ธรรมะ จากเพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สายหลวงปู่มั่น, 4 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    วันอาทิตย์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๑ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระสัมโมทนียกถา ความตอนหนึ่งว่า

    1f340.png “สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสรรเสริญ ‘ธรรมทาน’ ว่าชนะการให้ทั้งปวง เหตุที่การให้ธรรมะเป็นการให้ที่สูงส่งกว่าสิ่งอื่น ด้วยเหตุที่ว่าอามิสทาน คือการให้วัตถุสิ่งของ อาจช่วยเพียงให้มีชีวิตอยู่รอดได้ ทำให้อยู่ดีมีสุขขึ้นได้บ้าง แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้เกิดความดับทุกข์ได้

    1f340.png การรอดชีวิตอยู่แล้ว แต่กลับยังคงมีความทุกข์ด้วยตลอดเวลา ย่อมไม่อาจเทียบได้กับคุณค่าของการมีชีวิตอยู่แล้วได้เรียนรู้ธรรมะ จนทำให้เกิดความคิดชอบ การพูดชอบ และการกระทำชอบ อันจักทำให้ไม่มีความทุกข์ รู้จักป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์อีก และรู้จักหยุดความทุกข์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ให้ดับไป ธรรมทานนี้จึงมีอานิสงส์สูงยิ่งกว่าทานอื่นๆ “

    -๑๐-มิถุนาย.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  2. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  3. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  4. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  5. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…อย่าภาวนาเอาเวลาหรือเอาความเห็น…”

    “…นักภาวนาในสมัยปัจจุบันนี้ เท่าที่ฟังๆดูแล้ว ภาวนาเอาเวลา บางท่านบอกว่าเดี๋ยวนี้นั่งได้ ๑ ชั้วโมง บางท่านก็บอกว่าได้ ๒ ชั่วโมง บางท่านก็บอกว่าได้ ๓๐ นาที ๒๐ นาที ลงผลสุดท้ายก็เลยเป็นการภาวนาเอาเวลา

    นอกจากภาวนาเอาเวลาแล้ว ภาวนาเอาความเห็น ในเมื่อนั่งหลับตาภาวนา พอลืมตาขึ้นปั๊บ อาจารย์ผู้สอนกรรมฐานก็มักจะถามว่า เห็นอะไรไหม เห็นอะไรไหม ทีนี้ถ้าใครไม่รู้ไม่เห็น ไม่มีคำตอบ ก็แสดงว่าภาวนาไม่ได้ผล

    จึงอยากจะขอทำความเข้าใจกับท่านทั้งหลายว่า การภาวนานี่มันเป็นกิริยาของจิต สมาธิเป็นเรื่องของจิตโดยตรง การยืน เดิน นั่ง นอน แม้เราจะยืน เดิน นั่ง นอน ได้เวลาแค่ไหนเพียงใด เป็นแต่เพียงการเปลี่ยนอิริยาบถ แต่การทำสมาธิสำคัญอยู่ที่การทำจิตการกำหนดจิต การทำจิตให้รู้ ให้มีสิ่งรู้ ทำสติให้มีสิ่งระลึก จนกระทั่งจิตของเราสงบนิ่งลงเป็นสมาธิ แล้วก็ประกอบด้วยองค์ มีปีติ สุข เอกัคคตา มีสติปัญญารู้จริงเห็นจริงในสภาวธรรม ส่วนเวล่ำเวลาไม่สำคัญ…”

    หลวงปู่พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  6. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  7. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  8. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  9. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  10. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  11. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  12. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “นิพพิทาญาณ มองเห็นว่าโลกนี้น่าเบื่อหน่าย”

    (โอวาทธรรม ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
    (วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ)

    เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงทรงเบื่อหน่ายโลก ?

