เรื่องเด่น " ธรรมใจ "

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย น า ทู รี, 5 เมษายน 2012.

  1. น า ทู รี

    น า ทู รี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +164
    [​IMG]

    การแข่งขัน

    แข่งเรือแข่งพายต้องแข่งกับคนอื่น
    แข่งหยุดทุกข์หยุดโศกต้องแข่งกับตัวเอง

    การชิงชัยเป็นความสนุกตอนยังไม่รู้ผล
    ต่อเมื่อรู้ผลแล้วความสนุกจึงเปลี่ยนไป

    การได้ชัยชนะเป็นความสุข
    ส่วนการพ่ายแพ้เป็นความทุกข์

    การแข่งกับคนทั้งหลายในโลกนั้น
    เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

    โดยเฉพาะชนะกับแพ้ที่ตัดสินกันด้วยเสี้ยววินาที
    อย่างเช่นวัดว่าใครจะพุ่งเข้าเส้นชัยก่อน

    ครั้งนี้เสี้ยววินาทีทองเป็นของเรา
    ครั้งหน้าเสี้ยววินาทีนั้นเป็นของคนอื่น

    ใครจะบอกได้ว่าเป็นความสามารถ
    หรือว่าโชควาสนายื่นให้กันแน่?

    ตั้งใจแข่งกับคนอื่นให้ได้สุข
    ไม่แน่ว่าจะได้สุขหรือเจอทุกข์ที่เส้นชัย

    ต่อให้มีวิธีเข้าเส้นชัยที่ถูกต้อง
    มีโค้ชดีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศ

    แต่ถ้าตั้งใจแข่งกับตัวเองให้หมดทุกข์
    ก็แน่นอนว่าต้องหายทุกข์

    หรือทุกข์หายไปหลายส่วน
    ขอเพียงมีวิธีแข่งที่ถูกต้องอยู่กับใจเท่านั้น

    การแข่งกับตัวเอง
    จึงเป็นการแข่งที่น่าพิสมัยที่สุด
    และควรได้รับการยกระดับ

    ขึ้นเป็นการแข่งครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิต
    เมื่อคุณคิดจะเริ่มต้นลงสนาม!


    ดังตฤณ
    เมษายน ๕๕

    วิธีเอาชนะกิเลสที่มาทดสอบจิตใจ


    [​IMG]


    ถาม - ขอวิธีข่มใจเอาชนะกิเลสที่มาทดสอบจิตใจด้วยครับ

    ตอบ - มีวิธีเดียวที่คุณจะจำได้จริงๆ ตลอดชีวิต คือให้เห็นชีวิตทั้งชีวิตเป็นแบบฝึกหัด
    อย่ามองว่ามีแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่งกำลังมาทดสอบเรา
    อย่ามองว่าเราจะหาอุบายอะไรเด็ดๆ ที่จะไปเอาชนะกิเลสที่มาทดสอบจิตใจในแต่ละวัน

    แต่ให้มองเลยว่า ชีวิตทั้งชีวิตเป็นแบบฝึกหัดที่ใหญ่ที่สุด แล้วเราต้องผ่านไปทีละวัน
    ข้อดีของชีวิตก็คือว่ามันส่งปัญหามาทีละวัน มันไม่ได้มาพร้อมๆ กันทุกวัน

    เราก็จัดการไปทีละวันนั่นแหละ ถ้าหากว่ากิเลสวันนี้มา แล้วเราพยายามหาอุบาย หาข้ออะไรที่มันพิเศษเฉพาะตัว
    บางทีมันอาจจะใช้ได้เฉพาะวันนี้ แต่พรุ่งนี้มะรืนนี้มันมาอีก เราลืมแล้วว่าอุบายวิธีมันคืออะไร

    แต่ถ้าเราจำไว้ว่านี่คือแบบฝึกหัด แล้วเราต้องผ่านไปให้ได้ ตรงนั้นแหละเราจะจำได้ตลอดชีวิตเลย

    พระพุทธเจ้าท่านก็แนะนำ อันนี้เป็นหลักของกรรมฐาน ถ้าพูดถึงกิเลสนะ เรามาพูดถึงเรื่องกรรมฐาน
    พระพุทธเจ้าท่านตรัสเป็นคู่ๆ ไว้ว่า

    [​IMG]

    ถ้าหากจะเอาชนะราคะ ให้เอาชนะด้วยอสุภกรรมฐาน

    ถ้าหากจะเอาชนะพยาบาท ให้เอาชนะด้วยเมตตา การแผ่เมตตา

    ถ้าหากจะเอาชนะความฟุ้งซ่าน ให้เอาปฏิปักษ์ของมันมา คือความสงบแห่งใจ

    ถ้าหากจะกำจัดวิจิกิจฉา หรือความลังเลสงสัย ก็ให้เอาการทำไว้ในใจโดยแยบคาย

    [​IMG]

    พูดง่ายๆ ว่าพิจารณาโดยแยบคายด้วยสติด้วยปัญญา
    ทั้งในแบบของความคิด และในแบบของการมีความรู้สึกถึงภาวะต่างๆ ที่มันเป็นต้นเหตุ
    ว่าผลมันคลี่คลายมาอย่างไร ท่านให้โยนิโสมนสิการเพื่อแก้วิจิกิจฉา

    แล้วอันสุดท้ายคือ...จริงๆ ไม่ใช่อันสุดท้ายเป็นอันก่อนหน้าวิจิกิจฉา
    คือที่จะเอาชนะความง่วงงุนหดหู่นะ ก็ต้องอาศัยอุบาย อย่างเช่น ที่พระพุทธเจ้าท่านแนะนำไว้

    ครึ่งตื่นเนี่ยนะ ก็ทำกายทำใจให้เริงร่า ไปล้างหน้า ๆไปกินน้ำเย็น
    ทำอะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้เกิดความสดชื่น ทั้งทางกายทางใจขึ้นมาได้
    ก็เป็นทางแก้นะครับ

