นมัสการพระบาทพลวง ที่ เขาคิชฌกูฏ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 16 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    นมัสการพระบาทพลวง ที่ เขาคิชฌกูฏ

    เขาคิชกุฏจันทบุรี ท่องเที่ยว เขาคิชกุฏจันทบุรี อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏจันทบุรี



    [​IMG]

    เขาคิชกุฏจันทบุรี

    [​IMG]

    เขาคิชกุฏจันทบุรี

    [​IMG]

    เขาคิชกุฏจันทบุรี


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก nairobroo.com, palungjit.org, easternthailand.com และ larndham.net


    อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ หรือที่ใครๆ เรียกกันจนติดปากว่า "เขาคิชฌกูฏ"มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอมะขาม และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี และยังเป็นต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำจันทบุรี สภาพป่าในบริเวณนี้มีทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าไม้ผลัดใบ มีสมุนไพรและกล้วยไม้ป่านานาชนิด รวมทั้งมีพันธุ์ไม้หายาก คือ ไม้กฤษณา และ เนื่องจากเป็นป่าที่อยู่ในเขตเทือกเขาสูงชัน จึงมีสัตว์ป่าชุกชุม เช่น กระทิง เสือ หมี กวาง เก้ง เลียงผา และนกชนิดต่างๆ นอกจากนี้ ตามลำห้วยยังมีปลาพลวง ปลาก้าง ปลาหนวด ปลาดุกรำพัน อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

    สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ได้แก่ น้ำตกกระทิง,น้ำตกคลองช้างเซ ,ยอดเขาพระบาท และที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นพิเศษนั้นเห็นจะเป็น การนมัสการรอยพระบาทเขาคิชฌกูฏ หรือพระบาทพลวงนั่นเอง


    [​IMG]

    เขาคิชกุฏจันทบุรี

    [​IMG]

    เขาคิชกุฏจันทบุรี

    [​IMG]

    เขาคิชกุฏจันทบุรี

    [​IMG]

    เขาคิชกุฏจันทบุรี

    พระบาทพลวง หรือ พระพุทธบาทพลวง ประดิษฐาน อยู่บนเขาคิชฌกูฎ โดยพระบาทพลวงนี้ เป็นรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร อยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ที่จังหวัดจันทบุรี และถือว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่สูงที่สุดของประเทศไทย และอยู่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 40 กิโลเมตร

    ทั้งนี้ประชาชนจะนิยมไปนมัสการพระบาทหลวงเป็นจำนวนมาก เพื่อเสริมสิริมงคลให้กับตัวเอง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีนถึงช่วงวันมาฆบูชาของทุกปี จะมีประชาชนขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาททั้งกลางวันและกลางคืน ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของเขาคิชฌกูฏก็ได้จัดงานนมัสการพระบาท พลวงเป็นประจำทุกปีอีกด้วย

    อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ได้มีการจัดงานนมัสการพระบาทพลวง ปี 2553 ขึ้นระหว่าง วันที่ 16 มกราคม 2553 ถึง 16 มีนาคม 2553 ณ บริเวณเขาคิชฌกูฎ ตำบลพลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ภาย ในงานมีการจัดบวงสรวงเทวดาอารักษ์ พิธีปิดทองรอยพระพุทธบาท การจัดเดินป่าขึ้นยอดเขาคิชฌกูฏ ซึ่งเป็นงานประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานาน โดยมีความเชื่อว่าจะได้บุญสูง และเป็นการฝึกจิตใจให้มีความอดทนไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก...ในอดีตจะเป็นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขาระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร แต่ในปัจจุบันมีรถบริการให้ประชาชนได้เดินทางขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาท แห่งนี้ได้สะดวกยิ่งขึ้น


    [​IMG]

    เขาคิชกุฏจันทบุรี

    [​IMG]

    เขาคิชกุฏจันทบุรี

    [​IMG]

    เขาคิชกุฏจันทบุรี

    ซึ่งในช่วงเทศกาลนมัสการรอยพระพุทธบาทพลวง พุทธศาสนิกชนที่มีศรัทธาจะเดินทางขึ้นเขาไปแสวงบุญเป็นจำนวนมาก เพราะนอกจากจะได้นมัสการพระพุทธบาทศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังจะได้ชมความงดงามแปลกอัศจรรย์ของหินลูกพระบาท ก้อนหินกลมใหญ่ริมหน้าผา และได้รับความสดชื่นจากบรรยากาศบนยอดเขาคิชฌกูฏ นอกจากนี้ ผู้ที่ถึงวัดพลวงตอนเย็นสามารถพักค้างคืนเพื่อเริ่มขึ้นยอดเขาในตอนเช้าได้ โดยทางวัดมีที่พัก และที่อาบน้ำไว้รองรับคนได้จำนวนมาก (ว้าว...)

    สำหรับการเดินทางนั้นก็ง่ายแสนง่าย หาก มาตามถนนสุขุมวิท ถึงทางแยกเข้าตัวเมืองจันทบุรี (สี่แยกเขาไร่ยา) ให้เลี้ยวลงถนนทางน้ำตกกระทิง หรือถนนบำราศนราดูร จากทางแยกเขาไร่ยา ไปถึงน้ำตกกระทิงประมาณ 20 กิโลเมตร เลยวัดระทิงไป 400 เมตร ถึงแยกขวามือไปวัดพลวง เป็นถนนลูกรังระยะทาง 3 กิโลเมตร เมื่อถึงวัดพลวง จะเป็นจุดเริ่มต้นขึ้นไปยังยอดเขา มีรถรับจ้างทดเฟืองพิเศษรับไปส่งถึงจุดที่ใกล้ที่สุด และเดินเท้าต่ออีกประมาณ 40 นาท

    ทั้งนี้ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อุทยานแห่งชาติเขาคิดชฌกูฎ โทร. 0-3945-2075, กิ่งอำเภอเขาคิดชฌกูฎ โทร. 0-3945-2437 หรือ องค์การบริหารส่วนตำบลพลวง โทร. 0-3930-9281




