที่จะเอามาเป็นอุปกรณ์สำหรับฝึก ก็เหมือนกับการฝึกว่ายน้ำ จะใช้ผลมะพร้าว ใช้ต้นกล้วย ใช้ห่วงยาง ใช้โฟม ใช้ท่อนไม้ อะไรก็ได้มาเป็นที่เกาะในการฝึกการว่ายน้ำ ไม่มีใครผิดใครถูก ใช้ได้ทั้งนั้น แล้วแต่ใครจะถนัดเอาอะไรมาฝึก

    แต่ว่าเมื่อทำไปๆแล้ว ก็เป็นเรื่องของการต้องปล่อยวางออกทั้งหมดในเรื่องของรูปแบบในเรื่องของสมมุติ ในเรื่องของบัญญัติที่เอามาฝึก

    ดัง นั้นในเบื้องต้น ก็ให้ผู้ปฏิบัติใช้บัญญัติหรือรูปแบบ แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ใครถนัดปฏิบัติอย่างไร ก็ปฏิบัติอย่างนั้นที่เราทำแล้วรู้สึกว่าจิตเราเกาะอยู่ ผูกพันอยู่กับตัวเองได้ ก็ใช้เอาศัยไปเพื่อจะฝึก เพื่อจะให้จิตเราอยู่กับตัวเองเท่านั้น ทำอย่างไรให้จิตมีสติควบคุมอยู่ภายในกาย อยู่ภายในจิต เรามีวิธีการอย่างไรก็เอาอันนั้น ทดลองดู ทดสอบดู

    แต่ว่าเมื่อถึงจุด หนึ่ง เมื่อเราเป็นขึ้น เมื่อจิตเกาะกับกายกับใจได้ดี เราก็ต้องปล่อยบัญญัติ ปล่อยสมมุติ ปล่อยรูปแบบ ปล่อยคำบริกรรมออกไป

    คำ บริกรรมว่าพุทโธก็ดี ว่าพองหนอยุบหนอก็ดี หรือว่ารูปนาม หรือการจะเพ่งดูในรูปร่างสัณฐาน การพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนังก็ดี การเพ่งดูส่วนใดส่วนหนึ่งของกายก็ดี การเพ่งนิมิต หรือการดูท่าทางอิริยาบทใหญ่อิริยาบทย่อยก็ดี ทุกอย่างต้องปล่อยออกหมด ปล่อยทั้งหมดในเรื่องของสมมุติ ให้รู้ว่านี่เป็นเพียงเครื่องใช้ เป็นเพียงอุปกรณ์ เพื่ออาศัยฝึกเท่านั้น อย่างนี้จึงเรียกว่า เราเข้าใจใช้อุปกรณ์ได้ถูกต้อง ถ้าใช้อุปกรณ์แล้วยังยึดอยู่อย่างนั้น ก็เรียกว่าเข้าไม่ถึงธรรมะ

    ดังนั้น บางคนจึงต้องใช้บัญญัติไปก่อน ส่วนคนที่ฝึกหัดมาเป็นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้บัญญัติ เหมือนคนว่ายน้ำเป็นแล้วก็กระโดดลงไปว่ายเลย คนที่เป็นแล้วก็ว่ายได้ แต่คนที่ไม่เป็น ก็อาจต้องมีสิ่งมาช่วยพยุงไปก่อน แต่ก็อย่ายึดอยู่อย่างนั้น ให้ปล่อยวางออกไปในที่สุด

    เมื่อปล่อย สมมุติแล้ว ก็ให้รู้ตรงเข้าไปสู่ภายใจ ในความรู้สึกภายในกาย ภายใจจิต ให้รู้ที่ปรมัตถ์ คือให้รู้ความรู้สึกต่างๆที่เป็นสภาวะ เช่น ความรู้สึกเย็น-ร้อน ความรู้สึกอ่อน-แข็ง ความรู้สึกหย่อน-ตึง ความรู้สึกสบาย-ไม่สบาย สงบ-ไม่สงบ คิด นึก วิตก วิจาร วิจัย สงสัย เป็นต้น

    วันนี้ ก็ได้ใช้เวลาในการปรารถธรรมะในเรื่องของการดูความปรุงแต่งในจิตใจว่า ปัญหาและความทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้น มาจากความปรุงแต่งในจิตใจทั้งหมด ถ้าเรารู้เข้าไปสู่จิตใจ รู้ทันตรงที่ปรุงแต่ง แล้วดับสลายความปรุงแต่งที่กำลังจะก่อตัวได้ ความทุกข์ทั้งหลายก็สิ้นสุดลง แต่ก็จะเป็นเพียงชั่วขณะๆไป ยังไม่ใช่ดับโดยสนิท เพราะยังสามารถปรุงแต่งขึ้นมาได้อีก ก็ให้ตามดูรู้ทันอย่างนี้เรื่อยๆไป จนกว่าจะตัดกันขาดสิ้น ซึ่งความขาดสิ้นก็ไม่ได้มาจากไหน มาจากการรู้ทันความปรุงแต่งอยู่เรื่อยๆ และจากการที่ละเป็นขณะๆไปนี้แหละ

    ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้เพียรพยายามฝึกหัดอบรมตนเอง

    ตามที่ได้แสดงมาก็พอสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความผาสุขความเจริญในธรรม จงมีแก่ทุกๆท่านเทอญ


