นะมะพะธะ และ พุทโธ ___ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 23 สิงหาคม 2017.

  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    21077467_1413386912050511_8045301854827591737_n.jpg



    นะมะพะธะ และ พุทโธ


    มีเรื่องเดียว ที่จะอธิบาย ก็คือคำภาวนา
    คำภาวนา นะมะพะธะ นั้น ใช้เมื่อใช้อภิญญาและ ควรใช้เป็นปกติ อารมณ์จะได้แจ่มใส
    พุทโธ และ อย่างอื่นเอาไว้เมื่อยามว่าง ถ้า
    ต้องการอารมณ์สงัดตามปกติ

    แต่พ่อเห็นว่า นะ มะ พะ ธะ นั่นแหล่ะดีแล้ว
    เพราะลูกได้อภิญญา จิตจะได้ไม่มั่ว

    พุทโธ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าที่คนเข้าไม่ถึง คือ เห็นไม่ได้ก็เรียกชื่อให้ช่วย
    แต่ นะ มะ พะ ธะ นี้เราเข้าถึงพระองค์ และรับโอวาทได้

    ลูกว่าควรจะใช้อย่างไหน ถ้าเป็นพ่อ พ่อคงใช้ นะมะพะธะ จะได้ไม่ต้องตะโกนเรียกท่าน ไปหาท่านเลย

    ส่วนในคู่มือแนะนำให้ภาวนา พุทโธ ก็เพื่อ
    คนใหม่ที่ยังไม่ได้อะไร ให้เรียกท่าน เพื่อช่วยกำลังตนเองไปพลางก่อน เมื่อมีโอกาสเข้าเฝ้าท่านได้ ก็คงไม่จำเป็นต้องตะโกนเรียก
    จงอย่าคิดว่า พ่อว่าภาวนา พุทโธ ไม่ดีนะ ภาวนา พุทโธ ดี
    แต่เมื่อเราได้ อภิญญาควรภาวนาตามสายอภิญญาอภิญญา จะได้แจ่มใสเสมอ

    นะ มะ พะ ธะ ก็เป็นคำภาวนาที่ พระพุทธเจ้าท่านสอนมาเวลาจะภาวนาก็นึกถึงท่านอยู่แล้ว และมีกำลังไปหาท่าน

    คำว่า พุทโธ เป็นคำภาวนากลาง ๆ ใช้เมื่อปฏิสัมภิทาญานต้องภาวนาตาม สายของตน แต่ไม่ถือว่าขาดพระรัตนตรัย เพราะใจเราถึงเป็นปกติอยู่แล้ว

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

    (หนังสือลูกศิษย์บันทึกพิเศษ หน้า ๙๓ - ๙๔)


    *****************************************************

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. กายสงบ ใจสบาย

    กายสงบ ใจสบาย พระคาถาเงินล้าน ศักดิ์สิทธิ์จริง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +18
    สาธุ สาธุ สาธุ ครับ
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    .. นะมะ พะธะ
    "นะมะ" แปลว่า "นมัสการ"
    "พะธะ" แปลว่า "พระพุทธเจ้า"
    "นะมะพะธะ" ที่เขาแปลว่า ธาตุ ๔ คือ ดิน
    น้ำ ลม ไฟ เขาไม่ได้ภาวนา เขาพิจารณา

    คำว่า "นะมะ พะธะ" ที่ท่านมาบอกจริงๆ
    บอกว่า ไม่ใช่ธาตุ ๔ เป็นการนมัสการ
    พระพุทธเจ้า "เป็นพุทธานุสติกรรมฐาน"

    ขอทุกคนเวลาจะปฏิบัติ ให้ทุกคนลด
    ความห่วงใยทางบ้านให้หมด เฉพาะเวลา
    ที่เรานั่งอยู่นี่ เลิกแล้วก็ห่วงได้
    จิตจะได้เป็นสมาธิ ถ้าปล่อยให้ความห่วงคุ้มครองตัวอยู่ให้เข้าไปอยู่ในจิต จิตไม่เป็นสมาธิ ไม่มีผล

    และต่อไปเวลาสมาทานศีล ศีลนี้ต้อง
    สมาทานด้วยความเคารพและตั้งใจปฏิบัติ
    ด้วยความจริงใจ เวลาเจริญพระกรรมฐาน
    เขาให้สมาทานศีล ๘
    แต่พอเลิกแล้วเรา ทรงแค่ศีล ๕ ก็พอ ไม่จำเป็นต้องรักษาศีล ๘ ตลอดกาล