    เคยมีญาติธรรมท่านหนึ่งอีเมล์มาสอบถามผมว่า ตนเองเป็นแม่ต้องการจะพาบุตรสาวไปภาวนาที่วัด
    จึงสอบถามว่า เธอควรจะพาบุตรสาวไปภาวนาที่วัดแห่งไหนดี

    ผมเองนั้นไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้ข้อมูลสถานที่ปฏิบัติธรรมหรอกครับ
    แต่ก็พยายามช่วยเหลือด้วยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และสอบถามญาติธรรมที่รู้จัก

    หลังจากนั้น ก็ให้คำตอบเท่าที่ทราบแนะนำแก่ญาติธรรมที่ส่งอีเมล์มาถามนั้น
    โดยก็เน้นสถานที่ปลอดภัยเป็นหลัก เพราะเห็นว่าแม่ลูกเป็นผู้หญิงด้วยกันทั้งสองคน

    [​IMG]

    นอกจากจะได้แนะนำวัดไปบางแห่งแล้ว ผมก็ได้แนะนำเพิ่มเติมไปด้วยว่า
    จริง ๆ แล้ว สถานที่ที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมที่สุดก็คือ “ที่บ้านของเราเอง” นี่แหละ
    หากเราสามารถปฏิบัติธรรมที่บ้านของเราได้แล้ว การปฏิบัติธรรมจะเป็นเรื่องที่สะดวกมาก

    นอกจากนี้ เราก็ย่อมจะมีโอกาสมากขึ้นที่จะเจริญในทางธรรม และเด็ก ก็มีโอกาสมากขึ้น ที่จะได้ปฏิบัติธรรมอยู่เนือง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
    แต่หากเราวางหลักเกณฑ์กับตัวเองว่าเราปฏิบัติธรรมที่บ้านไม่ได้ และเราจะต้องไปปฏิบัติธรรมที่วัดเท่านั้นแล้ว
    ย่อมจะทำให้การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องไม่สะดวกแล้วล่ะ

    สมมุติว่า ในเดือนหนึ่ง ๆ มี ๓๐ วัน ถามว่า เราจะไปวัดได้กี่วัน และไม่ได้ไปวัดกี่วัน
    ในจำนวนที่ไปวัดนั้น เราจะได้มีเวลาปฏิบัติธรรมจริง ๆ กี่ชั่วโมง

    อย่าลืมว่า เราใช้หมดเวลาไปกับการเดินทาง และต้องใช้เวลาเพื่อการอื่น ๆ อีก
    เวลาที่ปฏิบัติธรรมจริง ๆ ที่เหลือในวัดในวันนั้น ก็คงมีไม่มากเท่าไร

    [​IMG]

    สมมุติว่า เราไปวัดได้เดือนละ ๔ วัน โดยได้ใช้เวลาปฏิบัติธรรมวันละ ๖ ชั่วโมง
    เท่ากับว่า เราใช้เวลาปฏิบัติธรรมเดือนละ ๒๔ ชั่วโมง แต่เวลาที่เหลืออีกเดือนละ ๖๙๖ ชั่วโมงนั้น เราไม่ได้ปฏิบัติธรรม
    เวลาที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นเวลาที่มากมายนั้น เราอาจจะโดนกิเลส ลากพาไปทำสิ่งอกุศลมากมาย

    แต่เวลาที่เราใช้ปฏิบัติธรรม เพื่อเจริญก้าวหน้าในทางธรรม กลับมีน้อยกว่ามาก เช่นนี้ ย่อมไม่เป็นประโยชน์เท่าที่ควร
    และมีโอกาสสูง ที่เราจะถอยหลังหรือไม่ได้เจริญก้าวหน้าในทางธรรม

    [​IMG]

    เสมือนกับว่า เรากำลังพายเรือเพื่อเดินทางไปยังเป้าหมายสักแห่งหนึ่ง ในเดือนหนึ่ง ๆ เราตั้งใจพายเรือไปข้างหน้าอย่างเต็มที่เป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง
    แต่พอหยุดพาย เวลาที่เหลืออีก ๖๙๖ ชั่วโมง เราโดนกระแสน้ำลากพาถอยหลังไป
    ดีไม่ดี เราจะโดนน้ำลากพาถอยหลังไปไกลกว่าที่เราได้พายมาข้างหน้าเสียอีก

    และหากเราพายหน่อยนึง แล้วก็หยุดพักยาวเช่นนี้ โอกาสที่เราจะไปถึงสถานที่เป้าหมายย่อมจะมีน้อยมาก หรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้
    ฉะนั้นแล้ว เราจึงควรต้องปฏิบัติธรรมที่บ้านให้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอวันหยุด หรือวันที่เราว่างเพื่อไปปฏิบัติธรรมที่วัด

    หากเราสามารถปฏิบัติธรรมที่บ้านได้ ก็เปรียบเสมือนกับว่า เรายกวัดมาไว้ที่บ้านนั่นแหละครับ
    แทนที่เราจะต้องเสียเวลาเดินทางไปที่วัดเพื่อปฏิบัติธรรม เราก็ปฏิบัติธรรมเสียที่บ้านนี้แหละ

    ซึ่งจะสะดวกกว่าและสามารถทำได้ทุกวันด้วย การที่เราจะกราบพระ สวดมนต์ทำวัตร นั่งสมาธิ เดินจงกรม ล้วนแล้วแต่สามารถทำที่บ้านได้ทั้งสิ้น

    [​IMG]

    หากพ่อแม่จะสามารถปฏิบัติธรรมที่บ้านกับลูกได้แล้ว ก็จะเป็นประโยชน์มาก
    เช่น พ่อแม่สอนลูกปฏิบัติธรรม หรือปฏิบัติธรรมด้วยกัน
    โดยเริ่มต้น สอนด้วยการกราบพระด้วยกัน สวดมนต์ด้วยกัน นั่งสมาธิด้วยกัน