    (จบ)
     
  4. ทัพขวัญชัย

    ทัพขวัญชัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +218
    อนุโมทนา สาธุ ในความตั้งใจเผยแพร่ธรรม อันมีประโยชน์สูง นะครับ
     
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 5 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 2 คน ) [ แนะนำเรื่องเด่น ]
    หลงเข้ามา, somchai_eee, oatthidet
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    ง่ายที่สุดคือ หมั่นเจริญ ขันติธรรม อดทน อดกลั้น ต่อสู้ฝืน ไม่ทำตาม ตัณหาหรือความอยาก ที่เป็นภัย
    ทำจน ขันติบารมี มีกำลังแก่กล้า ต่อไปจะทำอะไรก็เบา
     
  7. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะคะทุกๆ ท่าน
    ***********************
    หนังสือ รู้ตัวทั่วพร้อม การปฏิบัติธรรมที่ทำได้ในชีวิตประจำวัน
    พระครูเกษมธรรมทัต(หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)

    เรื่อง ชนะใจตนเองคือชนะกิเลส
    เพราะฉะนั้น จะเห็นว่ามีความจำเป็นมากที่จะต้องประพฤติปฏิบัติธรรม ต้องเจริญสติสัมปชัญญะไว้เสมอ มิฉะนั้นกิเลสมันจะมาก ความโลภ โกรธ หลง มันจะหนาแน่นถ้าเราเป็นนักปฏิบัติ พยายามเจริญสติสัมปชัญญะในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ มันก็จะลดกำลังลง ค่อยๆลดกำลังลง มันไม่ใช่จะตัดไปทีเดียวได้หรอก ยังคงเผลอ โลภ โกรธหลงอยู่ แต่มันจะค่อยๆลดน้อยลง ความรุนแรงของกิเลสจะลดกำลังลง จากการที่เคยเป็นคนเอาแต่ใจตนเองเวลาโกรธ จะต้องเรียกว่าไม่เคยยอมใคร ไม่ออกไปทางปากก็ทางมือ ไม่อย่างนั้นก็ทางตา เวลาโลภอยากได้อะไรขึ้นมาก็ต้องหาให้ได้อย่างใจ ไม่เคยลดไม่เคยจะตัดได้ แต่เมื่อเราฝึกสติสัมปชัญญะบ่อยๆ เราจะรู้สึกว่าเราค่อยๆ ฟังเหตุผลมากขึ้นอดทนอดกลั้นได้มากขึ้น รู้จักยอม ยอมเป็นจากความที่ไม่เคยยอมก็ชักจะยอมได้ ที่เรายอมเขาไม่ใช่ว่าเราเป็นคนอ่อนแอนะ คนที่ยอมคนนี่แสดงว่าต้องกล้าหาญ ต้องเข้มแข็ง คือ เอาชนะใจตัวเองได้ คนที่ไม่ยอมคน คือ คนที่อ่อนแอ คือ พ่ายแพ้ต่อกิเลสของตนเองความเร่าร้อนในใจตัวเองมันทนไม่ไหว คือ มันอ่อนแอ ทำใจไม่ได้ ทนไม่ได้ อ่อนแอเขาเรียกว่าเป็นพาล คนพาลก็คือ คนอ่อนแอ ทนต่อกิเลสไม่ได้

    ฉะนั้น ชนะคนอื่นมากมายเป็นหมื่นเป็นแสนก็ไม่สำคัญเท่ากับเอาชนะใจตนเองชนะกิเลสตน เองได้สำคัญที่สุด เราจึงไม่ควรไปเน้นเอาชนะคนอื่น แต่ควรจะเน้นมาเอาชนะใจตนเอง ศัตรูที่แท้จริงอยู่ในใจของตนเองที่จะฉุดคร่าเราไปสู่ความทุกข์ ฉุดคร่าเราไปสู่นรก ศัตรูในใจเรา คือ ความโลภ โกรธ หลง เป็นศัตรูอันแท้จริง ส่วนคนอื่นเขาไม่สามารถจะมาทำอะไรเราได้ เขาจะด่าเรา เขาจะแกล้งเราก็ทำให้เราลงนรกไม่ได้ ถ้าเรามีสติสัมปัญญา เรารู้จักทำใจ ปล่อยวาง สงบเย็น แต่สิ่งที่สำคัญคือเราทนต่อกิเลสไม่ได้ มันเกิดอาฆาตมาดร้ายแล้วก็กระทำอะไรที่เป็นโทษ เป็นภัยต่อตนเองและผู้อื่นขึ้นมา นั่นแหละสิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดที่จะนำความทุกข์มาสู่ตนเอง
     
  8. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    ตกลง ใครบางคน ที่เคยรังเกียจการ ดู สภาวะ และเถียง ว่า
    สารพัด กับการ ตาม ดู ตามรู้..หาว่า คิดไปเอง

    วันนี้ มาแล้ว ทำไม ไม่งัด เล่า.....

    งัด สิ งัดสิ....เข้ามา แล้วน่าจะ มางัด ธรรมมะ ที่ จขกท. เขาเอามาลง
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เอ๊ะ ! ใครหว่า จะมางัด จะมาติดตามดู มวยคู่ต่อไป.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...