    ก็เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า คนเราที่เกิดมาในโลกนี้
    มีอะไรบ้างที่เป็นสิ่งสมใจของเรา ? พ่อแม่หรือ ?
    ญาติพี่น้องหรือ ? ข้าทาสบริวารหรือ? เพื่อนฝูงมิตรสหายหรือ ? เงินทองทรัพย์สมบัติหรือ ? สิ่งเหล่านี้ไม่มีอะไรที่จะสมใจเราสักอย่างเดียว

    เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้แล้ว เราจะมาทนนั่งอยู่ นอนอยู่ในโลกนี้ทำไม ? ทรงคิดได้เช่นนี้ พระองค์จึงเสด็จออกบรรพชา เพื่อค้นหาหนทางที่จะไม่ต้องกลับมาเกิดอีก

    จงคิดดูให้ดีว่า

    ๑.) โลกนี้มิใช่ของเรา แล้วเราจะมานั่งเฝ้าโลกกันอยู่อย่างนี้ละหรือ ? ไม่ช้าเราก็จะต้องจากมันไปอย่างแน่ๆ ดังนั้นเราจึงไม่น่าหลงติดอะไรอยู่

    ๒.) จิตของเราก็ไม่ต่างอะไรกับลูกฟุตบอล ที่ถูกเขาย่ำยีบีฑา ประหัตประหารให้ได้รับความคับแค้นใจอยู่ทุกขณะ

    ๓.) เราต้องการความสุขหรือความทุกข์ ? ทุกคนคงจะต้องการแต่ความสุขไม่ต้องการความทุกข์
    แต่อะไรเล่าเป็นความสุขอันแท้จริงของตัวเรา ?

    เราคิดว่า “กิน” นี่แหละคงจะเป็นความสุขแน่ละ เราก็พยายามไปหามาให้มันกิน ครั้นกินๆ เข้าไปมากก็เกิดอึดอัดไม่สบายอีก คิดว่า “นอน” นี่แหละต้องเป็นความสุขแน่ละ เราก็นอน…นอน วันยังค่ำจนหลังมันแข็ง ก็เกิดความไม่สบายอีก คราวนี้คิดว่า “เงินทองทรัพย์สมบัติ” นี่แหละคงเป็นความสุขแน่นอน เราก็พยายามไปหาเงินทองมาใช้จนเต็มที่ แต่มันก็ไม่สุขอีก แล้วอะไรเล่า…ที่เป็นความสุขอันแท้จริง ?

    ความสุขที่แท้จริง ย่อมเกิดจาก บุญกุศล คือ ความสงบที่เกิดขึ้นในจิตใจ ใจที่พ้นจากทุกข์โทษความดิ้นรน ไม่มีกระสับกระส่ายเดือดร้อนกระวนกระวาย
    ถ้าใครมานั่งหลงโลกติดโลก ว่ามันเป็นของดีวิเศษวิโสอยู่นั่น มิใช่นิสัยของบัณฑิตผู้ใฝ่ใจในธรรมของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นเราจงพากันตั้งอกตั้งใจประกอบบุญกุศล เพื่อจะให้เป็นทางที่พ้นไปจากโลกนี้ นั่นแหละ่จะเป็นหนทางที่ถูกต้องบ้างที่เป็นสิ่งสมใจของเรา ? พ่อแม่หรือ ?
    ญาติพี่น้องหรือ ? ข้าทาสบริวารหรือ? เพื่อนฝูงมิตรสหายหรือ ? เงินทองทรัพย์สมบัติหรือ ? สิ่งเหล่านี้ไม่มีอะไรที่จะสมใจเราสักอย่างเดียว

    เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้แล้ว เราจะมาทนนั่งอยู่ นอนอยู่ในโลกนี้ทำไม ? ทรงคิดได้เช่นนี้ พระองค์จึงเสด็จออกบรรพชา เพื่อค้นหาหนทางที่จะไม่ต้องกลับมาเกิดอีก

