นักบริหารทึ่ง! ถอดรหัส 7 ภาวะผู้นำวิถีพุทธ ที่ยังทันสมัยในยุคดิจิทัล

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 10 กรกฎาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    b4e0b8abe0b8b2e0b8a3e0b897e0b8b6e0b988e0b887-e0b896e0b8ade0b894e0b8a3e0b8abe0b8b1e0b8aa-7-e0b8a0.jpg

    ตัวอย่างเช่น

    1. Empowerment & Engagement ให้ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร ด้วยการกระจายอำนาจ แบ่งนส่วนพุทธศาสนาเป็น 4 หุ้นใหญ่ ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เรียกว่าพุทธบริษัทสี่ มีหน้าที่ในการช่วยกันดูแลรักษาให้องค์กรนี้สามารถดำเนินภารกิจต่อไปได้เป็นเวลานับ พันปี โดยมีพระธรรมวินัยที่ทรงตรัสไว้ดีแล้ว เป็นธรรมนูญในการขับเคลื่อนองค์กร ให้มีเป้าหมายชัดเจน สมาชิกหรือกลุ่มเป้าหมายมีค่านิยมร่วมกัน เรียกว่า CSV (Common Shared Values)

    ดีซี คอนซัลแทนส์ ชี้ 5 เหตุผลที่แบรนด์ควรใช้ “Clubhouse” ในการสร้างแบรนด์และสื่อสารการตลาด


    5 เคล็ดลับ การสื่อสารในภาวะวิกฤต รับมือโควิดรอบใหม่

    นอกจากนี้ ยังให้มีการหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม และพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำสิ่งที่พึงทำ แปลอีกนัยหนึ่ง คือ พร้อมเพรียงกันลุกขึ้นป้องกันองค์กรและสังคม พร้อมเพรียงกันทำกิจทั้งหลายที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

    2. Vision & Mission มีการกำหนดพันธกิจขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนเพื่อบรรลุถึงเป้าหมาย เรียกว่า หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 จากที่ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ (หลักการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดหมาย)


    หลักการ 3 ที่พึงปฏิบัติ ได้แก่ ละชั่ว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใส

    อุดมการณ์ 4 ได้แก่

    1. ความอดทนอดกลั้น

    2. การมุ่งให้ถึงเป้าหมายหลัก

    3. ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ทั้งทางกายและทางใจ

    4. มีจิตใจสงบจากอกุศลวิตก เช่น ความโลภ โกรธ หลง เป็นต้น

    วิธีการ 6 เพื่อเป็นไปในแนวทางเดียวกันและถูกต้องเป็นธรรม ได้แก่

    1. การไม่กล่าวร้าย (ไม่โจมตีดูถูกความเชื่อผู้อื่น)

    2. การไม่ทำร้าย (ไม่ใช้กำลังบังคับข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ)

    3. ความสำรวมระวัง (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส)

    4. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง)

    5. นั่งนอนในที่อันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)

    6. พัฒนาจิตใจให้ยิ่ง มิใช่ว่าเอาแต่สอน แต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน

    3. Recruitment & Training มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกในองค์กรอย่างชัดเจน โดยมีการตรวจทานคุณสมบัติ การเตรียมความพร้อม และพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลในองค์กร โดยใช้ศีลเป็นข้อกำหนด ทั้งนี้ ยังได้มีการกำจัดเรื่องเส้นสาย ระบบอุปถัมภ์ เจ้าขุนมูลนาย โดยนำเอาระบบอาวุโสของอายุงาน (อาวุโสภัณเต) การให้ความเคารพซึ่งกันและกัน หมายถึง ลูกน้องต้องให้ความเคารพหัวหน้า ในทางพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้พระภิกษุต้องเคารพกันตามลำดับพรรษา ผู้บวชทีหลังต้องแสดงความเคารพต่อผู้บวชก่อน เป็นการบังคับบัญชา การสอนงาน (เรียกว่า ขอนิสัย) การจัดอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร On-the-job Training การฟังธรรม การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นต้น