    หรือเดินจงกรมด้วยกัน โดยก็ทำด้วยกันที่บ้านตนเองนี่แหละ นอกจากเป็นการสอนลูกให้ปฏิบัติธรรมแล้ว พ่อแม่ก็ได้ปฏิบัติธรรมด้วย
    และเป็นการสร้างบรรยากาศความร่มเย็นให้กับงานตนเองอีกด้วย หากเราสามารถยกวัดมาไว้ที่บ้าน และสามารถปฏิบัติธรรมที่บ้านได้แล้ว
    เราสามารถพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง ก็คือยกวัดมาไว้ที่ใจเรา

    ไม่ว่าเราจะเดินทางไปที่ไหน ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็ตาม เรามีวัดอยู่ที่ใจเรา
    และเราสามารถปฏิบัติธรรมได้ทุกแห่ง โดยไม่เกี่ยงสถานที่เลย



    [​IMG]

    สำหรับกรณีบางท่านที่ไม่ชอบเรื่องการปฏิบัติธรรม
    แต่ชอบเรื่องการกราบไหว้พระ หรือทำบุญถวายสังฆทาน แต่ไม่ค่อยมีเวลาไปวัด
    ก็มีวิธีการง่าย ๆ ครับว่า เราก็กราบพระพุทธรูปที่บ้านหรือที่ทำงานนั่นแหละ

    กรณีของที่ทำงานนั้น เราอาจจะหาที่วางพระพุทธรูปไว้บนตู้วางเอกสารก็ได้
    ทุกครั้งที่มาถึงที่ทำงาน หรือก่อนเดินทางกลับบ้าน หรือช่วงเวลาที่เหนื่อยล้ามาก ๆ

    เราสามารถยกมือไหว้พระพุทธรูป โดยระลึกเสมือนว่าได้กราบพระพุทธเจ้า
    หรือระลึกเสมือนว่าเราได้ไปกราบพระประธานอยู่ที่วัดแล้ว
    วันไหนที่เราสะดวก ก็สามารถซื้อพวงมาลัยใกล้ที่ทำงานมาถวาย

    โดยก็ระลึกเสมือนว่าได้ถวายพระพุทธเจ้า หรือระลึกเสมือนว่าไปถวายพระประธานที่วัด
    ก็ถือว่าได้พักผ่อนจิตใจ และช่วยทำให้จิตใจเราสงบร่มเย็น
    ส่วนกรณีของกราบไหว้พระพุทธรูปที่บ้านก็ทำนองเดียวกันนะครับ

    บางท่านอาจจะแย้งว่าพระพุทธรูปไม่ใช่พระพุทธเจ้านะ จะไปกราบไหว้ทำไม
    ผมก็เข้าใจเช่นนั้นครับว่า พระพุทธรูปนั้นไม่ใช่พระพุทธเจ้าแน่นอน

    แต่ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ช่วยให้เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า
    การที่เรากราบไหว้พระพุทธรูปนั้น จึงอยู่ที่คนกราบไหว้ครับว่าจะกราบไหว้อะไร

    [​IMG]

    (จะกราบไหว้พระพุทธเจ้า หรือจะกราบไหว้พระพุทธรูป)

    ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่า คุณพ่อผมได้เสียชีวิตไปแล้วเมื่อประมาณสามปีก่อน
    แต่สมัยก่อนที่คุณพ่อผมยังอาศัยอยู่ในบ้านด้วยกันนั้น

    ก่อนออกจากบ้านไปทำงาน ผมก็ยกมือไหว้สวัสดีคุณพ่อผม
    หลังกลับมาจากที่ทำงานถึงบ้าน ผมก็ยกมือไหว้สวัสดีคุณพ่อผม
    แม้ทุกวันนี้ ผมก็ยังมีรูปคุณพ่อผมวางอยู่ในบ้าน

    โดยก่อนออกจากบ้านไปทำงาน หรือหลังจากกลับจากที่ทำงานถึงบ้าน
    ผมก็ยังยกมือไหว้ไปที่รูปคุณพ่อผม โดยระลึกถึงคุณพ่อของผมเช่นเดิม

    บางท่านอาจจะมองว่าผมไหว้รูป กรอบรูป หรือไหว้กระดาษธรรมดา
    แต่ใจผมระลึกถึงคุณพ่อ และกำลังกราบไหว้คุณพ่อผมอยู่
    ก็ขึ้นอยู่กับว่าคนที่กราบไหว้ และคนที่มองนั้น จะมองเห็นอะไร

    [​IMG]

    อย่างหลาย ๆ ท่านคงจะได้เคยกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุ
    หรือกราบไหว้ต้นโพธิ์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้

    ก็เป็นไปทำนองเดียวกันครับว่า ท่านคงจะไม่ได้กราบไหว้ โดยระลึกใจว่ากราบไหว้กระดูกธรรมดา หรือต้นไม้ธรรมดา
    แต่ย่อมจะกราบไหว้ โดยระลึกใจถึงพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ


    ส่วนเรื่องทำบุญถวายสังฆทานนั้น หากเราไม่มีเวลาไปทำบุญที่วัดได้บ่อย ๆ
    ก็แนะนำให้หากระปุกออกสินมาหนึ่งกระปุก หรือจะเป็นถุงพลาสติกหนึ่งถุงก็ได้
    โดยเราก็ถือว่ากระปุกนั้น หรือถุงนั้น เทียบได้กับเป็นกล่องรับปัจจัยทำบุญสังฆทานของวัด
    วันไหนเราอยากจะทำบุญ หรือเราอยากจะทำบุญทุกวัน

    เราก็สามารถทำบุญได้สะดวกโดยการนำเงินใส่กระปุกหรือใส่ถุงนั้นไว้ก่อน
    แล้วหากวันไหนที่เราไปวัด จึงนำเงินในกระปุกหรือถุงนั้นไปใส่กล่องรับปัจจัยทำบุญสังฆทานที่วัด

    ก็เปรียบได้ว่า เรามีกล่องรับปัจจัยทำบุญสังฆทานของวัดไว้ที่บ้านหรือที่ทำงานของเราเอง
    ซึ่งทำให้เราสะดวกและสามารถทำบุญถวายสังฆทานได้ทุกวันและเวลาเลย