    จงคิดดูให้ดีว่า

    ๑.) โลกนี้มิใช่ของเรา แล้วเราจะมานั่งเฝ้าโลกกันอยู่อย่างนี้ละหรือ ? ไม่ช้าเราก็จะต้องจากมันไปอย่างแน่ๆ ดังนั้นเราจึงไม่น่าหลงติดอะไรอยู่

    ๒.) จิตของเราก็ไม่ต่างอะไรกับลูกฟุตบอล ที่ถูกเขาย่ำยีบีฑา ประหัตประหารให้ได้รับความคับแค้นใจอยู่ทุกขณะ

    ๓.) เราต้องการความสุขหรือความทุกข์ ? ทุกคนคงจะต้องการแต่ความสุขไม่ต้องการความทุกข์
    แต่อะไรเล่าเป็นความสุขอันแท้จริงของตัวเรา ?

    เราคิดว่า “กิน” นี่แหละคงจะเป็นความสุขแน่ละ เราก็พยายามไปหามาให้มันกิน ครั้นกินๆ เข้าไปมากก็เกิดอึดอัดไม่สบายอีก คิดว่า “นอน” นี่แหละต้องเป็นความสุขแน่ละ เราก็นอน…นอน วันยังค่ำจนหลังมันแข็ง ก็เกิดความไม่สบายอีก คราวนี้คิดว่า “เงินทองทรัพย์สมบัติ” นี่แหละคงเป็นความสุขแน่นอน เราก็พยายามไปหาเงินทองมาใช้จนเต็มที่ แต่มันก็ไม่สุขอีก แล้วอะไรเล่า…ที่เป็นความสุขอันแท้จริง ?

    ความสุขที่แท้จริง ย่อมเกิดจาก บุญกุศล คือ ความสงบที่เกิดขึ้นในจิตใจ ใจที่พ้นจากทุกข์โทษความดิ้นรน ไม่มีกระสับกระส่ายเดือดร้อนกระวนกระวาย
    ถ้าใครมานั่งหลงโลกติดโลก ว่ามันเป็นของดีวิเศษวิโสอยู่นั่น มิใช่นิสัยของบัณฑิตผู้ใฝ่ใจในธรรมของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นเราจงพากันตั้งอกตั้งใจประกอบบุญกุศล เพื่อจะให้เป็นทางที่พ้นไปจากโลกนี้ นั่นแหละ่จะเป็นหนทางที่ถูกต้อง

    -นิพพิทาญาณ-มองเห.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  13. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  14. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “พระอชิตะ อดีตชาติพระอาริยศรีเมตไตรย”

    ประวัติ พระอชิตะ อดีตชาติของพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ในสมัยพุทธกาล เพื่อรับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ซึ่งท่านได้มาบวชในสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เพื่อรับพุทธพยากรณ์

    “พระอชิตะ” คือ พระราชโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรู ประสูติแต่พระนางกาญจนาเทวี ซึ่งเป็นพระมารดา เป็นผู้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้พาบริวาร ๑,๐๐๐ คน ออกบวชเป็นภิกษุ คราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์ครั้งที่สอง

    พระอชิตะเมื่อบวชใหม่ ๆ ได้เป็นผู้รับยุคลพัสตร์ (ผ้า ๒ ผืน)ของ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ซึ่งมีความพิสดารอย่างย่อว่าพระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงเสียพระทัย ที่ตั้งใจจะถวายให้แด่พระพุทธองค์ แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงรับเพราะเพื่ออนุเคราะห์แก่สงฆ์ในอนาคต เพื่อให้ชนทั้งหลายซึ่งเกิดภายหลังให้เกิดจิตคิดการกระทำเคารพสงฆ์ให้จงมาก และทรงอนุเคราะห์แก่พระนางเองเพราะทานที่ให้แด่สงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขย่อมมีพลานิสงส์มากกว่า