    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    [​IMG] larndham.net , larndham.net
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message --><!-- sig -->
     
  2. พงศ์830

    พงศ์830 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,172
    ค่าพลัง:
    +1,196
    วันที่6/03 กำลังจะไปนมัสการรอยพระพุทธบาทครับ
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=415 border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#f1f4e3 height=25>อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ
    ?ͧ?钹?ѡ͘?’?የ??ҵԠ?Á͘?’?የ??ҵԏ ?Á?蒤? (ഔ? ͘?’?የ??ҵԠ?ͧ?钹?ѡǹ͘?’? ???Ⅱ ???Ⅱ?ҧ?Ã?ҵԠ?Á͘?’?የ??ҵԠʑ?Ǭ?蒠ᅐ?ѹ?ج?ת

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#efefef height=2></TD></TR><TR><TD bgColor=#f1f4e3 height=25>เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา</TD></TR><TR><TD bgColor=#efefef height=2></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=2></TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff height=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD height=10></TD></TR><TR bgColor=#f1f4e3><TD align=right height=25>ข้อมูลทั่วไป </TD></TR><TR><TD height=20></TD></TR><TR><TD>
    <MARQUEE>ระหว่างวันที่ 16 มกราคม – 16 มีนาคม 2553 อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวขึ้นชมยอดเขาพระบาท เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท ชมทิวทัศน์ และหินรูปร่างแปลกตาต่างๆ และจะทำการบวชชีพราหมณ์ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 – 5 มกราคม 2553 พิธีบวงสรวงเปิดป่า วันที่ 14 มกราคม 2553 </MARQUEE>

    อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ อยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าเขาคิชฌกูฏหรือเขาพระบาท ท้องที่อำเภอมะขาม และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยภูเขา ทิวทัศน์ที่งดงาม มียอดเขาสูงสุดอยู่ในระดับความสูง 1,000 เมตร มีสภาพธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกกระทิง และปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่เกี่ยวเนื่องกับตำนานทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะในด้านความเชื่อถือทางศาสนาเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาคิชฌกูฏ มีเนื้อที่ประมาณ 58.31 ตารางกิโลเมตร หรือ 36,444.05 ไร่

    เมื่อปี พ.ศ. 2501 นายกนิยมไพรสมาคม ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เสนอให้รักษาป่าเขาคิชฌกูฏ ท้องที่จังหวัดจันทบุรี ไว้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์และจัดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงให้ป่าไม้เขตศรีราชาประสานงานกับป่าไม้จังหวัดจันทบุรีดำเนินการ และได้มีคำสั่ง ที่ 852/2517 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2517 ให้นายสมพล วรรณกุล นักวิชาการป่าไม้เอก ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งผลการสำรวจ ตามรายงานการสำรวจลงวันที่ 16 มิถุนายน 2518 พบว่า สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีสภาพทางธรรมชาติสวยงาม ประกอบด้วย ถ้ำ น้ำตก และมีสัตว์ป่าชุกชุม เหมาะกับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

    กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติการประชุมครั้งที่ 2/2518 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2518 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าเขาคิชฌกูฏให้เป็นอุทยานแห่งชาติ

    กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการขอเพิกถอนป่าเขาคิชฌกูฏ ซึ่งมีสถานภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 49 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 82 ตอนที่ 39 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2508 ออกจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติก่อน โดยมีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 108 ลงวันที่ 7 กันยายน 2519

    ต่อมาดำเนินการจัดตั้งป่าเขาคิชฌกูฏเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาคิชฌกูฏ ในท้องที่ตำบลตะเคียนทอง ตำบลฉมัน ตำบลพลวง และตำบลวังแซ้ม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี เนื้อที่ 36,687 ไร่ หรือ 58.70 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 94 ตอนที่ 38 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 14 ของประเทศไทย

    ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนเนื้อที่บางส่วน จำนวน 242.95 ไร่ โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 64 ก ลงวันที่ 24 ก.ย.2541 จึงคงเหลือพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ 36,444.05 ไร่ หรือ 58.31 ตารางกิโลเมตร



    </TD></TR><TR><TD height=10></TD></TR><TR><TD height=10></TD></TR><TR bgColor=#f1f4e3><TD align=right height=25>ลักษณะภูมิประเทศ </TD></TR><TR><TD height=20></TD></TR><TR><TD>ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงชัน เนื่องจากการดันตัวของเปลือกโลก หินฐานเป็นหินอัคนีพวกหินแกรนิต ยุคจูแรสสิค มีอายุประมาณ 135-180 ล้านปี ทางด้านทิศตะวันออกจะมีความลาดชันมาก แนวสันเขาวางตัวไปในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ เชิงเขาด้านตะวันออกเฉียงใต้มีความลาดชันน้อย มียอดเขาพระบาทเป็นภูเขาสูงสุด สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,085 เมตร มีที่ราบอยู่ทางทิศตะวันตกเพียงเล็กน้อย บนเขาพระบาทมีหินก้อนใหญ่ลักษณะกลมเกลี้ยงกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณรอยพระพุทธบาทมีหินก้อนใหญ่มาก สามารถมองเห็นได้จากพื้นราบนอกเขตอุทยานแห่งชาติ เทือกเขาสูงในอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำห้วยที่สำคัญ เช่น คลองกระทิง คลองตะเคียน คลองทุ่งเพล คลองพลวง เป็นต้น ลำน้ำเหล่านี้เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำจันทบุรี

    </TD></TR><TR><TD height=10></TD></TR><TR><TD height=10></TD></TR><TR bgColor=#f1f4e3><TD align=right height=25>ลักษณะภูมิอากาศ </TD></TR><TR><TD height=20></TD></TR><TR><TD>ลักษณะภูมิอากาศบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยช่วงตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์อากาศหนาวเย็น ท้องฟ้าโปร่ง ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมจะมีความชื้นในอากาศสูง เกิดเมฆและฝนตกหนัก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 2,900 มิลลิเมตร ช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน เป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนอิทธิพลจากลมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 27 องศาเซลเซียส