    ให้ตั้งใจว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจน
    กว่าจะตายเราจะมีศีล ๕ ครบถ้วน
    ถ้ามีศีล ๕ ครบถ้วน สมาธิทำได้แล้วไม่ถอย
    จะทรงตัว

    ทุกคนต้องระงับนิวรณ์ ๕ ประการ
    นิวรณ์เข้ามากวนใจไม่ได้ วางชั่วคราว
    วางประเดี๋ยวเดียวไม่ถึงกับตาย นิวรณ์ ๕
    ประการคือ

    ๑.อารมณ์รักในเพศตรงข้าม คือ
    กามฉันทะ
    ๒.อารมณ์ที่ไม่พอใจ
    ๓. ความง่วง แต่ความจริงเวลานี้
    ไม่น่าจะง่วง
    ๔.อุทธัจจะ กุกกุจจะ อารมณ์ฟุ้งซ่าน
    ๕.สงสัยในผลของการปฏิบัติ

    ทั้ง ๕ ประการนี้ อย่าให้มีในจิตของท่าน
    ขณะที่ปฏิบัติ ถ้าบังเอิญอย่างหนึ่งอย่างใด
    มีในจิตของท่าน
    วันนี้สมาธิของท่านไม่เกิด ถ้านิวรณ์ ๕ ไม่มีในใจ วันนี้ได้แน่ และต่อไปก็ต้องใช้พิจารณา ใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง ใช้ความรู้สึกน้อยๆ ไม่ต้องใช้มาก

    ใช้ความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า
    "การเกิดนี่มันเป็นทุกข์" เราเกิดแล้วต้อง
    แก่ ความป่วยไข้ไม่สบายนั้นต้องมีแน่
    มันเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากของรัก
    ของชอบใจนี่มันเป็นทุกข์ และความ
    ปรารถนาไม่สมหวังก็มีแน่ นี่ก็เป็นทุกข์
    เหมือนกัน

    รวมความว่า เราไม่เกาะการเกิดต่อไป
    ขึ้นชื่อว่าการเกิดเป็นมนุษย์นี้เป็นทุกข์ เรา
    ไม่ต้องการ
    การเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม
    มีความสุขจริง แต่สุขไม่นานหมดบุญวาสนาบารมีก็พุ่งหลาวลงมาใหม่ มันเป็น
    ทุกข์เราไม่ต้องการ ไม่สุขจริง
    จุดที่เราต้องการจริงๆ คือ "นิพพาน"

    วิธีปฏิบัติจริงๆ ก็คือ ขอให้รู้ลมหายใจ
    เข้าออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ เวลาหายใจ
    ออกรู้อยู่ เวลาหายใจเข้าภาวนานึกตาม
    เฉยๆ ว่า "นะมะ" เวลาหายใจออกนึกตาม
    ว่า "พะธะ" คำภาวนา ๔ คำ แต่เป็นคู่ๆ

    เวลาหายใจเข้าหายใจออก ปล่อย
    อารมณ์ตามสบาย ไม่ต้องใช้สมาธิสูง
    ใช้อารมณ์ปกติ เวลาที่ครูเขาให้ภาวนา
    หลังจากพูดเสร็จ ให้ภาวนา ๑๐ นาที ถ้า
    มันเผลอไปคิดเรื่องอื่น พอนึกขึ้นมาได้ว่า
    เราเผลอไปแล้ว ก็เริ่มต้นของเราใหม่

    พอมีสัญญาณดังกรี๊กเกิดขึ้น ตอนนี้
    ให้ทราบว่า จะมีคนเข้าไปสอนจะมีพระ
    หรือฆราวาสก็ตาม เขาเข้าไปสอนเพื่อ
    เป็นครูเป็นการแนะนำ การปฏิบัติแบบนี้
    ถ้าไม่แนะนำถึงตัว บางทีใช้เวลา ๒๐ ปี
    ยังไม่ได้

    เมื่อมีคนไปนั่งข้างๆ หรือนั่งข้างหน้า
    หรือนั่งกลางวง ให้ทราบว่าท่านผู้นั้นจะ
    เข้าไปสอน ตอนนี้ให้ทุกคนเลิกภาวนา
    เด็ดขาด ไม่ต้องภาวนาต่อไป การกำหนด
    รู้ลมหายใจเข้าออกก็เช่นกัน ให้เลิก
    ปล่อยเลย