    พระนางมหาปชาบดีโคตมีไม่ทรงทราบดำริของพระพุทธองค์จึงเข้าไปหาพระอานนท์ ให้พระอานนท์ทูลถามว่า สาเหตุใดจึงไม่ทรงรับยุคลพัสตร์(ผ้า ๒ ผืน) นั้น กาลต่อมา พระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีสาเหตุใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่รับทรงรับยุคลพัสตร์(ผ้า ๒ ผืน) นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงปาฏิบุคลิกทักษิณาทานโดยพิสดาร แล้วตรัสเทศนาทักษิณาวิภังคสูตร จำแนกประเภทแห่งปาฏิบุคลิกทาน แลสังฆทาน โดยพิสดาร แก่พระอานนท์.เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีได้ทรงทราบในเทศนาทักษิณาวิภังคสูตรในภายหลังแล้ว จึงทรงถือซึ่งภูษาทั้งคู่เข้าไปหาพระสารีบุตรท่านก็ไม่ได้รับ เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะท่านก็ไม่ได้รับ แม้ในที่สุดแห่งพระอสีติมหาสาวกก็ไม่พระรูปใดรับไว้เลย จนกระทั่งองค์สุดท้ายซึ่งเป็นพระนวกะชื่อพระอชิตะท่านจึงรับไว้. ในเวลานั้นพระนางปชาบดีโคตมีก็ทรงน้อยพระทัยว่า พระนางตั้งใจในการทำผ้าทั้งคู่นี้ด้วยว่า จะถวายแด่พระผู้มีพระภาคแต่ก็ไม่ทรงรับ แม้นพระอสีติมหาสาวกรูปใดรูปหนึ่งก็ไม่ทรงรับแต่มาบัดนี้ พระภิกษุหนุ่มซึ่งเป็นพระนวกะมารับซึ่งผ้าของพระนางพระศาสดาทอดพระเนตรเห็นพระนางเสียพระทัย จึงทรงพระดำริว่า จะทำให้พระนางบังเกิดโสมนัสในวัตถุทานนี้ จึงมีพระพุทธดำรัสเรียกพระอานนท์ว่า ท่านจงไปนำบาตรของตถาคตมา แล้วทรงพุทธาธิษฐานว่าพระอัครสาวกและสาวกทั้งปวงอย่าได้ถือบาตรนี้ได้เลย ให้พระอชิตภิกษุหนุ่มนี้จงถือซึ่งบาตรของตถาคตได้ แล้วทรงโยนบาตรนั้นขึ้นไปบนอากาศ แลบาตรนั้นก็ลอยขึ้นไปในกลีบเมฆอันตธานไปมิได้ปรากฏ ในลำดับ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระอสีติสาวกทั้งหลาย ก็อาสานำบาตรนั้นกลับคืนมา แต่ก็หาไม่พบ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสั่งพระอชิตภิกษุว่า ท่านจงไปนำบาตรของตถาคตมา

    ในลำดับนั้น พระอชิตะได้มีดำริว่า ควรจะเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก พระอสีติมหาสาวกนี้ ล้วนเป็นพระอรหันต์มีฤทธาอานุภาพมาก แต่มิอาจนำบาตรมาถวายแด่พระพุทธองค์ได้ แลอาตมะนี้ไซร้มีจิตอันกิเลสครอบงำอยู่ แลเหตุไฉนพระบรมครูจึงตรัสสั่งอาตมาให้แสวงหาซึ่งบาตรนั้น จะต้องมีเหตุอันใดอันหนึ่งเป็นมั่นคง จึงรับอาสาที่จะนำบาตรนั้นคืนมาพระอชิตะได้ไปยืนในที่สุดบริษัท มองขึ้นไปบนอากาศแล้วกระทำสัตยาธิษฐานว่า

    “อาตมาบรรพชาในพระพุทธศาสนา ไม่ได้หวังซึ่งลาภยศทั้งหลาย แต่อาตมาบวชประพฤติพรหมจรรย์เพื่อประโยชน์ที่จะตรัสรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง อันอาจสามารถรื้อสัตวโลกให้พ้นจากสงสารทั้งสิ้น หากว่าศีลของอาตมามิขาดทำลายและด่างพร้อยบริสุทธิ์อยู่เป็นอันดี ขอให้บาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าจงมาสถิตในมือของอาตมาด้วยเทอญ”