    มีจิตกุศลอยากทำบุญเมื่อไร ก็สามารถทำได้ทันที ทำสังฆทานวันละสามเวลาสี่เวลาก็ยังได้
    และหากเราต้องการจะกล่าวคำถวายด้วย ก็ไม่มีอะไรห้ามนะครับ
    ก็สามารถกล่าวคำถวายเองก่อนจะใส่เงินลงในกระปุกหรือในถุงก็ได้

    [​IMG]

    หากเราใส่เงินจนเต็มกระปุกหรือเต็มถุงแล้ว แต่เราก็ยังไม่มีเวลาไปที่วัดเลย เราก็สามารถฝากญาติธรรมที่ไว้ใจได้

    (ย้ำว่า ต้องเป็นญาติธรรมที่เราสามารถไว้ใจได้นะครับ)

    ให้นำเงินเหล่านั้นไปใส่กล่องรับปัจจัยทำบุญสังฆทานที่วัดใด ๆ แทนเราก็ได้เช่นกัน


    แต่ทั้งนี้ มีเงื่อนไขที่สำคัญว่า หากเราตั้งจิตอธิษฐานไว้เช่นนี้แล้ว
    เราพึงถือว่าเงินทั้งหลายที่ใส่กระปุกหรือถุงนั้นเป็นเงินของวัดไปแล้ว
    เราจึงไม่สามารถนำเงินนั้นกลับไปใช้อย่างอื่นได้อีกนะครับ

    (นอกจากจะนำไปถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น)

    ไม่ใช่ว่าเราอธิษฐานจิตแล้วถวายเงินใส่กระปุกและถุงไปแล้ว
    แต่เรากลับนำเงินนั้นไปใช้อีก หรือนำเงินนั้นไปหมุนทำอย่างอื่นก่อน
    เช่นนี้ก็จะเป็นอกุศล โดยถือว่าเรานำเงินที่เราถวายสังฆทานเสร็จแล้วไปใช้อย่างอื่น


    สำหรับท่านที่ไม่ค่อยจะมีเวลาไปวัด
    แล้วก็สร้างหลักเกณฑ์กับตนเองว่าไม่มีโอกาสปฏิบัติธรรม
    ไม่มีโอกาสกราบไหว้พระ ไม่มีโอกาสทำบุญถวายสังฆทาน

    ก็แนะนำว่าให้ลองยกวัดมาไว้ที่บ้าน ยกวัดมาไว้ที่ทำงาน ยกวัดมาไว้ที่ใจเรานะครับ
    ย่อมจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับชีวิตของเราครับ

    [​IMG]

    คิดอย่างคนมีสมาธิ

    ฝึกทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
    จะได้จิตของคนมีสมาธิ
    หมั่นพูดเรื่องง่ายให้กลายเป็นเรื่องยาก
    จะได้จิตของคนฟุ้งซ่านจัด

    จิตที่มีสมาธิคือจิตที่ไม่คิดมาก
    เข้าถึงความง่ายในการรับรู้อะไรอย่างเดียว
    ตรงไปตรงมา ไม่ยอกย้อน
    ไม่ซับซ้อน ไม่เงื่อนไขมาก

    การทำให้ชีวิตเป็นเรื่องเรียบง่าย
    จึงเข้ากับจิตที่เป็นสมาธิ
    แม้แต่นักกีฬาที่ต้องคิดมากที่สุด

    อย่างพวกเล่นหมากรุกระดับโลก
    ที่ไปถึงดวงดาว เป็นแชมป์โลกได้
    ก็ต้องทำหมากยากให้กลายเป็นง่าย

    ไม่ใช่ผูกหมากให้ซับซ้อนเสียจนเต็มไปด้วยป่ารก
    แล้วทำให้ใจหลุดจากโฟกัส สับสนวกวนเสียเอง

    ในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่มักคิดมาก
    เรื่องไม่เป็นเรื่องก็เก็บมาคิดไม่เลิก
    หรือแม้แต่ธรรมอันสว่างที่ควรเย็น

    ควรเรียบง่าย ศึกษาแล้วได้สมาธิ
    ก็ไปคิดเสียร้อน พูดเสียร้อน
    นึกว่ายิ่งซับซ้อนยิ่งดูฉลาด

    [​IMG]


    เมื่อฝึกคิดเรื่องเดียวให้เป็น
    และพูดให้ตรงความจริงอันเดียวซื่อๆได้

    คุณจะรู้สึกถึงความเยือกเย็น
    มีระเบียบความคิดเป็นอันหนึ่งอันเดียวโดยง่าย
    ไม่กระสับกระส่ายกระจัดกระจาย

    หรือเมื่อตั้งท่าจะกระจายก็สังเกตออก
    จับได้ไล่ทัน ไม่ใช่จับอะไรไม่ได้สักอย่าง
    สักแต่กระโดดไปทางโน้นทีทางนี้ทีแบบหยุดยาก

    เมื่อคิดถึงเรื่องเดียวได้ง่ายๆจนกระทั่งใจเย็นลงจริงๆ
    เมื่อลงนั่งสมาธิ คุณจะไม่รู้สึกว่าเป็นสิ่งเหลือวิสัย
    ก็แค่ดูอะไรอย่างเดียว ด้วยจิตดวงเดียว

    การนึกถึงสิ่งหนึ่งโดยไม่คอยแต่จะวกไปนึกถึงอีกสิ่ง
    จะค่อยๆรวบรวมกระแสจิตให้เข้าที่ตั้งมั่น
    นั่นแหละสมาธิที่คนส่วนใหญ่บอกว่าเกิดยากนักยากหนา

    [​IMG]

    ดังตฤณ
    มีนาคม ๕๕


    [​IMG]

    ผมได้สนทนากับญาติธรรมอีกท่านหนึ่ง เขาเล่าว่ามีอยู่วันหนึ่ง เขาได้ขับรถไปส่งเพื่อนที่ทำงานสองคนกลับบ้าน
    เพื่อนคนแรกเห็นยุงบินในรถ จึงพยายามจะตบยุงที่กำลังบินอยู่ในขณะนั้น