    </TD></TR><TR><TD height=10></TD></TR><TR><TD height=10></TD></TR><TR bgColor=#f1f4e3><TD align=right height=25>พืชพรรณและสัตว์ป่า </TD></TR><TR><TD height=20></TD></TR><TR><TD>ระบบนิเวศในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎสามารถแบ่งออกได้หลักๆ 2 ประเภท คือ ป่าดิบชื้น ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ ยางแดง กระบาก หย่อง มะก่อ บุนนาค ลูกดิ่ง สารภี เนียนดำ มะไฟ จิกดง มะซาง ดีหมี เลือดควาย สำรอง กระบกกรัง ฯลฯ และป่าดิบเขา จะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 800 เมตรขึ้นไป หรือจะพบเฉพาะบริเวณยอดเขา เช่น เขาพระบาทพลวง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ มะก่อ กระบกกรัง สารภี บุนนาค ทำมัง พิมเสนป่า พลอง คอเหี้ย ชันใบใหญ่ รง พลับ อบเชย และดีหมี เป็นต้น

    ในส่วนของสัตว์ป่า เนื่องจากสภาพป่าอยู่ในเขตเทือกเขาสูงชัน และประกอบกับราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับอุทยานแห่งชาติไม่ลักลอบล่าสัตว์ เพราะมีอาชีพที่เป็นหลักแหล่งและทำรายได้ดีอยู่แล้ว คือ การทำสวนผลไม้ สัตว์ป่าจึงยังมีชุกชุม ได้แก่ ช้าง กระทิง เสือปลา หมีควาย กวางป่า เก้ง เลียงผา หมูป่า ชะนีมงกุฎ เม่นใหญ่ อีเห็นข้างลาย พังพอนเล็ก กระต่ายป่า กระแต กระรอกหลากสี ค้างคาวแม่ไก่ภาคกลาง นกกระทาทุ่ง ไก่ฟ้าหลังขาวจันทบูรณ์ ไก่ป่า นกกวัก นกเขาเปล้า นกกระปูดใหญ่ นกตะขาบทุ่ง นกกก นกปรอดเหลืองหัวจุก นกแซงแซวหางปลา นกกางเขนดง นกกินปลีอกเหลือง เต่าเหลือง จิ้งจกหางหนาม ตุ๊แกบ้าน กิ้งก่าหัวแดง แย้ ตะกวด จิ้งเหลนบ้าน งูหลาม งูเขียวหางไหมท้องเหลือง คางคกบ้าน กบบัว ปาดบ้าน อึ่งอ่าง ฯลฯ ตามลำห้วยลำธารต่างจะพบปลาตะเพียนทราย ปลาซิวหางแดง ปลาสร้อยนกเขา ปลาชอนทราย ปลาติดหิน ปลากดเหลือง ปลาแป้น ปลาหมอไทย ปลาบู่ ปลากระทิง และปลากระทุงเหว เป็นต้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ
    ต.พลวง อ. เขาคิชฌกูฏ จ. จันทบุรี 22210
    โทรศัพท์ 0 3945 2074 โทรสาร 0 3945 2069 (VoIP) อีเมล khaokhitchakut_np@hotmail.com
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style2/default.asp?npid=109&lg=1

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=360 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=360>[​IMG] </TD></TR><TR><TD colSpan=2 height=20></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 width=370 border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=3>[​IMG]</TD></TR><TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]
    </TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]
    </TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3 height=1></TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]
    </TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]
    </TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3 height=1></TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]
    </TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]
    </TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3 height=1></TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]
    </TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]
    </TD><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3 height=50></TD></TR><TR><TD colSpan=3 height=2></TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]
    </TD><TD align=middle>[​IMG]
    </TD><TD align=middle>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3 height=2></TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]
    </TD><TD align=middle>[​IMG]
    </TD><TD align=middle>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3 height=2></TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]
    </TD><TD align=middle>[​IMG]
    </TD><TD align=middle>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=3 height=2></TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]
    </TD><TD align=middle>[​IMG]
    </TD><TD align=middle>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>ตำนานรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฎ
    วันที่ 06/02/2008 00:00:00



    http://www.chanforchan.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538621410&Ntype=5




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>ตำนานรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฎ
    วันที่ 06/02/2008 00:00:00

    ตำนานรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฎ (พลวง) นายติ่งและคณะได้ขึ้นบนเขาเพื่อไปหาไม้กฤษณามาขาย ได้ไปพักเหนื่อยบนลานหินกว้าง เพื่อนของนายติ่งคนหนึ่ง ได้ถอนหญ้าเพื่อนอนพักก็พบแหวนใหญ่ขนาดสวมหัวแม่เท้าได้ เเละเมื่อช่วยกันตรวจดูก็พบหินแผ่นหนึ่ง มีพื้นที่เป็นรอยรูปก้นหอย ต่อมานายติ่งและเพื่อนได้นำบุตรชายไปอุปสมบทที่วัดพลับ รุ่งขึ้นก็มีงานปิดรอยพระพุทธบาทจำลอง นายติ่งซื้อทองไปปิดแล้วจึงพูดว่าแถวบ้านตนก็มีรอยแบบนี้เช่นเดียวกัน พอดีมีพระได้ยินเข้าจึงไปเรียนให้เจ้าอาวาสวัดรับทราบ จึงเรียกนายติ่งเข้าไปสอบถามและส่งคณะขึ้นไปพิสูจน์ดู ก็เป็นความจริงและตรวจดูรอบๆบริเวณนั้น ก็พบสิ่งประหลาดมหัศจรรย์หลายอย่าง รอยพระพุทธบาทนั้นท่านทรงเหยียบจารึกไว้ที่ศิลาแผ่นใหญ่ บรรจุคนนั่งได้ร้อยกว่าคน บนยอดเขาสูงสุด กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรอยพระพุทธบาทมีหินกลมก้อนหนึ่งใหญ่มาก เรียกว่าหินลูกพระบาท ตั้งขึ้นมาอย่างน่าแปลกประหลาดมหัศจรรย์ มองดูคล้ายลอยอยู่เฉยๆ มีคนกล่าวว่าเขาเคยเอาด้ายสายสิญจน์คล้องแล้วหลุดออกมาได้ และยังมีหินอีกลูกอยู่ตรงข้ามกับหินลูกพระบาทนี้ ก็มีรอยพระหัตถ์ไปรับหินก้อนนี้จากรอยพระพุทธบาทกับรอยพระหัตถ์นั้น ห่างกันประมาณ 5 เมตร และยิ่งแปลกไปกว่านั้น ในก้อนหินนั้นตรงกันข้ามกับรอยพระหัตถ์ ยังมีรูปรอยเท้าใหญ่ ซึ่งเรียกกันว่ารอยเท้าพญามาร เพียงแหงนหน้าขึ้นไปจะมองเห็นได้ทันที สูงประมาณ 15 เมตร ต่อจากนั้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือห่างจากหินลูกนี้ไปเพียง 15 วา มีหินลูกข้างบนเป็นลานและมองเห็นรอยรถหรือรอยเกวียน เมื่อยืนบนหินลูกนั้นมองลงไปทางทิศเหนือจะเห็นถ้ำเต่า หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรอยพระพุทธบาทจะเห็นถ้ำช้าง และถ้ามองจากรอยพระพุทธบาทขึ้นไปจะเห็นหินก้อนหนึ่งมีรูปลักษณะคล้ายช้างจริง เลยจากช้างไปสูงสุดนั้นเรียกกันว่าห้างฝรั่ง เพราะฝรั่งได้ขึ้นไปตั้งห้างส่องกล้องเพื่อทำแผนที่ มองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังมีถ้ำอีกถ้ำหนึ่งเรียกว่าถ้ำสำเภา เพราะมีหินก้อนหนึ่งข้างบนถ้ำมีลักษณะคล้ายๆเรือสำเภา และยังมีอีกถ้ำหนึ่งใต้พระบาทนี้เรียกว่าถ้ำตาฤาษี
    [​IMG]
    ที่มาของชื่อเขาคิชฌกูฏนั้น ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฎอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ แปลว่าภูเขาแร้งกระพือปีก มีคันธกุฎีอยู่บนยอดเขา และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต เป็นความดำริของพระครูธรรมสรคุณซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ได้เสนอใช้ชื่อ พระบาทเขาคิชฌกูฎ (พลวง) เหตุผลเพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธที่พุทธศาสนาเจริญกว่าเมืองไหนๆ แม้กระทั่งประเทศอินเดีย จึงน่าจะใช้ชื่อนี้เป็นที่ระลึกถึงพระบรมศาสดา ในทุกๆ ปีจะมีพิธีเปิดและพิธีปิดการขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี

    (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544:97-99)
    ที่มา : http://www.mapculture.org


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พระบาทหลวง) จันทรบุรี



    พระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พระบาทหลวง) จันทรบุรี

    http://www.moohin.com/108tripsboon/108trips061c006.shtml
    <CENTER>
    [​IMG]

    [​IMG]


    </CENTER>
    <STYLE><!-- p.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin-bottom:.0001pt; font-size:12.0pt; font-family:"Times New Roman"; margin-left:0cm; margin-right:0cm; margin-top:0cm}--></STYLE>108 เส้นทางออมบุญ
    ออมบุญเพื่อแคล้วคลาดชนะอุปสรรคทั้งหลาย (ภาคตะวันออก)
    พระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พระบาทหลวง) จันทบุรี
    โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย


    พระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พระบาทหลวง) จันทบุรี

    บนยอดเขาคิชฌกูฏ ที่อยู่สูงเทียมเมฆนั้น เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ทุกๆปีในช่วงที่เปิดให้มีการขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาทนั้น จะมีพุทธศาสนิกชนจาริกแสวงบุญมายังยอดเขาแห่งนี้เป็นจำนวนมาก เพื่อมาสักการะแผ่นหินซึ่งเชื่อว่าพระพุทธองค์ทรงมาประทับรอยพระบาทไว้ ด้วยความศรัทธาและความเชื่อในอานิสงส์ที่แรงกล้าว่าการได้นมัสการรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ถือเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัวและชีวิต

    รอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ มีลักษณะเป็นรอยบนหินแผ่นใหญ่ มีรอยบุ๋มลึกประมาณ 2 เมตรเศษ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ค้นพบที่ยอดเขาพระบาทห่างจากที่ทำการอุทยานเขาคิชฌกูฏราว 4 กม. และต้องเดินเท้าไปสู่ยอดเขาอีกราว 3 กม. มีประวัติว่ารอยพระพุทธบาทนี้ได้ค้นพบโดยนายพรานหาของป่า ที่เดินขึ้นไปบนเขาคิชฌกูฏเมื่อปี พ.ศ.2397 ซึ่งได้พบกับแหวนนาคขนาดใหญ่ และแผ่นหินที่มีรูปก้นหอยเหมือนรอยเท้าและได้แจ้งให้กับหลวงพ่อเพชรเจ้าคณะจังหวัดทราบ เมื่อตรวจสอบดูก็พบรอยพระพุทธบาทนั้นจริงชาวบ้านต่างก็พากันขึ้นมานมัสการจนกลายเป็นประเพณีสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้