    พระอชิตะทรงตั้งสัตยาธิษฐานแล้ว จึงเหยียดมือออกไปขณะนั้น บาตรก็ปรากฏตกลงจากอากาศ ประดิษฐานอยู่ที่มือของพระอชิตะ พระอัครมหาสาวกและพระอสีติมหาสาวก ได้มีดำริว่า

    บาตรนี้ควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ควรแก่มหาสาวกทั้งหลายแลภิกษุรูปนี้จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลเป็นแน่. พระนางประชาบดีโคตมีได้ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็มีความปิติโสมนัสเป็นกำลังด้วยวัตถุทานที่ถวายให้แก่พระอชิตะแล้วกราบทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จคืนพระราชนิเวศน์สถานเมื่อพระอชิตะได้รับผ้าคู่นั้นมาแล้ว เห็นว่า ไม่ควรแก่ท่านจึงนำผ้าผืนหนึ่งไปปูบนเพดานบนพระคันธกุฎี แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า อีกผืนหนึ่งแบ่งเป็น ๔ ท่อน ผูกเป็นม่านห้อยลงในที่สี่มุมแห่งเพดานนั้น แล้วอธิษฐานว่า ขอให้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต.พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่า ท่านอชิตภิกษุรูปนี้เป็นพระโพธิสัตว์ จะได้ตรัสรู้เป็นพระเมตไตรยพุทธเจ้าในอนาคต(๑) ในอนาคตวงศ์(๒) เล่าว่า ในภัททกัลปนี้ ชาติสุดท้ายคือชาติที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น พระเมตไตรยพุทธเจ้าเมื่อยังมิได้ทรงผนวชก็ทรงพระนามว่า “อชิตะ”

    ๑. ปฐม. แปล. -/๓๑๕-๓๒๘
    ๒. อนาคตวํส. -/๔๓-๕๖

    -พระอชิตะ-อดีตชาต.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  15. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เมื่อจะทำความดีก็ต้องต่อสู้ กับอุปสรรคจึงจะมีความสำเร็จ เราจะต้องทำดวงจิตของเรา ให้กล้าแข็งเหมือนกับเพชรหรือหิน ซึ่งใครจะนำไปเผาไฟก็ไม่ไหม้ แม้จะทุบแตกมันก็ยังคงแข็งแกร่ง เป็นเพชรหรือหินอยู่นั่นเอง

    พระพุทธเจ้าทรงกระทำดวงจิต ของพระองค์ให้แข็งแกร่ง จนแม้พระสรีรธาตุบางส่วนของพระองค์ ก็ยังเผาไม่ไหม้ ยังคงเป็น “พระบรมสารีริกธาตุ” ปรากฏให้เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ นี่ก็ด้วยอำนาจแห่งความบริสุทธิ์ และสัจจะความจริงของพระองค์นั่นเอง

    …ท่านพ่อลี ธัมมธโร…

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  16. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    (ครูบาเจ้าเกษม เขมโก )
    สำนักสุสานไตรลักษณ์ (ป่าช้าศาลาดำ)
    บ้านท่าคร่าวน้อย ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ.ลำปาง

    ….ความหลุดพ้น ที่มนุษย์ทุกคนพึงหานั้น อยู่ที่ตนเอง หากตนเองมุ่งปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

    ก็จะได้พบไม่ยาก ขอให้มุ่งปฏิบัติเถิด อาตมามุ่ง
    ปฏิบัติ จึงได้ค้นพบทางที่จะเดินไปสู่ทางดับ
    อาตมามาสู่ชั้นพรหมโลกนี้ ได้พบกับโยมชายผู้นี้