    เขาจึงกล่าวบอกเพื่อนคนแรกว่า “อย่าไปตบมันเลย ปล่อยมันไปเถอะ”
    เพื่อนคนที่สองได้ยินแล้ว ก็ถามว่า “ทำไมล่ะ เลี้ยงยุงไว้ในรถหรือไง”

    ขาตอบว่า “ไม่ได้เลี้ยงหรอก แต่แค่เพียงเปิดหน้าต่างสักพักหนึ่ง เดี๋ยวมันก็ออกไปแล้ว”
    จากนั้นทุกคนก็ไม่ได้คุยอะไรกันต่อในเรื่องยุง โดยก็เปลี่ยนไปคุยเรื่องอื่น

    ผมก็ให้ความเห็นไปว่า เพื่อนสองคนได้ยินญาติธรรมท่านนี้ห้ามแล้ว
    อาจจะหลงเข้าใจว่าญาติธรรมห้ามเพื่อเป็นการช่วยเหลือยุงตัวนั้น

    แต่จริง ๆ แล้ว หากเราจะมองอีกด้านหนึ่ง เราก็จะเห็นได้ว่า
    การห้ามของญาติธรรมนั้น เป็นการช่วยเหลือเพื่อนคนแรกไม่ให้ทำผิดศีล
    ไม่ให้เพื่อนคนแรกนั้นทำบาปอกุศลและจะต้องรับผลกรรมนั้นในภายหลัง

    หากยุงนั้นโดนตบตายไป ยุงนั้นก็ถือว่าใช้กรรมของมัน แต่ยุงไม่ได้ทำบาปอะไรเพิ่ม
    แต่ว่าหากเพื่อนคนแรกทำผิดศีลแล้ว ก็ย่อมจะได้รับผลกรรมที่ไม่ดีแก่ตนเอง

    ผลกรรมในชาติอนาคตที่มองไม่เห็น ก็อาจจะพิสูจน์ได้ยาก
    แต่หากเราจะลองพิจารณาผลกรรมในชาติปัจจุบันนี้แล้ว

    ก็สามารถพิจารณาเองได้ว่า การผิดศีลนั้นย่อมเป็นโทษต่อเราอย่างแน่นอน
    ขอเริ่มต้นตรงข้อที่เห็นได้ไม่ยาก คือกรณีผิดศีลเรื่องห้ามดื่มสุรา

    โดยผลของการดื่มสุราก็ย่อมเป็นโทษต่อร่างกาย และจิตใจอยู่แล้ว
    บางท่านอ้างว่าดื่มสุราแล้วทำให้สบายใจ ช่วยให้ลืมปัญหาชีวิตได้ชั่วคราว

    แต่หากถามว่าดื่มสุราแล้ว ปัญหาชีวิตนั้นหายไปหรือไม่ ก็ตอบว่าไม่หายไป
    นอกจากปัญหาจะไม่หายไปแล้ว การดื่มสุรายังสร้างให้ปัญหามากขึ้นอีก
    และยังทำให้เราต้องเสียเวลา เงินทอง โอกาส และแรงงานที่จะนำไปแก้ไขปัญหาชีวิต

    กรณีผิดศีลข้อห้ามประพฤติผิดในกามนี้ ก็เป็นโทษอันตรายถึงชีวิตได้เลย
    โดยอาจจะไม่ใช่แค่เพียงบาดเจ็บร่างกายเท่านั้น

    ที่เห็นว่าตาย ๆ กันเพราะเหตุนี้ ตามข่าวก็มีเยอะ
    ในส่วนจิตใจก็ต้องห่วงกังวลเกรงว่าจะโดนคนอื่นจับได้ จิตใจก็ย่อมจะเสียหาย ไม่เป็นปกติ

    [​IMG]

    กรณีผิดศีลข้อห้ามพูดจาโกหกนั้น เมื่อพูดโกหกไปแล้ว จิตใจก็กังวลเกรงว่าเขาจะจับได้
    จิตใจก็ย่อมจะเสียหาย ไม่เป็นปกติ โกหกคนอื่นแล้ว ก็ย่อมจะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ
    กรณีโกหกหรือให้ข้อมูลเท็จบางกรณีก็ยังเป็นความผิดตามกฎหมายถึงขั้นต้องติดคุกก็ได้

    กรณีผิดศีลข้อห้ามลักขโมยนั้น ก่อนที่จะลักขโมยก็ต้องมีความโลภอยากได้ของคนอื่นก่อน
    พอลักขโมยมาแล้ว จิตใจก็กังวลเกรงว่าเขาจะจับได้

    ก็ทำให้จิตใจเสียหาย และไม่เป็นปกติเช่นกัน โดยก็ย่อมมีผลกระทบถึงร่างกายได้
    ในหลายกรณีก็อาจจะโดนดำเนินคดีตามกฎหมายถึงขั้นต้องติดคุกได้

    กรณีผิดศีลข้อห้ามฆ่าสัตว์นั้น ก่อนที่จะฆ่าสัตว์ เราก็ต้องมีจิตใจที่ต้องการฆ่าเสียก่อน
    ถามว่าจิตใจเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษแก่ตัวเรา

    กรณีจึงทำให้จิตใจเสียหาย และไม่เป็นปกติ นอกจากนี้ การฆ่าหรือทำร้ายคนอื่นนั้น
    ก็ยังเป็นความผิดตามกฎหมายและสามารถถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้

    ดังนั้นการที่ญาติธรรมได้ห้ามเพื่อนคนแรกไว้ไม่ให้ตบยุง
    จึงเป็นการช่วยเหลือให้เพื่อนคนแรกได้รักษาศีลไว้
    และเป็นการช่วยเหลือให้เพื่อนคนแรกได้สร้างกุศล ด้วยการรักษาศีลในขณะนั้น