    ในบริเวณยอดเขาคิชฌกูฏนั้นยังมีความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับตำนานและความเชื่อทางพระพุทธศาสนา เช่นก้อนหินขนาดใหญ่มีรูปคล้ายกับบาตรพระคว่ำ ใกล้กับหินรูปรอยพระพุทธบาท ศิลาเจดีย์รอยพระหัตถ์ รอยเท้าพญามาร ถ้ำฤๅษี ลานแข่งรถพระอินทร์ หินที่มีรูปร่างคล้ายเต่า และช้างขนาดยักษ์เป็นต้น

    เดิมทีนั้นพระพุทธบาทแห่งนี้เป็นที่รู้จักอีกชื่อว่าพระบาทพลวง แต่ในปี พ.ศ.2515 พระครูธรรมสรคุณผู้เป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวง ได้เสนอให้นำชื่อของเขาคิชฌกูฏจากพุทธประวัติมาใช้เป็นชื่อของภูเขาที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ ซึ่งคันธกุฎีเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต และตั้งอยู่บนยอดเขานั้นมาใช้ เพื่อเป็นที่รำลึกถึงพระองค์และแสดงถึงความเจริญในพระพุทธศาสนาอย่างสูงส่งของประเทศไทย

    สถานที่ตั้ง

    ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ต.พลวง กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี

    ความเชื่อและวิธีการบูชา

    เชื่อกันว่าการได้มานมัสการรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาคิชฌกูฏนั้น เปรียบได้กับการได้เข้าเฝ้าองค์พระศาสดาถือเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ ประสบแต่ความสุขความเจริญรุ่งเรือง และสำหรับผู้ทีมีความเดือดเนื้อร้อนใจนั้น หากได้มาตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากรอยพระพุทธบาทแล้ว ความทุกข์กาย หรือความร้อนใจนั้นจะมลายสิ้นไป

    เทศกาลงานประเพณี

    การเปิดให้ขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ (พระบาทพลวง) จะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ประมาณปลายเดือนมกราคม - เดือนมีนาคม รวมระยะเวลา 2 เดือน

    วันและเวลาเปิด ปิด

    เนื่องจากไม่ได้เปิดให้นมัสการได้ตลอดปี ควรสอบถามรายละเอียดจากอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ก่อนทุกครั้ง

    โทรศัพท์ : กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 0 2579 0529 , 0 2579 4842
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <CENTER>ไปเที่ยวอินเดีย ....คิชฌกูฏ-ราชคฤห์ ….. สถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า

    </CENTER>

    <CENTER>
    ไปเที่ยวอินเดีย ....คิชฌกูฏ-ราชคฤห์ ….. สถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า

    </CENTER>http://www.oknation.net/blog/print.php?id=25595


    <DD>วันนี้ยังไม่พาไปกุสินารานะคะ เพราะต้องรอสแกนรูปก่อนไฟล์รูปชุดนี้หายหมดตั้งแต่คอมเจอไวรัส เลยจะพาไปกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ปัจจุบันคือรัฐพิหาร อยู่ห่างจากพุทธคยาประมาณ 80 กิโลเมตรค่ะ เราออกเดินทางตอนตีสี่ รถมารับที่วัดไทย เหตุที่ต้องออกเดินทางแต่เช้างที่ระยะทางใกล้แค่นี้เองเป็นเพราะ เราจะต้องเดินทางไปพาราณสีตอนบ่ายวันนี้เลย วันนี้พึ่งได้นั่งรถที่ขับแบบแขกๆจริงๆ ปาดซ้าปาดขวา บีบแตร เบรคกระทันหัน แล้วเวลาชมวิวริมหน้าต่างยังเห็นผู้คนนั่งขับถ่ายอีก รู้สึกเมารถมากค่ะ เวียนศีรษะ หน้ามืด อาหารก็ยังไม่ได้ทาน พอรถจอดที่ราชคฤห์ปุ้บ ก็อาเจียนทันที <DD>พอมองขึ้นไปบนยอดเขา มีความรู้สึกว่าเดินไม่ไหวแน่ แต่ก็ไหนๆก็มาแล้ว ทำไงดีหนอ <DD>[​IMG] <DD><DD><DD><DD>คิชฌกูฏ-ราชคฤห์ ….. สถานที่ประทับของพระพุทธองค์
    <DD>ราชคฤห์เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล (ปัจจุบัน คือ จังหวัดนาลันทา รัฐพิหาร)
    เป็นอาณาจักรที่เข้มแข็ง และมีอิทธิพลมากแห่งหนึ่ง เป็นเมืองสำหรับการแสวงบุญของชนชาวพุทธ
    พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ในเมืองนี้หลายครั้ง การกระทำปฐมสังคายนาก็ทำที่เมืองนี้
    <DD>ปัจจุบันเมืองราชคฤห์ยังมีซากปรักหักพังของโบราณสถานให้เห็นอยู่เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญ
    ในอดีตให้ศึกษากันเบญจคีรีนครเป็นทิวเขา 5 ลูก แลดู สวยงามและตระหง่าน อยู่ล้อมรอบเมือง
    ราชคฤห์ คือ อิสิคิรี บัณฑวะ คิชฌกูฏ เวภาระ และเวปลละ <DD>[​IMG] <DD>พยายามแข็งใจเดินขึ้นไปค่ะ พักเป็นระยะๆ
    <DD>ระหว่างทางไปเขาคิชฌกูฏ จะเห็นชีวกัมพวันซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
    หมอชีวกได้รับแต่งตั้งให้เป็นแพทย์ประจำราชสำนัก
    <DD>หมอชีวก หรือ "ชีวกโกมารภัจจ์" เป็น บุตรของนางสาลวตี ซึ่งเป็นหญิงนครโสเภณีประจำ
    กรุงราชคฤห์ เมื่อนางคลอดลูกออกมาเป็นชายก็ได้นำไปทิ้งยังกองขยะ ต่อมาอภัยราชกุมารไป
    พบเข้าจึงนำไปเลี้ยงไว้ในวัง และให้ไปศึกษาวิชาแพทย์ที่เมืองตัก-กสิลา นครหลวงแห่งแคว้นคันธาระ
    เมื่อจบออกมาก็เป็นหมอใหญ่ที่มีชื่อเสียงมาก <DD>[​IMG] <DD>ผ่านถ้ำพระสารีบุตร
    <DD>เขาคิชฌกูฏเป็นภูเขาที่เอียงลาดยาวขึ้นไป ทางขึ้นไม่ลำบาก เมื่อจวนจะถึงยอดเขาก็จะเห็น
    บริเวณที่พระเทวทัตคิดทำร้ายพระพุทธเจ้า โดยพระเทวทัต แอบขึ้นไปบนยอดเขาคิชฌกูฏ แล้วงัด
    ก้อนหินใหญ่ลงมา หวังจะปลงพระชนม์พระบรมศาสดาในขณะเสด็จขึ้นจะไปประทับที่กุฏิวิหาร
    ของพระองค์บนยอดเขา แต่ก็ไม่อาจทำอันตรายพระบรมศาสดาได้ เป็นแต่เพียงสะเก็ดหินได้
    กระเด็นไปกระทบพระบาทจนห้อพระโลหิต
    <DD>นายแพทย์ใหญ่ชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำพระองค์พระพุทธเจ้าก็ถวายการปฐมพยาบาล
    พระองค์ในครั้งกระนั้น <DD>[​IMG] <DD>หน้าถ้ำพระโมคคัลลานะ <DD>[​IMG] <DD>ไปทุกที่ต้องสวดมนต์ค่ะ
    <DD>บนยอดเขาคิชฌกูฏเป็นลานกว้างพอสมควร มีอิฐปรักหักพังลักษณะสี่เหลี่ยมเป็นแนวอยู่
    เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า และกุฏิวิหารสำหรับพระภิกษุสงฆ์อีกหลายท่าน <DD>[​IMG]
    <DD>ทิวเขารอบ ๆ ใหญ่โต ห่างไกลเสียงอึกทึกครึกโครมของตัวเมือง คิชฌกูฏเป็นสถานที่
    เงียบสงัดเหมาะสำหรับจิตพึงให้อยู่ในความสงบทั้งอากาศและบรรยากาศ เป็นที่โน้มน้าวจิตใจให้
    ใสสะอาดได้ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงมักเสด็จมาประทับที่นี่เสมอ <DD>[​IMG] <DD>แดดเริ่มร้อน <DD>[​IMG]
    <DD>http://www.gpo.or.th/rdi/htmls/india.html
    </DD>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พุทธคยา ราชคฤห์ เขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวัน นาลันทา