    4. Reward & Compensation การจัดสรรภาระหน้าที่ให้ปฏิบัติงานตามความรู้ความสามารถ เป็นแบบ Put the Right Man on the Right Job มีระบบการให้รางวัลและการลงโทษ Performance-based Compensation นั่นคือ ใครทำดีก็ควรได้รับการยกย่อง ใครทำผิดก็ควรได้รับการลงโทษ ถือหลักความสามารถเป็นเกณฑ์ ใครมีความสามารถเชี่ยวชาญในด้านใดก็ทรงยกย่องให้เป็นเลิศ เป็นเอตทัคคะในด้านนั้น เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ที่มีความสามารถสูง และเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างพลังบวกให้กับสมาชิกอื่นๆ ตัวอย่างเช่นทรงยกย่องพระสารีบุตรให้เป็นเอตทัคคะทางด้านปัญญาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านหลักธรรม ทรงยกย่องพระอานนท์ให้เป็นผู้เลิศทางด้านพหูสูต การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและงานด้านเลขา พระมหากัสสปะเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านธุดงควัตร เป็นต้น

    5. Management & Administration พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญในการกำกับดูแลองค์กรเป็นอย่างยิ่ง ดังที่ทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อให้พระสงฆ์ใช้เป็นมาตรฐานควบคุมความประพฤติให้เป็นแบบเดียวกัน ทรงให้เหตุผลในการบัญญัติพระวินัยไว้ เพื่อความผาสุขแห่งคณะสงฆ์ เพื่อข่มบุคคลผู้ไร้ยางอาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสื่อมเสียทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา

    พุทธวิธีการบริหาร ยึดหลักธรรมาธิปไตยเป็นสำคัญ ด้วยเหตุผลที่ว่า ผู้บริหารเองต้องประพฤติธรรมและใช้ธรรมเป็นหลักในการบริหาร พุทธวิธีบริหารจึงไม่เป็นทั้งเป็นอัตตาธิปไตย (การถือตนเองเป็นใหญ่) และโลกาธิปไตย (การถือคนอื่นเป็นใหญ่)

    6. Communications พระพุทธเจ้าทรงใช้หลัก 4 ส. ในการสื่อสารเพื่อการบริหาร ได้แก่

    6.1 สันทัสสนา (แจ่มแจ้ง) อธิบายขั้นตอนของการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน แจ่มแจ้งช่วยให้สมาชิกปฏิบัติตามได้ง่าย

    6.2 สมาทปทา (จูงใจ) อธิบายให้เข้าใจและเห็นชอบกับวิสัยทัศน์จนเกิดศรัทธาและความรู้สึกว่าต้องฝันให้ไกลและไปให้ถึง

    6.3 สมุตเตชนา (แกล้วกล้า) ปลุกใจให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและมีความกระตือรือร้นในการดำเนินการไปสู่เป้าหมาย

    6.4 สัมปหังสนา (ร่าเริง) สร้างบรรยากาศในการทำงานร่วมกันแบบกัลยาณมิตรซึ่งจะส่งเสริมให้บุคคลที่จะเป็นผู้บริหารต้องมีคุณสมบัติสำคัญ 2 ประการดังกล่าวมาแล้ว คือ ความเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติส่วนตัวที่เหมาะกับการเป็นผู้นำ และความมีน้ำใจในการปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวมและองค์กรของตน

    7. Self Assessment การประเมินตนเองของพระภิกษุ คือการปลงอาบัติ กำหนดให้ผู้ล่วงละเมิดบอกกล่าวความผิดของตนเองแก่ภิกษุที่อาวุโสกว่า พร้อมกับให้คำมั่นสัญญาว่าจะสำรวมระวังไม่กระทำผิดเช่นเดิมอีก มีตั้งแต่ต้องอาบัติเบา หรือลหุอาบัติ มีโทษไม่รุนแรง อันได้แก่อาบัติปาจิตตีย์ ไปจนถึง

    การลงโทษด้วยมาตรการหนักถึงขั้นให้ขาดจากความเป็นภิกษุ และจะบวชอีกไม่ได้ตลอดชีวิต อันเปรียบได้กับโทษประหารชีวิตในทางกฎหมายของบ้านเมือง ในกรณีที่ภิกษุล่วงละเมิดอาบัติปาราชิก ตรงกับการประเมินตนเอง Self Assessment และการประเมิน 360 องศาในองค์กรสมัยใหม่

    นี่คือ 7 ภาวะผู้นำวิถีพุทธ ที่ยังคงนำมาประยุกต์ใช้ได้ แม้ในโลกยุคดิจิตอล ดิสรัปชั่น!

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์สไตล์/151306
     

แชร์หน้านี้

Loading...