    ซึ่งเปรียบได้ว่า ช่วยเพื่อนคนแรกจากอบายภูมิ และบอกหนทางไปสวรรค์เลยนะครับ
    แต่คนที่ไม่เข้าใจก็อาจจะมองว่า เป็นห่วงยุงนักหรือไง หรือธรรมะธัมโมไม่เข้าเรื่องหรือเปล่า

    ซึ่งหากเราไม่สามารถอธิบายให้เขาเข้าใจได้ บางทีก็อาจจะต้องปล่อยเขาไป
    เรื่องทำนองนี้ก็คล้ายกับกรณีว่า เราพาญาติผู้ใหญ่สูงอายุไปทำบุญ

    บางทีเราแนะนำให้ญาติผู้ใหญ่สูงอายุทำบุญโน่นทำบุญนี่เยอะ ๆ
    ก็เพื่อประโยชน์ตัวของเขาเอง แต่เขาก็อาจจะไม่เข้าใจเรา

    เข้าใจว่าเขาทำบุญไปแล้วประโยชน์ก็ได้กับทางวัดหรือสถานที่รับทำบุญนั้น
    ซึ่งก็ย่อมจะขึ้นกับความรู้ความเข้าใจและมุมมองของแต่ละท่านที่แตกต่างกัน

    จริง ๆ แล้วการสร้างกุศลก็สามารถทำได้อยู่เรื่อย ๆ แม้ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้
    โดยไม่จำเป็นต้องรอบุญกุศลใหญ่ ๆ เท่านั้น จึงจะทำได้
    เสมือนกับว่าหากเราสะสมเงินไว้ในกระปุกออมสิน

    การที่เราจะหยอดกระปุกทีละเพียงหนึ่งบาทไปเรื่อย ๆ สักวันหนึ่งกระปุกก็เต็มได้
    กรณีไม่จำเป็นว่าเราจะต้องรอให้มีเงินทีละสิบบาทก่อน เราถึงจะสามารถหยอดกระปุกได้
    แต่เราสามารถจะทยอยรวบรวมเก็บเล็กผสมน้อยไปได้เรื่อย ๆ

    บางท่านอาจจะสงสัยว่าการเก็บเล็กผสมน้อยจะทำได้สะดวกแค่ไหนกัน
    ซึ่งบางท่านอาจชอบพิจารณาว่า เราจะมีสิ่งของอะไรมาทำบุญกุศลกันได้บ้าง
    ซึ่งก็มักจะนึกถึงเฉพาะการถวายของ การให้ทาน และการต้องไปปฏิบัติธรรมที่วัด

    หากจะลองจริง ๆ แล้ว สิ่งที่สะดวกที่สุดที่เราจะใช้ทำบุญกุศลนั้น ก็มีอยู่ ๖ สิ่งเท่านั้นเอง
    โดยทั้ง ๖ สิ่งนี้ก็ติดตัวอยู่กับเราตลอดเวลาอยู่แล้ว
    ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

    [​IMG]

    สิ่งแรกคือ “ตา” เราใช้ตาสร้างกุศลแก่ตนเองได้ เช่น การอ่านหนังสือธรรมะ การชมสื่อธรรมะ
    การพบเห็นสมณะ การชมสิ่งที่เป็นประโยชน์ การชมสิ่งที่เป็นกุศล

    เวลาเราใช้สายตามองผู้อื่น ก็มองด้วยเมตตากรุณา มองด้วยไมตรี เป็นต้น
    ซึ่งเพียงเท่านี้ ก็สามารถสร้างกุศลด้วยตาได้แล้ว

    สิ่งที่สองคือ “หู” เราใช้หูสร้างกุศลแก่ตนเองได้ เช่น การฟังธรรมเทศนาหรือธรรมบรรยาย
    การฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์ การฟังสิ่งที่เป็นกุศล

    (เช่น เรื่องราวที่คนอื่นได้ไปทำบุญสร้างกุศล ซึ่งเมื่อได้ยินได้ฟังแล้ว เราก็สามารถอนุโมทนาบุญกับเขาได้ด้วย)

    เราสามารถใช้หูของเราในการฟังเรื่องราวปัญหาของผู้อื่น เพื่อช่วยเหลือให้คำแนะนำ
    หรือเพื่อแสดงความเห็นอกเห็นใจหรือสนใจใส่ใจเพื่อให้เขาสบายใจได้ เป็นต้น
    ซึ่งเพียงเท่านี้ ก็สามารถสร้างกุศลด้วยหูได้แล้ว

    สิ่งที่สามคือ “จมูก” เราใช้จมูกสร้างกุศลแก่ตนเองได้ เช่น การหายใจเพื่อการภาวนา
    ไม่ว่าจะเป็นการทำสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนาก็ได้

    เราหายใจเข้าหายใจออก ก็สามารถระลึกรู้ลมหายใจได้
    ซึ่งเพียงเท่านี้ ก็สามารถสร้างกุศลด้วยจมูกได้แล้ว

    สิ่งที่สี่คือ “ลิ้น” ซึ่งผมขอรวมปากไปด้วยนะครับ
    เราใช้ลิ้นและปากสร้างกุศลแก่ตนเองได้ด้วย การพูดจาอ่อนหวาน การพูดจาอ่อนน้อม

    การพูดแนะนำผู้อื่นในสิ่งที่มีประโยชน์ การพูดแนะนำสั่งสอนธรรมะแก่ผู้อื่น
    การระงับลิ้นและปากในการพูดจาโกหก หยาบคาย เพ้อเจ้อ และส่อเสียด

    ย่อมเป็นการรักษาศีล ซึ่งได้บุญกุศลเช่นกัน
    เราสามารถใช้ลิ้นและปากเพื่อสวดมนต์ และท่องจำตำราหรือธรรมะต่าง ๆ ได้
    ซึ่งเพียงเท่านี้ ก็สามารถสร้างกุศลด้วยลิ้นและปากได้แล้ว