    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#cccccc><TD colSpan=4>วันที่ 23 กันยายน 2552 : พุทธคยา ราชคฤห์ เขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวัน นาลันทา

    </TR></TBODY></TABLE>
    พุทธคยา ราชคฤห์ เขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวัน นาลันทา

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top bgColor=#cccccc><TD colSpan=4>วันที่ 23 กันยายน 2552 : พุทธคยา ราชคฤห์ เขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวัน นาลันทา
    http://www.oceansmile.com/India/India3.htm
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width="25%" bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    อาหารเช้าที่พุทธคยา ​
    </TD><TD width="25%" bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    อาหารเช้าที่พุทธคยา​
    </TD><TD width="25%" bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    ถนนอินเดียไปราชคฤห์ ​
    </TD><TD width="25%" bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    กำแพงเมืองราชคฤห์​
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    สถานที่เที่ยวราชคฤห์ ​
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    ทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ ​
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    ทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ ​
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    ของฝากอินเดีย ​
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    ทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ ​
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    ทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ ​
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    ทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ ​
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    ทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ ​
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    ทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ ​
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    ทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ ​
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    ชาวศรีลังกาขึ้นเขาคิชฌกูฏ ​
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>
    [​IMG]
    ทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พุทธคยา ราชคฤห์ เขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวัน นาลันทา
    ෕肇͔?ക Ù?ʇ¦ᅐ?鍁م?荧෕肇͔?ക ?ط??’ ?ͧ?҃ҳʕ ၨ?铤??Ҧlt;/a>

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc></TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ถ้ำพระโมคคัลลานะ
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ถ้ำพระโมคคัลลานะ
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร)
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร)
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร)
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร)
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ถ้ำสุกรขาตา (ถ้ำพระสารีบุตร)
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ชาวฮินดูทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ยอดเขาคิชฌกูฏ
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    อาหารกลางวันที่โรงแรม
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    อาหารกลางวันที่โรงแรม
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    อาหารกลางวันที่โรงแรม
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    วัดเวฬุวัน ราชคฤห์ อินเดีย
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    วัดเวฬุวัน ราชคฤห์ อินเดีย
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    วัดเวฬุวัน ราชคฤห์ อินเดีย
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    วัดเวฬุวัน ราชคฤห์ อินเดีย
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ชาวฮินดู อินเดีย
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    สถานที่อาบน้ำชาวฮินดู
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ที่อาบน้ำชาวฮินดู
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ที่อาบน้ำชาวฮินดู
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ที่อาบน้ำของจันฑาล
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    นาลันทา ราชคฤห์ อินเดีย
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    นาลันทา ราชคฤห์ อินเดีย
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    นาลันทา ราชคฤห์ อินเดีย
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    นาลันทา ราชคฤห์ อินเดีย
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    นาลันทา ราชคฤห์ อินเดีย
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    นาลันทา ราชคฤห์ อินเดีย
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    นาลันทา อินเดีย
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    นาลันทา ราชคฤห์ อินเดีย
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    นาลันทา ราชคฤห์ อินเดีย
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    นาลันทา ราชคฤห์ อินเดีย
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    นาลันทา ราชคฤห์ อินเดีย
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    นาลันทา อินเดีย
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    นาลันทา อินเดีย
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ร้านของฝากริมทาง
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ขี้วัวเอามาทำเชื้อเพลิง
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    หลวงพ่อดำ นาลันทา
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    สวดมนต์ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    สวดมนต์ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    สวดมนต์ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    พระพุทธเมตตา พุทธคยา
    </TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    พระพุทธเมตตา พุทธคยา
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ชาวศรีลังกาที่พุทธคยา
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ชาวศรีลังกาที่พุทธคยา
    </TD><TD bgColor=#ffffcc>[​IMG]
    ชาวศรีลังกาที่พุทธคยา