    ได้ขอให้อาตมาแสดงธรรมโปรดให้กับมนุษย์ได้รู้
    ธรรมะที่อาตมาจะสอนนั้น เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้า
    แสดงไว้ อาตมาเป็นศิษย์ มีความรู้เพียงน้อย ได้แต่

    (ฟังและนำมาบอกเล่าต่อให้ได้รู้)

    ” การหลุดพ้นนั้น จะต้องทำจิตของตนให้หมด
    กิเลส หมดสิ้นจากทุกข์ทุกอย่าง หมดสิ้นจากราคะ
    หมดสิ้นจากสิ่งที่อยากจะได้ สิ่งที่เรียกว่า โลภ

    โกรธ หลง (โลภะ โทสะ โมหะ) ตัดสิ่งนี้ให้หมดสิ้น
    และเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จึงได้พบทางหลุดพ้น

    อาตมาทำตามวิธีนี้ จึงได้พบกับสิ่งที่พระพุทธเจ้า
    ทรงค้นพบว่า เป็นทางดับที่แท้จริง ”
    อาตมาขอแสดงธรรมเพียงเท่านี้….
    เจริญพร

    -เขมโก.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  17. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  18. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  19. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  20. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “เทวดาแสดงปริศนาธรรม 15 ข้อ ที่เป็นเหตุทำให้กุมารกัสสปะได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์”

    (โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก)

    ท่านกุมารกัสสปะอยู่ที่ป่าอันธวันเมืองสาวัตถี เทวดาตนหนึ่งปรากฏตัวต่อหน้าท่านกล่าวปริศนาธรรม 15 ข้อแล้วก็หายวับไป ท่านกุมารกัสสปะนึกอย่างไรก็ไม่ทราบคำตอบ จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลถามปริศนาธรรม 15 ข้อนั้น และกราบทูลขอคำอธิบายจากพระพุทธองค์ ปริศนาธรรม 15 ข้อนั้น คือ

    มีจอมปลวกหนึ่ง กลางคืนพ่นควัน กลางวันลุกเป็นไฟ พราหมณ์คนหนึ่งสั่งศิษย์ชื่อสุเมธ ให้เอาจอบมาขุดจอมปลวกนั้นสุเมธจึงขุดลงไป พบลิ่มสลักพราหมณ์สั่งให้เอาทิ้งไป ขุดลงไปอีกพบทางสองแพร่ง พราหมณ์สั่งให้เอาทิ้งไป ขุดลงไปอีกพบหม้อน้ำด่างพราหมณ์สั่งให้เอาทิ้งไป ขุดลงไปอีกพบเต่าพราหมณ์ก็สั่งให้เอาทิ้งไป ขุดลงไปอีกพบเขียงหั่นเนื้อพราหมณ์สั่งให้เอาทิ้งไป ขุดลงไปอีกพบพญานาคพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์บอกว่า อย่าไปทำอันตรายมัน จงเคารพนอบน้อมมันอย่างดีที่สุด

    พระพุทธเจ้าตรัสไขปริศนา
    ให้ท่านกุมารกัสสปะฟัง ดังนี้

    1. จอมปลวกนั้น หมายถึง ร่างกายของคนเรา อันประกอบขึ้นด้วย ธาตุ 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ) และขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้เอง

    2. กลางคืนพ่นควัน หมายถึง คนเราเมื่อเวลากลางคืน มันจะคิดวางแผนว่าจะทำนั่นทำนี่ จนสมองเต็มไปด้วยโครงการต่างๆ เต็มไปหมด (มีโครงการซี่โครงไก่เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นต้น) นี่แหละเรียกว่ากลางคืนพ่นควันละ

    3. กลางวันลุกเป็นไฟ หมายถึง พอเช้าขึ้นมาก็จะไปทำตามแผนการที่วางไว้ให้เป็นรูปร่าง เหนื่อยแทบสายใจจะขาด ดังคำพังเพยว่า “อาบเหงื่อต่างน้ำ” จนแทบว่าร่างกายจะลุกเป็นไฟ (แค่โครงการซี่โครงไก่ยังต้องระเบิดอารมณ์ใส่ผู้สื่อข่าว จนแทบลุกเป็นไฟเลยครับ)