    สิ่งที่ห้าคือ “กาย” เราใช้กายสร้างกุศลแก่ตนเองได้มากมายนะครับ
    การระงับร่างกายไม่ไปทำร้ายผู้อื่น ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ลักขโมย
    ไม่ดื่มสุรา ก็ย่อมเป็นการรักษาศีล ซึ่งได้บุญกุศล

    เราสามารถใช้ร่างกายมาปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ เดินจงกรม ยืนสมาธิ นอนสมาธิก็ได้
    ใช้ร่างกายถวายของทำบุญ หรือแจกทานต่าง ๆ

    ใช้แรงงานและกำลังกายช่วยเหลือผู้อื่นในทางกุศลใด ๆ ก็ตาม เป็นต้น
    ซึ่งเพียงเท่านี้ ก็สามารถสร้างกุศลด้วยกายได้แล้ว

    สิ่งที่หกคือ “ใจ” ซึ่งเราสามารถใช้ใจของเราในการปฏิบัติภาวนาได้
    ไม่ว่าจะเป็นการทำสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนาก็ได้
    เราสามารถฝึกฝนใจของเราให้มีเมตตากรุณาซึ่งเป็นกุศล

    สามารถฝึกฝนใจของเราให้มีสติ และปัญญา ฝักใฝ่ในสิ่งที่เป็นกุศล
    และห่างไกลจากสิ่งอกุศลทั้งปวง ซึ่งเพียงเท่านี้ ก็สามารถสร้างกุศลด้วยใจได้แล้ว

    [​IMG]

    หากพิจารณาตามนี้แล้ว ก็คงเห็นได้นะครับว่า
    ในการสร้างบุญกุศลนั้น แท้จริงแล้ว ไม่ใช่เรื่องยากอะไร

    เราสามารถสร้างกุศลได้อย่างสะดวกด้วย ๖ สิ่งนี้ซึ่งติดตัวเราอยู่ตลอดเวลา
    หากท่านใดจะอ้างว่าหรือเข้าใจว่าตนเองยุ่งมาก และไม่มีเวลาสร้างบุญกุศลเลย
    ก็พึงที่จะลองปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่นะครับ

    ในท้ายนี้ ขอเรียนว่าแม้ว่า ๖ สิ่งซึ่งติดตัวเราตลอดเวลานี้
    จะเป็นสิ่งที่สร้างกุศลได้สะดวกที่สุดสำหรับเราก็ตาม
    แต่ในทางกลับกัน ๖ สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่สร้างอกุศลได้สะดวกที่สุดสำหรับเราเช่นกัน

    ฉะนั้นแล้ว ศีลย่อมเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเราทุก ๆ คนครับ
    เพื่อที่เราจะใช้ ๖ สิ่งนี้ได้อย่างเกิดประโยชน์แก่ชีวิตเราและผู้อื่นมากที่สุด

    [​IMG]

    หมู่บ้านปฏิบัติธรรม

    <!-- Main -->

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    วัดพุคำบรรพต ต. พุคำจาน อ. พระพุทธบาท จ. สระบุรี แต่ก่อนเป็นสำนักสงฆ์ถ้ำเขาอีมด ที่พระอาจารย์มหาอ่อน สวาทโร จากวัดธาตุทอง ธุดงค์มาพบ และใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 เมื่อท่านมรณภาพ ท่านเจ้าคุณพระธรรมปาโมกข์ เจ้าอาวาสวัดธาตุทอง จึงสานต่อเจตนารมณ์ของท่าน และได้รับอุปการะสร้างเป็นวัดและปลูกต้นไม้ เพื่อให้เป็นศูนย์ศึกษาทางธรรมชาติของชุมชน



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    ปัจจุบัน ทางวัดได้สร้างเป็นหมู่บ้านสำหรับปฏิบัติธรรมชื่อ “อังกุรปัญญาคาม” แยก ออกมาเป็นสัดส่วนจากสังฆาวาส เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ท่านทั้งสอง สถานปฏิบัติธรรมดังกล่าวอยู่ติดกับเชิงเขา มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นและสงบเงียบ มีหอสวดมนต์ ศาลาปฏิบัติธรรม และโรงครัวที่สามารถประกอบอาหารเลี้ยงผู้ปฏิบัติธรรมได้นับร้อยคน จึงมีผู้มาถือศีล ปฏิบัติธรรม และบวชเนกขัมมะ ในวาระสำคัญๆ เป็นประจำ



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี มีผู้ที่ตั้งใจประกอบความดีถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก และน่าดีใจที่ได้เห็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ หันมาดูแลใจของตัวเอง มาร่วมถือศีล ปฏิบัติธรรม ลด ละ ความสะดวกสบาย ฝึกกายและใจให้พร้อมรับกับสภาพแวดล้อมของสังคมในวันพ่อที่ผ่านมา



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    หลายคนบอกว่า ชอบสถานที่แห่ง นี้ เพราะมีความเป็นเอกเทศ อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ โดยเฉพาะห้องพักหลังเล็กที่ปลูกเรียงรายเป็นระเบียบ บรรยากาศเหมือนเรือนพักในรีสอร์ท ติดเชิงเขา



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    ที่แปลกและไม่เคยเห็นที่ใดมาก่อน คือโบสถ์ จะมีเพียงผนังปูนด้านหลังพรประธานอยู่ด้านเดียว นอกนั้นจะติดกระจกโปร่งใส มองเห็นต้นลีลาวดีขนาดใหญ่และต้นไม้อื่นๆ โดยรอบทำให้รู้สึกอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ

    เพื่อนๆ ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ถ้าผ่านไปทางสวนพฤกษศาสตร์พุแค ลองแวะเข้าไปไหว้พระ เดินเล่น หรือจะขึ้นเขา เข้าถ้ำ ชมวิวบนที่สูง วัดพุคำบรรพต อยู่ทางขวามือเยื้องกับวัดถ้ำกระบอก ก่อนถึงพระพุทธบาทเล็กน้อย

    คุณสุรินทร์ สวัสดี ประชาสัมพันธ์ของชุมชน บอกว่า ถ้าต้องการได้รายละเอียด โทรมาถามได้ที่ 089-2415817 หรือที่วัดเบอร์ 036-347616 – 081-9949982 – 089-822612