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948




    ราชคฤห์ นครแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม

    ราชคฤห์ นครแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม - DMC Forum

    พระมหาสุวิทย์ ธัมมสิริ <!--colorc--><!--/colorc-->

    คัดลอกมาบางส่วน

    <!--coloro:#CC0000--><!--/coloro-->ภูเขาห้าเทือกที่แวดล้อมเมืองราชฤห์
    เป็นป้อมปราการธรรมชาติรักษาเมืองราชคฤห์ไว้ได้จนถึงปัจจุบัน
    เปรียบเหมือนพระราชาแคว้นมคธ ที่เพรียบพร้อมด้วยศีล ๕ ประการ
    ได้น้อมนำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธองค์
    ทำให้พระพุทธศาสนา
    ตั้งมั่นพระพุทธศาสนามาโดยตลอด
    เพราะได้รับการสนับสนุนจากพระราชา ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองราชคฤห์

    ถึงแม้ว่า ราชคฤห์จะไม่ได้เป็นสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
    แต่ก็นับเป็นพุทธสถานและมีความสำคัญไม่น้อยกว่าที่อื่นๆ เพราะพระพุทธเจ้าทรงเลือกเมืองนี้ให้เป็นศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก
    วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาก็เกิดที่เมืองนี้

    พระสาวกผู้ใหญ่ที่เป็นกำลังที่รักษาสืบต่อพระพุทธศาสนาก็มีภูมิลำเนาอยู่ในเมืองนี้
    และที่สำคัญที่สุด ภายหลังพุทธปรินิพพานแล้ว พระพุทธศาสนาก็ได้แผ่กระจายไปทั่วโลก
    ก็เพราะพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นมคธ
    ซึ่งย้ายไปจากเมืองราชคฤห์นครแห่งพระราชผู้ทรงธรรมนี้เอ<!--colorc-->
    <!--/colorc-->ง

    <!--coloro:#993300--><!--/coloro-->ความสำคัญของเมืองราชคฤห์<!--colorc--><!--/colorc-->

    ๑. เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก

    ๒. วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา คือ วัดพระเวฬุวันเกิดขึ้นที่เมืองนี้

    ๓. เป็นสถานที่อุปสมบทของพระอัครสาวกทั้งสองรูป คือ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ

    ๔. เป็นสถานที่ทำการสังคายนาครั้งที่ ๑

    ความหมายของชื่อเมือง
    <!--coloro:#993399--><!--/coloro-->ราชคฤห์ เป็นคำไทย ส่วนภาษาบาลี คือ ราช+ คห แปลว่า
    <!--coloro:#3333FF--><!--/coloro-->เมืองที่พระราชาครอบครอง <!--colorc--><!--/colorc-->

    ในอรรถกถารถวินีตสูตร แห่งโอปมุขวรรค มูลปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย (ปปัญจสูทนี ๒) กล่าวไว้ว่า
    เพราะเมืองนี้มีพระเจ้าจักรพรรดิปกครองมีพระเจ้ามันธาตุและมหาโควินทเป็นต้นปกครองสืบต่อกันมา
    จึงชื่อว่า ราขคหะ (ภาษาไทย คือราชคฤห์)<!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    <!--coloro:#FF6600--><!--/coloro-->(ตตฺถ ราชคเหติ เอวํนามเก นคเร, ตญหิ มนฺธาตุมหาโควินฺทาทีหิ ปริคฺคหิตตฺตา ราชคหนฺติ วุจฺจติ.)<!--colorc--><!--/colorc-->

    <!--coloro:#3333FF--><!--/coloro-->และมีชื่อเรียกอีก ๒ ชื่อคือ คิริพพชะนคร และปัญจคีนคร
    ฎีกาพระวินัย สมันตปาสาทิกา (สารัตถทีปนี ๔) ข้อ ๙๑ กล่าวไว้ว่า

    คิริพพชะนคร เพราะมีภูเขาห้าเทือกล้อมรอบพระนครซึ่งภูเขาเหล่านี้ประดุจรั้วล้อมพระนคร
    (นครคิริพฺพชนครนฺติ สมนฺตาปพฺพตปริกฺขิตฺตํ วชสทิสํ หุตฺวา ติฏฺฐตีติ คิริพฺพชนฺติ เอวํลทฺธนามํ ราชคหนครํ)<!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    <!--coloro:#333399--><!--/coloro-->ส่วนคำว่า ปัญจคีรีนครนั้น เป็นเพราะมีภูเขาห้าเทือกห้อมล้อมไว้ คือ
    อิสิคิลิ ปัณฑวะ คิชฌกูฏ วิปุละ และเวภาระ

    อรรถกาธนัญชานีสูตร แห่งมัชฌิมนิกาย ปปัญจสูทนี กล่าวความยิ่งใหญ่ของเมืองราชคฤห์ไว้ว่า

    เมือราชคฤห์มีประตูทางเข้าเมืองขนาดใหญ่ถึง ๓๒ ประตู และประตูเล็ก ๖๔ ประตู
    แต่ปัจจุบันปรากฏเพียง ๒ ประตู คือ ตรงตโปทารามและทางไปพุทธคยาเท่านั้น<!--colorc-->
    <!--/colorc-->
    <!--coloro:#666600--><!--/coloro-->
    เมืองราชคฤห์ในปัจจุบัน<!--colorc-->
    <!--/colorc-->
    <!--coloro:#6600CC--><!--/coloro-->ปัจจุบันเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า ราชคีร์(Rajgir)
    อยู่ในเขตอำเภอนาลันทา รัฐพิหาร
    ห่างจากปัตนะเมืองหลวงรัฐพิหารประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตรและห่างจากคยาประมาณ ๗๐ กิโลเมตร