    4. พราหมณ์ หมายถึง ผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ ทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตร ผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้ ในกรณีนี้เพ่งเอาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    5. สุเมธ ผู้เป็นศิษย์พราหมณ์ หมายถึง ผู้ยังต้องศึกษาปฏิบัติเพื่อมรรคผล คำว่า “สุเมธ” (แปลว่าผู้มีปัญญา) บอกเป็นนัยว่าผู้ศึกษาปฏิบัติต้องใช้ปัญญา

    6. จอบ เครื่องมือสำหรับขุดดิน หมายถึง ปัญญา

    7. การขุด หมายถึง วิริยารัมภะ (ความเพียรที่ต่อเนื่อง) ทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ละทิ้งกลางคัน

    8. ลิ่มสลัก หมายถึง อวิชชา (ความโง่เขลา ความไม่รู้ตามเป็นจริง) ขุดไปพบอวิชชาแล้วต้องรีบเอาทิ้ง คือเอาความโง่เขลาทิ้งไป หาไม่จะไม่ได้ผลจากการปฏิบัติ

    9. อึ่งอ่าง หมายถึง ความคับแค้นเพราะความโกรธ ในการปฏิบัติฝึกฝนตนต้องพยายามอย่าให้กิเลสฝ่ายโทสะเข้ามาครอบงำ

    10. ทางสองแพร่ง หมายถึง วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ความสงสัยไม่ตัดสินใจอะไรเด็ดขาด เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติเพื่อมรรคผลอย่างยิ่ง เป็นหนึ่งในนิวรณ์ (เครื่องปิดกั้นมิให้บรรลุธรรม) 5 ประการ ข้อเปรียบเทียบนี้ชัดเจนแทบไม่ต้องขยายความ

    11. หม้อน้ำด่าง หมายถึง นิวรณ์ทั้ง 5 ประการ อันมี ความพอใจในกาม เป็นต้น นิวรณ์ 5 เป็นเครื่องย้อมใจให้เป็นไปต่างๆ ตามอำนาจของมัน ไม่ต่างกับหม้อน้ำด่างที่ย้อมผ้าให้เป็นสีต่างๆ พูดให้ชัดก็คือนักปฏิบัติธรรมไม่พึงให้กิเลสทั้งหลายมันย้อมใจจนสูญเสียปกติภาพ

    12. เต่า หมายถึง ความยึดมั่นในขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ยึดมั่นว่าเป็นตัวกู ของกู (ตัวมึง ของมึงด้วยแหละ) ไม่ว่าทำอะไร ถ้าเต็มไปด้วยความยึดมั่นถือมั่นเกินเหตุก็ยากจะได้ผล ยิ่งการปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุผลขั้นสูง ยิ่งต้องปล่อยวางความยึดติดในตัวเราของเราให้ได้

    ทำไมเปรียบการยึดมั่นในขันธ์ 5 ดุจเต่าก็ไม่ทราบสิครับ อาจเป็นด้วยว่าเต่ามันเป็นสัตว์เชื่องช้า ความยึดติดในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้บรรลุผลช้าก็เป็นได้ หรือเต่านั้นกระดองหนามาก ความยึดมั่นถือมั่น “หนา” ไม่แพ้กระดองเต่า ยากที่จะทำลายได้ หรือเต่านั้นมีนิสัยชอบหดหัวเข้ากระดอง เดี๋ยวผลุบเดี๋ยวโผล่ การปฏิบัติธรรมถ้ามัวแต่ผลุบๆ โผล่ๆ ไม่เอาจริงเอาจัง ก็คงไม่ได้ผลเท่าที่ควร