    [​IMG]

    <TABLE style="WIDTH: 700px" border=0 cellPadding=5><TBODY><TR><TD vAlign=top>ภาคกลางและกรุงเทพฯ

    หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพฯ)
    ตั้งอยู่ในพื้นที่ของสวนรถไฟ มีการทำวัตรเย็น สวดมนต์แปล และนั่งสมาธิภาวนาอานาปานสติ สามารถไปปฏิบัติได้ทุกวัน
    โทร. 02-936-2800
    www.bia.or.th

    ยุวพุทธิกสมาคม
    เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    มีหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐานหลายหลักสูตร
    ต้องเข้าปฏิบัติแบบพักค้าง
    โทร. 02-455-2525
    www.ybat.org

    บ้านป้าจิ๊ อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ
    หมู่บ้านสวนขวัญ จ.นครปฐมปฏิบัติธรรม
    ดูจิตตามแนวทางมหาสติปัฏฐาน 4 โดย พระอาจารย์ธมมฺทีโป แบบเช้าไปเย็นกลับ
    ตรวจสอบตารางอบรมปฏิบัติได้จาก www.thammatipo.com

    วัดอัมพวัน
    อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
    ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 บริกรรมยุบหนอ พองหนอ โดยหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
    เข้าปฏิบัติแบบพักค้าง
    โทร. 0-3659-9381
    www.jarun.org

    วัดป่าเจริญราช
    อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
    นั่งกรรมฐานและเดินจงกรม บริกรรมพองยุบ สามารถลงทะเบียนได้ที่วัดทุกวัน
    โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า อนุญาตให้อยู่ปฏิบัติพักค้างได้ไม่เกิน 15 วัน
    โทร. 02-995-2112 www.veeranon.com

    ธรรมสถานวัดพระราม 9
    กรุงเทพฯ ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 สามารถไปปฏิบัติทุกวัน หรือพักค้างได้ ตรวจสอบตารางปฏิบัติได้ที่
    โทร. 02-719-7676 www.rama9temple.org

    วัดธรรมมงคล
    เขตพระโขนง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2311-1387 www.dhammamongkol.com

    วัดอินทรวิหาร
    เขตพระนคร กรุงเทพฯ โทรศัทพ์ 0-2628-5550-2 www.watindharaviharn.org

    วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
    เขตดุสิต กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2282-2667, 0-2281-7825 www.watbencha.com

    วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
    เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2255-2271, 02658-1986

    วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2222-8004, 0-2222-1867 www.mahathatde.com

    ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2805-0790 www.ybat.org

    มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2412-2752 www.luangpumun.org

    วัดป่ามณีกาญจน์
    อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 0-2449-2234 www.watpamaneekarn.com

    วัดชลประทานรังสฤษฎ์
    อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 0-2583-9993, 0-2583-8845 www.watchol.or.th, www.watcholpratan.net

    วัดสังฆทาน
    อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 0-2447-0799, 0-2447-0800 www.sanghathan.com

    วัดสนามใน
    อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 0-2429-2119, 0-2883-7251

    วัดนาป่าพง
    อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โทรศัพท์ 08-1919-7988, 08-1513-1611 www.watnapahpong.org

    วัดปลายนา (สำนักปฏิบัตธรรมเสวตสมบูรณ์) อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โทรศัพท์ 0-2860-1277

    สำนักงานพุทธมณฑล
    อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 0-2441-4580, 0-24419009

    วัดทรงธรรมกัลยาณี (ภิกษุณี)
    อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 0-3425-8270 www.thaibhikkhunis.org

    วัดญาณเวศกวัน
    อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 0-2482-1552-3 www.watnyanaves.net

    วัดมเหยงคณ์
    อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ 0-3524-2892, 0-3524-4335 www.mahaeyong.org

    วัดอัมพวัน
    อำเภอพรมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี โทรศัพท์ 0-3659-9381 www.jarun.org

    ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดไทรงามธรรมธราราม อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 0-3552-2005 www.watsai.net

    สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต
    อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี โทรศัพท์ 0-33637-9428, 0-3630-5239 www.sangdhamsongchevit.com

    [​IMG]

    </TD><TD vAlign=top>ภาคตะวันออก

    วัดผาณิตาราม
    จ.ฉะเชิงเทรา
    ปฏิบัติแบบพักค้าง
    ตามแนวสติปัฏฐาน 4
    บริกรรมพองยุบ
    โทร. 0-3850-2000,
    0-3850-2087-8
    www.kondee.com

    ศูนย์ปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ราชนครินทร์
    (เขาดินหนองแสง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี
    ฝึกวิปัสสนาพองยุบ โดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม ตรวจสอบตารางและสมัครเข้าปฏิบัติได้ที่
    โทร. 0-3931-7220 www.nhongsang.com

    วัดเขาสุกิม
    อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โทรศัพท์ 0-3949-5242-3 www.khaosukim.org

    ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดผาณิตาราม
    อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โทรศัพท์ 0-3850-2000 www.kondee.com

    สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม
    อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี จังหวัดชลบุรี โทรศัพท์ 0-3828-3766

    ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนสันติธรรม
    อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โทรศัพท์ 0-2279-7438 www.wimutti.net

    วัดเขาพุทธโคดม
    ำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โทรศัพท์ 0-3877-2132, 0-3877-2944, 0-3831-2608

    วัดภัททันตะอาภาสภาราม
    อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี โทรศัพท์ 0-3829-2361

    วัดเมืองเก่าแสนตุ่ม
    อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด โทรศัพท์ 08-9250-1583

    วัดมาบจันทร์ (สุภัททะบรรพต)
    อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง โทรศัพท์ 0-3861-7546 Watmarpjan -
    </TR></TBODY>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 เมษายน 2012
  2. djmixmun

    djmixmun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +29
    บทความดีมากเลยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...