    ภายในตัวเมืองเก่าไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่ภายนอกด้านทางไปนาลันทา เป็นชุมชนใหญ่ และภายในเมืองราชคฤห์นั้นเต็มไปด้วยโบราณสถานต่างๆ มากมาย และอยู่ในสภาพที่ดี
    เช่นพระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกฏ คุกขังพระเจ้าพิมพิสาร โรงพยาบาลหมอชีวก
    และวัดพระเวฬุวัน วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ฯลฯ<!--colorc-->
    <!--/colorc-->
    <!--coloro:#FF6600--><!--/coloro-->

    หลวงจีนฟาเหียนมาเมืองราชคฤห<!--colorc-->
    <!--/colorc-->์
    <!--coloro:#3333FF--><!--/coloro-->หลวงจีนฟาเหียนเดินทางมาถึงจากเมืองนาลันทา
    ถึงเมืองราชคฤห์ที่พระเจ้าอชาตศัตรูสร้างขึ้น

    (หลังจากปลงพระชนม์พระราชบิดา พระเจ้าอชาตศัตรูก็เกิดความเกรงกลัวไม่กล้าอยู่ในเมืองเก่า
    จึงย้ายออกมาสร้างเมืองใหม่ ปัจจุบันอยู่ห่างจากวัดเวฬุ
    ทางไปนาลันทา ประมาณ ๕๐๐ เมตร เหลือเพียงเนินดินสูงและกำแพงศิลาเท่านั้น)

    ท่านฟาเหียนได้พบวัด ๒ แห่ง ได้พบเจดีย์ที่พระเจ้าอชาตศัตรูสร้างบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
    (ปัจจุบันเหลือเพียงฐาน อยู่เยื้องกับวัดเวฬวัน) <!--colorc-->
    <!--/colorc-->
    <!--coloro:#CC0000--><!--/coloro-->
    แต่ภายในเมืองราชคฤห์เก่า ที่อยู่ในวงล้อมของภูเขาห้าเทือกนั้น เป็นที่ราบเวิ้งว่าง ไม่มีคนอาศัยอยู่
    เหลือเพียงซากำแพงเท่านั้น ปรากฏซากวัดชีวกัมพวัน ที่หมอชีวกสร้างถวาย
    ส่วนวัดพระเวฬุวันนั้น ปรากฏว่ายังมีภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมาก ช่วยกันปัดกวาดดูแลรักษาอยู่

    หลวงจีนเฮี่ยนจัง นักเดินทางชาวจีนอีกท่านหนึ่ง แต่มาเมืองราชคฤห์ภายหลังท่นฟาเหียนประมาณ ๒๐๐ ปี ก็ได้บันทึกไว้อย่างเดียวกันกับท่านฟาเหียน<!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    เ<!--coloro:#993300--><!--/coloro-->มืองราชคฤห์ เคยเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่สมัยพุทธกาล
    พระพุทธศาสนาได้ประดิษฐานตั้งมั่นที่พระนครแห่งนี้มาโดยตลอด
    เพราะการอุปถัมภ์บำรุงของพระมหากษัตริย์พระราชาผู้ทรงธรรม

    ถีงแม้ว่าปัจจุบันจะเหลือเพียงซากปรักหักพัง มีป่าไม้ขึ้นปกคลุม
    ชวนให้สลดหดหู่ในความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง
    แต่ตราบใดที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายยังปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อย่างแคร่งครัด
    พระพุทธศาสนาจะไม่มีวันเสื่อมสลาย ดุจดังภูเขาทั้ง ๕ เทือกที่แวดล้อมเมืองราชคฤห์
    ที่ยังคงตระง่านท้าลมแดดมานานนับพันๆ ปี<!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    <!--coloro:#CC6600--><!--/coloro-->“คนพาลแม้อยู่ใกล้พระพุทธองค์ก็ไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่ยิงไปในวันคืนเดือนมืด
    แต่บัณฑิตแม้อยู่ที่ไกล ก็ปรากฏ เหมือนภูเขาหิมพานต์ที่ปรากฎเหมือนอยู่ใกล้ๆ”<!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    พระสูตรที่ควรสวดในเมืองราชคฤห์
    <!--coloro:#FF6600--><!--/coloro-->บนเขาคิชฌกูฏ อาฏานาฏิยสูตร มหาปรินิพพานสูตร
    คุกขังพระเจ้าพิมพิสาร อนิจจา วต สังขารา และบทกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
    วัดพระเวฬุวัน โอวาทปาติโมกข์, สีตัง อุณหัง ปฏิพาหติ, อทาสิ เม อกาสิ เม ฯลฯ
    ถ้ำสัตตบรรณคูหา พระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม <!--colorc-->
    <!--/colorc-->


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    แผนที่เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี (เป็นลิงค์)ครับ

     
  13. nutbeauty

    nutbeauty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +272
    ได้ไปกราบมาเมื่อ27กพได้ดูพระจันทร์ทรงกรดแบบวงแหวนซ้อนๆ กันงามมากๆ ฟังธรรมจากลพ.เขียนชื่นใจจริงๆค่ะนอนพักข้างบนหนึ่งคืนอากาศเย็นสบาย ตอนลง28กพ.ปรากฏว่าผู้คนแห่มากันจนคนลงก็ลงแทบไม่ได้เพราะคลื่นมหาชนที่มาด้วยความศรัทธา สาธุ สาธุ สาธุ
     
  14. Ong

    Ong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    2,501
    ค่าพลัง:
    +12,861
    ไปมาเมื่อวันที่ 28 กพ. คนเยอะมากครับ
    แน่ะนำว่าไปในวันทำงาน จันทร์-พฤหัส ประชาชีจะบางเบา

    อนุโมทนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...