    ปล่อยอารมณ์ตามสบายฟังคำแนะนำ
    ของครูผู้แนะนำ ครูเขาจะแนะนำในการ
    ตัดกิเลส ครู ก็เหมือนกันนะ เวลาแนะนำ
    อย่าใช้ถ้อยคำให้ยาว และก็อย่าพูดให้เร็ว
    พูดช้าๆ ให้ใช้ถ้อยคำที่เป็นประโยชน์โดย
    เฉพาะให้เข้าใจ

    ให้เข้าใจว่า คนที่เกิดมาแล้วนี่เป็นทุกข์
    ความเกิดเป็นทุกข์ การประกอบการงาน
    เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความป่วยไข้
    ไม่สบายก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาไม่
    สมหวังก็เป็นทุกข์ การพลัดพรากจากของ
    รักของชอบใจก็เป็นทุกข์ ความตายจะเข้า
    มาถึงก็เป็นทุกข์

    ถ้าแนะนำอย่างนี้เขาไม่เข้าใจก็ปล่อย
    เขาเลยไม่ต้องไปสนใจกับเขา และคนที่
    รับฟังก็เหมือนกัน มีหลายคนจะให้ครูเขา
    จ้ำจี้จ้ำไชสอนทีละคนนั้นไม่ได้ เขาจะสอน
    คนใดคนหนึ่ง ทุกคนที่นั่งด้วยกันให้ถือว่า
    เขาสอนทุกคน

    ให้น้อมใจตามไปทุกคน ตั้งใจตัดกิเลส
    ถ้าท่านตัดกิเลสได้ดี จิตสะอาดมาก จิตมี
    ความรู้สึกจะเห็นชัดเจนแจ่มใส ถ้าจิตวาง
    กิเลสเฉพาะเวลาได้อย่างกลางๆ มีความ
    รู้สึกพร้อมกับจิตเห็นภาพไม่ชัดเจน ถ้ามีจิต
    สะอาดน้อยจะมีความรู้สึกเฉยๆ แต่ภาพ
    ไม่ชัดเจน หรือไม่เห็นภาพเลย

    ถ้าเป็นอย่างนี้ ให้บอกกับครูเขา ว่า เวลานี้มีแต่ความรู้สึก ยังไม่เห็นภาพ ครูจะแนะนำในการตัดกิเลสอีกครั้งหนึ่ง
    หากว่ายังไม่เห็นภาพแสดงว่า "จิตของท่าน
    เลวเกินไป" ไม่น้อมใจวางกิเลสแม้แต่ขณะ
    เดียวก็ไม่ยอม อันนี้ก็ช่วยเหลือไม่ได้

    ครูก็เหมือนกัน ถ้าคนไหนถาม ๒ คำ
    ไม่ตอบ ให้เลิกถาม อย่าถามต่อ ปล่อย
    เราต้องมุ่งหวังเอาคนดี คนที่ตั้งใจจริง
    คนไหนทำได้คล่องซักซ้อมคนนั้น ให้
    คนอื่นนึกตามไป

    ถ้าครูเขาเห็นว่ามีจิตสะอาดพอควร
    เขาจะถามว่า "เวลานี้มีความรู้สึกว่ามีผู้ใด
    มาอยู่ข้างหน้าบ้าง" ถ้ามีความรู้สึกว่ามี
    ให้ตอบทันที ถ้าเขาถามว่าท่านที่อยู่ข้าง
    หน้าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ให้ตอบตาม
    ความรู้สึก แต่งตัวสีอะไร ให้ถือตามความ
    รู้สึก ทุกคนให้ถือตามความรู้สึกของตัวเอง
    อย่าตอบตามกัน อย่าไปตอบตามเขา

    "และการปฏิบัตินี้อย่าทำตนถ่วงความดี
    ตั้งใจรักษาความดี ทำจิตให้สะอาด ความ
    ดีหรือไม่ดีมันอยู่ที่การประพฤติปฏิบัติ จิต
    สะอาดหรือสกปรก ถ้าจิตสกปรกก็ปฏิบัติ
    ไม่ได้ ถ้าจิตสะอาดก็ปฏิบัติได้" ..

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

    ที่มาจาก.. พ่อสอนลูก เล่ม ๑ หน้าที่ ๒๑๔-๒๑๖
     

แชร์หน้านี้

Loading...