    13. เขียงหั่นเนื้อ หมายถึง กามคุณ (ชนิดของกาม 5) คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ข้อนี้อธิบายง่าย ปุถุชนเราร้อยทั้งร้อยก็ตกอยู่ในอำนาจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นี้แหละท่านเปรียบเหมือนสัตว์ถูกจูงจมูก แล้วแต่มันจะจูงไปไหนเอาง่ายๆ บางคนเป็นทาสลิ้นติดใจในรสอร่อยเสือกสนไปหามาปรนเปรอลิ้น ไกลแค่ไหนก็ไป บางทีขับรถไปเป็นระยะทางเป็นร้อยๆ กิโลเมตรเพียงเพื่อไปกินก๋วยเตี๋ยวชามสองชามที่เขาว่ามันอร่อยนัก (เขาไหน ก็พวกนี้ไง ว่าแล้วก็ชี้มือไปที่ผู้ชวนชิมทั้งหลาย ชื่อถนัดศอ เป็นต้น ฮิฮิ)

    เวลาคนเราถูกครอบงำด้วยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มันไม่ต่างกับกำลังถูกเขา “ยกขึ้นเขียงเชือด” ยังไงยังงั้น ถูกเชือดบ่อยๆ แล้วมันจะเหลืออะไร

    14. ชิ้นเนื้อ หมายถึง นันทิราคะ (ความกำหนัดยินดี) ตัวความกำหนัดนี่แหละเป็นประดุจชิ้นเนื้อที่เอร็ดอร่อยนักสำหรับปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส ใครมัวแต่เพลินกินชิ้นเนื้อก็ถูกเนื้อเป็นพิษเล่นงานเอา เสียผู้เสียคนไปนักต่อนักแล้ว

    แทรกตรงนี้หน่อย (เดี๋ยวจะไม่มีโอกาสแทรก) เมื่อวานนี้เองผู้สื่อข่าวทีวีประเทศญี่ปุ่นมาสัมภาษณ์กรณียันดะที่อื้อฉาวเมื่อไม่นานนี้ว่า ทำไมพระภิกษุที่ได้รับความเคารพนับถือมากขนาดนี้ จึงเสื่อมเสียได้ เป็นความบกพร่องของใคร ผมตอบว่า อย่าไปโทษคนอื่นเลย ต้องโทษที่ตัวพระ พระไม่ระมัดระวังเรื่องรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไม่ว่าใครในที่สุดก็เสียพระดังที่เห็นๆ กัน เล่นชอบฉันแต่เนื้อบนเขียง ไม่ฉิบหายไหวหรือครับ

    15. พญานาค หมายถึง พระอรหันต์ผู้หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง เมื่อขุดมาพบพญานาคนับว่าได้มาพบ “สิ่งประเสริฐที่สุด” แล้ว ไม่ควรเอาทิ้ง ตรงข้าม ควรให้ความเคารพบูชา ข้อนี้อธิบายได้ว่า

    ผู้ปฏิบัติฝึกฝนตนต้องพยายามละสิ่งที่ไม่ดี ที่เป็นอุปสรรคแห่งการปฏิบัติให้หมดตามลำดับ ตั้งแต่ความเขลาไม่รู้จริง ความลังเลสงสัย ความโกรธ ความคับแค้น ความยึดมั่นถือมั่น ความติดในรูป รส กลิ่น เสียง เอาออกให้หมด

    เมื่อละสิ่งเหล่านี้ได้ก็จะบรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอรหันต์ เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องละอะไรอีก เพราะได้บรรลุถึงจุดหมายสูงสุดแห่งการปฏิบัติแล้ว พระกุมารกัสสปะได้ฟังพระพุทธองค์ทรงไขปริศนาธรรม 15 ข้อ ก็หมดความสงสัย คงเพราะนิสัยชอบขบคิดด้วยปัญญาเช่นนี้แหละ ท่านกุมารกัสสปะจึงกลายเป็นผู้มีปฏิภาณเฉียบแหลมในเวลาต่อมา

    -เทวดาแสดงปริศนาธ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...